ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Ethical problem and Ethical dilemmas in Nursing Practice อ. กฤษณา เฉลียวศักดิ์ RN, M.S.N (Adult Nursing) Certificate in Nursing specialty in Cardio - Thoracic Nursing
2
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Enunciate = คำแถลงการณ์ อิ-นัน-ซิ-เอด 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
3
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Ethics is…………. The code of moral principles and values that govern the behaviors of a person or group with respect to what is right or wrong. 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
4
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
5
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Ethical Problem is……… Nurse incompetent into doing Good for patients Nurse doing Harm to patients Nurse can't distribute an appropriate care for patients ยกตัวอย่างเรื่อง การจราจร ถ้า คนขับขี่ยวดยานพาหนะ ทำตามกฎจราจร ก็ไม่มีปัญหา หากทำผิดกฏจราจร ก็จะเกิดปัญหา จริยธรรมก็เช่นกัน หากทำตามหลักจริยธรรม ก็จะไม่เกิดปัญหา 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
6
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
7
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Nurses …in order to make their work meaningful and to avoid burning out. Nurses express their values and realize their expectations of proper patient care. 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
8
Boromarajonani College of Nursing, Yala
AIDET guidelines for communicating with patients and their families, as well as each other: Acknowledge Introduce Duration Explanation Thank You 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
9
Boromarajonani College of Nursing, Yala
S.T.A.R.T. rules for all patient, family, and caregiver interactions, which the Clinic emphasizes to conduct with heart: Smile and greet warmly Tell your name, role, and what to expect Active listening and assist Rapport/relationship building Thank the person ทักทายด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ บอกชื่อเสียงเพียงไพเราะเสนาะหู อยู่คอยช่วยเหลือ ใส่ใจฟัง 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
10
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
11
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Moral and Ethical problems in the hospital can be sorted in 3 different types Moral uncertainty : unsure what moral principles or values apply Moral dilemmas : two or more clear moral principles apply, inconsistent course of action Moral distress : knows the right thing to do but constraints make in nearly impossible the right of actions 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
12
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาจริยธรรม 1) ปัจจัยทางสังคม ความคาดหวังที่มีต่อบริการ 2) ทางด้านผู้ป่วย ความอคติต่อวิชาชีพ เรียกร้อง จับผิด 3) ทางด้านพยาบาล การละเลยต่อจรรยาบรรณ 4) ปัจจัยบุคลากรด้านอื่นๆ ไม่ยอมรับ ไม่ให้เกียรติพยาบาล ขาดความร่วมมือ 5) ทางด้านหน่วยงานหรือองค์การ การทำงานที่หนัก ขาดความก้าวหน้า ผลตอบแทนและระบบที่ไม่เป็นธรรม 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
13
ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
Boromarajonani College of Nursing, Yala ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม พยาบาลรู้สึกว่าบางสถานการณ์อาจไม่ควรบอก เพราะเกรงเกิดผลเสียแก่ผู้ป่วย ครอบครัว อึดอัดไม่ รู้ว่าจะทำอย่างไรดี แต่การปิดบังก็จะเป็นผลเสียเช่นกัน 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
14
การตัดสินใจเชิงจริยธรรม
Boromarajonani College of Nursing, Yala การตัดสินใจเชิงจริยธรรม เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม กำหนดและวิเคราะห์ทางเลือก ตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติ ประเมินผล 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
