ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยShannon Alexander ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
หน่วยการเรียนที่ ๕ การเขียนบทความแสดงความคิดเห็น
อ.อาทิมา พงศ์ไพบูลย์
5
ความรู้พื้นฐานเรื่องการเขียนบทความ
๑. ความหมายของบทความ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๒, หน้า ๖๐๒) ได้ให้ความหมายของบทความว่า “น. ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น”
6
ความหมายของบทความ ธิดา โมสิกรัตน์ (๒๕๕๒, หน้า ๑๐๙) ได้กล่าวถึงความหมายของบทความไว้ว่า บทความเป็นงานเขียนที่มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระด้วยภาษาที่เป็นร้อยแก้ว ใช้สำนวนโวหาร และลีลาการเขียนที่ชวนอ่าน ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เหตุการณ์ เรื่องราว ฯลฯ และความคิดเห็นในสาระเนื้อหาที่นำเสนอ โดยการอธิบายขยายความ การสนับสนุน การโต้แย้ง การแสดงเหตุผล ตัวอย่าง ฯลฯ
7
ความหมายของบทความ จันทนา ทองประยูร และคณะ (๒๕๔๘, หน้า ๓๐๑) ได้กล่าวถึงความหมายของบทความไว้ว่า บทความเป็นความเรียงที่ผู้เขียนพยายามเรียบเรียงเนื้อหา ความคิด แล้วถ่ายทอดอย่างมีระบบ ด้วยลีลาภาษาที่เหมาะสม บทความจึงเป็นข้อเขียนที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงบวกกับข้อคิดเห็นและเหตุผลที่เชื่อถือได้ที่ผู้เขียนแสดงออกเกี่ยวกับเรื่องราวใดๆ น้ำหนักเนื้อหาของบทความอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ ในความคิดเห็นที่ผู้เขียนนำเสนออย่างสมเหตุสมผลบนรากฐานของข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมากกว่าจะ มุ่งรายงานข้อเท็จจริง หรือให้ความรู้เพียงประการเดียวเท่านั้น
8
ความหมายของบทความ ชลธิรา กลัดอยู่ และคณะ (๒๕๑๗, หน้า ๑๗๒) ได้อธิบายความหมายของบทความไว้ว่า บทความเป็นความเรียงแบบหนึ่งที่มีเรื่องราวจากความจริง เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในขณะนั้น หรือไม่ก็มีเจตนาเขียนเพื่อให้คนสนใจในเรื่องนั้นๆ โดยทันที เรื่องที่เขียนอาจมีลักษณะเป็นการวิเคราะห์ข้อขัดแย้งต่างๆ โดยมีการกล่าวถึงแหล่งอ้างอิงข้อมูล ที่สำคัญต้องมีการเสนอทัศนะข้อคิดเห็นบางประการของผู้เขียนเองด้วย
9
ความหมายของบทความ โดยสรุปแล้ว บทความ หมายถึง งานเขียนประเภทความเรียงร้อยแก้ว ที่มีการเรียบเรียงเนื้อหาขึ้นจากข้อเท็จจริง โดยมีการแสดงความคิดเห็นประกอบ อย่างสมเหตุสมผลและมีมุมมองที่แปลกใหม่น่าสนใจ
10
๒. ลักษณะเฉพาะของบทความ
๒. ลักษณะเฉพาะของบทความ ๒.๑ มีขนาดสั้น บทความที่ดีควรจบเป็นตอนๆ มีขนาดไม่ยาวจนเกินไป การเขียนย่อหน้าในบทความก็ควรมีขนาดสั้นด้วย
11
๒. ลักษณะเฉพาะของบทความ
๒. ลักษณะเฉพาะของบทความ ๒.๒ เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนั้น เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙, เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เฮติ, ภาวะโลกร้อน เป็นต้น
12
๒. ลักษณะเฉพาะของบทความ
๒. ลักษณะเฉพาะของบทความ ๒.๓ เป็นการวิเคราะห์ การเขียนบทความไม่ใช่การอธิบายให้ความรู้เท่านั้น แต่ผู้เขียนจะต้องแทรกความคิดเห็นที่น่าเชื่อถือและเป็นเหตุเป็นผลประกอบการเขียนบทความด้วย ความคิดเห็นดังกล่าว ต้องมีการคิดวิเคราะห์ มาแล้วเป็นอย่างดี
13
๓. จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ
๓. จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ ๓.๑ ให้ความรู้ การเขียนบทความอาจมีเนื้อหาที่มุ่งให้ความรู้เฉพาะสาขาหรือความรู้ทั่วไปก็ได้ บทความที่มุ่งให้ความรู้เฉพาะสาขามักมีลักษณะเนื้อหาเฉพาะทางเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้อ่านจึงควรมีพื้นความรู้และความสนใจในเรื่องนั้นอยู่แล้ว จึงสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะบางบทความอาจมีการใช้คำศัพท์เฉพาะด้านและคำศัพท์วิชาการในเนื้อหาด้วย
14
ตัวอย่างเนื้อหาที่มุ่งให้ความรู้เฉพาะทาง เช่น การแปรคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้, บทพิโรธวาทังในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน, GMO พันธุวิศวกรรมศาสตร์ ให้คุณหรือโทษ เป็นต้น
15
๓. จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ
ส่วนเนื้อหาที่มุ่งให้ความรู้ทั่วไป มักมีเนื้อหาที่มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ผู้คนทั่วไปสามารถอ่านได้ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น มหัศจรรย์ชาเขียว, น้ำเลี้ยงข้อเข่าสำคัญอย่างไร, ความเครียดทำให้อ้วนได้, ขุมทรัพย์แห่งท้องทะเลตรัง เป็นต้น
16
๓. จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ
๓.๒ ให้ข้อมูล ผู้เขียนบทความอาจมีจุดมุ่งหมายในการให้ข้อมูล นำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ เช่น วิธีออมเงินในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง, การออกกำลังกายให้เหมาะกับรูปร่าง, โรคอุบัติใหม่และวิธีป้องกัน, สร้างความเข้าใจ รู้จักใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
17
๓. จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ
