งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระยะการเปลี่ยนแปลง &การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระยะการเปลี่ยนแปลง &การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระยะการเปลี่ยนแปลง &การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ
Steve Rollnick, Professor of Healthcare Communication, Department of General Practice, University of Cardiff Distinguished Professor of Psychology and Psychiatry University of New Mexico Albuquerque, NM William R. Miller, Ph.D ระยะการเปลี่ยนแปลง &การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) ดร. ดรุณี ภู่ขาว B.Sc. (Nursing), MS (Mental health),MN (Mental Health), PhD (Addiction Studies) ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2 ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และทักษะ MI ต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน

3 1.เมินเฉย /ยังไม่ได้คิด
วงจร/ระยะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 1.เมินเฉย /ยังไม่ได้คิด 7.กลับไปมีพฤติกรรมเสี่ยงซ้ำเหมือนก่อน 2.ลังเล /ชั่งใจ Contemplation 6.กลับไปมีพฤติกรรมเสี่ยงซ้ำ 1-2 ครั้ง 3. ตัดสินใจ/ เตรียมพร้อม 4. ลงมือกระทำ 5.เปลี่ยนแปลงได้อย่างถาวร ดร. ดรุณี ภู่ขาว ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โมเดลข้ามทฤษฏี (Transtheoretical Model)

4 เมินเฉย/ยังไม่ได้คิด (Pre- contemplation)
- คิดว่าตนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง คิดว่าตนถูกบังคับ กดดันให้เปลี่ยนแปลงจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เจ้านาย หรือผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ไม่ตระหนักว่าตนมีปัญหาใดๆที่ส่งผลให้ตนต้องเปลี่ยนแปลง

5 สวัสดีคะป้า......ดิฉันชื่อ....ป้ามาที่นี่มีอะไรให้ช่วยไหมคะ
เอ้อ ที่มานี่ก็ เพราะลูกสาว ไม่ได้เป็นอะไรมากหรอก ความจริง การมาหาหมอนี่ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ฉันอยากจะมาเลย ????? หมอรู้ไหม คนรอบข้างป้านะ ทำให้เรื่องป้ามันใหญ่โดยไม่จำเป็น กะอีแค่ ตามใจปากบ้าง ไรบ้าง ไม่ว่าใครที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับป้า ก็ปล่อยตัว ตามใจปากกันทั้งนั้นแหละ ????

6 ลังเล (Contemplation)
- ลังเลไม่แน่ใจว่าตนจะเปลี่ยนแปลงดีหรืออยู่อย่างเดิมดี กำลังหาข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะประเมินหรือเข้าใจพฤติกรรมของตัวเอง

7 ตัดสินใจ/ เตรียมพร้อม
ตัดสินใจและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง โดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น ฉันจะเริ่มลงมือที่จะเปลี่ยนแปลงภายใน 1 เดือน อาจจะมีแผนการที่กว้างๆ แต่ยังไม่ทราบชัดเจนถึงรายละเอียดแผน หรือเทคนิควิธีที่จะใช้เปลี่ยนแปลง เช่น มีแผนที่จะไปปรึกษาหมอ พยาบาล ซื้อหนังสือที่ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลง

8 ระยะลงมือปฏิบัติ (Action)
เริ่มลงมือเปลี่ยนแปลง ลงมือศึกษาหาข้อมูลเพื่อที่จะมีแผน ขั้นตอน กลวิธีที่จะช่วยให้ตนเองเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงยังไม่ถึง 6 เดือน

9 ระยะคงสภาพ (Maintenance)
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดังที่ตั้งใจไว้ อย่างน้อย 6 เดือน

10 Relapse กลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆ เต็มรูปแบบเหมือนที่เคยเป็นมา
กลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆ ซ้ำ 1-2 ครั้ง Relapse กลับไปมีพฤติกรรมเดิมๆ เต็มรูปแบบเหมือนที่เคยเป็นมา

