งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิกฤตการทูตในกาตาร์และนัยต่อประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิกฤตการทูตในกาตาร์และนัยต่อประเทศไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิกฤตการทูตในกาตาร์และนัยต่อประเทศไทย
ความตึงเครียดในประเทศกาตาร์อาจต้องใช้เวลาในการคลี่คลายสถานการณ์ แต่ปัญหาจะไม่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยประเมิน เบื้องต้นว่า ผลจากชาติอาหรับตัดสัมพันธ์ทางการทูตกาตาร์และนำไปสู่การถูกปิดเส้นทางคมนาคมระหว่างกันจะกระทบเศรษฐกิจ กาตาร์ผ่านราคาสินค้านำเข้า ภาคท่องเที่ยวและสายการบินของกาตาร์ อย่างไรก็ดี จากขนาดเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมน้ำมันใน กาตาร์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดโลก จึงประเมินว่าไทยจะได้รับผลกระทบเพียงต้นทุนค่าขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมมีจำกัด กาตาร์ถูกชาติอาหรับตัดสัมพันธ์ทางการทูต จากประเด็นสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงในตะวันออกกลางและอิหร่าน จากกรณีซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ บาห์เรนประกาศโดดเดี่ยวกาตาร์ โดยการตัดความสัมพันธ์ทางการ ทูต รวมทั้งปิดเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน มีผลให้โดยประชาชนที่ถือ สัญชาติกาตาร์ที่พำนักใน 4 ประเทศนี้ต้องออกจากประเทศเหล่านี้ภายใน 14 วัน อีกทั้ง 4 ประเทศดังกล่าวยังปิดเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อตัดขาดกาตาร์ นอกจากนี้ ยังมีชาติอื่นๆ ออกมาตรการ ต่อกาตาร์เช่นกัน เช่นกรณี ลิเบียและเยเมนประกาศตัดความสัมพันธ์ ทางการทูต จอร์แดนประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ฟิลิปปินส์ งดส่งแรงงานไปยังกาตาร์ เป็นต้น ซึ่งผลจากมาตรการคว่ำบาตรกาตาร์ ข้างต้นไม่ได้ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกมากนัก เช่นเดียวกับผลต่อ ราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกที่ขยับขึ้นเพียง 1% อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อ ตลาดหลักทรัพย์ในกาตาร์รุนแรง ดัชนีตลาดหุ้นของกาตาร์ร่วงลงทันที 7% (เป็นการลดลงในรอบวันที่รุนแรงสุดนับตั้งแต่ปี 2553 และจนถึงวันที่ 14 มิถุนายน ตลาดหุ้นของกาตาร์ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว โดยดัชนีตลาดหุ้น กาตาร์ลดลงรวม 7.4% ขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคไม่ เปลี่ยนแปลงมากนัก คาดกาตาร์ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของราคาสินค้า นำเข้า และการหยุดชะงักของภาคท่องเที่ยวและสายการบิน กาตาร์ ซึ่งมีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมของกาตาร์จำกัด เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนน้อย อีกทั้งการพึ่งพิง ตลาดชาติอาหรับไม่มากนัก ทั้งนี้เศรษฐกิจกาตาร์พึ่งพิงอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของ GDP ขณะที่การส่งออกน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีสัดส่วนถึง 95% ของการ ส่งออกทั้งหมด ส่วนภาคการผลิตที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง และการค้าซึ่งต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้า มีสัดส่วนใน GDP เพียง 10% ในแต่ละอุตสาหกรรม Figure 1: The Middle East To Asia To Europe Source: Krungsri Research Five things to know about Qatar Qatar is a peninsular state with that shares a land border with Saudi Arabia Qatar has a population of 2.6 million, of which only 0.4 million are Qatari. The rest are migrant workers, mostly from India, Pakistan, the Philippines, and Africa. Qatar is the world’s top LNG exporter and has a large gas reserve. Qatar is an OPEC member with current crude production capacity of 0.65 mbpd. Qatar is a high-income country with GDP per capita at US$68,940 in 2016. Qatar’s sovereign wealth fund is worth more than US$350 billion. It is one of the largest investors in UK and Europe. Research Intelligence | Krungsri Research