๓.๓ ให้ความคิดเห็น นอกจากการแสดงข้อเท็จจริงในบทความ ผู้เขียนอาจมีจุดมุ่งหมายในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวคิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อาจเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ สนับสนุน โต้แย้ง เสียดสี หรือกระตุ้นให้คิด เช่น “แพนด้าฟีเวอร์” กระแสที่เกินพอดีของคนไทย, กีฬา “สี” การเมืองไทย ไร้น้ำใจ นักกีฬา, สอบเข้ามหาวิทยาลัยวิธีใหม่ ไฉไลหรือถอยหลังเข้าคลอง เป็นต้น
18
๓. จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ
๓.๔ ให้ความเพลิดเพลิน บทความบางเรื่องนอกจากให้ความรู้ความคิดแล้ว ยังให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย มักปรากฏในบทความสารคดีท่องเที่ยว ประวัติสถานที่ ประวัติบุคคล บทความสัมภาษณ์ เช่น “เพลินวาน” วันวานแสนหวานที่หวนคืน, บทสนทนา “ภราดร” ทำอะไร..ในวันพักผ่อน ก่อนหวนคืนสังเวียน, เซเลบ สไตล์ เป็นต้น
20
๔. ประเภทของบทความ ๔.๑ บทความวิชาการ (Academic Article) มีเนื้อหา เรื่องราวที่เสนอสาระความรู้และทรรศนะทางวิชาการ โดยตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นวารสารวิชาการของสถาบันการศึกษา ซึ่งวารสาร วิชาการเหล่านี้มักมีการตีพิมพ์เป็นระยะสม่ำเสมอ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจคุณภาพของบทความ เช่น วารสารภาษาและวรรณคดีไทย ของภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21
ตัวอย่างวารสารวิชาการ
23
๔. ประเภทของบทความ ๔.๒ บทความวิเคราะห์ (Analytical Article) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เรื่องราว เหตุการณ์ ปัญหา หรือวิกฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในสังคม โดยผู้เขียนต้องใช้หลักวิชาการหรือทฤษฎีในการวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอข้อมูลอย่างมีน้ำหนัก เป็นเหตุเป็นผล ไม่มีอคติ ทำให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อถือและยอมรับ
24
ผู้เขียนบทความวิเคราะห์จึงควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนอย่างแท้จริง รวมทั้งรู้จักเลือกใช้หลักวิเคราะห์ที่เหมาะสม เช่น บทความวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย บทความวิเคราะห์วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจดูไบเวิร์ล
25
๔. ประเภทของบทความ ๔.๓ บทความแสดงความคิดเห็น (Opinion Article) บทความประเภทนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็นที่มีต่อเหตุการณ์ เรื่องราว ประเด็นปัญหาต่างๆ มีการสำรวจปัญหา รวบรวมข้อมูล ศึกษาที่มาของเรื่อง แล้วจึงแสดงความคิดเห็นของตนแทรกลงไป ทั้งนี้ความคิดเห็นดังกล่าวควรเป็นความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ แปลกใหม่ น่าสนใจ น่าเชื่อถือ และยังไม่มีใครคิดเห็นในประเด็นนั้นมาก่อน
26
๔. ประเภทของบทความ บทความแสดงความคิดเห็นสามารถตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร เป็นต้น การเขียนบทความแสดงความคิดเห็น ถ้าเขียนโดยผู้จัดพิมพ์จะเรียกว่า บทนำ หรือบทบรรณาธิการ นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ต่างๆ ที่มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน บางคอลัมน์มีนักเขียนหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเขียนบทความอยู่แล้วเป็นประจำ แต่บางคอลัมน์เปิดโอกาสให้ผู้สนใจส่งบทความไปตีพิมพ์ได้
27
๔. ประเภทของบทความ ๔.๔ บทความเชิงวิจารณ์ (Critical Article) มีเนื้อหาที่ติชมและวิพากษ์วิจารณ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ และการแสดงต่างๆ ผู้เขียนควรมีหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบการวิจารณ์และการประเมินคุณค่า
28
๔. ประเภทของบทความ บทความวิจารณ์ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ บทวิจารณ์หนังสือ ถ้าเขียนในเชิงประเมินคุณค่า เรียกว่า บทวรรณกรรมวิจารณ์ ถ้าเขียนในเชิงแนะนำหนังสือ เรียกว่า บรรณนิทัศน์ (book review)
29
ตัวอย่างบทบรรณนิทัศน์ (บทแนะนำหนังสือ)
ความสุขของกะทิ เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงวัย 10 ปี ชื่อกะทิ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับตายาย โดยมีปริศนาแต่ต้นเรื่องว่า พ่อกับแม่ของเธออยู่ที่ไหน วันหนึ่งตายายก็พากะทิไปพบกับแม่ซึ่งกำลังป่วยหนัก กะทิได้มีโอกาสอยู่กับแม่ในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นช่วงที่กะทิมีความสุข กับการอยู่กับธรรมชาติ และความรักที่ได้รับจากตายาย และญาติของแม่ และวันหนึ่งแม่ได้จากกะทิไป
30
ปริศนาเรื่องที่กะทิยังสงสัยอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องของพ่อ และหลังจากแม่ตายแล้วน้าและลุงได้พากะทิไปยังสถานที่ที่แม่เคยอาศัยอยู่กับกะทิก่อนที่แม่จะป่วย และได้เล่าเรื่องราวของพ่อแม่ของกะทิให้ฟัง และมอบจดหมายที่แม่เขียนไว้ก่อนตาย เพื่อให้กะทิตัดสินใจว่าจะไปอยู่กับพ่อ หรือจะอยู่กับตายายเหมือนเดิม โดยให้กะทิตัดสินใจที่จะส่งจดหมายไปหรือไม่ ตอนท้ายกะทิก็ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ตัวเองต้องการได้.....
