ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลรธานี
เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลรธานี มิส.ปริญญ์ทิพย์ แสนใจ รวบรวมและเรียบเรียง
2
การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ สารสนเทศในระบบเครือข่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ สารสนเทศในระบบเครือข่าย
3
“เทคโนโลยีสารสนเทศ” ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของคำว่า ข้อมูล และสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
4
ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี ( Technology) หมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ มีประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม เช่น ซิป (Chip) ที่ถูกสร้างมาจากทรายหรือซิลิกอนแล้วนำมาผ่านกรรมวิธีพิเศษจนเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลสารสนเทศทำให้สารสนเทศนั้นมีประโยชน์และสามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ประโยชน์ของผู้ที่มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ IT 1. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวกและคุ้มค่ามากขึ้น 2. ตามทันกับสภาพสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคาดการณ์แนวโน้มการใช้ในอนาคตได้ 3. มีความรู้สามารถที่จะเลือกซื้อหรือเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ได้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตนเอง 4. เป็นผู้มีความรู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ 5. เป็นผู้มีความรู้กว้างขวางในหลากหลายสาขา และได้รับความรู้รอบตัวมากขึ้น
5
ประโยชน์ของผู้ที่มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ IT
6
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์กรต่าง ๆ จะมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น องค์กรของรัฐ โรงพยาบาล โรงเรียน อุตสาหกรรม และธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากอุปกรณ์อำนวยความสะดวกจะมีหลากหลายทำให้คอมพิวเตอร์มีการใช้งานที่ง่ายขึ้นมีการพัฒนาโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านต่าง ๆ ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบในเครื่องเดียว คือจะมีความเป็น Multimedia มากขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานก็จะมีการประมวลผลที่เร็วขึ้น และในทางกลับกันก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย แม้แต่การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ง่ายดังที่หลาย ๆ คนมักจะพูดว่า “โลกเราแคบลงทุกวัน” นั่นก็เป็นเพราะเรามีการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวกมากขึ้น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ก็คือ 1. ความจำเป็น อย่างเช่น ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีบุคลากรภายในองค์กรไม่มาก การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็อาจจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายมากกว่าที่จะใช้แรงงานจากมนุษย์ก็เป็นได้ 2. การพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีมาใช้จึงต้องคำนึงถึงอนาคตด้วยว่า แนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีต่อไปจะเป็นอย่างไร องค์กรจะต้องใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคตด้วย 3. การบริหารจัดการ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับรูปแบบขององค์กร ความได้เปรียบเสียเปรียบทางด้านการตลาดเป็นต้น
7
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร มนุษย์รับรู้ข่าวสารกันได้อย่างไม่มีอุปสรรค ดังคำที่ว่า โลกไร้พรมแดน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ก็สามารถที่จะติดต่อกับผู้อื่นได้โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2. ด้านการศึกษา นักเรียนนักศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะสามารถเรียนจากที่บ้านได้โดยไม่ต้องไปโรงเรียนเหมือนปัจจุบันโดยการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ และความรู้ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตนั้นก็ไม่มีจำกัดสาขาวิชา สามารถที่จะค้นคว้าจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ทั่วโลก 3. ด้านการดำเนินชีวิต มนุษย์จะมีชีวิตที่สุขสบายมากยิ่งขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนาในรูปแบบของหุ่นยนต์เพื่อทำงานแทนมนุษย์ งานที่ต้องใช้แรงงานและมีความเสี่ยงสูงก็จะใช้หุ่นยนต์ทำแทน อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านก็จะควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์มนุษย์ไม่ต้องคอยดูแลความปลอดภัยหรือความเรียบร้อยภายในบ้านเอง แต่จะมีโปรแกรมคอยตรวจสอบให้ทั้งหมดเป็นต้น 4. ด้านสุขภาพ วงการแพทย์จะมีความก้าวหน้าในการรักษาโรคมากขึ้น เพราะมีระบบแพทย์ออนไลน์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็จะได้เผยแพร่ให้ทุกคนได้รับรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต แพทย์ทั่วโลกสามารถที่จะร่วมมือกันในการปฏิบัติงานได้ 5. ด้านการท่งเที่ยวและความบันเทิง สามารถทำผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจองตั๋ว การตรวจสอบสถานที่ การสอบถามข้อมูล การดูหนังฟังเพลง ต่าง ๆ ตลอดจนการซื้อของโดยที่เราไม่ต้องไปเดินซื้อของตามห้างสรรพสินค้า
8
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
ผลกระทบของเทคโนโลยีทางด้านการศึกษา - จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า CAI นั้นทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน เช่น - ครูกับนักเรียนจะขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกัน เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จากโปรแกรมสำเร็จรูป ทำให้ความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง - นักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียนที่มีฐานะดีและยากจน ทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมจะมีโอกาสทางการศึกษาทางสังคมดีกว่า ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม - ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของแรงงานเพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์อีกต่อไป - การปรับตัวเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของพนักงานที่มีอายุมากหรือมีความรู้น้อย ก็จะทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากต้องมีความรู้จึงจะเข้าใจได้ - สมาชิกในสังคมมีการดำเนินชีวิตที่เป็นแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่มีความสัมพันธ์กันภายในสังคมเพราะต่างมีชีวิตที่ต้องรีบเร่งดิ้นรน ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสิ่งแวดล้อม - เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์นำเทคโนโลยีทางด้าน IT ไปพัฒนาอย่างผิดวิธีและนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะมุ่งเพียงแต่จะก่อประโยชน์ให้แก่ตนเองเท่านั้น
