ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยΝεφέλη Αλεξίου ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
6 บทที่ รูปแบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม GEL1103
สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า Information and Education 6 บทที่ รูปแบบการเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม ฉัตรกมล อนนตะชัย 16/11/61
2
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 16/11/61
3
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
1 ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม 16/11/61
4
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.1 ความหมายของการอ้างอิง การอ้างอิง (Citations) หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนเอกสาร ทำให้งานเขียนมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนเดิม และแสดงเจตนาของผู้เขียน(ผู้ทำรายงาน)ว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลของผู้อื่น 16/11/61
5
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.2 ความสำคัญของการอ้างอิง ความสำคัญของการอ้างอิง ในการศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา หนังสืออ้างอิง บทความวารสาร หรืออินเทอร์เน็ต ที่เป็นความคิด ทฤษฎี ข้อมูล ของผู้ที่ได้ศึกษาไว้ก่อนแล้ว นักศึกษาจะต้อง วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงสารสนเทศขึ้นมาใหม่ด้วยสำนวนภาษา ของตนเอง และจะต้องใช้วิธีการอ้างอิงเอกสาร จึงจะไม่เป็นการแอบอ้างความคิดของผู้อื่น ซึ่งในการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาอ้างอิงในงานวิจัยของเรานั้น จะต้องมีการอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อ 1. เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้ 2. เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารสนเทศที่ใช้อ้างอิง 3. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน 16/11/61
6
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.3 รูปแบบการลงรายการอ้างอิง ในการอ้างถึงนั้นมีรูปแบบหรือสไตล์ในการเขียนหลายสไตล์ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละหน่วยงาน/องค์กร สาขาวิชาและของวารสารแต่ละชื่อเรื่อง ตัวอย่างสไตล์ในการลงรายการอ้างอิง (citation style) เช่น APA Style, MLA Style, Chicago Style, Harvard Style, Vancouver Style มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดได้กำหนดให้ใช้รูปแบบ APA (American Psychological Association) เป็นรูปแบบการเขียนอ้างอิงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ การศึกษาโดยอิสระ 16/11/61
7
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.3 รูปแบบการลงรายการอ้างอิง (ต่อ) 1. APA Style (American Psychological Association) เป็นสไตล์ในการลงรายการอ้างอิงที่ได้รับความนิยมมากทางด้านสังคมศาสตร์ เช่น จิตวิทยาและด้านการศึกษา รูปแบบการลงรายการรูปแบบ APA สามารถดูรายละเอียดได้จาก 2. MLA Style (Modern Language Association) เป็นสไตล์ที่ใช้มากในด้านการศึกษาภาษาอังกฤษ การเปรียบเทียบวรรณคดี การวิจารณ์วรรณกรรม และบางสาขาในหมดมนุษยศาสตร์ ตัวอย่างรูปแบบการลงรายการรูปแบบ MLA ดูได้จาก 16/11/61
8
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.3 รูปแบบการลงรายการอ้างอิง (ต่อ) 3. Chicago Style ใช้ในการอ้างอิงของทุกสาขาวิชา ตัวอย่างรูปแบบการลงรายการแบบ Chicago สามารถดูได้จาก 4. Harvard Style เป็นรูปแบบการลงรายการสไตล์หนึ่งที่มีผู้นิยมใช้มาก ตัวอย่างรูปแบบการลงรายการ ดูได้จาก 5. Vancouver Style เป็นรูปแบบการลงรายการอ้างอิงที่นิยมใช้ในสาขาแพทย์ ตัวอย่างรูปแบบการลงรายการดูได้จาก 16/11/61
9
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.4 หลักเกณฑ์ทั่วไปของการอ้างอิง 1. เมื่อตัดสินใจเลือกใช้การอ้างอิงแบบใด ให้ใช้แบบนั้นไปจนจบบทนิพนธ์เรื่องนั้นๆ จะใช้หลายๆ แบบผสมกันไม่ได้ อีกทั้งจะต้องเป็นแบบเดียวกันกับบรรณานุกรม 2. รายชื่อวัสดุอ้างอิงทั้งหมด จะต้องไปปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม จะขาดไปไม่ได้แม้แต่รายการเดียว 16/11/61
10
