งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน Biology (40242)

2 บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน 5.1 อาหารและการย่อยอาหาร 5.1.1 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์ 5.1.2 การย่อยอาหารของสัตว์ 5.1.3 การย่อยอาหารของคน 5.2 การสลายสารอาหารระดับเซลล์ 5.2.1 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน 5.2.2 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน

3 อาหารและการย่อยอาหาร

4 อาหาร อาหาร (food ) คือ สิ่งที่บริโภคเข้าไปแล้วให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยไม่มีพิษภัยหรือให้โทษแก่ร่างกาย ร่างกายจะต้องมีกระบวนการทำให้สารโมเลกุลใหญ่ เล็ก เรียกว่า กระบวนการย่อยอาหาร (digestion) Carbohydrate monosaccharide Protein amino acid Lipid fatty acid

5 การย่อยอาหาร การย่อยอาหาร หมายถึง กระบวนการแปรสภาพขนาดโมเลกุลของสารอาหาร จากโมเลกุลขนาดใหญ่ จนเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้        การย่อยอาหารในสิ่งมีชีวิต จุลินทรีย์ ย่อยภายใน Food vacuole ไฮดรา และ พลานาเรีย ย่อยภายใน Gastrovascular cavity ไส้เดือนดินมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยคอหอย (Pharynx) หลอดอาหาร (Esophagus) กระเพาะพักอาหาร (Crop) กึ๋น (GIZZARD) และลำไส้ สัตว์กินพืช เช่น วัว ควาย แพะ แกะ มีกระเพาะ 4 ส่วน คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว) และ Reticulum (รังผึ้ง) ซึ่งมีแบคทีเรียที่ย่อยเซลลูโลสถัดมาคือ Omasum (สามสิบกลีบ) และกระเพาะจริง (Abomasum) และมีไส้ติ่งขนาดใหญ่ช่วยในการย่อยอาหารได้

6 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์

7 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
การย่อยอาหารของราและแบคทีเรีย การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตพวกโพรโตซัว (Protozoa) อะมีบา (Amoeba) พารามีเซียม (Paramecium)

8 การย่อยอาหารของ bacteria and fungi
การย่อยอาหารของราและแบคทีเรีย ราและแบคทีเรียดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยอินทรียสารในระบบนิเวศโดยการส่งเอนไซม์ออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เป็นอาหาร แล้วดูดซึมสารอาหารโมเลกุลเดี่ยวเข้าสู่เซลล์ ในจุลินทรีย์มีเอนไซม์หลายชนิด เช่น Amylase , Protiase , Lipase , Lactase , Invertase เป็นต้น

9 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์บางชนิดไม่สามารถย่อยอินทรียสารได้ แต่จะดูดซึมอินทรียสารที่มีโมเลกุลเดี่ยวๆเข้าไปในเซลล์ ได้แก่ พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิต แบคทีเรียบางพวกสร้างอาหารเองได้ เช่น แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ในปัจจุบันมีการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยนำเอนไซม์ของจุลิน ทรีย์มาใช้ประโยชน์มากขึ้น มีการสกัดสารพวกเอนไซม์ต่าง ๆ ของเซลล์ จุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างกว้างขวาง รวมถึงการนำจุลินทรีย์มากำจัดน้ำเสีย เช่น ผสมจุลินทรีย์ในสารที่ใช้ทำความสะอาดท่อน้ำ หรือใช้แบคทีเรียย่อยสลายคราบน้ำมัน นอกจากนี้การย่อยของจุลินทรีย์ยังทำให้ได้สารที่นำไปสู่กระบวนการหมักซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการผลิตด้านอุตสาหกรรม

10 การย่อยอาหารของ Protozoa
อาหารที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ สามารถแพร่เข้าออกจากเซลล์ไปสู่สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวได้โดยอาศัยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ที่ล้อมรอบลำตัว อาหารที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์ได้ โพรโตซัวแต่ละชนิดจะมีวิธีการนำอาหารเข้าสู่เซลล์แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น อะมีบา (Amoeba) ใช้เท้าเทียม (Pseudopodium) ยื่นโอบล้อมรอบอาหาร เรียกว่า Phagocytosis พารามีเซียม (Paramecium) ใช้ขน (Cilia) โบกให้อาหารเข้าสู่ร่องปาก (Oral groove) ซึ่งเว้าเข้าไปภายในเซลล์ เรียกว่า Pinocytosis อาหารที่ถูกนำเข้าไปภายในเซลล์จะอยู่ในถุงอาหาร (Food Vacuole) ซึ่งถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซม (Lysosome) ได้สารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กจนเซลล์สามารถนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ

11 Amoeba : 1 pseudopodium, 2 nucleus, 3 contractile vacuole, food vacuole

12 Paramecium

13 การย่อยอาหารของสัตว์

14 การย่อยอาหารของสัตว์
การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร ฟองน้ำ (Sponge) การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดรา (Hydra) พลานาเรีย (Planaria) การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหาร ไส้เดือนดิน (Earth Worm) แมลง (Insect) ปลา (Fish) สัตว์ปีก (Aves) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)

15 ฟองน้ำ (Sponge) จัดเป็นสัตว์กลุ่มแรก ซึ่งโครงสร้างที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกินและแปรสภาพอาหารยังไม่พัฒนาให้เห็นชัดเจนเหมือนสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ การกินและการย่อยอาหารจึงต้องอาศัยเซลล์ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1.คอลลาร์เซลล์ (Collar Cell) คือ โคแอนโนไซต์ (Choanocyte) เป็นเซลล์ขนาดเล็กคล้ายปลอกคอ มีแฟลเจลลัม (Flagellum) 1 เส้น ยื่นออกมาจากคอลลาร์เซลล์ 2. อะมิโบไซต์ (Amoebocyte) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่กว่าคอลลาร์เซลล์ พบทั่วไปบริเวณผนังลำตัวของฟองน้ำ อาหารจำพวกแบคทีเรียและอินทรียสารขนาดเล็กไม่เกิน 1 ไมครอนที่ปะปนอยู่ในน้ำ จะถูกแฟลเจลลัมของคอลลาร์เซลล์จับเป็นอาหาร และไซโทพลาซึมจะรับอาหารเข้าสู่เซลล์แบบ phagocytosis สร้างเป็น Food Vacuole แล้วอาหารจะถูกย่อยโดยเอนไซม์จาก lysosome ส่วนอาหารขนาดใหญ่ประมาณ 5-50 ไมครอน อะมิโบไซต์ (Amoebocyte) สามารถจับแล้วสร้าง Food Vacuole และจะถูกย่อยโดยเอนไซม์จาก lysosome เช่นเดียวกัน

16 ฟองน้ำ (Sponge)

17 ฟองน้ำ (Sponge)

18 ฟองน้ำ (Sponge)

19 ไฮดรา (Hydra) ไฮดรา (hydra) มีช่องภายในลำตัวเพียงช่องเดียว คือ ปากร่วมกับทวารหนัก ไฮดราจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) อยู่บริเวณหนวด (tentacle) ซึ่งจะปล่อยพิษออกมาทำร้ายเหยื่อในน้ำ แล้วจับเหยื่อส่งเข้าสู่ปากผ่านเข้าสู่ช่องกลางลำตัว (Gastrovascular Cavity) ที่ผนังลำตัวจะมี เซลล์แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ซึ่งทำหน้าที่ เกี่ยวกับการย่อยอาหาร ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ 1. เซลล์ต่อม (Gland Cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่ สร้างน้ำย่อยส่งอกไปย่อยอาหารที่อยู่ใน Gastrovascular Cavity ซึ่งเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular Digestion) กากอาหารจะถูกขับถ่ายออกทางช่องปาก 2. เซลล์ย่อยอาหาร (Digestive or Nutritive Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า Gland Cell ส่วนปลายมี flagellum ทำหน้าที่ จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ สามารถสร้าง Food Vacuole ได้แบบเดียวกับอะมีบา เกิดการย่อยภายในเซลล์ (Intracellular Digestion

20 ไฮดรา (Hydra)

21 Nematocyst

22 Gastrovascular cavity

23 พลานาเรีย (Planaria) พลานาเรีย (Planaria) โครงสร้างที่เกี่ยวกับการกินและการย่อยอาหารของพลานาเรียสูงกว่าไฮดราเล็กน้อย เริ่มต้นจากช่องปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดรับอาหารและขับถ่ายกากอาหาร คอหอย (Pharynx) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงยาว มีเซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงยืดตัวและหดตัวได้ สามารถยื่นออกมาจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหารได้ เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ปากจะเข้าสู่ทางเดินอาหารที่มีแขนงแยกออกไปสองข้างของลำตัวและแตกแขนงไปทั่วร่างกาย ทำหน้าที่ย่อยอาหารโดยเฉพาะ อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ไปทั่วร่างกาย

24 พลานาเรีย (Planaria)

25 พลานาเรีย (Planaria)

26 ไส้เดือนดิน (Earthworm)
1. ปาก (Mouth) อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่ 2. คอหอย (Pharynx) อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้ 3. หลอดอาหาร (Esophagus) อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร 4. กระเพาะพักอาหาร (Crop) อยู่บริเวณปล้องที่ ลักษณะเป็นถุงผนังบาง 5. กึ๋น (Gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มีขนาดเล็กลง 6. ลำไส้ (Intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย 7. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย

27 ไส้เดือนดิน (Earthworm)

28 ไส้เดือนดิน (Earthworm)

29 ไส้เดือนดิน (Earthworm)

30 การย่อยอาหารของไส้เดือนดิน
ปาก--> ช่องปาก--> คอหอย--> หลอดอาหาร --> กระเพาะอาหาร--> กระเพาะบดอาหาร --> ลำไส้ --> ทวารหนัก

31 แมลง (Insect) แมลง (Insect) โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของแมลงประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) แมลงมีปากหลายลักษณะตามความเหมาะสมในการกินอาหารและการใช้งาน เช่น ปากแบบกัดกิน (Chewing Type) มีกราม (Mandible) และฟัน (Maxilla) แข็งแรง เหมาะกับการกัดและเคี้ยว เช่น ตั๊กแตน เป็นต้น ปากแบบเจาะดูด (Piercing-Sucking Type) เช่น ยุง เป็นต้น ปากแบบดูดกิน (Siphoning Type) เช่น ผีเสื้อ เป็นต้น 2. ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland) เป็นต่อมสีขาว รูปร่างคล้ายกิ่งไม้ อยู่ติดกันเป็นถุง น้ำลายของแมลงแต่ละชนิดก็มีประโยชน์แตกต่างกัน 3. คอหอย (Pharynx) ลักษณะเป็นหลอดขนาดเล็ก กล้ามเนื้อหนาแข็งแรง 4. หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นทางเดินอาหารที่ต่อจากคอหอย 5. ถุงพักอาหาร (Crop) เป็นทางเดินอาหารที่พองออกจรเป็นถุงใหญ่สำหรับเก็บอาหาร

32 แมลง (Insect) 6. กึ๋น (Gizzard or Provintriculus) เป็นกระเปาะแข็งๆที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง แมลงบางชนิดในกึ๋นจะมีหนามแหลมๆ ยื่นออกไปรวมกันตรงกลาง ช่วยในการย่อยเชิงกลและกรองอาหาร 7. เฮพาติกซีกา (Hepatic Caeca or Digestive Caeca) ทำหน้าที่ สร้างน้ำย่อยเข้าสู่ทางเดินอาหารส่วนกลาง (Mid Gut) 8. กระเพาะอาหาร (Stomach) มีลักษณะเป็นหลอดอยู่ระหว่างกึ๋นกับลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ ย่อยอาหารทางเคมีโดยรับน้ำย่อยจาก Hepatic Caeca 9. ลำไส้เล็ก (Ileum) ทำหน้าที่ ย่อยอาหารทางเคมี และดูดซึมสารอาหาร 10. ลำไส้ใหญ่ (Colon) ลักษณะเป็นกล้ามเนื้อแข็งแรง 11. ไส้ตรง (Rectum) ลักษณะพองโตเล็กน้อย 12. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดที่อยู่ตรงปลายสุดของทางเดินอาหาร ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารและของเสียในรูปของแข็ง

33 แมลง (Insect)

34 แมลง (Insect)

35 แมลง (Insect)

36 แมลง (Insect)

37 ปลา (Fish) ปลา (Fish) ปลาบางชนิดกินพืช บางชนิดกินสัตว์ ทางเดินอาหารจึงต่างกัน โดยปลากินสัตว์จะมีทางเดินอาหารที่สั้นกว่า แต่ผนังทางเดินอาหารแข็งแรงกว่าปลากินพืช โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของปลาประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) ภายในปากมีฟัน ใช้สำหรับจับอาหารให้มั่นคงมากกว่าใช้เคี้ยวอาหาร มีต่อมเมือก แต่ไม่มีต่อมน้ำลาย มีลิ้นทำหน้าที่ รับรสอาหาร 2. คอหอย (Pharynx) เป็นบริเวณที่มีทางแยกเข้าสู่เหงือก เพื่อให้น้ำที่เข้าทางปากผ่านเหงือกออกมา ซึ่งเป็นการหายใจของปลา ส่วนอาหารจะผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหารต่อไป 3. หลอดอาหาร (Esophagus) ทำหน้าที่ เป็นทางผ่านของอาหาร