9
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสุขภาพจิต - เมื่อการดำเนินชีวิตแบบเดิมที่เป็นแบบเรียบง่าย ต้องเปลี่ยนมาปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา ก็อาจจะทำให้เกิดความเครียด ความวิตก กังวล ไม่ว่าจะในหน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตาม - พฤติกรรมของเยาวชน โดยเฉพาะพวกเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบการต่อสู้ การใช้กำลัง เป็นต้น - นักธุรกิจก็ต้องทำงานแข่งกับเวลา ไม่มีเวลาได้พักผ่อนก็ก่อให้เกิดความเครียด สุขภาพจิตก็เสียตามมาด้วย ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อเศรษฐกิจ - มนุษย์สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ง่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการซื้ออะไรที่ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็นหนี้สูง การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่งก็เกิดผลดี คืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้นแต่ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษยธรรม หรือความมีน้ำใจไป
10
ความหมายของคำว่า ข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล (Data or Raw Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (Fact) ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจความแตกต่างระหว่างข้อมูล (Data or Raw Data) เราอาจเปรียบเทียบได้กับวัตถุดิบซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนใด ๆ เช่น เราต้องการอาหารจานเด็ดสำหรับมื้อค่ำ เราต้องนำวัตถุดิบเพื่อนำมาปรุงเพื่อให้เป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ถ้าเราจะนำข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ มาใช้ เราก็อาจไม่สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้เลยหรือไม่สามารถใช้ได้มากนัก ตัวอย่างข้อมูลทางธุรกิจ เช่น ชนิดของสินค้า จำนวนผู้ขาย จำนวนที่ขาย ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวม เช่น จำนวน ถ้ากล่าวอ้างมาเฉย ๆ เราก็จะทราบแต่เพียงว่าเป็นตัวเลข แต่เราคงไม่เข้าใจว่าเราตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร และก็จะไม่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ แต่ถ้าเรานำข้อมูลเหล่านี้มาเก็บรวบรวมโดยกำหนดว่าข้อมูล หมายถึง จำนวนสินค้าที่ขายได้และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการ (Process) เช่นการนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณยอดรวม เราก็จะได้ว่าจำนวนสินค้าที่ขายทั้งหมด คือ 600 หน่วย เราเรียกข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนเหล่านี้ว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์อาจมีความแตกต่างกัน เช่นการใช้สารสนเทศในระบบในธุรกิจสำหรับผู้บริหารระดับสูง คงต้องการเพียงรายงานสรุปเพื่อนำไปตัดสินใจในการวางแผนในการทำงานต่อไป เช่น ขณะนี้เหลือสินค้าอยู่เท่าไร ควรที่จะผลิตเพิ่มหรือไม่ แต่ถ้าเป็นผู้ปฎิบัติงานคงต้องการรายงานที่มีความละเอียดเพื่อตรวจเช็คความถูกต้องของงานที่ทำอยู่ เช่นผู้ขายแต่ละคน ขายสินค้าอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร เป็นต้น
11
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้ทุกวงการวิชาชีพต้องหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันต่อสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การถอนเงินอัตโนมัติ การศึกษาทางไกล การประชุมทางโลก ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น ทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้น ในขณะที่ราคาเครื่องมือเครื่องใช้ดังกล่าวลดลงกว่าเดิม ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคข่าวสารข้อมูล องค์กรทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในปัจจุบัน ต่างก็หันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างจริงจังและมากขึ้น โดยใช้เป็นเครื่องมือช่วยสร้างระบบสารสนเทศในหน่วยงานของตน เนื่องจากตระหนักดีว่า สารสนเทศมีบทบาทในการทำกิจกรรมแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การปฏิบัติงานการแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ และโดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ได้สารสนเทศอย่างรวดเร็ว ถูกต้องเชื่อถือได้ทันต่อเวลา มีเนื้อหาและรูปแบบที่ต้องการ จึงได้หน่วยงานและองค์การต่างๆ ขึ้น เช่น หน่วยงานสำหรับรวบรวม วิเคราะห์และจัดทำรายงานสารสนเทศ หน่วยงานบริการด้านการสื่อสาร สารสนเทศสำหรับผู้ใช้ คณะกรรมการนโยบายสารสนเทศแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศอย่างกว้างขวางทั่วถึงและคุ้มค่า
12
สำหรับวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็กสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแข่งขัน เจ้าของธุรกิจ จำเป็นต้องรู้ทุกประเภทจำเป็นต้องขวนขวายหาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ การสื่อสารสารสนเทศและอุปกรณ์สำนักงาน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยการปฏิบัติงานให้เกิดความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดความประทับใจแก่ลูกค้าและอื่นๆ เช่น ด้านการเงินการธนาคาร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบฝากถอนเงินอัตโนมัติ ในด้านธุรกิจการบิน การโรงแรม การท่องเที่ยว ใช้กับระบบการสำรองที่นั่ง การควบคุมระบบการจราจรทางอากาศ ฯลฯ นอกจากนี้ในชีวิตประจำวัน ในครอบครัวหรือในบ้าน ก็มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกันมากขึ้น เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสนเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สรุปได้ดังนี้ 1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน 2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ 3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก 4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ 5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์และอื่นๆ
13
