งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Thammasat Economic Focus #13 อัดฉีด เก็บภาษี ช่วยใคร?

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Thammasat Economic Focus #13 อัดฉีด เก็บภาษี ช่วยใคร?"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Thammasat Economic Focus #13 อัดฉีด เก็บภาษี ช่วยใคร?
โครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 13 Thammasat Economic Focus # อัดฉีด เก็บภาษี ช่วยใคร? โดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2 ประเด็นนำเสนอ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อ้างอิงจาก ดวงมณี เลาวกุล และชญานี ชวโนทย์. “การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย”. ใน ภาษีเงินได้เป็นธรรมหรือไม่. โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ, สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ธันวาคม 2560. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4 โครงสร้างทางการคลังด้านรายได้ของประเทศไทย
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5 ในช่วงปี พ.ศ แม้ว่าภาษีทางอ้อมยังคงเป็นรายได้หลัก ของรัฐบาล แต่แนวโน้มมีบทบาทลดลงมาโดยตลอด ขณะที่ภาษี ทางตรงมีความสำคัญมากขึ้น โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสัดส่วน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.41 ของรายได้รัฐบาลทั้งหมดในปี พ.ศ เป็นร้อยละ ในปี พ.ศ. 2559 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก โดยมีมูลค่าประมาณร้อยละ 2 ต่อ GDP มาโดยตลอด ในขณะที่ในช่วงที่ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีสัดส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงอย่างชัดเจน ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7 ภาพรวมของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี พ.ศ. 2549-2555
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8 การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปี พ. ศ
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปี พ.ศ พบว่า ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเพิ่มจากประมาณ 9.1 ล้านแบบ ในปี พ.ศ เป็น ประมาณ 9.8 ล้านแบบ ในปี พ.ศ แต่ถ้าเปรียบเทียบ กับจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดแล้ว คิดเป็นเพียงหนึ่งในสี่ หรือ มีเพียงร้อยละ 24.3 ถึง 25.7 ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด ที่มา: กรมสรรพากร และสำนักงานสถิติแห่งชาติ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเงินได้พึงประเมินของผู้ยื่นแบบทั้งหมด กับรายได้ปฐมภูมิของครัวเรือน (Household Primary Income) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำรายได้ประชาชาติ (National Income) พบว่ามูลค่าเงินได้พึงประเมินมีเพียง ประมาณร้อยละ 50 ของรายได้ปฐมภูมิของครัวเรือนทั้งหมด เท่านั้น ที่มา: กรมสรรพากร และสำนักงานสถิติแห่งชาติ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10 มูลค่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี พ.ศ. 2549-2555
ผลการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปี พ.ศ มูลค่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9.4 ต่อปี ที่มา: กรมสรรพากร และสำนักงานสถิติแห่งชาติ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

11 มูลค่าการจัดเก็บ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
มูลค่าการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีเงินได้ตาม ภ.ง.ด.2 (ไม่รวมอยู่ในขอบเขตของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้) ในช่วงปี พ.ศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจัดเก็บได้ 24,046 ล้านบาท ในปี พ.ศ และได้เพิ่มขึ้นเป็น 41,903 ล้านบาท ในปี พ.ศ แต่ถ้าหากพิจารณาการเปลี่ยนแปลง ภายในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมี มูลค่าที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเฉพาะในปี พ.ศ และปี พ.ศ เท่านั้น สำหรับในช่วงปี พ.ศ มูลค่าการจัดเก็บกลับมีแนวโน้มลดน้อยลง มูลค่าการจัดเก็บ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.2) ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมสรรพากร Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

12 เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบฯ
ผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้สูงสุด (มากกว่า 20 ล้านบาท) มีเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายมากกว่าผู้ที่อยู่ในชั้นเงินได้ต่ำสุด (ต่ำกว่า 5 แสนบาท) มากกว่า 100 เท่า ปี พ.ศ ผู้ที่อยู่ในขั้นเงินได้สูงสุดจำนวน 3,223 คน (จำนวนร้อยละ 0.03 ของผู้ยื่นแบบทั้งหมด) มีเงินได้หลังหัก ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยมากถึงแบบละ 15.8 ล้านบาท ผู้อยู่ในขั้นเงินได้ต่ำสุดจำนวนถึง 7.97 ล้านแบบ หรือคิดเป็น จำนวนร้อยละ ของจำนวนแบบทั้งหมด มีเงินได้หลังหัก ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อแบบเพียง 138,971 บาทเท่านั้น ซึ่งแตกต่าง กัน 114 เท่า ขั้นเงินได้พึงประเมิน เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ในแต่ปี พ.ศ. (บาทต่อแบบ) 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 0 - 5 แสนบาท 107,388 109,673 120,227 121,870 124,715 130,419 138,971 20 ล้านบาท ขึ้นไป 17,809,902 16,194,577 15,504,257 16,736,558 15,606,981 15,705,149 15,798,957 นสูงสุด/ต่ำสุด 166 148 129 137 125 120 114 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
สัดส่วนของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในช่วงปี พ.ศ ผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้ต่ำสุด มีสัดส่วนของรายได้เพียงร้อยละ 47 ของรายได้ทั้งหมด ส่วนผู้ยื่นแบบใน 4 ขั้นเงินได้สูงสุดซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 5 ของจำนวนแบบทั้งหมด กลับมีสัดส่วนของรายได้สูงถึงร้อยละ 32 หมายเหตุ: ตัวเลขเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14 สัดส่วนของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำแนกตามขั้นเงินได้พึงประเมิน ในปี พ.ศ มาตรการลดหย่อนภาษีทำให้กลุ่มที่อยู่ในขั้นเงินได้สูงมีสัดส่วนของมูลค่าเงินได้สุทธิมากกว่าสัดส่วนของมูลค่าเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย โดยกลุ่มที่อยู่ในขั้นเงินได้ต่ำสุด (0-5 แสนบาท) ที่มีสัดส่วนของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 47 เมื่อหักการลดหย่อนภาษีแล้ว ทำให้สัดส่วนของเงินได้สุทธิที่เป็นฐานภาษีลดลง คือมีสัดส่วนของเงินได้สุทธิอยู่ที่ร้อยละ 39 ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่อยู่ใน 4 ขั้นสูงสุด (รวยที่สุดร้อยละ 5) ที่มีสัดส่วนของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 32 การลดหย่อนภาษีทำให้กลุ่มนี้มีสัดส่วนของเงินได้สุทธิเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.40 หมายความว่า การลดหย่อนภาษีในภาพรวม ทำให้ฐานภาษีของกลุ่มรายได้น้อยลดลง หมายเหตุ: ตัวเลขเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของ คณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
สัดส่วนของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย เงินได้สุทธิ และมูลค่า ภาษี ของผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปี พ.ศ การกำหนดอัตราภาษีในลักษณะอัตราก้าวหน้า ทำให้ภาระภาษีตกอยู่กับผู้ที่มีรายได้สูง ผู้ยื่นแบบจำนวนร้อยละ 5 ที่รวยที่สุด จ่ายภาษีเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 75 ของมูลค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดที่จัดเก็บได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักความสามารถในการจ่าย หมายเหตุ: ตัวเลขเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

