งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคิดอย่างมีเหตุผล (Logical Thinking)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคิดอย่างมีเหตุผล (Logical Thinking)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคิดอย่างมีเหตุผล (Logical Thinking)

2 Socrates ( BC.) ผู้พูดที่ดีต้องมีคุณสมบัติหลายประการ และ ๒ ประการแรก คือ ต้องเป็นนักปรัชญาคือ รู้จริงในเรื่องที่พูด และต้องเป็นนักตรรกศาสตร์คือ รู้จักการวิเคราะห์และสังเคราะห์เรื่องที่พูด

3 หัวข้อการบรรยาย การคิดและความสำคัญของการคิด ระบบการคิดของสมอง
คุณภาพและอุปสรรคของการคิด รูปแบบของการคิด ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผล ลักษณะสำคัญในการเสนอความคิด การใช้เหตุผล เครื่องมือช่วยในการคิด สรุป

4 …”ธรรมชาติได้ให้อาวุธแก่มนุษย์ไว้อย่างเดียวคือปัญญา ได้แก่กำลังความคิดที่สามารถจะเพาะปลูกขึ้นมาช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ในสมัยดึกดำบรรพ์ … มนุษย์ต้องกลัวอันตรายจากสัตว์ ... มาถึงเวลานี้ มนุษย์มีอำนาจเหนือสัตว์ทั่วไป และคู่แข่งขันที่จะทำอันตรายแก่มนุษย์ในเวลานี้ ก็คือมนุษย์ด้วยกัน … ต่างคนก็ต่างมีอาวุธที่ธรรมชาติให้ไว้เพียงอันเดียว คือปัญญาหรือกำลังความคิด ของใครที่ได้รับการฝึกฝน ขัดลับคมกล้า ผู้นั้นก็จะได้ชัยชนะ”...

5 Aristotle 384-322 BC “Man is rational animal” หนังสือ “Organum”

6 การคิด (Thinking) เป็นกระบวนการทางสมองที่เกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น ทำให้จิตและสมองนำข้อมูลที่มีอยู่ มาหาวิธีการเพื่อที่จะแก้ปัญหานั้น

7 การคิด (Thinking) คิดเป็น คิดไม่เป็น

8 ต้นเหตุของการคิด สิ่งเร้าที่เป็นปัญหา: สถานการณ์ เหตุการณ์ หรือสภาวะที่มากระทบ Have to think สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ: ความต้องการสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม Want to think สิ่งเร้าที่ชวนสงสัย: สิ่งเร้าแปลกใหม่ที่กระตุ้นให้สงสัย Want to think

9

10 ความสำคัญของการคิด การคิดนำไปสู่การกระทำและการเปลี่ยนแปลง
การคิดทำให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา การคิดที่ถูกต้อง ช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหา ลดการใช้ทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่การป้องกันและแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ การคิดที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหาและก่อให้เกิดความสูญเสีย

11

12

13 การใช้เหตุใช้ผล ตรรกะ ความคิดเชิงสร้างสรรค์
ระบบการคิดของสมอง สมองซีกซ้าย การใช้เหตุใช้ผล ตรรกะ การคำนวณเปรียบเทียบ การแจงนับ การทำงานเชิงระบบ การวิเคราะห์เจาะลึก ANALYTICAL สมองซีกขวา ความคิดเชิงสร้างสรรค์ อารมณ์ จิตใจ สัญชาตญาณ ลางสังหรณ์ CREATIVE

14 คุณภาพของความคิด มีความลึกซึ้ง มีเป้าหมาย เป็นอิสระ มีความอ่อนตัว
มีความรวดเร็ว มีความกว้างขวาง

15 อุปสรรคของการคิด ภาษา ผลประโยชน์ของตนเอง ความเคยชิน อารมณ์ การชี้แนะ

16 รูปแบบของการคิด การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)

17 รูปแบบของการคิด (ต่อ)
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดอย่างมีเหตุมีผล (Logical Thinking)

18 การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)
เป็นความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ แต่ตั้งคำถาม หรือโต้แย้ง และพยายามเปิดแนวทางความคิด เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผลมากขึ้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประเมินสถานการณ์ ปัญหา หรือข้อโต้แย้ง และเลือกหนทางที่ต้องการ เพื่อนำไปสู่การค้นพบคำตอบที่ดีที่สุด

19 ตัวอย่างการคิดเชิงวิพากย์
๑. โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ ๒. การที่โลกร้อนขึ้นเป็นผลมาจากปรากฎการณ์เรือนกระจก ๓. เข็มนาฬิกาจะหมุนวนขวาเสมอ ๔. เพลงชาติไทยขึ้นต้นด้วย “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย”