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการ และการปฏิบัติการของบุคคลไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีก รวม องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ คือ ฮาร์ดแวร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่ง ข้อมูล บุคคล และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
14
1. ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ (Scanner) 2. ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย(Graphic User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์การส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เป็นต้น
15
3. ข้อมูล ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ 4. บุคลากร บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมากอาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติงานเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน
16
เทคโนโลยีสารสนเทศปรูแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ จะมีความสามารถในด้านการจัดการสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการ บันทึก การแก้ไข การจัดทำรายงาน ซึ่งก็แล้วแต่ระบบที่องค์กรนั้น ๆ ใช้ ซึ่ง การใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศนี้จะทำให้องค์กรได้รับความสะดวกใน การทำงาน หรือ อาจเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจด้วยก็ได้ 2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะได้รับความสะดวก และมี ประโยชน์หลายประการด้วยกัน เช่น - สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ -- การจัดเก็บข้อมูลที่รวมไว้ที่เดียว ผู้ที่อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ ต้องเสียเวลาในการเดินทาง -- องค์กรสามารถประหยัดงบประมาณในการใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครือข่ายเป็นระบบ ที่สามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ - สามารถทำงานร่วมกันได้ หรือทำงานโดยใช้เอสารชุดเดียวกัน
17
เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ - เป็นการนำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานทำให้ - พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ - การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร หรืองานพิมพ์งานต่าง ๆ สามารถที่จะบัน ทึกไว้เป็นแฟ้ม ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุง - การออกแบบต่าง ๆ มีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น - มีระบบฝากข้อความเสียง - การประชุมทางไกล 4. เทคโนโลยีช่วยสอนหรือที่เรียกว่า CAI
18
“การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ”
โครงสร้างฐานข้อมูลในระบบฐานข้อมูล การแบ่งประเภทแฟ้ม ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
19
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกัน แต่จะขอ เพียงกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ให้นำไปคิดพิจารณาต่อเท่านั้น 1. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้าง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน 2. การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การกำหนดมาตรฐาน 4. การลงทุนด้านไอที เราควรจะลงทุนในด้านไอทีมากสักเท่าใด 5. การจัดองค์กร ระวังไม่ให้ข้อมูลเกิดความซ้ำซ้อนกันเองภายในหน่วยงาน 6. การบริหารงานพัฒนาระบบ 7. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
20
รูปที่ 3.1 ตัวอย่างแบบฟอร์มบัตรคนไข้
21
ในการจัดข้อมูลนี้ ทางคลีนิกใช้ตู้เก็บเอกสารขนาดใหญ่สำหรับเก็บกระดาษแบบฟอร์มและดำเนินการเก็บเรียงไว้ในลิ้นชัก เมื่อมีคนไข้ใหม่เพิ่มขึ้นก็เพิ่มต่อกระดาษแบบฟอร์มใหม่เข้าไป ลักษณะการจัดการข้อมูลดังกล่าวเปรียบเทียบได้กับการจัดการแฟ้มข้อมูลที่ใช้ทางคอมพิวเตอร์นั่นเอง เมื่อพิจารณาบัตรคนไข้ จะเห็นว่า ข้อมูลที่อยู่บนบัตรมีความหมายต่าง ๆ กัน การที่ข้อมูลแสดงความหมายได้จะต้องประกอบด้วยส่วนข้อมูลที่พิมพ์บนบัตร กับส่วนข้อมูลที่กรอกเพิ่มเติม ส่วนข้อมูลที่พิมพ์บนบัตรคือส่วนที่อธิบายเนื้อหาลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ ทำให้ส่วนข้อมูลที่กรอกเพิ่มเติมคือตัวข้อมูลชัดเจนขึ้น และทำให้ควบคุมการใช้ตัวข้อมูลให้เกิดประโยชน์กว้างขวางขึ้น การจะใช้งานข้อมูลให้ได้ผล จึงต้องมีทั้งตัวข้อมูลและคำอธิบายเนื้อหาลักษณะของข้อมูล หากพิจารณาถึงการจัดการข้อมูลจะหมายถึงการจัดเก็บข้อมูล-การเรียกใช้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการใช้งาน ในการเรียกใช้ข้อมูลเมื่อมีคนไข้มาติดต่อ เจ้าหน้าจะต้องค้นหาข้อมูลเดิมของคนไข้ ทางหนึ่งที่ทำได้คือตรวจดูข้อมูลบนบัตรแบบฟอร์มทีละใบตั้งแต่ใบแรกจนพบ การค้นหาวิธีนี้อาจเสียเวลาบ้าง แต่หากการจัดเก็บข้อมูลมีการจัดเรียงชื่อตามตัวอักษร เช่น ก ข ค... ไว้แล้ว เมื่อทราบชื่อคนไข้และค้นหาตามตัวอักษรก็จะพบข้อมูลได้เร็วขึ้น ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานประจำวัน การตัดสินใจของผู้บริหารจะกระทำได้รวดเร็ว ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศดังกล่าว แต่การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหลักการและวิธีการที่ทำให้ระบบมีระเบียบแบบแผนที่ดี
22
การเก็บข้อมูลนั้นผู้จัดเก็บจำเป็นต้องทำการแยกแยะ และพยายามหาทางลดขนาดของข้อมูลให้สั้นที่สุด แต่ให้ได้ความหมายในตัวเองมากที่สุด โดยปกติข้อมูลที่ต้องการเก็บมีเป็นจำนวนมาก เช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีข้อมูลเก็บเป็นจำนวนหลายแฟ้ม การเก็บข้อมูลจึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มออกจากกัน แต่ข้อมูลระหว่างกลุ่มก็อาจจะมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันได้ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนี้เองเป็นส่วนที่ทำให้เกิดระบบฐานข้อมูล ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต้องเข้าใจหลักการและวิธีการเพื่อให้เกิดการเก็บ เรียกหา ค้นหา หรือใช้งานข้อมูลได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการแยกกลุ่มข้อมูล โดยยึดหลักการพื้นฐานว่าข้อมูลแต่ละกลุ่มจะเป็นสิ่งที่มองเห็นหรือจับต้องได้ เช่น คน สิ่งของ สินค้า สถานที่ ข้อมูลแต่ละกลุ่มที่แยกนี้เรียกว่า เอนทิตี (entity) โดยสรุปเอนทิตี หมายถึง สิ่งที่เราสามารถมองเห็นภาพลักษณ์ได้ โดยข้อสนเทศของเอนทิตีจะสามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ เนื้อหาและข้อมูล สำหรับเนื้อหาของเอนทิตีชนิดเดียวกันจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่ส่วนของข้อมูลจะแตกต่างกันออกไป เนื้อหาจึงเป็นส่วนที่จะบอกรายละเอียดเพื่อขยายข้อมูลให้ได้ความหมายครบถ้วนยิ่งขึ้น พิจารณาจากระบบข้อมูลโดยดูตัวอย่างเอนทิตีของบุคลากรของบริษัทแห่งหนึ่ง ในตารางที่ 3.2