16 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
สัดส่วนมูลค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำแนกตามขั้นเงิน ได้พึงประเมิน ปี พ.ศ มูลค่าภาษีที่จัดเก็บได้ส่วนใหญ่มาจากผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้ ล้านบาท โดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 35 ถึงร้อยละ 37 ของมูลค่าภาษีทั้งหมดมาโดยตลอด ลำดับต่อมาคือขั้นเงินได้ ล้านบาท มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 22 ของมูลค่าภาษีทั้งหมด สำหรับผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้ต่ำสุด (0-5 แสนบาท) ในปี พ.ศ มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 11 ถึงร้อยละ 13 ของมูลค่าภาษีทั้งหมด และในปี พ.ศ สัดส่วนดังกล่าวได้ลดน้อยลงอยู่ที่ร้อยละ 6 ถึงร้อยละ 8 ซึ่งเป็นขั้นเงินได้ที่มีสัดส่วนของภาษีน้อยที่สุด เนื่องจากผู้ยื่นแบบในขั้นนี้มีฐานภาษีต่ำ และส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้นภาษี ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

17 มาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

18 เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีรายได้มีระบบ โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) ของ ตนเอง ได้แก่ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนเกิน 10,000 บาท เงินสะสมกองทุน กบข. ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เงินยกเว้นเงินได้ของผู้มีเงินได้และคู่สมรสอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน การยกเว้นภาษีในปี พ.ศ มีมูลค่าทั้งหมด ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้ จากการจ้างแรงงานทั้งหมด Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

19 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย
ร้อยละของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และมูลค่าการหักค่าใช้จ่าย ต่อเงินได้พึงประเมิน ของตัวอย่างแบบ ภ.ง.ด.90 จำแนกตามกลุ่มแหล่งเงินได้หลัก (พิจารณาจากเงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย) ผู้ที่มีแหล่งเงินได้หลักจากการประกอบธุรกิจสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ในสัดส่วนมากกว่ากลุ่มอื่นเนื่องจาก กฎหมายได้เปิดโอกาสให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือกำหนดเป็นร้อยละของเงินได้พึงประเมินโดยไม่กำหนดเพดานการหักค่าใช้จ่าย ผู้ที่มีแหล่งเงินได้หลักจากการประกอบธุรกิจสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ถึงร้อยละ 81 ของมูลค่าเงินได้พึงประเมิน กลุ่มผู้ที่มีแหล่งเงินได้หลักจากการจ้างแรงงาน และทรัพย์สิน/การลงทุนสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพียงร้อยละ 17 ถึงร้อยละ 18 เท่านั้น ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

20 ลักษณะการหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบ ภ. ง. ด
ลักษณะการหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ที่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจ มาตรา 40 (6) และ (7) ร้อยละการหักค่าใช้จ่ายต่อเงินได้พึงประเมิน ผู้ยื่นแบบที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (6) และ (7) เกือบทั้งหมดได้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย การกำหนดเพดานการเหมาจ่ายสูง ผู้มีเงินได้มีแนวโน้มเลือกหักแบบเหมาจ่าย มากกว่าหักค่าใช้จ่ายตามจริง ก่อให้เกิด TE Thammasat Economic Focus (TEF) #13 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย
ลักษณะการหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ที่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจ มาตรา 40 (8) ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

22 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย
การกระจายตัวของร้อยละการหักค่าใช้จ่าย ต่อเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงาน กลุ่มผู้มีแหล่งเงินได้หลักจากการ จ้างแรงงานมีการหักค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เพียงร้อยละ 17 ของเงินได้พึง ประเมิน เนื่องจากกฎหมาย กำหนดให้เงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) รวมทั้งเงินได้ของผู้ยื่น แบบ ภ.ง.ด.91 สามารถหัก ค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 40 ของเงิน ได้พึงประเมิน และมีการกำหนด เพดานได้ไม่เกิน 60,000 บาท ทำให้สัดส่วนของการหักค่าใช้จ่าย ลดลงเมื่อเงินได้เพิ่มขึ้น ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

23 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย
การกระจายตัวของร้อยละการหักค่าใช้จ่ายต่อเงินได้พึงประเมิน จากทรัพย์สิน/การลงทุน จำแนกตามวงเล็บ กลุ่มที่มีแหล่งเงินได้หลักจากทรัพย์สิน/การลงทุนมีมูลค่าการหักค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร้อยละ 18 ของเงินได้พึงประเมิน สาเหตุที่กลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนการหักค่าใช้จ่ายไม่มากนักเป็นเพราะ กฎหมายกำหนดให้เงินได้ตามมาตรา 40 (3) ถึง (5) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ในอัตราที่ไม่สูงนัก สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (4) ที่เป็นเงินได้จากดอกเบี้ยพันธบัตร เงินฝาก หุ้นกู้ เงินกู้ยืม ตลอดจนเงินปันผลต่าง ๆ ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

24 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย
ร้อยละของเงินได้สุทธิ และมูลค่าการลดหย่อน/บริจาคต่อเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของตัวอย่างแบบ ภ.ง.ด.90 จำแนกตามกลุ่มแหล่งเงินได้หลัก (พิจารณาจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย) ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย สัดส่วนของมูลค่าการลดหย่อน/บริจาคของแต่ละกลุ่มไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก คิดเป็นมูลค่าร้อยละ 23 ถึงร้อยละ 30 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย เงินได้สุทธิหรือเงินได้ที่นำมาคำนวณเป็นฐานภาษีของแต่ละกลุ่มเหลืออยู่ประมาณร้อยละ ของรายได้ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

