ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
13 October 2007
2
Decision Support Systems
13 July 2002 บทที่ 9 การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ Decision Support Systems Development Decision Support Systems
3
การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยี อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่จะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ กับโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่แล้วขององค์กร โดยเสียค่าใช้จ่ายในระดับที่ผู้บริหารพอใจ หากมองในด้านของการพัฒนาระบบในระดับองค์กร นักพัฒนาระบบยังจะต้องตระหนักถึงการทำงานในระดับองค์กร ที่มีส่วนงานต่าง ๆ แยกกันออกไป แต่มีความเกี่ยวข้องกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ด้วยการใช้สารสนเทศร่วมกัน จึงจะทำให้การบริหารจัดการ องค์กร และการตัดสินใจในระดับองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในแนวทางหรือขั้นตอนการพัฒนาระบบเป็นอย่างดีก่อนลงมือดำเนินการต่อไป 13 October 2007
4
เนื้อหา แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ทีมงานในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาโดยผู้ใช้ระดับต่าง ๆ การติดตั้งระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แนวทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
5
เนื้อหา (ต่อ) กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การรวมระบบ (System Integration) รูปแบบทั่วไปของการรวมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รูปแบบการรวมระบบ ES และ DSS การรวมระบบระหว่าง EIS, DSS และ ES ระบบ DSS ที่ชาญฉลาด การจัดการแบบจำลอง และสร้างแบบจำลองที่ชาญฉลาด
6
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เนื่องจากความแตกต่างของประเภทธุรกิจ องค์กร ผู้ตัดสินใจ และประเภทของปัญหาที่จะต้องตัดสินใจเพื่อการแก้ไข ระยะเวลาในการใช้งาน จึงทำให้แนวทางในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจดังกล่าว มีอยู่หลายแนวทางแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของผู้คิดค้น จึงไม่มีแนวทางใดที่นับได้ว่าดีที่สุดสำหรับองค์กรใด ๆ *******ปรับปรุง
7
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
แนวทางในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่นิยมใช้กัน วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) Parallel Development Rapid Application Development (RAD) Phased Development Prototyping Throw-Away Prototyping Object-Oriented Analysis and Design *******ปรับปรุง
8
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การจัดทำต้นแบบ (Prototyping) แนวทางในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่นิยมใช้กันมากแนวทางหนึ่งคือ การจัดทำต้นแบบ (Prototyping) ซึ่งเป็นแนวทางที่ประยุกต์มาจากวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) โดยจะทำการพัฒนาการทำงานทีละโมดูลจนสมบูรณ์ จากนั้นจึงนำไปทดสอบการทำงาน โดยให้ผู้ใช้นำไปใช้งาน แล้วจึงทำการพัฒนาโมดูลอื่นๆ ต่อไป ซึ่งการเรียนรู้ระบบจริงจากผู้ใช้และผู้เชี่ยวชาญระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะช่วยให้นักพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สามารถนำองค์ความรู้ใหม่ รวมเข้ากับองค์ความรู้เดิม เพื่อนำไปใช้พัฒนาโมดูลอื่นต่อไป *******ปรับปรุง
9
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) มีขั้นตอนพื้นฐานที่เหมือนกันอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน (Planning) การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) และการติดตั้งระบบ (Implementation) ความต้องการ การวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา ระบบสนับสนุน การตัดสินใจ
10
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ขั้นตอนในวงจรพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 1. ขั้นตอนการวางแผน (Planning) เริ่มต้นจากความต้องการทั้งหมดขององค์กร จากนั้นวิเคราะห์หาแนวทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจอย่างคร่าว ๆ และศึกษาความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ โดยละเอียด เมื่อโครงการได้รับการตรวจสอบแล้ว ผู้บริหารโครงการจะทำการกำหนดแผนงานด้านต่าง ๆ