31
มีถ้อยคำหลายคำในหนังสือ ที่ให้ทั้งความรู้สึกสะเทือนใจ และสุขใจ
หนังสือเล่มนี้ อ่านชื่อเรื่องแล้ว เหมือนเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก แต่จริงๆแล้วแฝงไว้ด้วยแง่คิด ในการดำเนินชีวิตหลายเรื่อง ถ้อยคำในหนังสือ ใช้คำที่ง่ายๆ แต่กินใจ เต็มไปด้วยอารมณ์ และความรู้สึก อ่านแล้วรู้สึกอิ่มใจ มีถ้อยคำหลายคำในหนังสือ ที่ให้ทั้งความรู้สึกสะเทือนใจ และสุขใจ
32
ตัวอย่างบทวิจารณ์หนังสือ (บทวรรณกรรมวิจารณ์)
ความสุขของกะทิ: การเขียนของผู้หญิงในร่างแหอำนาจของผู้ชาย นัทธนัย ประสานนาม คงไม่ถูกตำหนิว่าล้าสมัยเกินไปหากจะหยิบนวนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ ผลงานของงามพรรณ เวชชาชีวะที่ได้รับรางวัลซีไรต์มาวิจารณ์อีกครั้ง สืบเนื่องมาจากบทวิจารณ์ของอาจารย์พรธาดา สุวัธนวนิช ใน มติชนสุดสัปดาห์ ที่กล่าวว่า ความสุขของกะทิ ทั้งเล่มที่ได้รางวัลและ ตอนตามหาพระจันทร์ เป็นการเขียนของผู้หญิง (Woman Writing) เพราะเสนอมิติทางอารมณ์อันละเอียดอ่อนลึกซึ้งของผู้หญิง การตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตของตนเองโดยผู้หญิงที่แสดงให้เห็นว่าอารมณ์นั้นเป็นฐานของเหตุผล ตลอดจนอธิบายความรักรูปแบบต่างๆที่ปรากฏในเรื่อง
33
บทวิจารณ์ที่อ้างถึงข้างต้นน่าจะเข้าข่ายเป็นการวิจารณ์แนวสตรีนิยมเพราะกล่าวถึงการเมืองของผู้หญิง ในที่นี้ผู้วิจารณ์จึงขออ่านงานเขียนของงามพรรณด้วย “แว่น” ของสตรีนิยมเช่นกัน แต่แทนที่จะมุ่งแสวงหาตัวตนของผู้หญิง ผู้วิจารณ์จะขอเปิดโปงระบบคิดที่อยู่ภายใต้อำนาจชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตย (Patriarchy) ในนวนิยายทั้งสองเล่มนี้
34
ตัวอย่างบทวิจารณ์ภาพยนตร์
“วันไหน ๆ หัวใจก็มีความสุข” ประโยคข้อความเล็ก ๆ บนโปสเตอร์ใบใหญ่ยักษ์ พร้อมด้วยหน้าตาเด็กหญิงวัยใส ยิ้มแย้ม แววตาบ่งบอกถึงความสุขในแบบฉบับปิ่นโตที่บรรจุไว้ทุกชั้น
35
ความสุขของกะทิ โดย กลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์น้องใหม่ ภาพยนตร์ชูใจ ผลงานกำกับของ เจนไวย์ ทองดีนอก ผลงานภาพยนตร์ที่ใครหลาย ๆ คนอาจคุ้นเคยกับชื่อเรื่องที่คุ้นหู จากสุดยอด นวนิยายเรื่องสั้นรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๔๙ ผลงานเขียนของ คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ ที่สร้างความสนุกบนหน้าหนังสือที่ทำให้ใครหลายต่อหลายคนหลงรักมาแล้ว
36
วันนี้กลายเป็นภาพยนตร์ที่สร้างรอยยิ้มต้อนรับ วันเด็กแห่งชาติ ของขวัญที่ทำเอาผู้ใหญ่บางคนถึงกลับหลั่งน้ำตาแห่งภาพความประทับใจ ของหนูน้อย กะทิ รับบทโดย น้องพลอย ภัสสร คงมีสุข นักแสดงวัยใสที่ทำเอาผมหลงรักในความน่ารักของเธอตั้งแต่แรกเห็น
37
แม้ว่านี่จะเป็นการแสดงของเธอครั้งแรก การถ่ายทอดความเป็น กะทิ ในฉบับภาพยนตร์ อาจจะดูเรียบง่าย ธรรมดา แต่ในความเรียบง่ายกลับทำให้ผม และคอหนังบางคนร่วมเข้าสู่วัยเด็กอีกครั้ง วัยที่ต้องการความเอาใจ ความอยากรู้ และการเก็บงำความรู้สึกลึก ๆ ต่อโชคชะตาที่อาจจะต้องสูญเสียคนที่รัก แต่ในความมืดมนก็มักจะมีแสงแห่งความสุขจากคนที่รักเราเช่นกัน
38
ด้วยเรื่องราวชวนอบอุ่นในความรักที่เกิดจากผู้เป็นตา และยายที่โอบอุ้มเด็กน้อยที่ปราศจากความใกล้ชิดจากแม่ พ่อ ด้วยเหตุ และผลที่ใครก็มิอาจล่วงรู้ แต่ความรู้สึกของเด็กหลาย ๆ คนอาจเฝ้าแต่ตั้งคำถามว่า แม่ไปไหน แม่จะกลับมาเมื่อไหร่ อีกสารพัด เพราะเด็กคือ พลังบริสุทธิ์ที่ต้องถูกหล่อเลี้ยงด้วยความรัก มากกว่าการป้อนความรักที่ไม่เคยเอ่ยถาม
39
กะทิ จึงเป็นตัวละครที่บ่งบอกถึงความรู้สึกที่อยู่ภายในใจ คำถามที่เฝ้าเวียนวน แต่ไม่เคยได้เอ่ย อาจด้วยเพราะสภาพแวดล้อมแห่งบ้านหลังนี้ ธรรมชาติที่ปกคลุมให้ได้รับไออุ่น ท้องนาสีเขียวขจี และการถูกเรียกหาทุกเช้าจากยาย เพื่อให้ทำกิจวัตร ตักบาตร ตามแบบวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม ซึมซับจนกลายเป็นเกราะภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
40
และนี่คือ ความรัก ที่ กะทิ ได้รับ แต่ในอีกมุมหนึ่งเด็ก อาจต้องการบอกสิ่งที่อยู่ในใจนั่นคือ การได้เจอแม่ผู้เป็นที่รัก รับบทโดย รัชนก แสงชูโต ที่แสดงได้ถึงอารมณ์ความรักของแม่
41
ยิ่งภาพลูกนอนหนุนตัก แต่แม่ไม่สามารถแม้แต่เอื้อมมือสัมผัสลูก ทำได้เพียงส่งสายตาที่เอ่อล้นด้วยความรัก ยิ่งเห็นแล้วน้ำตาไหลลงมาอาบแก้มจนผมต้องเบือนหน้าหนี ใช่ว่าความประทับใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ จะเป็นความสดใส น่ารักของ หนูน้อย กะทิ เท่านั้น
42
แต่คนรอบกายที่ร่ายล้อม คุณตา ที่เสมือนเป็นดั่งแสงอาทิตย์คอยสาดส่องทุกอณูของหัวใจให้เด็กหญิงเข้มแข็ง รับบทโดย สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ นักแสดงรุ่นเก๋าที่ฝีมือฉกาจหาตัวจับยากท่านหนึ่ง การถ่ายทอดความรักระหว่างตากับหลาน ทำให้ผมรู้สึกถึงความอบอุ่นได้อย่างสุขใจ ผสมผสานกับคำพูดที่ชวนให้อมยิ้ม อย่าง ตอนที่ตาบอกหลานว่า สงสัยคุณยายหวงยิ้มไว้อัดกระป๋องส่งนอก เป็นประโยคเด็ดที่ทำเอาคอหนังทั้งหลายอมยิ้มทุกครั้งเมื่อได้ฟัง
43
ความเรียบง่ายของฉาก ภาพบรรยากาศบ้านทรงไทย ทุ่งหน้าสองข้างทาง หรือแม้กระทั่งศาลาริมน้ำ ต้องบอกได้เลยว่า นี่คือธรรมชาติในชนบทที่ยังคงอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้าที่เขียวขจี บอกได้คำเดียวว่า เลือกสถานที่ได้ตรงกับตัวของ กะทิ จริง ๆ
44
การดำเนินเรื่องค่อนข้างเป็นไปอย่างช้า ๆ วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นชนบท ไม่ฟุ้งเฟ้อ ความสุขที่ก่อตัวเกิดขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ อาจจะติดขัดในบางฉากดูแล้วอาจขัดตาสักเล็กน้อย เพราะไม่ปะติดปะต่อเท่าไร จุดนี้จึงทำให้เสียอรรถรส เนื่องจากบางตอนดูแล้วไม่ลื่นไหล