38 ปลา (Fish) 4. กระเพาะอาหาร (Stomach) ทำหน้าที่ ย่อยอาหารทางเคมีระยะหนึ่ง ปลายกระเพาะอาหารจะคอดเล็กลง มีกล้ามเนื้อเป็นลิ้นปิดเปิด เรียกว่า Pyloric Valve ทำหน้าที่ ควบคุมการเคลื่อนที่ของอาหารจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้ 5. ลำไส้ (Intestine) เมื่ออาหารผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้โดยการขยายตัวของ Pyloric Valve อาหารจะถูกย่อยทางเคมีโดยน้ำย่อยจาก Pyloric Caeca ได้เป็นสารอาหารจึงจะถูกดูดไปเลี้ยงร่างกายต่อไป 6. ทวารหนัก (Anus) อยู่ปลายสุดของลำไส้ เปิดออกสู่ภายนอกตรงบริเวณส่วนหน้าของ Anal Fin ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหาร 7. ตับ (Liver) มีขนาดใหญ่ อยู่ภายในช่องท้องตอนหน้าใกล้กับหัวใจ ทำหน้าที่ สร้างน้ำดีเก็บไว้ในถุงน้ำดี (Gall Bladder) ซึ่งมีท่อน้ำดี (Bile Duct) เปิดสู่ลำไส้

39 ปลา (Fish)

40 ปลา (Fish)

41 สัตว์ปีก (Aves) สัตว์ปีก (Aves) โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของไก่ เป็ด และนกประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) ปากของสัตว์ปีกแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่กิน ในปากไม่มีฟัน 2. คอหอย (Pharynx) 3. หลอดอาหาร (Esophagus) 4. ถุงพักอาหาร (Crop) ทำหน้าที่ เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง 5. กระเพาะอาหาร (Stomach) 6. กึ๋น (Gizzard) ทำหน้าที่ บดอาหารให้ละเอียด หรือมีขนาดเล็กลง เป็นการย่อยเชิงกล 7. ลำไส้ (Intestine) ทำหน้าที่ ย่อยทางเคมี และดูดซึมสารอาหาร 8. ลำไส้ใหญ่ (Colon) ทำหน้าที่ กำจัดกากอาหารออกนอกร่างกาย 9. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดปลายสุดของลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ ขับถ่ายกากอาหาร และของเสียจำพวกกรดยูริก

42 สัตว์ปีก (Aves)

43 สัตว์ปีก (Aves)

44 สัตว์ปีก (Aves)

45

46 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)
1. Rumen เรียกว่า ผ้าขี้ริ้ว มีลักษณะเป็นผนังยื่นออกมา ทำหน้าที่ หมักอาหารโดยจุลินทรีย์ อาหารจะถูกส่งออกมาเคี้ยวเอื้องอีกครั้งหนึ่งเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียด 2. Reticulum เรียกว่า กระเพาะรังผึ้ง 3. Omasum เรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ 4. Abomasum หรือ กระเพาะจริง จะมีการย่อยอาหารทางเคมี และส่งอาหารต่อไปยังลำไส้เล็ก เพื่อย่อยอาหารที่กินเข้าไป และย่อยจุลินทรีย์เป็นอาหารต่อไป

47 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)
อาหารส่วนใหญ่ที่สัตว์เคี้ยวเอื้องกินเข้าไปเป็นพวกพืชที่มีเซลลูโลสซึ่งต้องใช้เวลาหลายวันในการย่อย ดังนั้น สัตว์เคี้ยวเอื้องจึงต้องกินอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การที่สัตว์เคี้ยวเอื้องมีกระเพาะ 4 ส่วนจึงเป็นผลดีในการช่วยเก็บสำรองอาหารไว้ในกระเพาะอาหารเพื่อสำรอกออกมาเคี้ยวใหม่ และกลืนกลับเข้าไป อาหารที่อยู่ในกระเพาะเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะช่วยย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกรดไขมันอย่างง่ายเพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป นอกจากนี้จุลินทรีย์เหล่านี้ยังช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน และวิตามิน B12 อีกด้วย

48 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)

49 The stomach of ruminants has four compartments: the rumen, reticulum, omasum and abomasum, as shown in the following diagram:

50 The interior of the rumen, reticulum and omasum is covered exclusively with stratified squamous epithelium

51 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)

52 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)

53 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal)

54 Reference http://61.19.145.7/student/web42106/504/504-1941/file.html

55 Thank you Miss Lampoei Puangmalai Department of science
Major of biology St. Louis College Chachoengsao

56 พลานาเรีย (Planaria)

57 พลานาเรีย (Planaria) 1. Cerebral ganglion 2. Auricle
3. Ventral nerve cord 4. Ovary 5. Testis 6. Pharynx 7. Gastrovascular cavity 8. Circular muscle layer 9. Longitudinal muscle layer

58 Gastrovascular

59 Daphnia - a large (~2. 5mm) zooplankton
Daphnia - a large (~2.5mm) zooplankton.  A filter feeder, Daphnia feed on small algae up to ~100 mm in size. Depending on the species, Daphnia can filter from 3-6 ml of water per day.  NOTE: 3 embryos in the brood pouch. 

60

61

62


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google