ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
จุดมุ่งหมายของการเขียนแบบ
เพื่อต้องการให้ผู้อื่นอ่านและเข้าใจรูปแบบตามที่ผู้ออกแบบต้องการ สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารสำคัญที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้างได้ตรงตามรูปแบบทั้งรูปร่าง ตามที่ได้แสดงไว้ในแบบทุกประการ เพื่อให้ทราบถึงวัสดุก่อสร้างตลอดจนวิธีการก่อสร้างตามหลักวิชาการก่อสร้าง ใช้ในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร
2
หลักการการเขียนแบบก่อสร้าง
แบบก่อสร้าง คือ แบบที่แสดงรูปทรง โครงสร้าง และวิธีก่อสร้าง ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ของงาน ที่สถาปนิกและวิศวกรได้ออกแบบไว้ เพื่อนำไปประกอบการก่อสร้าง แบบที่ดี คือ แบบที่ชัดเจน อ่านง่าย ไม่มีความยุ่งยากมาก แต่รวมรายละเอียดเท่าที่จำเป็นไว้หมด และแบบที่เขียนขึ้นมาแล้วนั้นผู้อ่านแบบและผู้เขียนแบบจะต้องเข้าใจความหมายเป็นอย่างเดียวกัน การปฏิบัติงานจึงจะไม่มีปัญหา สิ่งสำคัญในการเขียนแบบที่ยึดถือเป็นกฎปฎิบัติก็คือ “ เส้นทุกเส้นต้องมีความหมาย ตัวอักษรทุกตัวจะต้องอ่านออกชัดเจน”
3
ผู้ที่รับผิดชอบงานเขียนแบบก่อสร้างสามารถแบ่งได้เป็น 3 ฝ่ายหลักๆ คือ
สถาปนิก (Architect) หมายถึง นายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง มีหน้าที่เป็นผู้ออกแบบเขียนแบบ กำหนดพื้นที่ใช้สอยของอาคารต่าง ๆ จัดระบบทางสัญจรภายในอาคารกำหนดความสวยงามด้านสถาปัตยกรรม ประมาณการการก่อสร้าง ประสานงานกับวิศวกรและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้งานออกแบบเขียนแบบสำเร็จลงได้ด้วยดีสิ่งสำคัญในการเขียนแบบที่ยึดถือเป็นกฎปฎิบัติก็คือ “ เส้นทุกเส้นต้องมีความหมาย ตัวอักษรทุกตัวจะต้องอ่านออกชัดเจน”
4
ผู้ที่รับผิดชอบงานเขียนแบบก่อสร้างสามารถแบ่งได้เป็น 3 ฝ่ายหลักๆ คือ
วิศวกร (Engineer) หมายถึง นายช่างที่มีความรู้สูงในทางช่างต่าง ๆ เช่น ช่างกล ช่างไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีวิศวกรด้านอื่น ๆ เช่นด้านโครงสร้าง โยธา ซึ่งมีหน้าที่ในการออกแบบคำนวณ ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร กำหนดขนาดของโครงสร้างและการเสริมเหล็ก ช่างเขียนแบบ (Draftsman) หมายถึง ช่างที่เป็นผู้ช่วยสถาปนิกหรือวิศวกรในการเขียนแบบก่อสร้าง โดยปกติสถาปนิกมีหน้าที่ในการออกแบบอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ วิศวกรจะมีงานเกี่ยวกับการคำนวณโครงสร้าง ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร นอกจากนั้นสถาปนิกและวิศวกรยังต้องบริหารงานโครงการก่อสร้างอาคาร จึงไม่ค่อยมีเวลาในการเขียนแบบด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยช่างเขียนแบบเป็นผู้เขียนแบบก่อสร้างแทน ดังนั้นช่างเขียนแบบจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปลูกสร้างอาคาร
5
ความหมายของคำที่ใช้ในการเขียนแบบ