45
ความพอดีของเนื้อเรื่อง หากใครหลายต่อหลายคนได้อ่านในแบบฉบับหนังสือมาก่อนหน้านี้ อาจผิดหวังเล็กน้อยในส่วนของตัว กะทิ ซึ่งในหนังสือ กะทิเป็นเด็กร่าเริงสดใส แม้จะมีคำถามเวียนวนภายในใจ แต่ความสุขก็มีได้ในตามวิถีทางที่เป็น นี่จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายในการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ เพราะต้องทำอย่างไรกับคนดูที่ได้อ่านเนื้อเรื่องจากหนังสือ และคนที่ยังไม่เคยได้อ่านให้เกิดความประทับใจได้
46
แต่โดยรวม ๆ แล้วยังทำออกมาได้ดี ความเรียบง่าย แสนธรรมดา กลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ใหญ่บางคนได้กลับไปหวนคิด คำนึงในความรู้สึกของเหล่าเด็กตัวน้อย ความใสซื่อบริสุทธิ์มักจะถูกฉาบไปด้วยความรัก ความปรารถนาดี แต่บางครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ต้องเปิดหัวใจและรับฟังเสียงเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ ดูบ้าง
47
เพราะความสุขเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แม้จะอยู่บนพื้นที่แห่งใดในโลกใบนี้ สิ่งที่สำคัญคือ การเอียงหู แล้วถามกลับไปว่า วันนี้หนูมีความสุขแล้วหรือยัง "ไม่ว่าจะยืนอยู่มุมไหนบนโลกใบนี้ แต่อย่างน้อยก็ยังได้มองพระจันทร์ดวงเดียวกัน" โดย นายมูฟวี่
48
๔. ประเภทของบทความ ๔.๕ บทความสารคดี (Feature Article) มีเนื้อหาที่เป็นความรู้และประสบการณ์ตรงของผู้เขียน อาจเป็นข้อมูลที่ได้จากการประสบพบเจอด้วยตนเอง หรือจากการศึกษาค้นคว้าหรือสัมภาษณ์ แล้วนำมารวบรวมเรียบเรียงให้เป็นเรื่องที่สมบูรณ์ แปลกใหม่และน่าสนใจ
49
๔. ประเภทของบทความ การใช้ภาษาในบทความสารคดี มักใช้ภาษาไม่เป็นทางการ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง เสมือนการเล่าสู่กันฟัง ทั้งนี้อาจใช้ภาพประกอบเพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจ และน่าสนใจยิ่งขึ้น ตัวอย่างบทความสารคดี เช่น บทความสารคดีท่องเที่ยว บทความสารคดีชีวประวัติบุคคล บทความสารคดีเกร็ดความรู้ต่างๆ เป็นต้น
50
๔. ประเภทของบทความ ๔.๖ บทความสัมภาษณ์ (Interview Article) มีเนื้อหาที่ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ส่วนมากมักมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการแสดงความคิดความเห็นของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์ เรื่องราว ประเด็นปัญหา หรือสถานการณ์ในขณะนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์อาจเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้ประสบปัญหา หรือมีมุมมองที่แปลกใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเหมาะสมกับเรื่อง ที่เขียน
51
ตัวอย่างบทความสัมภาษณ์ เช่น สัมภาษณ์ สุทธิ อัชฌาศัย “มาบตาพุดจะต้องไม่ขยายอีกต่อไป”
52
ลักษณะของ ผู้เขียนบทความที่ดี ควรเป็นอย่างไร
53
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี เจือ สตะเวทิน (๒๕๐๙,หน้า ๓๙๔) ได้กล่าวถึงการเขียนบทความว่า “ผู้เขียนบทความต้องกล้าแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนอย่างไม่หวาดหวั่นว่า คนอื่นเขาจะไม่เห็นด้วย ให้เขียนออกมาเถิด ผู้อ่านอยากเห็นบุคลิกลักษณะของผู้เขียน ผู้เขียนเป็นตัว-ของตัวเองได้มากเท่าใด บทความก็จะมีค่ามากยิ่งขึ้นเท่านั้น”
54
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี ชลอ รอดลอย (๒๕๕๑, หน้า ๗๒ - ๗๓) ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความที่ดี สรุปได้ดังนี้ ๑) ผู้เขียนบทความที่นำข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเป็นตัวเลข สถิติและแผนภูมิมาแสดง จะต้องระมัดระวังมิให้ฟุ่มเฟือย มิฉะนั้นจะทำให้ผู้อ่านเบื่อ
55
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี ๒) ผู้เขียนบทความควรใช้เรื่องเกร็ดความรู้ที่เหมาะสมมาประกอบ แต่ทฤษฎีนี้ต้องอาศัยความฉลาดของผู้เขียน ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้เขียนต้องใคร่ครวญให้เหมาะว่าควรนำเกร็ดความรู้ไว้ตรงส่วนใด
56
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี ๓) ผู้เขียนบทความควรอ้างคำพูดของเจ้าของตำราหรือผู้เชี่ยวชาญในวิชาเฉพาะต่างๆ การเขียนบทความที่ดีต้องอาศัยการอ้างคำพูดของผู้ที่มีชื่อเสียงหรือมีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เพราะผู้เขียนเองอาจเป็นเพียงนักเขียนธรรมดา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในวิชาเฉพาะอย่างใดเป็นพิเศษ
57
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี ๔) ผู้เขียนบทความควรใช้การแปรเรื่อง หรือวิธีการยักย้ายความคิดแง่อื่นบ้าง กล่าวคือ ใช้วิธีการตั้งคำถามแก่ผู้อ่านไว้เสมอ แล้วจึงคลี่คลายคำตอบไว้เป็นชั้นๆ โดยปกติคำถามเพื่อแปรเรื่องเช่นนี้ มักทำให้บทความดีขึ้นเพราะทำให้เกิดย่อหน้าขึ้นอย่างน้อย ๒ – ๓ ย่อหน้า
58
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี
๕. ลักษณะของผู้เขียนบทความที่ดี ๕) ผู้เขียนบทความควรให้ความสำคัญกับการลงท้าย ส่วนลงท้ายของบทความเขียนได้ยากมาก ผู้เขียนต้องศึกษาจากบทความของตนอย่างรอบคอบ การลงท้ายทำได้หลายวิธี เช่น วิธีสรุปอย่างรวบรัด วิธีตะล่อมให้ผู้อ่านเห็นจุดเด่นที่ปรารถนา หรือวิธีทิ้งท้ายให้คิด
59
๖. องค์ประกอบของบทความ ๖.๑ เนื้อหา การเขียนบทความสามารถเลือกเขียนเนื้อหาได้หลากหลาย เช่น ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาศาสตร์ การศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น เนื้อหาของบทความควรเป็นสาระเรื่องราวที่ชัดเจน มีข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนข้อมูล ผู้เขียนอาจศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลได้จากหลายแหล่ง เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสัมภาษณ์ การสังเกต หรือจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง
