งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายวิชา นาฏยศิลป์ไทยปริทัศน์ (Introduction To Thai Dance)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายวิชา นาฏยศิลป์ไทยปริทัศน์ (Introduction To Thai Dance)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายวิชา 0606 118 นาฏยศิลป์ไทยปริทัศน์ (Introduction To Thai Dance)
อาจารย์ธัญลักษณ์ มูลสุวรรณ สาขานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์

2 1. คําอธิบายรายวิชา (ภาษาไทย) ประวัติความเป็นมา องค์ประกอบของการแสดงและแบบแผนการ แสดงนาฏยศิลป์ไทย (English) - History , composition of performing and tradition of Thai Dance

3 2.วัตถุประสงค์รายวิชา เพื่อให้นิสิตศึกษาประวัติความเป็นมา องค์ประกอบของการแสดง และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบแผนการ แสดงนาฏยศิลป์ไทย

4 3.ความรู้ที่ต้องได้รับ
วัตถุประสงค์ หลังเรียนจบวิชานี้แล้ว ผู้เรียน สามารถ อธิบายประวัติความเป็นมาของการแสดง นาฏยศิลป์ไทยได้ อธิบายหลักการ และวิธีการแสดงนาฏยศิลป์ ไทยได้ สามารถสาธิตการแสดงนาฏยศิลป์ไทยได้ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการแสดง นาฏยศิลป์ไทยได้

5 5.วิธีการสอน บรรยายประกอบการสอน การสาธิตการ แสดงจริง สื่อนวัตกรรมการแสดง CVD / CD / DVD สื่ออินเทอร์เนตการนำเสนอรายงาน การ วิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ ค้นคว้าหาบทความ สื่อบันเทิง ข้อมูลที่ เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง

6 6.วิธีการประเมินผล การประเมินผลการเรียน
1. ส่งงานครบ (ระหว่างภาค) ซึ่ง คุณภาพเนื้อหา ของงานกับระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย 2. พัฒนาการเรียน/ การรับสาร-การส่งสาร ปฏิกิริยา การรับรู้ 3. ส่งงานตรงต่อเวลา / ตามวันที่นัดหมาย 4. กระบวนการ/ ขั้นตอนของการได้มาซึ่งข้อมูล 5. วินัยนิสิตตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6. ความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ 7. เข้าเรียนครบตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

7 7. การพิจารณาเกรด A 80-100 B+ 75-59 B 70-74 C+ 65-69 C 60-64 D+ 55-59
F ต่ำกว่า 50

8 ความหมายของนาฏศิลป์ ความหมายของรูปศัพท์ของคำว่านาฏศิลป์  มาจากคำ ๒  คำที่รวมอยู่ ด้วยกัน คือ นาฏ,   ศิลปะ   ดังรายละเอียดกล่าวคือ นาฏ  ความหมายโดยภาพรวมของคำว่า นาฏ ที่น่าสนใจคือ                 นาฏย  ความหมาย  ตามพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัย(๒๕๔๓ : ๒๘๕) หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร                 นาฏ ความหมายตามพจนานุกรมไทยฉบับทันสมัย (๒๕๔๓ : ๒๘๕) หมายถึง  การเคลื่อนไหวอวัยวะ, นางละคร การฟ้อนรำ หรือ ความรู้ แบบแผนของการฟ้อนรำ ศิลปะ  เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.ศิลปะ; ป.สิปุป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม) ซึ่งหมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงามน่าพึงชม  ก่อให้เกิด อารมณ์สะเทือนใจ  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Arts” ( อมรา  กล่ำเจริญ,  ๒๕๔๒ : ๑) 

9 ดังนั้นเมื่อประมวลทั้งสองคำมารวมเป็นคำว่า“นาฏศิลป์” ที่นักวิชาการให้ความหมายไว้น่าสนใจ  คือ
นาฏศิลป์  หมายถึง  ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้ สร้างสรรค์โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผน  ให้ ความรู้  ความบันเทิง  ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึง วัฒนธรรมความรุ่งเรืองของชาติได้เป็นอย่างดี (สุมิตร  เทพวงศ์, ๒๕๔๘ : ๒) นาฏศิลป์  หมายถึง  การร่ายรำในสิ่งที่มนุษย์เราได้ปรุงแต่งจาก ธรรมชาติให้สวยสดงดงามขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายถึงแต่การร่ายรำ เพียงอย่างเดียว  จะต้องมีดนตรีเป็นองค์ประกอบไปด้วย  จึงจะ ช่วยให้สมบูรณ์แบบตามหลักวิชานาฏศิลป์ (อาคม  สายาคม, ๒๕๔๕ : ๑๕)

10 นาฏศิลป์ หรือนาฏยศิลป์  หมายถึง  ศิลปะการฟ้อนรำ ทั้งที่เป็น ระบำ รำ  เต้น และอื่น ๆ รวมทั้งละครรำ  โขน  หนังใหญ่ ฯลฯ  ปัจจุบันมักมีคนคิดชื่อใหม่ให้ดูทันสมัยคือ  นาฏกรรม  สังคีต ศิลป์  วิพิธทัศนา  และศิลปะการแสดง  ซึ่งมีความหมายใกล้เคียง กันเพราะเป็นคำที่ครอบคลุมศิลปะแห่งการร้อง  การรำ  และการ บรรเลงดนตรี (สุรพล  วิรุฬห์รักษ์, ๒๕๔๓ : ๑๒) ดังนั้นความหมายของนาฏศิลป์กล่าวโดยสรุป จึงหมายถึง  ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งที่เป็น ระบำ  รำ  เต้น  และอื่น ๆ รวมทั้งละครรำ  โขน  หนังใหญ่ ฯลฯ  โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผนที่ สวยงาม  ให้ความรู้  ความบันเทิงที่ต้องมีดนตรีเป็น องค์ประกอบไปด้วย 

11 ดังนั้นความหมายของนาฏศิลป์กล่าวโดยสรุป จึงหมายถึง 
ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งที่เป็น ระบำ  รำ  เต้น  และอื่น ๆ รวมทั้งละครรำ  โขน  หนังใหญ่ ฯลฯ  โดย ประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผนที่สวยงาม  ให้ความรู้  ความ บันเทิงที่ต้องมีดนตรีเป็นองค์ประกอบไปด้วย 

12 การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วน หนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือน แหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็น ศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป

13 ที่มาของนาฏยศิลป์ไทย
 1. การเลียนแบบธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ขึ้น คือ  ขั้นต้น เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์   ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้า อารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อ พอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรนขั้น ต่อมา เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็น ภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการ แสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำ หน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยา ท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็น ขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน

14

15 2. การเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมี การบูชา เซ่นสรวง     เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป  การบูชาเซ่นสรวง มัก ถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมา มีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุง สุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงคราม ปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็น การฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

16

17 3. การรับอารยธรรมของอินเดีย เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มี ชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับ อารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชน ชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรม อินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน

18 กำเนิดนาฏยศิลป์         นาฏยศิลป์ไทย รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากวัฒนธรรมอินเดีย เกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่าน เข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่าง ของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร ซึ่งมี ทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบล จิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์ สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า  คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มี รูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึง ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้ สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้

19

20 ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา
ตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ ซึ่งเป็น ระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้ง แรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และมีการแก้ไข ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การ ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่าย รำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน

21 สุรพล วิรุฬห์รักษ์ (2543 : 27) ได้อธิบายว่า ที่มาของนาฏกรรมไทยมี กำเนิดมาพร้อมกับชาติไทย ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฏกรรมไทยเป็นส่วน หนึ่งที่บ่งบอกวิถีความเป็นอยู่ การแต่งกาย และความเชื่อถือของคนไทย ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นอาจจะสรุปที่มาของนาฏกรรมไทยดังนี้ จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจใน แต่ละวัน ชาวบ้านก็หาเวลาว่างมาร่วมกันร้องรำทำเพลง โดยมีการ นำเอาดนตรีมาประกอบด้วย ทั้งนี้อาจเป็นกลอุบายอย่างหนึ่งเพื่อให้ลืม ความเหน็ดเหนื่อย จากการทำงานในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังมีการร้อง รำกันเป็นคู่ชายหญิง เดินเป็นวง หรือเป็นที่รู้จักกันว่า รำโทน จากนั้นก็มี การพัฒนาปรับปรุงขึ้นใหม่กลายเป็นการแสดงที่เรียกว่า รำวง มาตรฐาน ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

22 จากการแสดงที่เป็นแบบแผน นาฏกรรมไทยที่เป็นมาตรฐาน จะได้รับ การปลูกฝังและถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยในวังหลวง ที่ฝึกให้แก่ผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวังเป็นผู้แสดงโขนและละคร ซึ่งมีโรง ละครใช้สำหรับฝึกหัด คือ โรงละครต้นสน ได้ใช้แสดงโอกาสต่าง ๆ และ จากนาฏกรรมไทยบางส่วนได้รับการถ่ายทอดมาจากวังหลวงนี้เองทำ ให้ทราบว่านาฏกรรมไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เพราะ มีการจารึกไว้ในหลักศิลาจารึกที่ 8 ว่า ระบำ รำ เต้น เล่น ทุกฉัน ซึ่ง ศิลปะการฟ้อนรำก็ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันเรื่อยมา จนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ จึงได้มีการนำศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นแบบแผนมาสู่ การศึกษา ทำให้นาฏกรรมไทยที่มีแบบแผนมาตรฐานได้รับการอนุรักษ์ และสืบทอดแก่เยาวชนมาจนถึงทุกวันนี้

23

24 จากการรับอารยธรรมของอินเดีย ประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีอารย ธรรมที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะการละครในอินเดีย เจริญรุ่งเรืองมาก ประกอบกับชนชาติอินเดียนับถือและเชื่อมั่นในศาสนาพระ ผู้เป็นเจ้าตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ พระผู้เป็นเจ้าที่อินเดียนับถือ ได้แก่ พระ ศิวะ (พระอิศวร) พระวิษณุ และพระพรหม ในบางยุคของชาวอินเดียถือว่า พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมากเพราะพระอิศวรทรงเป็นนาฏราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในสวรรค์และเมืองมนุษย์ ในการร่ายรำ ของพระอิศวรในแต่ละครั้งพระองค์ทรงให้ภารตฤาษี เป็นผู้บันทึกท่ารำแล้ว นำมาสั่งสอนแก่เหล่ามนุษย์ จนเป็นที่มาของตำนานการฟ้อนรำ และการเรียน นาฏศิลป์ไทยผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าพิธีไหว้ครูโขน-ละครก่อน ซึ่งได้แก่ พระ อิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระพิฆเณศวร พระพิราบ และภารตฤาษี อันเป็นครูทางนาฏศิลป์และเป็นเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

25 องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย
          1.   ลีลาท่าทาง  หมายถึง  การประดิษฐ์ท่าทางของการเยื้องกรายให้ สวยงามเกินธรรมชาติและถูกต้องตามแบบแผน  ทั้งนี้ยังหมายความถึงลีลา ท่าทางที่แสดงให้สมบทบาทของตัวละครนั้น ๆ ด้วย        2.  บทเพลง  หมายถึง  คำประพันธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขับร้อง ประกอบการแสดงในชุดต่าง ๆ ซึ่งการแสดงลีลาจะต้องสอดคล้องกับบทร้อง และอารมณ์ของเพลง  และทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายได้ตรงกัน         3.  การขับร้อง  หมายถึง  การขับร้องในบทเพลงที่ประพันธ์ ขึ้น  โดยเฉพาะการขับร้องประกอบละคร ผู้ขับร้องจะต้องร้องให้สอดคล้อง กับอารมณ์ของบทเพลงซึ่งบรรจุลงในบทละคร      

26 4.  ดนตรี  หมายถึง  เครื่องดนตรีและทำนองเพลง  ซึ่งทำนองเพลงนั้นจะมี อิทธิพลต่อการถ่ายทอดอารมณ์ต่าง ๆ ไปสู่ผู้ชมเป็นอย่างดี  โดยเฉพาะใน การแสดงละครประเภทต่าง ๆ 5.  เครื่องแต่งกาย  หมายถึง  เสื้อผ้า  เครื่องประดับที่เหมาะสมกับชุดการ แสดงหรือเหมาะสมกับบุคลิกของตัวละคร  6.  อุปกรณ์การแสดง  หมายถึง  สิ่งที่นำมาเสริมแต่งเพื่อให้ชุดการแสดง และตัวละครสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เช่น  ทศกัณฐ์จะมีอาวุธคือศร  ฟ้อนมาลัยผู้ แสดงจะต้องถือมาลัย   7.  ฉาก  เป็นส่วนสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์  โดยเฉพาะการแสดง ละครซึ่งจะทำให้การแสดงนั้นดูสมบูรณ์สมจริงยิ่งขึ้น

27 ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
การแบ่งประเภทของนาฏศิลป์ไทยนั้นมีผู้มีความรู้ความสามารถแบ่งประเภท ของนาฏศิลป์ออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท 1. โขน 2. ละคร 3. รำและระบำ 4. นาฏศิลป์พื้นเมือง

28 ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์
ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้   4  ประเภท คือ  โขน  ละคร  รำ  ระบำ  และนาฏศิลป์พื้นเมือง  ดังนี้ 1.  โขน เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย ปรับปรุงจากการเล่น 3 ประเภท คือ หนังใหญ่ ชัก นาค ดึกดำบรรพ์ และกระบี่กระบอง เรื่องที่ใช้โขน คือ เรื่องรามเกียรติ์ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการทำ สงคราม ระหว่าง    “พระราม กษัตริย์ธรรมิกราชแห่งนครอโยธยา กับ ทศกัณฐ์พญายักษ์แห่งกรุงลงกา”