23
ตัวอย่างเอนทิตีของบุคลากร
โดยปกติเอนทิตีต่างกันก็จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น เอนทิตีของบุคลากรจะแตกต่างจากเอนทิตีของสินค้าซึ่งมีรายละเอียดตามตารางที่ 3.2 ตัวอย่างเอนทิตีของสินค้า
24
โครงสร้างแฟ้มข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์จัดการระบบฐานข้อมูลนั้น ข้อมูลของเอนทิตีต่าง ๆ จะได้รับการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดออกได้ การเก็บข้อมูลจะทำการเก็บข้อมูลไว้หลาย ๆ เอนทิตี และเมื่อมีการเรียกใช้อาจนำเอาข้อมูลจากหลาย ๆ เอนทิตีนั้นมาสัมพันธ์กันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้นในการเก็บข้อมูลเข้าในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องบ่งบอกลักษณะของข้อมูลของเอนทิตีนั้น ๆ ให้แน่นอน โดยปกติการกำหนดลักษณะของข้อมูลจะกำหนดในรูปแบบตัวอักษรหรือตัวเลข ดังตัวอย่างเอนทิตีของลูกค้า ในตาราง 3.3
25
การกำหนดลักษณะการจัดเก็บข้อมูลของเอนทิตีของลูกค้า
การมองลักษณะของเอนทิตีดังได้กล่าวนี้อาจมองในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลก็ได้ รายละเอียดของข้อสนเทศที่จะนำมาใช้ได้ต้องประกอบด้วยเนื้อหา ข้อมูล และลักษณะของข้อมูล สำหรับลักษณะของข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเรียกว่า โครงสร้างแฟ้ม (file structure) ส่วนตัวข้อมูลที่เก็บนี้จะเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำนั่นเอง
26
การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ คือ การใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และจะต้องเรียกค้นหาข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการแบ่งเอนทิตีออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อใช้เรียกข้อมูลย่อย ส่วนย่อยของเอนทิตีนี้เรียกว่า เขตข้อมูล (field) ดังตัวอย่างโครงสร้างแฟ้ข้อมูลลูกค้าในตารางที่ ตัวอย่างโครงสร้างแฟ้มข้อมูลลูกค้า เมื่อนำเขตข้อมูลทั้งหมดของแฟ้มมาวางเรียงกัน จะเกิดรูปแบบที่ทางคอมพิวเตอร์มองเห็น เรียกว่า ระเบียน (record) ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงโครงสร้างของแฟ้มนั้นได้ เช่น แฟ้มลูกค้า มีโครงสร้างระเบียน ตามตารางที่ 3.5
27
ตัวอย่างโครงสร้างระเบียนของแฟ้มข้อมูลลูกค้า
ในแต่ละระเบียนอาจเลือกเขตข้อมูลหนึ่ง ซึ่งสามารถบ่งบอกความแตกต่างของข้อมูลให้ทราบได้อย่างมีนัยสำคัญมาเป็นตัวบ่งชี้ความแตกต่างของระเบียนแต่ละระเบียน ซึ่งเรียกว่า กุญแจ (key) เช่น ระเบียนของลูกค้าอาจเลือกเขตข้อมูล NAME เหมือนกัน แสดงว่าเป็นรายเดียวกัน แต่ถ้าไม่ เหมือนกันแสดงว่าเป็นคนละรายกัน
28
ในระบบความสัมพันธ์ของฐานข้อมูลที่กล่าวถึงนี้เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม แต่ละแฟ้มอาจเก็บไว้ในรูปตารางสองมิติ โดยความสัมพันธ์ของข้อมูลจะมีความสัมพันธ์ในเชิงแถว (row) และ สดมภ์ (column) ตามตัวอย่างในตารางที่ 3.6 ตัวอย่างความสัมพันธ์ของข้อมูลในแฟ้มข้อมูล พิจารณาตารางที่ จะพบว่า แต่ละแถวจะแสดงระเบียน แต่ละระเบียน แต่ละสดมภ์จะแสดงเขตข้อมูลต่าง ๆ แต่ละเขตข้อมูลที่มีชื่อกำกับบอกไว้ จะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์ของข้อมูลจะสัมพันธ์กันในแต่ละระเบียน โดยมีความหมายในตัวเองและไม่เกี่ยวข้องกับลำดับระเบียน
29
โครงสร้างฐานข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
โดยปกติความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้มจะมีส่วนของตัวชี้ที่จะบอกว่าข้อมูลของระเบียนเดียวกันอยู่ที่ใดในแฟ้มอื่น ๆ เช่น เมื่อแบ่งแยกแฟ้มออกเป็น 3 แฟ้ม คือ นักเรียน,อาจารย์ และ วิชา โดยแต่ละแฟ้มจะมีตัวชี้บ่งบอกว่าข้อมูลที่สัมพันธ์กันอยู่ที่ใด ดังตัวอย่างในรูปที่ 3.4 ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลในระบบฐานข้อมูลที่สัมพันธ์กัน
30
โครงสร้างข้อมูลในฐานข้อมูลตามรูปที่ 3
โครงสร้างข้อมูลในฐานข้อมูลตามรูปที่ 3.4 ประกอบด้วย 3 แฟ้ม ในแต่ละแฟ้มมีความสัมพันธ์ถึงกัน เช่น ข้อมูลในแฟ้มนักเรียนจะมีส่วนที่เป็นกุญแจที่ชี้บอกความสัมพันธ์กับแฟ้มอาจารย์ว่าอาจารย์ประจำชั้นชื่ออะไร กรณีที่การหาข้อมูลของนักเรียน เช่น นักเรียนรหัสประจำตัว 008 มีชื่อว่าอะไร มีใครเป็นอาจารย์ประจำชั้น และเรียนวิชาอะไร ลักษณะการค้นหาคือ ค้นหาในแฟ้มนักเรียนทีละระเบียนจนพบระเบียนที่มีระรหัสเป็น008 ก็จะทราบชื่อนักเรียนและมีกุญแจที่เป็นตัวชี้ว่าข้อมูลนี้สัมพันธ์กับข้อมูลในแฟ้มอาจารย์ ทำให้โยงต่อว่าอาจารย์ชื่ออะไร และจะทราบกุญแจซึ่งเป็นตัวชี้ว่าอาจารย์สอนวิชาอะไร เป็นต้น การค้นหาข้อมูลที่มีกุญแจเป็นตัวชี้ข้อมูลจะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
31
การแบ่งประเภทแฟ้มข้อมูล
ในการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบแฟ้มนั้นต้องประกอบด้วยเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตรวมกันเป็นระเบียน การเก็บและการเรียกข้อมูลจะกระทำทีละระเบียน การแบ่งประเภทของแฟ้มจึงมักแบ่งแยกตามรูปแบบลักษณะการเรียกค้นหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ แฟ้มลำดับ (sequential file) แฟ้มสุ่ม (random file) และ แฟ้มดัชนี (index file) ดังนี้ 1) แฟ้มลำดับ เป็นแฟ้มที่มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบพื้นฐานที่สุด กล่าวคือ เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลลงในแฟ้มทีละระเบียน ข้อมูลจะเข้าต่อท้ายเรียงกันไป ในการย้ายข้อมูลก็จะอ่านข้อมูลที่ละระเบียน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายอาจเปรียบเทียบได้กับการเก็บข้อมูลเพลงในเทปคาสเซต ซึ่งสมมติว่าในม้วนเทปหนึ่งมีการเก็บเพลงได้ 10 เพลง ความยาวเพลงละ 3 นาที ซึ่งหากต้องการค้นหาเพลงใดก็ต้องเริ่มต้นจากเพลงแรกไปเป็นลำดับจนกว่าจะพบ 2) แฟ้มสุ่ม เป็นแฟ้มที่มีคุณสมบัติที่ผู้ใช้สามารถอ่านหรือเขียนที่ตำแหน่งใด ๆ ก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับจากต้นแฟ้ม เช่น กรณีของการเก็บข้อมูลเพลงในเทปคาสเซต ถ้าต้องการอ่านเพลงที่ 5 ก็จะคำนวณความยาวของสายเทป เพื่อให้มีการเคลื่อนสายเทปไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วจึงเริ่มอ่าน กรณีนี้จะทำได้เร็วกว่าสแบบลำดับ
32
การแบ่งประเภทแฟ้มข้อมูล
3) แฟ้มแบบดัชนี แฟ้มแบบนี้จำเป็นต้องมีการจัดเรียงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เป็นดัชนีเสียก่อน เพื่อประโยชน์ในการค้นหา การหาตำแหน่งในการเขียนการอ่านในระเบียนที่ต้องการปกติจะใช้ข้อมูลที่เป็นกุญแจสำหรับการค้นหา เพื่อความสะดวกในการกำหนดตำแหน่งการเขียนอ่าน ดังตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ชื่อเพลงเป็นกุญแจสำหรับการค้นหา จะมีการเก็บชื่อเพลงโดยมีการจัดเรียงตามตัวอักษร เมื่อค้นหาชื่อเพลงได้ ก็ได้ลำดับเพลง ซึ่งสามารถนำไปคำนวณหาตำแหน่งที่ต้องการเขียนอ่านได้ต่อไป
