งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พรบ. รับขนสินค้าทางทะเล 2534

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พรบ. รับขนสินค้าทางทะเล 2534"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พรบ. รับขนสินค้าทางทะเล 2534
ผศ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์

2 พรบ. รับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
(บทนำ) (มาตรา 1 – 7) นิยาม ขอบเขต บังคับใช้ หมวด 1: หน้าที่และสิทธิของผู้ขนส่ง (มาตรา 8 – 17) หมวด 2: ใบตราส่ง (มาตรา 18 – 30) หมวด 3: หน้าที่และสิทธิของผู้ส่งของ (มาตรา 31 – 38) หมวด 4: ความรับผิดของผู้ขนส่ง (มาตรา 39 – 50) หมวด 5: ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ ขนส่ง (มาตรา 51 – 57) หมวด 6: ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง และการคิดค่าเสียหาย (มาตรา 58 – 61)

3 ขอบเขตการบังคับใช้ มาตรา ๔  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ การขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งใน ราชอาณาจักรไปยังที่อีกแห่งหนึ่งนอก ราชอาณาจักร หรือจากที่แห่งหนึ่งนอก ราชอาณาจักรมายังที่อีกแห่งหนึ่งใน ราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีที่ได้ระบุในใบ ตราส่งว่าให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นหรือ กฎหมายระหว่างประเทศบังคับก็ให้เป็นไป ตามนั้น แต่แม้ว่าจะได้ระบุไว้เช่นนั้นก็ตาม ถ้าปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้มี สัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ก็ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ บังคับ

4 การขนส่งของทางทะเลภายในราชอาณาจักร ถ้าได้ตกลงกันเป็นหนังสือว่าให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้บังคับ ก็ให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่เป็นการขนส่งโดยไม่คิดค่าระวาง ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ถ้ามีการออกใบตราส่ง ใบรับของ หรือ เอกสารอื่นทำนองเดียวกันผู้ขนส่งต้องจดแจ้ง ไว้ในใบตราส่ง ใบรับของ หรือเอกสารอื่น นั้น ว่าผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด มิฉะนั้นจะ ยกขึ้นใช้ยันบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง หรือรับโอนสิทธิตามใบตราส่ง ใบรับของ หรือเอกสารดังกล่าวมิได้

5 มาตรา ๕  พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่ การขนส่งของทางทะเลตามสัญญาจ้างเหมา ระวางบรรทุกของเรือไม่ว่าทั้งลำหรือบางส่วน แต่ถ้ามีการออกใบตราส่งสำหรับของที่ขนส่ง ตามสัญญาจ้างเหมานั้นด้วย หน้าที่และสิทธิ ของผู้ขนส่งและผู้รับตราส่งซึ่งมิใช่ผู้จ้างเหมา ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖  สัญญารับขนของที่มีการขนส่ง ทางทะเลและทางอื่นรวมอยู่ด้วยให้อยู่ภายใต้ บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้เฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลเท่านั้น

6 นิยามศัพท์ มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้ ​ "ผู้ขนส่ง"  หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบการรับขนของทางทะเลเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ โดยทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ "ผู้ขนส่งอื่น" หมายความว่า บุคคลซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนของทางทะเล แต่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญานั้นแม้เพียงช่วงระยะทางช่วงใดช่วงหนึ่ง

7 แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเล ให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น พิธีการเข้าเมืองพิธีการศุลกากร การนำร่อง การเข้าท่า การออกจากท่า การบรรทุกของลงเรือ การขนถ่ายของขึ้นจากเรือ หรือการส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง เป็นต้น

8 "ผู้ส่งของ" หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งในสัญญารับขนของทางทะเล "ผู้รับตราส่ง" หมายความว่า ​(ก)บุคคลซึ่งมีชื่อระบุไว้ในใบตราส่งว่าเป็นผู้รับตราส่ง หรือผู้รับของสำหรับใบตราส่งที่ออกให้แก่บุคคลโดยนาม ​(ข)ผู้รับสลักหลังคนสุดท้าย สำหรับใบตราส่งที่ออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งหรือใบตราส่งที่ออกให้แก่บุคคลโดยนาม และไม่มีข้อห้ามการสลักหลังไว้ หรือ ​(ค)บุคคลซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับของ ในกรณีที่ไม่มีการออกใบตราส่งหรือมีการออกเอกสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น

9 "ของ" หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ สัตว์มีชีวิต รวมทั้งภาชนะขนส่งที่ผู้ส่งของเป็นผู้จัดหามาเพื่อใช้ในการขนส่งด้วย "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้าหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล    

10 "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่นกระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น   "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่นกระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น  (ý ให้ดูประกอบมาตรา 58 และมาตรา 59 ด้วย) -§ คำพิพากษาฎีกาที่ 7622/2540   สินค้าพิพาทบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกและมีเชือกรัดปากถุงไว้และบรรจุอยู่ในถังกระดาษไฟเบอร์มีฝาเหล็กปิดโดยรอบแล้วใช้นอตขันห่วงให้ยึดแน่นไว้แต่ละถังบรรจุของหนัก 25 กิโลกรัม รวม 375 ถัง บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกัน และตามใบตราส่ง ในช่อง “คำพรรณนาสินค้า”  ระบุว่าตู้คอนเทนเนอร์เดียว 1x 20 ฟุต บรรจุอาหารสัตว์ 375 ถัง ฯลฯ จึงเป็นการแสดงว่าแต่ละถังที่บรรจุสินค้าคือยารักษาโรคไก่ มีสภาพสามารถทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละถังที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็น “หนึ่งหน่วยขอนส่ง”  ตามคำนิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทดังกล่าวถือเป็นภาชนะขนส่ง การคำนวณค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดจึงต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 59 (1) -คำพิพากษาฎีกาที่ 4709/2542 (ออกแล้วสมัยที่53 และ54)   คำว่า “ตู้” ที่ยกตัวอย่างในคำนิยามนั้น ย่อมหมายความถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วนตู้เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่าตู้หรือตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อตู้สินค้าไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000บาท ได้ -สรุป การวินิจฉัยว่าสิ่งใดเป็นภาชนะขนส่งและสิ่งใดเป็นหน่วยการขนส่ง จึงอยู่ที่ว่าสิ่งที่เป็นหน่วยการขนส่งคือสิ่งที่โดยสภาพทำการขนส่งไปได้ตามลำพัง ส่วนภาชนะขนส่งคือสิ่งที่บรรจุหน่วยการขนส่งต่างๆเข้าด้วยกัน เช่นตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้สินค้า เป็นต้น ฎ.961/2544 แม้ใบตราส่งระบุถึงการบรรจุของในตู้คอนเทนเนอร์ก็ตาม แต่ก็ระบุว่าสินค้าในกล่องจำนวน7กล่องหรือลัง อันเข้าลักษณะเป็นหน่วยการขนส่ง จึงเป๋นกรณีจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันไว้ในใบตราส่ง ถือว่าสินค้าที่มอบให้ผู้ขนส่งทำการขนส่งท้ังหมดมีจำนวน7หน่วยการขนส่ง ฎ.2141/2544 แผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะม้วนเป็นวงกลมทบกันหลายช้ันและมีสิ่งห่อหุ้มมิดชิดป้องกันไม่ให้ถูกน้ำเพื่อให้เหมะสมแก่การขนส่ง และในใบตราส่งก็ระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจนแผ่นเหล็กรีดเย็น1ม้วนย่อมถือเป็น1หน่วยการขนส่ง -อุปกรณ์แห่งค่าระวาง ได้แก่ค่าใช้จ่ายซึ่งตามประเพณีในการขนส่งทางทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวางและหมายความรวมถึงเงินที่ผู้ขนส่งจำเป็นต้องเรียกเก็บเพิ่ม เช่น การขึ้นราคาน้ำม้น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มข้ึนเนื่องจากการคับคั่งของท่าเรือหรือที่ที่บรรทุกหรือขนย้ายของหรือการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุล เป็นต้น -ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางมีอายุความอย่างเดียวกัน ซึ่งตามป.พ.พ. มาตรา193/34(3)กำหนดอายุความค่าระวางสองปี