11 ขั้นเผลอกลับไปดื่ม 1-2 ครั้ง (Lapse)
หลังจากผู้ป่วยเสร็จสิ้นการเข้ารับการบำบัดรักษา มีความคิดเชื่อมั่นว่า ตนควบคุมตนเองได้ ควบคุมให้หยุดดื่ม หรือควบคุมให้ดื่มในปริมาณ และความถี่ที่ตนกำหนดไว้ได้ งานวิจัยในผู้ที่มีพฤติกรรมเสพติด พบสถานการณ์เสี่ยง 3 ประเภทที่ นำไปสู่ 75% ของการกลับไปมีพฤติกรรมเสพติดซ้ำ อารมณ์ทางลบ ขัดแย้งในสัมพันธภาพส่วนบุคคล แรงกดดันจากสังคม (ตรงและอ้อม) – อารมณ์ทางบวก Module IV 20

12 ขั้นกลับสู่พฤติกรรมเดิม Relapse
การกลับไปมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหมือนเดิมที่เคยเป็นมา เป็นกระบวนการที่เป็นพลวัตร (dynamic process) ซึ่งเป็นธรรมชาติ ของการเปลี่ยนผ่านจากพฤติกรรม 1 ไปสู่พฤติกรรม 2 การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นวงจร ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงจากความพยายาม เพียง 1 ครั้ง การกลับไปดื่มซ้ำเป็นเรื่องปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในวงจรการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม

13 But we usually target people here…
Most people are here… คงสภาพ ลงมือกระทำ ตัดสินใจเตรียมพร้อม ลังเล เมินเฉย The Stages of Change model has been adopted widely, especially in developed countries, for explaining how people make changes. It is based on research of both (1) how people make changes on their own without intervention, and (2) how they change with the help of others. [Ask:] Who can tell me about the stages of change? What is it, and what are the stages? One key thing to point out in this model is that there are methods that are useful at each stage of change. If you try to use a method that is useful at one stage for another stage it probably will not work. In your opinion, to people in which stages of change are our behavior change efforts usually targeted? [We will talk about that in a minute.] วงจร/ระยะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Stages of Change Model (Prochaska and DiClemente) ดร. ดรุณี ภู่ขาว ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

14 ข้อคิดที่ได้จากวงจรการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ดร. ดรุณี ภู่ขาว ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อคิดที่ได้จากวงจรการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทึกทักหรือคาดเดาว่าผู้ป่วยทุกคนต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง? แรงจูงใจของบุคคลเป็นสิ่งที่ขึ้นๆลงๆ การลังเลใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องธรรมดา การออกแบบการช่วยเหลือควรคำนึงถึงความพร้อมของผู้รับบริการที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ผู้รับบริการและญาติอาจจะอยู่ในระยะต่างๆของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แตกต่างกัน คนทั่วไปพบว่าผ่านวงจรนี้ 3-4ครั้ง กว่าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้สำเร็จ

15 ตัวอย่างการประเมินระยะการเปลี่ยนแปลง
1. ถ้าแบ่งระดับของความสำคัญในการที่จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในขณะนี้ จาก (โดยที่ 0 คือไม่สำคัญเลยที่ท่านจะต้องเปลี่ยนแปลง และ 100 คือ เป็นสิ่งสำคัญมากที่ท่านจะต้องเปลี่ยนแปลง) ดร. ดรุณี ภู่ขาว ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

16 ดร. ดรุณี ภู่ขาว ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

17 วิดคราะห์ระยะการเปลี่ยนแปลง

18 เมินเฉย 1. ให้ความเห็นใจเข้าใจ (Empathic Understanding)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน 1. ให้ความเห็นใจเข้าใจ (Empathic Understanding) 2. สร้างความตระหนักแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเลือก เมินเฉย

19 8 วิธีการที่ใช้กับผู้รับบริการที่อยู่ในระยะเมินเฉย
1.สร้างสัมพันธภาพ (rapport) โดยใช้ ชุดทักษะสื่อความเห็นอกเห็นใจ(Empathy) – ทักษะการฟังแบบโดนใจ (Reflective listening) 2.แสดงความเคารพ (respect) ต่อความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) ผู้ป่วย โดยยอมรับผู้ป่วยตามระยะการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ในขณะนั้น และให้อิสระในการเลือกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง 3.หลีกเลี่ยงการใช้คำตำหนิ กล่าวว่า หรือทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญบอกให้ผู้ป่วยทำตาม (กับดักการสื่อสาร)

