ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บุคลิกภาพ (Personality)
อ.วัลลภา วาสนาสมปอง
2
“สิริมามีบุคลิกที่มองโลกในแง่ดี”
“อดิเทพไม่ใช่คนที่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกดีมาก” “เพื่อนๆต่างสาขาต่างมองอ.เอ๋ เป็นคนที่เจ้าระเบียบ น่ากลัว พวกเขาน่าจะเห็นนิสัยที่แท้จริงที่ปรากฏออกมาตอนอ.เอ๋ สอนพวกเราสาธารณสุข” “มันยากมากที่จะไม่เชื่อว่า รถเมล์ กับ นุ่น ไม่ใช่ฝาแฝดกัน เพราะเขาสองคนมีบุคลิกที่เหมือนกันเหลือเกิน” เมื่อพิจารณาจากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่าบุคคลมักเลือกใช้คำว่า “บุคลิก” “บุคลิกภาพ” ในการสื่อสารหรือพูดคุยกันในชีวิตประจำว่า แล้วคำว่า บะคลิกภาพ นั้น หมายถึงอะไร ?????
3
หลายคนยังเข้าใจคาดเคลื่อนระหว่างคำว่า personality (บุคลิกภาพ) กับ character (คุณลักษณะ)
จริงๆแล้วคุณลักษณะนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลได้รับการประเมินค่าในเชิงคุณภาพทางบวก ไม่ใช่เพียงการบรรยายผิวเผิน (Bryan&Babelay,2009) ซึ่งการจะกล่าวถึงใครสักคนว่ามีบุคลิกภาพแบบใดนั้น มักรวมถึงคุณลักษณะด้วย การจะกล่าวว่าใครมีบุคลิกภาพ ขึ้นอยู่กับสังคมวัฒนธรรม และสายตาของกลุ่มคนบางสังคม เช่น ในสังคมของมาเฟีย คนที่เคร่งขรึม ถูกมองว่าบุคลิกภาพดี เป็นต้น
4
Personality บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนที่ประกอบไปด้วยรูปลักษณ์ทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและพฤติกรรม ซึ่งทำให้มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บุคลิกภาพบางอย่างก็ติดตัวมาแต่กำเนิดและบางอย่างก็ได้รับผลจากการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสภาพแวดล้อมหรือในสังคมที่ใกล้ชิด ซึ่งแต่ละคนมีการพัฒนาและประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน บุคลิกภาพจึงมีลักษณะเป็นของเฉพาะตัว บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอย่างน้อยจะแสดงออกให้ปรากฏ 3 ด้านคือ 1. บุคลิกภาพด้านรูปร่างหน้าตา สีผม สีผิว เพศ อายุ และจากอิทธิพลของต่อมในร่างกาย 2. บุคลิกภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และความรู้สึก 3. ทางด้านสังคม อุปนิสัยใจคอ ความนิยมชมชอบ ระเบียบแบบแผนและประเพณี สรุป บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะโดยรวมของแต่ละบุคคล ทั้งลักษณะภายในและภายนอกและปัจจัยต่างๆ อันมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้พบเห็น
5
บุคลิกภาพของบุคคล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคลิกภาพภายนอก เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ได้แก่ รูปร่าง หน้าตาที่ การแต่งกายการพูด การวางตัว 2. บุคลิกภาพภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสและรู้ได้ด้วยการติดต่อสื่อสาร การคบหาซึ่งกันและกันจะทำให้สามารถรู้ได้ว่าแต่ละคนมีบุคลิกภาพภายในอย่างไร เช่น เป็นคนขยัน อดทน เข้มแข็งความกล้า ความกลัว
6
ลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ
1. บุคคลแต่ละคน มีลักษณะรูปร่างเป็นไปตามพันธุกรรม เมื่ออยู่ในสังคมจะเกิดการเรียนรู้และมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล 2. บุคลิกภาพ เป็นลักษณะพฤติกรรมส่วนรวมของบุคคล ซึ่งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมาจากตัวบุคคลนั้น 3. บุคลิกภาพของบุคคลจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการมองเห็นของบุคคลอื่น 4. บุคลิกภาพเกิดจากการที่บุคคลใช้ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้
7
องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