2 Figure 2: Qatar Trade by Market
การพึ่งพาชาติอาหรับมีสัดส่วนน้อย โดยการส่งออกสินค้าของกาตาร์ไปซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรนไม่มากนัก มีสัดส่วนเพียง 10% ของการส่งออกรวมของกาตาร์ ขณะที่การส่งออกส่วนใหญ่ไปยังเอเชียสัดส่วนถึง 75% อย่างไรก็ตาม กาตาร์นำเข้าสินค้าจากสี่ประเทศอาหรับนี้ถึง 20% ของการนำเข้าทั้งหมด โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ คิดเป็น 9.1% ของการนำเข้าทั้งหมดและ 6.8% ของการส่งออกทั้งหมดของกาตาร์ อย่างไรก็ตาม สินค้าที่จำเป็นหลายชนิดของกาตาร์นำเข้าหรือขนส่งผ่านกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น อาหารเครื่องดื่ม รวมทั้งวัตถุดิบ ดังนั้น การถูกตัดเส้นทางขนส่งจะมีผลทำให้ราคาสินค้านำเข้าและระดับราคาสินค้าโดยรวมขยับสูงขึ้น ภาคท่องเที่ยวและสายการบินจะได้รับผลกระทบจากการหายไปของนักท่องเที่ยวชาติอาหรับ ซึ่งมีสัดส่วน 50% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมายังกาตาร์ การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตของหลายชาติในตะวันออกกลางและการยกเลิกเที่ยวบินจึงกระทบต่อภาคท่องเที่ยว และสายการบินของกาตาร์อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม รายได้จากภาคท่องเที่ยวของกาตาร์มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ ตลาดการเงินได้รับผลกระทบในวงแคบ เนื่องจากจากการที่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 90% เป็นนักลงทุนในประเทศ ขณะที่ชาติอาหรับมีสัดส่วนการลงทุนเพียง 1% ของมูลค่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของกาตาร์ อีกทั้งกาตาร์ยังมีเงินกองทุน sovereign wealth fund ขนาดใหญ่ จึงช่วยจำกัดผลกระทบต่อภาคการเงินของกาตาร์ ความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนมีผลให้การแก้ปัญหาช้า แต่อาจ ช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหาบานปลาย วิกฤตการทูตในกาตาร์มีความซับซ้อนกว่าในกรณีของเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในประเทศซีเรียพอสมควร ทั้งนี้ แม้ซาอุดิอาระเบียจะตัด ความสัมพันธ์กับกาตาร์ภายหลังกล่าวหาว่ากาตาร์ให้การสนับสนุนอิหร่าน แต่สหรัฐฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับซาอุดิอาระเบียมีฐานทัพในกาตาร์ เป็น ฐานทัพที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง ขณะที่รัสเซียซึ่งไม่มี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกาตาร์กลับให้การสนับสนุนอิหร่าน ความซับซ้อน ของความสัมพันธ์ในปัจจุบันจะช่วยให้เกิดการคานอำนาจและป้องกันไม่ให้ สถานการณ์เลวร้ายลง USD billion Exports = $54.95 bn Imports = $32.06 bn Source: CEIC Figure 3: The Relation between Countries Russia Saudi Qatar Iran US Source: Krungsri Research Note: green arrow denotes strong tie between two countries red arrow denotes fragile tie between two countries grey arrow denotes unknown tie between two countries นอกจากนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ยังพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากกาตาร์ในสัดส่วนสูง โดยกาตาร์ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ผ่านท่อส่งก๊าซ Dolphin Energy’s Pipeline (โครงการร่วมของกาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน) คิดเป็น 30-40% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ทั้งหมดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อนข้างต้นอาจทำให้การผ่อนคลายปัญหาความตึงเครียดทำได้ยากและ อาจใช้เวลานานขึ้น แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น จากที่กล่าวมา สถานการณ์ยังคงมีความเปราะบางอยู่มาก และยังมีความเป็นไปได้อยู่ที่สถานการณ์อาจเลวร้ายกว่าคาด แม้จะมีโอกาสเกิดไม่มากนัก จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์และสหรัฐฯ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์และรัสเซีย ซึ่งหากความสัมพันธ์ทั้งสองอ่อนแอลง อาจทำให้ความตึงเครียดในภูมิภาครุนแรงขึ้นจนกลายเป็นชนวนสู่สงครามตัวแทนระหว่างสองขั้วอำนาจ Research Intelligence | Krungsri Research