20 8 วิธีการที่ใช้กับผู้รับบริการที่อยู่ในระยะเมินเฉย
4. ดึงความกังวลหรือปัญหาของผู้ป่วยออกมาให้รับรู้ กระตุ้นให้เกิด คำพูดจูงใจตนเอง (self-motivational statements) ด้วยคำถามต่อไปนี้: “คุณกังวลเรื่องอะไรอยู่บ้าง” “คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากคุณไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” “คุณทำยังไงเพื่อหยุดตัวคุณเองไม่ให้ทำในสิ่งที่คุณอยากทำ” “คุณกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรม.....ของคุณยังไงบ้าง” “คุณวาดภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณ”

21 8 วิธีการที่ใช้กับผู้รับบริการที่อยู่ในระยะเมินเฉย
5. ใช้ความกังวลเพื่อให้ผู้ป่วยหาข้อมูลเพิ่มเติม (เช่น ผลการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) จากการประเมิน) หากผู้ป่วยไม่มีความกังวลหรือมีเพียงเล็กน้อยให้บอกว่า “คุณอาจจะพูดถูกว่าไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไรในเรื่องการดื่มของคุณ แต่ก็บอกได้ยากหากยังไม่ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด” 5.1 หากผู้ป่วยยังไม่ค่อยอยากจะรู้ข้อมูลและปฏิเสธ ให้เปลี่ยนเป็นใช้วิธีท้าทาย (paradoxical strategy) โดยยังไม่ยอมบอกข้อมูลผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะสนใจ “อาจจะยังไม่มีประโยชน์กับคุณมากเท่าไร ที่คุณจะทราบข้อมูลนี้ หากคุณยัง....” 5.2 หากผู้ป่วยพร้อม ให้แสดงข้อมูลสะท้อนกลับ (feedback) จากผลการประเมิน การสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้ป่วยมีปัญหาจากการใช้สารเสพติด แทนที่จะบอกว่าสงสัยว่าผู้ป่วยจะมีปัญหา 5.3 ดึงความสนใจผู้ป่วยต่อผลการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) “คุณคิดจะทำยังไง” หลัก POC sandwich

22 8 วิธีการที่ใช้กับผู้รับบริการที่อยู่ในระยะเมินเฉย
6. สรุปสถานการณ์ตามมุมมองของผู้ป่วย 7. ช่วยให้ผู้ป่วยรู้ว่า “จะทำยังไงต่อ (next step)” 8. กรณี ผู้รับบริการยืนกรานที่จะไม่เปลี่ยนแปลง Invite the door open

23 กิจกรรม

24 สวัสดีคะป้า......ดิฉันชื่อ....ป้ามาที่นี่มีอะไรให้ช่วยไหมคะ
เอ้อ ที่มานี่ก็ เพราะลูกสาว ไม่ได้เป็นอะไรมากหรอก ความจริง การมาหาหมอนี่ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ฉันอยากจะมาเลย ????? ป้ามาที่นี่ เพราะลูกสาว ใช่ ฟังดู ดูเหมือนลูกของป้ากังวลอะไร หรือเป็นห่วงอะไรบางอย่างเกี่ยวกับตัวป้า ป้าพอเล่าให้ฟังได้ไหมคะ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น

25 หมอรู้ไหม คนรอบข้างป้านะ ทำให้เรื่องป้ามันใหญ่โดยไม่จำเป็น กะอีแค่ ตามใจปากบ้าง ไรบ้าง ไม่ว่าใครที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับป้า ก็ปล่อยตัว ตามใจปากกันทั้งนั้นแหละ ????

26 .......ดูเหมือนป้ากำลังปฏิเสธว่าตัวเองมีปัญหานะคะ
แบบนี้แหละคะ พบได้ในคนที่ไม่อยากแก้ปัญหา ลักษณะ รูปแบบการกินของป้า ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ หรือเป็นเรื่องราวใหญ่โต ลักษณะการรับประทานอาหารของป้าเหมือนกับคนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ดูเหมือนคนรอบข้างป้ากำลังทำให้ป้าหงุดหงิด ไม่สบายใจ

27 ลังเล ใช้วิธีการเพิ่มแรงจูงใจภายใน
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน ใช้วิธีการเพิ่มแรงจูงใจภายใน เช่น ตรวจสอบข้อดีข้อเสีย (pros/cons) ของพฤติกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียได้ ลังเล