29 โขน เป็นศิลปะแห่งการเต้น ดังมีคำกล่าวว่า เต้นโขนรำละคร โขนเป็นการแสดงที่คงนำ ส่วนต่างๆ มา จากการแสดงหลาย ประเภท เช่น  ท่าต่อสู้จากการรำกระบี่กระบอง  บท พากย์และคำเจรจาจากการเล่นหนังใหญ่   บท ร้องและบทรำจากละคร และอาจได้รับท่าเต้น จากกถักกฬิของอินเดีย มีหลักฐานในวรรณคดี ที่แสดงว่ามีการเล่นโขนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และนิยมแสดงโขนจวบจนปัจจุบัน เดิมการ แสดงโขนคงเป็นการแสดงที่ไม่มีองค์ประกอบ มากนัก อาจมีเพียงการแต่งกายของตัวละคร ต่าง ๆ กัน และท่าเต้นประกอบดนตรีเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความต้องการของผู้ชมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการมาเป็น ประเภทต่าง ๆ เรื่องของการแสดงโขนนั้นมี ที่มาจาก เรื่องรามายณะ ซึ่งเป็นเค้าโคลงที่ นำมาแปลจากอินเดียและใช้ชื่อว่า “รามเกียรติ์” เนื่องจากโครงเรื่องยาวมาก  จึงได้ มีการแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอน ๆ เพื่อสะดวก ที่จะนำมาแสดง

30 โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1. โขนกลางแปลง 2. โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว 3. โขนโรงใน 4. โขนหน้าจอ 5. โขนฉาก

31 1. โขนกลางแปลง คือ การแสดงโขนบน พื้นดิน ไม่มีการสร้างโรง ผู้แสดงเล่นกลาง สนาม คล้ายเช่นชักนาคดึกดำบรรพ์ที่บันทึกไว้ ในกฎมณเฑียรบาล การเล่นชักนาคดึกดำ บรรพ์เป็นการเล่นตำนานกวนเกษียรสมุทรของ พราหมณ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก โขน กลางแปลงส่วนใหญ่เล่นเกี่ยวกับการยกทัพ และการรบระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่าย ทศกัณฐ์ ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นวงปี่พาทย์ อย่างน้อย 2 วง บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ บท ที่เล่นส่วนมาก  มีแค่คำพากย์และบทเจรจา ไม่มี บทร้อง pMfDw

32 2. โขนโรงนอกเป็นโขนที่แสดงบนโรง ตัวโรงมักมี หลังคา และมีราวพาดตามส่วนยาวของโรง มีช่องให้ ผู้แสดงสามารถเดินได้รอบราว เมื่อตัวโขนแสดงบท ของตนเสร็จแล้วก็จะกลับไปนั่งบนราว ซึ่งสมมุติเป็น เตียง ไม่มีบทขับร้องมีแต่บทพากย์ และเจรจา ทำ ให้ปี่พาทย์ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงมักจะใช้ วงปี่พาทย์ 2 วง โดยวงหนึ่งจะตั้งหัวโรง อีกวงหนึ่ง ตั้งไว้ท้ายโรงหรือจะตั้งทางซ้าย และขวาของโรงก็ได้ การแสดงโขนโรงนอกนี้ ยังมีอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า “โขนนอนโรง” คือเวลาบ่ายก่อนถึงวันแสดงวัน หนึ่ง ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรง บรรดาผู้แสดง จะออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลงที่กลางโรง เมื่อ จบการโหมโรงแล้วก็จะแสดงโขนตอนพระพิราพออก เที่ยวป่า พบพระรามซึ่งหลงเข้ามายังสวนพวาทอง (หมายเหตุ : สวนมะม่วง) ของพระพิราพจึงเกิดการสู้ รบกัน เสร็จการแสดงตอนนี้ก็จะหยุดพัก แล้วนอน เฝ้าโรงคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่จัดไว้ ต่อไป S8

33 3. โขนโรงใน โขนโรงในเป็นโขนที่นำศิลปะการแสดงของละครใน เข้ามาผสมผสานระหว่างโขนกับ ละครใน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 รวมทั้งมีราชกวีภายในราช สำนัก ช่วยปรับปรุงขัดเกลาและประพันธ์บทพากย์ บทเจรจาให้มีความคล้องจอง ไพเราะสละสลวยมากยิ่งขึ้น โดยนำท่ารำท่าเต้น และบทพากย์เจรจาตามแบบโขนมา ผสมกับการขับร้อง เป็นการปรับปรุงวิวัฒนาการของโขน ในการแสดงโขนโรงใน ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนางและเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวม หัวโขนในการแสดง มีการพากย์และเจรจาตามแบบฉบับของการแสดงโขน นำเพลงขับ ร้องประกอบอากัปกิริยาอาการของตัวละคร และเปลี่ยนมาแสดงภายในโรงแบบละคร ในจึงเรียกว่าโขนโรงใน มีปี่พาทย์บรรเลงสองวง ปัจจุบันโขนที่กรมศิลปากรนำออก แสดงนั้น ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงในซึ่งเป็นการแสดงระหว่างโขนกลางแปลง และโขนหน้าจอ ภายหลังนำมาแสดงในโรงอย่างละครใน จึงเรียกว่าโขนโรงใน

34 4. โขนหน้าจอ โขนหน้าจอเป็นโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับแสดงหนังใหญ่หรือ หนังตะลุง โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดง สลับกับการเชิดตัวหนัง ที่ฉลุแกะสลัก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์อย่างสวยงามวิจิตรบรรจง เรียกว่า "หนังติดตัว โขน" ซึ่งในการเล่นหนังใหญ่ จะมีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาวแบบจอหนัง ใหญ่  มีศิลปะสำคัญในการแสดงคือการพากย์และเจรจา ใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์ ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังจะต้องเต้นตามจังหวะดนตรีและลีลาท่าทางของ ตัวหนัง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ภายหลังยกเลิกการแสดงหนังใหญ่คงเหลือเฉพาะโขน โดยคงจอหนังไว้พอเป็นพิธี เนื่องจากผู้ดูนิยมการแสดงที่ใช้คนแสดงจริงมากกว่า ตัวหนัง จึงเป็นที่มาของการเรียกโขนที่เล่นหน้าจอหนังว่าโขนหน้าจอ ต่อมา ภายหลังจึงมีการยกพื้นหน้าจอขึ้นเพื่อกันคนดูไม่ให้เกะกะตัวแสดงเวลาแสดงโขน

35 5.โขนฉาก โขนฉากเป็นการแสดงโขนที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดฉากในการแสดงแบบละคร ดึกดำบรรพ์ประกอบตามท้องเรื่อง แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และ สถานที่ จึงเรียกว่าโขนฉาก ปัจจุบันการแสดงโขนของกรมศิลปากร นอกจากจะ แสดงโขนโรงในแล้ว ยังจัดแสดงโขนฉากควบคู่กันอีกด้วยเช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุด หนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดงและชุดพระรามครองเมือง ซึ่งในการแสดงโขนทุกประเภท มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึง ปัจจุบัน รูปแบบและวิธีการแสดงของโขนได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย แต่คงรูปแบบและเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงเอาไว้