11 "ใบตราส่ง" หมายความว่า เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเลแสดงว่าผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุในใบตราส่งไว้ในความดูแลหรือได้บรรทุกของลงเรือแล้ว และผู้ขนส่งรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับของนั้นเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง

12 หน้าที่ของผู้ขนส่ง หมวด 1 มาตรา 8 – 17

13 มาตรา ๘ ก่อนบรรทุกของลงเรือหรือก่อนที่เรือ นั้นจะออกเดินทาง ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้อง (๑) ทำให้เรืออยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้ อย่างปลอดภัยในเส้นทางเดินเรือนั้น (Seaworthiness) (๒) จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นให้เหมาะสมแก่ ความต้องการสำหรับเรือนั้น และ (๓) จัดระวางบรรทุกและส่วนอื่น ๆ ที่ใช้บรรทุก ของให้เหมาะสมและปลอดภัยตามสภาพแห่งของ ที่จะรับ ขนส่ง และรักษา เช่น เครื่องปรับอากาศ ห้องเย็น เป็นต้น ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ ผู้ขนส่งต้อง กระทำการทั้งปวงเท่าที่เป็นธรรมดาและสมควร จะต้องกระทำสำหรับผู้ประกอบอาชีพรับขนของ ทางทะเล

14 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2542
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ มาตรา 52 จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจะ ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า ที่ตน ขนส่งต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจาก เหตุตาม มาตรา 52(1) หรือ (11) จริง จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ เพื่อให้ได้ความ เช่นนั้น ซึ่งกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยต้องปรากฏว่า เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้อง ประสบหรือ ใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้ จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมาย ได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น สินค้า เกลือพิพาทได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำทะเล รั่ว ผ่านรอยแตกผุกร่อนที่ดาดฟ้าและท่อระบาย อากาศถังน้ำอับเฉา เข้าไปถึงสินค้าที่เก็บใน ระวางที่ 2 ซึ่งในระหว่างเดินทาง เรือประสบ คลื่นลมแรง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคลื่นลมนั้นมีความ รุนแรงเกินความคาดหมายในสภาพท้องทะเล ช่วงนั้น ถึงขนาดที่ไม่อาจป้องกันมิให้น้ำทะเล รั่วซึม เข้าไปในเรือ ได้แต่อย่างใด

15 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2542 ต่อ
จำเลยในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องทำให้เรือ อยู่ใน สภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัยในเส้นทาง เดินเรือนั้น จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นให้เหมาะสมแก่ความ ต้องการ สำหรับเรือนั้น และจัดระวางบรรทุกและส่วน อื่น ๆ ที่ใช้บรรทุก ของให้เหมาะสมและปลอดภัยตาม สภาพแห่งของที่จะรับขนส่ง และรักษาตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 8 แม้ก่อนหน้าที่จำเลยจะนำเรือดังกล่าวมาใช้ ขนส่ง สินค้าพิพาทเพิ่งจะได้รับการตรวจสภาพโครงสร้าง ของ ตัวเรือมาก่อนก็ตาม แต่หลังจากการตรวจสภาพ โครงสร้างเรือ แล้วก็อาจมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับ โครงสร้างหรือส่วนอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างของเรือเกิดขึ้น ได้ซึ่งหากมีข้อบกพร่องดังกล่าวจำเลยก็มีหน้าที่ต้อง แก้ไขเสียก่อนบรรทุก ของลงเรือหรือก่อนนำเรือออก เดินทางเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 8 ปรากฏว่าหลัง เกิดเหตุเพียงเล็กน้อยเจ้าหน้าที่ สำรวจความเสียหาย ของสินค้าก็สามารถตรวจพบรอยผุกร่อน ที่ดาดฟ้าและ ท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉาได้ จำเลยจึงต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในความดูแล ของจำเลย

16 มาตรา ๙  ถ้ามีความบกพร่องอย่างใด อย่างหนึ่งตามมาตรา ๘ เกิดขึ้น หลังจากบรรทุกของลงเรือหรือเมื่อเรือ นั้นออกเดินทางแล้ว ผู้ขนส่งจะต้อง จัดการแก้ไขความบกพร่องนั้นโดยเร็ว ที่สุดเท่าที่อยู่ในวิสัยที่ผู้ประกอบอาชีพ รับขนของทางทะเลจะทำได้ในภาวะ เช่นนั้น

17 มาตรา ๑๐  ผู้ขนส่งต้องใช้ความระมัดระวัง และปฏิบัติการให้เหมาะสมในการบรรทุกลง เรือ การยกขน การเคลื่อนย้าย การเก็บ รักษา การดูแลและการขนถ่ายซึ่งของที่ตน ทำการขนส่ง โดยปกติผู้ส่งของนำของมาจัดวางไว้ข้างเรือ (Alongside the vessel) ผู้ขนส่งที่จัดการบรรทุก (Load & Discharge) ขึ้นลง เรือ เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น ในทางปฏิบัติตัวแทนเรือ (Shipping Agent) ซึ่งทำ การแทนผู้ขนส่งจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาผู้ขนถ่าย ของ (Stevedore) มาแบกหามของลงและขึ้นจากเรือ +ตลอดระยะเวลาขนส่งนี้ ผู้ขนส่งจะต้องใช้ความ ระมัดระวังอยู่เสมอ ถ้าในช่วงระยะเวลานี้ของเกิด สูญหายหรือเสียหายผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิด (มาตรา 39)

18 มาตรา ๑๑ ผู้ขนส่งมีสิทธิบรรทุกของบนปาก ระวางเฉพาะในกรณีที่ได้ตกลงกับผู้ส่งของ หรือเป็นการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือเป็นการปฏิบัติตามประเพณีทางการค้า เกี่ยวกับการบรรทุกของเช่นนั้น ถ้าผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงกันให้บรรทุกหรือ อาจบรรทุกของบนปากระวางได้ ผู้ขนส่งต้อง จดแจ้งข้อตกลงดังกล่าวไว้ในใบตราส่งหรือ เอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขน ของทางทะเลในกรณีที่ไม่มีการออกใบตราส่ง