60
๖. องค์ประกอบของบทความ ๖.๒ ความคิดเห็น ผู้เขียนบทความควรนำเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ น่าสนใจ เที่ยงตรง มีเหตุผล และไม่มีอคติในการนำเสนอข้อมูล ผู้เขียนอาจถ่ายทอดความคิดของตน เพื่อสะท้อนปัญหา เปิดประเด็นหรือแง่มุมใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครเขียนมาก่อน หรืออาจกระตุ้นให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของเรื่องนั้น ก็ได้
61
๖. องค์ประกอบของบทความ ๖.๓ วิธีการเขียน การเขียนบทความให้น่าสนใจนั้น ขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการ เช่น เนื้อหา ภาษา การลำดับความ ความสร้างสรรค์ เป็นต้น ผู้เขียนจึงควรมีความตั้งใจและเอาใจใส่รายละเอียด เพื่อให้เกิดความสละสลวยชวนติดตาม
62
วิธีการเขียน มีจุดมุ่งหมายแน่นอนว่าจะพูดถึงอะไร หวังผลอย่างไร
ทองคูณ หงส์พันธุ์ (๒๕๔๓, หน้า ๓๒ - ๓๓) ได้สรุปหลักการเขียนบทความที่สำคัญไว้ดังนี้ มีจุดมุ่งหมายแน่นอนว่าจะพูดถึงอะไร หวังผลอย่างไร ตัวเรื่องจะต้องแบ่งออกให้เป็นสัดส่วน ให้คำนำ ตัวเรื่อง คำลงท้ายสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม และเป็นเรื่องให้ความคิดประเทืองปัญญา
63
หลักการเขียนบทความ สำนวนภาษาต้องอ่านง่าย ชวนให้ติดใจ ถ้อยคำไพเราะ ภาษารื่นหู และมีลักษณะเป็นของตัวเอง อภิปรายไขปัญหาให้แจ่มกระจ่าง กล้าที่จะแสดงความคิดอย่างตรงไปตรงมาและเป็นตัวของตัวเอง
64
หลักการเขียนบทความ อ้างอิงข้อเท็จจริงประกอบโดยเอาข้อเท็จจริงเป็นข้อพิสูจน์ มีความฉลาดหลักแหลมที่จะหาเกร็ดที่เหมาะสมมาประกอบ อ้างอิงคำพูดของบุคคลที่พอเชื่อถือได้ และตำราที่ทุกคนยอมรับ แปรประเด็นให้เห็นแง่คิดต่างๆ หลายแง่มุม
65
หลักการเขียนบทความ มีคำทิ้งท้าย เพื่อให้ผู้อ่านได้คิดได้เห็นจุดเด่นที่เราปรารถนา ซึ่งโดยปกติจะอยู่ย่อหน้าสุดท้าย เลือกเรื่องเขียนที่คนกำลังสนใจ ตั้งชื่อให้เหมาะสมและชวนอ่าน
66
๗. ความแตกต่างระหว่างบทความกับงานเขียนอื่น
๗. ความแตกต่างระหว่างบทความกับงานเขียนอื่น ๗.๑ เรียงความ ตั้งแต่ผู้เรียนเรียนหนังสือในวัยเด็กเป็นต้นมา มักคุ้นเคยกับการเขียนเรียงความ การเขียนเรียงความนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากบทความบ้าง กล่าวคือ การเขียนเรียงความเป็นแบบฝึกการเขียนที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อและจำนวนหน้า ซึ่งหัวข้อมักไม่ยากเกินไป สามารถหาข้อมูลหรือแสดงความคิดได้ง่าย
67
ตัวอย่างหัวข้อเรียงความ
- วันแม่แห่งชาติ - สุนทรภู่ : กวีเอกของโลก - โรงเรียนของฉัน - การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - ความสำคัญของภาษาไทย เป็นต้น
68
ความแตกต่างระหว่างบทความกับเรียงความ
ด้านเนื้อหาและภาษา ผู้เขียนเรียงความมีหน้าที่เรียบเรียงความรู้และประสบการณ์ แล้วถ่ายทอดด้วยภาษาที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ แต่การเขียนบทความจะมีอิสระในการเขียน ทั้งเรื่องเนื้อหาและภาษามากกว่าเรียงความ ด้านการแสดงความคิดเห็น การเขียนบทความจะมีหลักการเป็นเหตุเป็นผล และแปลกใหม่มากกว่าเรียงความ
69
ความแตกต่างระหว่างบทความกับเรียงความ
ด้านการเผยแพร่ เรียงความมักเผยแพร่อยู่ในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีการเผยแพร่ภายนอกบ้างในกรณีที่มีการจัดประกวดการเขียนเรียงความ แต่ในการเขียนบทความมีการตีพิมพ์และเผยแพร่อย่างหลากหลาย ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ใบปลิว สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
70
๗. ความแตกต่างระหว่างบทความกับงานเขียนอื่น
๗. ความแตกต่างระหว่างบทความกับงานเขียนอื่น ๗.๒ ข่าว ข่าวและบทความเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงเหมือนกัน แต่มีเวลาและรายละเอียดที่ต่างกัน กล่าวคือ การเขียนข่าวต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์ และต้องรวบรวมรายละเอียดให้มากที่สุด หรืออาจมีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่การเขียนบทความ ไม่จำเป็นต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์เหมือนข่าว
71
ความแตกต่างระหว่างบทความกับข่าว
บทความอาจเขียนหลังจากข่าวนั้นเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่ง ทั้งนี้เพราะผู้เขียนต้องหาที่มาและข้อมูลต่างๆ มาประกอบ อีกทั้งต้องเสนอความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ด้วย แต่การนำเสนอข่าวจะเน้นการนำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ
72
๘. ประโยชน์ของการเขียนบทความ
๘. ประโยชน์ของการเขียนบทความ ๘.๑ เพิ่มพูนความรู้ความคิดให้กับบุคคลที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน หรือมีอาชีพเดียวกัน ๘.๒ เพิ่มพูนความรู้ของผู้เขียนให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะในการเขียนบทความ ผู้เขียนต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
73
๘. ประโยชน์ของการเขียนบทความ
๘. ประโยชน์ของการเขียนบทความ ๘.๓ สร้างผลงานและชื่อเสียงให้กับตนเองและหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ ๘.๔ เพิ่มพูนรายได้และสร้างความก้าวหน้าในด้านอาชีพการงานของตนเอง
74
คำถามทบทวน “บทความ” จัดเป็นงานเขียนประเภทสารคดีหรือบันเทิงคดี
“บทความ” จัดเป็นงานเขียนประเภทสารคดีหรือบันเทิงคดี ตอบ สารคดี
75
