ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยHelena Salo ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย Introduction to law
: รศ. ดิเรก ควรสมาคม (อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์)
2
บทที่ 8 กฎหมายอาญา
3
ความหมายและสาระกฎหมายอาญา
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน และเป็นกฎหมายสารบัญญัติด้วย กล่าวคือการบัญญัติองค์ประกอบความผิดต่างๆไว้นั่นเอง ความหมาย กฎหมายอาญา 1.= กฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นความผิดและมีการกำหนดโทษไว้ 2.= บรรดากฎหมายทั้งหลายที่ระบุถึงความผิดอาญา โทษ วิธีการเพื่อความปลอดภัยและมาตรการบังคับทางอาญาอื่นและเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ความผิดอาญาเป็นเงื่อนไขของการใช้โทษ วิธีการเพื่อความปลอดภัยและมาตรการบังคับทางอาญาอื่นนั้น
4
ตัวอย่าง มาตรา ๒๘๘ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น…..ไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท มาตรา ๓๗๔ “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนสามารถช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5
สภาพบังคับทางอาญา โทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน วิธีการเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ กักกัน ,ห้ามเข้าเขตกำหนด ,คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล ,ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
6
ตัวอย่างกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญา ,พระราชบัญญัติยาเสพติด
ประมวลกฎหมายอาญา ,พระราชบัญญัติยาเสพติด พระราชบัญญัติป่าไม้ ,พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติอาวุธปืน บัญญัติการกระทำ/ไม่กระทำ ความผิด มีโทษ
7
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๑ ภาคทั่วไป : ได้แก่ บทนิยามศัพท์ การใช้กฎหมายอาญา โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดทางอาญา การพยายามกระทำความผิด ตัวการผู้ใช้และผู้สนับสนุน การกระทำความผิดหลายบทหลายกระทง อายุความ ภาค ๒ ภาคความผิด ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ,การปกครอง ความผิดเกี่ยวกับความยุติธรรม ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง ความผิดเกี่ยวกับการค้า ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ภาค ๓ ภาคลหุโทษ : ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
8
ประเภทของความผิดอาญา
1.ความผิดต่อแผ่นดินกับความผิดส่วนตัว (การดำเนินคดี) 2. ความผิดที่ต้องการผลกับความผิดที่ไม่ต้องการผล (การกระทำและผล และการพยายามกระทำความผิด) 3. ความผิดที่เจาะจงตัวผู้กระทำกับที่ไม่เจาะจงตัวผู้กระทำ “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น…” ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น..... ผู้ใดใส่ความผู้อื่น ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน… หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก
9
หลักประกันในกฎหมายอาญา
Nullum Crimen Nulla Poena Sine lege” “หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย” หลักไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (No Punishment without law)
10
หลักประกัน กฎหมาย บุคคล กระทำ/ไม่กระทำอะไร มีโทษ สิทธิ/เสรีภาพบุคคล
11
หลักประกันในกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติรับรองหลักดังกล่าวไว้เช่นกัน
12
ผลของหลักประกันในกฎหมายอาญา
1. กฎหมายอาญาต้องบัญญัติให้ชัดเจนแน่นอน 2. ใช้จารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคลไม่ได้ 3. ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงกันหรือเทียบเคียงมาเป็นผลร้าย 4. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
13
กฎหมายอาญาที่ประกาศใช้แล้วย่อมมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ จะไม่มีผลย้อนหลังไปเอาผิดลงโทษผู้กระทำหรือการย้อนหลังเป็นผลร้าย ทั้งนี้หากพิจารณาในมาตรา ๒ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด” แต่การมีผลย้อนหลังของกฎหมายอาญานั้น โดยย้อนไปเป็นผลดีหรือเป็นคุณแก่ผู้กระทำแล้ว กรณีนี้สามารถย้อนหลังได้ ตัวอย่างการใช้กฎหมายย้อนหลัง กรณีกฎหมายยกเลิกความผิด เช่น แต่เดิมมีการกำหนดความผิด A ขึ้นมา นาย ก.ได้กระทำความผิดดังกล่าว จึงถูกจับกุมและพิพากษาลงโทษจำคุก ต่อมามีกฎหมายออกมาใหม่ยกเลิกความผิด A ดังนั้น นาย ก. จะได้รับผลดีคือ หากถูกจับกุมคุมขังอยู่โดยพนักงานสอบสวน จะมีผลให้ต้องปล่อยตัวนาย ก. หรือหากนาย ก.ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและกำลังรับโทษจำคุกอยู่ ก็ให้การจำคุกสิ้นสุดลงและถือว่าไม่เคยต้องคำพิพากษาแต่อย่างใด นอกจากนี้หากมีกฎหมายออกมาใหม่ แต่มิได้ยกเลิกความผิดเดิม แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน ก็ให้ใช้กฎหมายเฉพาะส่วนที่เป็นคุณนั้นย้อนหลังเป็นคุณได้
14
ความรับผิดทางอาญา มีการกระทำ ความผิด (กฎหมาย) ผู้กระทำ ลงโทษ
15
(โครงสร้าง)ความรับผิดทางอาญา
1. การกระทำครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติ 2. ไม่มีเหตุยกเว้นความผิด 3. ไม่มีเหตุยกเว้นโทษ
16
องค์ประกอบ 1.มีการกระทำ 2.ครบองค์ประกอบภายนอก (ข้อหา/ฐานความผิด)
3.ครบองค์ประกอบภายใน 4.ผลสุดท้ายสัมพันธ์กับการกระทำ
17
การกระทำ Act การกระทำ = การเคลื่อนไหว/ไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้ตัว
1.การเคลื่อนไหว กระทำโดยตรงและโดยทางอ้อม ก. ใช้ปืนยิง หรือ ใช้ไม้ตี ข โดยตรง ก. จ้าง ด.ช. ขาว อายุ ๑๐ ขวบให้ลักทรัพย์ โดยอ้อม
18