36 โขนนอกตำรา นอกจากประเภทของโขนต่าง ๆ ทั้ง 4 ประเภทแล้ว ยังมีการแสดง โขนนอกตำราทีทางกรมศิลปากรไม่จัดให้รวมอยู่ในประเภทของโขน ได้แก่ โขนสด โขนสด เป็นการแสดงที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม ที่ปรับปรุงมาจากการแสดงโขนให้ มีความเรียบง่าย มีการปรับเปลี่ยนลดท่ารำ การแต่งกาย การขับร้อง คำพากย์และ การเจรจา เป็นการแสดงที่เกิดจากผสมผสานการแสดง 3 ชนิดคือ โขน หนังตะลุง และลิเก ไม่มีการพากย์เสียงและเจรจา โดยผู้แสดงจะเป็นผู้พูดบทเจรจาเอง แต่ง กายยืนเครื่อง สวมหัวโขนบนศีรษะแต่ไม่คลุมหน้า สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้ แสดงได้อย่างชัดเจน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชนบท แสดงด้วยกิริยา ท่าทางโลดโผน จริงจังกว่าการแสดงโขนมาก

37 โขนหน้าไฟ โขนหน้าไฟ เป็นการแสดงโขนที่มักนิยมจัดแสดงในตอนกลางวัน หรือแสดง เฉพาะตอนพระราชทานเพลิงศพ เป็นการแสดงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยมี จุดประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิต หรือเจ้าภาพของงาน รวมทั้งเป็นการแสดงคั่นเวลาให้แก่ผู้ที่มาร่วมงานได้ชมการ แสดงก่อนถึงเวลาพระราชทานเพลิงจริง แต่เดิมโขนหน้าไฟใช้สำหรับในงานพระ ราชพิธี รัฐพิธีหรืองานของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เสนาขุนนางอำมาตย์เช่น งาน ถวายพระเพลิงพระศพพระบรมวงศ์นานุวงศ์ ณ บริเวณทุ่งพระเมรุหรือท้อง สนามหลวง

38 โขนนอนโรง โขนนอนโรง เป็นการแสดงโขนที่มักนิยมแสดงในเวลาบ่าย ก่อนวันแสดงจริงของโขนนั่งราว แสดง ตอน "เข้าสวนพิราพ" เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น มีปี่พาทย์สองวงในการบรรเลงเพลงโหมโรง แสดงเพียง ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยก่อนแสดงจะมีผู้แสดงออกไปเต้นกระทุ้งเสาทั้ง 4 มุมของโรงแสดง ซึ่งการ กระทุ้งเสานั้น เป็นการทดสอบความแข็งแรงของเวทีในการรับน้ำหนักตัวของผู้แสดง สมัยก่อนเวที สำหรับแสดงใช้วิธีขุดหลุมฝังเสาและใช้ดินกลบ ทำให้ระหว่างทำการแสดงเวทีเกิดการทรุดตัว เป็น เหตุผลให้อาจารย์ผู้ทำการฝึกสอน มักให้ผู้แสดงไปเต้นตามหัวเสาทั้ง 4 มุมของเวที เพื่อให้การเต้น นั้นช่วยกระทุ้งหน้าดินที่ฝังเสาไว้ให้เกิดความแน่นมากขึ้น หลังแสดงเสร็จ ผู้แสดงมักจะนอนเฝ้าโรงแสดงเพื่อแสดงโรงนั่งราวต่อในวันรุ่งขึ้น ในอดีตโขนนอน โรงเคยแสดงมาแล้วสองครั้งคือ ครั้งแรกแสดงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในงานสมโภชพระเศวตคชเดน์ดิลก และครั้งที่สองในสมัยของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แสดงที่บริเวณท้องสนามหลวงในงานฉลองรัฐธรรมนูญ ระหว่าง วันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2475

39 โขนชักรอก โขนชักรอก เป็นการแสดงโขนที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่า โขนชักรอกนั้นมีการตั้งแต่ในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นการแสดงโขน ในโรงแสดงที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ ยกพื้นสูงและมีหลังคา แสดงเหมือนกับโขนทุก ประการ แตกต่างเพียงแต่ผู้แสดงนั้นสามารถลอยตัวขึ้นไปในอากาศด้วยการชัก รอก มีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้โขนชักรอกไม่ค่อย ปรากฏให้เห็นมากนัก กรมศิลปากรเคยจัดแสดงโขนชักรอกให้ประชาชนได้ชม เมื่อคราวงานเทศกาล วัดอรุณราชวราราม ร.ศ. 100 การจัดแสดงโขนชักรอกครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ร่วมมือ กับบริษัทออร์กาไนเซอร์ จำกัด ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อนอนุรักษ์วัดอรุณและ การแสดงที่หายากในปัจจุบัน ระหว่างวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เวลา น. โดยใช้พื้นที่บริเวณหน้าวัดเป็นโรงแสดง มีพระปรางค์วัดอรุณ เป็นฉากหลัง

40 2. ละคร ประเภทของละคร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ละครรำ 2. ละครร้อง 3. ละครพูด ละคร  คือ การแสดงที่ประกอบด้วยลีลาท่ารำ โดยนำนาฏศิลป์ ดนตรี เพลงร้อง และบทร้อยกรองเข้ามาสัมพันธ์กัน การแต่งกายแต่งตาม ลักษณะและชนิดของละครนั้นๆ ละครรำของไทยเราแบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้

41 กลุ่มที่ 1 ละครรำแบบมาตรฐาน มีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและเป็นต้น กำเนิดของละครรำแบบอื่นๆ ได้แก่ 1. ละครโนราห์ชาตรี 2. ละครนอก 3. ละครใน กลุ่มที่ 2 ละครรำแบบปรับปรุง ได้ถูกปรับปรุงขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ 1. ละครดึกดำบรรพ์ 2. ละครพันทาง 3. ละครเสภา 4. ละครร้อง 5. ละครพูด

42 ละครโนราห์ชาตรี         การแสดงละครเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัย ต้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาขุนศรัทธาซึ่งเป็นตัวละครที่ เก่งคนหนึ่งในสมัยนั้น ได้นำเอาแบบแผนละครกรุงศรี อยุธยาไปสอนให้ชาวนครศรีธรรมราช จึงทำให้แบบ แผนละครกรุงศรีอยุธยาไปแพร่หลายในภาคใต้ เรียกว่า “ ละครโนห์ราชาตรี ” ชาวใต้ได้อนุรักษ์และ สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นแบบแผนของละครใน จังหวัดภาคใต้ ในขณะที่ละครในกรุงศรีอยุธยาได้ ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป มีการนำรูปแบบของละครที่ เกิดขึ้นใน สมัยต่อ ๆ มาเข้ามาปะปน จึงทำให้ไม่ สามารถรักษารูปแบบแผนเดิมไว้ได้ แต่ทางภาคใต้ ยังคงรักษารูปแบบการแสดงของเดิมไว้จนถึงปัจจุบันนี้  รูปแบบวิธีการแสดง ใช้ผู้แสดง 3 คน ได้แก่ นาย โรงหรือตัวพระเอก ตัวนางและตัวตลก ตัวตลก นอกจากจะแสดงเพื่อให้ผู้ดูเกิดความขบขันแล้ว ยัง ต้องแสดงบทอื่นๆ อีก เช่น เป็นฤาษี เป็นยักษ์ เป็นม้า เป็นนก ตลอดจนเป็นทุกๆ อย่างที่มีในเนื้อ เรื่อง