คำถามทบทวน ๒. การแสดงความคิดเห็นในบทความ ควรแสดงความคิดลักษณะใด
๒. การแสดงความคิดเห็นในบทความ ควรแสดงความคิดลักษณะใด ตอบ แปลกใหม่ สร้างสรรค์ น่าสนใจ เที่ยงตรง มีเหตุผล และไม่มีอคติ
76
คำถามทบทวน ๓. “บทความ” มักตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ใดบ้าง
๓. “บทความ” มักตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ใดบ้าง ตอบ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร เป็นต้น
77
คำถามทบทวน ๔. ความเรียงหรือข้อเขียนแสดงความคิดเห็นที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ตเรียกว่าเป็น “บทความ” ได้หรือไม่ ตอบ ได้
78
บทความแสดงความคิดเห็น
79
บทความแสดงความคิดเห็น
เป็นบทความที่เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราว เหตุการณ์ ปัญหา วิกฤติการณ์ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนควรมีความคิดเห็นที่น่าสนใจ แปลกใหม่ มีประโยชน์ในการสร้างสรรค์สังคม
80
การเขียนบทความแสดงความคิดเห็น มีทั้งการนำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนั้น เป็นประเด็นปัญหา หรือเป็นเรื่องทั่วไปที่น่าสนใจ โดยมีการแสดงความคิดเห็นประกอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล น่าเชื่อถือ
81
การเขียนบทความแสดงความคิดเห็น
เพื่อเป็นการสะท้อนปัญหา เสนอแนะแนวทางแก้ไข กระตุ้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้เห็นคุณและโทษ เป็นต้น การเขียนบทความแสดงความคิดเห็นสามารถแสดงความคิดความเห็นได้อิสระ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาแบบทางการหรือกึ่งทางการเท่านั้น สามารถใช้ภาษาปากปนได้บ้าง เพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึก สะท้อนตัวตนและอัตลักษณ์ของผู้เขียน
82
๑. ลักษณะของบทความแสดงความคิดเห็น
๑. ลักษณะของบทความแสดงความคิดเห็น ๑.๑ ผู้เขียนเป็นผู้แสดงความคิดเห็นของตนเอง การเขียนบทความลักษณะนี้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเองที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ อีกทั้งอาจมีการเสนอแนะ ประเมินค่า และวิพากษ์วิจารณ์ประกอบด้วย ๑.๒ ผู้เขียนโต้ตอบหรือโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่น การเขียนบทความแบบโต้ตอบความคิดของผู้อื่นนี้ เกิดขึ้นจากการที่ผู้เขียนบทความมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้เขียนบทความที่เขียนมาก่อนหน้า จึงได้เขียนบทความโต้ตอบขึ้น เพื่อชี้แจงหรือโต้แย้งด้วยเหตุผล
83
๒. โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น
๒. โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น การแสดง ความคิดเห็น ที่มา ข้อสนับสนุน ข้อสรุป
84
๒. โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น
๒. โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น ๒.๑ ที่มา เป็นการกล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็น ๒.๒ ข้อสนับสนุน เป็นการกล่าวถึงเหตุผล ซึ่งอาจเป็นหลักการหรือข้อเท็จจริงที่นำมาสนับสนุนหรือเสริมให้ข้อมูลชัดเจนขึ้น ๒.๓ ข้อสรุป เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าจะสันนิษฐาน เสนอแนะ ประเมินค่า วิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์ วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
85
โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น
ที่มา การตำหนิเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศปนภาษาไทยนี้ ผู้ตำหนิมักจะทำเป็นลืมเรื่องภาษาแขกกับภาษาเขมร แต่หันมาเล่นงานภาษาอังกฤษเป็นหลัก ในข้อความว่า “การใช้ไทยคำอังกฤษคำไม่เหมาะ” บางครั้งก็เลยไปถึงเรื่องการตั้งชื่อว่าไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษก็ได้
86
โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น
ข้อสนับสนุน “จามจุรีสแควร์” ก็เลยต้องมีชื่อไทยควบคู่ไปด้วยว่า “จัตุรัสจามจุรี” ซึ่งอันที่จริงน่าจะเป็น “ลานจามจุรี” เสียมากกว่า เพราะ “จัตุรัส” มาจากภาษาแขก อันที่จริงการใช้คำไทยปนอังกฤษนี้ก็มีอยู่ในภาษาไทยมาช้านานแล้ว อย่างน้อยเดือนละ ๒ ครั้ง คนไทยต้องนึกถึง “เรียงเบอร์” คำนี้อยู่ในลักษณะ “ไทยคำอังกฤษคำ” อย่างชัดเจนมาก บางครั้งเราก็นำคำอังกฤษ ๒ คำมาสร้างเป็นคำไทยได้อย่างแนบเนียน เช่น “เช็คบิล” ที่ฝรั่งต้องงงว่ามันแปลว่า “เก็บเงิน” ได้อย่างไร ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย ญี่ปุ่นก็ยังนำคำอังกฤษ ๒ คำ มาสร้างเป็นคำญี่ปุ่นได้อย่าง “salaryman” ที่คนไทยเอามาแปลต่อว่า “มนุษย์เงินเดือน”
87
โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น
ขอกลับมาที่ “ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา” และ “ทรงพระเจริญ” อีกครั้ง ตอนนี้มีการหนีจากแขกและเขมรไปเป็นอังกฤษกันแล้วคือ “Long Live The King” หรือที่ไพเราะอย่างยิ่งเมื่อตอนปลายปี ๒๕๕๒ ก็คือ “King of Kings” และ “The Greatest of the Kings, The Greetings of the Land” ประโยคหลังนี้มีสัมผัสในตามแบบไทยเสียด้วย
88
โครงสร้างของการแสดงความคิดเห็น
ข้อสรุป เห็นไหมว่า ถ้าผสมผสานกันดีๆ ไม่ว่าภาษาไหนที่แตกต่างกัน ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่นและงดงาม
89
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๑ การสนับสนุน ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมีเจตนาเขียนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนและให้กำลังใจต่อเรื่องนั้นๆ
90