20 การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นการคิดอย่างละเอียดจากเหตุไปสู่ผล คิดหาทางเลือก ไปจนถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อตัดสินใจเลือกกรณีที่มีความเหมาะสมและคุ้มค่าสูงสุด

21 ตัวอย่างการคิดเชิงวิเคราะห์
จงหาคำตอบว่า สมหญิงมีดอกไม้กี่ดอก ถ้า ทุกดอกเป็นดอกกุหลาบ แต่มีสองดอกที่ไม่ใช่ ทุกดอกเป็นดอกทิวลิป แต่มีสองดอกที่ไม่ใช่ ทุกดอกเป็นดอกเดซี่ แต่มีสองดอกที่ไม่ใช่

22 การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)
ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

23 การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่าง ระหว่างสิ่งนั้น กับสิ่งอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

24 การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)
ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมด ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด ได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

25 ตัวอย่างการคิดเชิงมโนทัศน์ (๑)
?

26 เฉลย

27 ตัวอย่างการคิดเชิงมโนทัศน์ (๒)
มีห้อง ๒ ห้อง ห้องหนึ่งมีหลอดไฟ ๓ ดวง อีกห้องหนึ่งมีสวิทช์ปิด-เปิดหลอดไฟทั้ง ๓ ดวง ให้หาวิธีการจับคู่สวิทช์และหลอดไฟ โดยสามารถเข้าไปในห้องแต่ละห้องได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

28 การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
ความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้

29 ตัวอย่างการคิดเชิงประยุกต์
วันหนึ่งคุณซื่อบื่อต้องการผูกเชือก ๒ เส้นที่แขวนห้อยลงมาจากเพดานเข้าด้วยกัน แต่ปัญหาคือ เชือกทั้งสองเส้นอยู่ห่างจากกันมาก เมื่อเขาจับเชือกเส้นหนึ่งแล้ว แม้จะเอื้อมมือจนสุดเขาก็ไม่สามารถจับเชือกอีกเส้นหนึ่งได้ หากเป็นเรา เราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถผูกเชือก ๒ เส้นเข้าด้วยกันได้ ทั้งนี้ บนพื้นห้องมีสิ่งของวางอยู่ ๓ สิ่ง คือ ฆ้อน ซองจดหมาย และวิทยุ

30

31 เฉลย

32 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

33 การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking)
ความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

34 ตัวอย่างการคิดเชิงบูรณาการ
สมมติว่า เรามีน้ำสะอาดอยู่ครึ่งแก้ว เราจะทำอย่างไรกับน้ำครึ่งแก้วนี้บ้าง ๑. เมื่อไม่สบาย เป็นหวัด เจ็บคอ ๒. เมื่อเพิ่งกลับจากการทำงาน ร้อนและเหนื่อย ๓. หลังจากการออกกำลังกายมาเหนื่อย ๆ

35 ข้อมูลเพิ่มเติม สมมติว่าที่บ้านของเรา - มีผงเกลือแร่ อยู่ในตู้ยา
- มีน้ำหวานขวดหนึ่งอยู่ในตู้เย็น - มีน้ำแข็งอยู่ในช่องทำน้ำแข็ง ในตู้เย็น - มีน้ำร้อนอยู่ในกระติก

36 การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)
ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

37 Creative Thinking รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “Lateral Thinking” เป็นแบบที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง/ไม่หยุดนิ่ง เพื่อค้นหาคำถาม ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะเน้นที่การค้นหาและเสริมสร้างความคิดริเริ่ม เป็นแบบเร่งเร้า (provocative) ที่สนใจสร้างความคิด (idea) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น

38

39 ตัวอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์
ลูกศรมีกี่อัน ชี้ไปยังทิศทางไหน ?

40 เฉลย 1 ลูกศรมี 8 อัน 6 2 5 7 4 8 3

41 Logical Thinking รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “Vertical Thinking” เป็นแบบทางเลือก (selective) ที่ต้องมีการตัดสินใจ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อค้นหาคำตอบ เป็นแบบเชิงวิเคราะห์ (analytical) ที่สนใจถึงที่มาของความคิด (idea) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายเหตุผลที่เกิดสิ่งต่างๆขึ้น

42 ปรัชญา (Philosophy) เมตาฟิสิกส์ (Metaphysics) / อภิปรัชญา
ทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge) / ญาณศาสตร์ ตรรกวิทยา (Logic) สุนทรียศาสตร์ (Esthetic) จริยศาสตร์ (Ethics)

43 ตรรกวิทยา (Logic) วิชาว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล
มาจากรากศัพท์ว่า “Logos” หมายถึง คำพูด การพูด เหตุผล สมมติฐาน สุนทรพจน์ ศึกษาเกี่ยวกับการใช้เหตุผลแบบต่าง ๆ (Reasoning)