3 ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของโลกค่อนข้างจำกัด แม้ค่าขนส่งในอุตสาหกรรมอาจจะสูงขึ้น
ความสำคัญของประเทศกาตาร์ต่ออุตสาหกรรมพลังงานโลก คือ การมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับสามของโลก และเป็นผู้ส่งออก LNG (Liquefied Natural Gas) รายใหญ่สุดของโลก มีสัดส่วนราว 30% ของ LNG ที่มีการซื้อขายในตลาดโลก โดยตลาดส่งออกหลัก คือ เอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 65% ของการส่งออก LNG ทั้งหมดของกาตาร์ และอีก 20% ส่งออกไปยุโรป [รูปที่ 4] นอกจากนี้กาตาร์ยังมีสัดส่วนการผลิตน้ำมันราว 0.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 0.7% ของการผลิตน้ำมันดิบของโลก ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในกาตาร์ แต่อาจส่งผลต่อการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยปกติ น้ำมันดิบจากแหล่งผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางจะถูกขนส่งพร้อมกันในเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Very Large Crude Carrier (VLCC) โดย VLCC หนึ่งลำสามารถบรรจุน้ำมันดิบได้มากถึง 2 ล้านบาร์เรล หรือเท่ากับ 2% ของการบริโภคน้ำมันโลกต่อวัน ซึ่งเรือบรรทุกน้ำมันจากกาตาร์มักจะขนส่งน้ำมันดิบร่วมกับซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (co-loading) ผลจากการที่กาตาร์ถูกตัดเส้นทางเดินเรืออาจทำให้กาตาร์จำเป็นต้องขนส่งน้ำมันดิบด้วยเรือขนาดเล็กโดยลำพัง หรือทำการ co-load กับประเทศอื่นแทน นอกจากนี้ ในการ co-load ของเรือบรรทุกน้ำมันอาจปรับเส้นทางขนส่ง โดยให้กาตาร์เป็นแหล่งสุดท้ายในการรับน้ำมันดิบเพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งด้วยวิธีที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีผลให้ต้นทุนค่าขนส่งน้ำมันจากกาตาร์สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำมันในประเทศกาตาร์มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการผลิตทั้งโลก ทำให้มีผลต่อราคาและตลาดน้ำมันโลกค่อนข้างจำกัด สำหรับ LNG มักจะถูกขนส่งในเรือที่มีลักษณะเฉพาะและมีขนาดเล็ก ซึ่งจากปริมาณการส่งออก LNG ของกาตาร์ที่มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ค่อนข้างมาก ปริมาณ LNG ของกาตาร์จึงมากพอที่จะบรรจุในเรือขนส่ง LNG โดยลำพัง การขนส่งก๊าซธรรมชาติจึงไม่มีปัญหาด้าน co-loading เหมือนกับการขนส่งน้ำมันดิบ นอกจากนี้ การที่อียิปต์ไม่สามารถห้ามเรือขนส่งจากกาตาร์ผ่านคลองสุเอซ (ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ) ทำให้การขนส่งการขนส่ง LNG ไปยุโรปไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดี อาจมีปัญหาการขนส่ง LNG เนื่องจากเรือจากกาตาร์อาจไม่สามารถเติมน้ำมัน(เชื้อเพลิง)ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจต้องเปลี่ยนไปเติมน้ำมัน(เชื้อเพลิง)ในประเทศอื่นแทน อาทิ ในอินเดียหรือสิงคโปร์สำหรับเส้นทางขนส่งไปยังเอเชีย หรือในยิบรอลตาร์สำหรับเส้นทางไปยุโรป อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากกาตาร์ในสัดส่วนสูงเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า โดยเป็นการซื้อขายผ่านบริษัทเอกชนและมีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาว ปี ทำให้คาดว่า การตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ของหลายชาติอาหรับจะไม่มีผลต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตก๊าซธรรมชาติโลกมากนัก แต่จะมีผลให้ค่าขนส่งก๊าซธรรมชาติปรับขึ้นได้ Figure 4: Gas Flows from Qatar Egypt Third Party UAE Qatar Asia Europe Source: Krungsri Research Figure 5: Gas Supply Chains Gas Exploration and Production Natural Gas Trading and Storage Transportation Gas Separation Plant Distribution Final Use and Retail Source: Krungsri Research Research Intelligence | Krungsri Research