25 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย
ร้อยละของมูลค่าเงินได้สุทธิ มูลค่าการลดหย่อน/บริจาค และมูลค่าการหักค่าใช้จ่ายต่อเงินได้พึงประเมิน ของตัวอย่างแบบ ภ.ง.ด.90 จำแนกตามกลุ่มแหล่งเงินได้หลัก (พิจารณาจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย) ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย ภาพรวมของมาตรการภาษีทั้งหมด เมื่อเงินได้พึงประเมินถูกหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อน/บริจาคแล้ว กลุ่มผู้มีเงินได้หลักจากการประกอบธุรกิจมีสัดส่วนของเงินได้สุทธิต่อเงินได้พึงประเมินน้อยที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 14 กลุ่มผู้มีเงินได้หลักจากการจ้างแรงงาน และจากทรัพย์สิน/การลงทุนมีสัดส่วนเงินได้สุทธิอยู่ที่ร้อยละ 60 และร้อยละ 63 ตามลำดับ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

26 การจำแนกผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ตามขั้นเงินได้สุทธิ
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

27 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
มูลค่าการลดหย่อนส่วนบุคคลของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

28 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
มูลค่าการลดหย่อนเพื่อสร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคมของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

29 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
มูลค่าการลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) ของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

30 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
มูลค่าการลดหย่อนอื่น ๆ ของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

31 มูลค่าการบริจาคของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ
ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

32 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
มูลค่าเงินได้สุทธิของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

33 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
มูลค่าภาษีเงินได้ของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

34 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
ร้อยละของมูลค่าภาษีเงินได้ต่อมูลค่าเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 จำแนกตามขั้นเงินได้สุทธิ ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

35 พฤติกรรมของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ปี พ.ศ.2555 และการกระจายรายได้
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

36 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของตัวอย่างผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ในแต่ละชั้นเดไซล์ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2555 ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

37 เปรียบเทียบสัดส่วนของมูลค่าการหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาค ของตัวอย่างผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ในแต่ละกลุ่มชั้นเดไซล์ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2555 กลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงได้รับประโยชน์จากการหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และโดยเฉพาะเงินบริจาค พิจารณาจากสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทั้งหมด ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 37

38 พฤติกรรมการหักค่าใช้จ่าย
ร้อยละการหักค่าใช้จ่าย และเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่อเงินได้พึงประเมิน ของตัวอย่างแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ในแต่ละชั้นเดไซล์ของเงินได้หลังหัก ค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2555 กลุ่มเดไซล์ที่ 10 มีสัดส่วนการหักค่าใช้จ่ายสูงถึงร้อยละ 73 ของเงินได้พึงประเมิน และสัดส่วนลดน้อยลงในกลุ่มเดไซล์ที่ต่ำลงตามลำดับ กฎหมายกำหนดให้เงินได้แต่ละแหล่งมีมาตรฐานการหักค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน โดยเฉพาะเงินได้จากการประกอบธุรกิจที่สามารถหักค่าใช้ได้ตามจริง และมีเพดานอัตราการหักแบบเหมาไว้สูง ทำให้เงินได้จากแหล่งดังกล่าวสามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเงินได้จากแหล่งอื่นเป็นอย่างมาก ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

39 พฤติกรรมการลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนสามารถจำแนกตามวัตถุประสงค์เป็น 4 ประเภท ได้แก่ การลดหย่อนส่วนบุคคล (ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล ค่า ลดหย่อนคู่สมรส ค่าเลี้ยงดู/การศึกษาบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และค่าเลี้ยงดูคนพิการ) การลดหย่อนเพื่อสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) (ประกันชีวิต ประกันสุขภาพบิดามารดา เงินสมทบกองทุนสำรองฯ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และ RMF การลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) การลดหย่อนอื่น ๆ (ดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน และค่าซ่อมบ้าน/ รถจากน้ำท่วม) Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

40 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
เปรียบเทียบสัดส่วนของมูลค่าค่าลดหย่อนแต่ละประเภท ของ ตัวอย่างผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ในแต่ละกลุ่มชั้นเดไซล์ของ เงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2555 ผู้ยื่นแบบทุกขั้นเงินได้ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนส่วนบุคคลไม่แตกต่างกันมากนัก การลดหย่อนอีก 3 ประเภทที่เหลือ ผู้ยื่นแบบขั้นเงินได้สูงสุด (Decile 10) ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนมากที่สุด ที่มา: กรมสรรพากร และการประมวลของคณะวิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

41 ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย
สัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิ และมูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยของการใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม ในแต่ละชั้นเดไซล์ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย ในชั้นเดไซล์ที่ 10 จำนวนประมาณร้อยละ 90 ของแบบฯ ทั้งหมดใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม จำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิในชั้นเดไซล์ต่ำลงมามีแนวโน้มลดน้อยลง จนในชั้นเดไซล์ที่ 1 มีสัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิ์ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

42 ร้อยละของผู้ใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อสร้าง Social Safety Net ในแต่ละรายการ และมูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยต่อราย จำแนกตาม Decile (1) ชั้นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ %ผู้ใช้สิทธิต่อผู้ยื่นแบบทั้งหมด มูลค่า ลดหย่อนเฉลี่ย เดไซล์ 1 (10% จนสุด) 1.0% 17,392 - เดไซล์ 2 1.1% 18,618 0.04% 2,060 เดไซล์ 3 1.4% 16,305 0.2% 8,638 เดไซล์ 4 3.0% 19,100 0.03% 12,170 7,530 เดไซล์ 5 5.7% 17,876 0.1% 8,980 เดไซล์ 6 8.2% 20,696 9,556 6,490 เดไซล์ 7 20.7% 22,991 0.4% 10,545 เดไซล์ 8 42.0% 25,961 10,262 14,480 เดไซล์ 9 55.9% 35,163 0.6% 9,421 45,548 เดไซล์ 10 (10% รวยสุด) 70.2% 54,345 0.8% 10,284 2.2% 99,530 ผู้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตในชั้นเดไซล์สูงคือ ตั้งแต่ชั้นเดไซล์ที่ 7 เป็นต้นไป มีสัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิสูงมากกว่าในชั้นเดไซล์ที่ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ยื่นแบบฯ ที่รวยสุด (เดไซล์ที่ 10) มีสัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ 70 ของแบบฯ ทั้งหมด Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

