ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยΙωάννα Καραμήτσος ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุคนธา ศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2
Principles of Epidemiology
หลักระบาดวิทยา Principles of Epidemiology อาจารย์ รังสิมา พัสระ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์)
3
วัตถุประสงค์ อธิบายคำจำกัดความของระบาดวิทยา
สรุปวิวัฒนาการของระบาดวิทยา บอกประโยชน์ที่สำคัญของระบาดวิทยา บอกหน้าที่หลักของระบาดวิทยาในงานสาธารณสุข อธิบายการประยุกต์เบื้องต้นเพื่อนำระบาดวิทยาไปใช้ในงานสาธารณสุข บอกลักษณะสำคัญและประโยชน์ของระบาดวิทยาเชิงพรรณนา บอกลักษณะสำคัญและประโยชน์ของระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ อธิบายองค์ประกอบของปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triad) อธิบายวิธีการถ่ายทอดโรคติดต่อแบบต่างๆในชุมชน
4
ระบาดวิทยา แนวคิดของระบาดวิทยา คำจำกัดความของระบาดวิทยา
ประโยชน์ของระบาดวิทยา วิวัฒนาการของระบาดวิทยา หน้าที่หลักของระบาดวิทยา วิธีการเรียนรู้ทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Approach)
5
ระบาดวิทยา ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Epidemiology)
ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (Analytic Epidemiology) ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Epidemiology) ธรรมชาติและพิสัยของการเกิดโรค (Natural History and Spectrum of Disease) แนวคิดของการเกิดโรค ห่วงโซ่ของการติดเชื้อ (Chain of Infection) การเกิดการระบาดของโรค
6
Case study People in the community are sick from arsenic poisoning which come from water
7
โบสถ์ 5 โรงงานอุตสาหกรรม 30 50 15 20
8
From the given data set I
Who is the polluter? How do you know?
9
The factory owner has demonstrated that their factory is not responsible for arsenic in the ground water. What needs to be done?
10
Could it be? Why?
11
Arsphenamine หรือ Salvarsan
12
แนวคิดของระบาดวิทยา ระบาดวิทยา หรือ วิทยาการระบาด (Epidemiology) เป็นวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของงานสาธารณสุขและงานเวชศาสตร์ป้องกัน งานทั้งสองสาขานี้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการให้ประชากรมีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข และไม่เพียงแต่ไม่ป่วยเป็นโรคเท่านั้น งานสาธารณสุข เป็นงานที่มุ่งหวังให้ประชากรมีสุขภาพอนามัยที่ดี และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว นักสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาการระบาดมาเป็นเครื่องมือดำเนินงาน
13
คำจำกัดความของระบาดวิทยา
ระบาดวิทยา (Epidemiology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Epi = on upon Demos = people, population, man Logos = study
14
คำจำกัดความ ระบาดวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรคหรือปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของมนุษย์ทั้งโรคติดเชื้อ โรคไม่ติดเชื้อ อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ เพื่อประโยชน์การป้องกันและควบคุมโรคหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพ การศึกษาทางระบาดวิทยาจึงครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้ ( ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร, 2538 )
15
ประเด็นสำคัญทางระบาดวิทยา
ประชากรมนุษย์ ( Human population ) การกระจายโรค ( Distribution of disease ) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค ( Determinants ) การเปลี่ยนแปลงหรือพลวัตรของโรค ( Dynamic of disease ) โรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ ( Infectious or non infectious disease ) ภาวะที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค ( Disease or non disease conditions ) การป้องกันและการควบคุมโรค ( Prevention and control of disease )