43 เรื่องที่นำมาแสดง การแสดงละครโนราห์ชาตรี เรื่องที่ นำมาใช้แสดงมี 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง พระรถเสน และเรื่องนางมโนห์รา ปรากฏว่าเรื่องที่นิยมแสดงมากคือ เรื่อง นางมโนห์รา ซึ่งเป็นเหตุให้ละครของขุนศรัทธามี ชื่อเรียกว่า “ละครมโนห์รา” ตามชื่อของเรื่องที่นำมา แสดง แต่วัฒนธรรมในการพูดหรือการเรียกชื่อของคน ไทยในภาคใต้มักจะนิยมพูดหรือเรียก ชื่อตัดคำหน้าทิ้ง จึงทำให้ชื่อเรียกละครมโนห์ราเหลือเพียงละครโนห์รา  ดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดง มี 2 ประเภท คือ เครื่องดนตรีที่ใช้ทำจังหวะ ได้แก่ ฆ้องคู่ ทับ กลอง ตุ๊ก โทน กรับ ฉิ่ง ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนิน ทำนองเพลงมีเพียงปี่นอกเท่านั้น  การแต่งกาย เครื่องแต่งกายของตัวพระเอก คือ สวม สนับเพลากรอมถึงข้อเท้า นุ่งผ้าทับ ชั้นนอกหยักรั้งขึ้น ไป แล้วจีบโจงหางหงส์คาดห้อยหน้าและเจียรบาด ( ผ้า ที่ห้อยปิดด้านหน้าและด้านข้าง ) ไม่สวมเสื้อ สวม เครื่องประดับ ได้แก่ กรองคอ ทับทรวง สังวาล และ เทริด คือ มงกุฎทรงเตี้ย ตัวนาง แต่งอย่างนางละคร กล่าว คือ นุ่งผ้าถุง ห่มผ้าสไบ ตัวตลก แต่งอย่างคน ธรรมดาและจะต้องมีผ้าขาวม้าเข้ามาเป็นอุปกรณ์สำหรับ ใช้ในการแสดง

44 ละครนอก   มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่ แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมคงมาจากการละเล่น พื้นเมือง และร้องแก้กัน แล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่อง เป็นตอนขึ้น เป็นละครที่ดัดแปลงวิวัฒนาการมาจากละคร "โนห์รา" หรือ "ชาตรี" โดยปรับปรุงวิธีแสดงต่างๆ ตลอดจนเพลงร้อง และดนตรีประกอบให้แปลกออกไป ผู้แสดง           ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน ผู้แสดง จะต้องมีความคล่องแคล่วในการรำ และร้อง มี ความสามารถที่จะหาคำพูดมาใช้ในการแสดงได้อย่าง ทันท่วงทีกับเหตุการณ์ เพราะขณะแสดงต้องเจรจาเอง

45 การแต่งกาย           ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญ เป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัว แสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบเฉียง ให้ ผู้ชมละครทราบว่าผู้แสดงคนนั้นกำลังแสดงเป็นตัวนาง ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมา มีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้น เพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่ง กายลักษณะนี้ว่า "ยืนเครื่อง" เรื่องที่แสดงได้ทุกเรื่องยกเว้น ๓ เรื่อง คือ อิเหนา อุณรุฑ และรามเกียรติ์ บทละครที่แสดงมีดังนี้ คือ สมัยโบราณ มีบทละครนอกอยู่มากมาย แต่ที่มีหลักฐาน ปรากฏมีเพียง ๑๔ เรื่อง คือ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณ หงส์ และโสวัต  สมัยรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอกใน รัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และ สังข์ศิลป์ชัย (สังข์ศิลป์ชัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาล ที่ ๓ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยรัชกาลที่ ๒ ทรงแก้ไข)

46 ละครใน ละครในมีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางใน และละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และ รุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละคร ในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลัง สมัยรัชกาลที่ ๖ มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามาก จน ต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบาง โอกาส แต่แบบแผน และลักษณะการแสดงเปลี่ยนไป มาก ผู้แสดง           เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัด ละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดง ละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และ มีลักษณะทีท้าวทีพญา 

47 การแต่งกาย           พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง  เรื่องที่แสดง           มักนิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุท อิเหนา และรามเกียรติ์  การแสดง           ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่าย รำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีต ประเพณี 

48 ละครดึกดำบรรพ์   เป็นละครที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นจาก การที่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์มีโอกาสเดินทางไป ยุโรป ได้ดูละครโอเปร่าที่ฝรั่งเล่นก็ติดใจ เมื่อกลับมา เล่าถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระ ยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงปรึกษากันที่จะจัดการแสดง ละครอย่างละครโอเปร่าของฝรั่ง เจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์วิวัฒน์เป็นผู้สร้างโรงละครและสร้างเครื่องแต่งกาย ส่วนเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงคิด บทและวิธีการแสดง เมื่อเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ สร้างโรงเสร็จแล้วจึงตั้งชื่อว่า “ โรงละครดึกดำบรรพ์ ” และเนื่องจากได้นำละครที่ท่านและเจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันคิดขึ้นมาจัดแสดงที่โรงละคร แห่งนี้เป็นครั้งแรก จึงทำให้ละครรูปแบบใหม่นี้มีชื่อ เรียกว่า “ ละครดึกดำบรรพ์ ” 

49 เรื่องที่นำมาแสดง เท่าที่มีหลักฐานปรากฏในยุคสมัย นั้นมี สังข์ทอง อิเหนา อุณรุท จันทกินรี ยศเกตุ กรุงพาณชมทวีป รามเกียรติ์ตอนศูรปนขา และมณี พิชัย  ดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดง ใช้วงปี่พาทย์ที่มีชื่อ เรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดนตรีดำเนินทำนอง ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวง ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ และซออู้ เครื่องดนตรีกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง กรับ และฆ้องหุ่ย 7 ลูก 7 เสียง  การแต่งกาย แต่งกายยืนเครื่องคล้ายกันกับเครื่องแต่ง กายของละครในและละครนอก

