งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรคข้อเข่าเสื่อม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรคข้อเข่าเสื่อม."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรคข้อเข่าเสื่อม

2 สถานการณ์โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุในประเทศไทย
พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 7.5 ล้านคน (11.3%) ปี 2549 ไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย ชายและหญิงที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80-90 มูลนิธิโรคข้อ

3 เข่าเสื่อมคืออะไร

4 โครงสร้างข้อเข่า

5 กล้ามเนื้อข้อเข่า

6 เอ็นยึดข้อเข่า

7 หมอนรองกระดูกข้อเข่า

8 ข้อเข่าเสื่อมหมายถึง
การที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อมสภาพ และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ก็จะเกิดการเสียดสี ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง เมื่อมีการเสื่อมมากขึ้น ข้อเข่าก็จะมีการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว

9 ภาพแสดงข้อเข่าปกติและข้อเข่าเสื่อม

10 ภาพแสดงข้อเข่าปกติและข้อเข่าเสื่อม

11 สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
1. ความเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ได้แก่ • อายุ พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมีข้อเสื่อม และอายุ 60 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40 • เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า ซึ่งอาจ เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย • น้ำหนักตัวที่เกิน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่า เสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า กิโลกรัม •

12 สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
• การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การ นั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เป็นต้น • ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง

13 สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
2. ความเสื่อมแบบทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ ข้อต่อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการ ทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้น

14 กลไกการเปลี่ยนแปลงของการเสื่อมของข้อเข่า
การสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อ  การกระจายการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อ ผิดปกติ   เยื่อหุ้มข้อ    ถูกระคายเคือง เกิดการอักเสบ กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีความแข็งแรงน้อยลง กระดูก มีการหนาตัวของกระดูก และบริเวณขอบของกระดูกจะเห็นกระดูกงอก เอ็นยึดข้อ บางส่วนหย่อนยานขึ้น

15 อาการและอาการแสดงของข้อเข่าเสื่อม
อาการข้อเข่าฝืด ตึง  การเปลี่ยนรูปร่างขอข้อเข่า  มีเสียงในข้อเข่า  อาการเจ็บเสียวที่ข้อเข่า อาการปวดเข่า  เข่าบวม  เดินลำบาก 

16 ภาพ แสดงความผิดปกติของแกนขาของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
และเข่าผิดรูปชนิดเข่าโก่งออก มีความรุนแรงตั้งแต่น้อย (ซ้าย) ถึงมาก (ขวา)

17 ภาพ แสดงความผิดปกติของแกนขาของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
และเข่าผิดรูปชนิดขาเก มีความรุนแรงตั้งแต่น้อย (ซ้าย) ถึงมาก (ขวา)

18 การวินิจฉัยภาวะข้อเข่าเสื่อม
อาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การเอ็กซเรย์ อาจจะพบความผิดปกติ เช่น ช่องของข้อเข่าแคบลง มีกระดูกงอกตามขอบของกระดูกเข่าและกระดูกสะบ้า  ในรายที่เป็นมากจะพบการโค้งงอของข้อเข่า

19 ภาพเอกซเรย์เข่าเสื่อม
ภาพเอกซเรย์เข่าปกติ ภาพเอกซเรย์เข่าเสื่อม

20 การประเมินโดยแบบสอบถาม
แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ( Oxford Knee Score )

21 ลักษณะอาการ คะแนนที่ได้
แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ( Oxford Knee Score ) ชื่อ นาย/นาง/นางสาว นามสกุล บ้านเลขที่ หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด โปรดใส่เครื่องหมาย √ หัวข้อที่ตรงกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวท่านมากที่สุด ในช่วง เวลา 1 เดือน ที่ผ่านมา ลักษณะอาการ คะแนนที่ได้ 1) ลักษณะอาการเจ็บปวดเข่าของท่าน ไม่มีอาการ ( 4 คะแนน ) อาการปวดลึกๆที่เข่าเล็กน้อย เฉพาะเวลาขยับตัวหรืออยู่ในบางท่าเท่านั้น ( 3 คะแนน ) หลังใช้งานนาน อาการปวดเข่ามากขึ้น พักแล้วดีขึ้น เป็นๆหายๆ (2 คะแนน ) อาการปวดเข่าเพิ่มมากขึ้น ปวดนานขึ้น ( 1 คะแนน ) อยู่เฉยๆก็ปวดมาก ขยับไม่ได้ ( 0 คะแนน ) 2) ท่านมีปัญหาเรื่องเข่าในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง หรือไม่ เช่นการยืนอาบน้ำเป็นต้น ไม่มีปัญหา ( 4 คะแนน ) มีอาการปวดเข่า/ข้อเข่าฝืดตึงขัดเล็กน้อย แต่น้อยมาก ( 3 คะแนน ) มีอาการปวดเข่า/ข้อเข่าฝืดตึงเล็กน้อย บ่อยครั้ง (2 คะแนน ) เริ่มมีปัญหาทำด้วยความยากลำบาก ( 1 คะแนน ) ไม่สามารถทำได้ ( 0 คะแนน )