11
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ขั้นตอนในวงจรพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 2. ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) เริ่มต้นการเก็บรวบรวมความต้องการของระบบที่แท้จริงอย่างละเอียด จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ความต้องการต่าง ๆ โดยพิจารณาจากปัญหาที่ต้องการให้ระบบช่วยแก้ไข แล้วนำไปสู่การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ โดยสร้างเป็นแบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling) ข้อมูลที่จะต้องมีในระบบใหม่ โดยสร้างเป็นแบบจำลองข้อมูลของระบบใหม่ (Data Modeling)
12
แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ขั้นตอนในวงจรพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 3. ขั้นตอนการออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนที่ระบุวิธีการทำงาน และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ เรียกว่า “รายละเอียดเฉพาะของระบบ (System Specification) 4. ขั้นตอนการพัฒนา/สร้างระบบ (Implementation) เป็นขั้นตอนการสร้าง ทดสอบความถูกต้องในการทำงานของระบบ และติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดทำเอกสารต่าง ๆ
13
วงจรการพัฒนาระบบ (เต็มรูปแบบ)
Planning Analysis Design Implementation Testing Debugging Installation Maintenance
14
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)
การวางแผน (Planning) การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนาระบบ (Implementation) การทดสอบ (Testing) การตรวจสอบข้อผิดพลาด (Debugging) การติดตั้งระบบ (Installation) การดูแลรักษาระบบ (Maintenance)
15
Computer-Aided System Engineering Tools: CASE Tools
CASE Tools โปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ช่วยพัฒนาระบบ คอยสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนา ด้วยการเตรียมฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานแต่ละขั้นตอนมีความรวดเร็ว และมีคุณภาพมากขึ้น เช่น Oracle Enterprise Development Suit, Rational Rose, Logic Works Suite เป็นต้น CASE Tools ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง อ้างอิงจาก SDLC คือ Upper-CASE ช่วยงานในขั้นตอนต้นๆ ของการพัฒนาระบบ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์ และการออกแบบ Lower-CASE ช่วยงานในขั้นตอนสุดท้ายในการพัฒนาระบบ เช่น การออกแบบ การพัฒนา การตรวจสอบ และการดูแลรักษาระบบหลังการติดตั้ง
16
Development Methodology
วิธีการพัฒนาระบบ Parallel Development Rapid Application Development (RAD) Phased Development Prototyping Throw-Away Prototyping
17
Parallel Development Parallel Development แบ่งระบบทั้งหมดออกเป็นระบบย่อย จำแนกตามองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้แก่ ระบบการจัดการข้อมูล (Data Management System) ระบบการจัดการแบบจำลอง (Model Management System) ระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System) ระบบจัดการสื่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface Management System) จากนั้นเริ่มพัฒนาระบบย่อย ไปพร้อม ๆ กัน จนเสร็จ แล้วนำมารวมเป็นระบบใหญ่ 1 ระบบ
18
Rapid Application Development (RAD)
RAD เป็น Methodology ที่ว่าด้วยการปรับระยะในวงจรการพัฒนาระบบ ให้มีขั้นตอนการทำงานที่รวบรัดมากขึ้น มีการเลือกเครื่องมือ (Tools) และเทคนิค (Techniques) ต่างๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ใช้ระบบยังสามารถทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบ เพื่อบอกนักพัฒนาระบบได้ว่า ระบบที่ออกแบบมานั้นถูกต้องหรือไม่ และมีข้อผิดพลาดใดเกิดขึ้นบ้าง ข้อเสีย คือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากผู้ใช้ได้ทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบ ที่สามารถสร้างและแก้ไขได้โดยง่าย
19
Phased Development Phased Development เป็นวิธีการพัฒนาโดยแบ่งระบบออกเป็น Version เพื่อพัฒนาครั้งละ Version ตามลำดับ Version 1 จะพัฒนาตามความต้องการที่สำคัญที่สุดก่อน โดย นำความต้องการเหล่านั้นมาวิเคราะห์ (Analysis) ออกแบบ (Design) และพัฒนาระบบ (Implement) จนเป็น Version 1 ที่สามารถติดตั้งและใช้งานจริงได้ แล้วจึงเริ่มพัฒนาระบบ Version 2 ต่อไป Version 2 จะนำระบบจาก Version 1 มาวิเคราะห์ความ ต้องการอีกครั้ง และเพิ่มความต้องการใหม่เข้าไป จากนั้นจึง ออกแบบ และพัฒนาเป็น Version 2 ปฏิบัติเช่นนี้ไปจนกระทั่งได้ Version ที่สมบูรณ์ที่สุด
