ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยTobias Carter ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยประจำจังหวัด โรคระบาดที่สำคัญในสุกร
เอกสารแนบ 1 ฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยประจำจังหวัด โรคระบาดที่สำคัญในสุกร PRRS / FMD / CSF
2
(Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome หรือ PRRS)
โรคพี อาร์ อาร์ เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome หรือ PRRS)
3
สาเหตุ (Causative agent)
เกิดจากเชื้อ PRRS virus ในกลุ่ม Arteriviridae มี Antigenic type แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ European และ American Type
4
โรคที่มีอาการคล้ายกัน (Differential diagnosis)
โรคออเจสกี้ (Aujeszky’s disease) โรคติดเชื้อพาร์โวไวรัสในสุกร (Porcine parvovirus infection) โรคอหิวาต์สุกร (Swine fever) โรคอินฟลูเอ็นซ่าในสุกร (Swine influenza) โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (Swine respiratory coronavirus)
5
วิทยาการระบาดของโรค (Epidemiology)
พบการระบาดของโรคพบในเขตที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่นทั่วโลก การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นจากการนำ สุกรป่วย หรือตัวที่เป็นพาหะของโรคเข้าสู่ฟาร์มโดยตรง การแพร่กระจายของเชื้อทางอากาศ (Airborne spread) การแพร่กระจายของเชื้อในนํ้าอสุจิ ติดเชื้อโดยการผสมพันธุ์หรือผสมเทียม
6
อาการ (Clinical signs)
แบบเฉียบพลัน ในแม่สุกรอุ้มท้อง จะมีไข้ เบื่ออาหาร ทำ ให้เกิดอาการแท้งระยะสุดท้ายของการตั้งท้อง หรือลูกตายแรกคลอดสูงหรือลูกคลอดออกมาแล้วอ่อนแอ แคระแกร็นเลี้ยงไม่โตและตายในสุด การติดเชื้อในสุกรพ่อพันธุ์ จะทำ ให้คุณภาพนํ้าเชื้อไม่ดี อัตราการผสมติดตํ่า หลังจากได้รับเชื้อแล้ว สามารถตรวจพบไวรัสในนํ้าเชื้อได้นาน เดือน ในลูกสุกรแรกคลอด และสุกรดูดนมจะมีอัตราตายสูงด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และมักพบโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย แบบเรื้อรัง ในแม่พันธุ์มีอัตราการคลอดตํ่า ลูกสุกรอนุบาลแคระแกร็น โตช้า เลี้ยงไม่โต และมักพบอาการผิดปกติทางระบบหายใจ ในแม่สุกรอุ้มท้อง จะมีไข้ เบื่ออาหาร ทำ ให้เกิดอาการแท้งระยะสุดท้ายของการตั้งท้องหรือลูกตายแรกคลอดสูงหรือลูกคลอดออกมาแล้วอ่อนแอ แคระแกร็นเลี้ยงไม่โตและตายในสุด
7
รอยโรคจากการผ่าซาก (Gross lesions)
ปอดอักเสบชนิด อินเตอร์สติเชียล (Interstitial pneumonia) เนื้อปอดแน่น สีชมพูอมเทา
8
การรักษา (Treatment) ไม่มียารักษาโดยตรงเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส มักให้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
9
การควบคุมและป้องกันโรค (Control and prevention)
เน้นในด้านการจัดการดูแล รวมทั้งการสุขาภิบาลที่ดี และป้องกันไม่ให้มีการนำ เชื้อใหม่ๆ เข้าสู่ฟาร์ม
10
ตัวอย่างส่งตรวจ (Specimens)
