งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จัดทำโดย ด.ญ. จิราภรณ์ จรรยา เลขที่ 23 ม.1/14 ด.ญ. เนตรนภา ชูชัยมงคล เลขที่ 31 ม.1/14 ด.ช. ณัฐวรรธณ์ นาคบัว เลขที่ ม.1/14 เสนอ อ. ฐิตาพร ดวงเกตุ โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์

2 เมนูหลัก ภูมิสาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา อาเซียน แบบทดสอบ
หน้าที่พลเมือง พระพุทธศาสนา อาเซียน แบบทดสอบ ผู้จัดทำ

3 ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่างๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่นๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง เมนู

4 เมนู

5 ทวีปแอฟริกา ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดประชากรกว่า 1,100 ล้านคน (พ.ศ. 2556) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ ของประชากรโลก ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ

6 ทวีปเอเชีย เอเชีย เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชากรเอเชียเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าตามบทนิยามที่เสนอโดยสารานุกรมบริตานิกา และสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกเอเชียมีพื้นที่ 4/5 ของทวีปยูเรเชีย โดยมีส่วนตะวันตกของยูเรเชียเป็นทวีปยุโรป เอเชียตั้งอยู่ทางตะวันออกของคลองสุเอซ ตะวันออกของเทือกเขาอูราล และใต้เทือกเขาคอเคซัส (หรือแอ่งคูมา-มานิช) และทะเลสาบแคสเปียนและทะเลดำ พรมแดนตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และเหนือติดมหาสมุทรอาร์กติก มีหนึ่งประเทศตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ไซปรัส เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมาก ทั้งกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล

7 ทวีปยุโรป ทวีปยุโรป มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียนทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลีย แต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ ยุโรปมีประชากรราว 799,566,000 คน หรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก

8 ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถาม ความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน เมนู

9 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมนู

10 ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษา บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เมนู

11 การบัญญัติศัพท์ คำว่า "ประวัติศาสตร์" เกิดจากการสมาสคำภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้ "ประวัติศาสตร์" ถูกบัญญัติขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า "History" และเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า "พงศาวดาร" (Chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม[8] สำหรับคำว่า history มีที่มาจากคำว่า historia ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนหรือค้นคว้า

12 วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอยการศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การตั้งเรื่องที่ต้องการสืบค้น การรวบรวมหลักฐาน การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน การนำเสนอข้อเท็จจริง

13 หน้าที่พลเมือง สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมประชาธิปไตยหรือพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงควรมีการปฏิบัติตนที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สาระการเรียนรู้ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย 1.1 หน้าที่ของพลเมืองดี 1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี 2. สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ 2.1 หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ เมนู

14 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติ และมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรมประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และได้ประสิทธิผลทั้งในส่วนตนและสังคม เมื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ย่อมเกิดความภาคภูมิใจและเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม ด้วยการเป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างผาสุข เมนู

15 ความหมายของพลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และ กิจที่ควรทำ พลเมืองดี ในวิถีประชาธิปไตย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่างๆดังนี้ พลเมือง หมายถึงชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน วิถี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน ประชาธิปไตย หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเอาเสียงข้างมาก พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลัการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฎิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ ประเทศชาติ ให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักประชาธิปไตย

16 แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ด้านสังคม - การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล - รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า - ตัดสินใจโดยการใช่เหตุผลมากกว่าอารมณ์ - เคารพกฎระเบียบของสังคม - มีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และ รักษาสาธารณะสมบัติ ด้านเศรษฐกิจ - รู้จักประหยัดและอดออมในครอบครัว - มีความซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ - พัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า - ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม - สร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก - เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติ เป็นสำคัญ

17 หน้าที่พลเมือง 1.คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว เสียสละแรงกายแรงใจ เพื่อทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ช่วยกันดูแลทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติ เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่นป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร รวมทั้งตักเตือนและช่วยห้ามปรามบุคคล ไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม 2.วินัย ได้แก่ การฝึก กาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมความประพฤติของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม เพื่อให้การปฎิบัติงาน การอยู่ร่วมกันของกลุ่ม ในสังคมไปได้ด้วยความเรียบร้อย 3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฎิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างเต็มเป้าหมาย ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด 4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถความคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้เป็นปกติเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พอใจ 5.รู้จักประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ่งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็นใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน 6.การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยแก่กัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่แแข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน ความซื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่อคติ ปฎิบัติตนปฎิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฎิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เลี่ยม หรือกลโกง ไม่ทำแบบ คตในข้องอในกระดูก นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ และมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวง แครงใจกัน 8. การอนุรักษณ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษณ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย และนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทย ไปสู่คนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

18 พระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภท อเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจาก ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจาก เมืองคยา ประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน เมนู