22 ลักษณะอาการ คะแนนที่ได้
3) ท่านมีปัญหาเรื่องเข่า เมื่อก้าวขึ้นลงรถ หรือรถประจำทางหรือไม่ ไม่มีอาการใดๆ ( 4 คะแนน ) มีอาการปวดเข่า/ข้อเข่าฝืดตึงขัดเล็กน้อย แต่น้อยมาก ( 3 คะแนน ) มีอาการปวดเข่า/ข้อเข่าฝืดก้าวขึ้นลงได้ช้ากว่าปกติ ( 2 คะแนน ) มีอาการปวดเข่ามาก/ข้อเข่าฝืด ก้าวขึ้นลงด้วยความยากลำบาก ( 1 คะแนน ) ไม่สามารถทำได้ ( 0 คะแนน ) 4) ระยะเวลานานเท่าไรที่ท่านเดินได้มากที่สุดก่อนที่ท่านจะมีอาการปวดเข่า เดินได้เกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่มีอาการอะไร ( 4 คะแนน ) เดินได้ 6 – 60 นาที เริ่มมีอาการปวด ( 3 คะแนน ) เดินได้เพียง 5 – 15 นาที เริ่มมีอาการปวด ( 2 คะแนน ) เดินได้แค่รอบบ้านเท่านั้น เริ่มมีอาการปวด ( 1 คะแนน ) ทำไม่ได้และเดินไม่ไหว ( 0 คะแนน ) 5) หลังทานอาหารเสร็จ ในขณะที่ลุกจากเก้าอี้นั่ง เข่าของท่านมีอาการอย่างไร ไม่มีอาการ (4 คะแนน ) มีอาการปวดเข่า/ข้อเข่าฝืดเล็กน้อย ( 3 คะแนน ) มีอาการปวดเข่าข้อเข่าฝืดปานกลาง ( 2 คะแนน ) มีอาการปวดเข่ามาก/ข้อเข่าฝืด ลุกขึ้นยืนได้ด้วยความยากลำบาก ( 1 คะแนน ) ปวดมากไม่สามารถลุกขึ้นได้ ( 0 คะแนน )

23 ลักษณะอาการ คะแนนที่ได้
6) ท่านต้องเดินโยกตัว( เดินกระโผลกกระเผลก )เพราะอาการที่เกิดจากเข่าของท่านหรือไม่ ไม่เคย ( 4 คะแนน ) ในช่วง 2-3 ก้าวแรกที่ออกเดินเท่านั้น ( 3 คะแนน ) เป็นบางครั้ง ( 2 คะแนน ) เป็นส่วนใหญ่ ( 1 คะแนน ) ตลอดเวลา ( 0 คะแนน ) 7) ท่านสามารถนั่งลงคุกเข่าและลุกขึ้นได้หรือไม่ ลุกได้ง่าย ( 4 คะแนน ) ลุกได้ ลำบากเล็กน้อย ( 3 คะแนน ) ลุกได้แต่ยากขึ้น ( 2 คะแนน ) ลุกได้แต่ยากลำบากมาก ( 1 คะแนน ) ลุกไม่ไหว ( 0 คะแนน ) 8) ท่านมีปัญหาปวดเข่า ในขณะที่นอนกลางคืนหรือไม่ ใน 1 เดือนมี 1-2 ครั้ง ( 3 คะแนน ) บางคืน ( 2 คะแนน ) ส่วนมาก ( 1 คะแนน ) ทุกคืน ( 0 คะแนน )