28 กระตุ้นให้ลังเล (Develop Discrepancy)
ความหมาย: การกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกลังเล/ ขัดแย้งในพฤติกรรมที่ตนกำลังประพฤติ (Increased awareness of a discrepancy between where they are and where they want to be relative to substance use) วัตถุประสงค์: ขยายมุมมองความเข้าใจในพฤติกรรมที่กำลังประพฤติ

29 กระตุ้นให้ลังเล (Develop Discrepancy)
วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย มุมมองส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมที่ตนประพฤติในอดีต (ความคิด ความรู้สึก) (Highlighting contradiction and inconsistencies in the client's behavior or stated goals, values and self perceptions) การใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ Sandwich แทนที่จะใช้วิธีการบอกหรือแนะนำข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา

30 PAR ครั้งที่ 2: แบบฟอร์ม #2 เครื่องมือ: ข้อดี และข้อเสีย
Ronald Murphy, Ph.D. Bowdoin College Craig Rosen, Ph.D. National Center For PTSD Education Division, & Stanford University School of Medicine

31 ขั้นลังเลใจ (Contemplation stage)
ข้อเสียของพฤติกรรม (ด้านก้อย) ข้อดีของพฤติกรรม (ด้านหัว) Decisional Balance

32 การกระตุ้นให้ลังเล develop discrepancy
ดิฉันอยากทำความเข้าใจชีวิตคุณให้มากกว่านี้ ลองเล่าให้ฟังได้ไหมคะ ว่าชีวิตตอนนี้เป็นอย่างไร คุณทำอะไรบ้างในแต่ละวัน ดูเหมือนคุณก็ใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาทั่วไป แล้วที่คุณพูดถึง.....นั้น เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตคุณอย่างไรคะ Cons ข้อเสียของ....การ 1.ใช้ไม้บรรทัดความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง 2. ถามตรงๆถึงผลเสีย 3.ให้มองย้อนเหตุการณ์ในอดีต - เปรียบเทียบช่วงอดีตก่อนที่จะมีปัญหากับปัจจุบันที่มีปัญหา สุรายาเสพติดทำให้ชีวิตปป.อย่างไร 4.ให้มองเหตุการณ์ในอนาคต ถ้าท่านไม่กระทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ท่านคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ท่านคิดว่าตัวท่านจะเป็นอย่างไรในช่วง ...ปีนับแต่นี้ไป ท่านหวังว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และ (การสูบบุหรี่) จะเข้ากันได้กับชีวิตในช่วงที่ท่านคาดหวังไว้หรือไม่ อย่างไร 5 .สำรวจเป้าหมายและค่านิยม 6. การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบแซนด์วิช Pros ข้อดีของ เคยคุยกับคนหลายคน หรือแม้แต่กับตัว ดิฉันเอง ดิฉันมีข้อสังเกตว่า คนเรานั้น ถ้า อะไรที่มันมีข้อดีกับเรา ไม่ว่าจะเป็น ประโยชน์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ทำสิ่งนี้แล้วมีความสุข....ทำสิ่งนี้แล้วจะทำให้เราไม่ได้ ทำสิ่งบางอย่างที่เราไม่อยากทำ ....แล้วเรา มักจะทำสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง...ดิฉันเลยมี ข้อสังเกตว่าการที่คุณยังคงมีรูปร่างแบบนี้ นน.ตัวเท่านี้...คงจะมีผลดีบางประการกับ ชีวิตของคุณ อยากให้คุณเล่าให้ฟังหน่อยได้ ไหมคะ การกระตุ้นให้ลังเล develop discrepancy

33 ไม้บรรทัดแห่งความสำคัญ
จากค่าคะแนน 0 ถึง 10 เป็นสิ่งสำคัญต่อท่านมากน้อยอย่างไรที่จะ และทำไมท่านจึงให้ค่าคะแนนตัวเองที่ .... และทำไมไม่ใช่อยู่ที่ 0

34 ขั้นลังเลใจ (Contemplation stage)
ข้อดีของการเปลี่ยนแปลง ข้อเสียของการเปลี่ยนแปลง อยากเปลี่ยนแปลง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากปป.พฤติกรรม/การหยุดดื่ม อาจเกิดผลเสียที่ตามมาหากไม่หยุดดื่ม ไม่อยากเปลี่ยนแปลง Decisional Balance