การกระทำ Act ก.หลอกเอายาพิษให้นางพยาบาลซึ่งดูแล นาย ข. ให้กินโดยบอกว่าเป็นยาบำรุง นางพยาบาลคิดว่าเป็นยาบำรุงจึงให้ นาย ข. กิน ตาย ก.ละเมอ ถือปืนยิง ข ตาย = ?? ก ถูกแดงสะกดจิตให้ไปฆ่า ข ผล ไม่มีความรับผิดอาญาเพราะไม่มีการกระทำ
19
การกระทำ Act การกระทำไม่เคลื่อนไหวร่างกาย -งดเว้น (หน้าที่เฉพาะ)
เช่น มารดาต้องการฆ่าลูกยังเล็ก จึงปล่อยลูกอดอาหารจนตาย -ละเว้น (หน้าที่โดยทั่วไป ) ก. เป็นนักว่ายน้ำ เห็นเด็กตกน้ำ กำลังจะจมน้ำตาย แต่ ก. ไม่ช่วยเหลืออะไรเลย จนเด็กคนนั้นจมน้ำตาย
20
ครบองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก -ผู้กระทำ ผู้ใด -การกระทำ ฆ่า -วัตถุแห่งการกระทำ ผู้อื่น + ตาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย มาตรา ๒๘๘ ได้แก่ ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น
21
ไม่มีความผิด (ฐานฆ่าผู้อื่น)
ขาดองค์ประกอบภายนอก ก. ต้องการฆ่า ข. จึงใช้ปืนยิง ข. ซึ่งนอนคลุมผ้าอยู่ แต่ ข. ได้เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจวายตายไปก่อนที่ ก. จะยิงแล้ว กรณีนี้ถือว่า ก. กระทำไม่ครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดตามมาตรา ๒๘๘ เนื่องจากส่วนวัตถุแห่งการกระทำ มิใช่ผู้อื่น (มนุษย์) เป็นศพไปแล้ว ไม่มีความผิด (ฐานฆ่าผู้อื่น)
22
องค์ประกอบภายนอก ลักทรัพย์ มาตรา ๓๓๔ คือ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป... -ผู้ใด -เอาไป -ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เช่น ดำต้องการขโมยนาฬิกา แดง ดำได้ลักลอบเข้าไปในห้องแดง แล้วหยิบเอานาฬิกาแดงไปเป็นของตนเอง
23
องค์ประกอบภายใน ได้แก่ เจตนา ประมาท ไม่เจตนาไม่ประมาท
24
ความหมายของ เจตนา มีบัญญัติไว้ตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง และ วรรคสามบัญญัติว่า “การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
25
เจตนา ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด (ส่วนรู้) ผู้กระทำจะต้องประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ (ส่วนต้องการ)
26
มีเจตนา ก. ต้องการฆ่า ข. จึงใช้ปืนยิง ข. ตายทันที ก.มีเจตนา ฆ่า ข. เพราะ ก.รู้ว่า กำลังใช้ปืนฆ่าและรู้ว่ากำลังฆ่ามนุษย์ ขณะเดียวกัน ก. ก็ประสงค์จะให้ ข. ตาย และ ข. ตายตามความประสงค์ เช่นนี้ ก. มีเจตนาฆ่า ข. ตามมาตรา ๒๘๘ แล้ว
27
ไม่มีเจตนา แต่ถ้าขณะที่ ก.ใช้ปืนยิง ข. ก. คิดว่า ข.ตายไปแล้ว เพราะ ข. นอนใช้ผ้าคลุมโปงอยู่ ก. จึงยิงไปที่ ข. โดยคิดว่า ข. ตายไปแล้ว กรณีนี้ อธิบายว่า แม้ ก. จะรู้ว่าการใช้ปืนเป็นการฆ่าแต่ ก. ไม่รู้ข้อเท็จจริงในส่วนผู้อื่น คือ ก. ไม่รู้ว่าเป็นมนุษย์ คิดว่าเป็นศพไปแล้ว เจตนาในส่วน รู้ ของ ก. จึงไม่ครบ กรณีนี้ ก. ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
28