44 ภาษา เป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงความคิด
สามารถแสดงเหตุผล สาธยาย และอารมณ์

45 การเสนอความคิด ด้วยการพรรณนา เพื่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึก
ด้วยการบรรยาย เพื่อให้ทราบรายละเอียด ด้วยการอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ด้วยการชวนเชื่อ เพื่อแสดงว่าข้อสรุปของตนน่าเชื่อถือ

46 การใช้เหตุผล เหตุ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น
ผล เป็นผลผลิตที่เกิดมาจากเหตุ ภาษาที่ใช้แสดงเหตุผลต้องมี ๒ ข้อความ คือ ข้ออ้าง (Premise) และข้อสรุป (Conclusion)

47 ตัวอย่าง รถยนต์สตาร์ทไม่ติด (ผล) - แบตเตอรี่ไม่มีประจุ
- มีคนขโมยเครื่องยนต์ไป - ใส่รหัสกันขโมยไม่ถูกต้อง - ฯลฯ จังหวัดเลยมีอุณหภูมิลดต่ำลง (เหตุ) - เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน - เก็บของกลับบ้าน - ฯลฯ

48 ลักษณะของภาษาที่ใช้แสดงเหตุผล
ต้องมี ๒ ข้อความ คือ ข้ออ้าง (Premise) และข้อสรุป (Conclusion) ตัวอย่าง น้ำเน่ายุงจึงชุม สันธาน ข้ออ้าง ข้อสรุป

49 การพิสูจน์ (Proof) นิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์โดยอ้างข้อความทั่วไปที่แน่ใจได้ก่อนไปสนับสนุนข้อความที่แน่ใจได้ทีหลัง (From the general to the specific) อุปนัย (Induction) คือ การพิสูจน์โดยอ้างประสบการณ์จากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งทั่วไป (From the specific to the general)

50 รูปแบบของการใช้เหตุผล
การใช้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) การใช้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)

51 การใช้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning)
อุปนัย คือการพิสูจน์โดยอ้างประสบการณ์จากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งทั่วไป การศึกษาเพื่อการใช้เหตุผลแบบอุปนัย การตั้งสมมติฐาน (Hypothesising) การอ้างสิ่งทั่วไป (Generalization) การคิดตามเหตุและผล (Tracing causes and effects)

52 การศึกษาเพื่อการใช้เหตุผลแบบอุปนัย
การตั้งสมมติฐาน (Hypothesising) เป็นการเดาผลของการพิสูจน์ก่อนที่จะทำการพิสูจน์ การอ้างสิ่งทั่วไป (Generalization) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับตัวอย่างประเภทเดียวจำนวนมาก แล้วสรุปผลเป็นข้อยุติ การคิดตามเหตุและผล (Tracing causes and effects) เป็นการอธิบายว่าผลที่เกิดย่อมมาจากเหตุ

53 การใช้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
การใช้เหตุผลแบบนิรนัยคือ การพิสูจน์สิ่งเฉพาะโดยอ้างจากสิ่งที่รู้แล้วทั่วไป เมื่อรู้หลักใหญ่อันใดอันหนึ่งแล้ว ก็คิดแบ่งแยกสาขาออกไป ทำให้เกิดความรู้ที่แตกแขนง ประกอบด้วย ประโยคอ้างหลัก ประโยคอ้างรอง และข้อสรุป

54 กฎของความสมเหตุสมผล (Laws of Validity)
ต้องมี ๓ เทอม เทอมกลางต้องกระจายอย่างน้อย ๑ ครั้ง เทอมที่กระจายในประโยคสรุป ต้องกระจายในประโยคอ้างด้วย ประโยคอ้างจะปฏิเสธทั้งสองไม่ได้ ถ้าประโยคอ้างปฏิเสธ ประโยคสรุปต้องปฏิเสธด้วย

55 LEONHARD EULER Swiss mathematician 1707-1783

56 วงกลมของออยเลอร์ (Euler’s Circles)
A B ทุก B เป็น A ทุก C เป็น B ทุก C เป็น A C

57 ทุก B เป็น A บาง C เป็น B บาง C เป็น A A B C

58 ทุก B เป็น A ทุก C เป็น A แต่ B & C ไม่เกี่ยวกัน สรุปไม่ได้ว่า B เป็น C ด้วย A B C

59 หาเหตุผล อุปนัย(Induction) กฎ หลักการทั่วไป นิรนัย(Deduction) อธิบายส่วนย่อย

60 การใช้เหตุผลผิด หรือเหตุผลวิบัติ(Fallacy Reasoning)
การใช้เหตุผลผิด คือ การอ้างเหตุผลไม่เป็นไปตามกฎของการอุปนัยและนิรนัยที่ถูกต้อง ประเภทของเหตุผลผิด - เหตุผลผิดทางแบบแผน (Formal Fallacy) - เหตุผลผิดทางเนื้อหา (Material Fallacy) - เหตุผลผิดทางจิตวิทยา (Psychological Fallacy)