19 นิกายมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมนู

20 นิกายมหิสาสกวาท นิกายมหิสาสกวาท หรือ นิกายมหีศาสกะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่หลักฐานฝ่ายบาลีกล่าวว่าแยกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท อาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้เป็นพราหมณ์ เมื่อมาบวชได้นำหลักธรรมในพระเวทมาผสมกับพระพุทธพจน์ แพร่หลายทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นอวันตี วนวาสี มหาสมณฑล เกรละ และมีอิทธิพลในลังกาด้วย พระพุทธชีวะได้แปลวินัยของนิกายนี้เป็นภาษาจีนหลักธรรมของนิกายนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น เมนู

21 พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์หรือพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่าพระรัตนตรัย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายคือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด

22 การสังคายนา การสังคายนาครั้งที่ 1กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิมเมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์ แต่ไม่ถือว่าเป็นสังฆเภท เนื่องจากพระปุราณะยึดถือตามพุทธานุญาตที่ทรงให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ การสังคายนาครั้งที่ 2 : การแตกนิกายเมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้งภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท การสังคายนาครั้งที่ 3การแพร่กระจายของพระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จ ในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง

23 อาเซียน อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น

24 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียนปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ปี 2532

25 อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน
อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)] ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน

26 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน
เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว

27 จุดประสงค์หลักของอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม 7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

28 สัญลักษณ์อาเซียน คือ ดวงตราอาเซียนเป็น รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว และสีน้ำเงิน รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว วงกลม เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน ตัวอักษรคำว่า asean สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าว แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน สีเหลือง : หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง : หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว : หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีน้ำเงิน : หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

29 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ 1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23% นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10% ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดแข็ง – การเมืองค่อนข้างมั่นคง – รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก – ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน

30 2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2% นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จุดแข็ง – ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน – มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์

31 3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10% ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร จุดแข็ง – มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

32 4.ประเทศลาว (Laos) เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์ ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16% ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน) จุดแข็ง – ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน – การเมืองมีเสถียรภาพ

33 5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10% นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11% ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา จุดแข็ง – มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค – มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

34 6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2% นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8% ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ จุดแข็ง – มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย – ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน – มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

35 7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10% นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5% ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร จุดแข็ง – แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

36 8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์ ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1% นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25% ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จุดแข็ง – รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก – แรงงานมีทักษะสูง

37 9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10% นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15% ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว จุดแข็ง – มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

38 10.ประเทศไทย (Thailand) เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่ นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4% ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จุดแข็ง – เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน – มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง

39 แบบดสอบ ภูมิศาสตร์หมายถึงอะไร ก. สาขาวิชาหนึ่งที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ข. สาขาวิชาที่เกี่ยวกับแผนที่ และกราฟ ของโลก ค. สาขาวิชาที่ว่าด้วนการผลิต บริโภค สินค้าต่างๆของโลก ง. สาขาวิชาที่ว่าด้วยการบรรเลงดินสอลงบนผืนลูกโลก และกำแพง ทวีปแอฟริกาใหญ่เป็นขนาดที่เท่าใดของโลก ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4 ทวีปใดมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก. ยุโรป ข. เอเชีย ค. แอฟริกา ง. อเมริกา ประวัติศาสตร์หมายถึงอะไร ก. การค้นพบ ซากพืชในฟอสซิว ข. การขุดเจอะหาหลักฐานของมนุษย์ ในอดีต ค. การค้นพบ รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ง. การค้นหา ค้นพบ ระเบียบของอดีต อย่างมีความประณีต และยาวนาน บิดาแห่งประวัติศาสตร์คือใคร ก. อริสโตเตล ข. อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ค. เฮอารากัส ง. เฮโรตัส ประวัติศาสตร์เกิดจากคำสมาทในภาษาใด ก. อิสลาม ข. บาลี ค. สันสกฤต ง. ไทยแท้ หน้าที่พลเมืองหมายถึงอะไร ก. การสอนให้บุคคลใดๆเป็นคนดีมีศีลธรรม จริยธรรม ข. การถือศีลอด ปฏิบัติตัวเป็น อิสลาม ในต่างประเทศ ค. ผู้ที่ปฏิบัติตนเป็น คนดี ภายนอก ทำงานต่างๆของสังคม ง. ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และ กิจที่ควรทำ 8. แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย หลักๆต้องทำอย่างไร ก. สังคม และ การค้า ข. สังคม และบ้านเมือง ค. การค้า และเศรษฐกิจ ง. ด้านสังคม และ เศรษฐกิจ 9. สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่แคว้นมคธ หรืพุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาเท่าไร ก. 10 กิโลเมตร ข. 11 เมตร ค. 11 กิโลเมตร ง. 10 เมตร ประชามอาเซียนเกิดขึ้นมาเมื่อปีใด ก. 2525 ข. 2510 ค. 2509 ง. 2515 เฉลยข้อสอบ 1. ก 2.ข 3. ข 4. ค 5. ง 6. ข 7. ง 8. ง 9. ค 10.ข


ดาวน์โหลด ppt โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google