ตัวอย่าง ถึงแม้จะมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการสอบวัดมาตรฐานที่มีเนื้อหาค่อนข้างยากและเกินหลักสูตร แต่ผมเห็นว่าเป็นการสอบที่วัดกึ๋น ทั้งความรู้ ความคิด รวมทั้งปฏิภาณไหวพริบในการตัดสินใจ หากเด็กไทยได้ฝึกทำข้อสอบแบบนี้บ่อยๆ คงจะพัฒนาสติปัญญาได้มาก ผู้เรียนดวงดีที่รอการมั่วถูกคงต้องปรับปรุงตนเองใหม่ ให้เท่าทันข้อสอบมาตรฐานในปัจจุบัน
91
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๒ การโต้แย้งคัดค้าน ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นในเชิงโต้แย้งคัดค้านกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเขียนโต้แย้ง เพื่อคัดค้านและกระตุ้นให้หันมาพิจารณาไตร่ตรองใหม่
92
ตัวอย่าง โปรดอย่าลืมว่าเครื่องดื่มเหล่านี้มีข้อมูลและแง่มุมเชิงลบที่ไม่ถูกหยิบยกมาพูดในโฆษณา บางชนิดแคลอรีต่ำเกือบเป็นศูนย์ แต่กลับอุดมไปด้วยคาเฟอีนและสารให้ความหวานเทียมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ไดเอทโค้กที่ให้พลังงานเพียง ๑ แคลอรี แต่มีแอสปาแตมสูงถึง ๑๒๕ มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับโค้กคลาสสิกที่ให้พลังงาน ๙๗ แคลอรี แต่แอสปาแตมเป็นศูนย์ เป็นต้น เช่นเดียวกับเป๊ปซี่แม็กซ์ที่ใช้สโลกแกน Don’t Worry, No Sugar … แต่ไม่ได้บอกว่ามีอะไรมาแทนที่น้ำตาล
93
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๓ การวิพากษ์วิจารณ์ ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นในเชิงติชมกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงกล่าวถึงข้อดีข้อเสียของเรื่องนั้นๆ การเขียนวิพากษ์วิจารณ์ควรแสดงความคิดเห็นด้วยใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ
94
ตัวอย่าง ... ที่น่าเสียดายคือหนังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวละครหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเลย จึงไม่มีตัวละครตัวอื่นใดที่ตรึงตราหรือแม้แต่ที่เราจดจำได้ แม้แต่สานุศิษย์ผู้ติดตามของขงจื๊อเป็นใครมาจากไหนบ้าง เราแทบไม่ได้รู้อะไรเลย เป็นช่องโหว่ที่น่าเสียดายยิ่งสำหรับการสร้างชีวประวัติบุคคลสำคัญ ซึ่งถ้าปราศจากความเข้าใจถึงความสัมพันธ์กับคนแวดล้อมแล้ว ก็เหมือนเป็นเรื่องราวที่จับต้องไม่ได้
95
ตัวอย่าง (ต่อ) ไม่นับถึงความน่าเชื่อถือของการนำเสนอภาพของขงจื๊อในฐานะนักยุทธศาสตร์และนักการเมือง ซึ่งปล่อยไว้ให้เป็นประเด็นถกเถียงของนักประวัติศาสตร์จะดีกว่า ไม่ใช่หนังที่ไม่สมควรไปเสียเวลาด้วย เพราะดูจบแล้วก็ไม่ได้นึกเสียดายเวลาที่เสียไป แต่ก็ไม่ใช่หนังที่น่าประทับใจเท่าไรนัก
96
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๔ การให้รายละเอียดเพิ่มเติม ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นโดยให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากประเด็นที่กล่าวถึง เพื่อทำให้เนื้อหามีความสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น
97
ตัวอย่าง แม้ว่าซีพีเริ่มต้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ แต่วิวัฒนาการทางธุรกิจอย่างจริงจังเกิดขึ้นนอีก ๓ ทศวรรษต่อมา ทศวรรษแรก เริ่มต้นธุรกิจอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การค้าระหว่างประเทศเปิดฉากขึ้นด้วยเครือข่ายที่แข็งแรงของชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และไทย เริ่มต้นจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืชและอาหารสัตว์
98
ตัวอย่าง (ต่อ) ทศวรรษที่ ๒ เริ่มต้นอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ครั้งแรกในประเทศไทย และทศวรรษที่ ๓ ได้ค้นพบและสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรมการเกษตร สร้างผลสะเทือนไปทั่วชนบทไทย ... ... ซีพีปรับตัวได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยการสร้างโอกาสใหม่ในต่างประเทศ ในเวลานั้นไม่มีใครไม่รู้จักซีพี ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของไทย
99
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๕ การตั้งประเด็นเป็นข้อสังเกต ผู้เขียนตั้งประเด็นใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อฝากไว้เป็นข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเรื่องนั้นๆ ต่อไป
100
ตัวอย่าง “ผมคิดว่าจากนี้ไปเกษตรกรรมของไทยจะค่อยๆ กลับมาได้รับความสนใจมากขึ้น โดยมิได้เริ่มต้นจากพลังของรัฐ หากมาจากเอกชนทั้งระดับองค์กรและปัจเจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประเมินศักยภาพและพัฒนาการภาพรวมที่อาจเรียกว่า บูรณาการเกษตรกรรม”
101
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๖ การตีความ ผู้เขียนไม่ได้แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา แต่มีการแฝงนัยไว้ให้คิดวิเคราะห์และตีความ ตัวอย่างการแฝงนัยในความหมายของคำ
102
ตัวอย่าง นักเขียนจึงเป็นเกษตรกรในสวนอักษร เพาะปลูกความคิดและตัวหนังสือส่งถึงมือผู้อ่าน ... เริ่มต้นคอลัมน์ใหม่ ถางหญ้า เตรียมแปลงสวนให้ร่วนซุย เตรียมปุ๋ยธรรมชาติ ตระเตรียมพละกำลังพร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ รดน้ำ ตัดแต่งกิ่งก้านใบ โบกมือไล่แมลง ลงมือปลูกผลงานในสวนอักษร ปลูกอย่างเบิกบาน ปล่อยให้ผลงานโตตามธรรมชาติ
103
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น
๓. ลักษณะของการแสดงความคิดเห็น ๓.๗ การเปรียบเทียบ ผู้เขียนอาจใช้การเปรียบเทียบประกอบ การแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ผู้อ่านจินตนาการตาม แล้วเข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
104
ตัวอย่าง เข็มนาฬิกาเดินไวไม่ต่างจากเท้าของเสือชีต้าร์ที่กำลังกวดกวางเก้ง อายุอานามของเราเองก็เดินหน้าไปอย่างฉับไวไม่ต่างอะไรกับเข็มนาฬิกา เวลาอาจเป็นมายา ทว่าความชราเป็นเรื่องจริง