20
Phased Development Analysis Planning Design Analysis Implementation
System Vorsion 1 Implementation System Vorsion 2 *******ปรับปรุง
21
Phased Development ข้อดี ผู้ใช้สามารถใช้ระบบได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าระบบ Version 1 จะยังไม่สามารถทำงานได้ครอบคลุมหน้าที่ทุกส่วนงานก็ตาม ข้อเสีย ผู้ใช้ต้องรอระบบที่สมบูรณ์ (ต่อจาก Version 1)
22
การจัดทำต้นแบบ (Prototyping)
เป็นการพัฒนาต้นแบบ หรือระบบขนาดเล็ก ที่สามารถใช้งานระบบได้บางส่วน เพื่อให้สามารถตรวจสอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราทราบทิศทางในการพัฒนาระบบว่าดำเนินไปอย่างถูกต้อง ตรงกับความต้องการ
23
สาเหตุของการนำ Prototype มาใช้พัฒนาระบบ
สามารถพัฒนาได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ การยอมรับจากผู้ใช้งานระบบ การพัฒนาระบบแบบมีส่วนร่วม (Joint Application Development Method: JAD) ระหว่าง ผู้ใช้ ผู้พัฒนาระบบ และผู้บริหารต้นทุนต่ำ และใช้เวลาในการพัฒนาระบบน้อย
24
Prototype–based Methodology
วิธีการพัฒนาที่นักพัฒนาระบบสามารถดำเนินการในขั้นตอน วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาระบบไปพร้อมๆ กันแล้วสร้างเป็นตัวต้นแบบของระบบ (System Prototype) ที่สามารถทำงานได้จริงในบางส่วนของระบบหรือทีละส่วน ซึ่งอาจเรียกว่า “ระบบต้นแบบ” แล้วนำตัวต้นแบบของระบบนั้นเสนอให้ผู้ใช้ระบบได้ทดลองใช้งาน เพื่อเก็บความต้องการที่เหลือ และข้อคิดเห็นของระบบ จากนั้นนำความต้องการที่เพิ่ม และข้อคิดเห็นมาวิเคราะห์ และออกแบบ และพัฒนาต้นแบบส่วนที่ 2 จากนั้นจึงนำไปให้ผู้ใช้งานทดลองใช้ และปรับปรุงไปเรื่อยๆจนกว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์เป็นต้นแบบที่ทำงานได้สมบูรณ์ จึงเรียกต้นแบบนั้นว่า “ระบบใหม่”
25
Prototyping Planning Analysis Accept System Design Prototype
Implementation System Implementation Reject *******ปรับปรุง
26
Throw-Away Prototyping
เป็นการพัฒนาแบบ Prototyping ในส่วนของ การสร้างต้นแบบระบบ โดย Prototype ที่ได้จะไม่ใช่ต้นแบบระบบที่จะนำไปใช้งานจริง แต่ทำเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใช้ (Design Prototype) อาจเรียกว่า “ต้นแบบใช้แล้วทิ้ง (Throw-Away Prototype)”
27
Throw-Away Prototyping
Planning Accept Design Analysis Design Prototype Design Implementation Implementation System Reject
28
การจัดทำต้นแบบ (Prototyping)
ข้อดีของการจัดทำต้นแบบ 1. ใช้เวลาในการพัฒนาน้อย และระบบพัฒนาสามารถใช้สนับสนุนการ ตัดสินใจได้ 2. ใช้เวลาในการรอผลตอบสนองจากผู้ใช้ไม่มาก 3. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจระบบได้ดีขึ้น ทั้งในด้านสารสนเทศที่ ระบบต้องการ และความสามารถของระบบ 4. การจัดทำต้นแบบเป็นแนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่ใช้ต้นทุนต่ำ
29
การจัดทำต้นแบบ (Prototyping)
ข้อจำกัดในการจัดทำต้นแบบ 1. เนื่องจากการจัดทำต้นแบบเป็นวิธีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขนาดเล็กทีละส่วน อาจทำให้ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย และค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยรวม การจัดทำต้นแบบให้ความสำคัญต่อความต้องการสารสนเทศของระบบต้นแบบ และสนใจแต่ความต้องการสารสนเทศขององค์กรโดยสังเขป จึงอาจทำให้นักพัฒนาระบบขาดความเข้าใจความต้องการสารสนเทศขององค์กรโดยละเอียด
30
การจัดทำต้นแบบ (Prototyping)
ข้อจำกัดในการจัดทำต้นแบบ 3. ในการพัฒนาระบบต้นแบบโดยอาศัย CASE Tool อาจทำให้ยากต่อการควบคุมความสอดคล้องของส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ต้องทดสอบระบบบ่อยครั้ง เนื่องจากระบบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงยากต่อการบำรุงรักษาระบบ
31
ทีมงานในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การออกแบบพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน เนื่องจากมีกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตงานหลากหลาย ดังนั้นจึงต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และความเข้าใจของบุคคลหลายระดับด้วยกัน ผู้ใช้งานระบบ (Users) นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบ (System Analyst) โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค (Technical Expert) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
32
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาระบบสารสนเทศ
13 October 2007
33
บุคลากรในระบบสารสนเทศ โปรแกรมเมอร์
ผู้บริหาร พนักงาน 13 October 2007
34
บุคคลากรในระบบสารสนเทศ
นักวิเคราะห์ระบบ 13 October 2007
35
บุคคลากรในระบบสารสนเทศ
ผู้บริหาร 13 October 2007
36
บุคคลากรในระบบสารสนเทศ
ผู้ใช้งาน 13 October 2007
37
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม มีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ระบบ ติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ มีความรู้ทางด้านธุรกิจขององค์กร มีความสามารถในการแก้ปัญหาและการวิเคราะห์ 13 October 2007
38
การจำแนกระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาโดยผู้ใช้
มีการจำแนกระบบสนับสนุนการตัดสินใจตามผู้พัฒนาระบบออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาโดยผู้ใช้ (End User-Developed DSS) เหมาะสำหรับปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อน หรือเป็นปัญหาที่มีโครงสร้าง เช่น ผู้ใช้งานใช้ MS Excel ในการช่วยตัดสินใจ 2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาโดยทีมงานเฉพาะ (Team-Developed DSS) เหมาะสำหรับระบบขนาดใหญ่ ที่ใช้แก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนสูง ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง และปัญหากึ่งโครงสร้าง
39
การติดตั้งระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การติดตั้งระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อมีการทดสอบระบบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่ตรวจพบแล้วเรียบร้อยในเบื้องต้น และมั่นใจว่าระบบนั้นพร้อมที่จะใช้งาน แนวทางที่เหมาะสมในการติดตั้ง แบ่งออกเป็น 4 แนวทางดังนี้ 1.การติดตั้งแบบทันทีทันใด (Direct Installation) 2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Installation) 3. การติดตั้งแบบนำร่อง (Pilot Installation) 4. การติดตั้งแบบทยอยติดตั้งเป็นระยะ (Phase Installation)
40
การติดตั้งแบบทันทีทันใด (Direct Installation)
เป็นวิธีการติดตั้งระบบงานใหม่ทันที และยกเลิกการใช้งานระบบเก่าโดยทันทีเช่นเดียวกัน ข้อดี เสียค่าใช้จ่ายน้อย ข้อเสีย มีความเสี่ยงสูง ยกเลิกการใช้งานระบบเดิม ระบบเก่า ระบบใหม่ เวลา ติดตั้งระบบใหม่
41
การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Installation)
เป็นวิธีการติดตั้งที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการดำเนินการ 2 ระบบไปพร้อม ๆ กัน ยกเลิกการใช้งานระบบเดิม ระบบเก่า ติดตั้งระบบใหม่ ระบบใหม่ เวลา ใช้ระบบใหม่พร้อมกับระบบเก่า
42
การติดตั้งแบบนำร่อง (Pilot Installation)
เป็นวิธีการที่มีการใช้งานระบบใหม่เพียงหน่วยเดียวขององค์กร เพื่อเป็นการนำร่อง แล้วค่อยปรับเปลี่ยนทั้งองค์กร เมื่อระบบใหม่ลงตัวแล้ว เช่นแรกๆ ใช้ระบบใหม่ในแผนกจัดซื้อแผนกเดียวก่อน ข้อดี เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 2 วิธีแรก ระบบเก่า ติดตั้งระบบใหม่ ระบบใหม่ เวลา ใช้ระบบใหม่แต่ระบบเก่ายังคงใช้งานอยู่
43
การติดตั้งแบบทยอยติดตั้งเป็นระยะ (Phase Installation)
เป็นวิธีการที่มีการใช้ระบบงานใหม่เพียงบางส่วนก่อนระยะหนึ่งควบคู่ไปกับระบบงานเก่า แล้วจึงค่อย ๆ ทยอยใช้ระบบงานใหม่เพิ่มขึ้นที่ละส่วน จนครบทุกส่วนของระบบงานใหม่อย่างเต็มรูปแบบ มีลักษณะคล้ายระบบนำร่อง คือ เริ่มจากจุดเดียวก่อน แตกต่างกันตรงที่วิธีแบบทยอยติดตั้งเป็นระยะ จะไม่คำนึงถึงสถานที่ แต่คำนึงถึงระบบงานย่อย โดยการติดตั้งทีละระบบ อาจจะเป็นการกระจายไปตามสาขาต่าง ๆ ที่มีการใช้งานระบบงานย่อยนั้น เมื่อระบบงานย่อยนั้นสมบูรณ์แล้ว จึงเริ่มนำระบบงานย่อยต่อไปมาใช้งาน
44
การติดตั้งแบบทยอยติดตั้งเป็นระยะ (Phase Installation)
ระบบเก่า B ระบบใหม่ Phase 2 ติดตั้งระบบใหม่ ระบบใหม่ Phase 3 เวลา เริ่มใช้ระบบใหม่ Phase 1 เริ่มใช้งานระบบใหม่ Phase 3 ขนานกับ Phase 2 เริ่มใช้งาน Phase 2 ขนานกับระบบเก่า และระบบใหม่ Phase 3
45