15
Boromarajonani College of Nursing, Yala การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเจ็บป่วยและการรักษา คุณค่าและความเชื่อที่เกี่ยวข้อง ความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว กฎหมาย นโยบาย /เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม การประเมินผลลัพธ์และกระบวนการ การตัดสินใจเลืออกและลงมือปฏิบัติ กำหนดและวิเคราะห์ทางเลือก กำหนดประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดทางจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณค่า ความเชื่อของบุคคล/สังคม กฎหมาย/สิทธิผู้ป่วย/พรบ.วิชาชีพ นโยบายสุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม วัฒนธรรม 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
16
Boromarajonani College of Nursing, Yala
แนวทางการตัดสินใจเชิงจริยธรรม Fry, 1984 1. การวิเคราะห์เรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในคุณค่า และความเชื่อ 2. การวิเคราะห์ ถึงคุณค่า และความเชื่อที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ 3. การวิเคราะห์ถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและมีใครบ้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ของความขัดแย้งทางจริยธรรม 4. ตัดสินว่าควรจะทำอย่างไร 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
17
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
18
Boromarajonani College of Nursing, Yala
รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้ถูกพัฒนาไว้ในรูปแบบของ DICIDE modelประกอบไปด้วย 6ขั้นตอนดังนี้ D-Define the problem(s): หมายถึงการชี้ให้เห็นถึงปัญหาว่า อะไรคือสิ่งสำคัญของปัญหาในเหตุการณ์นี้ ใครที่เข้ามามีส่วนร่วมในปัญหานี้บ้าง อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องและอะไรคือภาระหน้าที่ที่ต้องทำ อะไรคือปัญหาหลักที่สาคัญต้องแก้ไข E-Ethical review: หมายถึงการทบทวนปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นโดยพิจารนาว่าปัญหามีหลักการทางจริยธรรมข้อใดบ้างที่เกี่ยวข้องโดยหลักการทางจริยธรรมหลักที่สำคัญจะช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ไขประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
19
Boromarajonani College of Nursing, Yala
C-Consider the options: หมายถึงการพิจารณาถึงทางเลือก โดยพิจารณาว่าปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นมีทางเลือกอะไรบ้างและแต่ทางเลือกมีวิธีการปฎิบัติอย่างไร I-Investigate outcomes: หมายถึงการพิจารณาผลที่ตามมาของแต่ละทางเลือกโดยพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก D-Decide on action: หมายถึงการตัดสินใจเลือกปฎิบัติโดยเลือกทางเลือกที่มีข้อดีมากที่สุดและข้อเสียมีน้อยที่สุด กำหนดวัตถุประสงค์วางแนวทางและวางแผนในการปฎิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด E-Evaluate results: หมายถึงการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้หรือไม่ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
20
ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่พบบ่อยของพยาบาลในหอผู้ป่วย
Boromarajonani College of Nursing, Yala ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่พบบ่อยของพยาบาลในหอผู้ป่วย 1. การบอกความจริง (veracity/ truth) โดยพยาบาล ต้องเผชิญกับประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมว่าใครควร จะเป็นผู้บอกความจริงกับผู้ป่วยดีที่สุดถึงแม้ว่าการบอก ความจริงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและทีมสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงผลที่เกิดขึ้นจากการบอกความจริง มักก่อให้เกิดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานแสน สาหัสทางด้านจิตใจแก่บุคคลที่ยังปรับตัวไม่ได้อันจะ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายและจิตใจ เพิ่มเติมจากความเจ็บป่วยเดิมที่มีอยู่แล้ว เนื่องจาก ความจริงที่ผู้ป่วยหรือญาติรับทราบนั้นมักเป็นความจริง เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคที่ร้ายแรง หมดหวังในการ รักษาหรือยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตรวมถึงการ พยากรณ์ถึงระยะเวลาที่อาจจะมีชีวิตอยู่ (พเยาว์, 2538) 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