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.5 รูปแบบของการอ้างอิง วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม จะปรากฏอยู่ทั้งส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ 1. ส่วนเนื้อหา คือ รายการอ้างอิง (Reference List) จะมีรูปแบบ การอ้างอิงที่ใช้อยู่ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท 2. ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ 16/11/61
11
การอ้างอิงเอกสาร (Citations)
1 1.6 วิธีเขียนอ้างอิง โดยทั่วไป การอ้างอิงมี 2 แบบ คือ 1. แบบที่แยกออกจากเนื้อหา เช่น การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote), การอ้างอิงท้ายบท 2. แบบที่แทรกในเนื้อหา การอ้างอิงที่บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดกำหนดให้นักศึกษาใช้ คือ แบบแทรกในเนื้อหา หรือเรียกว่าระบบนาม-ปี ซึ่งในปัจจุบันเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม ในการอ้างอิงที่แทรกในเนื้อหานั้น จะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ 3 รายการ คือ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของวัสดุอ้างอิง 16/11/61
12
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
2 2.1 ความหมายของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา หรือการอ้างอิงระบบนามปี หรือ การอ้างอิงแบบวงเล็บท้ายข้อความ (parenthetical references) หมายถึง ข้อความที่บอกแหล่งที่มาของเนื้อเรื่อง ซึ่งแทรกอยู่ในเนื้อหา และอยู่ในวงเล็บ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เป็นการอ้างอิงที่อยู่รวมกันกับเนื้อหาไม่แยกกันคนละส่วนเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถหรือแบบการอ้างอิงท้ายบททำให้รูปแบบการอ้างอิงกะทัดรัด และยืดหยุ่นกว่าเพราะสามารถเขียนชื่อผู้แต่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาได้ หรือจะแยกใส่ไว้ในวงเล็บก็ได้ 16/11/61
13
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
2 2.2 ตัวอย่างของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตัวอย่าง การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา 16/11/61
14
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
2 2.3 วิธีการเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ในการอ้างอิงจะพิมพ์แทรกไว้ในเนื้อหาตอนใดตอนหนึ่ง โดยตำแหน่งที่เหมาะสม คือตอนท้ายของข้อความที่ยกมาอ้างอิง (ตัวอย่าง 1) หรือท้ายชื่อผู้แต่ง (ตัวอย่างที่ 2) แบบที่ 1 แบบที่ 2 16/11/61
15
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
2 2.3 วิธีการเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตัวอย่าง 1 การอ้างอิงแบบพิมพ์แทรกไว้ในตอนท้ายของข้อความที่ยกมาอ้างอิง ……ข้อความที่ยกมาอ้างอิง…../(ชื่อ//สกุลผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์, /หน้าที่อ้างอิง)/ การรู้สารสนเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถด้านสารสนเทศ โดยเป็นกระบวนการทางปัญญาเพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการสารสนเทศ การค้นหา การประเมิน การใช้สารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (สมาน ลอยฟ้า, 2544, 2) 16/11/61
16
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
2 2.3 วิธีการเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตัวอย่างที่ 2 การอ้างอิงแบบพิมพ์แทรกไว้ท้ายชื่อผู้แต่ง ชื่อ//สกุลผู้แต่ง/(ปีที่พิมพ์,/ หน้าที่อ้างอิง)/……ข้อความที่ยกมาอ้างอิง….. สมาน ลอยฟ้า (2544, 2) อธิบายว่า การรู้สารสนเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับความรู้ความสามารถด้านสารสนเทศ โดยเป็นกระบวนการทางปัญญา เพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการสารสนเทศ การค้นหา การประเมิน การใช้สารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 16/11/61
17
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.1 ความหมายของการอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน หมายถึง การรวบรวมรายชื่อเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนใช้อ้างอิงหรือศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงานนั้น เอกสารที่ใช้อ้างอิงจะปรากฏอยู่ท้ายรายงานจัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อผู้แต่งภาษาไทยก่อน ตามด้วยภาษาอังกฤษ การอ้างอิงเอกสารนี้ เรียกว่า บรรณานุกรม (Bibliography) หรือ เอกสารอ้างอิง (Reference หรือ Literature cited) 16/11/61