19 ถ้าไม่มีการจดแจ้งข้อความในใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ตามวรรคสอง หากผู้ขนส่งอ้างว่ามีข้อตกลงกัน ให้ผู้ ขนส่งมีหน้าที่พิสูจน์ถึงข้อตกลงนั้น แต่จะยกขึ้นเป็นข้อ ต่อสู้ผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้ใบตราส่งหรือ เอกสารอื่นมาโดยไม่รู้ถึงข้อตกลงนั้นมิได้ ถ้ามีการบรรทุกของบนปากระวางโดยขัดต่อบทบัญญัติ ในวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่ไม่ได้จดแจ้งข้อตกลงไว้ใน ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นตามวรรคสาม มิให้นำ บทบัญญัติในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ หรือมาตรา ๕๖ มาใช้ บังคับ ในกรณีที่มีความตกลงโดยชัดแจ้งระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ของให้บรรทุกของใดในระวาง  ถ้าผู้ขนส่งบรรทุกของ นั้นบนปากระวาง ให้ถือว่าผู้ขนส่งกระทำการหรืองด เว้นกระทำการตามมาตรา ๖๐ (๑)

20 มาตรา ๑๒  เมื่อผู้ขนส่งได้รับของ ไว้ในความดูแลแล้ว ถ้าผู้ส่งของ เรียกเอาใบตราส่ง ผู้ขนส่งต้อง ออกให้
มาตรา ๑๓  เมื่อได้บรรทุกของลง เรือเสร็จแล้ว ถ้าผู้ส่งของเรียกเอา ใบตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” ผู้ ขนส่งต้องออกให้

21 Youtube Clips Wrecked Cargo Ship Sinking in New Zealand

22 ที่มา http://news.sanook.com/849080/
มาตรา ๑๖  เมื่อของไปถึงท่า ปลายทางหรือที่หมายปลายทาง ตามที่ตกลงกันไว้แล้ว ผู้ขนส่ง ต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับตราส่งโดย ไม่ชักช้า ที่มา

23 มาตรา ๑๕  ผู้ขนส่งชอบที่จะยึด หน่วงของไว้จนกว่าจะได้รับ ชำระค่าระวางและอุปกรณ์แห่ง ค่าระวาง หรือจนกว่าผู้รับตรา ส่งจะได้จัดให้มีประกันตามควร

24 สิทธิของผู้ขนส่ง มาตรา ๑๑ ผู้ขนส่งมีสิทธิบรรทุกของบนปาก ระวางเฉพาะในกรณีที่ได้ตกลงกับผู้ส่งของ หรือเป็นการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือเป็นการปฏิบัติตามประเพณีทางการค้า เกี่ยวกับการบรรทุกของเช่นนั้น ถ้าผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงกันให้บรรทุกหรือ อาจบรรทุกของบนปากระวางได้ ผู้ขนส่งต้อง จดแจ้งข้อตกลงดังกล่าวไว้ในใบตราส่งหรือ เอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขน ของทางทะเลในกรณีที่ไม่มีการออกใบตราส่ง

25 ถ้าไม่มีการจดแจ้งข้อความในใบตราส่งหรือเอกสาร อื่นตามวรรคสอง หากผู้ขนส่งอ้างว่ามีข้อตกลงกัน ให้ผู้ขนส่งมีหน้าที่พิสูจน์ถึงข้อตกลงนั้น แต่จะ ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอกซึ่ง ได้ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นมาโดยไม่รู้ถึงข้อตกลง นั้นมิได้ ถ้ามีการบรรทุกของบนปากระวางโดยขัดต่อ บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่ไม่ได้จด แจ้งข้อตกลงไว้ในใบตราส่งหรือเอกสารอื่นตาม วรรคสาม มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ หรือมาตรา ๕๖ มาใช้บังคับ ในกรณีที่มีความตกลงโดยชัดแจ้งระหว่างผู้ขนส่ง กับผู้ส่งของให้บรรทุกของใดในระวาง  ถ้าผู้ขนส่ง บรรทุกของนั้นบนปากระวาง ให้ถือว่าผู้ขนส่ง กระทำการหรืองดเว้นกระทำการตามมาตรา ๖๐ (๑)

26 มาตรา ๑๕ ผู้ขนส่งชอบที่จะยึดหน่วง ของไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางและ อุปกรณ์แห่งค่าระวาง หรือจนกว่าผู้รับ ตราส่งจะได้จัดให้มีประกันตามควร ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ ผู้ส่งและผู้ขน สินค้าตกลงชำระค่าระวางและค่า อุปกรณ์แห่งค่าระวางกันที่ปลายทาง

27 มาตรา ๑๗  ข้อกำหนดใดในสัญญารับ ขนของทางทะเลซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือมี ผลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยปริยาย ดังต่อไปนี้ ข้อกำหนดนั้นเป็นโมฆะ (๑) ปลดเปลื้องผู้ขนส่งจากหน้าที่หรือ ความรับผิดใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ (๒) กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งให้ น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๖๐

28 (๓) ปัดภาระการพิสูจน์ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ขนส่งไปให้ผู้ส่ง ของหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้พิสูจน์ (๔) ให้ผู้ขนส่งเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญา ประกันภัยแห่งของตามสัญญารับขนของทาง ทะเลอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย ความเป็นโมฆะของข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์ของ ข้อกำหนดอื่นในสัญญานั้น และให้ถือว่า คู่สัญญาได้เจตนาให้ข้อกำหนดอื่นนั้นแยก ออกต่างหากจากข้อกำหนดที่เป็นโมฆะตาม วรรคหนึ่ง บทบัญญัติในมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิคู่กรณีที่จะ ตกลงกันกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ขนส่งให้มากขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติ

29 ใบตราส่ง หมวด ๒ มาตรา 18 – 30

30 มาตรา ๑๘  ใบตราส่งพึงแสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ ข้อความที่แจ้งลักษณะอันตรายแห่งของ หากจะต้องมี จำนวนหน่วยการขนส่ง และน้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่น  ทั้งนี้ ตามที่ผู้ส่งของแจ้งหรือจัดให้ (๒) สภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จากภายนอก (๓) ชื่อและสำนักงานของผู้ขนส่ง (๔) ชื่อของผู้ส่งของ (๕) ชื่อของผู้รับตราส่ง ถ้าผู้ส่งของระบุไว้ (๖) ค่าระวางเท่าที่ผู้รับตราส่งจะต้องจ่าย หรือข้อความแสดงว่าผู้รับตราส่งเป็นผู้จ่ายค่าระวางและค่าเรือเสียเวลาในการบรรทุกของลงเรือ ณ ท่าต้นทาง (๗) ท่าต้นทางที่บรรทุกของลงเรือตามสัญญารับขนของทางทะเลและวันที่ผู้ขนส่งรับของเข้ามาอยู่ในความดูแล (๘) ท่าปลายทางที่ขนถ่ายของขึ้นจากเรือตามสัญญารับขนของทางทะเล (๙) ข้อความแสดงว่าของนั้นให้บรรทุกบนปากระวางหรืออาจบรรทุกบนปากระวางได้ (๑๐) วันหรือระยะเวลาส่งมอบของ ณ ท่าปลายทางที่ขนถ่ายของขึ้นจากเรือ ถ้าคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ (๑๑) ข้อจำกัดความรับผิดซึ่งมากกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๘ (๑๒) สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง (๑๓) จำนวนต้นฉบับใบตราส่งที่ออก (๑๔) ลายมือชื่อผู้ขนส่งหรือตัวแทนผู้ขนส่ง