21
Boromarajonani College of Nursing, Yala
Option of Truth (Williamson 7 Livingston, 1992) 1. Whole truth บอกทั้งหมด 2. Partial truth บอกบางส่วน ให้ผู้ป่วยมีเวลาในการปรับตัว 3. Deception บอกไม่ตรงความจริง (เป็นทางเลือกไม่เหมาะสม) 4. Truth delay ดีกับทีมระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูลและหาวิธีช่วยผู้ป่วย แต่อาจทำให้ผู้ป่วยเครียด กังวลระหว่างรอคอย 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
22
Boromarajonani College of Nursing, Yala
2. การปกปิดความลับ (confidentiality)เป็นการเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล (privacy right) ในการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวกับความลับหรือข้อมูลของผู้ป่วยโดยประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่พบบ่อยคือการปกปิดความลับในเรื่องโรคของผู้ป่วยเอดส์กับอันตรายที่จะเกิดกับญาติผู้ป่วยหากไม่ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ (Chaowalit, et al, 1999) 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
23
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
24
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3. การยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (informed consent)หมายถึงความยินยอมของผู้ป่วยในการให้ผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับแพทย์กระทำเพื่อการรักษาหรือวินิจฉัยโดยต้องได้รับข้อมูลอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ ขั้นตอน ผลดีผลเสีย โดยพบว่าพยาบาลต้องเผชิญกับประเด็นขัดแย้งที่ไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยได้ในบางสถานการณ์ (Davis, 1986; กาญดา, 2543) ความยินยอมของผู้ป่วยที่ยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์ กระทำต่อร่างกายของตนตามกรรมวิธีของการผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจรักษาทั่วไป กระบวนการตรวจรักษาเพื่อนาไปสู่การวินิจฉัยโรค การรักษาโดยการผ่าตัดหรือการทดลองในมนุษย์ โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการอธิบายหรือบอกเล่าให้เข้าใจว่าการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร รายละเอียดของการกระทำมีอะไรบ้าง และผลที่เกิดตามมาหรือภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
25
Boromarajonani College of Nursing, Yala
4. สัมพันธภาพ/ความร่วมมือกับผู้ร่วมงาน (relationship/ cooperation)หมายถึงการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสุขภาพ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมระหว่างแพทย์และพยาบาลถือเป็นเรื่องสำคัญ (Tschudin, 1992; กาญดา, 2543) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเพราะแต่ละคนต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ ความขัดแย้งย่อมเกิดได้บ่อยในการทำงาน เพราะแพทย์อยู่ในระดับสั่งการ พยาบาลคือผู้ปฏิบัติงานที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมักเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกี่ยวกับอำนาจ (Tschudin, 1992) ฟราย (Fry, 1994) กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์และพยาบาลเกิดจากมุมมองที่มีความแตกต่างกัน 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
26
Boromarajonani College of Nursing, Yala
5. การจัดสรรทรัพยากร (allocation of resources)หมายถึงการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ที่สำคัญและจำเป็นให้แก่ผู้ป่วยประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมคือใครจะเป็นผู้เลือกว่าผู้ป่วยคนใดควรได้รับการจัดสรรทรัพยากรก่อนหลังเมื่อมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด (สิวลี, 2542) ปัญหาที่เป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นได้แก่ ใครจะเป็นผู้กำหนดหรือเลือกว่าผู้ป่วยคนใดควรจะได้รับอวัยวะก่อน ใครควรจัดการเมื่อทุกคนต้องการมีชีวิตอยู่ถ้าทรัพยากรทางการแพทย์มีจำนวนจำกัด จะใช้หลักเกณฑ์อะไรมาตัดสิน อายุ ประโยชน์ที่เกิดต่อผู้ป่วย การช่วยเหลือต่อสังคมของบุคคลนั้น 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