16
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
17
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
สมัยอยุธยาตอนต้น
18
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 3 นายแพทย์แดน บีซ บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ผู้เผยแพร่คริสตศาสนาชาวอเมริกัน ได้ริเริ่มการป้องกันโรคติดต่อครั้งแรก โดยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษซึ่งได้ผลดี
19
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
สมัยรัชกาลที่ 4 ควบคุมอหิวาตกโรคโดยการใช้ทิงเจอร์ผสมน้ำให้ดื่ม
20
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
สมัยรัชกาลที่ 5 ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลเป็นครั้งแรกเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมเนียมคลอง พ.ศ เพื่อให้มีการรักษาความสะอาดของคลองไม่ให้เป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ มีการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราชขึ้น
21
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
สมัยรัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ มีการจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในกระทรวงมหาดไทย มีกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นอธิบดีคนแรก สมเด็จพระบรมราชชนก สนใจในเรื่องการแพทย์และการสาธารณสุข ทรงมุ่งมั่นเรียนต่อทางด้านการสาธารณสุขและการแพทย์จนจบทั้งสองปริญญา เนื่องจากทรงตระหนักดีว่าการป้องกันดีกว่าการรักษา
22
วิวัฒนาการของระบาดวิทยา
สมัยรัชกาลที่ 8 ในปี 2485 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น และมีการดำเนินงานเพื่อปราบโรคระบาดต่างๆเช่น คุดทะราด มาเลเรีย พยาธิลำไส้ ฯลฯ มีการตั้งกองควบคุมโรคติดต่อ ภายใต้กรมอนามัย
23
ประโยชน์ของระบาดวิทยา ( Uses of epidemiology )
ใช้ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของการเกิดโรคในชุมชน ใช้ในการวินิจฉัยชุมชน ใช้ในการรักษาและป้องกันโรค ใช้ในการค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก ใช้ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค
24
ประโยชน์ของระบาดวิทยา ( Uses of epidemiology )
ใช้วางแผนงานด้านการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ใช้ช่วยในการจำแนกโรค ใช้ประเมินผลโครงการสาธารณสุขต่าง ๆ ใช้ในการวิจัย ใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาประเทศ
25
หน้าที่หลักของระบาดวิทยา
เพื่อทราบการกระจายของโรคในชุมชน เพื่อทราบสาเหตุหรือปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เกิดโรคในชุมชน เพื่ออธิบายธรรมชาติของการเกิดโรค เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อการวิจัย
26
จุดมุ่งหมายของระบาดวิทยา ( Purposes of epidemiology )
ศึกษาถึงการกระจายของโรคในชุมชนตามบุคคล ( Person ) สถานที่ ( Place ) เวลา ( Time ) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระจายของโรคในชุมชน ศึกษาถึงปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือปัจจัยเสี่ยง และสาเหตุของโรค ศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระบาดของโรค ศึกษาถึงแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค
27
วิธีการเรียนรู้ทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Approach)
ระบาดวิทยา เชิงพรรณนา (Descriptive Epidemiology) ระบาดวิทยา เชิงวิเคราะห์ (Analytical Epidemiology) ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ (Operational Epidemiology)
29
ชนิดของระบาดวิทยา 1.ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Epidemiology)
เป็นการศึกษาถึงสภาพความเป็นจริง (Fact) ของสภาวะการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยทำการวิเคราะห์สภาพการเกิดโรคจำแนกตามชนิดของโรค ลักษณะบุคคลที่ป่วยด้วยโรคนั้น (อายุ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ เป็นต้น) ลักษณะของสถานที่ที่พบโรคนั้นมาก (จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์ หรือตามสภาพการบริหารงาน) และช่วงเวลาที่พบโรคมาก (ตามช่วงเวลาของวัน เดือน ปี หรือ ตามฤดูกาล)