เจตนาลักทรัพย์ ในความผิดฐานลักทรัพย์ มีองค์ประกอบภายนอก คือ ผู้ใด , เอาไป , ทรัพย์ของผู้อื่น หาก ก. แอบเข้าไปหยิบทรัพย์ของ ข. ไปขาย ขณะที่ ข. เผลอ เพื่อนำไปเป็นของตน ถือว่า ก. มีเจตนาลักทรัพย์เพราะ ก. รู้ว่าเป็นทรัพย์ของผู้อื่น และ ก. ประสงค์ที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต ดังนี้ ก. มีเจตนาลักทรัพย์แล้ว จึงทำให้ ก. มีความรับผิดฐานลักทรัพย์
29
ประมาท “ได้แก่ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เช่น ทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายโดยประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
30
องค์ประกอบของประมาท 1.เป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา
2.ปราศจากความระมัดระวัง - ในภาวะเช่นนั้น - ตามวิสัย - ตามพฤติการณ์ 3. อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
31
ประมาท นายขาวเข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ เห็นพุ่มไม้เคลื่อนไหวคิดว่าเป็นสัตว์ป่า จึงใช้ปืนยิงไปที่หลังพุ่มไม้โดยไม่ดูให้ดีว่าเป็นคน นายดำทำความสะอาดปืนในห้องและมีคนนั่งอยู่ในห้องด้วยกัน ทำให้ปืนลั่นถูกคนในห้องตาย แพทย์ หากผ่าตัดคนไข้ที่โรงพยาบาลในเมือง โดยใช้อุปกรณ์ไม่สะอาด ทำให้คนไข้ติดเชื้อโรคและตาย
32
ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำ
การกระทำ ผล ยิง /แทง ตาย ทฤษฎีเงื่อนไข ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม
33
ทฤษฎีเงื่อนไข “ถ้าไม่มีการกระทำอันใดอันหนึ่งแล้ว ผลจะไม่เกิดถือว่าผลเกิดจากการกระทำอันนั้น แม้ว่าผลจะเกิดจากการกระทำอันอื่น ๆ ด้วยก็ตาม ในทางตรงกันข้าม หากไม่มีการกระทำอันใดอันหนึ่งนั้นแล้วผลก็ยังเกิดอยู่นั่นเอง ก็จะถือว่าผลเกิดจากการกระทำอันใดอันหนึ่งนั้นมิได้ ถ้าการกระทำ ผลจะไม่เกิด เช่น หาก ก. ไม่ยิง ข. ก็จะไม่ตาย ดังนั้น ก. จึงต้องรับผิดในความตายของ ข. ความตายเป็น “ผลโดยตรง” จากการกระทำของ ก. (ผลโดยตรงคือ ผลที่สัมพันธ์กับการกระทำตามทฤษฎีเงื่อนไข)
34
ทฤษฎีเงื่อนไข ประมาท ก. ขับรถด้วยความเร็วสูงรถจึงเสียหลักชนรั้วเหล็กข้างถนน เป็นเหตุให้คนโดยสารในรถของ ก. ตาย เมื่อพิจารณาตามทฤษฎีเงื่อนไข หาก ก. ไม่ขับรถเร็วกว่าที่กำหนด รถก็จะหลบพ้นรั้วเหล็กนั้นไปได้ ดังนั้น ความตายที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการประมาทของ ก. จึงต้องรับผิด ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามทฤษฎีเงื่อนไข
35
ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม พิจารณาว่า การกระทำของผู้กระทำ (เหตุ) นั้นเหมาะสมที่จะให้เกิดผลนั้นๆ ขึ้นหรือไม่ ซึ่งต้องมีความเกี่ยวพันกันพอสมควร (Reasonable connection) ก. ต้องการฆ่า ข. จึงใช้ปืนไล่ยิง ข. ข. ต้องวิ่งหนีกระสุน หลบอยู่ใต้ต้นไม้ ขณะนั้นเกิดพายุฝน ฟ้าผ่าต้นไม้ล้มทับ ข. ตาย
36
เหตุแทรกแซง ก.ไล่ยิง ข ข.หลบใต้ต้นไม้ ฟ้าผ่าต้นไม้ ข.ตาย
ก.ไล่ยิง ข ข.หลบใต้ต้นไม้ ฟ้าผ่าต้นไม้ ข.ตาย ผลเกิดจาก เหตุแทรกแซง คือ ฟ้าผ่า “คาดหมายได้หรือไม่” ก.จึงไม่ต้องรับผิดฐาน ฆ่า ข. ตายโดยเจตนา แต่รับผิดเท่าที่ได้กระทำไปแล้ว คือ พยายามฆ่า ข