27
Boromarajonani College of Nursing, Yala
6. พันธะหน้าที่ต่อวิชาชีพกับหน้าที่ต่อตนเอง ( professional obligation an duty to self) การที่พยาบาลต้องให้การดูแลผู้ป่วยทุกคนอย่างเท่าเทียมกันแต่ผลจากการดูแลอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่พยาบาล เช่นการดูแลผู้ป่วยเอดส์ (Chaowalit, 1995) เกิดขึ้นบ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากการระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคมีอาการที่รุนแรง ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันหรือรักษาให้หายได้ จึงสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนเป็นอย่างมากจนได้รับการขนานนามว่า “มหันตภัยแห่งศตวรรษที่ 20” (ดุษฎีวรรณ, 2532, กาญดา, 2543) 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
28
Boromarajonani College of Nursing, Yala
7.การยืดชีวิตผู้ป่วย (prolong life) เกิดจากความก้าวหน้าเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถยืดชีวิตผู้ป่วยออกไปได้โดยผู้ป่วยตกอยู่ในสภาพ “ ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ได้” เมตตามรณะ จึงเป็นประเด็นจริยธรรมที่เกิดขึ้นในสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจในการตายด้วยตัวเอง (สุภาณี, 2540; กาญดา, 2543) ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปควรมีสิทธิที่จะตายโดยปฏิเสธการรักษาแผนปัจจุบันเพื่อให้กระบวนการตายมีสภาพความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงได้หรือไม่ การตายอย่างสงบหรือเมตตามรณะจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับการพิจารณากันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน (วิฑูรย์, 2539) จากประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในเรื่องการยืดชีวิตหรือการชะลอความตายทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับเมตตามรณะ (euthanasia) ซึ่งหมายถึงการปล่อยให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาเสียชีวิตโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการของโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
29
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
30
Boromarajonani College of Nursing, Yala
คำว่า Euthanasia มาจากรากศัพท์ กรีก คือ eu หมายถึง good และ thanatos หมายถึง death จึงรวมความหมายถึง การตายอย่างสงบ หรือตายดีนั่นเอง (good death) 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
31
Euthanasia มี 2 แบบ Boromarajonani College of Nursing, Yala
1. การช่วยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (Active euthanasia) การยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจ ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย 2. การปล่อยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (Passive euthanasia) คือ การไม่สั่งการรักษา หรือยกเลิกการรักษา ที่จะยืดชีวิตผู้ป่วยที่สิ้นหวัง แต่ยังให้การดูแลรักษาทั่วไป เพื่อช่วยลด ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจนกว่าจะเสียชีวิตไปเอง 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
32
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
33
Boromarajonani College of Nursing, Yala
8. การไม่ให้การรักษา(งด) (withholding) หรือ การยุติการรักษา withdrawal of treatment) ทีมผู้ให้การดูแลควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติเป็น ซึ่งหลักในการพิจารณาในทั้ง 2 ประเด็นนี้คือ การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวไม่เป็นผลดีแก่ผู้ป่วย (benefit) อีกต่อไปแล้ว หากยังดำเนินการรักษาต่อไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นภาระแก่ร่างกาย (burden) ในการขจัดของเสีย การรักษาดังกล่าวนี้ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การใช้ยาฆ่าเชื้อบางชนิด(มีราคาแพง) อาจมีผลต่อการทำงานของตับและไตที่มีการทำงานลดลงอยู่แล้ว และการให้สารน้ำ/อาหารทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