43 ร้อยละของผู้ใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อสร้าง Social Safety Net ในแต่ละรายการ และมูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยต่อราย จำแนกตาม Decile (2) ชั้นเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย เงินสะสมกองทุนสำรองฯ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม RMF %ผู้ใช้สิทธิต่อผู้ยื่นแบบทั้งหมด มูลค่า ลดหย่อนเฉลี่ย เดไซล์ 1 (10% จนสุด) 0.8% 1,408 26.2% 983 0.03% 5,000 เดไซล์ 2 3.6% 1,559 42.9% 2,359 เดไซล์ 3 5.0% 2,390 49.4% 3,159 เดไซล์ 4 12.3% 3,142 54.8% 3,526 0.1% เดไซล์ 5 18.2% 4,051 49.9% 4,042 6,153 เดไซล์ 6 24.9% 5,264 51.3% 4,570 0.2% 5,970 เดไซล์ 7 27.3% 6,215 50.0% 5,199 16,500 เดไซล์ 8 29.3% 7,964 49.6% 5,714 0.4% 12,179 เดไซล์ 9 31.7% 9,073 45.0% 5,954 1.1% 39,405 เดไซล์ 10 (10% รวยสุด) 43.9% 9,803 6,079 11.2% 139,508 จำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิลดหย่อน RMF มีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนแบบฯ ทั้งหมด ผู้ใช้สิทธิในกลุ่มเดไซล์ที่ 10 มีมูลค่าเฉลี่ยของการซื้อ RMF มากที่สุด ในชั้นเดไซล์ที่ 10 ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวยที่สุดมีจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิมากที่สุด แต่ก็มีจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิเพียงร้อยละ 10 ของแบบฯ ทั้งหมดเท่านั้น มาตรการลดหย่อน RMF ทำให้รัฐมีรายได้ลดลง 3,729 ล้านบาท Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

44 พฤติกรรมการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา และการบริจาคทั่วไป
การบริจาค มี 2 ประเภท คือ เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา (ลดหย่อน 2 เท่า) การบริจาคทั่วไปให้แก่มูลนิธิ หรือวัด มูลค่าการลดหย่อนจากการสนับสนุนการศึกษาไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน มูลค่าการลดหย่อนจากการบริจาคทั่วไปไม่เกินร้อยละ 10 ของ เงินได้หลังค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และบริจาคเพื่อสนับสนุน การศึกษา Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

45 มูลค่าเงินที่ผู้ยื่นแบบฯ จ่ายสนับสนุนการศึกษา 806.27 ล้านบาท
สัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิ และมูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยของการใช้สิทธิลดหย่อนการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาในแต่ละชั้นเดไซล์ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย * เป็นมูลค่าการบริจาค (นำมูลค่าสนับสนุนการศึกษาหาร 2) มูลค่าเงินที่ผู้ยื่นแบบฯ จ่ายสนับสนุนการศึกษา ล้านบาท รายจ่ายภาษีจากมาตรการลดหย่อนภาษีประเภทเพื่อสนับสนุนการศึกษาเป็นเงิน ล้านบาท Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

46 สัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิ และมูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยของการใช้สิทธิลดหย่อนการบริจาคทั่วไป ในแต่ละชั้นเดไซล์ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการบริจาคเฉลี่ย ผู้ยื่นแบบฯ ในชั้นเดไซล์แรก ๆ บริจาคจำนวนไม่มากนัก แต่ในชั้นเดไซล์ที่ 9 และ 10 มีการบริจาคเฉลี่ยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

47 การลดหย่อน RMF และการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา
806 ล้านบาท TE 326 ล้านบาท RMF TE 3,729 ล้านบาท Social Safety Net มูลค่าของเงินบริจาคสูงกว่า รายได้รัฐบาลที่สูญเสียไป เกิด TE 3,729 ล้านบาท แต่เป็นการสร้างระบบโครงข่าย ความคุ้มครองทางสังคม Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

48 พฤติกรรมการลดหย่อนเพื่อการลงทุน
สัดส่วนของจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิ และมูลค่าการ ลดหย่อนเฉลี่ยของการใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) ในแต่ละชั้นเดไซล์ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

49 จากผู้ใช้สิทธิลดหย่อน LTF ทั้งหมด
1 ผู้ใช้สิทธิลดหย่อน LTF มีจำนวนไม่มากนัก จากผู้ใช้สิทธิลดหย่อน LTF ทั้งหมด 82% กลุ่มรวยที่สุด 10% แรก (Decile ที่ 10) ลดหย่อนเฉลี่ย 150,458 บาทต่อคน 11% กลุ่ม Decile ที่ 9 ลดหย่อนเฉลี่ย 42,175 บาทต่อคน 5% กลุ่ม Decile ที่ 8 ลดหย่อนเฉลี่ย 26,838 บาทต่อคน 2% กลุ่ม Decile ที่ 1 ถึง 7 ลดหย่อนเฉลี่ย 5,000-20,000 บาทต่อคน 2 ขั้นเงินได้สูงหักค่าลดหย่อน LTF สูงกว่าขั้นเงินได้รองลงมาเป็นอย่างมาก Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

50 รายได้รัฐบาลที่เพิ่มขึ้นจากการยกเลิกมาตรการลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF และภาระของผู้เสียภาษีเงินได้ธรรมดาที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อแบบ ที่มา: กรมสรรพากร และการคำนวณของผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

51 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
หากในปี พ.ศ ไม่มีการลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF รัฐบาลจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาเพิ่มขึ้น 8, ล้านบาท หากไม่มีมาตรการลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF พบว่า จากจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิลดหย่อนทั้งหมด 284,374 แบบ (คิดเป็นร้อยละ 2.92 ของจำนวนแบบฯ ทั้งหมด) จะมี ภาระภาษีเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อแบบอยู่ที่แบบละ 31,115 บาท หากพิจารณาตามขั้นเงินได้สุทธิ ผลการยกเลิกมาตรการ ลดหย่อน LTF ทำให้ผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้สูงมีภาระภาษี เฉลี่ยต่อแบบเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่อยู่ในขั้นเงินได้ต่ำ (อัตรา ภาษีแบบอัตราก้าวหน้า) ผู้ที่อยู่ในขั้นเงินได้สูงสุด (มากกว่า 4 ล้านบาทขึ้นไป) จำนวน 5,333 แบบ จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นแบบละ 165,465 บาท ผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้สุทธิ 150, ,000 บาท มีภาระเพิ่มขึ้น จำนวน 91,340 แบบ จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นแบบละ 6,069 บาท Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