24 9) ในขณะที่คุณทำงาน/ทำงานบ้านท่านมีอาการปวดเข่าหรือไม่
ลักษณะอาการ คะแนนที่ได้ 9) ในขณะที่คุณทำงาน/ทำงานบ้านท่านมีอาการปวดเข่าหรือไม่ ไม่มี ( 4 คะแนน ) น้อยมาก ( 3 คะแนน ) บางครั้ง ( 2 คะแนน ) ส่วนมาก ( 1 คะแนน ) ตลอดเวลา ( 0 คะแนน ) 10) ท่านเคยมีความรู้สึกว่าเข่าของท่านทรุดลงทันทีหรือหมดแรงทันทีจนตัวทรุดลง ไม่เคย ( 4 คะแนน ) ในช่วงแรกที่ก้าวเดินเท่านั้น ( 3 คะแนน ) บางครั้ง ( 2 คะแนน ) ส่วนมาก ( 1 คะแนน )

25 11) ท่านสามารถไปซื้อของใช้ต่างๆได้ด้วยตัวท่านเอง
ลักษณะอาการ คะแนนที่ได้ 11) ท่านสามารถไปซื้อของใช้ต่างๆได้ด้วยตัวท่านเอง ได้เป็นปกติ ( 4 คะแนน ) ไปได้ เริ่มมีอาการปวดเข่า/ตึงเข่าเล็กน้อย ( 3 คะแนน ) ไปได้ เริ่มมีอาการปวดเข่า /ตึงเข่ามากขึ้น ( 2 คะแนน ) พอไปได้ แต่ด้วยความยากลำบากมาก ( 1 คะแนน ) ไปไม่ไหว ( 0 คะแนน ) 12 ) ท่านสามารถเดินลงบันไดได้หรือไม่ เดินลงได้ เป็นปกติ (4 คะแนน ) เดินลงได้ เริ่มมีอาการปวดเข่า/ตึงเข่าเล็กน้อย ( 3 คะแนน ) เดินลงได้ เริ่มมีอาการปวดเข่า/ตึงเข่ามากขึ้น ( 2 คะแนน ) เดินลงได้ด้วยความยากลำบากมาก ( 1 คะแนน ) เดินลงไม่ได้ ( 0 คะแนน )

26 การแปลผลคะแนนสำหรับการประเมิน
การให้คะแนนสำหรับการประเมิน คะแนนรวมที่ได้ 0 ถึง 19 มีข้อบ่งชี้ : เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ระดับรุนแรง ควรรับการรักษาจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อทันที คะแนนรวมที่ได้ 20 ถึง 29 มีข้อบ่งชี้ : มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง ควรปรึกษาศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อเพื่อรับการตรวจรักษา เอกซเรย์ ข้อเข่า และประเมินอาการของโรค คะแนนรวมที่ได้ 30 ถึง 39 มีข้อบ่งชี้ : พบเริ่มมีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมควรได้รับคำแนะนำจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อเรื่องการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้อ้วน หลีกเลี่ยงท่าหรือกิจกรรมที่จะทำให้เกิดอาการและความรุนแรงของโรคมากขึ้น และการประเมินระดับอาการของโรค คะแนนรวมที่ได้ 40 ถึง 48 ยังไม่พบอาการผิดปกติ แต่ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

27 ผลการประเมิน เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรง ( 0 – 19 คะแนน ) ควรรับการ รักษาจากศัลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อทันที มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง ( 20 – 29 คะแนน ) ควรปรึกษาศัลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อเพื่อรับการตรวจรักษา เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม ( 30 – 39 คะแนน ) ควรได้รับคำแนะนำ จากศัลแพทย์กระดูกและข้อเรื่องการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ยังไม่พบอาการผิดปกติ ( 40 – 48 คะแนน ) ควรตรวจร่างกาย เป็นประจำทุกปี

28 แบบประเมินข้อเข่าเสื่อม ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
แบบสอบถาม Modified WOMAC (Westerm Ontario and MacMaster University) ฉบับภาษาไทย แบบสอบถาม modified WOMAC ฉบับภาษาไทย เป็นการประเมินอาการของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ประกอบด้วยคำถาม 3 ส่วน คือ คำถามระดับความปวด ระดับอาการข้อฝืด และระดับความสามารถในการใช้งานข้อ (ตามเอกสาร)