18
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.1 ความหมายของการอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงานเรื่องนั้นๆ ทั้งที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง และเอกสารที่ไม่ได้ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง แต่ได้อ่านประกอบในการเรียบเรียง นำมาใส่ไว้ ท้ายรายงาน เพราะคาดว่าอาจเป็นประโยชน์กับผู้อ่านอื่นๆ เอกสารอ้างอิง (Reference หรือ Literature cited) หมายถึง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียงรายงาน เรื่องนั้นๆ และเป็นเอกสารที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น การอ้างอิงเอกสารท้ายรายงานให้ใช้บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 16/11/61
19
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.2 รายละเอียดของรายการ รายละเอียดของรายการ แต่ละรายการ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นชื่อผู้แต่ง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบในการเขียนหรือผลิตสิ่งพิมพ์นั้น ซึ่งอาจเป็น ผู้รวบรวม บรรณาธิการ ผู้แปล หรือหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ ส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง ได้แก่ ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร และ ชื่อของสิ่งพิมพ์ที่ผู้เขียนนำมาค้นคว้าอ้างอิง ส่วนที่เป็นการพิมพ์ ได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ และปีพิมพ์ของหนังสือ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์ของสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทนั้น เฉพาะส่วนที่เป็นปีที่พิมพ์ จะใส่ไว้ต่อจากชื่อผู้แต่ง 16/11/61
20
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง 1. ผู้แต่งเป็นชาวไทย ใส่ ชื่อ แล้วตามด้วยนามสกุล รุ่ง แก้วแดง 2. ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ใส่ นามสกุล และตามด้วย ชื่อแรก ชื่อกลาง โดยใช้อักษรย่อ Josiah Willard Gibbs ลงเป็น Gibbs, J. W. J. K. Rowling ลงเป็น Rowling, J. K. 16/11/61
21
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง (ต่อ) 3. ผู้แต่งที่มีบรรดาศักดิ์ ให้กลับบรรดาศักดิ์ไว้ด้านหลัง พระยาอนุมานราชธน ลงเป็น อนุมานราชธน, พระยา คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ลงเป็น แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง Sir Isaac Newton ลงเป็น Newton, I., Sir 4. ผู้แต่งเป็นราชสกุล ให้ใส่ชื่อ ใส่เครื่องหมาย “,” ตามด้วยฐานันดรศักดิ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงเป็น คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. King Ugyen Wangchuck ลงเป็น Ugyen Wangchuck, King 16/11/61
22
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง (ต่อ) 5. ผู้แต่งที่เป็นภิกษุ ลงตามนามที่ปรากฏในหน้าปกใน หากมีนามเดิมให้ใส่ไว้ในวงเล็บ พระเทพเวที ลงเป็น พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) 16/11/61
23
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง 6. บุคคลธรรมดา ไม่ใส่คำนำหน้านาม ชาวต่างประเทศใส่ นามสกุล ตามด้วย เครื่องหมาย “,” และชื่อแรก ชื่อกลางให้ใส่เป็นตัวย่อ นางจิตรา จันทรางกุล. ลงเป็น จิตรา จันทรางกุล. Mister William, J. M. ลงเป็น William, J. M. 7. บุคคลธรรมดา ที่มียศตำแหน่งในหน้าที่ หรือ วุฒิทางการศึกษา เช่น ศาสตราจารย์ รอง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ร.อ. พ.อ. ดร. ไม่ต้องลง ตำแหน่ง ยศ หรือ วุฒิทางการ ศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ยศ สันตสมบัติ ลงเป็น ยศ สันตสมบัติ 16/11/61
24
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง 8. ผู้แต่งที่เป็นผู้รวบรวม ให้ใส่คำว่า ผู้รวบรวม (ภาษาอังกฤษใช้ Comp.) หรือบรรณาธิการ (ภาษาอังกฤษใช้ Ed.) ไว้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อผู้แต่งนั้นๆ โดยคั่นด้วยเครื่องหมายมหภาค (.) เช่น บรรณาธิการ กุศล สุนทรธาดา ลงเป็น กุศล สุนทธาดา. (บรรณาธิการ). P. Ray ลงเป็น Ray, P. (Ed.) J. Rudell & S. Mennell ลงเป็น Rudell, J., & Mennell, S. (Eds.). ผู้รวบรวม สมพันธ์ เตชะอธิก ลงเป็น สมพันธ์ เตชะอธิก. (ผู้รวบรวม). 16/11/61
25