4 Figure 6: Thai Imports from Qatar Figure 7: Thai Exports to Qatar
ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจะเป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยจะมีผลกดดันอัตรากำไรของบริษัทขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และยังอาจส่งต่อผลกระทบไปยังทุกกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งผู้บริโภคที่อาจได้รับผลกระทบจากราคาขายปลีกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่า ผลกระทบต่อผู้ประกอบการข้างต้นไม่รุนแรงนัก อีกทั้งลักษณะการทำธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่มักมีการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาล่วงหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนด้านต้นทุนและด้านราคา ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการมีความสามารถในการส่งผ่านภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากความ เชื่อมโยงของเศรษฐกิจไทย-กาตาร์ค่อนข้างต่ำ ในปี 2559 ไทยนำเข้าสินค้าจากกาตาร์เป็นจำนวนเงิน 2,441 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติสัดส่วน 43% หรือมีมูลค่า 1,055 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าน้ำมันดิบสัดส่วน 42% หรือ 1,015 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ส่วนไทยส่งออกสินค้าไปกาตาร์ 287 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย กว่า 1 ใน 3 เป็นการส่งออกรถยนต์ อย่างไรก็ดี การส่งออกรถยนต์ของไทยไป กาตาร์สัดส่วนเพียง 0.36% ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดของไทย กาตาร์เป็นแหล่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติสำคัญของไทย คิดเป็นเกือบ 40% ของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ดังนั้นต้นทุนค่าขนส่งก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นจะมีผลให้ต้นทุนก๊าซธรรมชาตินำเข้าเพิ่มขึ้น โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่า ต้นทุนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากกาตาร์จะเพิ่มขึ้นประมาณ % นอกจากนี้ ต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นยังอาจทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทยรวมทั้งต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่พึ่งพิงก๊าซธรรมชาติมีทิศทางสูงขึ้น วิจัยกรุงศรีประเมินว่าค่า Ft มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราว สตางค์ต่อหน่วย แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่กาตาร์ไม่สามารถส่งออกก๊าซธรรมชาติได้ (มีความเป็นไปได้น้อย) อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าที่คาดได้ ในส่วนของการนำเข้าน้ำมันดิบ ไทยมีการนำเข้าจากกาตาร์เพียง 6.7% ของการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมดของไทย โดยขนส่งผ่านการขนส่งระบบ co-loading ดังนั้น แม้ในกรณีเลวร้ายหากกาตาร์ไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ ไทยยังสามารถนำเข้าจากแหล่งผลิตอื่นแทนได้ เช่น ซาอุดิอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าน้ำมันดิบหลักของไทย ทำให้ผลกระทบต่อตลาดน้ำมันดิบของไทยค่อนข้างจำกัด โดยสรุป ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและกาตาร์ที่มีไม่มาก รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่ค่อนข้างจำกัดจากกรณีความตึงเครียดในกาตาร์ล่าสุด ทำให้คาดว่าการค้าและเศรษฐกิจของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ Figure 6: Thai Imports from Qatar Imports from Qatar Share of Total Imports Total Imports Natural gas 1,055.6 32.8 3,217.2 Crude oil 1,015.8 6.7 15,176.0 