29 แนวทางการวางแผนรักษาหลังจากการคัดกรอง
ควรแจ้งผลการประเมิน ให้ผู้รับการประเมินได้รับทราบในเบื้องต้น และอธิบายข้อบ่งชี้สำหรับการวางแผนการรักษา รวบรวมแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทำการจำแนกประเภทผู้ป่วยเพื่อการวางแผนการดำเนินการรักษาและฟื้นฟู ตามขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม

30 คะแนนรวมที่ได้ 40 ถึง 48 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่พบอาการผิดปกติของข้อเข่า ผู้ประเมินควรให้คำแนะนำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยอาจเป็นการบริหารเพื่อสุขภาพโดยทั่วไปหรือการบริหารข้อเข่าที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว แนะนำให้เข้าร่วมรับการอบรมความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมร่วมกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ เพื่อการได้รับความรู้เพื่อการป้องกันโรคและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน

31 คะแนนรวมที่ได้ 40 ถึง 48 ให้ความรู้เชิงส่งเสริมป้องกันเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มกิจกรรมเสริมทักษะ ส่งเสริมให้บริหารกล้ามเนื้อเข่าและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เหมาะสมและถูกต้อง เฝ้าระวังและปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและชุมชน ประเมินสมรรถภาพร่างกาย (วัดรอบเอว, BMI,BP,6-minute walk test ) ประเมินซ้ำทุก 1 ปี

32 จัดอบรม การวิเคราะห์และนำข้อมูลสุขภาพคืนสู่ชุมชน
การจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องลงสู่ชุมชน หรือวางแผนกิจกรรมร่วมกัน

33 คะแนนรวมที่ได้ 30 ถึง 39 มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
ผู้ประเมินควรให้คำแนะนำการออกกำลังกายข้อเข่าในเบื้องต้น แนะนำการควบคุมน้ำหนักกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน (BMI>23) ให้หลีกเลี่ยงท่าหรือกิจกรรมที่จะทำให้เกิดอาการและความรุนแรงของโรคมากขึ้น แนะนำให้มาพบเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้คำแนะนำ ให้การรักษา หรือเพื่อพิจารณาส่งพบศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อเพื่อการประเมินระดับอาการของโรค และวางแผนการรักษาต่อไป

34 คะแนนรวมที่ได้ 30 ถึง 39 รพ.สต.ให้ความรู้เรื่องโรคและรักษา การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ (BMI ≤23) ส่งเสริมให้บริหารกล้ามเนื้อเข่าและการออกกำลังกาย แบบแอโรบิกที่เหมาะสมและถูกต้อง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและชุมชนเพื่อลดแรงกระทำที่ข้อ ให้การรักษาเบื้องต้นด้วยการใช้ยาบรรเทาปวดหากไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา นัดประเมินติดตามอย่างเหมาะสม 

35 คะแนนรวมที่ได้ 30 ถึง 39 ในพื้นที่จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม การแนะนำการปฏิบัติตัว การใช้ยา และการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมาร่วมเรียนรู้ด้วยกัน ส่งเสริมถึงความตระหนักร่วมกันในชุมชนในการรักษาโรคดังกล่าว โดยทั้งนี้อาจเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ พยาบาล นักกายภาพบำบัดนักโภชนากร ตลอดจนผู้รับผิดชอบในชุมชนท้องถิ่น มาให้ความรู้ดังกล่าว

36 คะแนนรวมที่ได้ 20 ถึง 29 ให้ความรู้การปฏิบัติตัวเหมือนกลุ่มที่เริ่มมีอาการ ส่งปรึกษาแพทย์ที่มาปฏิบัติงานที่รพ.สต.เพื่อวินิจฉัยและสั่งการรักษา ให้การรักษาด้วยการใช้ยาบรรเทาปวดประมาณ 1 เดือน.หากอาการดีขึ้นนัด F/U อีก 6 เดือน หากอาการไม่ดีขึ้นส่งต่อรพ.ชุมชนเพื่อวินิจฉัยและสั่งการรักษา

37 กลุ่มผู้ป่วยที่ได้คะแนนรวมที่ได้ 0 ถึง 19
สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มีข้อบ่งชี้ว่า เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ระดับรุนแรง -พิจารณาส่งต่อรพ.ชุมชน / รพ.แม่ข่ายเพื่อเข้ารับการรักษาจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อเพื่อรับการตรวจ เอกซเรย์ ข้อเข่าและประเมินอาการและวางแผนการรักษาต่อไป