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง 9. ผู้แต่งใช้นามแฝง ใส่ชื่อตามที่ปรากฏ เสือเหลือง. (2548). เมื่อเวียตนามเป็นเสือตัวที่สามในเอเชีย. พระนครฯ: ดวงกมล. 10. ไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อหนังสือ (ตัวเอน). ชื่อบทความ แทน ตามด้วย ปีที่พิมพ์ ลายคราม. (2549). พระนครฯ: บำรุงสาส์น. 16/11/61
26
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง 11. ผู้แต่งคนเดียวกัน ชื่อเรื่องต่างกัน พิมพ์ในปีเดียวกัน - เอกสารภาษา ไทย ใส่อักษร ก ข ค ไว้ท้ายปีที่พิมพ์ - เอกสารภาษาต่างประเทศ ใส่ อักษร a b c ไว้ท้ายปีที่พิมพ์ อนุ เนินหาด. (2548ก). Smith, B. (2001a) 16/11/61
27
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (1) ชื่อผู้แต่ง 12. ผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ให้ลงชื่อหน่วยงานย่อยก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานใหญ่ เช่น สำนักบัญชีและตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ลงเป็น สำนักบัญชีและตรวจสอบภายใน. กรมบัญชีกลาง. กระทรวงการคลัง. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงเป็น คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 16/11/61
28
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (2) ปีที่พิมพ์ หนังสือ 1. ใส่ปีที่พิมพ์ในเครื่องหมาย “(...)” ตามด้วยเครื่องหมาย “ . ” เช่น (1998). (2555) 2. งานพิมพ์ได้รับการตอบรับ และอยู่ในระหว่างรอพิมพ์ ใส่คำว่า “in press” ไม่ใส่ปี ภาษาไทย (อยู่ในระหว่างรอพิมพ์) ภาษาต่างประเทศ (in press) 3. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใส่อักษรย่อในเครื่องหมาย “(...)” ดังนี้ ภาษาไทย (ม.ป.ป.) ย่อมาจาก ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ภาษาต่างประเทศ (n.d.) ย่อมาจาก no date 16/11/61
29
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (2) ปีที่พิมพ์ บทความวารสาร 4. ใส่ปีที่พิมพ์ ใส่เครื่องหมาย “,” ตามด้วย เดือน และวันที่(หากมี) ในเครื่องหมาย “(...)” ภาษาไทย (2548, มกราคม - มีนาคม). ภาษาต่างประเทศ (2006, July 15) 16/11/61
30
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (3) ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร 1. ชื่อหนังสือ พิมพ์ตัวเอน สิ้นสุดชื่อหนังสือตามด้วยเครื่องหมาย “.” 2. ชื่อบทความ พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ธรรมดา ตามด้วยเครื่องหมาย “.” 3. ชื่อวารสาร พิมพ์ตัวเอน ตามด้วยเครื่องหมาย “,” 16/11/61
31
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ ชื่อเรื่อง (Title) ในหนังสือ ให้ลงรายการชื่อเรื่องตามที่ปรากฏในหน้าปกในของเอกสาร ชื่อเรื่อง ใช้ตัวเอียง ทั้งชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรใหญ่ เฉพาะอักษรแรก นอกนั้นใช้ตัวเล็ก อักษรตัวใหญ่ ใช้เฉพาะ อักษรตัวแรกชื่อเรื่อง และอักษรตัวแรกชื่อเรื่องรอง ชื่อเฉพาะ ชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน ชื่อย่อ ชื่อภูมิศาสตร์ เท่านั้น นอกนั้นใช้ตัวเล็ก เช่น 1. ชื่อเรื่องหลัก : INFORMATION TECHNOLOGY AND SOCIETY. ลงเป็น : Information technology and society. 2. ชื่อเรื่องหลัก : FAMILY PLANNING IN BANGKOK THAILAND. ลงเป็น : Family planning in Bangkok Thailand. 16/11/61
32
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ ชื่อเรื่อง (Title) ในหนังสือ ถ้ามีคำอธิบายชื่อเรื่อง หรือ ชื่อเรื่องรอง ให้ใช้เครื่องหมาย “:” คัน โดยพิมพ์ติดกับตัวอักษรสุดท้ายของชื่อเรื่องแรก ตามด้วยอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ นอกนั้นใช้ตัวเล็ก 3. ชื่อเรื่องหลัก : BEGINNING STATISTICS ชื่อเรื่องรอง : AN INTRODUCTION FOR SOCIAL SCIENTIST ลงเป็น Beginning statistics: An introduction for social scientist. 4. ชื่อเรื่องหลัก : Communication technology ชื่อเรื่องรอง : The new media in society ลงเป็น Communication technology: The new media in society. 16/11/61 16/11/61 32
33
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ ชื่อบทความ ให้ใช้อักษรตัวใหญ่เฉพาะตัวอักษรแรกของชื่อบทความ คำอื่นๆ ที่ เหลือให้ใช้อักษรตัวเล็ก ไม่ต้องใช้อักษรตัวเอนตัวอย่าง เช่น Safety of health care workers. ชื่อวารสาร ให้ใช้อักษรตัวใหญ่ทุกคำ ทั้งนี้ยกเว้นคำบุพบท คำสันธาน และใช้อักษรตัวเอน ตัวอย่าง เช่น Journal of the American Medical Association. 16/11/61 16/11/61 33