50 ละครพันทาง คือ ละครที่มีลักษณะผสม ละครรำและการใช้ท่าทางอย่างสามัญชน เกิดใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครพันทางเป็นละครที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงได้นำ เอาเรื่องพงศาวดาร ของชาติต่างๆ มาแสดงละครโดยใช้ท่ารำของชาติ นั้นๆ มาผสมกับท่ารำของไทย ในขั้นต้นยังไม่มีการ เรียกชื่อละครที่แสดงอย่างละครของเจ้าพระยามหิน ทรศักดิ์ธำรงว่า “ ละครพันทาง ” ต่อมาพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้ทรงปรับปรุง รูปแบบของละคร โดยแบ่งวิธีแสดงออกเป็นฉากตาม สถานที่ที่ปรากฏในท้องเรื่อง นอกจากนี้ได้นำเอาท่า รำที่ได้ ดัดแปลงมาจากชาติอื่นๆ มาผสมกับท่ารำที่ เป็นแบบแผนของไทยและท่าธรรมชาติของสามัญชนที่ ใช้ในชีวิตประจำวันเข้ามาผสมด้วย โดยเหตุที่พระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ ปรับปรุงวิธีการแสดงและเป็นผู้บัญญัติแบบแผนของ การแสดงละครประเภทนี้ จึงทำให้ละครประเภทนี้ ได้รับการเรียกชื่อว่า “ ละครพันทาง ” 

51 รูปแบบวิธีแสดง เนื่องจากละครพันทางนิยมนำเอา เรื่องพงศาวดารของชาติต่างๆ มาแสดงบ้าง เรื่อง ประวัติศาสตร์บ้าง จึงทำให้ลักษณะวิธีการแสดง แตกต่างจากวิธีการแสดงของละครนอก ละครในและ ละครดึกดำบรรพ์ กล่าวคือ ละครพันทางได้นำเอาท่า รำที่เป็นแบบแผนของประเทศไทยไปผสมกับท่ารำที่ ดัดแปลงมาจากท่ารำของชาติอื่น นอกจากนี้ก็นำเอา ท่าที่สามัญชนใช้ในชีวิตประจำวันเข้ามาผสม บทที่ เป็นบทพูดผู้แสดงจะต้องพูดเอง ส่วนบทร้องจะมีต้น เสียงร้องแทน บางครั้งผู้แสดงจะร้องเอง เรื่องที่นำมาแสดง ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าละครพันทาง ได้นำเอาพงศาวดารของชาติต่างๆ ตลอดจนเรื่องทาง ประวัติศาสตร์มาแสดง ดังนั้นเรื่องที่แสดงจึงได้แก่ เรื่องราชาธิราช สามก๊ก พระลอ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี เป็นต้น 

52 ดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดง ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ นำมาแสดง เช่น ถ้าเป็นเรื่องราชาธิราชก็จะใช้ปี่ พาทย์มอญ และปี่พาทย์พม่า เพราะเรื่องราวในละคร เรื่องราชาธิราชส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการทำศึกสงคราม ระหว่างชนชาติมอญและชนชาติพม่า  การแต่งกาย แต่งกายตามแบบเชื้อชาติของตัวละครที่ ปรากฏในท้องเรื่อง

53 ละครเสภา เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นละครที่พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระ นราธิปประพันธ์พงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยทรง นำเอาเสภารำมาผสมกับละครพันทาง และยึดรูปแบบ ของการแสดงละครพันทางเป็นหลัก  รูปแบบวิธีการแสดง การแสดงละครเสภาจะดำเนิน เรื่องด้วยการขับเสภา โดยมีต้นเสียงกับลูกคู่เป็นผู้ขับ เสภา ส่วนถ้อยคำที่เป็นบทขับเสภาหรือบทขับร้อง ของผู้แสดง ผู้แสดงจะต้องขับเสภาหรือร้องเอง เรื่องที่นำมาแสดง โดยปกตินิยมนำเรื่องขุนช้าง- ขุนแผนมาใช้แสดงละครเสภา ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ละครเสภาจะใช้วงปี่ พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ การแต่งกาย เครื่องแต่งกายที่ใช้ในละครเสภาจะแต่ง กายแบบละครพันทาง

54 ละครร้อง มีกำเนิดในสมัย รัชกาลที่ 5 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิป ประพันธ์พงศาวดารทรงดัดแปลงมาจากการแสดงของ ชาวตะวันตก ให้เป็นละครไทยอีกแบบหนึ่ง แสดง เวทีเปลี่ยนฉากไปตามท้องเรื่อง ใช้ท่ารำและเพลง ดนตรีไทย ต่อมาเปลี่ยนแปลงวิธีแสดงใหม่ ใช้กิริยา อาการท่าทางอย่างสามัญชน ไม่รำใช้เพลงร้องที่ ประดิษฐ์ขึ้นใหม่บ้าง มีตัวละครร้องบ้าง มีการพูด สลับบ้าง ผู้แสดงเป็นผู้หญิงทั้งหมด ตัวตลกเป็นชาย ละครร้องนิยมเล่นกันสืบมาจนถึง สมัยรัชกาลที่ 7

55 ละครร้องจึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1
ละครร้องจึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1.  ละครร้องสลับพูด ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ นราธิปประพันธ์พงศ์ 2.  ละครร้องล้วนๆ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้า ฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6)      ผู้แสดง   ละครร้องสลับพูด ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ยกเว้นแต่ตัว ตลก หรือจำอวด ใช้ผู้ชายแสดง   ละครร้องล้วนๆ ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อ เรื่อง       การแต่งกาย   ละครร้องสลับพูด แต่งตามฐานะของตัวละคร ละครร้องล้วนๆ แต่งแบบละครพันทาง หรือตาม ลักษณะของตัวละครในเรื่อง      เรื่องที่แสดง   ละครร้องสลับพูด แสดงเรื่อง ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้ว เจียระไน เครือณรงค์ กากี ภารตะ สาวเครือฟ้า ละครร้องล้วนๆ แสดงเรื่อง สาวิตรี

56 ละครพูด ในสมัยรัชกาลที่ 5 ละครรำกำลังเฟื่อง พระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระบรมโอรสสาธิราชเจ้าที่ได้เริ่มละครพูด โดย ดัดแปลงมาจากละครยุโรป การดำเนินเรื่องใช้คำพูด ตลอดเรื่อง แสดงกิริยาท่าทางตามธรรมชาติเปลี่ยน ฉากไปตามท้องเรื่องไม่มีดนตรีประกอบ เดิมใช้ผู้ชาย แสดงล้วน ต่อมาใช้ชายจริงหญิงแท้ ผู้แสดง        ละครพูดล้วนๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้ แสดงชายจริงหญิงแท้      ละครพูดแบบร้อยกรอง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและ หญิง มีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่ บ่งไว้ในบทละคร น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดี เสียง กังวาน พูดฉะฉาน ไหวพริบดี      ละครพูดสลับลำ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง เหมือนละครพูดแบบร้อยกรอง

57 การแต่งกาย        ละครพูดล้วนๆ  แต่งกายตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องโดย คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร แต่งให้เหมาะสม ถูกต้องตามบุคคลิกของตัวละคร และยุคสมัยที่บ่งบอกไว้ในบท ละคร      เรื่องที่แสดง        ละครพูดล้วนๆ เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรือง"โพงพาง" เมื่อ พ.ศ เรื่องต่อมาคือ "เจ้าข้าสารวัด" ทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว      ละครพูดแบบร้อยกรอง จำแนกตามลักษณะคำประพันธ์ดังนี้ คือ          1. ละครพูดคำกลอน จากบทประพันธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เรื่องเวนิสวาณิช ทรงแปลเมื่อ พ.ศ  เรื่องพระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ         2. ละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ เรื่องมัทนะพาธา พระราช นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราช นิพนธ์เมื่อ พ.ศ         3. ละครพูดคำโคลง  ได้แก่ เรื่องสี่นาฬิกา ของอัจฉรา พรรณ(อาจารย์มนตรี ตราโมท) ประพันธ์เมือปี พ.ศ. 2469