35 ขั้นตัดสินใจ/ เตรียมพร้อม (Determination/Preparation)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน ขั้นตัดสินใจ/ เตรียมพร้อม (Determination/Preparation) - Recognize change talk Reflection&ถามรายละเอียด Elaboration ถามถึงตัวอย่าง -Reflection&Affirmation

36 ข้อความจูงใจตนเอง Self-Motivational Statement (SMS)
การตระหนักในปัญหา (Problem Recognition) “ ผมเพิ่งจะรู้ว่าผมมีปัญหา ” ความกังวลกับปัญหา (Concern) “ ผมกังวลกับมันจริงๆ ” ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง (Intention to Change) “ คงต้องหยุดแล้ว ผมต้องทำอะไรซักอย่าง ” มองทางบวกสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Optimism for Change) “ ผมมั่นใจว่าผมทำได้ ” Change Talk (DARN-CT) Desire to change – ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง Ability to change - สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ Reasons for change – เหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลง Need to change – จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง Commitment to change - สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลง Taking steps – กำลังจะลงมือทำ ผมอยากจะทำ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ผมคิดว่าผมทำได้ ถ้าผมพยายาม มันทำให้ผมแย่ ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่เปลี่ยน ผมตายแน่ ผมจะเปลี่ยนแปลง ผมจะขอให้หมอช่วย

37 Where is motivational change talk/ SMS
เอ้อ ผมก็ยังไม่ดีขึ้น ง่ายสำหรับหมอที่จะบอกว่าให้ผม ทำโน่นนี่นั่น แต่มันยาก ตัวผมก็อยากดีขึ้น แม้นแต่แม่ก็ไม่สามารถโน้มน้าวให้ผมเป็นคนไข้ที่สมบูรณ์แบบ perfect ตัวหมอเองก็เหมือนกัน

38 where is motivational change talk/ SMS
Client: เอ้อ ผมก็ยังไม่ดีขึ้น ง่ายสำหรับหมอที่จะบอกว่าให้ผม ทำโน่นนี่นั่น แต่มันยาก ตัวผมก็อยากดีขึ้น แม้นแต่แม่ก็ไม่สามารถจูงใจให้ผมเป็นคนไข้ที่สมบูรณ์แบบ (perfect )ตัวหมอเองก็เหมือนกัน Therapist: คุณไม่ชอบให้ใครมากดดันคุณ และคุณต้องการหาทางออกด้วยตัวของคุณเองที่จะทำให้ตัวเองดีขึ้น เรามักถูก ฝึก ให้มอง เฉพาะ ปัญหา แต่ไม่ได้ถูกฝึก ให้มองโอกาส...ที่จะทำงานกับจุดเด่นกับ ผู้รับบริการ

39 การกระตุ้นให้เกิดบทสนทนาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Recognizing and reinforce change talk)
ถามตรงๆเพื่อให้ได้คำตอบ โดยใช้คำถามเปิดเพื่อที่จะให้บุคคลเอ่ยถึง ความปรารถนา ความสามารถ เหตุผล ความต้องการ อะไรจะเป็นหนทางที่ดีสำหรับท่านในการ......? ถ้าท่านตัดสินใจที่จะทำ ท่านจะทำอย่างไร? อะไรจะเป็นข้อดีที่จะเกิดขึ้นถ้าท่าน ? ทำไมท่านถึงต้องการที่จะ ?

40 การกระตุ้นให้เกิดบทสนทนาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Recognizing and reinforce change talk)
ความสมดุล: สิ่งดีๆอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับ..และสิ่งไม่ดีใดๆบ้างที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับ..? ไม้บรรทัดแห่งความมั่นใจ จากค่าคะแนน 0 ถึง 10 ท่านมั่นใจมากน้อยอย่างไรที่จะสามารถกระทำ .... และทำไมท่านจึงให้ค่าคะแนนตัวเองที่ .... และทำไมไม่ใช่อยู่ที่ 0 (คำตอบที่ได้คือบทสนทนาที่เอ่ยถึงความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง)

41 ขั้นตัดสินใจ/ เตรียมพร้อม (Determination/Preparation)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน ช่วยกำหนด ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ ขั้นตัดสินใจ/ เตรียมพร้อม (Determination/Preparation) ค้นหา ช่วยคิดถึงวิธีการที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถทำได้ตามความต้องการหรือเป้าหมาย โดยวิธีการที่ไม่เป็นอันตราย หรือสนับสนุนแหล่งช่วยเหลือ