34
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (4) ครั้งที่พิมพ์ 1. พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ ต่อจากชื่อเรื่อง ในเครื่องหมาย “(...)” 2. ใส่ครั้งที่พิมพ์หนังสือ ตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ในเครื่องหมายวงเล็บต่อจากชื่อเรื่องทันทีไม่ว่า ชื่อเรื่องนั้นอยู่ในตำแหน่งใด ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค “.” ไม่ระบุการพิมพ์ครั้งแรก ภาษาไทย ลงเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาษาอังกฤษ ลงเป็น (2 nd ed.). ย่อมาจาก Second Edition ภาษาไทย ลงเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาษาอังกฤษ ลงเป็น (3 rd ed.). ย่อมาจาก Third Edition ภาษาไทย ลงเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). ภาษาอังกฤษ ลงเป็น (4 th ed.). ย่อมาจาก Fourth Edition 16/11/61
35
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (5) ปีที่ ฉบับที่ วารสาร 1. มีปีที่ ใส่ปีที่เป็นตัวเอนหลังชื่อวารสาร ตามด้วยฉบับที่ในเครื่องหมาย “(...)” 2. ไม่มีปีที่ ใส่ ปี พ.ศ. ที่จัดทำ ตามด้วยเครื่องหมาย “,” และเดือนที่จัดทำ มีปีที่ 7(5). ไม่มีปีที่ (1999, September). 16/11/61
36
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (6) สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อตามที่ปรากฏในหน้าปกในของหนังสือเท่านั้น หากเมืองนั้นไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย หรือชื่อเมืองเดียวกันนี้ซ้ำกันในหลายๆ แห่ง ให้ระบุชื่อรัฐหรือประเทศต่อจาก ชื่อเมืองโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) หากชื่อเมืองในหน้าปกใน มีมากกว่า 1 ชื่อ ให้ใส่เฉพาะชื่อเมืองแรกที่ปรากฏอยู่เท่านั้น กรุงเทพมหานคร ลงเป็น กรุงเทพฯ Carbondale, Illinois ลงเป็น Carbondale, Ill. New York, London, Sydney ลงเป็น New York ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ (ชื่อเมือง) ภาษาไทย ลงเป็น ม.ป.ท. (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์) ภาษาต่างประเทศ ลงเป็น N.P. (no place of publication) 16/11/61
37
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (7) สำนักพิมพ์ 1. สำนักพิมพ์ ไม่ต้องใส่คำว่า สำนักพิมพ์ ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันอุดมศึกษา หรือมีคำว่า Associations, Corporation, University Press, Books, Press เช่น สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ลงเป็น ไทยวัฒนาพานิช Morgan Kaufmann Publishers ลงเป็น Morgan Kaufmann 2. สิ่งพิมพ์ของหน่วยราชการให้ใช้ชื่อหน่วยราชการนั้น กระทรวงมหาดไทย Ministry of Interior 3. ไม่ทราบ/ไม่ปรากฏ สถานที่พิมพ์ กำหนดใช้ตัวย่อ ดังนี้ ภาษาไทย ลงเป็น ม.ป.พ. (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์) ภาษาต่างประเทศ ลงเป็น n.p. (no publisher) 16/11/61
38
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.3 หลักการลงรายการ (7) สำนักพิมพ์ (ต่อ) 4. ให้ลงชื่อสำนักพิมพ์ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้ามีทั้งชื่อสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ให้ใส่ชื่อสำนักพิมพ์เท่านั้น ถ้าไม่มีชื่อสำนักพิมพ์จึงใส่ชื่อโรงพิมพ์แทน คำที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสำนักพิมพ์ สำหรับภาษาไทยให้ตัดคำว่า บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และจำกัดออก ภาษาอังกฤษให้ตัดคำว่า Limited (Ltd.) Incorporated (Inc.) ออก เช่น โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงเป็น โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด ลงเป็น ซีเอ็ดยูเคชั่น McGraw-Hill, Inc. ลงเป็น McGraw-Hill 16/11/61
39
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ 16/11/61
40
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ (1) บรรณานุกรมจากหนังสือ ชื่อ//นามสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์. ผู้แต่ง 1 คน กีรติ บุญเจือ. (2547). ตรรกวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2550). ห้องสมุดมีชีวิต(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งโรจน์อินเตอร์กรุ๊ป . Andretta, S. (2005). Information literacy : A practitioner's guide. Oxford: Chandos. Klingner, D. E. (c1983). Public administration: A management approach. Boston : Houghton Mifflin. 16/11/61