37
เหตุยกเว้นความผิด หมายถึง กระทำครบองค์ประกอบ(ภายนอก+ภายใน)
มีเหตุ (ภายนอก) มาเป็นเหตุให้การกระทำนั้นๆไม่เป็น/ไม่มีความผิด ในกม.อาญา ได้แก่ การป้องกัน การทำแท้งของแพทย์ เหตุยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท (การแสดงความคิดเห็นสุจริต)
38
ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ได้แก่ เรื่อง การทำลายทรัพย์ เจ้าของที่ดินตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินที่ติดต่อกัน
39
ในกฎหมายอื่นๆ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจตำรวจ จับกุมบุคคลที่กระทำความผิดโดยไม่มีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี เข้าไปยึดทรัพย์ในบ้านเรือนหรือสถานที่ลูกหนี้มีทรัพย์อยู่ ไม่มีความผิดฐานบุกรุก จารีตประเพณีบางอย่าง ได้แก่ การแข่งกีฬาตามกติกา ความยินยอม (ศาล)
40
เหตุยกเว้นความผิด ป้องกัน
ก . ยิง ข. ก่อน ข. จึงใช้ปืนยิง ก. ตาย หลัก 4 ประการ 1.มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย 2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง 3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น 4.กระทำไปไม่เกินขอบเขต = ผล ก.ไม่มีความผิดฆ่าคนตาย
41
อ้างป้องกัน????? 1.ก.ละเมอ ถือปืนตรงเข้ามาจะเหนี่ยวไกยิง ข. ,ข.รู้ว่าก.ละเมอ แต่เลี่ยงไม่ได้ จึงยิง ก.ตาย ????? 2.ก.ละเมอ ถือปืนตรงเข้ามาจะเหนี่ยวไกยิง ข. ,ข.ไม่รู้ว่า ก.ละเมอ แต่เลี่ยงไม่ได้ จึงยิง ก.ตาย ????? 2.ก.เตรียมปืนมาจะยิง ข. ข.รู้ตัวจึงไปยิง ก.ก่อนขณะเตรียมปืนนั้น....???? 3.ก.ฝึกสุนัขดุ เพื่อทำร้าย ข. และสั่งให้สุนัขกัด ข. ข.จึงเตะสุนัขขาหัก.....???
42
อ้างป้องกัน????? 4.ก . ยิง ข. ก่อน ข. จึงใช้ปืนยิง ก. ตาย
4.ก . ยิง ข. ก่อน ข. จึงใช้ปืนยิง ก. ตาย 5.ก.เป็นตำรวจจะจับกุม ข.ตามหมายจับ ข .ไม่ยอม จึงชก ก. บาดเจ็บ 6. ก.ใช้ไม้ตี ข. บาดเจ็บแต่ ข.มีปืนจึงยิง ก.ตาย...?? 7.ก.กำลังทำความสะอาดปืนๆลั่นไปถูก ข.ซึ่งกำลังเล็งปืนจะยิง ก....ทำให้ ข.ตาย
43
อ้างป้องกัน????? 8.ก.เลี้ยงเสือไว้ในกรง แต่ไม่ดูแลให้ดี เสือหลุดออกมา ตรงเข้าจะกัด ดช.ดำลูกของ ข. ข.เห็นจึงยิงเสือตาย????? 9.ก.ขับรถประมาทเสียหลักจะชน ดช.แดง ถ้า ข.เห็นจึง 9.1 ผลัก ดช.แดงให้พ้นจากการถูกชนแต่ดช.แดง บาดเจ็บ? 9.2 ยิงยางรถยนต์ของ ก.แตก ทำให้รถเปลี่ยนทางไม่ชนดช.แดง
44
อ้างป้องกัน????? 10. ก.เรือแตก เกาะชูชีพซึ่งรับน้ำหนักได้เพียง 1 คน ข.ซึ่งเรือแตกเหมือนกัน ว่ายเข้ามาแย่งเอาชูชีพนั้นไป ทำให้ ก.จมน้ำตาย ข.ผิด?? 11. ก.เรือแตก เกาะชูชีพซึ่งรับน้ำหนักได้เพียง 1 คน ข.ซึ่งเรือแตกเหมือนกัน ว่ายเข้ามาจะแย่งเอาชูชีพนั้นไป ก.จึงผลัก ข.ไม่ให้แย่งได้ ทำให้ ข.จมน้ำตาย ก.ผิด?? 12.ก.ชิงทรัพย์ธนาคารและนำตัวนายขาวมาเป็นตัวประกัน ไม่ให้ตำรวจติดตามมา ถ้า ข.เป็นตำรวจติดตามมาถึง จึงยิง ก.ตาย...??