52 สัดส่วนของรายได้หลังหักภาษีระหว่างก่อนและหลังการยกเลิกมาตรการลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF
- แต่สำหรับผู้ยื่นแบบในกลุ่มที่เหลือทั้งหมด หรืออีกร้อยละ 90 ที่เหลือ มีสัดส่วนรายได้เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยทุกกลุ่ม หมายเหตุ: รายได้หลังหักภาษีคำนวณจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ที่มา: กรมสรรพากร และการคำนวณของผู้วิจัย การยกเลิกมาตรการลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ส่งผลให้การกระจายรายได้ของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ดีขึ้นเล็กน้อย ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (คำนวณจากรายได้หลังหักภาษี) มีค่าลดลงเล็กน้อยจาก เป็น 0.550 Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

53 การกระจายรายได้ของผู้ยื่นแบบฯ เปรียบเทียบก่อนและหลังการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

54 ผลการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการกระจายรายได้
สัดส่วนเงินได้หลังหักภาษีในชั้น Decile ที่ 10 ลดลง 3% สัดส่วนเงินได้หลังหักภาษีในชั้น Decile อื่นเพิ่มขึ้น หมายเหตุ: รายได้หลังหักภาษีคำนวณจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ที่มา: กรมสรรพากร และคำนวณโดยผู้วิจัย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

55 PIT ทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้น
เส้นลอเรนซ์ของสัดส่วนเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายก่อนและหลังหักภาษี ของผู้ยื่นแบบทั้งหมด PIT ทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้น Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

56 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังไม่ครอบคลุมฐานภาษีทั้งหมด มาตรการลดหย่อนภาษีของไทยในภาพรวมเอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่มี รายได้น้อย ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย ปฏิบัติต่อเงินได้แต่ละ ประเภทแตกต่างกัน เช่น - เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากหรือเงินปันผลที่หัก ณ ที่จ่าย แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมารวมคำนวณภาษีในแบบ ภ.ง.ด.90 - เงินได้จากการประกอบธุรกิจ ได้รับการหักค่าใช้จ่ายแบบ เหมาจ่ายมากกว่าเงินได้จากแหล่งอื่น 4. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยเป็นการจัดเก็บจากเงินได้ที่มา จากการจ้างแรงงานเป็นหลัก รองลงมาคือเงินได้จากการประกอบ ธุรกิจ 5. สัดส่วนของมูลค่าการลดหย่อน/บริจาคของแต่ละกลุ่ม (ตามแหล่ง เงินได้) ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก 6. กลุ่มผู้มีแหล่งเงินได้หลักจากทรัพย์สิน/การลงทุนมีเงินได้สุทธิเฉลี่ย มากที่สุด รองลงมาเป็นการจ้างแรงงาน และการประกอบธุรกิจมี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

57 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
7. กลุ่มผู้ที่มีแหล่งเงินได้หลักจากทรัพย์สิน/การลงทุนมีสัดส่วน ของคนที่เสียภาษีมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ โดย แบบฯ ที่มีการเสียภาษีคิดเป็นร้อยละ 40 ของแบบฯ ทั้งหมด ในกลุ่มเดียวกัน ในขณะที่อีกร้อยละ 60 ได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับผู้ยื่นแบบฯ กลุ่มอื่น จำนวนแบบฯ มากกว่า ครึ่งหนึ่งได้รับการยกเว้นภาษี กลุ่มผู้ที่มีแหล่งเงินได้หลักจากการประกอบธุรกิจมีจำนวน แบบฯ ร้อยละ 28 และกลุ่มผู้ที่มีแหล่งเงินได้จากการจ้างงาน มีจำนวนแบบฯ ร้อยละ 33 ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 8. สัดส่วนแบบ ภ.ง.ด. 90 และ 91 อยู่ในขั้นเงินได้สุทธิ ,000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ของแบบฯ ทั้งหมด มูลค่าเงินได้พึงประเมินของผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นเงินได้สุทธิ 150, ,000 บาท คิดเป็นร้อยละ ของเงินได้พึงประเมินทั้งหมด Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

58 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
9. ผู้ยื่นแบบฯ ในขั้นเงินได้สุทธิ 1,000,001-4,000,000 บาท มีมูลค่าการหักลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) มากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ ของมูลค่าการหักลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) ทั้งหมด และผู้ยื่นแบบฯ ในขั้นเงินได้นี้ มีสัดส่วนการหัก ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและเงินบริจาคทั่วไป มากที่สุดด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นผู้ยื่นแบบฯ ในขั้นเงินได้นี้ เป็นกลุ่มที่เสียภาษีสูงสุด คิดเป็นร้อยละ ของมูลค่าภาษี ทั้งหมด 10. Effective tax rate ของขั้นเงินได้สูงสุด (มากกว่า 4,000,001 บาท) อยู่ที่อัตราร้อยละ โดยสัดส่วนดังกล่าว ลดลงตามขั้นเงินได้ โดยในขั้นเงินได้ต่ำสุดที่มีการเสียภาษี (150, ,000 บาท) อยู่ที่อัตราร้อยละ 4.44 11. เมื่อเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยของกลุ่มผู้ยื่นแบบที่จนที่สุด 10 เปอร์เซ็นต์แรก กับผู้ยื่นแบบที่รวยสุด 10 เปอร์เซ็นต์ แรกพบว่า มีความต่างกันถึง 58 เท่า 12. กลุ่มคนที่รวยสุด 10 เปอร์เซ็นต์แรก มีการหักค่าใช้จ่าย สูงที่สุด เนื่องจาก กลุ่มดังกล่าวมีสัดส่วนของผู้ที่มีแหล่งเงินได้ หลักจากการประกอบธุรกิจสูงที่สุด 13. กลุ่มเดไซล์ที่ 10 (รวยสุด) มีสัดส่วนการหักค่าใช้จ่าย การ หักค่าลดหย่อน และการหักการบริจาคสูงที่สุด Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