41
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ (1) บรรณานุกรมจากหนังสือ ชื่อ//นามสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์. ผู้แต่ง 2-6 คน ฉัตรตรา บุนนาค, สุวรรณี อุดมผล, และ วรรณี พุทธเจริญทอง. (2547). ศิลปะการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันและทาง ธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ประกายพรึก. ลัลลนา ศิริเจริญ และ สุมาลี นิมานุภาพ. (2540). ความรู้ทั่วไป ทางภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง. 16/11/61
42
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ (2) บรรณานุกรมบทความจากวารสาร ผู้แต่ง.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,//ปีที่ (ฉบับที่), หน้าที่อ้างอิง. น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). ห้องสมุดมีชีวิต = A living library. ศรีปทุมปริทัศน์, 4(2), 16/11/61
43
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ (3) บรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต ชื่อผู้เขียน.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ค้นข้อมูล วัน เดือน ปี,// จาก ชื่อแหล่งบนอินเตอร์เน็ต. Author.//(Year).//Title.//Retrieved Month Day, Year, //From source. สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2552). การรู้สารสนเทศ e-learning. ค้นข้อมูล 3 เมษายน 2552, จาก Queensland University of Technology. (2008). Information literacy. Retrieved April 3, 2009, From 16/11/61
44
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ (4) บรรณานุกรมจากการสัมภาษณ์ ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.//วันเดือนปีที่สัมภาษณ์.//สัมภาษณ์.//ตำแหน่ง. ปรียานุช พิบูลสราวุธ. 27 ตุลาคม สัมภาษณ์. หัวหน้าโครงการวิจัย เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 16/11/61
45
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.4 แบบแผนของรายการ (5) บรรณานุกรมจากวิทยานิพนธ์ ชื่อผู้เขียน.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ปริญญา. . . สาขาวิชา. . . คณะ. . . สถาบัน…… ศิราณี จุโฑปะมา. (2539). การศึกษาปัญหาของนักศึกษาในการใช้บริการสืบค้น ฐานข้อมูล ซีดี-รอม ที่ให้บริการในฝ่ายหอสมุด สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 16/11/61
46
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.5 การเรียงรายการบรรณานุกรม 1. การเรียงลำดับ เรียงตามตัวอักษรแรกชื่อผู้แต่ง - ชาวไทยเรียงตามลำดับชื่อแรก - ชาวต่างประเทศเรียงตามลำดับนามสกุล 2. แยกรายการภาษาไทย รายการภาษาต่างประเทศ โดยเรียงภาษาไทยก่อน 3. การเรียงตัวอักษร - รายการภาษาไทยใช้หลักการเรียงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน - รายการภาษาต่างประเทศให้เรียงตามลำดับตัวอักษรต่ออักษร เช่น Holm, R. R. (1987). Holmes, O. (1975). 4. เอกสารใดไม่มีผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทความ และเรียงรายการตามลำดับตัวอักษรปนกับชื่อผู้แต่ง 16/11/61
47
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.5 การเรียงรายการบรรณานุกรม (ต่อ) 5. เอกสารหลายภาษา เรียงลำดับภาษาไทยก่อน ตามด้วยเอกสารภาษาต่างประเทศ 6. เอกสารที่ผู้แต่งคนเดียวกัน ลงชื่อผู้แต่งทุกรายการ เรียงลำดับรายการตามปีที่พิมพ์จากน้อยไปหามาก 7. เอกสารที่มีผู้แต่งหลายคน และผู้แต่งคนแรกเป็นคนเดียวกัน ให้เรียงรายการตามชื่อผู้แต่งคนที่สอง หากชื่อผู้แต่งคนที่สองซ้ำ ให้เรียงตามชื่อผู้แต่งคนที่สาม Borman, W. C., Hanson, M. A., & Oppler, S. H., (2000). Borman, W. C., Larson, R. L., & Hewlett, L. S., (2000). 16/11/61
48