34
Boromarajonani College of Nursing, Yala
การยุติการให้สารอาหารและน้ำ (fluids and nutrition) ปัจจุบันวิทยาการก้าวหน้ามากสามารถให้สารอาหาร โดยผ่านสายยางเข้าทางหลอดเลือดดำและสายยางเข้าทางจมูก หรือเข้าที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้โดยตรง ที่เรียกว่า “artificial nutrition” การให้สารน้ำและอาหารด้วยวิธีการนี้อาจ มีความจำเป็นเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถดื่ม หรือกินได้ตามปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจปฏิเสธการให้ สารอาหารที่ผิดปกติไปจากธรรมชาติ บางรายอาจปฏิเสธการ ให้อาหารทางสายยางเข้าจมูก แต่ไม่ปฏิเสธการให้สารน้ำ หรืออาหารทางหลอดเลือดดำ ทีมผู้ให้การรักษาควรพิจารณา ถึงวิธีการให้ ผลดีและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันการให้สารน้ำและอาหารถือเป็นการรักษาเพื่อพยุง ชีวิตด้วย (life-sustaining treatment) ทั้งนี้ควรอธิบายถึงพยาธิ สภาพและความจำเป็นต่างๆของผู้ป่วย เพราะญาติอาจไม่ เข้าใจกลไกและความต้องการของร่างกายผู้ป่วยในระยะใกล้จะ เสียชีวิตอย่างเพียงพอ การงดไม่ให้สารอาหารอาจกลายเป็น ประเด็นที่สร้างความเข้าใจผิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้ง พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ควรให้ข้อมูลและควรปรับ แผนการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลให้ ได้รับความสุขสบายที่สุด 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
35
Boromarajonani College of Nursing, Yala
3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
36
การงดเว้น และการยุติการช่วยชีวิต
Boromarajonani College of Nursing, Yala การงดเว้น และการยุติการช่วยชีวิต เกณฑ์งดการช่วยชีวิต (Criteria for Not Starting CPR) การยุติการช่วยชีวิต คำสั่งห้ามช่วยชีวิต (DNAR) การช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีคำสั่ง DNAR การยุติเครื่องช่วยพยุงชีพ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
37
การยุติเครื่องช่วยพยุงชีพ
Boromarajonani College of Nursing, Yala การยุติเครื่องช่วยพยุงชีพ การยุติการพยุงชีพถือว่าชอบหาก (1) ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว หรือ (2) ทั้งแพทย์และผู้ตัดสินใจแทนผู้ป่วยเห็นพ้องกันว่าการรักษาที่ทำอยู่นั้นไม่มีโอกาสบรรลุผล หรือเป็นภาระหนักแก่ตัวผู้ป่วยมากกว่าประโยชน์ที่ได้ ผู้ป่วยบางรายไม่รู้ตัวเลยหลังการช่วยชีวิตและมีชีพจรแล้ว เกือบทั้งหมดของผู้ที่ยังอยู่ในสภาวะ deep coma (Glasgow Coma Scale Score <5) หลังการช่วยชีวิตแล้ว 2 -3 วัน สามารถบอกการพยากรณ์โรคได้แม่นยำว่าโอกาสฟื้นมีน้อยมาก 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
38
Boromarajonani College of Nursing, Yala
การทบทวนงานวิจัย 33 รายการ ด้วยวิธี meta-analysis พบว่าในผู้ป่วยที่โคม่ามีปัจจัย 3 ประการที่จะทำให้โอกาสฟื้นยาก คือ 1. ม่านตาไม่สนองต่อแสงจนถึงวันที่สาม 2. กล้ามเนื้อไม่สนองต่อความเจ็บปวดจนถึงวันที่สอง 3. ไม่มี cortical response ทั้งสองข้างจากการตรวจ median nerve somatosensory – evoke potentials ในกรณีอุณหภูมิร่างกายปกติจนถึงวันที่สาม ในสามกรณีข้างต้นนี้ การยุติการพยุงชีพรวมทั้งยุติการใช้เครื่องช่วยต่างๆ ถือว่าสมเหตุสมผล 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
39
Boromarajonani College of Nursing, Yala
จริยธรรมของการขอบริจาคอวัยวะ ชุมชนนักปฏิบัติการช่วยชีวิตสนับสนุนการขอบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อเพื่อสนองตอบต่อความต้องการเนื้อเยื่อและอวัยวะในการรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยทั่วไป หัวหน้าหน่วยEMSควรหารือกับผู้บริหารโครงการจัดหาอวัยวะในท้องถิ่นในประเด็นต่อไปนี้ (1) มีความต้องการอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายรักษาโรคจากผู้เสียชีวิตนอกโรงพยาบาลหรือไม่เพียงใด (2) ทำอย่างไรญาติจึงจะอนุญาตให้ใช้อวัยวะหรือเนื้อเยื่อของผู้เสียชีวิตได้ (3) แนวปฏิบัติการจัดหาอวัยวะและเนื้อเยื่อทั้งในและนอกโรงพยาบาลเป็นอย่างไร (4) มีความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับค่านิยมของสังคมในเรื่องนี้อยู่หรือไม่อย่างไร และจะให้ปฏิบัติในประเด็นนี้เช่นไร 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