31 ที่มา https://www. portsecuritycenter
ที่มา

32 มาตรา ๑๙ ใบตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” ตาม มาตรา ๑๓ นอกจากจะมีรายการตามมาตรา ๑๘ แล้ว ให้ระบุชื่อเรือที่รับบรรทุกของและวันที่บรรทุก ของนั้นลงเรือเสร็จแล้วด้วย มาตรา ๒๐ ในกรณีที่ผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งหรือ เอกสารสิทธิอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับของให้แก่ผู้ส่งของ ไว้ก่อนบรรทุกของลงเรือ ถ้าผู้ส่งของขอให้ผู้ขน ส่งออกใบตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” ผู้ส่งของต้องคืนใบ ตราส่งหรือเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ขนส่งเพื่อแลกกับใบ ตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” ในการนี้ผู้ขนส่งอาจทำให้ โดยแก้ไขใบตราส่งหรือเอกสารดังกล่าวให้เป็นใบตรา ส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” ก็ได้ ถ้าใบตราส่งหรือเอกสารที่ แก้ไขแล้วนั้นมีรายการต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่ใบตรา ส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” จะพึงมี

33 มาตรา ๒๑ ใบตราส่งที่ออกโดยผู้ขนส่งมี รายการไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ ใบตราส่งนั้นยังคงมีฐานะ ทางกฎหมายเป็นใบตราส่ง ถ้ามีข้อความ ครบลักษณะเป็นใบตราส่งตามมาตรา ๓ มาตรา ๒๒ ใบตราส่งใดไม่มีข้อความตาม มาตรา ๑๘ (๖) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับตราส่งไม่ต้องจ่ายค่าระวางและค่าเรือ เสียเวลาในการบรรทุกของลงเรือ ณ ท่า ต้นทาง แต่ถ้าใบตราส่งนั้นได้โอนไปยัง ผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้กระทำ การโดยสุจริตโดยเชื่อใบตราส่งนั้น ห้ามมิ ให้ผู้ขนส่งพิสูจน์เป็นอย่างอื่น

34 มาตรา ๒๓  ในกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่ง ข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่น ถ้าผู้ขนส่งหรือบุคคลอื่น ซึ่งออกใบตราส่งในนามของผู้ขนส่งทราบ หรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับของที่รับไว้จริง หรือไม่ถูกต้องตรงกับของที่ได้รับบรรทุกไว้จริงในกรณีที่มี การออกใบตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” หรือไม่อาจตรวจสอบ ความถูกต้องแท้จริงของรายการดังกล่าวในใบตราส่งโดย วิธีการอันสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์ในภาวะเช่นนั้นได้ บุคคลดังกล่าวต้องบันทึกเป็นข้อสงวนไว้ในใบตราส่งโดยระบุ ถึงข้อที่ไม่ตรงกับความจริง เหตุแห่งความสงสัย หรือ พฤติการณ์ที่ไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงได้ แล้วแต่กรณี มาตรา ๒๔  ถ้าผู้ขนส่งหรือบุคคลอื่นซึ่งออกใบตราส่งใน นามของผู้ขนส่งมิได้บันทึกสภาพแห่งของเท่าที่เห็นได้จาก ภายนอกไว้ในใบตราส่ง ให้ถือว่าของตามใบตราส่งนั้นมี สภาพภายนอกเรียบร้อย

35 คำพิพากษาฎีกาที่ 6589/2542 สินค้าที่ขนส่งเสียหายและเหตุแห่งการเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้า นั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1ผู้ขนส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องรับ ผิดเพื่อความเสียหายนั้นตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ มาตรา 39 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จะไม่ต้องรับผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากความผิดของผู้ส่งของหรือ ผู้รับตราส่ง เช่น การบรรจุหีบห่อไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เหมาะสมกับ สภาพแห่งของ หรือการเสียหายนั้นเกิดจากสภาพแห่งของนั้นเองตาม มาตรา 52 (9) และ (10) จำเลยที่ 1 นำสืบว่าได้บันทึกข้อสงวนไว้ใน ใบตราส่งว่า "said to contain" และ"particulars declared by shipper of the goods" แต่ไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เห็นว่าการเสียหายของสินค้า ที่ขนส่งเป็นผลมาจากการบรรจุหีบห่อไม่ได้หรือไม่เหมาะสมกับสภาพแห่ง ของ หรือการเสียหายนั้นเกิดจากสภาพแห่งของนั้นเองหรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิด

36 มาตรา ๒๕ ถ้ามิได้บันทึกเป็นข้อสงวนไว้ในใบ ตราส่งตามมาตรา ๒๓ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ ขนส่งได้รับของไว้หรือได้บรรทุกของลงเรือใน กรณีที่เป็นใบตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” ทั้งนี้ ตามรายการที่แสดงไว้ในใบตราส่งนั้น แต่ถ้าใบ ตราส่งใดได้โอนไปยังผู้รับตราส่งหรือ บุคคลภายนอกซึ่งได้กระทำการโดยสุจริต โดย เชื่อตามข้อความในใบตราส่งนั้นแล้ว ห้ามมิให้ผู้ ขนส่งพิสูจน์เป็นอย่างอื่น มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ได้ออกใบตราส่งให้แก่กัน ไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งใน เรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบ ตราส่งนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง

37 มาตรา ๒๗  ใบตราส่งใดแม้จะได้ออกให้แก่ บุคคลใดโดยนามก็ยังอาจโอนให้กันได้โดย การสลักหลัง เว้นแต่จะมีข้อกำหนดห้ามการ สลักหลังไว้ในใบตราส่งนั้น มาตรา ๒๘  เมื่อได้ออกใบตราส่งให้แก่กัน ไว้แล้ว ผู้รับตราส่งจะเรียกให้ส่งมอบของได้ ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งนั้นแก่ผู้ขนส่งหรือให้ ประกันตามควร

38 มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ได้ออกใบตราส่งให้แก่กันไว้ โดยมีต้นฉบับมากกว่าหนึ่งฉบับ และของได้ถึงท่า ปลายทางหรือที่หมายปลายทางแล้ว (๑) แม้ผู้รับตราส่งจะนำต้นฉบับใบตราส่งมาเวนคืน เพียงฉบับเดียว ผู้ขนส่งก็จำต้องส่งมอบของให้ และ เมื่อผู้ขนส่งได้ส่งมอบของแล้ว ให้ใบตราส่งฉบับอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้เวนคืนเป็นอันสิ้นผล (๒) ก่อนหรือในระหว่างการส่งมอบของ ถ้าปรากฏว่า มีผู้รับตราส่งมากกว่าหนึ่งคนเรียกให้ส่งมอบของราย เดียวกันโดยแต่ละคนต่างมีต้นฉบับใบตราส่งมาเวนคืน ให้ ให้ผู้ขนส่งนำของทั้งหมดหรือของส่วนที่ยังไม่ได้ ส่งมอบไปฝากไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ และให้ นำบทบัญญัติมาตรา ๓๓๓ แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

39 มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ได้ออกใบตราส่งให้แก่กันไว้ โดยมีต้นฉบับมากกว่าหนึ่งฉบับในระหว่างที่ของยังไป ไม่ถึงท่าปลายทางหรือที่หมายปลายทาง ผู้ขนส่งไม่ จำต้องส่งมอบของนั้นแก่บุคคลใด เว้นแต่จะได้รับ เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้ ถ้าผู้ขนส่งส่งมอบของไปโดยที่ยังไม่ได้รับเวนคืนใบ ตราส่งทั้งหมด ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมี ต้นฉบับใบตราส่งที่ยังไม่ได้เวนคืน