30
ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา จะทำได้ตามหัวข้อต่างๆต่อไปนี้
ชนิดของโรค (WHAT) ปัจจัยในแง่ของบุคคล (WHO) ปัจจัยในแง่ของสถานที่ (WHERE) ปัจจัยในแง่ของเวลา (WHEN)
31
วิธีการของระบาดวิทยาเชิงพรรณนา
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค 2.ทำการแจงนับการเกิดโรคตามลักษณะต่างๆข้างต้น 3.ใช้สถิติที่เหมาะสมในการคำนวณหาอัตราป่วย (และ/หรืออัตราตาย) ในประชากรแต่ละกลุ่มที่ได้แจกแจงไว้ และนำเสนอด้วยกราฟที่เหมาะสม 4.แปลผลข้อมูล วิเคราะห์หาเหตุผลที่พบโรคมากหรือน้อยในประชากรแต่ละลักษณะ และตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนั้นๆ
32
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
1. Case reports and Case series ในการศึกษาแบบนี้ใช้การรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มของผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน
33
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
Case reports : คือการรายงานผู้ป่วย 1 ราย โดยครอบคลุมอย่างละเอียดลึกซึ้งในด้านต่างๆ อาจจะรายงานโดยแพทย์คนเดียว หรือกลุ่มของแพทย์ก็ได้ โดยมากมักเป็นผู้ป่วยด้วยโรคใหม่ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน Case series : คือการรายงานผู้ป่วยหลายๆคนที่ป่วยด้วยโรคเดียวกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ซึ่งอาจจะสั้นหรือยาวเป็นปีก็ได้) และมักจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่หรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยบางอย่างที่อาจจะเป็นพิษภัยจากสิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมบางอย่าง
34
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
ตัวอย่าง การรายงานเบื้องต้นถึงการเจ็บป่วยด้วย Angiosarcoma ของตับในผู้ป่วย 3 ราย ที่เคยทำงานในโรงงาน Vinyl chloride การรายงานการป่วยเป็นโรคปอดบวมจากเชื้อซึ่งไม่ธรรมดานักคือ Pneumocystis carinii ในผู้ป่วย 5 คน ซึ่งเป็นคนหนุ่มและเป็นเกย์ ในลอสแองเจลิสในช่วงระหว่างตุลาคม 1980 ถึงพฤษภาคม 1981 เป็นเหตุให้มีการสอบสวนและเก็บรวบรวมผู้ป่วยประเภทนี้ขยายวงกว้างไปทั่วสหรัฐโดย CDC (Centre for Diseases Control) และเป็นการเริ่มต้นของการวินิจฉัยโรค AIDS และสาเหตุของโรคนี้ในเวลาต่อมา
35
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
2.Correlation Study (Ecological study) ในการวิจัยประเภทนี้ คือการอธิบายการเกิดโรคในประชากรทั้งหมด ในเชิงความสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่าง
36
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
ตัวอย่าง - การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนบุหรี่ที่ขายได้กับอัตราตายของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน 44 รัฐของอเมริกา - ปริมาณการบริโภคไขมันและการตายจากโรคมะเร็งเต้านมในหญิงของประเทศต่างๆ - ระดับของการบริโภคแอลกอฮอล์และการตายของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ - ผลของการตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรก (Screening) กับการตายจากมะเร็งปากมดลูก
37
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
3. Cross-Sectional Surveys (Prevalence survey) ในการศึกษาแบบนี้ กระทำโดยการสำรวจในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในประชากรกลุ่มเป้าหมาย ในการกระทำดังกล่าว การเจ็บป่วยและปัจจัยอื่นที่คิดว่าจะเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยนั้นจะถูกวัดไปพร้อมๆกัน หรือในเวลาเดียวกัน
38
รูปแบบของการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา
ตัวอย่าง - การสำรวจสถานะสุขภาพอนามัยของประชาชนในสหรัฐอเมริกาโดยการสัมภาษน์ - การสำรวจความชุกของโรค อันเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานในกลุ่มอาชีพบางอย่าง เช่น คนงานโรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ - ความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกาย และการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
39
ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Epidemiology)
เป็นการศึกษาวิจัยอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค โดยสิ่งนั้นอาจจะเป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุ หรือเป็นปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดโรค ทั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคนั้นๆในประชากรต่อไป
40
ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์จะตอบคำถาม
โรคเกิดขึ้นเพราะอะไร (WHY) ปัจจัยนั้นทำให้เกิดโรคได้อย่างไร (HOW)
41
วิธีการของระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ประกอบไปด้วย
1.การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยและโรคที่ต้องการศึกษา 2.วางรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม case-control study, cohort study, experimental study, field trial, community study 3.ดำเนินการตามแผนและเก็บข้อมูลจากประชากรที่ศึกษา 4.วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผล 5.สรุปผลการศึกษา
42
รูปแบบของการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
1. การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective studies) การศึกษาแบบเคสคอนโทรล (Case control study) เป็นการศึกษาโดยเริ่มจากผลไปหาสาเหตุ
43
Case control study
44
รูปแบบของการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
การศึกษาไปข้างหน้า (Prospective studies) การศึกษาแบบโคฮอร์ต (Cohort study หรือ Longitudinal study หรือ Follow-up study) เป็นการศึกษาโดยเริ่มจากสาเหตุไปหาผล ปกติมักจะเป็นการศึกษาต่อเนื่องมาจาก retrospective
45
Cohort study
46
3. ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ (Operational epidemiology)
เป็นการนำความรู้ที่ได้จากระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการควบคุมโรคหรือปัญหาสุขภาพในชุมชน ซึ่งจะต้องนำความรู้ดังกล่าวมาประกอบกับความรู้เกี่ยวกับชุมชน เช่น ความเชื่อ พฤติกรรม ศาสนา สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ความชุกของโรคและปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการควบคุมโรคได้ผลดี
47
ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ จะช่วยในการตอบคำถาม
จะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อควบคุมโรคในชุมชน (What needs to be done?) จะต้องทำอย่างไร (How to do it?)
48
วิธีการของระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย
1.การวางแผนและประเมินผลการควบคุมโรค 2.การเฝ้าระวังโรค 3 การสอบสวนการระบาดของโรค 4.การคัดกรองโรค
49
ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ
ระบาด:วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ ความพิการ และการตายในชุมชน จากองค์ความรู้และข้อมูลที่มีอยู่แล้วและนำมาวิเคราะห์วิจารณ์ถึงสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ศึกษาหาความรู้ใหม่เพื่อยืนยันหรือพิสูจน์ข้อสงสัยที่ยังไม่ชัดเจนในการศึกษาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ดำเนินการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในปัจจัยต่างๆที่อาจเกี่ยวข้องทั้งในด้านของHost, AgentและEnvironment - ตั้งสมมติฐาน - ทบทวนวรรณกรรม - วางรูปแบบการศึกษาและเก็บข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการศึกษา - เสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ เป็นประโยชน์ในการระบุถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหานั้นๆที่ยังไม่ทราบคำตอบแน่ชัดโดย เป็นประโยชน์ในการค้นหาคำตอบต่อข้อสงสัยเหล่านั้น โดย ศึกษาประวัติศาสตร์ของการเกิดโรค ศึกษาประวัติและสภาพของชุมชน ประมาณค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในประชากรกลุ่มต่างๆ ศึกษาผลของปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของโรค ศึกษาขนาด อิทธิพล และผลกระทบต่อชุมชน ประเมินผลความสำเร็จของโครงการควบคุมโรค ดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคหรือปัญหาสุขภาพนั้นๆในชุมชนได้ ระบาดวิทยาเชิงปฏิบัติการ