40
Boromarajonani College of Nursing, Yala
ให้แบ่งกลุ่มพิจารณา ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมแต่ละสถานการณ์ และแสดงการตัดสินใจเชิงจริยธรรม เพื่อแก้ไขประเด็นขัดแย้งฯ ดังกล่าว และให้บอกหลักการทางจริยธรรมที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
41
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 1: การยินยอมการได้รับการบอกกล่าว (Informed consent) นายสมชาย อายุ 43 ปี ประสบอุบัติเหตุรถชนกระดูกขาขวาหัก เสียเลือดมาก ถูกนาส่งโรงพยาบาลที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีตลอด แพทย์วางแผนเตรียมการผ่าตัดด่วน พยาบาลได้อธิบายเกี่ยวกับความจาเป็นที่ต้องผ่าตัดให้ผู้ป่วยรับทราบ ผู้ป่วยบอกว่าเขาไม่ต้องการผ่าตัดเพราะในขณะผ่าตัดเขาจะต้องได้รับเลือด ผู้ป่วยมีความเชื่อทางศาสนาว่า การได้รับเลือดจากผู้อื่นเป็นบาปและผู้ป่วยยืนยันว่าเขาจะไม่รับเลือดจากผู้อื่นโดยเด็ดขาด 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
42
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 2: การบอกความจริง (Truth telling) นางวดี อายุ 62 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการอ่อนเพลีย ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ผลการตรวจเลือด ปรากฎว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์ได้ตัดสินใจบอกผลการตรวจเลือดแก่นายวิชัยผู้เป็นสามีของผู้ป่วย นายวิชัยขอร้องไม่ให้แพทย์บอกผลเลือดแก่นางวดีเพราะไม่ต้องการให้นางวดีเสียใจและต้องการให้นางมีความหวังว่าแแพทย์สามารถช่วยเหลือรักษานางได้ แพทย์ได้บอกให้พยาบาลเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ นางวดีซึ่งรู้สึกตัวดีตลอด พยายามที่จะถามพยาบาลผู้ให้การดูแลทุกครั้งว่าผลเลือดเป็นอย่างไร 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
43
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 3: สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน (Relationship/ Cooperation) นางสมศรี อายุ 60 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง ผู้ป่วยให้ประวัติว่าปวดมาตลอด แพทย์ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติใด ๆ แต่ก็เริ่มให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะฉีดเข้าหลอดเลือดและสั่งยาฉีด pethidine 50 mg. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 4-6 ชั่วโมง ต่อมาผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเพิ่มขึ้นอีก แพทย์ได้ทาการตรวจพิเศษต่าง ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุของความเจ็บปวดแต่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในช่องท้อง แพทย์ได้ลงความเห็นว่าผู้ป่วยคงจะเครียดและวิตกกังวลมากเกินไปจึงไม่สั่งยาแก้ปวดชนิดฉีดอีก ในขั้นต้นพยาบาลได้จัดยาแก้ปวดชนิดรับประทานให้ ผู้ป่วยบอกว่าทานแล้วอาการไม่ดีขึ้นขอเป็นยาฉีด พยาบาลที่ดูแลรู้สึกคับข้องใจมากเพราะโดยส่วนตัวไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยปวดจริงหรือไม่ และไม่อยากฉีดยาหลอกให้กับผู้ป่วยเพราะไม่อยากหลอกลวงผู้ป่วยในขณะเดียวกันก็ไม่อยากขัดแผนการรักษาของแพทย์ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
44
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 4:การจัดสรรทรัพยากร(Allocated resources) นายสมคิด อายุ 53 ปี ถูกนาส่งโรงพยาบาลด้วยอาการมีไข้สูง หายใจเหนื่อยหอบมาก แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน ผล arterial blood gas พบว่ามีภาวะขาดออกซิเจนมาก แพทย์เจ้าของไข้ต้องการให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาที่แผนก ICU เพราะผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤติและคิดว่าสามารถจาหน่ายผู้ป่วยออกจากแผนก ICU ได้ภายใน 2-3 วัน แต่ในขณะนั้นที่แผนก ICU ไม่มีเตียงว่างเลย แพทย์จึงได้แจ้งให้พยาบาลเวรรับทราบว่าต้องการย้ายผู้ป่วยเข้าด่วน ซึ่งพยาบาลเวรพิจารณาแล้วพบว่านางสุดา อายุ 80 ปี ซึ่งป่วยเป็นอัมพาตมีภาวะไตวายแทรกซ้อนร่วมด้วย แต่สภาพโดยทั่วไปคงที่มาตลอดจะเป็นผู้ที่ต้องย้ายออกจากแผนก ICU จึงได้รายงานแพทย์เจ้าของไข้นางสุดาเพื่อให้แพทย์ได้ทาการอนุญาต แต่แพทย์เจ้าของไข้นางสุดาต้องการให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวที่แผนก ICU ต่อเพราะมีความเห็นว่าอาการของผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้พยาบาลรู้สึกคับข้องใจมาก 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