40 หน้าที่และสิทธิของผู้ส่งของ
หมวด 3 มาตรา 31-37

41 มาตรา ๓๑ ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่ง หรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือ เสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือ ประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้าง ของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่ง ของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้า เกี่ยวกับการส่งของนั้น มาตรา ๓๒ ถ้าผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความ ตามมาตรา ๒๓ เพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ ในใบตราส่ง และเมื่อได้บันทึกให้ตามนั้นแล้วให้ถือ ว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือ จัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้น ทุกประการ ถ้ามีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ ถูกต้องแท้จริงของข้อความตามวรรคหนึ่ง ผู้ส่งของ ต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ขนส่ง แม้ว่าผู้ ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไป แล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตาม สัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอก

42 คำพิพากษาฎีกาที่8346/2547 เหตุผลที่มาตรา32วรรคสององ บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดต่อผู้ ขนส่งสำหรับความเสียหาย เป็นเพราะความเสียหายนี้เป็น ความเสียหายที่ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกซึ่ง เป็นผู้ทรงใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทเล เนื่องจากผู้ ขนส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตรา ส่งอันเป็นผลจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความ เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่ง ตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักหรือปริมาณอย่างอื่น ไม่ถูกต้องไว้ในใบตราส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้อง กับใบตราส่งตามมาตรา32วรรคสอง จึงมิใช่ความเสียหายที่ เกิดขึ้นแก่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งโดยตรง ตามมาตรา31 ต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้ขนส่งหรือเรือผู้ ขนส่งโดยตรง มาตรา32 ต้องเป็นกรณีเกิดความเสียหายแก่ บุคคลภายนอก

43 มาตรา ๓๓ ของใดที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ไวไฟ หรืออาจเกิดระเบิด หรืออาจเป็น อันตรายโดยประการอื่น ผู้ส่งของต้องทำเครื่องหมาย หรือปิดป้ายตามสมควรเพื่อให้รู้ว่าของนั้นมีอันตราย เมื่อส่งของตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น ผู้ส่งของต้องแจ้งให้ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นทราบถึง สภาพอันตรายแห่งของนั้น และในกรณีที่ผู้ขนส่งหรือ ผู้ขนส่งอื่นร้องขอ ให้ผู้ส่งของแจ้งข้อควรระวังและวิธี ป้องกันอันตรายให้ทราบด้วย

44

45 Youtube clips http://www.youtube.com/watch?v=1mHtOW-OBO4
Two Die After Explosion on Ship in Atlantic Youtube clips

46 มาตรา ๓๔ ถ้าผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๓ และผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นไม่ทราบถึงสภาพอันตราย แห่งของนั้น สิทธิและหน้าที่ของผู้ส่งของ ผู้ขนส่ง และผู้ขนส่งอื่นมีดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นอาจขน ถ่ายของนั้นขึ้นจากเรือ ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ ตามความจำเป็นแห่งกรณี โดยไม่ต้องชดใช้ค่า สินไหมทดแทน (๒) ผู้ส่งของยังคงต้องรับผิดในความเสียหายหรือ ค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการ ขนส่งของนั้น นอกจากค่าใช้จ่ายตาม (๑) มาตรา ๓๕ แม้ว่าผู้ส่งของจะได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๓ แล้ว หรือผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับบรรทุก ของตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง โดยรู้ถึงสภาพ อันตรายแห่งของนั้นก็ตาม แต่ถ้าปรากฏในภายหลัง ว่าของนั้นจะเกิดเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินขึ้น อย่างแน่ชัด ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นอาจขนถ่ายของ นั้นขึ้นจากเรือ ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ตามความ จำเป็นแห่งกรณีได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดตาม มาตรา ๓๙ โดยไม่อาจอ้างข้อยกเว้นความรับผิด ตามมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ หรือมาตรา ๕๖ ได้

47 มาตรา ๓๖ ในระหว่างที่ของอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง ผู้ส่งของจะสั่งให้ผู้ขนส่งงดการส่งของนั้นไป ส่งกลับคืนมา ระงับการส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง หรือจัดการแก่ของนั้นเป็นประการอื่นก็ได้ แต่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้แก่ผู้ขนส่ง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ขนส่งมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปเพื่อจัดการในการขนส่ง หรือตามคำสั่งของผู้ส่งของและมีสิทธิได้รับค่าระวางตามส่วนแห่งระยะทางที่ได้จัดการขนส่งไปแล้ว ถ้าได้จัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งของโดยยังไม่ได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทั้งหมด ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ยังไม่ได้เวนคืน -

48 คำพิพากษาฎีกาที่ 6512/2546 เมื่อจำเลยขอยกเลิกการส่งสินค้าโดยขอรับตู้ คอนเทนเนอร์กลับไปขนสินค้าออกแล้วนำตู้ คอนเทนเนอร์เปล่าส่งคืนโจทก์ อันเป็นการใช้ สิทธิตามมาตรา36 จำเลยต้องชดใช้ค่าใช้จ่าย ที่ผู้ขนส่งเสียไปเพื่อจัดการในการขนส่งให้แก่ โจทก์ อายุความ10ปีตามมาตรา193/30

49 มาตรา ๓๗ ถ้าผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายเนื่องจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของ ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นนั้นต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือ แก่ผู้ส่งของหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงสภาพโดยทั่วไปของความ เสียหายดังกล่าวภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้เกิดความเสียหาย หรือวันที่ส่งมอบของตามมาตรา ๔๐ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง มิฉะนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นไม่ได้รับความ เสียหายนั้น มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้ส่งของขอให้ผู้ขนส่งหรือตัวแทนออกใบตราส่งให้แก่ตนโดยไม่ต้องบันทึกข้อ สงวนเกี่ยวกับรายการใด ๆ ในใบตราส่งและให้ใบตราส่งมีข้อความตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ หรือ โดยไม่มีข้อสงวนเกี่ยวกับสภาพภายนอกแห่งของในใบตราส่งนั้น และผู้ส่งของรับรองหรือตกลงว่า ตนยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการออกใบตราส่งนั้น คำรับรองหรือข้อตกลงดังกล่าว จะใช้ยันผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอกผู้รับโอนใบตราส่งนั้นมิได้

50 ความรับผิดของผู้ขนส่ง
หมวด ๔ ความรับผิดของผู้ขนส่ง

51 มาตรา ๓๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๘ ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผล จากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของ สูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบชักช้า ถ้าเหตุแห่งการสูญหาย เสียหาย หรือการ ส่งมอบชักช้านั้นได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ของ ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของตน เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าของอยู่ ในความดูแลของผู้ขนส่งนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ ขนส่งได้รับของนั้นไว้จากผู้ส่งของ หรือ ตัวแทนผู้ส่งของหรือจากเจ้าหน้าที่หรือบุคคล ใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าต้นทางที่บรรทุกของลงเรือกำหนดให้ ผู้ส่งของต้องมอบของที่จะขนส่งไว้กับ เจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าวจนถึงเวลาที่ผู้ ขนส่งส่งมอบของนั้น ณ ท่าปลายทางหรือ ที่หมายปลายทางตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๐