ซีรั่ม หรือ พลาสมา ของสัตว์ป่วย สมอง ทอนซิล ม้าม ปอด ต่อมนํ้าเหลือง การตัวอย่างส่งตรวจ (Specimens) เนื่องจาก เชื้อไวรัสชนิดนี้ ตายง่าย ควรแช่เย็นที่ 4 C แล้วนำ ส่งห้องปฏิบัติการทันทีหรืออาจเก็บไว้ที่ -70 C
11
โรคปาก และเท้าเปื่อยในสุกร (Foot and Mouth Disease)
12
สาเหตุ (Causative agent)
เกิดจากเชื้อเอฟ เอ็ม ดี ไวรัส (FMD virus) อยู่ในตระกูล Piconaviridae ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ O , A และAsia1 ซึ่งติดต่อได้โดย การสัมผัสโดยตรง หรือการสัมผัสทางอ้อม การหายใจ การผสมเทียม สัตว์ป่วยที่หายจากโรคแล้ว สามารถเป็นพาหะนำ เชื้อโรคอยู่ได้ถึง 2 ปี เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำ ให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้
13
ระยะฟักตัวของโรค อยู่ระหว่าง 2-8 วัน มักไม่เกิน 4 วัน แต่อาจจะนานถึง 2-3 อาทิตย์
14
อาการ (Clinical signs)
สัตว์จะแสดงอาการปากอักเสบเจ็บรุนแรง มีไข้ เบื่ออาหาร นํ้าลายไหลมาก นํ้านมลด ซึม กัดฟันเยื่อเมือกอักเสบแดง สัตว์ท้องอาจแท้งลูก ในราววันที่สองจะมีเม็ดตุ่มขึ้นตามเยื่อเมือกริมฝีปากเหงือกและด้านบนของลิ้น ต่อมาตุ่มนี้จะแตก เยื่อเมือกหลุดลอก ทำให้เกิดแผลหลุมตื้นๆ ภายหลังที่เกิดเม็ดตุ่มที่ปากมาแล้ว 2-5 วัน ก็จะมีเม็ดตุ่มขึ้นที่ระหว่างกีบ หนังไรกีบ ต่อมาตุ่มจะแตกเกิดแผลเรื้อรัง การหายของแผลจะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับโรคแทรก ถ้ามีเชื้ออื่นแทรกที่กีบ ก็อาจทำ ให้เกิดแผลลึกเข้าไปในกีบ จนกีบหลุดได้ ส่วนแผลในปากจะหายในราว 1-2 อาทิตย์ ในรายที่ไม่มีโรคอื่นแทรก สัตว์มักหายภายใน วัน หากอาการพบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะมีอัตราการตายสูง
15
รอยโรคจากการผ่าซาก (Gross lesions)
พบรอยโรคที่มีลักษณะเป็นตุ่มใส กระจายอยู่ทั่วไปในอวัยวะ ดังต่อไปนี้ เยื่อชุ่มของริมฝีปาก ด้านบนของลิ้น เพดาน ผิวหนังรอบ ๆ ไรกีบ (coronary band) แคมช่องคลอด (vulva) เต้านมและหัวนม เยื่อเมือกของกระเพาะแท้และลำ ไล้เล็ก พบการบวมนํ้า และ จุดเลือดออก เยื่อเมือกของลำ ไส้ใหญ่ พบเลือดคั่ง กล้ามเนื้อหัวใจพบจุดสีเทาขนาดเล็กที่หัวใจเรียก ไทเกอร์ฮาร์ท (tiger heart)
16
การรักษา (Treatment) เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะแต่ให้ทำการรักษาตามอาการดังนี้ รักษาแผลในปากโดยใช้ยาฆ่าเชื้ออ่อนๆทำ ความสะอาดแผล เช่น นํ้าเกลือ ด่างทับทิม แล้วใส่ยาชนิดป้ายแผล เช่น เพนนิซิลิน หรือเจนเชี่ยนไวโอเล็ต (gentianviolet) รักษาแผลที่กีบ ใช้ ยาปฏิชีวนะ หรือยาซัลฟา ชนิดขี้ผึ้ง (Ointment) การจัดการดูแลให้สัตว์อยู่ในที่สะอาด ไม่ชื้นแฉะ ฉีดยาพวกปฏิชีวนะ เพื่อควบคุมป้องกันโรคแทรกซ้อน
17
การควบคุมและป้องกันโรค (Control and prevention)