45
เหตุยกเว้นโทษ หมายถึง การกระทำที่เป็นความผิดฐานนั้นๆ มีเหตุที่ทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหรือไม่ (ความชั่ว ,รู้สึกผิดชอบชั่วดี) เหตุอายุ = ไม่เกิน10ปี และ 10ปี ไม่เกิน 15 ปี เหตุจิตใจ = มึนเมา , วิกลจริต เหตุไม่รู้ข้อถูกผิด = ทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน เหตุสถานการณ์ = จำเป็น สามี/ภริยา ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ต่อกัน
46
อายุผู้กระทำผิด / ยกเว้นโทษ
1.ดช. ก อายุ 10 ปี ลักทรัพย์/ ยิงคนตาย = เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ(จำคุก....) 2.ดช. ก อายุ 15 ปี ลักทรัพย์/ ยิงคนตาย = เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ(จำคุก....) แต่อาจไปศาลเด็ก เยาวชน
47
จิตใจ นายดำ ฆ่านายแดง ขณะที่มีอาการวิกลจริตเพราะเป็นโรคจิตที่เชื่อว่าจะทำให้โลกพ้นจากวิบัติ = นายดำไม่ต้องรับโทษ(จำคุก.) แต่.. อาการทางจิตขณะกระทำผิด “วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน จิตไม่สมประกอบ”
48
มึนเมา นาย ก.ดื่มสุราจนเมามาย แล้วไปข่มขืนนางสาวแดง = อ้างมึนเมาไม่ได้เพราะ 1.ดื่มโดยรู้ว่าเป็นสุรา 2.ดื่มโดยถูกบังคับให้ดื่ม/เสพ ถ้านาย ก.ดื่มโดยไม่รู้ว่าเป็นสุรา/หรือถูกบังคับให้เสพ หลังจากนั้นไปกระทำผิดเพราะไม่สามารถบังคับตนได้จากฤทธิ์สุรา = ยกเว้นโทษ??
49
ความไม่รู้ข้อถูกผิด (ทำตามคำสั่ง)
ทำตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน โดยไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ตำรวจใต้บังคับบัญชาไปจับกุมผู้ต้องหาโดยไม่ได้ออกหมายจับ แต่ผู้จับเข้าใจว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไปจับกุม เรื่องดังกล่าวถือว่า ผู้กระทำไม่มีความชั่วเพราะเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ กฎหมายจึงยกเว้นโทษให้
50
จำเป็น 1.จำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ
เช่น ก.ใช้ปืนขู่จะฆ่า ข. ถ้า ข. ไม่ไปทำร้าย ค. ข. กลัวตาย จึงทำร้าย ค. บาดเจ็บ แม้ ข. จะกระทำครบองค์ประกอบความผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อ ค. ก็ตาม แต่ ข. ไม่ต้องรับโทษในความผิดที่ได้กระทำต่อ ค. 2.จำเป็นเพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตราย เช่น ก. เดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด ระหว่างทางเจอพายุและบริเวณนั้นมีบ้าน ข. อยู่เพียงหลังเดียว ซึ่ง ก. ต้อง เข้าไปหลบพายุในบ้าน ข. โดย ก. ต้องพังประตูบ้าน ข. เข้าไปหลบพายุ การกระทำของ ก. เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ ก. ไม่ต้องรับโทษ
51
สามี/ภริยา(ทรัพย์) สามี ลักทรัพย์ภริยา ไปขาย = สามีไม่ต้องรับโทษ
ลักทรัพย์ วิ่งราว ยักยอก ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์...... สามี ลักทรัพย์ภริยา ไปขาย = สามีไม่ต้องรับโทษ ภริยายักยอกทรัพย์สามีไปขาย = ภริยา ไม่ต้องรับโทษ สามีชิงทรัพย์ภริยา สามีต้องรับโทษ สามี เตะ ตบ ภริยา สามีต้องรับโทษ