42 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน ช่วยให้เดินไปทีละขั้นผ่านทางเลือกที่มีให้ เลือกขั้นตอนวิธีการ พร้อมแผนเพื่อการปฏิบัติ ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action)

43 ขั้นคงพฤติกรรมใหม่ (Maintenance)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน ช่วยพัฒนากลวิธีและทักษะใหม่ในการป้องกันการกลับสู่พฤติกรรมเดิม (prevent relapse ขั้นคงพฤติกรรมใหม่ (Maintenance)

44 ขั้นเผลอกลับไปดื่ม (Lapse)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน ลดผลที่เกิดจากความคิดที่เกี่ยวข้องกับการทำไม่ได้ตามเป้าหมาย (goal violation effects) ความรู้สึกไร้ความสามารถ (Low self-efficacy) ขั้นเผลอกลับไปดื่ม (Lapse) ปรับความคิดใหม่ว่าการเผลอไปมีพฤติกรรมเสี่ยงนั้น ไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นโอกาสในการเรียนรู้ ประสบการณ์ครั้งนี้ ทำให้เรารู้จักตนเองแง่มุมใดได้ดีขึ้นกว่าเดิม และย้ำว่าสิ่งนี้อาจนำไปสู่กลยุทธ์ การจัดการกับปัญหาที่ดีกว่าในครั้งหน้า ช่วยกันพิจารณาว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงๆ คืออะไร เช่น ต้องสู้กับอาการลงแดง และหยุดได้ถึง 2 อาทิตย์ เน้นย้ำว่าขั้นเผลอกลับไป lapse เป็นเรื่องที่พบได้เสมอๆ หลายๆ คนต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะสำเร็จ

45 ขั้นกลับสู่พฤติกรรมเดิม (Relapse)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน กระตุ้นให้กลับเข้าสู่วงจรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ โดยไม่ต้องหยุด หรือท้อแท้ ขั้นกลับสู่พฤติกรรมเดิม (Relapse) สนับสนุนให้กลับสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ตรวจสอบตาชั่งการตัดสินใจข้อดีข้อเสียอีกครั้ง เน้นการยอมรับตัวเองและเข้าใจว่าการเผลอดื่มเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ อธิบายทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบ spiral (“ถอยกลัง 2 ก้าว เดินหน้า 3 ก้าว”) เน้นให้เห็นว่า relapse เป็นโอกาสการเรียนรู้ที่สำคัญ เพื่อตรวจสอบดูว่าแผนที่จะต้องทำควรเป็นอย่างไร

46 5. ขั้นคงพฤติกรรมใหม่ (Maintenance)
ภาระหน้าที่ของผู้บำบัด และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแต่ละขั้นตอน 1.1 ให้ความเห็นใจเข้าใจ (Empathic Understanding) & กลิ้งไปกับแรงต้าน (ถ้าพบ) 1.2 สร้างความตระหนัก โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเลือก 1ขั้นเมินเฉย (pre-contemplation) 2.ขั้นลังเลใจ (Contemplation) 2.ข้อดีและข้อเสีย 3. ฟัง change talk สะท้อนกลับไปกระตุ้นให้ตัดสินใจ & ช่วยกำหนด ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ 3.ขั้นตัดสินใจ (Determination) 4.ช่วยให้เดินไปทีละขั้นผ่านทางเลือกที่มีให้ เลือกขั้นตอนวิธีการ พร้อมแผนเพื่อการปฏิบัติ 4.ขั้นลงมือกระทำ (Action) 5.ป้องกันการกลับไปมีพฤติกรรมเดิมซ้ำ 5. ขั้นคงพฤติกรรมใหม่ (Maintenance) 6. กระตุ้นให้กลับเข้าสู่วงจรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ โดยเน้นให้เห็นว่า relapse เป็นโอกาสการเรียนรู้ที่สำคัญ 6. ขั้นกลับสู่พฤติกรรมเดิม (Relapse)

47 ขอบคุณทุกท่านสำหรับความสนใจ
คำถาม ข้อสงสัย ? ดร. ดรุณี ภู่ขาว ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ดาวน์โหลด ppt ระยะการเปลี่ยนแปลง &การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google