ทำลายสัตว์ป่วยหรือที่สงสัยว่าป่วย วิธีที่ทำ โดยการทำ ลายสัตว์ป่วยทันทีแล้วจัดการเผาหรือฝังซาก และทำ การฆ่าเชื้อให้ทั่วบริเวณนั้น ทำ เฉพาะเกิดการระบาดครั้งแรกในบริเวณหรือประเทศที่ไม่เคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อน กำหนดบริเวณอย่างแน่นอนไว้เพื่อกักสัตว์ ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายไปไหน รวมทั้ง เจ้าของสัตว์ผลิตภัณฑ์สัตว์และอาหารสัตว์ด้วย ให้มีการกักกันสัตว์ (Quarantine) ก่อนขนย้าย ฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในบริเวณที่เกิดโรคระบาด และบริเวณรอบๆจุดเกิดโรคในรัศมี 10 กิโลเมตร (Ring vaccination)
18
ตัวอย่างส่งตรวจ (Specimens)
อวัยวะที่มีรอยโรค เช่น เยื่อลิ้น หัวใจ และกีบเท้า
19
โรคอหิวาต์สุกร (Classical Swine Fever)
20
สาเหตุ (Causative agent)
เกิดจากเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร (SF virus) อยู่ในตระกูล flaviviridae เป็นเชื้อไวรัสชนิด RNA สายเดี่ยว
21
โรคที่มีอาการคล้ายกัน (Differential diagnosis)
โรคอาฟริกัน สไวน์ ฟีเวอร์ (African swine fever) โรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) โรคพาสเจอเรลโลซิส (Pasteurellosis) โรคติดเชื้อสเตรปโตค็อคคัส (Streptococcosis) โรคไข้หนังแดง (Erysipelas) โรคแกลสเซ่อร์ (Haemophilus suis infection)
22
วิทยาการระบาดของโรค (Epidemiology)
โรคนี้เป็นเฉพาะในสุกร พบมีการระบาดทั่วโลกยกเว้นประเทศออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ อเมริกา และประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สุกรทุกอายุ เพศ พันธุ์ มีโอกาสติดโรคได้ มีอัตราการป่วย และอัตราการตายสูง ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งขับถ่ายของสุกรป่วย หรือเชื้อไวรัส อาจติดมากับผู้มาเยี่ยมฟาร์มรถขนสุกร สัตว์เลี้ยง นก หนู และแมลงต่างๆ
23
อาการ (Clinical signs)
1. แบบเฉียบพลัน มักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง อาการเริ่มแรกที่พบจะสังเกตว่ามีสุกร 2-3 ตัวแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร เวลาไล่ไม่ค่อยอยากลุก คอตก หลังโก่ง ต่อมาจะมีไข้สูง นอนสุมกัน เยื่อตาอักเสบ ท้องเสียเป็นนํ้าสีเหลืองปนเทา บางครั้ง จะมีอาการ อาเจียนและชัก จะพบจุดเลือดออกสีม่วงแดงตามลำ ตัว โดยเฉพาะบริเวณท้อง หู จมูก โคนขาด้านใน ในรายที่เป็นรุนแรงจะตายภายหลังแสดงอาการ วัน
24
อาการ (Clinical signs)
แบบเรื้อรัง สุกรแสดง อาการซึม ไข้สูง เบื่ออาหาร ต่อมาอาการจะทุเลาลง และจะกลับเป็นขึ้นมาอีก สุกรป่วย จะมีอาการแคระแกร็นและจะตายภายใน1-3 เดือน แบบที่มีระยะฟักตัวของโรคนาน สุกรแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อมานาน โดยมีอาการซึม เบื่ออาหาร อุณหภูมิร่างกาย อาจปกติหรือมีไข้เล็กน้อย เยื่อตาและผิวหนังอักเสบขาดการทรงตัว ขาหลังไม่มีแรงและจะตายภายใน 2-11 เดือน แม่สุกรที่ติดเชื้อขณะตั้งท้อง จะทำ ให้แท้งลูกคลอดเป็นลูกกรอก ลูกตายแรกคลอด ซึ่งมักพบมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ลูกที่รอดชีวิต จะอ่อนแอ ตัวสั่น และเป็นตัวอมโรคสามารถแพร่โรคไปยังตัวอื่นได้
25
รอยโรคจากการผ่าซาก (Gross lesions)