45
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 5: การปกปิดความลับของผู้ป่วย(Confidentiality) นายเจตต์ อายุ 45 ปี แต่งงานแล้วมีบุตร 1 คน อายุ 3 ปี ผู้ป่วยมีประวัติติดยาเสพติด ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใกล้บ้าน เขาป่วยอย่างรุนแรงด้วยโรคที่สัมพันธ์กับเอดส์ ขณะที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ภรรยาของผู้ป่วยได้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยได้ขอร้องแพทย์และพยาบาลไม่ให้บอกกับภรรยาเกี่ยวกับโรคที่เขาเป็นอยู่ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่ภรรยาได้ถามเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยเพราะเห็นว่าอาการของผู้ป่วยไม่ทุเลาลง พยาบาลต้องการช่วยเหลือภรรยาผู้ป่วยเพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้รู้สึกคับข้องใจต่อประเด็นนี้มาก 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
46
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 6:การยืดชีวิตผู้ป่วย(Prolong life) คุณยายจันทร์ อายุ 82 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งตับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งอาการทรุดลงตามลำดับ วันหนึ่งผู้ป่วยบอกกับบุตรสาวว่าต้องการกลับบ้านถ้าจะตายก็ขอตายที่บ้าน เมื่อบุตรสาวของผู้ป่วยได้บอกกับแพทย์ เธอโดยตำหนิว่า “คุณเป็นลูกไม่สงสารแม่ ถ้ากลับบ้านผู้ป่วยจะทรมานมาก” พร้อมทั้งกำชับพยาบาลว่าไม่ให้อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ได้รบเร้าบุตรสาวที่จะกลับบ้าน และบอกกับบุตรสาวว่าตัวเองไม่กลัวตาย ถ้าจะตายก็ขอตายท่ามกลางญาติ ซึ่งบุตรสาวก็ยินยอมและเห็นด้วยกับผู้ป่วย จึงได้ปรึกษากับพยาบาลผู้ดูแล พยาบาลเห็นด้วยกับผู้ป่วยและญาติแต่ไม่อยากขัดคำสั่งแพทย์ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
47
Boromarajonani College of Nursing, Yala
สถานการณ์ที่ 7: พันธะหน้าที่ต่อวิชาชีพกับหน้าที่ต่อตนเอง (Professional obligation and duty to self) โรงพยาบาลขนาด 250 เตียงแห่งหนึ่ง ได้ รับผู้ป่วยเอดส์ 1 รายอายุ 48 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่เคยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการ AIDS dementia complex (ADC) และมีประวัติเคยทำร้ายพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลขณะให้การพยาบาลและขณะให้ยา ในครั้งนี้ผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาลด้วยมีอาการของภาวะปอดบวม พยาบาล ก. ซึ่งเป็นหัวหน้าเวรและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยรายนี้ ปฏิเสธที่จะให้การดูแลผู้ป่วยรายนี้โดยให้เหตุผลว่ากลัวที่จะถูกผู้ป่วยทำร้ายร่างกายและตนเองกำลังตั้งครรภ์ไม่ต้องการเสี่ยงต่อการได้รับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในขณะเดียวกันพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลคนอื่นๆก็ปฏิเสธที่จะให้การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้เนื่องด้วยกลัวที่จะถูกทำร้ายและได้รับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
48
Happy Yala City
49
Boromarajonani College of Nursing, Yala
อ้างอิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วณิชา พึ่งชมภู กลุ่มวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาตราจารย์ ดร.อรัญญา เชาวลิต, รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ขัมภลิขิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทัศนีย์ นะแส และ พว.เสารส จันทมาศ (บก.). (2558).คู่มือส่งเสริมจริยธรรม: สำหรับองค์การพยาบาล : กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพ: บริษัท จุดทองจำกัด. Jameton, A. (1984). Nursing Practice : The ethical issues. New Jersey : Prentice-Hall, Inc. 3/5/2016 Kritsana Chaleawsak
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.