58 กลุ่มที่ 1 ละครรำแบบมาตรฐาน มีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาและเป็นต้นกำเนิดของละครรำแบบอื่นๆ ได้แก่ 1. ละครโนราห์ชาตรี ได้แก่ พระสุธนนางมโนห์รา กับ รถเสน (นางสิบสอง)  2. ละครนอก ได้แก่ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์ สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ โสวัต และไชยเชษฐ์ ไกรทอง 3. ละครใน ได้แก่ อิเหนา อุณรุฑ และรามเกียรติ์ กลุ่มที่ 2 ละครรำแบบปรับปรุง ได้ถูกปรับปรุงขึ้นในสมัย รัตนโกสินทร์ ได้แก่ 1. ละครดึกดำบรรพ์ ได้แก่ สังข์ทอง คาวี สังข์ศิลป์ชัย กรุง พานชมทวีป มณีพิชัย ศกุนตลา จันทกินรี พระยศเกตุ 2. ละครพันทาง ได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก พระลอ ขุนช้าง- ขุนแผน พระอภัยมณี 3. ละครเสภา ได้แก่ ขุนช้าง-ขุนแผน 4. ละครร้อง ได้แก่ ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เครือ ณรงค์ กากี ภารตะ สาวเครือฟ้า สาวิตรี 5. ละครพูด ได้แก่ โพงพาง เจ้าข้าสารวัด มัทนะพาธา สี่ นาฬิกา

59       ๓.๑  รำ  หมายถึง    ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๑-๒ คน  เช่นการ รำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการ แสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบท    ขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลง ดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความ เชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ  เช่น  รำ เพลงช้า – เพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา – รามสูร  เป็นต้น       ๓.๒  ระบำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มี ลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็น เรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบ มาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่ง

60 ๔. การแสดงพื้นเมือง  หมายถึง  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ  ระบำ หรือ การละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ในเริ่มแรก นั้นเข้าใจว่าคงปรากฏในรูปแบบ  การละเล่น หมายถึง  การเล่นดนตรี การเล่น เพลง  การเล่นรำ ส่วนการเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพ หรือศิลปะการแสดงพื้นเมือง ซึ่งหมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ              ต่อมามีวิวัฒนาการเป็นการละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อัน เป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความ สนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมีวัฒนธรรม มีความ เรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่ง การละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้ 

61 ความหมายของคำว่า "เซิ้ง" และ "ฟ้อน“
  เซิ้ง  หมายถึง  ศิลปะการแสดงของภาคอีสาน ลีลาจังหวะการร่ายรำเร็ว  การแต่งกายแบบพื้นเมือง อีสานและเพลงที่ใช้ประกอบเป็นเพลงสนุกสนาน  ส่วน ใหญ่ใช้ในขบวนแห่ต่าง ๆ เช่น  แห่บ้องไฟ เซิ้ง ได้แก่ เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งกะติ๋บ ฟ้อน หมายถึง ศิลปะการร่ายรำแบบ พื้นเมืองที่มีลีลาการร่ายรำค่อนข้างช้า การแต่งกาย และเครื่องดนตรีเป็นแบบพื้นเมือง มีจุดประสงค์เพื่อ แสดงความงดงามอ่อนช้อย พร้อมเพรียง และ แสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ฟ้อนทางภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนทางภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนบายศรี ฟ้อนภูไท ฟ้อนตังหวาย

62 องค์ประกอบของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
องค์ประกอบที่ทำให้นาฏศิลป์ไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความสวยงามโดดเด่น และบ่งบอกถึงความมีอารยะธรรมทางด้านศิลปะ มาแต่อดีตกาล   คือ  ลีลาท่า รำ  การขับร้องเพลงไทย  ดนตรีไทย  และการแต่งกาย  ดังนี้ ๑.  ลีลาท่ารำ  หมายถึง  กระบวนการเคลื่อนไหวของอวัยวะร่างกายของนักแสดง สื่อออกมาในลักษณะต่าง ๆ เช่น  สื่อแทนคำพูด  แทนอากัปกิริยาที่กำลังปฏิบัติ อยู่  หรือสื่อถึงกิจกรรมที่เป็นเป้าประสงค์สำหรับการทำงาน  เป็นต้น  ท่ารำที่เข้า มามีบทบาทต่อการแสดงนั้น  มาจากหลายแหล่ง  เช่น   นาฏยศัพท์   ภาษา ท่าทางนาฏศิลป์   และการตีบท  กล่าวคือ

63                   ๑.๑  นาฏยศัพท์  หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกท่ารำทางนาฏศิลป์ หรือ การละคร การฟ้อนรำ การสร้างสรรค์ท่ารำที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ไทย ผู้แสดง จำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการร่ายรำอันจะส่งผลถึงความประณีตของท่วงท่าที่ สร้างสรรค์ของศิลปินที่งดงามลงตัวนาฏยศัพท์ที่บรมครูผู้เชี่ยวชาญได้สร้างสรรค์ ไว้พอจะรวบรวมได้คือ นามศัพท์ กิริยาศัพท์ และนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด       ๑.๒  ภาษาท่าทางนาฏศิลป์  หมายถึง  ภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสารของ นักแสดงเพื่อให้เข้าใจโดยใช้ท่าทางนาฏศิลป์เป็นตัวสื่อไม่ใช้คำพูด  เป็นอวจนะ ภาษาอย่างหนึ่ง  หรืออีกนัยหนึ่งนั้นคือภาษาใบ้  ส่วนใหญ่จะใช้อากัปกิริยาของ อวัยวะร่างกายเป็นตัวสื่อสารเพื่อบอกอาการความต้องการให้ผู้รับสารเข้าใจในการ สื่อสาร   ภาษาท่าทางนาฏศิลป์มีปรากฏอยู่ในการแสดงละคร  หรือบทระบำของ ละครไทยบางเพลงก็มี 