50
แนวคิดของการเกิดโรค
51
ปัจจัยการเกิดโรคและภัย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคที่สำคัญมี 3 ประการ หรือที่เรียกกันว่าเป็นปัจจัยสามทางระบาดวิทยา ( Epidemiology triad )
52
มนุษย์ ( Human host ) อายุ เพศ พันธุกรรม ภูมิคุ้มกันโรค
ภาวะสุขภาพกายและจิตใจ เพศ พฤติกรรมสุขภาพ การกิน พันธุกรรม
53
สิ่งที่ทำให้เกิดโรคทางสรีรวิทยา
สิ่งก่อโรค ( Agent ) สิ่งก่อโรคทางกายภาพ สิ่งก่อโรคทางชีวภาพ Agent เชื้อจุลินทรีย์ แมลง สัตว์ พืชที่เป็นพิษ ร้อน เย็น แสง เสียง รังสี แรงกลไก สิ่งที่ทำให้เกิดโรคทางสรีรวิทยา สารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช สารก่อภูมิแพ้ โรงงาน มลพิษ ยารักษาโรค บ้านเรือน อาหาร พันธุกรรม สารเคมีในร่างกาย วัย ตั้งครรภ์
54
สิ่งแวดล้อม ( Environment )
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ( Physical environment ) สิ่งแวดล้อมทางเคมี ( Chemical environment ) Environment ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อมที่มีสารพิษในน้ำ ในอากาศ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ( Biological environment ) สิ่งแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจ ( Socioeconomic environment ) สิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิต อาชีพ การศึกษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ฐานะเศรษฐกิจ
55
ความสัมพันธ์ของปัจจัยสามต่อการเกิดโรค
ตามแนวคิดของ ดร.จอห์น กอร์ดอน ( Dr.John Gordon ) อธิบายการเกิดโรคจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Host) สิ่งก่อโรค (Agent) และสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งก่อโรค เป็นน้ำหนักถ่วงบนคานทั้ง 2 ข้าง โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นจุดหมุน (Fulcum)
56
เมื่อปัจจัยทั้งสามอยู่ในภาวะสมดุลภาวะสุขภาพของบุคคลหรือชุมชนเป็นปกติ
A H E
57
เมื่อสิ่งก่อโรคเพิ่มชนิดหรือจำนวนมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมเดิม ทำให้คนเกิดโรคเนื่องจาก Agent แพร่กระจายเพิ่มขึ้น H A E
58
เมื่อบุคคลมีภูมิคุ้มกันโรคลดลงหรือพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้นในสิ่งแวดล้อมเดิมทำให้คนเกิดโรค
A H E
59
เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงสนับสนุนให้มีสิ่งก่อโรคเพิ่มขึ้น ทำให้คนป่วย
H E A
60
การเสียสมดุลก่อให้เกิดโรค เช่น สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน
Host- คน Agent- สิ่งก่อโรค Host- คน Agent- สิ่งก่อโรค Environment -สิ่งแวดล้อม
61
เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงสนับสนุนให้คนเสี่ยงต่อโรค โดยมีภูมิคุ้มกันโรคลดลง หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้น A H E
62
ธรรมชาติและพิสัยของการเกิดโรค
63
ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility)
ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease) ธรรมชาติของโรค ( Natural history of disease ) ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability) ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of pre-clinical disease)
64
ห่วงโซ่ของโรคติดเชื้อ
แหล่งรังโรค ช่องทางของการติดต่อ โฮสต์ที่มีภูมิไวรับ ทางเข้าของเชื้อโรค เชื้อโรค This illustration visually summarizes the chain model of infection. Principles of Epidemiology, 2nd Edition, Centers for Disease Control and Prevention
65
กระบวนการเกิดโรคติดเชื้อ