38 ยาที่ใช้ในโรคข้อเสื่อม
เภสัชกร มานพ ขันตี เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)

39 ยาใช้ภายนอก 1.Capsaicin : สารสกัดที่มีรสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนได้มา จากพวกพริกแดง (ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นเซลล์ประสาท Unmyelinated type C afferent Neuron ยับยั้ง Substance p 2. Methylsalicylate, Menthol, Euqenol : สูตร Counterpain 3. Topical NSAIDs ได้แก่ Diclofenac gel, Indomethacin gel, Pixoxicam gel ข้อดี หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาชนิดรับประทาน

40 ยารับประทาน 1. Non-Narcotic analgesics
1.1 Acetaminophen (Paracetamol) ตามมาตรฐานแนะนำให้เป็นยาแรกในการรักษา OA ข้อดี ปลอดภัย, ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ขนาดการใช้ OA ใช้ได้ กรัม/วัน Meta-analysis พบว่าผลในการแก้ปวดของ Para ในผู้ป่วย OA พบว่ามีประสิทธิภาพด้อยกว่ากลุ่ม NSAIDS US FDA ได้ประกาศให้ Para เป็นยาที่ต้องจ่ายโดยแพทย์เพราะฤทธิ์ต่อ ตับ และปรับขนาดเป็น 325 mg/เม็ด ตั้งแต่ปี 2014 ปรับขนาดการใช้เป็น 650 mg วันละ 4 ครั้ง

41 - เป็น Analgesic ในขนาดต่ำ และเป็น anti-inflamatory ในขนาดสูง
1.2 Nonsteroidal Anti-Inflamatory Drugs (NSAIDS) - เป็น Analgesic ในขนาดต่ำ และเป็น anti-inflamatory ในขนาดสูง - ใช้เมื่อให้ Paracetamol แล้วไม่ได้ผลในการลดปวดหรืออักเสบ - มีทั้งชนิดที่เป็น nonselective เช่น Indomethacin, Diclofenac, Piroxicam ชนิด Cox-2 selective ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพเท่ากัน Non-selective ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซด์ Cyclooxygenase- isoforms ชนิดที่ 1 และ 2 (Cox-1 และ Cox-2)

42 ผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ พิษต่อกระเพาะและทางเดินอาหาร พิษต่อไต ทำความเข้าใจ : Selective Cox-2 Inhibitor มีผลข้างเคียงต่อ กระเพาะและทางเดินอาหารต่ำ แต่ที่ไตนั้นพบ Cox-2 อยู่ตามปกติ ผู้ป่วยโรคตับ : หลีกเลี่ยงยากลุ่ม non-selective เช่น Indomethacin, Diclofenac ถ้าจำเป็นให้ใช้ตัว Ibuprofen ผู้ป่วยการทำงานของไตบกพร่อง : หลีกเลี่ยงการใช้ NSAIDs ถ้า จำเป็นให้ใช้ในระยะเวลาอันสั้น หลีกเลี่ยง Indomethacin เพราะมีรายงานการอักเสบของไตได้บ่อย การแก้ไข : ใช้ยา Misoprostol ซึ่งมีฤทธิ์ Mucosal Protective Drug Interaction

43 หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs กับยาดังต่อไปนี่ - Warfarin - ACEI - beta-blocker - ร่วมกับ Aspirin ที่ใช้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด 1.3 Cox-2 Inhibitors ข้อควรระวังก็คือ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะว่า Cox-2 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการห้ามเลือด เนื่องจากเรา พบ Cox-2 บน endothelial cells -->Cox-2 -->สร้าง prostaglandin A2 ซึ่งออกฤทธิ์ต้านการเกิดลิ่มเลือด

44 ข้อมูลทดลองทางคลินิก กับยา celecoxib ในขนาดไม่เกิน 400 mg/ วัน พบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ พบว่ากลุ่ม Traditional NSAIDs เช่น Diclofenac ก็มีความเสี่ยงนี้ ตัวที่ปลอดภัยที่สุดคือ Naproxen 1.4 Corticosteroids ที่นิยมใช้กันคือ ยาฉีดมี 2 ตัว คือ Triamcinolone hexacetonide 10 ถึง 20 mg Methylprednisolone acetate 20 ถึง 40 mg ความจำกัดจำนวนการใช้ปีละ 4 ครั้ง อาการข้างเคียง เหมือนยารับประทานระยะยาว บวมน้ำ ความดัน โลหิตสูง อาหารไม่ย่อย ความดันโลหิตสูง กดการทำงานของต่อมหมวก ไต ไม่แนะนำให้ใช้ Steroid กินในผู้ป่วย OA เลย