แบบเฉียบพลัน (acute) พบรอยโรคเลือดออกขนาดต่าง ๆ ที่ไต กระเพาะปัสสาวะ ลิ้นปิดกล่องเสียง หัวใจ เยื่อเมือกและเยื่อเลื่อมของลำ ไส้และผิวหนัง ต่อมนํ้าเหลืองขยายใหญ่ บวมนํ้าและมีจํ้าเลือดสีแดงคลํ้า รอยโรคเนื้อตายที่ม้าม (splenic infarction)
26
รอยโรคจากการผ่าซาก (Gross lesions)
แบบเรื้อรัง (chronic) พบรอยโรคแผลหลุม (ulcer) ที่ไส้ตัน (caecum)และลำ ไส้ใหญ่ส่วนต้น (colon) รอยโรคเนื้อตายที่ม้าม (splenic infarction) แบบที่มีระยะฟักตัวของโรคนาน (Late-Onset) ต่อมนํ้าเหลืองโต
27
การรักษา (Treatment) ไม่มียารักษาโดยตรงเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส มักให้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
28
การควบคุมและป้องกันโรค (Control and prevention)
เน้นในด้านการจัดการดูแล รวมทั้งการสุขาภิบาลที่ดี และป้องกันไม่ให้มีการนำเชื้อใหม่ๆ เข้าสู่ฟาร์ม ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมการทำวัคซีน ทำลายสุกรป่วย และใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อในกรณีที่เกิดการระบาดของโรค ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรในเขตที่มีการระบาดของโรค
29
ตัวอย่างส่งตรวจ (Specimens)
สมอง ทอนซิล ต่อมนํ้าเหลือง ม้าม ไต ลำ ไส้
30
2 ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานที่เลี้ยงสุกร และการเลี้ยงสุกรเพื่อการป้องกันโรค
31
ความหมาย ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานที่เลี้ยงสุกร และการเลี้ยงสุกรเพื่อการป้องกันโรค หมายถึง รูปแบบวิธีการเลี้ยงสุกรที่มีขั้นตอนการป้องกันการนำโรคติดต่อในสุกรเข้ามายังสถานที่เลี้ยงสุกรของตน เช่น สุกรที่จะนำเข้ามาเลี้ยงใหม่ต้องมาจากแหล่งที่ปลอดโรค มีการกักดูอาการสุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ ห้ามนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานที่เลี้ยงสุกรจากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ร่วมกับสถานที่เลี้ยงสุกรของตนเอง ฯลฯ
32
จุดประสงค์ เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อในสุกร
เพื่อการลดต้นทุนการเลี้ยงที่เกิดจากความเสียหายอันเนื่องมาโรคระบาดในสุกร
33
หลักสำคัญในการจัดการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
การจัดการด้านสถานที่เลี้ยงสุกร การจัดการในเรื่องของวิธีการเลี้ยงสุกร
34
การจัดการด้านสถานที่เลี้ยงสุกร
สถานที่เลี้ยงสุกรต้องแยกออกจากสถานที่อื่นอย่างชัดเจน สถานที่เลี้ยงสุกรต้องสามารถป้องกันโรคที่จะเข้ามาได้ ? ทำอย่างไร รายละเอียดในแบบ FD 3/8
35
การจัดการในเรื่องของวิธีการเลี้ยงสุกร
เกษตรกรมีความรู้ในการเลี้ยงสุกร (โรค การจัดการ อาหาร ตลาด ฯลฯ) มีวิธีการเลี้ยงที่ไม่นำความเสี่ยงในการติดโรคระบาดเข้าสู่สถานที่เลี้ยงสุกร มีระบบการเก็บข้อมูล มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ มีระบบการฆ่าเชื้อทำความสะอาดในสถานที่เลี้ยงสุกร มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเลี้ยงสุกร