Fertilizer and pesticide 106.0 5.2 2,028.1 Chemicals 100.5 0.8 12,999.9 Other metal ores, metal waste scrap, and products 84.5 1.2 6,968.2 Total 2,441.23 1.3 194,667.5 Source: MOC Figure 7: Thai Exports to Qatar Exports to Qatar Share of Total Exports Total Exports Motor cars, parts and accessories 95.8 0.4 26,273.1 Air conditioning machine and  parts Thereof 38.3 0.8 4,872.0 Precious stones and jewellery 37.0 0.3 14,248.9 Iron and steel and their products 11.6 0.2 5,174.8 Machinery and parts thereof 10.8 6,968.5 Prepared or preserved fish, crustaceans, molluscs in airtight 8.7 3,624.7 Washing machines, dry-clean machines and parts thereof 7.7 0.7 1,147.6 Refrigerators and parts thereof 6.5 1,884.3 Plastic Products 5.6 3,728.5 Rice 3.8 0.1 4,401.2 Total 287.2 0.13 215,326.6 Source: MOC Research Intelligence | Krungsri Research

5 สนใจสมัครรับอีเมล์ได้ที่ krungsri.research@krungsri.com
วิจัยกรุงศรี ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ที่ปรึกษาและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ พรพรรณ โภคย์สุพัสตร์ ผู้บริหารฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ศรันต์ สุนันท์สถาพร หัวหน้าทีมวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงกลยุทธ์ สุจิต ชัยวิชญชาติ หัวหน้าทีมพยากรณ์เศรษฐกิจ และวิเคราะห์ความเสี่ยงมหภาค จุไรลักษณ์ พลศรี เศรษฐกรอาวุโส สร้อยสนธิ์ หล่อสุวรรณกุล เศรษฐกรอาวุโส (เศรษฐกิจภูมิภาค) ก้องภพ วงศ์แก้ว เศรษฐกร ปภังกร กิจเจริญการกุล เศรษฐกร ทีมวิจัยอุตสาหกรรม เชฐชุดา เชื้อสุวรรณ หัวหน้าทีมวิจัยอุตสาหกรรม (Agriculture and Manufacturing) ดร.จุมพล กล้วยไม้งาม หัวหน้าทีมวิจัยอุตสาหกรรม (Real Estate and Services) พูลสุข นิลกิจศรานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส (Healthcare, ICT, Modern Trade) ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี นักวิเคราะห์อาวุโส (Transportation & Logistics, Industry Risk Ratings) นรินทร์ ตันไพบูลย์ นักวิเคราะห์อาวุโส (Power Generation, Biofuel, Chemical & Plastic Products) ตลับลักขณ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ นักวิเคราะห์อาวุโส (Financial Sectors) พุทธชาด ลุนคำ นักวิเคราะห์ (Tourism Sectors, Real Estate in Upcountry) นิรัติศัย ทุมวงษา นักวิเคราะห์ (Construction Contractor, Construction Materials) วรรณา ยงพิศาลภพ นักวิเคราะห์ (Automobile, Electronics & Electrical Appliances, Beverages) วารีรัตน์ เพชรสีช่วง นักวิเคราะห์ (Agricultural Products and Food) รชฏ เลียงจันทร์ นักวิเคราะห์ (Oil & Gas, Petrochemicals, Industry Scenario Analysis) พัชรา กลิ่นชวนชื่น นักวิเคราะห์ (Real Estate in BMR) ทีมพัฒนางานวิจัย อาภากร นพรัตยาภรณ์ นักวิเคราะห์ ทีมบริหารระบบข้อมูลวิจัย สุรัชนี สมประสงค์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ธมณ เสริญสุขสกุล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เชิดศักดิ์ ศรีชัยตัน เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลวิจัย วงศกร แก้วอุดทัง เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลวิจัย สนใจสมัครรับอีเมล์ได้ที่ คำสงวนสิทธิ์ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามวิจัยกรุงศรีมิอาจรับรองความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ข้อคิดเห็นที่ปรากฏเป็นความคิดเห็นของวิจัยกรุงศรี ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับ บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็น หรือประมาณการต่างๆ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า Research Intelligence | Krungsri Research


ดาวน์โหลด ppt วิกฤตการทูตในกาตาร์และนัยต่อประเทศไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google