61 การคิดหาเหตุผลให้ถูกทาง (Right Reasoning)
หลักการ - พยายามแสวงหาความจริง - พยายามแสวงหาเหตุผล

62 การแสวงหาความจริง วิธีการ - ไม่งมงาย - ไม่เห็นแก่ตัว - ทำตัวให้เคยชิน

63 การแสวงหาเหตุผล หลัก ๕ ประการ - อย่าเอาผลมาทำเป็นเหตุ
- อย่าเอาความบังเอิญมาเป็นเหตุ - สิ่งที่มีมาก่อนไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุของสิ่งที่มีมาทีหลัง - อย่าเอาสิ่งที่ต้องมีทีหลังเป็นเหตุของสิ่งที่มีก่อน - สิ่งที่จะเป็นเหตุของอีกสิ่ง ต้องมีกำลังพอที่จะทำให้อีกสิ่งนั้นเกิดขึ้น

64 เครื่องมือช่วยในการคิด
แผนภูมิต้นไม้ (Tree Diagram) แผนภูมิก้างปลา (Fish-Bone Diagram) แผนภูมิสมอง (Brain Mapper Diagram) แผนภูมิช่วยคิดช่วยจำ (Mind Mapping Diagram)

65 Tree Diagram

66 Fish-Bone Diagram ปัญหา ประเด็น ประเด็น ประเด็น ประเด็น รายละเอียด

67 Brain Mapper Diagram หัวข้อเรื่อง ประเด็น ประเด็น ประเด็น ประเด็น
รายละเอียด รายละเอียด หัวข้อเรื่อง ประเด็น ประเด็น รายละเอียด รายละเอียด ประเด็น

68 Mind Mapping Diagram การใช้แผนภูมิแบบนี้จะช่วยให้เกิดอิสระทางความคิดสามารถระดมความคิด จัดหมวดหมู่ความคิดได้อย่างมีประสิทธิผล

69 Mind Mapping Diagram หัวข้อเรื่อง

70 Mind Mapping Diagram หัวข้อเรื่อง ประเด็น ประเด็น ประเด็น ประเด็น

71 Mind Mapping Diagram หัวข้อเรื่อง ประเด็น ประเด็น ประเด็น ประเด็น

72 Mind Mapping Diagram หัวข้อเรื่อง ประเด็น ประเด็น ประเด็น ประเด็น

73

74 สรุป การคิดนำไปสู่การกระทำและการเปลี่ยนแปลง ระบบการคิดของสมองแต่ละซีก
คุณภาพของความคิด: ลึกซึ้ง เป้าหมาย อิสระ อ่อนตัว รวดเร็ว และกว้างขวาง อุปสรรคของการคิด: ภาษา ผลประโยชน์ของตน ความเคยชิน อารมณ์ และการชี้แนะ รูปแบบของการคิด: Creative Thinking & Logical Thinking

75 สรุป (ต่อ) Creative Thinking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ส่วน Logical Thinking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายเหตุผลที่เกิดสิ่งต่างๆขึ้น การเสนอความคิด ๔ วิธี: การพรรณนา การบรรยาย การอธิบาย และการชวนเชื่อ การใช้เหตุผล: Inductive, Deductive & Fallacy Reasoning การคิดหาเหตุผลให้ถูกทาง: แสวงหาความจริงและแสวงหาเหตุผล เครื่องมือช่วยในการคิด: Tree Diagram, Fish-Bone Diagram, Brain Mapper Diagram และ Mind Mapping Diagram

76 เอกสารอ้างอิง การคิดอย่างมีเหตุผล โดย นาวาเอก วิชล ภูษา
การคิดอย่างมีเหตุผล โดย นาวาเอก วิชล ภูษา ตรรกวิทยาทั่วไป โดย กีรติ บุญเจือ การใช้เหตุผล: ตรรกวิทยาเชิงปฏิบัติ โดย ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทคนิคการคิดและจำอย่างมีระบบ ฝวก.เอ็กซเปอร์เน็ต หนังสือชุด “ผู้ชนะ 10 คิด” ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ Logical Argument Reader และ Creative Thinking Reader โดย RAN

77 เอกสารอ้างอิง กำลังความคิด และ มันสมอง โดย พล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ
คิดแนวข้าง (Lateral Thinking) โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ทักษะความคิดด้านขวาง (Lateral Thinking Skills) โดย พอล สโลน Web sites ต่าง ๆ

78 จบการบรรยาย ตอบข้อซักถาม


ดาวน์โหลด ppt การคิดอย่างมีเหตุผล (Logical Thinking)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google