52 การส่งมอบของในการรับขน มาตรา ๔๐  ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบของซึ่งตนได้รับไว้แล้ว
(๑) ผู้ขนส่งได้มอบของให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว (๒) ในกรณีที่ผู้รับตราส่งไม่มารับของจากผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ของนั้นตามที่ กำหนดไว้ในสัญญารับขนของทางทะเล หรือตาม กฎหมายที่ใช้บังคับ หรือประเพณีทางการค้าที่ถือ ปฏิบัติกันอยู่ ณ ท่าปลายทางแล้ว หรือ (๓) ผู้ขนส่งได้มอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่า ปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่าย ขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว

53 คำพิพากษาฎีกาที่ 216/2538 จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก
คำพิพากษาฎีกาที่ 216/2538 จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก. ในประเทศ สหรัฐอเมริกาแล้วว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลแบบ ซี วาย/ซีวาย โดยบริษัท ก.เป็นฝ่ายนำตู้คอนเทนเนอร์บรรจุ สินค้ามามอบให้โจทก์บรรทุกลงเรือเมื่อมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นท่าปลายทางจำเลยมีหน้าที่ไปขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ คอนเทนเนอร์ภายใน7วันแล้วส่งตู้คอนเทนเนอร์คืน โจทก์จำเลยจะชำระราคาสินค้าให้บริษัท ก.โดยผ่านทาง ธนาคารแล้วจำเลยจะรับใบตราส่งจากธนาคารไปแลกใบสั่ง ปล่อยสินค้าจากโจทก์เพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยต่อมาโจทก์ขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงท่าเรือ ปลายทางและพร้อมที่จะส่งมอบสินค้าโดยยกตู้คอนเทนเนอร์ ออกจากเรือทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิ ได้รับค่าระวางและค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ไป รับสินค้าตามข้อตกลงการที่จำเลยจะเรียกให้โจทก์ส่งมอบ สินค้าหรือไม่หามีผลต่อความรับผิดที่จำเลยมีตาม ข้อตกลง ปัญหาว่าเมื่อผู้รับตราส่งยังไม่ได้เรียกให้ผู้ขนส่งส่ง มอบสินค้าโดยวิธีนำใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าจะทำให้ ผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับโอนสิทธิหน้าที่อันเกิดจากสัญญารับ ขนหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

54 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 การขนส่งสินค้าระบบ ซีวาย/ซีวาย เป็นการขนส่งที่ผู้ส่ง สินค้าต้นทางจะเป็นผู้ไปรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งไปบรรจุ สินค้าเข้าตู้สินค้าที่โกดังของผู้ส่งสินค้า แล้วนำตู้สินค้ามา มอบให้แก่ผู้ขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วผู้รับตรา ส่งจะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจนับสินค้าที่โกดังของผู้รับ ตราส่งเอง เมื่อใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกระบุไว้ว่าสถานที่ รับสินค้า โตเกียว ซีวาย สถานที่ส่งมอบสินค้า กรุงเทพ ซีวาย แสดงว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับตู้สินค้าจากบริษัท ค. ที่ท่าเรือโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนถึงท่าเรือกรุงเทพ แล้ว บริษัท ค. จะเป็นผู้รับ สินค้าไปตรวจนับสินค้าเอง หากสภาพตู้สินค้าและตราผนึก ประตูตู้สินค้าอยู่ในสภาพปกติก็ย่อมแสดงว่าสินค้ามิได้สูญ หายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าก็หาต้องรับผิดในกรณี สินค้าใน ตู้สินค้าสูญหายไปไม่ แต่ตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งได้ความว่า ตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้า พิพาทที่โจทก์รับประกันภัยระบุตราผนึกประตูตู้สินค้า หมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล ครั้นจำเลยร่วมขนส่ง ตู้สินค้า ดังกล่าวมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ปรากฏว่าตู้สินค้ามี ตราผนึกประตูตู้สินค้าเป็นหมายเลข เอสพีไอซี

55 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 ต่อ ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดตราผนึกประตูตู้สินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึง เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น การที่จำเลยร่วมออก ใบตราส่งให้แก่ จำเลยที่ 1 เมื่อรับมอบตู้สินค้า แม้จะได้ระบุหมายเลขตู้สินค้า แต่ มิได้ระบุว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าคือหมายเลขใด กรณีที่ยังไม่แน่ชัด ว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล ถูก เปลี่ยนเป็นหมายเลข เอสพีไอซี ก่อนหรือภายหลังจากที่ จำเลยร่วมรับมอบตู้สินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์ เมื่อประตูตู้สินค้าได้ถูก เปิดออกในระหว่างการขนส่งสินค้าจากท่าเรือโตเกียวช่วงใดช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะถึงท่าเรือกรุงเทพและสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้รับประกันภัยสูญ หายไป จึงถือได้ว่าความสูญหายเกิดขึ้นขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแล ของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลย ร่วมจึงต้องรับผิดชอบในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว

56 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 ต่อ พ. ร. บ. การรับขนของทางทะเล พ. ศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 ต่อ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือ สิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อ ประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วย การขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเล ซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพัง ได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับ บรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้า ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุ สินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวก ในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้ คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วย การขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้ง แล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้ง หน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่ หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิด ของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้

57 มาตรา ๔๑ การส่งมอบชักช้าตามมาตรา ๓๙ ได้แก่ (๑) ในกรณีที่ได้กำหนดเวลาส่งมอบไว้ กับผู้ส่งของ ผู้ขนส่งไม่ได้ส่งมอบของ ภายในกำหนดเวลานั้น (๒) ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบ ไว้ ผู้ขนส่งไม่ได้ส่งมอบของภายใน กำหนดเวลาอันควรที่ผู้ขนส่งจะส่งมอบ ตามหน้าที่อันพึงปฏิบัติได้ ทั้งนี้ โดย คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งกรณี ประกอบด้วย

58 มาตรา ๔๒ ถ้าเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า หกสิบวันนับแต่วันสิ้นกำหนดส่งมอบหรือ กำหนดเวลาอันควรส่งมอบตามมาตรา ๔๑ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี บุคคลซึ่งมีสิทธิเรียกค่า สินไหมทดแทนจะรับมอบของและเรียกค่าเสียหาย อันเป็นผลจากการส่งมอบชักช้า หรือจะเรียกค่า สินไหมทดแทนเสมือนว่าของนั้นได้สูญหายสิ้นเชิง ก็ได้ ในกรณีนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ โดยอนุโลม มาตรา ๔๘ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นผล จากการส่งมอบชักช้าย่อมสิ้นไป ถ้าผู้รับตราส่ง มิได้ส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่ผู้ขนส่งภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับมอบของ

59 มาตรา ๔๙ เมื่อผู้รับตราส่งได้รับมอบของจากผู้ขนส่ง หรือจากบุคคลตามมาตรา ๔๐ (๓) ไว้แล้ว ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้มอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ ระบุไว้ในใบตราส่ง หรือถ้าไม่ได้ออกใบตราส่งให้ไว้ แก่กันให้สันนิษฐานว่าได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพดี แล้วแต่กรณี เว้นแต่ (๑) ผู้รับตราส่งหรือบุคคลตามมาตรา ๔๐ (๓) และผู้ ขนส่งได้ทำการสำรวจ หรือตรวจสภาพของร่วมกัน และจดแจ้งการสูญหายหรือเสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้รับ ตราส่งจะรับมอบของ (๒) ในกรณีที่ไม่มีการสำรวจหรือตรวจสภาพของ ร่วมกันตาม (๑) ผู้รับตราส่งได้ส่งคำบอกกล่าวเป็น หนังสือแก่ผู้ขนส่ง ณ ท่าปลายทางก่อนรับมอบของ ตามวรรคหนึ่ง หรือภายในหนึ่งวันทำการถัดจากวัน รับมอบของว่ามีของสูญหายหรือเสียหาย พร้อมทั้ง แจ้งถึงสภาพการสูญหายหรือเสียหายนั้น ๆ ด้วย หรือในกรณีที่การสูญหาย หรือเสียหายไม่อาจพบ หรือเห็นได้จากการตรวจสภาพภายนอกแห่งของนั้น ผู้รับตราส่งได้ส่งคำบอกกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วัน รับมอบของ

60 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อน ว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง ให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานใน เบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้า พิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้ มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของ สินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าว เป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายใน เวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำ พยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจาก ข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้

61 การส่งคำบอกกล่าว มาตรา ๕๐  ในกรณีที่จะต้องส่งคำบอกกล่าวแก่กันตามมาตรา ๔๘ หรือมาตรา ๔๙ (๒) ถ้ามิได้ส่งคำบอกกล่าวโดยตรงแก่บุคคลที่จะเป็นผู้รับคำบอกกล่าวนั้นให้บังคับดังนี้ (๑) ถ้าได้ส่งคำบอกกล่าวให้แก่ตัวแทนผู้ขนส่ง หรือนายเรือ หรือเจ้าหน้าที่ประจำเรือซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือที่ผู้ขนส่งใช้ทำการขนส่ง ให้ถือว่าได้ส่งคำบอกกล่าวนั้นให้แก่ผู้ขนส่งแล้ว (๒) ถ้าได้ส่งคำบอกกล่าวให้แก่ตัวแทนผู้ขนส่งอื่น หรือนายเรือหรือเจ้าหน้าที่ประจำเรือซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือที่ผู้ขนส่งอื่นใช้ทำการขนส่ง ให้ถือว่าได้ส่งคำบอกกล่าวนั้นให้แก่ผู้ขนส่งอื่นแล้ว (๓) ถ้าผู้ขนส่งอื่นเป็นผู้ส่งมอบของตามมาตรา ๔๐ การส่งคำบอกกล่าวแก่ผู้ขนส่งอื่นนั้นให้มีผลเช่นเดียวกับการส่งคำบอกกล่าวแก่ผู้ขนส่ง และการส่งคำบอกกล่าวแก่ผู้ขนส่งก็ให้มีผลเช่นเดียวกับการส่งให้แก่ผู้ขนส่งอื่นด้วย

62 หมวด ๕ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง
หมวด ๕ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง

63 มาตรา ๕๑  ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าอันเกิดขึ้นจากการไม่ เป็นไปตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ถ้าพิสูจน์ได้ ว่าตนปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘ วรรคสอง หรือมาตรา ๙ แล้ว

64 มาตรา ๕๒ ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้านั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจาก (๑) เหตุสุดวิสัย (๒) ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้ เดินเรือได้ (๓) การสงครามหรือการสู้รบของกองกำลังติดอาวุธ (๔) สงครามกลางเมือง การจลาจล การก่อการร้าย หรือ การก่อการวุ่นวายในบ้านเมือง (๕) การยึด การจับ การหน่วงเหนี่ยวหรือการแทรกแซง ด้วยประการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อเรือ โดยผู้มีอำนาจ ปกครองรัฐหรือดินแดนหรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่ ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อ ของผู้ขนส่ง

65 (๖) การใช้มาตรการป้องกันและปราบปรามโรคติดต่อ (๗) การนัดหยุดงาน การปิดงานงดจ้าง การผละงาน หรือ การจงใจทำงานล่าช้าที่ท่าเรือ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็น อุปสรรคแก่การบรรทุกหรือขนถ่ายของหรือเป็นอุปสรรคแก่ การที่เรือจะเข้าหรือออกจากท่าเรือนั้น (๘) การกระทำของโจรสลัด (๙) ความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่ง เช่น การบรรจุ หีบห่อ หรือรวมมัดไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่เหมาะสมกับ สภาพแห่งของ การทำเครื่องหมายที่ของหรือหีบห่อไม่ ชัดเจนหรือไม่เพียงพอ (๑๐) สภาพแห่งของนั้นเอง

66

67 (๑๑) ความชำรุดบกพร่องของเรือที่แฝงอยู่ภายในซึ่งไม่อาจ พบเห็นหรือทราบได้ด้วยการตรวจสอบอย่างระมัดระวังและ โดยใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาและสมควรจะต้องใช้สำหรับผู้ ประกอบอาชีพตรวจเรือ (๑๒) ความผิดพลาดในการเดินเรืออันเกิดจากความ บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่หรือตามคำสั่งของผู้นำร่อง (๑๓) เหตุอื่นใดที่มิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อหรืออยู่ ในความรู้เห็นของผู้ขนส่ง และมิใช่ความผิดหรือประมาท เลินเล่อของตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง

68 มาตรา ๕๓  ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า อันเกิดจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า อัคคีภัยนั้นเกิดขึ้นจากความผิด หรือประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง มาตรา ๕๔  ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัย หรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิด หรือประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งในการใช้มาตรการดังกล่าว

69 มาตรา ๕๕  ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญ หาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า ถ้าพิสูจน์ได้ ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้านั้น เป็นผลจากการใช้มาตรการทั้งปวง เพื่อ ช่วยชีวิตมนุษย์ในทะเล หรือจากการใช้ มาตรการอันสมควรเพื่อช่วยทรัพย์สินในทะเล แต่ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามส่วนของตนในการ เฉลี่ยความเสียหายทั่วไป ถ้ามี ที่มา

70 มาตรา ๕๖ ในการขนส่งสัตว์มีชีวิต ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการ สูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าอันเป็นผลจากภัยซึ่งมีลักษณะ พิเศษที่มีประจำอยู่ในการขนส่งสัตว์มีชีวิตหรือจากสภาพของสัตว์ นั้นเอง ถ้าพิสูจน์ได้ว่า (๑) ผู้ขนส่งได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับสัตว์นั้นโดยเฉพาะที่ผู้ส่ง ของได้ให้ไว้แก่ตนแล้ว และ (๒) ในพฤติการณ์แห่งกรณีเช่นนั้น การสูญหาย เสียหาย หรือส่ง มอบชักช้า อาจเกิดจากภัยหรือสภาพของสัตว์ดังกล่าวได้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับถ้าพิสูจน์ได้ว่า การสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นผลจาก ความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของ ผู้ขนส่ง มาตรา ๕๗ ถ้าของที่ขนส่งเป็นเงินตรา ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณีหรือของมีค่า อย่างอื่น ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหายหรือเสียหายแห่งของ ดังกล่าว เว้นแต่ผู้ส่งของจะได้แจ้งให้ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพและ ราคาของนั้นในเวลาที่นำของมามอบให้ ในกรณีที่แจ้งราคาของไว้ ให้ผู้ขนส่งรับผิดเพียงไม่เกินราคาที่แจ้ง ไว้นั้น