45 2. Opioid analgesic - ใช้ในผู้ที่ใช้ยาในกลุ่มข้อที่ 1 แล้วไม่ได้ผล - ผู้ป่วยโรคไตวาย, โรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีใช้ : ให้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดสำหรับผู้ป่วย Tramadol : เป็น opioid analog สังเคราะห์ ออกฤทธิ์ระงับปวดโดย จับกับ u-receptor ขนาดการใช้ ควรเริ่มจากขนาดต่ำๆก่อนคือ 100 mg/วัน (1 แคปซูล มีตัวยา 50 mg) แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดการใช้ขึ้นจนเป็น 200 มิลลิกรัม/วัน อาการอันไม่พึงประสงค์ คือ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ท้องผูก ปวดศีรษะ และง่วงซึม

46 - ไม่มีความเสี่ยงต่อเลือดออกในทางเดินอาหาร - ไม่ก่อให้เกิดไตวาย ข้อน่าห่วง วัยรุ่นมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด กลุ่มอื่น ๆ Glucosamine Glucosamine เป็นสารที่พบตามธรรมชาติในร่างกาย และเป็น ส่วนประกอบของ articular matrix molecule ตามธรรมชาติซึ่งก็คือ myaluronic acid (HA) ซึ่ง HA เป็น glycosaminoglycan ซึ่งเป็น องค์ประกอบที่สำคัญของน้ำไขข้อ

47 ข้อเสื่อม  ความเข้มข้นของ HA ลดลง ขนาดที่ใช้ 1500 mg/วัน ผลข้างเคียง เกิดกับระบบทางเดินอาหาร มีแก๊สในกระเพาะ ท้องอืด เป็นตะคริว -ระวังในผู้ที่แพ้อาหารทะเล เพราะทำจากสัตว์ทะเลจำพวก เปลือกหอย, เปลือกปู

48 การรักษาโดยการใช้ยา ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol ยาแก้อักเสบ steroid เมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความ นิยม ลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น

49 การรักษาโดยการใช้ยา ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน ยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้ มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก

50 แบบประเมินการใช้งานข้อเข่า_แบบสั้น รพ.นครพิงค์
ชื่อผู้ป่วย……………………….……………………..อายุ………ปี DX…………………….. HN……………… 1.ลุกขึ้นจากเตียง ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด 2.สวมถุงน่องหรือถุงเท้า ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด 3.ลุกขึ้นจากเก้าอี้ ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด 4. ก้มหยิบของจากพื้น ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด 5.หมุนบิดขาบนเข่าข้างที่ปวด ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด 6.คุกเข่า ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด ย่อเข่าหรือนั่ง ( )ไม่ลำบากเลย ( )ลำบากเล็กน้อย ( )ลำบากปานกลาง ( ) ลำบากมาก ( )ลำบากมากที่สุด

51 การตรวจประเมินและการรักษาทางกายภาพบำบัด
ตรวจร่างกาย ตรวจประเมินโดยใช้ แบบประเมิน KOOS-PS

52 การรักษาทางกายภาพบำบัด
ให้ความรู้เรื่องโรคการและรักษา การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ 2.3 ฝึกทักษะในการบริหารกล้ามเนื้อเข่า +/- การออกกำลังกาย แบบแอโรบิก 2.4 แนะนำปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและชุมชนเพื่อลดแรงกระทำที่ข้อ

53 ตัวอย่างการรักษาทางกายภาพบำบัด
คลื่นเสียงความถี่สูง เทคนิกการขยับข้อ ดัดดึงข้อต่อ

54 การรักษาทางกายภาพบำบัด
นัดติดตามการรักษา และประเมินซ้ำ โดยใช้ แบบประเมิน KOO S-PS และ OXFORD

55 แนวทางการรักษาและการส่งต่อ
แนวทางการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แนวทางการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลชุมชน แนวทางการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลแม่ข่ายและรพ.นครพิงค์ (ตามเอกสารแนบ)