105
ตัวอย่างการแสดงความคิดเห็น โดยการเปรียบเทียบ เรื่อง สิ่งที่ถูกปลูกลงไปใต้สมองของเยาวชน
คนรุ่นผมนั้น สมองของพวกเราถูกหล่อหลอมด้วยนิยายของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการมาตั้งแต่เด็ก ในระหว่างที่นั่งเรียนในชั้นประถมต้นจนถึงชั้นมัธยมปลายมีหลายทีที่ใจของเราเผลอลอยไกลออกไปจากห้องเรียน ไปรำลึกนึกถึงเรื่องราวของหลวงเพชรรัตน์สงคราม พระเอกในนิยายสั้นเรื่อง "บูชารัก" สมัยอยู่ ชั้นมัธยมต้น ผมจำคำสนทนารักหวานซึ้งตรึงใจระหว่างตาบทิพย์และหลวงเพชรรัตน์สงครามได้เกือบทั้งหมด "อย่าลืมตาบทิพย์นะคะ" "จะไม่ลืมตาบทิพย์ จนวันตาย" "ชีวิตและร่างกายนี้ทั้งหมดจะมอบไว้แทบเท้าของตาบทิพย์" ฯลฯ
106
เด็กชนบทอย่างผม ถูกหล่อหลอมด้วยเสียงเพลงอันไพเราะเพราะพริ้งจากวิทยุทรานซิสเตอร์ พวกเราจำเพลงแสงเทียน ยามเย็น สายฝน ใกล้รุ่ง ชะตาชีวิต ดวงใจกับความรัก อาทิตย์อับแสง เทวาพาคู่ฝัน รักคืนเรือน ฯลฯ ได้อย่างขึ้นใจ ซึ่งเพลงต่างๆที่ดังเข้าไปในความทรงจำของพวกเราตั้งแต่เด็กจนโตนั้น พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พวกเราเยาวชนไทยสมัยนั้นจึงได้รับการหล่อหลอมทางด้านจิตใจด้วยดนตรีที่สร้างจินตนาการอย่างสูงส่งและงดงามเป็นที่สุด
107
ทว่าเยาวชนคนไทยรุ่น นายคุณนิติ นวรัตน์ ซึ่งเกิดใน พ. ศ
ทว่าเยาวชนคนไทยรุ่น นายคุณนิติ นวรัตน์ ซึ่งเกิดใน พ.ศ.2531 พวกนี้เติบโตมาด้วยสมองของตนที่เต็มไปด้วยคำพูดของอิโมเจนในภาพยนตร์ เกาหลีเรื่อง Down to You ที่ว่า "ไม่ใช่เพราะเราไปกันไม่ได้หรอก เพียงแต่เราเจอกันเร็วไป" ครั้งหนึ่งผมจะเดินทางไปทวีปแอฟริกา เจ้ายอดลูกชายคือนายคุณนิติฝากหนังเกาหลีใต้ไปให้ผมดูยามเหงาเรื่อง "Art Museum by the Zoo" เป็นหนังแนวพ่อแง่แม่งอน ซึ่งพ้นวัยที่ผมจะดู สำหรับผม หนังพวกนี้ไม่ได้สอนอะไร ให้แต่ความบันเทิงเริงใจ
108
คนไทยรุ่นใหม่ที่ใกล้จะมีอายุ 30 ปี ในอีก 7 ปีข้างหน้า คือ พ. ศ
คนไทยรุ่นใหม่ที่ใกล้จะมีอายุ 30 ปี ในอีก 7 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ.2560 ถูกหล่อหลอมด้วยภาพยนตร์เกาหลีที่สื่อออกไปในทำนอง "ชาติหน้ามีจริง...และเราจะกลับมารักกันอีกครั้ง" "กว่าจะถึงเดือนกันยา..." "นางรอ" "เหตุผลที่ละเอาไว้" "รอหน่อย...เพียงอึดใจเดียวเท่านั้น" "จะต้องรักสักเท่าไหร่" ฯลฯ
109
ส่วนเยาวชนคนไทยที่จะมีอายุครบ 30 ปี ในอีก 17 ปีข้างหน้า คือ พ. ศ
ส่วนเยาวชนคนไทยที่จะมีอายุครบ 30 ปี ในอีก 17 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ อาจจะโตขึ้นไปด้วยความไร้สาระบวกกับความรุนแรงและหยาบคาย เพราะขณะที่เยาวชนบางคนเหล่านี้อายุ ปีแล้วในปัจจุบัน กลับไม่เคยได้ดูภาพยนตร์ หรือสัมผัสกับความซาบซึ้งใจในวรรณกรรมประเภทไหนอะไรเลย ... (นิติภูมิ นวรัตน์)
110
๔. วิธีใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น
๔. วิธีใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น ๔.๑ การใช้คำหรือกลุ่มคำที่แสดงถึงการแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงทรรศนะ เช่น พึง ควร คง คงจะ อาจจะ น่าจะ คิดว่า คาดว่า เสนอว่า เสนอแนะว่า หวังว่า เป็นต้น
111
๔. วิธีใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น
๔. วิธีใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น ๔.๒ การใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ ประกอบคำหรือกลุ่มคำแสดงความคิดเห็น จะแสดงให้เห็นชัดว่าเป็นการแสดงความคิดเห็น เช่น “ดิฉันคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวในช่วงไตรมาสแรกนี้” “ผมคิดว่าเราควรเร่งส่งเสริมให้มีกิจกรรมรักการอ่านให้เป็นรูปธรรม” “ข้าพเจ้าหวังว่าชาวบ้านจะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตมากขึ้น”
112
๔. วิธีใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น
๔. วิธีใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ในการใช้ภาษาในบทความแสดงความคิดเห็น ควรปฏิบัติตามหลักต่อไปนี้ ๑) ใช้คำธรรมดา ที่เข้าใจง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้คำหรูหรา ๒) ใช้ประโยคกระชับ ไม่กำกวม หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคยาวเยิ่นเย้อ ๓) ใช้ศัพท์เทคนิค หรือศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น ๔) พยายามใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษปนภาษาไทยให้น้อยที่สุด
113
แบบทดสอบ ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของบทความ ก. มีลักษณะเป็นความเรียง ข. มีลักษณะเป็นร้อยกรอง ค. มีการนำเสนอข้อเท็จจริง ง. มีการนำเสนอข้อคิดเห็น
114
แบบทดสอบ ๒. บทความประเภทใดทำให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด ก. บทความวิชาการ ข. บทความวิเคราะห์ ค. บทบรรณาธิการ ง. บทความสารคดีท่องเที่ยว
115
แบบทดสอบ บุคลิกลักษณะใดไม่เหมาะสมในการเขียนบทความ ก. มีอคติ ข. มีเหตุผล ค. มีความรอบรู้ ง. มีความคิดสร้างสรรค์
116
แบบทดสอบ ๔. “การแสดงความคิดเห็นในเชิงติชมกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” เรียกว่าเป็นลักษณะการแสดงความคิดเห็นอย่างไร ก. การสนับสนุน ข. การโต้แย้งคัดค้าน ค. การวิพากษ์วิจารณ์ ง. การให้รายละเอียดเพิ่มเติม
117
แบบทดสอบ ข้อใดไม่มีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็น
ก. ฉันชอบทะเล ที่จังหวัดตราด ข. ฉันคิดว่าในปีหน้า จะมีนักท่องเที่ยวไปที่ จังหวัดตราดเป็นจำนวนมาก ค. จังหวัดตราดน่าจะมีการพัฒนาเรื่อง การคมนาคมให้ทันสมัยกว่าเดิม ง. จังหวัดตราดอยู่ทางภาคตะวันออก ของประเทศไทย
118
สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.