71 หมวด ๖ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งและการคิด ค่าเสียหาย
หมวด ๖ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งและการคิด ค่าเสียหาย

72 มาตรา ๕๘  ภายใต้บังคับมาตรา ๖๐ ในกรณีที่ ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้จำกัดความรับผิดของผู้ ขนส่งไว้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของ นั้น แล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า ในกรณีที่คำนวณราคาของที่สูญหายหรือเสียหายได้ ตามมาตรา ๖๑ และปรากฏว่า ราคาของนั้นต่ำ กว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเอา ตามราคาที่คำนวณได้นั้น ในกรณีที่มีการส่งมอบของชักช้า ให้จำกัดความรับ ผิดของผู้ขนส่งไว้เพียงสองเท่าครึ่งของค่าระวางแห่ง ของเฉพาะที่ส่งมอบชักช้า แต่รวมกันต้องไม่เกินค่า ระวางทั้งหมดตามสัญญารับขนของทางทะเล ในกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดทั้งตามวรรคหนึ่งและวรรค สามโดยมีหน่วยการขนส่งเดียวกันเป็นมูลแห่งความรับ ผิด ให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินจำนวน เงินที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง

73 มาตรา ๕๙  ในการคำนวณว่าเงินจำนวนใดจะมากกว่าตามมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่มีการรวมของหลายหน่วยการขนส่งเป็นหน่วยการขนส่งเดียวกัน ไม่ว่าจะมีการใช้ภาชนะ ขนส่งบรรจุหรือรองรับหรือไม่ก็ตาม ถ้าระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ใน ใบตราส่ง ให้ถือว่าของตามใบตราส่งนั้นมีจำนวนหน่วยการขนส่งตามที่ระบุไว้นั้น แต่ถ้ามิได้ระบุ ให้ ถือว่าของทั้งหมดที่รวมเป็นหน่วยการขนส่งเดียวกันนั้นเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง (๒) ในกรณีที่ตัวภาชนะขนส่งสูญหายหรือเสียหาย ถ้าผู้ขนส่งไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้จัดหาภาชนะ ขนส่งนั้น ให้ถือว่าภาชนะขนส่งอันหนึ่งเป็นของหนึ่งหน่วยการขนส่งอีกต่างหากจากของที่อยู่ในหรือ บนภาชนะขนส่งนั้น

74 มาตรา ๖๐ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา ๕๘ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) การสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง กระทำหรืองดเว้นกระทำการโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญ หาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้า หรือโดยละเลยหรือไม่ เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบ ชักช้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ (๒) ผู้ส่งของและผู้ขนส่งตกลงกันกำหนดความรับผิดของผู้ ขนส่งไว้มากกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๘ โดยระบุไว้ใน ใบตราส่ง (๓) ผู้ขนส่งได้จดแจ้งรายการใด ๆ ไว้ในใบตราส่งตามที่ ผู้ส่งของแจ้ง หรือจัดให้โดยไม่บันทึกข้อสงวนเกี่ยวกับ รายการนั้นไว้ในใบตราส่ง ทั้งนี้ โดยมีเจตนาที่จะฉ้อฉล ผู้รับตราส่งหรือบุคคลภายนอกซึ่งกระทำการโดยเชื่อ รายการในใบตราส่งนั้น (๔) ผู้ส่งของได้แจ้งราคาของที่ขนส่งให้ผู้ขนส่งทราบและผู้ ขนส่งยอมรับ โดยแสดงราคาของนั้นไว้ในใบตราส่ง ในกรณีตาม (๔) นี้ ถ้าราคาที่คำนวณได้ตามมาตรา ๖๑ ต่ำกว่าราคาที่แสดงไว้ในใบตราส่ง ให้ผู้ขนส่งรับผิดเพียง เท่าราคาที่คำนวณได้นั้น และถ้าราคาที่คำนวณได้ตาม มาตรา ๖๑ สูงกว่าราคาที่แสดงไว้ในใบตราส่ง ให้ผู้ ขนส่งรับผิดเพียงเท่าราคาที่แสดงไว้ในใบตราส่ง

75 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2542 ผู้ขายได้รับค่าสินค้าที่ขนส่งและได้โอนใบตราส่งให้แก่บริษัท อ. ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งแล้ว บริษัท อ. จึงเป็นผู้ทรงใบ ตราส่งซึ่งมีสิทธิรับสินค้านั้นได้ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม กรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบเปิดที่โจทก์เป็นผู้รับ ประกันภัยในขณะที่เกิดวินาศภัยนั้นแล้ว แม้จะฟังว่าการซื้อ ขายสินค้าที่ขนส่งเป็นการซื้อขายระบบซีไอเอฟ ซึ่งผู้ขายเป็นผู้ เอาประกันภัยก็เป็นการเอาประกันภัยของผู้ขายกับผู้รับ ประกันภัยอื่นซึ่งมิใช่โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเล แบบเปิด และเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวมา ฟ้องเป็นคดีนี้ แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลแบบ เปิดเลขที่ จะเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำกันระหว่าง โจทก์กับบริษัท ช. ก็ตาม แต่ตามกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ระบุ รายละเอียดเงื่อนไขทั่วไปของกรมธรรม์ไว้ในข้อ 02.1 โดยได้ กล่าวถึงผู้ถือกรมธรรม์ว่าคือบริษัท ช. และระบุว่าผู้เอา ประกันภัยคือบริษัททุกบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์ถือหุ้นอยู่กว่าร้อย ละ 50 หรือบริษัทที่ผู้ถือกรมธรรม์มีความรับผิดชอบทางด้าน จัดการตามภาคผนวก 1 อันแสดงว่านอกจากบริษัท ช. จะเป็น คู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะเป็นผู้ถือกรมธรรม์แล้ว ยัง มีบริษัทอื่นที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในอัตราเกินกว่าร้อย ละ 50 หรือมีบริษัทอื่นที่บริษัทนั้นเป็นผู้รับผิดชอบทางด้าน จัดการเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้เอา ประกันภัยอีกด้วย

76 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2542 ต่อ
ทั้งนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าสัญญาประกันภัยทางทะเล ต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะผูกพันโจทก์ผู้รับ ประกันภัย สาเหตุแห่งความเสียหายเป็นผลมาจากการยกหีบไม้ โดยไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังในระหว่างการขนส่ง ความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งดังกล่าวจึงเป็นผลมา จากการที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้าง ของผู้ขนส่งกระทำการโดยไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าความ เสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าเต็มจำนวน ไม่อาจอ้าง เอาข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจำนวนเพียง 10,000 บาทต่อ 1 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ มา เป็นประโยชน์แก่ตนได้

77 มาตรา ๖๑ การคำนวณราคาของที่สูญหายหรือ เสียหายตามมาตรา ๕๘ ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ถ้าของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้ คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึง ส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง (๒) ถ้าของสูญหายหรือเสียหายบางส่วน ให้ คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่าง เดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ใน เวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง

78 เพิ่มเติมคำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 1274/2543 คำพิพากษาฎีกาที่ 9021/2543


ดาวน์โหลด ppt พรบ. รับขนสินค้าทางทะเล 2534

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google