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบ DSS จำแนกตามระดับเทคโนโลยีที่ใช้ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ เครื่องมือสำหรับเริ่มต้นพัฒนาระบบ (DSS Primary Tools) เครื่องมือสำหรับสร้างระบบ (DSS Generator Tools) โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ (Specific DSS)
46
เครื่องมือสำหรับเริ่มต้นพัฒนาระบบ
1. เครื่องมือสำหรับเริ่มต้นพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Primary Tools) เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจที่ใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำที่สุด และใช้เป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระดับต่อ ๆ ไป ตัวอย่างของเครื่องมือพัฒนาระบบที่ใช้เทคโนโลยีระดับนี้ คือ ภาษาโปรแกรม (Programming Language) โปรแกรมทางด้านกราฟิก (Graphic Program) โปรแกรมในการเรียบเรียงและรวบรวมสารสนเทศ (Editor Program) ระบบสอบถามข้อมูล (Query System) เครื่องมือสร้างตัวเลขสุ่ม (Random Number Generator) ฯลฯ
47
เครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
2. เครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Generator Tools) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “DSS Integrated Tools” เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูป โดยเครื่องมือในระดับนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยความสามารถต่าง ๆ มากมาย เช่น สร้างแบบจำลองสำหรับแก้ไขปัญหาประเภทต่าง ๆ สามารถสร้างรายงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และสามารถแสดงผลทางด้านกราฟิก เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่ายแก่ผู้ใช้ เช่น Microsoft Excel, OLAP System, LINGO, LINDO เป็นต้น
48
เครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
3. โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ (Specific DSS) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “DSS Application” คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ได้จากการดำเนินการพัฒนาระบบจนครบทุกขั้นตอน ซึ่งจะได้โปรแกรมสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจโดยเฉพาะ
49
ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือสามระดับ ที่ใช้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
Specific DSS DSS Generator (Spreadsheet…) DSS Primary Tools (Language…) รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือทั้ง 3 ระดับ ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ DSS
50
เครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
แนวทางในการใช้เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจมี 2 แนวทาง แนวทางแรก นักพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ใช้เครื่องมือสำหรับเริ่มต้น เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จากนั้นจึงนำเครื่องมือที่ได้มาสร้างโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจต่อไป แนวทางที่สอง คือ การพัฒนาระบบใช้เครื่องมือสำหรับเริ่มต้นพัฒนา สร้างโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้โดยตรง
51
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ DSS
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยจำแนกตามรูปแบบเฉพาะของซอฟต์แวร์ ที่ใช้สร้างเครื่องมือดังกล่าว แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. พัฒนา DSS โดยใช้โปรแกรมภาษาทั่ว ๆ ไป (Programming Language) Visual Basic, COBOL, …, Etc. 2. ภาษายุค 4 GL โปรแกรมภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Language) โปรแกรมกระดานคำนวณ (Spreadsheet) โปรแกรมภาษาทางด้านการเงิน (Financial Language)
52
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ DSS
3. การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP) 4. เครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Generator) Microsoft Excel, Lotus Note 1-2-3 5. เครื่องมือสำหรับสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง (Specific DSS) วิเคราะห์ด้านการเงิน การตลาด หรือ การผลิต เป็นต้น 6. CASE Tools เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ DSS ที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก 7. เครื่องมือผสมผสาน (Mixed Tools) เป็นการนำเครื่องมือต่าง ๆ ข้างต้นมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