59 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
14. การลดหย่อนเพื่อสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม และการ ลดหย่อนอื่น ๆ ผู้ที่อยู่ในชั้นเดไซล์ที่ 10 มีการลดหย่อนเป็นสัดส่วน มากกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าลดหย่อนทั้งหมด สำหรับการลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) จะเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้ยื่น แบบในชั้นเดไซล์ที่ 10 มีสัดส่วนของมูลค่าการลดหย่อนมากกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า การลดหย่อนเพื่อการลงทุน (LTF) จะ เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มที่มีรายได้สูงมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้น้อย 15. การใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม แสดงให้เห็นว่าผู้ยื่นแบบฯ ในชั้นเดไซล์ที่ 10 จำนวนประมาณร้อยละ 90 ของแบบฯ ทั้งหมดใช้สิทธิลดหย่อนประเภทนี้ และในชั้นเดไซล์ต่ำลงมามี แนวโน้มของการใช้สิทธิที่ลดน้อยลง จนในชั้นเดไซล์ที่ 1 มีสัดส่วนของ จำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น มูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยต่อแบบ ในแต่ละชั้นเดไซล์พบว่า มูลค่า เฉลี่ยของการลดหย่อนเพื่อสร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคมของผู้ใช้ สิทธิในชั้นเดไซล์ที่ 10 สูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยในชั้นเดไซล์อื่นเป็นอย่างมาก Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

60 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
16. ผู้มีรายได้น้อยมีสัดส่วนของผู้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตต่ำ (ใน ชั้นเดไซล์ที่ 1 ถึง 6 มีจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิเพียงร้อยละ 1- 8 ของการใช้สิทธิทั้งหมด) กรมธรรม์ประกันชีวิตที่สามารถลดหย่อนได้ ต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ทำให้คนที่มีรายได้น้อยมีค่า เสียโอกาสสูง จึงไม่ใช้สิทธิลดหย่อนในรายการนี้ 17. รายการลดหย่อนที่มีจำนวนผู้ใช้สิทธิค่อนข้างมากมี 3 รายการ ได้แก่ เบี้ยประกันชีวิต เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงิน สะสมกองทุนประกันสังคม และจากมูลค่าการลดหย่อนเฉลี่ยของผู้ใช้ สิทธิทั้งสามรายการนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นหากเป็นผู้ใช้สิทธิในชั้นเดไซล์ที่ สูงขึ้น 18. จำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิลดหย่อน RMF มีสัดส่วนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนแบบฯ ทั้งหมด ผู้ใช้สิทธิในกลุ่มเดไซล์ที่ 10 มีมูลค่าเฉลี่ยของ การซื้อ RMF มากที่สุด ในขณะที่ผู้ยื่นแบบฯ ในชั้นเดไซล์ที่ 1 (จนสุด) ถึงชั้นเดไซล์ที่ 8 เกือบไม่มีผู้ใช้สิทธิลดหย่อน ในชั้นเดไซล์ที่ 9 มีสัดส่วนจำนวนแบบที่มีการ ใช้สิทธิเพียงร้อยละ 1 ในชั้นเดไซล์ที่ 10 ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวยที่สุดมี จำนวนแบบที่มีการใช้สิทธิมากที่สุด แต่ก็มีผู้ใช้สิทธิเพียงร้อยละ 10 ของจำนวนแบบฯ ทั้งหมดเท่านั้น Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

61 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
19. จำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิลดหย่อนจากการบริจาคเพื่อ สนับสนุนการศึกษา มีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน แบบฯ ทั้งหมด ผู้ที่ใช้สิทธิเป็นผู้ยื่นแบบฯ ในชั้นเดไซล์ที่ 5 เป็นต้นไป สำหรับมูลค่าการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา เฉลี่ย (ครึ่งหนึ่งของการลดหย่อนจากการบริจาคเพื่อสนับสนุน การศึกษา) ของการใช้สิทธิในแต่ละชั้นเดไซล์อยู่ในช่วง 2,584 ถึง 10,933 บาทต่อแบบ โดยในชั้นเดไซล์ที่ 10 มีมูลค่าการบริจาค เพื่อสนับสนุนการศึกษาเฉลี่ยสูงกว่าชั้นอื่นประมาณ 2-4 เท่า 20. ผู้ยื่นแบบฯ มีการบริจาคทั่วไปมากกว่าทั้งจำนวนแบบฯ ที่มีการ ใช้สิทธิ และมูลค่าการบริจาคเฉลี่ย ผู้ใช้สิทธิลดหย่อนจากเงินบริจาคทั่วไปมีตั้งแต่ ชั้นเดไซล์ที่ 2 เป็นต้นไป เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการบริจาคเฉลี่ย ผู้ยื่น แบบฯ ในชั้นเดไซล์แรก ๆ บริจาคจำนวนไม่มากนัก แต่ในชั้นเด ไซล์ที่ 9 และ 10 มีการบริจาคเฉลี่ยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบ กับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา โดยชั้นเดไซล์ที่ 9 มีมูลค่า การบริจาคเฉลี่ย 10,373 บาทต่อแบบ และในชั้นเดไซล์ที่ 10 มี มูลค่าการบริจาคเฉลี่ย 27,033 บาทต่อแบบ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

62 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
21. การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่งผลให้การกระจาย รายได้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยสัดส่วนของรายได้หลังภาษีของกลุ่ม รวยที่สุด (เดไซล์ที่ 10) ลดลง และสัดส่วนรายได้หลังหัก ภาษีของกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากพิจารณาโดยใช้เส้นลอเรนซ์ เปรียบเทียบเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี และหลังหัก ภาษีของผู้ยื่นแบบทั้งหมดแล้ว จะพบว่าการกระจายรายได้ดี ขึ้นในทุกชั้นเงินได้ 22. หากในปี พ.ศ ไม่มีการลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF รัฐบาลจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาเพิ่มขึ้น 8, ล้านบาท ในกรณีไม่มีมาตรการลดหย่อนค่าซื้อ หน่วยลงทุน LTF พบว่า จากจำนวนแบบฯ ที่มีการใช้สิทธิ ลดหย่อนทั้งหมด 284,374 แบบ (คิดเป็นร้อยละ ของจำนวนแบบฯ ทั้งหมด) จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อแบบ อยู่ที่แบบละ 31,115 บาท หากพิจารณาตามขั้นเงินได้สุทธิ ผลการยกเลิก มาตรการลดหย่อน LTF ทำให้ผู้ยื่นแบบในขั้นเงินได้สูงมี ภาระภาษีเฉลี่ยต่อแบบเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่อยู่ในขั้นเงินได้ต่ำ (เนื่องจากเป็นอัตราภาษีแบบอัตราก้าวหน้า) Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