52
เหตุลดโทษ เหตุลดโทษ รับโทษ น้อยกว่าที่กำหนด ได้แก่ -ความไม่รู้กฎหมาย
เหตุลดโทษ รับโทษ น้อยกว่าที่กำหนด ได้แก่ -ความไม่รู้กฎหมาย -คนวิกลจริตซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง -คนมึนเมาซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง -ป้องกัน จำเป็น เกินขอบเขต -การกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างญาติสนิท -ผู้กระทำความผิดอายุกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี -เหตุบรรเทาโทษ เช่น โฉดเขลาเบาปัญญา ,มีคุณความดีมาก่อน ,ลุแก่โทษ ,ให้ความรู้เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา -การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ
53
พยายามกระทำความผิด ขั้นตอนที่สำคัญๆของการกระทำ จนถึงความผิดสำเร็จ
1. คิดที่จะกระทำความผิด 2. ตกลงใจตามที่คิด 3. ตระเตรียมการ 4. ลงมือกระทำความผิด ไปจนถึงความผิดสำเร็จ พยายาม
54
พยายาม ลงมือ ขั้นสุดท้าย (last act) ใกล้ชิดต่อผลที่จะสำเร็จ
ชักปืน ยกปืน เล็งปืน เหนี่ยวไก (พยายามฆ่า) ??? ใส่ยาพิษในอาหาร ยกไปเสริฟ (พยายามฆ่า) ??? โทษของความผิดฐานพยายาม “ต้องระวางโทษสองในสามส่วน…..ความผิดสำเร็จ)
55
ผู้กระทำความผิดหลายคน
1.ตัวการ 2. ผู้ใช้ 3. ผู้สนับสนุน
56
ตัวการ ในการกระทำความผิดต่างๆหาก 1.บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
2.มีการกระทำร่วมกัน 3.มีเจตนาร่วมกัน ตัวอย่าง ก.+ ข ตกลงจะฆ่า ค. โดย ก.ยิง ข.ดูต้นทาง ก.ผิดฆ่าคนตาย ข.เป็นตัวการร่วม..ในความผิดที่ก.กระทำ
57
ผู้ใช้ ผู้ใด ก่อให้ ผู้อื่นกระทำความผิด
ผู้ใด ก่อให้ ผู้อื่นกระทำความผิด ใช้ ,จ้าง ,วาน ,ยุยง ,ส่งเสริม ,อื่นใด(เช่น หลอก) เช่น ก.จ้าง ข.ให้ไปฆ่า ค. ข.ไปฆ่า ค.ตาย 1.ข. ผิดฆ่าคนตาย 2.ก.ผิดฆ่าคนตายโดยเป็นผู้ใช้
58
ผู้ใช้ 1/3 เช่น ก.จ้าง ข.ให้ไปฆ่า ค. ข.ตกลง แต่ยังไม่ได้ยิง ค.
ผู้ใด ก่อให้ ผู้อื่นกระทำความผิด ใช้ ,จ้าง ,วาน ,ยุยง ,ส่งเสริม ,อื่นใด(เช่น หลอก) เช่น ก.จ้าง ข.ให้ไปฆ่า ค. ข.ตกลง แต่ยังไม่ได้ยิง ค. ก.ผิด 1/3 ของฆ่าคนตาย ข.ยังไม่ผิดเพราะยังไม่ได้ลงมือ
59
ผู้สนับสนุน (๑)การกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด (๒) การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นต้องกระทำก่อนหรือขณะกระทำผิด (๓) ผู้กระทำความผิดจะรู้หรือมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นหรือไม่ก็ตาม (๔) ผู้สนับสนุนต้องมีเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้น
60
ผู้สนับสนุน ก. ต้องการฆ่า ข. แต่ไม่มีอาวุธปืนจึงยืมปืนจาก ค. โดย ค. ก็รู้ว่า ก. จะนำปืนนั้นไปฆ่า ข. ต่อมา ก. ใช้ปืนนั้นยิง ข. ตาย พิจารณาความผิดได้ดังนี้ ก. มีความผิดฐานฆ่า ข.ตายโดยเจตนา ส่วน ค. เป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
61