1. ลักษณะทางกาย ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา สัดส่วน ผิวพรรณ สีผม ความสูง น้ำหนัก เป็นลักษณะประจำตัวของบุคคล 2. ลักษณะทางใจ ได้แก่ ความคิด ความจำ จินตนาการ ความสนใจ ความตั้งใจ การตัดสินใจสติปัญญา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสมอง 3. อุปนิสัย ได้แก่ ความสุภาพอ่อนโยน ความซื่อสัตย์เชื่อถือได้ ความเคารพสิทธิ ส่วนบุคคลไม่เห็นแก่ตัว มีศีลธรรมจรรยา ซึ่งเป็นกิริยาที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม 4. อารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกแห่งจิตที่ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ตื่นเต้น ตกใจ โกรธ กล้าหาญหวาดกลัว ร่าเริง หดหู่ หงุดหงิด วิตกกังวล ฯลฯ 5. การสมาคม คือ กิริยาท่าที อาการที่บุคคลแสดงต่อผู้อื่น เช่น เป็นคนชอบคบหาสมาคมกับผู้อื่นหรือเป็นคนเก็บตัว เห็นใจผู้อื่น ไม่แยแสผู้อื่น ฯลฯ
8
ปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพ
1. พันธุกรรม (Heredity) เป็นสิ่งที่บุคคลได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ได้แก่ รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ ฯลฯ 2. ประสบการณ์ (Experience) เป็นการเรียนรู้และปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้อง ประสบการณ์มี 2 ประเภทคือ 2.1 ประสบการณ์ทั่วไป เป็นประสบการณ์ธรรมดาที่ทุกคนในสังคมได้รับเหมือนๆ กัน เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี การเรียนรู้บทบาทของตนเอง 2.2 ประสบการณ์ส่วนตัว เป็นประสบการณ์ของแต่ละคนที่ประสบด้วยตนเองโดยที่บุคคลอื่นไม่เคยพบเช่นเดียวกับเรา หรือเราอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเพียงคนเดียวก็ได้
9
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม พิจารณาได้จาก 1. ความมั่นใจ ผู้มีบุคลิกภาพดีจะมีความมั่นใจในการแสดงออกมากขึ้น และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จจึงมีมากขึ้น 2. การยอมรับของกลุ่ม ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีย่อมเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป 3. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น การที่เรารู้บุคลิกภาพของผู้อื่น ทำให้เราสามารถปรับตัว เข้ากับบุคคลและสถานการณ์ได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น 4. ความสำเร็จ ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีจะได้เปรียบคนอื่นเสมอ เพราะสามารถสร้างความศรัทธาน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น ได้รับความร่วมมือ ช่วยให้ทำงานได้สำเร็จง่ายขึ้น 5. เอกลักษณ์ของบุคคล บุคลิกภาพทำให้คนมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบอย่างที่ดีและแบบอย่างที่ไม่ดีได้
10
ความแตกต่างของบุคลิกภาพ
เป็นที่ยอมรับกันว่าบุคลิกภาพของบุคคลจะแตกต่างกัน ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างของบุคลิกภาพ มีดังนี้ 1. เพศ ธรรมชาติและสังคมกำหนดให้เพศหญิงและชายมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเพศหญิงไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดจะมีความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของบุคคลได้ดีกว่าเพศชาย และเพศชายมีความก้าวร้าวมากกว่าเพศหญิงในทุกกรณี 2. อายุ บุคลิกภาพของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ได้แก่ ความระมัดระวัง ความเข้มแข็งความคิดและความจำ ช่วงอายุที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมด้านความคิดและความจำ ส่วนใหญ่คือ กลุ่มอายุที่สูงกว่า 60 ปีขึ้นไป
11
3. สุขภาพ บุคลิกภาพของบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ 2 ด้านคือ สุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิต 4. อาชีพ อาชีพเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ เพราะอาชีพจะหล่อหลอมให้บุคลิกภาพของบุคคลสอดคล้องกับลักษณะอาชีพ 5. ประสบการณ์ บุคคลย่อมมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน บุคคลที่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี มีความอบอุ่นในครอบครัว จะทำให้เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และบุคคลที่มีประสบการณ์ที่เลวร้ายในชีวิต จะทำให้เป็นผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย หวาดระแวง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นต้น