33
ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
สมัยก่อน ในศูนย์คอมพิวเตอร์จะเห็นภาพผู้คนนั่งเจาะบัตรคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลหรือโปรแกรม การทำงานในสมัยนั้นส่วนใหญ่ใช้การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยนำข้อมูลเก็บไว้ในเทปบันทึก แล้วนำมาประมวลผล เพื่อทำรายงานตามความต้องการ การทำงานในลักษณะประมวลผลแบบกลุ่มก็ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบันโดยเฉพาะงานวิจัย การแจ้งผลสอบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคาร ต้องมีการค้นหาข้อมูลผลสอบ และตอบให้ทราบทันทีทั้งที่เป็นระบบเสียงพูดและระบบแสดงผลบนจอภาพ เป็นตัวอย่างที่แสดงว่า การทำงานกับระบบฐานข้อมูลเริ่มมีความจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง การประมวลผลแบบนี้ มีการเรียกค้นหาข้อมูลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา จึงนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ต่อมาไมโครคอมพิวเตอร์ได้เป็นที่นิยม โดยมีขีดความสามารถทางด้านความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง และมีโปรแกรมสำเร็จเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ง่าย ๆ เกิดขึ้นหลายโปรแกรม แนวโน้มการใช้งานประมวลผลข้อมูลด้วยไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีจัดการฐานข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันในหลาย ๆ ระดับ การจัดการฐานข้อมูลจะยึดหลักการที่สำคัญคือ
34
1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหาของการปรับแก้ไขข้อมูล เพราะต้องคอยปรับปรุงข้อมูลให้ครบทุกแฟ้ม มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ในฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อน ในการกำหนดรูปแบบข้อมูลจะต้องทำให้ข้อมูลทั้งฐานข้อมูลเป็นรูปเดียวกัน เช่น การกำหนดข้อมูลชื่อ ให้ใช้ชื่อแล้วเว้นช่องว่างจึงเป็นนามสกุล และมีตำแหน่งต่อท้ายแทนการขึ้นต้น เช่น พ.ท. สมชาย ดีใจ เก็บเป็น สมชาย ดีใจ พ.ท. เป็นต้น เมื่อมีการกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ชัดเจน และถือปฏิบัติใช้ทั้งฐานข้อมูลก็จะลดปัญหาการจัดการฐานข้อมูลลงไปได้มาก ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบฐานข้อมูล ข้อมูลจะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ เช่น ข้อมูลในฐานข้อมูลของจังหวัด จะต้องใช้ได้ทุกอำเภอ ความต้องการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น แผนกขายต้องการชื่อที่อยู่ของลูกค้าเพื่อติดต่อส่งเสริมการขาย แผนกติดตามหนี้ต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติหนี้ค้างของลูกค้า การเรียกชื่อข้อมูล อาจจะเรียกแตกต่างกัน เช่น ชื่อสินค้า อาจเรียกได้หลายอย่างในชื่อสินค้าเดียวกัน
35
2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี 3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลจำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือข้อมูลได้บ้าง มีการบันทึกประวัติการแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
36
4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นระบบที่ข้อมูล และฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ การออกแบบให้ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ 5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง แต่เดิมมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย จึงต้องเก็บข้อมูลด้วยเทป แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐานข้อมูลกลาง ทำให้ระบบการทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้
37
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เช่น การพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การจัดทำระบบทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย การให้บริการเงินด่วน หรือ ATM คอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งประเภทตามสมรรถนะของเครื่องได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
38
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมากสามารถคำนวณเลขชนิดมีจุดทศนิยมได้ตั้งแต่หลายร้อยล้านคำสั่งต่อวินาทีจนถึงหลายพันล้านคำสั่งต่อวินาที ถ้าจะเปรียบเทียบกันกับชีวิตของเราก็อาจจะบอกได้ว่า ทุกครั้งที่เรากะพริบตาหนึ่งครั้งซูเปอร์คอมพิวเตอร์อาจจะบวกเลขชนิดมีจุดทศนิยมไปได้มากกว่าห้าร้อยล้านจำนวนเลขจำนวนมาก ๆ ขนาดนี้หากเราต้องนั่งบวกเองอาจจะต้องใช้เวลาชั่วชีวิตจึงจะบวกแล้วเสร็จ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นนิยมใช้งานวิจัยวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการทหาร ซึ่งเป็นงานที่ต้องมีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานวิเคราะห์ทำแบบจำลองโมเลกุล งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ งานจำลองแบบมวลอากาศเพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ ขณะนี้ในประเทศไทยมีหน่วยงานวิจัยที่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้อยู่หน่วยงานเดียวคือ ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เมนเฟรม (Mainframe) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะรองลงมาจากเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เครื่องประเภทนี้มีความสามารถในด้านการจัดการ และประมวลผล แฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างดีเยี่ยม ชนิดที่เครื่องเล็กกว่าก็สู้ไม่ได้ สามารถพ่วงต่อกับอุปกรณ์รอบนอก เช่น จอพร้อมแป้นพิมพ์ได้จำนวนมาก ตัวอย่างของหน่วยงานที่ใช้เมนเฟรมได้แก่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานบริการการจดทะเบียน บริษัทการบินไทย เวลานี้เครื่องเมนเฟรมมีผู้ซื้อมาใช้น้อยลงเพราะนอกจากจะใช้ยาก และราคาแพงแล้ว ยังต้องมีบุคลากรที่รู้วิธีใช้เครื่องประเภทนี้เป็นพิเศษ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็มีน้อยคน
39