รูป (VIEW) หมายถึงภาพของวัตถุที่ปรากฏ บนระนาบในลักษณะของการมองเห็น โดยสมมติว่าสายตาของผู้มองตั้งฉากกับแนวระนาบทุกจุด รูปตัด( SECTION) หมายถึงรูปซึ่งเกิดจากการตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ โดนการตัดด้วยระนาบเดียวหรือหลายระนาบ เพื่อให้เห็นส่วนของวัตถุที่ต้องการ ณ จุดระนาบตัด พร้อมทั้งส่วนที่มองเห็นได้เบื้องหลัง ผัง (PLAN) หมายถึงรูปหรือรูปตัดในแนวระดับของอาคาร รูปด้าน ( ELEVATION) หมายถึงรูปที่ปรากฏแนวดิ่งของอาคาร
6
ความหมายของคำที่ใช้ในการเขียนแบบ
แบบร่าง (PRELIMINARY DRAWING) หมายถึงแบบเบื้องต้นหรือแบบโครงร่าง เพื่อแสดงจุดประสงค์กว้างๆ ของผู้ออกแบบ แผนภาพ (DIAGRAM) หมายถึงแบบซึ่งช่วยแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในด้านประโยชน์ใช้สอยของส่วนต่างๆ ของอาคารแบบชนิดนี้จะมีมาตราส่วนหรือไม่ก็ได้ แบบก่อสร้าง (PRODUCTION) หมายถึงแบบซึ่งใช้สำหรับก่อสร้างโดยทั่วไป ประกอบด้วยผังที่ตั้ง ผังบริเวณ แบบแสดงการจัดส่วนต่างๆของอาคาร ( ผัง, รูปตัด, รูปด้าน ) แบบแสดงการประกอบและแบบแสดงรายละเอียดที่มีมาตราส่วนที่ถูกต้อง และมีรายการละเอียดสมบูรณ์
7
ความหมายของคำที่ใช้ในการเขียนแบบ
ผังที่ตั้ง (BLOCK PLAN) หมายถึงผังแสดงที่ตั้งและขอบนอกอาคาร ซึ่งสัมพันธ์กับ บริเวณใกล้เคียง (TOWN PLAN) หรือสภาพแวดล้อมอื่นๆ ผังบริเวณ (SITE PLAN) หมายถึงผังที่แสดงตำแหน่งอาคาร ซึ่งมีส่วนสำคัญกับจุดกำหนดทางเข้าออกบริเวณโดยรอบของอาคาร นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดต่างๆทางด้านสาธารณูปโภค ระบบการระบายน้ำ และอื่นๆ แสดงไว้ด้วย แบบแสดงการจัดส่วนของอาคาร (GENERAL ARRANGEMENT DRAWING) หมายถึงแบบแสดงผัง ของพื้นที่ใช้สอยในอาคาร แบบแสดงรูปด้าน รูปตัด ของโครงสร้างทั่วๆไป และตำแหน่งของส่วนมูล ส่วนประกอบ ตลอดจนแบบรายละเอียดของการประกอบของอาคาร
8
ความหมายของคำที่ใช้ในการเขียนแบบ
ส่วนมูล (ELEMENT) หมายถึงส่วนของอาคาร ซึ่งมีหน้าที่ของตัวเองเป็นเอกลักษณ์ทำจากวัสดุก่อสร้างและหรือส่วนประกอบของอาคาร เช่น รากฐาน คาน เสา ผนังรับน้ำหนัก แผ่นพื้นโครงสร้าง ส่วนประกอบ (COMPONENT) หมายถึงวัสดุก่อสร้างที่มีรูปร่างของแต่ละหน่วยชัดเจน สามารถกำหนดขนาดทั้ง 3 มิติได้ เช่น ผนังไม่รับน้ำหนัก ประตู หน้าต่าง คอนกรีตบล็อก ส่วนประกอบของอาคารยังรวมทั้งเครื่องมือใช้และอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องเรือนฝังติดผนัง แบบปฏิบัติงาน ( SHOP DRAWING) หมายถึงแบบแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
9
ประเภทของการเขียนแบบก่อสร้าง
1. แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม (Architectural Drawing) 2. แบบก่อสร้างทางด้านวิศวกรรม (Engineering Drawing) ผังพื้นของอาคารทุกชั้น (Floor Plans) รูปด้าน (Elevation) รูปตัด (Section) แบบขยายรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม (Architectural Details) เช่น แบบขยายห้องน้ำ แบบขยายบันได แบบขยายประตู - หน้าต่าง และแบบขยายทั่วไป ผังบริเวณก่อสร้าง (Lay Out Plan) ผังที่ตั้งหรือผังสังเขป (Site Plan) ตารางแสดงรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม (Architectural Schedules)