12
ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพดี
ผู้มีบุคลิกภาพดี เป็นผู้ที่มีพื้นฐานด้านสุขภาพดี สามารถปรับตัวได้ดี และส่งผลทำให้บุคลิกภาพดีและมีความสามารถทางจิตใจที่สำคัญ ดังนี้ 1. ความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจสภาพเป็นจริงอย่าง 2. การแสดงอารมณ์ในลักษณะและควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม โดยธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ชอบอยู่ลำพังต้องการได้รับการยกย่อง เป็นที่รักต้องการความปลอดภัยและไว้วางใจจากผู้อื่น 4. ความสามารถในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม 5. ความรักและความต้องการทางเพศ มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตและส่งผลต่อบุคลิกลักษณะของบุคคล 6. ความสามารถในการพัฒนาตน ตนในที่นี้หมายถึง ตนที่แท้จริงและตนที่แสดงออกต่อผู้อื่น ดังนั้นผู้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์จะมีความรู้สึกต่อตนเองในแง่ดี และเข้าใจตนเอง
13
ลักษณะบุคลิกภาพทางกาย
ลักษณะของบุคลิกภาพที่ดี รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย ลักษณะบุคลิกภาพทางกาย ความสะอาดและสุขภาพอนามัย กิริยาท่าทาง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ 2. บุคลิกภาพทางอารมณ์ และจิตใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน มีความสามารถในการตัดสินใจ วาจาสุภาพนุ่มนวล ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและจดจำได้ง่าย 3. บุคลิกภาพทางวาจา น้ำเสียงและคำพูดที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่เหมาะสม
14
ทฤษฎีบุคลิกภาพที่สำคัญ
15
การพัฒนาบุคลิกภาพ “ไม่มีใครที่มีบุคลิกภาพดีไม่ได้และไม่มีใครมีบุคลิกภาพเลวร้ายไปหมดทุกอย่าง” ดังนั้น บุคลิกภาพเรียนได้และแก้ไขได้ เราพัฒนาลักษณะเฉพาะของตัวเราให้ดีขึ้นได้ บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ได้จากประสบการณ์ที่สะสมมา รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคมและการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว จะแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง คำพูดหรือกิริยามารยาท บุคลิกภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยทำให้บุคคลประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอาชีพได้
17
ผู้ที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนจะต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ตนเองก่อนเนื่องจากมนุษย์ทุกคนมักจะมีนิสัยเข้าข้างตนเอง และคิดว่าตนเองดีแล้วไม่มีข้อบกพร้องใดๆ จึงสมควรต้องอาศัยผู้อื่นช่วยดูและวิเคราะห์แนะนำ บุคคลทั่วไปมักมีลักษณะดังนี้ 1. คนเรามักไม่ค่อยได้สำรวจตัวเอง 2. คนเราจะคุ้นเคยกับตนเองและไม่รู้ว่าตนเองมีอะไรไม่ดีบ้าง 3. คนเราจะรู้สึกว่าตัวเองดีไปหมด
18
การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)
การพัฒนาบุคลิกภาพ คือ การเปลี่ยนแปลงให้บุคลิกภาพดีขึ้น และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข มีความมั่นใจในตนเอง มีพลังในการทำงาน เกิดเป็นกระบวนการที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และมีทัศนคติที่ดีขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพ ควรพัฒนาด้านต่างๆ ต่อไปนี้ 1. การพัฒนาด้านร่างกาย รูปร่าง ท่าทาง การพูด การเดิน การวางตนเหมาะสม ในทุกๆ โอกาส ทุกๆ สถานที่ มีการจัดการกับตัวเองให้เข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ได้ถูกต้อง 2. การพัฒนาด้านสติปัญญา สามารถทดสอบด้านสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบ 3. การพัฒนาด้านอารมณ์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องพัฒนาอารมณ์ของตนเอง ให้มั่นคงและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เพราะคนเราจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางอารมณ์ชัดเจน
19
4. การพัฒนาความสนใจ สามารถใช้แบบทดสอบความสนใจวัดได้ 5