64                 กิริยาท่าทางที่ปรากฏออกมาทางอวัยวะของร่างกาย  สีหน้าและอารมณ์ที่ ปรากฏขึ้นมา  สามารถจำแนกได้เป็น  ๓  ประเภท  คือ  ท่าซึ่งใช้แทนคำพูด  ท่าซึ่งเป็น อิริยาบถและกิริยาอาการ  และท่าซึ่งแสดงถึงอารมณ์ภายใน  ๑.๓  การตีบท  หมายถึง  การใส่ท่าทางตามบทร้องหรือบทเพลงเพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชม เข้าใจตามความหมายและอารมณ์ของเพลง โดยทั่วไปเพลงที่จะนำมาประดิษฐ์ท่ารำจะต้องมี ๒ ลักษณะ  คือเพลงบรรเลง  หมายถึง  เพลงที่มีแต่ทำนองและจังหวะ  ไม่มีเนื้อร้อง ประกอบ  และเพลงมีบทร้อง  หมายถึง  เพลงที่มีทั้งทำนอง จังหวะ  และเนื้อเพลงบรรยาย อิริยาบทของตัวละครประกอบด้วย  กรณีที่เพลงเป็นเพลงบรรเลงนั้นนักนาฏยประดิษฐ์ก็จะลด ภาระของการใส่ท่ารำลง  แต่ถ้าหากว่าเป็นเพลงที่ต้องใช้บทร้องประกอบ  เช่น  เพลง แม่บท  เพลงกฤดาภินิหาร  หรือจะเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ในโอกาสอันสมควร  กล่าวคือ อวยพรในโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล  หรืองานในโอกาสพิเศษอื่น ๆ  ถ้าหาก บทเพลงมีเนื้อร้องก็เป็นความจำเป็นที่จะต้องใช้การตีบทมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน  จาก ประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่าการใส่ท่ารำตามบทมีหลักสำคัญต้องทำความเข้าใจเป็น พื้นฐาน  คือ  ท่ารำที่เป็นแบบแต่โบราณ  เช่น  ท่ารำที่ปรากฏในการรำแม่บทใหญ่  แม่บท เล็ก  และท่ารำที่เป็นท่าระบำ  คือท่ารำที่ปรากฏในชุดการแสดงระบำต่าง ๆ  นั่นเอง

65 ๒. การขับร้องเพลงไทย เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมอีก อย่างหนึ่ง เพลงไทยมีเอกลักษณ์ คือ การเอื้อน ที่สร้างความไพเราะ และบทร้องใช้ภาษาทาง วรรณกรรม ก่อให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม หวั่นไหวไปตามเรื่องราวของบท   สามารถแบ่ง ประเภทของการขับร้องเพลงไทยเดิม แบ่งได้  ๔ วิธี       ๒.๑ การร้องลำลอง  หมายความถึง  คนร้องร้องไปตามทำนองของตน และดนตรีก็บรรเลง ประกอบไปโดยใช้ทำนองส่วนของตนต่างหาก แต่ทั้งคนร้องและคนบรรเลง จะต้องใช้ลูกฆ้อง หรือเนื้อเพลงแท้ๆอย่างเดียวกัน เพียงแต่คนร้องบรรจุคำร้องลงไปตามลูกฆ้อง ส่วนนักดนตรี แปรลูกฆ้องเป็นทำนองเต็ม (Full Melody) ให้เข้ากับเครื่องดนตรีที่บรรเลง เพลงที่ใช้ ร้องลำลอง มักจะเป็นเพลงที่ฟังได้ไพเราะ เช่น เพลงเต่าเห่ เพลงช้าสร้อยสน เพลงตุ้งติ้ง เพลง กลองโยน เป็นต้น       ๒.๒  การร้องคลอ  หมายความถึง  คนร้องร้องพร้อมไปกับดนตรี โดยผู้บรรเลงจะต้อง บรรเลงดนตรีให้เข้ากับทางร้อง เพื่อฟังได้กลมกลืน เพลงที่จะร้องคลอได้ไพเราะ จะเป็นเพลง จำพวกเพลงสองชั้นธรรมดาทั่วไป

66       ๒.๓  การร้องส่ง หรือการร้องรับ  หมายความถึง  คนร้องร้องขึ้นก่อน เมื่อ จบแล้ว ดนตรีจึงรับด้วยลูกฆ้องเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องนั้น ผู้ร้องถอดลูกฆ้อง ออกมาเป็นเอื้อน แต่ดนตรีถอดลูกฆ้องออกมาเป็นทำนองเต็ม (Full Melody)   การร้องส่งหรือการร้องรับนี้ ดนตรีจะต้องมีการสวมร้องด้วย เพื่อ เป็นสะพานเชื่อมระหว่างการร้องที่ช้า และการบรรเลงที่ค่อนข้างรวดเร็ว และเพื่อ ความกลมกลืนในการบรรเลงด้วย       ๒.๔  การร้องเคล้า  หมายความถึง  คนร้องร้องไปตามทำนองเพลงของตน ส่วนดนตรีก็บรรเลงประกอบไปโดยใช้ทำนองส่วนของตน คล้ายๆกับการร้อง ลำลอง แต่การร้องเคล้านี้ ดนตรีกับร้องเป็นคนละอย่างกัน แต่เมื่อร้องกับดนตรี เคล้าประสานกันแล้ว ทำให้มีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง

67 ๓. ดนตรีไทย  หมายถึง  เป็นเสียงที่เกิดจากความสั่นสะเทือนของวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือ จากเสียงของมนุษย์เอง ทำให้เกิดทำนอง สูง ต่ำ มีช่วงจังหวะสม่ำเสมอ  ดนตรีไทยเกิดขึ้นจาก การผสมวงที่เป็นเอกลักษณ์โดยการนำเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ ชิ้นมาผสมผสานเสียงจนสามารถ รวมเป็นวงใหญ่   สามารถแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบันเป็น ๓ ประเภท คือ  วงปี่พาทย์  วงเครื่องสาย  และวงมโหรี  ดังนี้      ๓.๑  วงปี่พาทย์  หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ  เช่น  ฆ้อง  กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่  ปี่  นอกจากนั้น วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ ชาตรี,             วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,  วงปี่พาทย์เครื่องห้า,  วงปี่พาทย์เครื่องคู่,  วงปี่พาทย์ เครื่องใหญ่,  วงปี่พาทย์ไม้นวม,  วงปี่พาทย์มอญ,  วงปี่พาทย์นางหงส์     ๓.๒  วงเครื่องสาย  หมายถึง  วงดนตรีที่เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสาย เป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี  ๔  แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสาย ผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

68     ๓.๓ วงมโหรี  ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรี เครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลง อย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็ คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วง มโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่ ๔.  การแต่งกาย   หมายถึง   เครื่องห่อหุ้มร่างกายของนักแสดง  เพื่อความ สวยงาม  ตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ต้องการของการแสดงนั้น ๆ  นอกจากนี้การแต่ง กายยังเป็นสิ่งบ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของความเป็นไทย การแต่งกาย ของ นาฏศิลป์ เน้นความประณีตบรรจง การสร้างเครื่องแต่งกาย การแสดง เพื่อบ่งบอก ฐานะ อุปนิสัย รสนิยมความคิดอ่าน อาชีพ และบทบาทของตัวละคร  การแต่งกาย ของการแสดงไทย  มีระเบียบปฏิบัติที่งดงาม  สามารถแต่งได้หลายแบบ  เช่น แต่งแบบศิลปะละครรำ   แต่งแบบสี่ภาค และแต่งแบบประยุกต์อื่น ๆ ทั้งนี้รูปแบบ การแต่งกายนั้นจะต้องสื่อถึงชุดการแสดงนั้น ๆ ด้วย

69 นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป


ดาวน์โหลด ppt รายวิชา นาฏยศิลป์ไทยปริทัศน์ (Introduction To Thai Dance)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google