53
การคัดเลือกเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ DSS
พิจารณาคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์ ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ นักพัฒนาระบบอาจใช้สถาปัตยกรรมทางด้านฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย ประกอบกับความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ของผู้ใช้ หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่องค์กรใช้งานอยู่ เป็นตัวกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้ระบบสามารถทำงานบนอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างลงตัว หรืออีกแนวทางหนึ่งคือ นักพัฒนาระบบควรออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจให้มีความยืดหยุ่น
54
การคัดเลือกเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ DSS
อุปสรรคในการคัดเลือกเครื่องมือ 1. นักพัฒนาระบบ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ และผลลัพธ์ที่ผู้ใช้ต้องการได้รับจากระบบอย่างเพียงพอ ทำให้ขาดข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือกเครื่องมือพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จึงอาจคัดเลือกเครื่องมือได้ไม่ตรงกับความต้องการของระบบมากนัก 2. โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาดมีการพัฒนา ปรับปรุงค่อนข้างเร็ว จึงต้องมีการติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความยุ่งยากในการคัดเลือก
55
การคัดเลือกเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ DSS
อุปสรรคในการคัดเลือกเครื่องมือ 3. ราคาของโปรแกรมสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาด มีความถี่ในการเปลี่ยนแปลงสูง ทำให้การพิจารณาคัดเลือกเกิดความยุ่งยาก 4. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับทีมงานพัฒนาโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีหลายคน จึงอาจเกิดความคิดเห็นไม่ตรงกันในการคัดเลือกซอฟต์แวร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 5. ความมีชื่อเสียงหรือการใช้สื่อโฆษณา อาจส่งผลให้เกิดความลำเอียงต่อการคัดเลือกซอฟต์แวร์จากบริษัทต่าง ๆ ได้
56
แนวทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาระบบ DSS
การวัดผลความสำเร็จของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น นอกจากการยอมรับจากผู้ใช้แล้ว ยังสามารถใช้ปัจจัยด้านอื่นในการวัดผล ยกตัวอย่างเช่น 1. อัตราส่วนระหว่างเวลาในการดำเนินงานจริงของโครงการกับเวลาในการดำเนินงานโดยการประมาณ 2. อัตราส่วนระหว่างต้นทุนจริงที่ใช้ในโครงการพัฒนาระบบ กับต้นทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยการประมาณ 3. ทัศนคติของส่วนบริหารงานขององค์กรที่มีต่อระบบ 4. ความพึงพอใจของผู้บริหารต่อผลการทำงานของระบบ 5. วัดจากการใช้งานของระบบ 6. ความพึงพอใจของผู้ใช้ในระดับปฏิบัติการ
57
แนวทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาระบบ DSS
1. การให้ความร่วมมือของผู้ใช้ในระหว่างการพัฒนาระบบ 2. การฝึกอบรมผู้ใช้งานระบบ 3. การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง 4. แหล่งสารสนเทศ
58
สาเหตุของความล้มเหลวในการพัฒนาระบบ DSS
สาเหตุความล้มเหลวในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 1. ไม่มีการวางเป้าหมายที่ชัดเจนของระบบก่อนเริ่มขั้นตอนการพัฒนาระบบ 2. ไม่มีการกำหนดทีมงานก่อนเริ่มต้นโครงการพัฒนาระบบ 3. ผู้บริหารโครงการควบคุมหลายโครงการ ทำให้มีภาระมากเกินไป 4. ขาดการติดต่อประสานงานระหว่างผู้บริหารโครงการ และเจ้าของโครงการ 5. ผู้บริหารหรือผู้ใช้งานระบบไม่ให้ความร่วมมือ
59
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ปัจจัยทางด้านเทคนิค (Technical Factor) ระบบที่ดีต้องไม่ซับซ้อน ปัจจัยทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Factor) พฤติกรรมของผู้ใช้ต่อระบบงาน บางองค์กรบุคลากรที่คุ้ยเคยกับเทคโนโลยีจะสามารถเรียนรู้ระบบใหม่เร็ว นอกจากนี้ยังรวมถึงการยอมรับ และการต่อต่อต้านระบบใหม่ของ User ปัจจัยขั้นตอนการทำงาน (Process Factor) เช่น พัฒนาระบบที่เป็นไปได้ และมีความสำคัญก่อน ปัจจัยด้านความเกี่ยวข้องของผู้ใช้ระบบ (User Involvement)