4. การพัฒนาความสนใจ สามารถใช้แบบทดสอบความสนใจวัดได้ 5. การพัฒนาด้านกำลังใจ เริ่มจากวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ทำได้โดย การอบรมในทางที่ถูกต้อง , ให้มีความรอบรู้และมีความพอใจในสิ่งที่จะทำ ให้รู้จักค่าของเวลา และให้มีความเข้าใจในเรื่องอุปสรรค และความผิดพลาด 6. การพัฒนาด้านอุปนิสัย อุปนิสัยที่สังคมยอมรับ ได้แก่ ความอดทน สุขุม สงบเสงี่ยม เรียกร้องความเสียสละ ความมีน้ำใจ ความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น 7. การพัฒนากับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์แปลกๆ ช่วยให้บุคคลเอาชนะความยากลำบากในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
20
วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ นักจิตวิทยา โรเจอร์ส มีแนวคิดว่าผู้มีบุคลิกภาพไม่พึงปรารถนา เช่น มองโลกในแง่ร้าย เคียดแค้นสังคม โยนความผิดให้ผู้อื่น วิตกกังวลสูง มีปมด้อย เหยียดหยามผู้อื่น เป็นเพราะบุคคลนั้นมีความสอดคล้องกันระหว่างความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองกับสภาพความเป็นจริง โดยการประเมินตนเองสูงเกินไป(Overestimate) หรือต่ำเกินไป (Underestimate) ดังนั้น การช่วยให้คนรู้จักตนเองเป็นความพร้อมที่จะปรับปรุงและมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพที่พึงปารถนา สามารถทำได้ตามขั้นตอนของการพัฒนา ต่อไปนี้ 1. ตระหนักในความสำคัญของบุคลิกภาพ 2. ประเมินบุคลิกภาพของตนทั้งด้านดี และด้านที่ยังบกพร่อง 3. มุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพของตนอย่างจริงจังและถูกวิธี
21
การปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร(Communication)
บุคคลที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร การที่จะชักจูงให้ผู้อื่นยอมรับและคล้อยตาม จะต้องสื่อสารให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการสื่อสารนั้นการติดต่อสื่อสารส่วนใหญ่จะใช้วิธีการพูด ดังนั้น เราจะต้องเป็นผู้พูดที่ดีและในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถามคำถามและแสดงปฏิกิริยาทางคำพูดเพื่อโต้ตอบเราในระหว่างการสนทนา และฟังด้วยความสนใจการฟังจึงมีความสำคัญเท่า ๆ กับการพูด หลักสำคัญในการปรับปรุงการพูด 1. อย่าพูดมากเกินไป 2. ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม 3. ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมและน่าฟัง 4. ใช้กิริยาที่เหมาะสม ว่างสีหน้าและยิ้มแย้มแจ่มใส การปรับปรุงการพูด การยิ้มอาจทดแทนคำพูดได้หลายคำ จึงควรหัดยิ้มให้เกิดความเคยชิน ยิ้มเป็นเวลาในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง ทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวก
22
การฝึกนิสัยของการฟังที่ดี จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. มีสีหน้าและท่าทางสนใจฟังในขณะที่ผู้พูดทำการพูด 2. ในขณะที่กำลังฟังหากมีคำพูดที่ไม่สบอารมณ์ ผู้ฟังควรสงบสติอารมณ์ของตนให้ได้ 3. จับประเด็นคำพูดที่สำคัญให้ได้ และจดบันทึก 4. ไม่ควรสนใจ เสียงรบกวนใดๆ ในขณะฟัง 5. สรุปการพูดโดยทบทวนในใจ การปรับปรุงการฟัง การเป็นนักฟังที่ดี ต้องรู้ว่าขณะนี้เรากำลังฟังใครพูดควรฟังด้วยความสนใจ และบันทึกสิ่งที่สำคัญๆ การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน บุคลิกภาพภายในคือสิ่งที่มองไม่เห็นและสัมผัสยาก จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยการอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน คบค้าสมาคมกันไปนานๆ แล้วบุคลิกภาพภายในจึงจะค่อยๆ แสดงออกมาหากบุคลิกภาพภายในไม่ดีเป็นเรื่องที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงยาก และต้องใช้เวลานาน
23
บุคลิกภาพภายใน ได้แก่