63 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: โดยสรุป
23. การยกเลิกมาตรการลดหย่อน LTF ส่งผลให้การกระจาย รายของผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ 91 ดีขึ้นเล็กน้อย การยกเลิกมาตรการลดหย่อน LTF ทำ ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (คำนวณจากรายได้หลัง หักภาษี) มีค่าลดลงเล็กน้อยจาก เป็น 0.550 Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

64 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

65 มาตรการระยะสั้น รัฐควรกำกับและควบคุมรายจ่ายผ่านมาตรการภาษี (TE) เพื่อส่งเสริมให้เกิด วินัยทางการคลัง ควรมีการศึกษาถึงรายจ่ายผ่านมาตรการภาษี รวมทั้งวิเคราะห์ผลของมาตรการทาง ภาษีต่อผู้เสียภาษีในแต่ละขั้นเงินได้เพิ่มเติม การลดหย่อนภาษี LTF ควรยกเลิกการลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มาตรการลดหย่อน LTF มุ่งเน้นเป้าหมายในการส่งเสริมตลาดทุน มากกว่า การสร้างความเป็นธรรม ดังนั้นกลุ่มคนที่มีรายได้สูงจึงได้รับประโยชน์จากมาตรการ มากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ข้อเสนอยกเลิกการลดหย่อนภาษีสำหรับการซื้อ LTF นอกจากจะทำให้ ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเป็นธรรมมากขึ้นแล้ว ยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด ทุนอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย หากมีการยกเลิกการลดหย่อนภาษีเพื่อการลงทุน (LTF) จะทำให้รัฐบาล ประหยัดรายจ่ายภาษีอันเกิดจากมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อการลงทุน (LTF) ได้เกือบ 9,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลสามารถนำรายได้จำนวนนี้ไปจัดบริการสาธารณะที่เป็น ประโยชน์ต่อคนที่ด้อยโอกาส และยากจนได้อีกเป็นจำนวนมาก Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

66 Note: Thammasat Economic Focus (TEF) #13
การลดหย่อนภาษีการซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แม้ว่ากลุ่มที่ได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่มรายได้สูงมากกว่า กลุ่มรายได้น้อย แต่นับได้ว่าเป็นการออมในระยะยาว เพื่อ การสร้างโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคมในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลยังสามารถคงมาตรการลดหย่อนนี้ไว้ได้ มูลค่าเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการบริจาค ทั่วไปมากกว่ารายจ่ายภาษีที่รัฐสูญเสียไปจากการลดหย่อนการ บริจาค ดังนั้นการให้หักลดหย่อนการบริจาคยังคงเป็น ประโยชน์ต่อสังคม ในแง่ที่เงินบริจาคเหล่านี้ถูกส่งไปยังหน่วย ที่ต้องการงบประมาณได้โดยตรง อย่างไรก็ดี ควรมีมาตรการ ตรวจสอบว่าการบริจาคดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริง เพื่อมิให้เกิดการ ทุจริตขึ้น เพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับสังคม Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

67 มาตรการระยะปานกลาง - ยังมีผู้มีเงินได้ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก จำนวนหนึ่ง ดังนั้นจึงควรมีการขยายฐานภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาให้กว้างและครอบคลุมมากขึ้น และมีมาตรการที่จะทำ ให้ผู้มีเงินได้เข้ามาในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้น - เงินได้ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกประเภท ควรจะนำมา รวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้เกิดการเก็บภาษีที่ มีความเป็นธรรมกับเงินได้ทุกประเภท ทั้งนี้ควรมีการศึกษาถึง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย การหักค่าใช้จ่ายมีการหักค่าใช้จ่ายที่หลากหลายสำหรับเงิน ได้แต่ละประเภท ควรมีการทำการศึกษาในเชิงลึกว่า อัตรา การหักค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและมีมาตรฐานของเงินได้แต่ละ ประเภทควรจะเป็นเท่าใด และมุ่งไปสู่แนวทางการหัก ค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานแสดงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้ง สนับสนุนให้กำหนดรายการที่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ชัดเจน ว่า รายการใดบ้างที่สมควรเป็นรายการที่สามารถหักเป็น ค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจกรรมนั้น ๆ ได้ ควรศึกษาเรื่องผลกระทบต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจจากการ เปลี่ยนมาตรการทางภาษี Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

68 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

69 การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในปัจจุบัน
ที่มา: สศค. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

70 ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
หลักการ ยกเลิกการจัดเก็บภาษีโรงเรือน และที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามหลักการได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะของ อปท. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สินให้มีความทันสมัยและเป็นสากลเช่นเดียวกับนานาประเทศและแก้ไขโครงสร้างภาษีเดิม 2. กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน 3. เพิ่มความเป็นอิสระและการเก็บภาษีให้กับอปท. 4. สร้างความเข้มแข็งและโปร่งใสในการบริหารการคลังของอปท. 5. เพิ่มรายได้ให้แก่อปท. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

71 สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ที่เป็นเจ้าของห้องชุด ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ ฐานภาษี มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด กรณีอุตสาหกรรม ไม่รวมมูลค่าเครื่องจักร อัตราภาษี (เพดาน) เกษตรกรรม ไม่เกิน 0.15% ที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 0.3% อื่น ๆ ไม่เกิน 1.2% กรณีที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ ตามควรแก่สภาพที่ดิน อัตราการจัดเก็บเหมือนประเภทอื่น ๆ และเพิ่มอัตราภาษี 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3% อัตราภาษีที่จัดเก็บจริง กำหนดโดย คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุก ๆ 4 ปี ที่มา: รวบรวมจาก สศค. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

72 Thammasat Economic Focus (TEF) #13
ที่มา: สศค. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

73 การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษีให้กับบ้านหลังหลัก ไม่เกินมูลค่า …… ล้านบาท
การยกเว้นภาษีให้กับบ้านหลังหลัก ไม่เกินมูลค่า …… ล้านบาท การยกเว้นภาษีให้กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในเกษตรกรรม สำหรับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

74 การบรรเทาภาระภาษี กรณีที่มีภาระภาษีมากกว่าเดิม
ที่มา: สศค. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