36
การขึ้นทะเบียนสุกร
37
จุดประสงค์ เพื่อใช้ในการระบุตัวสุกร เพื่อใช้ในการป้องกัน และควบคุมโรค
เพื่อใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ
38
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนสุกรพ่อ-แม่พันธุ์
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำรวจจำนวนสุกรของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรฯ เพื่อจัดทำบัตรประจำตัวสุกร และกำหนดหมายเลขประจำตัวสุกรให้กับสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรฯทุกตัว หมายเลขประจำตัวสุกรพ่อ-แม่พันธุ์กำหนดให้ใช้หมายเลขตามเกณฑ์ดังนี้ เลขปีพ.ศ.2หลัก เลขรหัสจังหวัด2หลัก เลขรหัสอำเภอ2หลัก ตัวอักษรP(ชนิดสัตว์) ตัวอักษรMหรือF(เพศ) หมายเลขที่ตัวสุกร4หลัก (ทั้งหมด12หลัก) ปีพ.ศ.ที่ติดเบอร์ รหัสจังหวัด รหัสอำเภอ ชนิดสัตว์ เพศ หมายเลขประจำตัวสุกร P M/F
39
ทะเบียนสุกร หมายเลขประจำตัวสุกร เบอร์หู (ยังไม่ติด) สุกรพ่อพันธุ์
สุกรแม่พันธุ์ เบอร์หู (ยังไม่ติด) ปีพ.ศ.ที่ติดเบอร์ รหัสจังหวัด รหัสอำเภอ ชนิดสัตว์ เพศ หมายเลขประจำตัวสุกร P M/F รหัสอำเภอ ชนิดสัตว์ P เพศ DLD รหัสจังหวัด หมายเลขตัวสุกร ปีพ.ศ.ที่ติดเบอร์
40
การบันทึกข้อมูลฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อย
41
จุดประสงค์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการฟาร์มสุกรของเกษตรกร
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบย้อนกลับได้
42
แบบบันทึกข้อมูลเบื้องต้นในฟาร์มสุกร
ข้อมูลพื้นฐานของฟาร์ม (บันทึก 6 เดือน/ครั้ง) บันทึกการเข้า-ออกสถานที่เลี้ยงสุกร (บันทึกทุกครั้งที่มีการเข้า-ออก) รายงานการใช้วัคซีน (บันทึกทุกครั้งที่มีการใช้วัคซีน) บันทึกการรักษาสุกรป่วย (บันทึกทุกครั้งที่มีสุกรป่วย) บันทึกการให้อาหารสุกร (บันทึกทุกวัน) บันทึกรายรับ-รายจ่ายของฟาร์ม (บันทึกทุกครั้งที่มีรับ-จ่าย)
43
การเลี้ยงสุกรในรูปแบบ “กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรประจำจังหวัด..............”
44
จุดประสงค์การเลี้ยงสุกรในรูปแบบกลุ่ม
เพื่อให้เกษตรกรมีการเลี้ยงสุกรในรูปแบบเดียวกัน รูปแบบของการเลี้ยงสุกรเพื่อการป้องกันโรค วิธีการลดต้นทุน เพื่อสะดวกในการดำเนินการให้การช่วยเหลือของกรมปศุสัตว์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือภายในกลุ่มฯ
45
ขั้นตอน และวิธีการ ขอขึ้นทะเบียนเป็น “กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยประจำจังหวัด” กับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด โดยทำการขึ้นทะเบียนกับกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ สมาชิกเลือกตั้งประธาน เลขาฯ และคณะกรรมการ ตั้งหลักเกณฑ์ภายในกลุ่ม โดยที่สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม สมาชิกทุกคนในกลุ่มดำเนินการเลี้ยงสุกรภายใต้รูปแบบการเลี้ยงสุกรที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแนะนำ
46
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.