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.5 การเรียงรายการบรรณานุกรม (ต่อ) วิธีเรียงบรรณานุกรม การเรียงบรรณานุกรมใช้หลักเดียวกันกับการเรียงคำ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยคำที่มีตัวสะกดจัดเรียงไว้ก่อน คำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก-กฮ ดังนี้ ก ข ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤๅ ล ฦ ฦๅ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ คำที่ชึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน เรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้ อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ รายการภาษาต่างประเทศให้เรียงตามลำดับตัวอักษรต่ออักษร A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z 16/11/61
49
การอ้างอิงส่วนท้ายของรายงาน
3 3.5 การเรียงรายการบรรณานุกรม (ต่อ) ตัวอย่าง การเรียงบรรณานุกรมเอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 16/11/61
50
ตัวอย่าง การเรียงบรรณานุกรมเอกสารภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง การเรียงบรรณานุกรมเอกสารภาษาอังกฤษ 16/11/61
51
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 1. ผู้แต่ง 1 คน อ้างถึง (ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ, 2547 ) บรรณานุกรม ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2547). ไทยในมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. อ้างถึง (Feuchtwanger, 2002) บรรณานุกรม Feuchtwanger, E. (2002). Bismark. London: Routledge. 16/11/61
52
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 2. ผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน ชาวไทยใส่ “และ” ชาวต่างประเทศ ใส่เครื่องหมาย “&” หรือ “and” คั่นชื่อคนสุดท้าย และ หน้า อ้างถึง (สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ, 2544) บรรณานุกรม สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2544). การบูรน่าการ หลักสูตร และการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. อ้างถึง (Smith, & Yamamoto, 2001) บรรณานุกรม Smith, B., & Yamamoto, Y. (2001). The Japanese bath. Saltlake City, UT: Gibbs Smith. 16/11/61
53
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 3. ผู้แต่งมีฐานันดรศักดิ์ อ้างถึง (ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2545) บรรณานุกรม ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2545). เรื่อง ทองแดง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง. 16/11/61
54
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 4. ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์ อ้างถึง (แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง, 2544) บรรณานุกรม แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. (2544). ปกิณกะ–ปฏิรูปห้องสมุด. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. อ้างถึง (Glasgow, Thomas, Sir, 1947) บรรณานุกรม Glasgow, Thomas, Sir. (1947). Society of St Andrew of Scotland. Queenland: Maryborough. 16/11/61
55
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 5. ผู้แต่งเป็นพระสงฆ์ อ้างถึง (พระมหาไสว เทวปัญโญ, 2548) บรรณานุกรม พระมหาไสว เทวปัญโญ. (2548). คติธรรม มงคลกวี. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง. 16/11/61
56
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 6. บรรณาธิการ ผู้รวบรวม ผู้เรียบเรียง อ้างถึง (สันติ อรุณวิจิตร, 2547) บรรณานุกรม สันติ อรุณวิจิตร (บก.). (2547). พูดแบบนายกฯทักษิณ. กรุงเทพฯ: วรรณสาส์น. 16/11/61
57
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 7. ไม่ปรากฏผู้แต่ง อ้างถึง (อลังการแผ่นดินวัฒนธรรม, 2543) บรรณานุกรม อลังการแผ่นดินวัฒนธรรม. (2543). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย. อ้างถึง (Anglo-American cataloging rules, 2005) บรรณานุกรม Anglo-American cataloging rules (2 nd ed.). (2005). Chicago: American Library Association. 16/11/61
58
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือ 8. ผู้แต่งเป็นสถาบันหรือหน่วยงาน และหน่วยงานเป็นผู้จัดพิมพ์ ภาษาไทยให้ใส่คำว่า “ผู้แต่ง” สำหรับ ภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “Author” แทนที่ชื่อ สำนักพิมพ์ อ้างถึง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย, 2547) บรรณานุกรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย. (2547). คู่มือการเขียน วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ. เชียงใหม่: ผู้แต่ง อ้างถึง (American Psychological Association [APA], 2001) บรรณานุกรม American Psychological Association. (2001). Publication manual of the American Psychology Association (5th ed.). Washington, DC: Author. 16/11/61