กระบวนการที่จะทำให้เกิดโรคติดเชื้อ จะประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆ 6 ประการ ดังนี้ 1.เชื้อโรคต้นเหตุ (Etiological agent) 2.แหล่งขังโรค (Reservoir) 3.ทางออกของเชื้อโรคจากแหล่งขังโรค (Mode of escape) เช่น สารคัดหลั่ง 4.หนทางการแพร่โรค (Mode of transmission) 5.ทางเข้าสู่ร่างกาย (Mode of entry) 6.บุคคล (Human host)
66
2.แหล่งขังโรค (Reservoir) แบ่งออกได้เป็น
2.1 ผู้ป่วยด้วยโรคนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการ (clinical case) มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อน้อยกว่ากลุ่มอื่น ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ(Subclinical case, asymptomatic case) จะเป็นกลุ่มที่สามารถแพร่โรคได้มาก ผู้เป็นพาหะ(Carrier) มีเชื้อโรคอยู่ในร่างกาย แต่ไม่ป่วยเนื่องจากร่างกายมีความแข็งแรงดี Healthy carrier ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วๆไป Contact carrier บุคคลผู้ที่ไปสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค และนำเชื้อโรคนั้นไปให้ผู้อื่นได้ Incubatory carrier บุคคลที่ได้รับเชื้อ เชื้อเข้าสู่ภายในร่างกายและเจริญเติบโตจนสามารถทำให้เกิดโรคได้ แต่ยังอยู่ในระยะฟักตัวของโรค อาการยังไม่ทันปรากฏ ก็จะแพร่เชื้อโรคไปให้ผู้อื่นได้ Convalescent carrier บุคคลที่เป็นโรคและได้รับการรักษาจนอาการทุเลาหรือหมดอาการ แต่ยังมีเชื้อโรคอยู่ภายในร่างกายและสามารถแพร่ไปให้กับผู้อื่นได้
67
2.แหล่งขังโรค (Reservoir) แบ่งออกได้เป็น
2.2 แหล่งขังโรคที่เป็นสัตว์ (animal reservoir) เช่น สุนัข วัวควาย แมว ค้างคาว เป็นต้น 2.3 แหล่งขังโรคที่ไม่มีชีวิต (inanimate reservoir) เช่นมูลสัตว์ ดิน บ่อน้ำ เป็นต้น
68
4.หนทางการแพร่โรค (Mode of transmission)
4.1 การแพร่เชื้อโดยทางตรง ได้แก่ การสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย เช่น การจูบ การร่วมประเวณี การสัมผัสจากสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโรคอยู่ เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือ droplet ที่เกิดจากการไอ จาม ซึ่งเชื้อโรคจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ หากมีการเข้าใกล้ผู้ป่วย อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
69
4.หนทางการแพร่โรค (Mode of transmission)
4.2 การแพร่เชื้อโดยทางอ้อม ซึ่งได้แก่ การมีพาหะนำเชื้อจากผู้ป่วยไปยังผู้อื่น วิธีนี้จะแพร่โรคไปได้เป็นระยะทางไกลและผู้ติดเชื้อใหม่อาจไม่เคยเข้าใกล้ผู้ป่วยเลย สิ่งที่เป็นพาหะเป็นสิ่งไม่มีชีวิต (vehicle) ได้แก่สิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรคจากผู้ป่วย เช่น ของใช้ ของเล่น เสื้อผ้า เครื่องมือแพทย์ น้ำ อาหาร นม ดิน และอื่นๆ สิ่งที่เป็นพาหะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกแมลง (vector) ซึ่งอาจเป็น Mechanical vector แมลงจะนำเชื้อโรคจากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่ง โดยการติดไปตามขาและปีก โดยที่เชื้อโรคนั้นไม่ได้เจริญเติบโตภายในแมลง เช่น อหิวาตกโรค Biological vector แมลงจะนำเชื้อโรคจากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่งโดยดูดกินเชื้อโรคเข้าไปในตัว และเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มจำนวนโดยอาศัยแมลงเป็นโฮสท์ระยะหนึ่ง แล้วแมลงจึงถ่ายทอดเชื้อนั้นไปสู่โฮสท์ที่เป็นมนุษย์ เช่น มาเลเรีย เท้าช้าง เป็นต้น
70
4.หนทางการแพร่โรค (Mode of transmission)
4.2.3 สิ่งที่เป็นพาหะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสัตว์อื่นๆหรือมนุษย์ (carrier) ซึ่งอาจเป็น Healthy carrier ผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ดี แต่มีเชื้อโรคอยู่ในร่างกาย ในบางกรณี อาจเป็นสัตว์อื่นก็ได้ แต่มักเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับมนุษย์ คือกลุ่ม mammals เพราะเชื้อ ที่ก่อโรคในมนุษย์จะสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์กลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกัน Contact carrier ผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี และไปสัมผัสเชื้อโรคจากผู้ป่วย และนำมาแพร่ให้ผู้อื่น และอาจเป็นสัตว์เลี้ยงที่คลุกคลีกับมนุษย์ได้เช่นกัน การแพร่โดยทางอากาศ มักจะมีสิ่งเป็นพาหะ ได้แก่ ฝุ่นละอองในอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือ droplet nuclei คือสิ่งคัดหลั่งที่ถูกไอหรือจามออกมา แล้วส่วนที่เป็นน้ำระเหยแห้งไป กลายเป็นฝุ่นผงที่มีองค์ประกอบของเชื้อโรคที่สามารถทนความแห้งแล้งได้ และจะปลิวฟุ้งกระจายไปในอากาศได้เป็นระยะทางไกลๆ