60
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
จริยธรรม (Ethics) ผู้พัฒนาก็ควรมีจริยธรรมต่อหน้าที่ของตน สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) ข้อมูลกฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง ที่มีผลต่อการพัฒนาระบบงาน ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร (Organizational Factor) แหล่งทรัพยากรในองค์กร เช่น LAN Client Server ความสัมพันธ์ระหว่าง User และทีมงามพัฒนาระบบ ปัจจัยทุกด้านที่เกี่ยวกับโครงการ (Project-Related Factor)
61
กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
แบ่งระบบใหญ่เป็นระบบย่อย การทำ Prototype พยายามสร้างระบบที่มีการใช้งานง่าย หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงเนื้องาน พยายามโน้มน้าวฝ่ายบริหาร ให้สนับสนุนการพัฒนาระบบ จูงใจให้ผู้ใช้ระบบมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบใหม่
62
การรวมระบบ (System Integration)
การรวมระบบ เป็นการรวมหน้าที่การทำงานต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาให้เป็นระบบเดียวกันได้ หรือเป็นการประสานระบบและองค์ประกอบอื่น ๆ ของระบบเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน องค์ประกอบอื่นนั้นอาจได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร โดยการใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์เพื่อการ Integrate เช่น รวมการทำงานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กระดาษคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลภายนอก การนำเสนอกราฟ และจัดเก็บข้อมูล ให้อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว หรืออยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกัน
63
การรวมระบบ (System Integration)
การ Integrate ตามลักษณะของระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. การรวมระบบที่มีความแตกต่างกัน เช่น การรวมระบบสนับสนุนการตัดสินใจให้สามารถทำงานร่วมกับระบบผู้เชี่ยวชาญ 2. การรวมระบบชนิดเดียวกัน เช่น การรวมระบบ DSS ที่มีลักษณะการทำงานแบบบุคคล รวมเข้ากับระบบ DSS ที่มีลักษณะการทำงานแบบกลุ่ม
64
วัตถุประสงค์ของการรวมระบบ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือสนับสนุนการทำงานใด ๆ ให้มากขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถของโปรแกรมประยุกต์ใดๆ ให้เพิ่มมากขึ้น
65
รูปแบบทั่วไปของการรวมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
DSS ที่ 1.2 DSS ที่ 2.4 DSS ที่ 2 DSS ที่ 4 DSS ที่ 1 DSS ที่ 1.3 DSS ที่ 3.4 DSS ที่ 3 DSS ที่ 3.1 DSS ที่ 3.2.1 DSS ที่ 3.2.2 DSS ที่ 3.3 DSS ที่ 3.4
66
รูปแบบการรวมระบบ ES (Expert System) และ DSS
ตัวอย่างแสดงการรวมของระบบ ES เป็นองค์ประกอบแยกส่วนอยู่ภายใน DSS โดย ES เป็นศูนย์กลาง ฐานข้อมูล ฐานองค์ความรู้ ฐานแบบจำลอง Intelligence ระบบจัดการ ฐานแบบจำลอง กลไก การสรุปความ ระบบจัดการ ฐานข้อมูล Supervisor ระบบค้นหา องค์ความรู้ ศูนย์จัดการความฉลาด ส่วนประสานกับผู้ใช้ ด้วยภาษามนุษย์ Knowledge Engineer ผู้ใช้
67
ความหมายของ EIS ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผล สารสนเทศ ทั้งภายในและนอกองค์กรตามต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดตั้งงบประมาณ
68
ความหมายของ EIS ระบบสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information System: EIS) หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการใช้สารสนเทศร่วมกันทั้งองค์กรตามความต้องการในแต่ละส่วนงาน สำหรับผู้ใช้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับสูง และสามารถทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ได้ ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) *******ปรับปรุง
69
การรวมระบบระหว่าง EIS, DSS และ ES
การนำผลลัพธ์กลับมาใช้ใหม่ (Feedback) วิเคราะห์ และ ประเมินค่า รายงานสถานะ ผลการพยากรณ์ คำแนะนำ ในการทำงาน EIS Database Model Knowledge ระบบจัดการ ฐานแบบจำลอง ระบบจัดการ ฐานข้อมูล ES HW/SW การนำผลลัพธ์กลับมาใช้ใหม่ (Feedback) กระบวนการ ตัดสินใจ Input Process Output
70
การรวมระบบระหว่าง EIS, DSS และ ES