59
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม หนังสืออ้างอิง 1. พจนานุกรม อ้างถึง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ. 2542, 2546) บรรณานุกรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์. อ้างถึง (Merriam -Webster’s collegiate dictionary, 1993) บรรณานุกรม Merriam-Webster’s collegiate dictionary (10th ed.). (1993). Springfield, MA: Merriam-Webster. 16/11/61
60
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม รายงานการวิจัย อ้างถึง (ฉันทนา บรรณ, ศิริโชติ หวันแก้ว, 2535) บรรณานุกรม ฉันทนา บรรณ, ศิริโชติ หวันแก้ว. (2535). การศึกษา สถานภาพ และนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส: เด็ก ทำงาน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 16/11/61
61
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม วิทยานิพนธ์ 1. วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม ได้จากมหาวิทยาลัย หรือห้องสมุด อ้างถึง (สรรพงษ์ จันทเลิศ, 2546) บรรณานุกรม สรรพงษ์ จันทเลิศ. (2546). การสร้างเว็บไซต์ท่องเที่ยว ของ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ รับการตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 16/11/61
62
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม วารสาร 1. บทความในวารสาร มีปีที่ และ ฉบับที่ อ้างถึง (ประมูล สัจจิเศษ, 254 ) บรรณานุกรม ประมูล สัจจิเศษ. (2541). ปัญหาและแนวทางแก้ไข เศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 19(2), อ้างถึง (McArdle, 2006) บรรณานุกรม McArdle, E. (2006). Getting it right. Harvard Law Bulletin, 57 16/11/61
63
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 1. เว็บเพจ 1.1 เว็บเพจ มีผู้เขียน หรือมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบ อ้างถึง (ชวนะ ภวกานันท์, 2548) บรรณานุกรม ชวนะ ภวกานันท์. (2548). ธุรกิจสปาไทยน่าก้าวไกลไปกว่านี้. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2548, จาก 407720–opinion 16/11/61
64
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 1. เว็บเพจ 1.2 เว็บเพจ ไม่ปรากฏปีที่จัดทำ ใส่ ม.ป.ป. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) อ้างถึง (“ปัญหา”, ม.ป.ป. ) บรรณานุกรม ปัญหาสามชายแดนภาคใต้. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2549, จาก 16/11/61
65
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ 2.1 บทความจากฐานข้อมูล อ้างถึง (ชาญชัย เจริญรื่น, 2544) บรรณานุกรม ชาญชัย เจริญรื่น. (2544). การจัดแรงด้านทางอากาศ พลศาสตร์ ของเมล็ดข้าวเปลือก. วารสารวิชาการ, 9(3). ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2549, จาก ฐานข้อมูลวารสาร วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 16/11/61
66
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม โสตทัศนวัสดุ และอื่นๆ 1. ภาพยนตร์ในรูปแบบฟิล์ม, วีซีดี (VCD), ดีวีดี (DVD) อ้างถึง (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, 2544) บรรณานุกรม อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ (ผู้กำกับ). (2544). โหมโรง [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ: สหมงคลฟิล์มอินเตอร์ เนชั่นแนล. อ้างถึง (Kubrick, 1980) บรรณานุกรม Kubrick, S. (Director). (1980). The Shining [Motion picture]. United States: Warner Brothers. 16/11/61
67
ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
4 ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหาและการลงรายการบรรณานุกรม โสตทัศนวัสดุ และอื่นๆ 2. บันทึก รายการโทรทัศน์ และวิทยุ อ้างถึง (สรยุทธ สุทัศนจินดา, 2549) บรรณานุกรม สรยุทธ สุทัศนจินดา. (ผู้จัดรายการ). (2549, 1 พฤษภาคม). ผลการสอบโอเนต-เอเนต. [รายการถึงลูกถึงคน] กรุงเทพฯ: สถานีวิทยุโทรทัศน์ อสมท. 16/11/61
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.