56 แนวทางการรักษา การส่งต่อ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ โสภณ นายแพทย์เชี่ยวชาญ ประธานเครือข่ายศัลยกรรมกระดูกและข้อ จ.เชียงใหม่

57 การผ่าตัดเปลี่ยนข่อเข่าเทียม

58 ตัวอย่างวัสดุที่ใส่เข้าไปแทนผิวข้อที่เสื่อม

59 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
ช่วยฟื้นฟูการทำงานของข้อและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่อาการปวดไม่ทุเลา หลังจากได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์ทั้งการไม่ใช้ยาและการใช้ยา จากหลักฐานการทบทวนอย่างเป็นระบบพบว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าให้ผลลัพธ์คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจน มีอัตราสะสมการกลับมาแก้ไขใหม่หลังจากผ่าตัดไปแล้ว 10 ปี ร้อยละ 10 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นการรักษาที่มีความคุ้มค่าประสิทธิผล มากกว่าการรักษาด้วยการยาในปัจจุบัน

60 การล้างข้อและการตัดแต่งเนื้อเยื่อในข้อด้วยการส่องกล้อง
แนะนำให้ทำการส่องกล้องผ่าตัดในข้อ เฉพาะ ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการทางกลวิธาน คือมีหมอนรองข้อเข่าหรือ กระดูกอ่อนหรือมีแผ่นเนื้อทำให้ข้อเข่ายึดเหยียดงอไม่ได้หรือเดินแล้วล้มเท่านั้น

61 การทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วนด้านใน
1. มีผิวข้อเสื่อมเฉพาะด้านในเท่านั้น 2. ผู้ป่วยไม่ต้องทำงานหนัก 3. มีเอ็นข้อเข่าทั้งหมดเป็นปกติ 4. มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 กก./ตร.ม. 5. ไม่มีการยึดติดของข้อเข่า ไม่ว่าเป็นการเหยียดหรือการงอ

62 การผ่าตัดกระดูกจัดแนวแข้งด้านบน
1. มีผิวข้อเข่าเสื่อมเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น 2. ต้องมีเอ็นยึดข้อเข่าและหมอนรองข้อเข่าที่ปกติ 3. ต้องไม่เป็นข้อเข่าเสื่อมจากเหตุโรคข้ออักเสบ 4. มีอายุน้อยซึ่งต้องทำงานหนัก 5. มีพิสัยการขยับของข้อเข่าได้มากกว่าหรือเท่ากับ 90 องศา 6. ไม่มีการยึดติดของข้อเข่า ไม่ว่าเป็นด้านเหยียดหรืองอ

63 การผ่าตัด ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากได้ผลดีและโรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธีดังนี้ การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรก ที่เกิดจาก การ สึก ออกมา การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบัน นิยมลดลง การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ ชีวิตได้ดีขึ้น

64 การผ่าตัด การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope)

65 ข้อบ่งชี้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ
ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่สมควรได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อต้องมีลักษณะซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ทุกข้อดังต่อไปนี้ 1. ให้การรักษาอนุรักษ์ ทั้งการไม่ใช้ยาและการใช้ยาร่วมกันแล้ว ไม่ได้ผลเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน 2. มีผิวข้อเข่าทุกผิวเสื่อมอย่างรุนแรง 3. อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป

66 ข้อห้ามการทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ
1. ข้อเสื่อมเหตุประสาทพยาธิสภาพ 2. มีการติดเชื้อในข้อในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา 3. มีการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า

67 การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ

68 ภาพแสดง ข้อเข่าเทียม ภายหลังจากการผ่าตัด

69

70 ข้อเข่าเทียมรุ่นใหม่

71 การประเมินผลการรักษาและการติดตามผล
แนะนำให้มีการประเมินผลการรักษา และเยี่ยมติดตามแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด หรือนักบริบาล เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

72 การเยี่ยมติดตาม เพื่อติดตามประเมิน ความเจ็บปวด
การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา การประกอบกิจวัตรประจำวัน และการประกอบอาชีพ การจัดการตนเอง ส่งผลให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ดีกว่าการที่แพทย์หรือ พยาบาลเป็นผู้ให้ข้อมูลแบบทางเดียว


ดาวน์โหลด ppt โรคข้อเข่าเสื่อม.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google