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเมนเฟรม และพ่วงต่อกับอุปกรณ์รอบนอกได้น้อยกว่าเมนเฟรมด้วย เครื่องระดับนี้นิยมใช้ในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจกันค่อนข้างมาก เพราะมีราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม และเหมาะกับหน่วยงานที่เพิ่งเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าด้วย บริษัทห้างร้านธุรกิจทั้งหลายก็ใช้เครื่องประเภทนี้มาก เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชน ฯลฯ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือเครื่องพีซี เป็นเครื่องขนาดเล็กที่นิยมใช้คนเดียว หรือใช้ที่ละคน มีอุปกรณ์ค่อนข้างจำกัด คือมีเครื่องพิมพ์ จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ เป็นส่วนใหญ่ บางเครื่องอาจมีอุปกรณ์บางอย่างเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ และพล็อตเตอร์ แต่ก็มักจะเป็นเครื่องสำหรับใช้ในงานพิเศษเฉพาะด้านเวลานี้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีใช้ทั่วไปในหนjวยงานเกือบทุกแห่ง โดยปกตินิยมใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่เรียกว่างานประมวลคำ(Word Processing) ใช้ในงานคำนวณอย่างง่ายโดยใช้ โปรแกรมสเปรดชีต ใช้ในงานฐานข้อมูล และงานประยุกต์ขนาดเล็กอื่น ๆ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้อยู่เวลานี้มีสองตระกูลหรือสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มไอบีเอ็มและเครื่องที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ของบริษัทอินเทล และกลุ่มเครื่องแมคอินทอชของบริษัทแอปเปิล
40
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดใดหรือมีสมรรถนะสูงต่ำเท่าใดก็ตาม อาจสรุปได้ว่า มีส่วนประกอบสำคัญ 6 ส่วนด้วยกัน คือ หน่วยรับข้อมูล (Input) - เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งและข้อมูลจากภายนอกระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลหรือดำเนินการให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ หน่วยรับข้อมูลที่สำคัญ ๆ และใช้กันมาก ได้แก่ - แป้นพิมพ์ (Keyboard) ใช้สำหรับคำสั่งและข้อมูลที่เป็นอักขระต่าง ๆ - เมาส์(Mouse) ใช้สำหรับเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง(Cursor) บนจอภาพไปยังคำสั่งที่ต้องการแล้วกดปุ่มเลือกคำสั่งนั้นให้ ทำงาน - สแกนเนอร์(Scanner) ใช้สำหรับอ่านเอกสารหรือภาพเข้าเครื่อง - ไมโครโฟน (Microphone) ใช้รับเสียงต่าง ๆ - กล้องถ่ายรูปและกล้องถ่ายวีดีทัศน์ ใช้รับภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
41
หน่วยควบคุม (Control)
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดใดหรือมีสมรรถนะสูงต่ำเท่าใดก็ตาม อาจสรุปได้ว่า มีส่วนประกอบสำคัญ 6 ส่วนด้วยกัน คือ หน่วยควบคุม (Control) ทำหน้าที่ควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานประสานกันด้วยดี เหมือนกับระบบประสาท หน่วยนี้เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน
42
หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูล เพื่อนำมาประมวลหรือดำเนินการให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ หน่วยความจำของ คอมพิวเตอร์นั้นเปรียบเทียบเสมือนสมองของมนุษย์ซึ่งใช้จดจำเรื่องราวต่าง ๆ แต่สมองของคนเรานั้นดูเหมือน จะจำสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่รู้จักหมดสิ้น ในขณะที่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดจำกัด นอกจากนั้นถ้าหาก ไฟฟ้าดับเมื่อใด สิ่งที่คอมพิวเตอร์จำไว้ในหน่วยความจำนี้ก็จะหายไป ควรรู้ไว้สักนิดว่าหน่วยความจำนั้นนิยมวัด กันเป็นไบต์(Byte) ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรหรือตัวเลขหนึ่งตัว
43
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic / Logic Unit)
ทำหน้าที่เหมือนเป็นเครื่องคิดเลขของคอมพิวเตอร์ ภายในหน่วยนี้ประกอบด้วยวงจรที่ซับซ้อนทำหน้าที่ในการ คำนวณและเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ที่กำหนดให้ หน่วยคำนวณและตรรกะรวมกับหน่วยควบคุมเรียกว่าตัวประมวล ผล (Processor) หรือหน่วยประมวลผลกลาง (CPU ย่อมาจากCentral Processing Unit) ตัว ประมวลผลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้นนิยมเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
44
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่สำหรับแสดงผล เพื่อโต้ตอบกับผู้ใช้นั่นเอง เช่น จอภาพ (Monitor) มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ แต่สามารถแสดงภาพได้ละเอียดมาก ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีชนิด SVGA โดย กำหนดว่าจะต้องเป็นชนิดเปล่งรังสีน้อย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องกลัวเป็นหมัน ถ้านั่งอยู่หน้าจอนาน ๆ เครื่องพิมพ์ (Printer) ใช้สำหรับพิมพ์รายงานและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ที่ใช้อยู่เวลานี้มีหลายประเภท ได้แก่ เครื่องพิมพ์จุด (Dot Matrix), เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer), เครื่องพิมพ์หมึกฉีด (Inkjet), ซึ่งการที่จะเลือกใช้เครื่องพิมพ์แบบใดก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนแบบ คือใช้ในการวาดแบบต่าง ๆ เช่น แบบก่อสร้างอาคาร แบบผลิตภัณฑ์ แผนที่ สามารถ วาดภาพลายเส้นได้หลายสีเหมือนเครื่องพิมพ์ - ลำโพง (Speaker) ใช้สำหรับสร้างเสียงเพลงหรือเสียงพูดต่าง ๆ
45
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
ทำหน้าที่บันทึกคำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวร นอกจากนั้นยังมีข้อดีตรงที่สิ่งบันทึกไว้นั้นไม่หายไปแม้ไฟฟ้าจะดับ หน่วยความจำรองที่ ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ Diskette ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลและโปรแกรมที่จำนวนไม่มากนัก และต้องการให้ถือหรือโยกย้ายไปใช้ที่อื่นได้สะดวก ดิสเกตที่นิยมใช้อยู่เวลานี้คือชนิด 3.5 นิ้ว สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ Hard Disk เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็กแต่มีความจุสูงมากที่ใช้กันทั่วไปเวลานี้มีความจุตั้งแต่ 200 เมกะไบต์ขึ้นไปจนถึงหลายกิกะไบต์ CD-ROM เป็นแผ่นพลาสติกสีเงิน บันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแสงเลเซอร์ บันทึกข้อมูลได้ถึงแผ่นละ 600 เมกะไบต์ ปัจจุบันนิยมในงานมัลติมีเดียหรือสื่อประสม อันเป็นงานใช้คอมพิวเตอร์แสดงข้อความ เสียง ภาพ และภาพเคลื่อนไหวได้พร้อม ๆ กัน
46
“สารสนเทศในระบบเครือข่าย”
ความหมายของอินเตอร์เน็ต การเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ต คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
47