การรวม EIS, DSS และ ES ทำได้หลายวิธี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะจัดให้ระบบ EIS เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการสร้างสารสนเทศเพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสู่ระบบ DSS จากนั้นเมื่อ DSS ประมวลผลเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะถูกส่งกลับไปเป็นข้อมูลนำเข้าสู่ระบบ EIS อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการแปลและอธิบายผลลัพธ์ดังกล่าวด้วยระบบ ES
71
ระบบ DSS ที่ชาญฉลาด Active (Symbiotic) DSS เป็นการพัฒนาให้ระบบ DSS ฉลาดมากขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณหาผลลัพธ์ หรือแสดงผลเท่านั้น (Passive DSS) โดยที่ Active DSS สามารถเป็นผู้ช่วยที่ชาญฉลาด ในหลายหน้าที่ด้วยกัน ดังนี้ สามารถทำความเข้าใจขอบเขตทั้งหมดของปัญหาได้ สามารถประมวลผลปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เชื่อมโยงปัญหาไปสู่แนวทางแก้ปัญหาได้ สามารถแปลผลลัพธ์ได้ สามารถอธิบายผลลัพธ์และการตัดสินใจได้
72
ระบบ DSS ที่ชาญฉลาด Self-Evolving DSS เป็นแนวทางการพัฒนา DSS ที่อยู่บนพื้นฐานการใช้งานของผู้ใช้ระบบ ด้วยการทำให้ระบบสามารถตระหนักได้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันของตน คือ อะไร และควรมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน โดยมีเครื่องมือดังนี้ มีเมนูคำสั่งแบบไดนามิค (Dynamic Menu) เพื่อรองรับผู้ใช้แต่ละระดับ มีส่วนประสานกับผู้ใช้แบบไดนามิค (Dynamic User Interface) เพื่อตอบสนองผู้ใช้แต่ละระดับ มีระบบจัดการฐานแบบจำลองที่สามารเลือกแบบจำลองได้เหมาะสมกับปัญหา
73
ระบบ DSS ที่ชาญฉลาด การจัดการปัญหา (Problem Management)
การค้นหาสาเหตุของปัญหา (Problem Finding) อาศัยระบบจัดการองค์ความรู้ การนำเสนอปัญหา (Problem Representation) อาศัยระบบจัดการแบบจำลอง การตรวจสอบสารสนเทศ (Information Surveillance) อาศัยระบบจัดการองค์ความรู้ และแบบจำลอง การสร้างแนวทางแก้ปัญหา (Solution Generation) อาศัยระบบจัดการองค์ความรู้และการสร้างแนวความคิดทำหน้าที่ในการสร้างแนวทางแก้ไขปัญหา การประเมินแนวทางเลือกในการแก้ปัญหา (Solution Evaluation) อาศัยระบบจัดการองค์ความรู้
74
การจัดการแบบจำลองและสร้างแบบจำลองที่ชาญฉลาด
การวิเคราะห์ปัญหาและเลือกแบบจำลอง เป็นการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วทำการเลือกแบบจำลองที่จะใช้ในการอธิบายและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือทางด้านสถิติ การสร้างแบบจำลอง โดยอาศัยเทคนิคในการค้นพบองค์ความรู้ (Knowledge Discovery) แบบจำลองแบบ Normative เช่น การหาค่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Optimization) แบบจำลองเชิงบรรยาย (Descriptive) เช่น การจำลองสถานการณ์ (Simulation) *******ปรับปรุง
75
การจัดการแบบจำลองและสร้างแบบจำลองที่ชาญฉลาด
การใช้แบบจำลอง จำเป็นต้องมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ตัวแปรที่ใช้ตัดสินใจ หรือฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง การแปลผลลัพธ์ ผู้ใช้อาจแปลเอง หรือใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยในการแปลได้
76
สรุป ในการพัฒนาระบบองค์ความรู้ จะต้องแปลงองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit knowledge) ให้อยู่ในรูปแบบขององค์ความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit knowledge) การพัฒนาองค์ความรู้นี้ วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้การพัฒนาองค์ความรู้นั้นประสบผลสำเร็จ และความสำเร็จของการพัฒนาองค์ความรู้ จะเน้นที่การนำไปใช้ ไม่ได้เน้นที่การจัดเก็บไว้แต่เพียงอย่างเดียว 5 April 2014
77
5 April 2014
78
ความขัดแย้งในองค์กร 13 October 2007
79
ความเข้าใจไม่ตรงกัน 13 October 2007
80
ความคิดเห็นที่หลากหลาย
13 October 2007
81
ระบบ ที่ไม่เสร็จสมบูรณ์
5 April 2014
82
คำถามท้ายบทที่ 9 1. แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
2. กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 3. วงจรพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 4. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ชาญลาดเป็นอย่างไร 5 April 2014
83
ส วั ส ดี 5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th 27 March 2001
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.