75 ภาษีที่ดินฯ กับการปฎิรูประบบภาษีที่ เป็นธรรมมากขึ้น
เป็นการคำนวณภาษีจากฐานความมั่งคั่งที่แท้จริง เป็นไปตามหลักการความสามารถในการจ่ายภาษี (Ability to pay) → ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ก็ต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่มีมูลค่าต่ำ การใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันเป็นฐานภาษี ทำให้มีหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนแทนการใช้ดุลย พินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการลดการทุจริต ประพฤติมิชอบของเจ้าพนักงาน “ก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสีย ภาษี” Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

76 ภาษีที่ดินฯ กับการเพิ่มรายได้จัดเก็บเองให้แก่ อปท.
ภาษีที่ดินฯ กับการเพิ่มรายได้จัดเก็บเองให้แก่ อปท. ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทุกคนต้องเข้ามาอยู่ในระบบภาษี → เป็นการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น → อปท. มี รายได้จากภาษีที่จัดเก็บเองได้มากขึ้น การยกเว้น ลดหย่อน ที่ค่อนข้างมากในร่าง พ.ร.บ.ฯ อาจทำให้รายได้ของอปท.ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

77 ภาษีที่ดินฯ กับความก้าวหน้าหรือความถดถอย ของอัตราภาษี
เป็นการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตามมูลค่า → ไม่มี ลักษณะอัตราภาษีถดถอย (Regressive Rate) เหมือนภาษี บำรุงท้องที่ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

78 ภาษีที่ดินฯ กับการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ อปท.
ภาษีที่ดินฯ กับการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ อปท. และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ หันมา สนใจการนำเงินภาษีที่ถูกจัดเก็บมาใช้จ่ายในการทำหน้าที่ ของอปท. มากกว่าในปัจจุบัน ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่อปท.มากขึ้น → เกิด การมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น → ผู้บริหารอปท. ต้อง รับผิดรับชอบ (accountability) ต่อประชาชนมากขึ้น แต่ละอปท. สามารถจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันได้ ภายใต้ อัตราสูงสุดที่ได้มีการกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. → สอดคล้องกับ หลักการของการกระจายอำนาจ Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

79 ภาษีที่ดินฯ กับประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือมิได้ทำประโยชน์ จะต้องถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติ → ผู้เป็น เจ้าของทรัพย์สินนั้น เกิดภาระต้นทุนทางด้านภาษีในการถือ ครอง → ต้องพยายามนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาทำ ประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง “เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น” Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

80 ภาษีที่ดินฯ กับการกระจายการถือครองที่ดิน
ผู้ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร จะมีต้นทุนทางด้านภาษีในการถือครองที่ดินเกิดขึ้น → เกิดการลดการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร การจัดเก็บภาษีที่ดินฯ จะมีผลต่อการกระจายการถือครองที่ดินมากน้อยเพียงใด ยังขึ้นกับอัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บจริง และอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินในแต่ละปี Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

81 ลดการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรได้น้อย
ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของกรมธนารักษ์ ปี 55-58 ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4.28% ราคาที่ดินในจังหวัดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5.34% ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของกรมธนารักษ์ ปี 59-62 ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.95% ราคาที่ดินทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6.25% หากมีการเก็บภาษีจริงในอัตราสูงสุด 3% ลดการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรได้น้อย Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

82 สัดส่วนการถือครองที่ดินที่มีเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดิน จำแนกตามผู้ถือครอง 10 กลุ่ม: ประเภทบุคคลธรรมดา และประเภทนิติบุคคล ปี พ.ศ. 2555 ที่มา: ดวงมณี เลาวกุล (2557). “การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย.” ใน สู่สังคมไทย เสมอหน้า. บทที่ 2. Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

83 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปตามหลักผู้รับประโยชน์และหลัก ความสามารถในการจ่าย ดังนั้นจึงไม่ควรมีการยกเว้นหรือลดหย่อนจำนวน มาก เพราะจะเกิดช่องโหว่ของกฎหมายขึ้น แต่ควรเก็บภาษีในอัตราต่ำ ๆ สำหรับฐานภาษีที่มีมูลค่าน้อย เพื่อไม่ให้เกิดภาระภาษีที่มากจนเกินไป หากจะยกเว้นให้กับบ้านหลังหลักสำหรับผู้ที่มีกำลังในการจ่ายภาษีได้น้อย ก็ควรอยู่ที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท เพราะเป็นมูลค่าที่อยู่อาศัยที่คนส่วนใหญ่ ของประเทศเป็นเจ้าของ และไม่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับผู้ที่มีบ้าน มากกว่า 1 หลัง แต่ต้องเสียภาษีสำหรับบ้านหลังถัดไป การยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้ในการทำการเกษตร ก็ควรเป็นการดูแล เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีกำลังในการจ่ายภาษีต่ำ การยกเว้นไม่เก็บภาษี ที่ดินเกษตร หรือยกเว้นในมูลค่าที่สูงเกินไป ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ คนที่ถือครองที่ดินจำนวนมากที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า หลีกเลี่ยงภาษีมาสู่ ช่องทางนี้ โดยสรุปคือ การยกเว้นภาษีในมูลค่าสูงจะไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้ว ให้ชัดเจนมากขึ้น Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

84 2. การกำหนดอัตราภาษีต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถตอบ วัตถุประสงค์การจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ได้ เช่น อัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ ปล่อยไว้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ หากเป็นอัตราที่ต่ำ จนเกินไป ก็จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ เพราะราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศร้อย ละ 5-6 ส่งผลให้ยังคงมีการสะสมที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไรต่อไป เนื่องจากต้นทุนในการถือครองที่ดินต่ำมาก 3. รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะทำความเข้าใจกับ ประชาชนว่า ภาษีที่ดินฯที่จะมีการจัดเก็บนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นอย่างไร และประชาชนสามารถตรวจสอบได้ 4. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐบาลควรแสดงความจริงใจและ เห็นแก่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนและประเทศชาติในระยะยาว โดยการผ่าน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ และไม่เห็นแก่กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งมีอำนาจการต่อรองในระดับบนมากกว่าประชาชนที่จะได้รับ ประโยชน์จากการพัฒนาจากท้องถิ่นในอนาคต Thammasat Economic Focus (TEF) #13 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt Thammasat Economic Focus #13 อัดฉีด เก็บภาษี ช่วยใคร?

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google