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต ( Internet) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace ) คำเต็มของอินเตอร์เน็ต คือ อินเตอร์เน็ตเวิร์กกิง Internetworking ต่อมานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อินเตอร์เน็ต หรือ เน็ต อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นได้อย่างไร รากฐานของอินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลก เปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อ เชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของ กลุ่มใดโดยเฉพาะ
48
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or ) 2. การใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น Telnet, Remote Login: login 3. การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol) 4. บริการสืบค้นข้อมูลข้ามเครือข่าย 5. กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (Usenet User News Network) 6. ระบบบริการสถานี (World Wide Web) 7. สนทนาทางเครือข่าย 8. ตรวจข้อมูลผู้ใช้ 9. กระดานข่าว BBS
49
ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
- ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละครั้ง - อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้ เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ - หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เองได้ เช่น เว็บไซต์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ก็คือ โปรโตคอล ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันก็คือโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP TCP/IP คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ ไอพีแอดเดรส (IP Address) เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่น ๆ บนโลกโดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่งตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่างไอพีแอดเดรส เช่น ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนเอพีแอดเดส โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท องค์กร เช่น masa.gov เป็นต้น
50
การเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
1 ลักษณะการเชื่อมโยงใช้งานบนอินเตอร์เน็ต 1.1 การต่อใช้งานเครือข่าย LAN กับอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือระบบเครือข่ายแลน (LAN : Local Area Network) เป็นเครือข่ายที่ได้รับ ความนิยมเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปจะใช้ในหน่วยงานต่างๆประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ที่เป็นแม่ข่าย และลูกข่าย ซึ่งจะมีอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายแลน ดังนี้ แผ่นการ์ดเครือข่าย หรือการ์ดแลน เป็นแผ่นการ์ดอินเตอร์เฟสสำหรับเครือข่าย ซึ่งติดตั้งไว้ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ สายเคเบิลเครือข่าย เป็นสายเคเบิลสำหรับเชื่อมโยงระหว่างแผ่นการ์ดเครือข่ายที่ติดตั้งในตัวเครื่อง ชนิดของสายเคเบิลจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเครือข่าย
51
เตรียมพร้อมสู่อินเตอร์เน็ตแบบกราฟิก
2. การเตรียมอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ Internet ขั้นพื้นฐาน CPU Pentium-II ขึ้นไป Memory (RAM) 64 MB. ขึ้นไป Hard Disk 1.2 Gb. Monitor เป็น SVGA Modem Speed ไม่ต่ำกว่า 33.6 Kbps หรือ 56 Kbps โทรศัพท์สายตรง 1 คู่สาย เตรียมพร้อมสู่อินเตอร์เน็ตแบบกราฟิก จุดสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างมากทุกวันนี้ก็คงหนีไม่พ้นลักษณะการเข้าถึงข้อมูลบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบกราฟิกที่เรียกว่า World-Wide-Web (WWW)และแน่นอนถ้าคุณต้องการเข้า ถึงข้อมูลแบบกราฟิกละก็ ระบบปฏิบัติการที่คุณใช้นั้นคงจะเป็นระบบปฏิบัติการแบบกราฟิก ซึ่งจะเป็น Windows NT, OS/2 Warp, System 7.x (Macintoh) หรือ Motif (UNIX) ก็ได้
52
ซีพียู : CPU Pentium-II 450 หรือชิบที่มีความเร็วสูงกว่านี้ เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่น บนอินเตอร์เน็ตหลายตัวมากที่รันบน Windows และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ซีพียูควรจะมีความเร็วสูงๆ หน่วยความจำ (RAM) : 64 เมกะไบต์ ถือว่าเป็นขั้นต่ำที่แนะนำให้ใช้ (ถ้าสูงกว่านั้นจะดีมาก) โมเด็ม : ความเร็ว 56 Kbps ที่มีอัตราการถ่ายเทข้อมูล 56,000 bps บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานการใช้งาน ถ้าคุณสามารถหาโมเด็มที่มีความเร็วสูงนี้ เช่น 56 Kbps (56,000 bps) และศูนย์บริการของคุณก็ได้ใช้แบบนี้ด้วยเหมือนกัน จะช่วยให้คุณทำงานได้เร็วขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโทรศัพท์ น้อยลงรวมไปถึงความเร็วในการดาวน์โหลด ข้อมูลด้วย การ์ดวิดีโอ : เมื่อเทียบงานสำหรับการส่งผ่านข้อมูล การ์ดวิดีโอปกติที่สนับสนุนความละเอียดในระดับ VGA (640x480) 256 สีก็เพียงพอแล้ว(แต่ถ้าจะให้ดีต้อง (800x600) 256 สี) แต่ถ้าสามารถเปลี่ยนมาใช้การ์ดเร่งความเร็วกราฟิก ก็จะดีกว่า ฮาร์ดดิสก์ : คุณควรจะมีฮาร์ดิสก์อย่างน้อย 1.2 Gb เนื่องจากคุณจะต้องใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ บนฮาร์ดดิสก์อยู่แล้วรวมทั้งยังต้องใช้เก็บโปรแกรมที่คุณอาจต้อง ดาวน์โหลดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรวมเข้ามา
53
การ์ดเสียง : ปกติแล้ว อาจไม่จำเป็นเท่าไร แต่บางสถานที่บนอินเตอร์เน็ตก็สนับสนุนไฟล์เสียงด้วยเหมือนกัน คุณอาจเลือก ใช้การ์ดเสียง 16 บิต หรือ 32 บิต ที่มีไดร์เวอร์สำหรับใช้งานบน Windows ได้ก็พอแล้ว (ปัจจุบันเว็บไซต์ต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเป็นมัลติมีเดีย มากขึ้น ถ้าไม่มีการ์ดเสียงนี้ อาจทำให้คุณพลาดบรรยากาศที่ ระทึกใจเหมือนกัน) มอนิเตอร์ : มอนิเตอร์ขนาด 15 นิ้ว สักตัวหนึ่งก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคุณต้องการใช้งานที่มีความละเอียด 800x600 หรือสูงกว่านั้น ควรจะใช้มอนิเตอร์ 17 นิ้ว จะดีกว่าเพราะจะทำให้มองเห็นรายละเอียดของตัวหนังสือ ได้ชัดขึ้น หรือไม่เล็กจนเกินไป ลำโพง : ปกติแล้วจะมาพร้อมกันกับการ์ดเสียงคุณภาพของลำโพงที่ใช้จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับ งบประมาณ ของคุณมากกว่า โดยทั่วไปแล้วลำโพงธรรมดาก็สามารถใช้ได้แล้ว ซอฟต์แวร์และยูทิลิตี้ : ควรจะตรวจสอบอยู่เสมอว่าคุณใช้ไดร์เวอร์ของการ์ดเสียงและการ์ดวิดีโอตัวล่าสุดอยู่หรือเปล่า ในกรณีที่คุณใช้งานอยู่กับ Video Clip (ไฟล์ภาพวิดีโอ) คุณอาจต้องใช้ Video for Windows, QuickTime for Windows หรือไดรว์ Indeo Video สำหรับไฟล์เสียงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ .WAV หรือฟอร์แมตของ MPEG ในกรณีที่ฟังไฟล์ .WAV จะไม่มีปัญหา เพราะอาจใช้ Media Player ของ Windows ได้แต่ถ้าเป็นฟอร์แมตของ MPEG ก็อาจจำเป็นต้องใช้การ์ด MPEG อย่าง RealMagic หรือ Xing MPEG Audio Player