71
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
72
ความสำคัญของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
เป็นการทำความรู้จักกับชุมชนอย่างถ่องแท้
73
ความสำคัญของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
สร้างความเข้าใจต่อชุมชนมากยิ่งขึ้น ถ้าสามารถนำชุมชนมาร่วมในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
74
ความสำคัญของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลักเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเป็นที่ยอมรับของชุมชนได้โดยง่าย
75
ความสำคัญของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสาเหตุ
76
ความสำคัญของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
ประหยัดทรัพยากรต่างๆได้
77
การเกิดโรคเป็นผลลัพธ์ของหลายสาเหตุ/ปัจจัยร่วมกัน
โรคท้องร่วงอย่างเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ปัจจัยทางด้าน host ได้แก่ อายุต่ำกว่า 2 ปี การมีภาวะทุพโภชนาการ
78
การเกิดโรคเป็นผลลัพธ์ของหลายสาเหตุ/ปัจจัยร่วมกัน
ปัจจัยทางด้าน agent ได้แก่ Bacteria Vibro Shigella Salmonella Parasites Viruses Rotavirus Others
79
การเกิดโรคเป็นผลลัพธ์ของหลายสาเหตุ/ปัจจัยร่วมกัน
ปัจจัยทางด้าน environment ได้แก่ บุคคลที่เป็นพาหะ พฤติกรรมอนามัยของผู้เลี้ยงเด็ก สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ ฐานะเศรษฐกิจของผู้เลี้ยงดูเด็ก
80
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหา
ทบทวนธรรมชาติของการเกิดโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของชุมชนโดยละเอียด สร้างโยงใยแห่งเหตุของปัญหา (web of causation) ระหว่างโรคกับปัจจัยสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุของปัจจัยเสี่ยง ตัดปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาในชุมชนนั้นออก ใช้วิทยาการระบาดเพื่อกำจัดปัจจัยบางตัวออกจากโยงใยทางทฤษฎีที่สร้างไว้ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะทางด้านพฤติกรรมศาสตร์และสังคม
81
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ปัญหา
เปรียบเทียบโอกาสการเป็นสาเหตุของโรคโดยการใช้วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ สร้างโยงใยแห่งเหตุของโรคที่แท้จริงของชุมชน (actual web of causation) บูรณาการปัจจัยต่างๆ ในโยงใยแห่งเหตุของโรคในข้อ 7 กับภาพลักษณ์ของชุมชนที่พึงประสงค์ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
82
กิจกรรมภาพฝัน
83
หลักการของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
เหตุจะต้องเกิดก่อนผล การเป็นเหตุและผลนั้นจะต้องมีความเป็นไปได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ ความจำเพาะของเหตุที่ทำให้เกิดผล ปัจจัยที่มีค่าของอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์ก็ยิ่งมีโอกาสจะเป็นสาเหตุได้มากขึ้น ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงมากก็ยิ่งพบว่ามีการเกิดโรคมาก และปัจจัยเสี่ยงน้อยก็พบว่ามีการเกิดโรคน้อย ปัจจัยนั้นก็ยิ่งมีโอกาสจะเป็นสาเหตุของโรคได้มากขึ้น ถ้าการศึกษาโดยวิธีการต่างๆ แสดงว่าปัจจัยนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคเหมือนๆกัน ปัจจัยนั้นก็ยิ่งมีโอกาสเป็นสาเหตุของโรคได้มากขึ้น
84
Web of causation เกิดจากความสัมพันธ์ของโรคและปัจจัยต่างๆ 2 แบบ คือ
ความสัมพันธ์โดยทางตรง (Direct of causation) ความสัมพันธ์โดยทางอ้อม (Indirect of causation)
85
Web of causation ..\โยงใยปัญหา.docx
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.