10
ประเภทของการเขียนแบบก่อสร้าง
2.แบบก่อสร้างทางด้านวิศวกรรม (Engineering Drawing) 1. แบบวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Drawing) 2. แบบวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Drawing) 3. แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล (Plumbing Drawing) 4. แบบวิศวกรรมเครื่องกลในงานพิเศษ (Mechanical Drawing) แปลนฐานราก (Foundation Plans) ผังโครงสร้าง เสา คาน พื้น (Framing Plans)
11
ประเภทของการเขียนแบบก่อสร้าง
1. แบบวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Drawing) รูปขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม (Engineering Details) แบบขยายฐานราก เสา คาน พื้น และแบบขยายโครงสร้างทั่วไป ตารางแสดงรายละเอียดทางวิศวกรรม (Engineering Schedules) 2. แบบวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Drawing) แปลนไฟฟ้า (Electrical Floor Plans) แปลนไฟฟ้าแสดงตำแหน่งดวงโคมและสวิตช์ (Floor Plan Lighting) แปลนไฟฟ้าแสดงตำแหน่ง เต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้า (Floor Plan Power) แผนผังการติดตั้งวงจรไฟฟ้า (Single – line Diagram) ตารางแสดงรายละเอียดทางไฟฟ้า (Lighting Schedules)
12
ประเภทของการเขียนแบบก่อสร้าง
3. แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล (Plumbing Drawing) แปลนการเดินท่อ (Floor Plans) แบบแสดงการเดินท่อในแนวดิ่ง (Riser Diagram) รูปขยายรายละเอียดระบบท่อ (Piping Diagram) ขยายบ่อ เกรอะ- บ่อซึม ตารางแสดงรายละเอียดระบบท่อ (Piping Schedules) 4. แบบวิศวกรรมเครื่องกลในงานพิเศษ (Mechanical Drawing)
13
แบบก่อสร้างทางด้านภูมิทัศน์ (Landscape Drawing)
แผ่นปก-ผังที่ตั้งโครงการ (Cover Sheet, Location Plan) แปลนเตรียมพื้นที่หรือแปลนการรื้อถอน (Site Preparation Plan or Demolition Plan) แปลนระบบทางสัญจรและแปลนบอกระยะ (Circulation Plan & Dimension Plan) แปลนการปรับระดับ (Grading Plan) แบบโพรไฟล์ (Profile Sheets) แปลนการระบายน้ำ (Drainage Plan)
14
แบบก่อสร้างทางด้านภูมิทัศน์ (Landscape Drawing)
แปลนการให้น้ำ (Irrigation Plan) แปลนสาธารณูปโภคหรือแปลนไฟฟ้า (Utility Plan or Lighting Plan) แปลนพืชพรรณและรายละเอียด (Planting Plan & Details) แบบขยายรายละเอียดก่อสร้าง (Construction Detail Sheets) รายการประกอบแบบ (Specification) ประมาณราคา (Cost Estimation) เอกสารประกอบแบบ (Documentation) แบบประกอบโรงงาน (Shop Drawings) แบบบันทึก (Record Drawings)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.