54
3 การต่อโมเด็มกับพี - การต่อโมเด็มกับพีซีสามารถทำการต่อได้ง่ายดังรูป
55
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
WWW ( World Wide Web ) หมายถึง การบริการข้อมูลที่เชื่อมต่อด้วยไฮเปอร์ลิงก์โดยมีโฮสต์ที่ทำหน้าที่บริการข้อมูล ซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ Web server การเรียกชื่อ โฮสต์หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ ให้ใช้คำนำหน้าว่า WWW เช่น IP Address และ Domain Name System หมายถึง หมายเลขประจำเครื่อง หรือที่อยู่ ( Address ) ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละคนจะมีที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งกำหนดเรียกตัวเลข ระบุตำแหน่ง เช่น , หรือ เป็นต้น แต่ระบบหมายเลขมีข้อบกพร่อง คือ จำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปทราบ ดังนั้น จึงมีผู้คิดระบบให้ง่ายขึ้น เรียกว่า ระบบชื่อของเครื่อง Domain Name System - DNS จะเปลี่ยนตัวเลข IP Address ให้เป็นคำที่อ่านแล้วเข้าใจและจำได้ง่ายเช่น th ย่อมาจาก Thailand ( ชื่อประเทศ ) Academic ( การใช้งานด้านวิชาการ ) ac ย่อมาจาก acu ย่อมาจาก Assumption School ( ชื่อหน่วยงานเจ้าของ )
56
การตั้งชื่อ DNS มีหลักการดังนี้
1. ชื่อทางขวาสุดจะบอกชื่อประเทศ เช่น th = ประเทศไทย au = ประเทศออสเตรเลีย ca = ประเทศแคนาดา 2. ชื่อถัดมาจะเป็นลักษณะการดำเนินงานขององค์กร คือ com หมายถึง Commercial ใช้ในธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน edu หมายถึง Education ใช้ในสถาบันการศึกษา 3. ชื่อถัดมาแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ ac หมายถึง Academic สถาบันการศึกษา co หมายถึง Commercial ภาคองค์กร ภาคเอกชน go หมายถึง Government หน่วยงานราชการ or หมายถึง Organization องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร net หมายถึง Network องค์กรที่ให้บริการระบบเครือข่าย
57
Internet Explorer
58
หมายถึง ย้อนกลับไปยังเว็บเพจก่อนหน้า หมายถึง ไปยังเว็บเพจหน้าถัดไปที่เคยดูมาแล้ว หมายถึง หยุดการโหลดเว็บเพจหน้าที่กำลังโหลดอยู่ หมายถึง โหลดเว็บเพจหน้าที่กำลังใช้งานอยู่ หมายถึง ย้อนกลับไปที่โฮมเพจ หมายถึง ค้นหาเว็บเพจ หมายถึง จัดระเบียบ เพิ่ม เยี่ยมชมเว็บเพจที่เราชอบ หมายถึง ดูรายชื่อเว็บเพจที่เคยได้เยี่ยมชมมาแล้ว หมายถึง ส่ง E –mail หมายถึง พิมพ์หน้าปัจจุบัน หมายถึง ที่สำหรับป้อนเว็บเพจ
59
รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จะใช้สายโทรศัพท์ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม วิธีเหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายใน สาย ทำให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต “หลุด” ได้ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก จะใช้สาย Lease Line ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้สานโทรศัพท์ การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบบุคคลมาก ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ISP (Internet Service Provider) หรือผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ตก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายที่ดีที่สุด สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้น แบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร หากเราอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งก็จะสะดวกและประหยัดได้มาก ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เป็นสำคัญ ดังนี้ 1. ซื้อแบบ Package มาทดลองใช้ ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงในการใช้งานเช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน 10 ชั่วโมง หรือ 15 ชั่วโมงเป็นต้น 2. สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น คือผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน 1 เดือน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ
60
มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต (Netiquette)
- การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม - ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ - ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้ ความหมายและลักษณะของ World Wide Web เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web) หมายถึง การบริการข้อมูลที่เชื่อมต่อด้วยไฮเปอร์ลิงก์โดยมีโฮสต์ทำหน้าที่บริการข้อมูล เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) การเรียกชื่อโฮสต์หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ ให้ใช้คำนำหน้าว่า WWW เช่น เป็นต้น ลักษณะของ World Wide Web จำนำเสนอข้อมูลในลักษระหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page ) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ หรือหน้านิตยสาร ซึ่งสามารถบรรจุข้อความ รูปภาพ และเสียงไว้ด้วยได้ หน้าแรกของเว็บเพจเราเรียกว่า โฮมเพจ (Home Page)
61
http:// WWW.acu.ac.th DNS ( โดเมนเนม ) หรือ URL ของข่าวซีเอ็นเอ็น
เมื่อเราเอาเว็บเพจหลาย ๆ เว็บเพจมารวมไว้ในแหล่งเดียวกัน เรียกว่า เว็บไซต์ (Web Site) เมื่อเราต้องการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ใด ๆ เราก็ต้องติดต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ๆ ซึ่งที่อยู่นี้เรียกเป็นภาษาอินเตอร์เน็ตว่า ยูอาร์แอล Uniform Resource Locator –URL ซึ่งแต่ละ URL จะไม่ชื่อไม่ซ้ำกัน ส่วนประกอบของ URL มักจะเขียนดังตัวอย่างนี้ DNS ( โดเมนเนม ) หรือ URL ของข่าวซีเอ็นเอ็น ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol เป็นการติดต่อกับโฮสต์ด้วย โปรโตคอล HTTP ใช้สำหรับเยี่ยมชมโฮมเพจ โฮมเพจของแต่ละเว็บไซต์ จะมีทั้งข้อความและรูปภาพ ซึ่งตบแต่งไว้อย่างสวยงามเอกสารเหล่านี้มีข้อความที่บรรจุอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อ กลุ่มคำ หรือรูปภาพที่สัมพันธ์กับเนื้อหา แต่ไม่ได้แสดงเนื้อหาทั้งหมดไว้ในหน้าเดียว หากแต่มีความสำคัญที่เน้นเป็นจุดเด่น มีสีสันชัดเจน หรือขีดเส้นใต้ไว้ หากผู้ใช้ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ก็คลิกที่ข้อความหรือรูปภาพนั้น เว็บเพจนั้นก็จะถูกเปิดขึ้นมา วิธีการนี้เราเรียกว่า ลิงก์ Link เราสามารถลิงก์ไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ในเว็บไซต์เดียวกัน และลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ได้อย่างไม่จำกัด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.