บุคลิกภาพภายใน ได้แก่ ความกระตือรือร้น พยายาม และตั้งใจจริง ความซื่อสัตย์ ทำให้เราได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อถือ ความสุภาพด้านกิริยามารยาท ความแนบเนียน คือ การปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ ในเรื่องการพูด การกระทำ และเหมาะกับเวลา จะช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆ การยับยั้งชั่งใจ อดทน อดกลั้น เป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้สามารถระงับอารมณ์ และมีจิตใจสงบพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ จินตนาการ คือความสามารถในการใช้ประโยชน์ พัฒนาหรือสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ความจริงใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือความเป็นมิตร
24
แบบทดสอบบุคลิกภาพ"Extended DISC"
"Extended DISC" พัฒนามาจากทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิดของ "คาร์ล กุสตาฟ จุง" (Carl Gustav Jung) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านพฤติกรรมเป็นคนแรกๆ โดยได้แบ่งรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ D I S C เลือกตัวเลือกที่คิดว่าบ่งบอกความเป็นตัวท่านมากที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวในแต่ละข้อ ข้อ 1 ก.ชอบสังคม รักเพื่อนพ้อง ข.รับฟัง เก็บตัว ค.แม่นยำ ถูกต้อง ง.กล้าตัดสินใจ ไม่รวนเร ข้อ 2 ก.มีความมั่นใจ กล้า ข.จูงใจเก่ง จุดประกายให้ผู้อื่น ค.เน้นการทำงานเป็นทีม เข้ากับกลุ่มได้ ง. ช่างซักช่างถาม ช่างสังเกต ข้อ 3 ก.มีวินัย ควบคุมตัวเองได้ ข.มีสติ ขี้อาย ค.ปรับตัวเก่ง ปรับตัวได้ง่าย ง.ต้องการชนะ ชอบแข่งขัน ข้อ 4 ก.มีระเบียบ ถี่ถ้วน ข.กล้าเสี่ยง มีความมั่นใจ ค.เรียกใช้ง่าย เสียสละเพื่อส่วนรวม ง.ช่างจินตนาการ มองโลกในแง่ดี
25
ข้อ 1 ก.I ข.S ค.C ง.D ข้อ 2 ก.D ข.I ค.S ง.C ข้อ 3 ก.C ข.S ค.I ง.D
ข้อ 4 ก.C ข.D ค.S ง.I หมายเหตุ แบบทดสอบนี้เป็นตัวอย่างแบบทดสอบเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งจำลองจากแบบทดสอบฉบับสมบูรณ์ของ Extended DISC ดังนั้นผลที่ออกมาจากแบบทดสอบนี้เป็นเพียงผลคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจในแนวคิดเรื่อง Extended DISC มากขึ้น
26
D - style (dominance) กล้าตัดสินใจ เน้นผลลัพธ์ มุ่งมั่น ทำอะไรรวดเร็ว พูดจาเสียงดัง ไม่ ประนีประนอม กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ตรงไปตรงมาบางทีอาจดูขวานผ่าซากไปบ้าง มีข้อเรียกร้องสูง ดื้อดึง มั่นใจในตัวเอง I - style (influence) เป็นคนช่างพูด ชอบเข้าสังคม ดูเป็นมิตร เปิดเผย จูงใจคนเก่ง ชอบขายไอเดีย เป็นคนร่าเริง มีอารมณ์อ่อนไหว มักหลีกเลี่ยงรายละเอียด เวลาคุยกันมักพูดออกนอกประเด็นไปเรื่อย ไม่ค่อยรักษากฎ ไม่ชอบคนน่าเบื่อและเข้มงวด S - style (stediness) ใจเย็น สงบ เสมอต้นเสมอปลาย ทำอะไรเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ ถ่อมตัวประนีประนอม ชอบเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด จะพูดเมื่อถูกถาม มักแสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่นตลอดเวลาต้องการคำแนะนำจากผู้อื่น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง C - style (compliance) ชอบความสมบูรณ์แบบ ยึดติดกับรายละเอียด มีเหตุผล มีหลักการ เน้นความชัดเจน ถูกต้อง ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีระเบียบ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ไม่ชอบเสี่ยงทำอะไรอย่างระมัดระวัง โดยบางคน อาจเป็นประเภทลักษณะเด่นโดด ๆ ตัวเดียว เช่น D แต่บางคนอาจเป็นลักษณะผสม โดยมีลักษณะเด่นนำ 1 ตัว และตาม 1 ถึง 2 ตัว เช่น DC หรือ DCI เป็นต้น
27
กิจกรรมตอบอย่างสร้างสรรค์
เมื่อ B ขอร้องให้ A ช่วยเก็บเรื่องที่เห็น (ยกตัวอย่างเหตุการณ์อะไรก็ได้) A : ก็ได้ ฉันช่วยเธอก็ได้ แต่เธอจะให้อะไรฉันตอบแทน B : ……………………………………………(ปฏิเสธ) เมื่อ A ชวน B ไปงานดื่มฉลองที่ผับแห่งหนึ่ง A : ไปหาอะไรดื่มกันไหม (พร้อมพูดเชิญชวนต่างๆนานา) B : …………………………………………… (ปฏิเสธ)
28
เทคนิคง่ายๆในการตอบ ละความจริงบางส่วน ใช้อารมณ์ขันเข้าช่วย ถามกลับเพื่อปิดการสนทนา แสดงให้เห็นถึงความลำบากใจในการตอบ ชมก่อนแล้วค่อยติ ให้การตีตราทางบวก / เสริมแรง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.