ผู้สนับสนุน????? ตัวอย่างเช่น ก. ลักกระบือของ ข. โดยจูงกระบือมาพบ ค. ก. จึงขอให้ ค. ช่วยจูงกระบือไปซ่อนโดย ค. รู้ว่า ก. ลักกระบือ ข.มา กรณีนี้ ค. ไม่เป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะจะต้องช่วยเหลือให้ความสะดวกก่อนการกระทำความผิด แต่ การที่ ค. ช่วย ก. นั้น เกิดขึ้นภายหลังความผิดฐานลักทรัพย์ได้กระทำสำเร็จลงแล้ว จึงไม่เป็นผู้สนับสนุน
62
ผู้สนับสนุน นัดแนะ ก. เป็นคนใช้บ้านของ ข. นัดแนะกับ ค. ให้มาลักทรัพย์บ้านของ ข. โดย ก. จะเปิดหน้าต่างไว้เพื่อให้ ค. เข้ามาลักทรัพย์ แม้ ค.จะเข้ามาทางประตูที่ ข. ลืมเปิดทิ้งไว้ก็ตาม ก. ก็เป็นผู้สนับสนุนในความผิดลักทรัพย์ เพราะการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก คือ การ “นัดแนะ” กับ ค
63
แบบฝึกหัด โทษตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ
โทษตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ 1. ประหารชีวิต จำคุก กักกัน ปรับ ริบทรัพย์สิน 2. ประหารชีวิต จำคุก ควบคุมตัว ปรับ ริบทรัพย์สิน 3. ประหารชีวิต จำคุก ภาคทัณฑ์ ปรับ ริบทรัพย์สิน 4. ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน 5. ประหารชีวิต จำคุก ห้ามเข้าเขตกำหนด ปรับ ริบทรัพย์สิน
64
ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย แบ่งออกเป็นสามภาคคือ
1. ภาคทั่วไป ภาคความผิด ภาคลหุโทษ 2. ภาคคำนิยาม ภาคความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และภาคความผิดเกี่ยวกับชีวิต 3. ภาคทั่วไป ภาคคำนิยาม ภาคลหุโทษ 4. ภาคทั่วไป ภาคชีวิตร่างกาย ภาคทรัพย์สิน 5. ภาคทั่วไป ภาคความผิด ภาคบังคับคดี
65
ความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นความผิดอาญาที่ยอมความไม่ได้ ได้แก่ ความผิดดังต่อไปนี้
1. ความผิดฐานลักทรัพย์, ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ 2. ความผิดฐานฆ่าคนตาย, ความผิดฐานหมิ่นประมาท 3. ความผิดฐานฆ่าคนตาย, ความผิดฐานลักทรัพย์ 4. ความผิดฐานลักทรัพย์, ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ 5. ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย, ความผิดฐานเปิดเผยความลับ
66
ความผิดอาญาที่ยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนภายในกี่เดือนนับแต่เมื่อไร
1. ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด 2. ภายในสี่เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด 3. ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด 4. ภายใน 1 ปี นับแต่เกิดเหตุ 5. ภายในห้าเดือนนับแต่เกิดเหตุ
67
หลักประกันในกฎหมายอาญาในประเทศไทยนั้น มีหลักอย่างไร
1.หลักกระทำผิดต้องมีการประกันตัว 2.หลักที่ ว่าทำผิดต้องรับโทษ 3.หลักที่ว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” 4.หลักที่ว่า จับตัวไม่ได้ก็ยังไม่ต้องประกันตัว 5.หลักที่ว่า บุคคลทุกคนสุจริต
68
นาย ก กระทำผิด X ต่อมามีการออกกฎหมายมาใหม่ยกเลิกความผิด X ออกจากกฎหมาย ดังนี้ผลจะเป็นอย่างไร ถ้านาย ก ถูกศาลสั่งจำคุกอยู่ 1.นาย ก.ต้องติดคุกจนครบระยะเวลา 2.ต้องลดโทษให้นาย ก. ครึ่งหนึ่ง 3.ต้องปล่อยตัวนาย ก.ออกจากคุก โดยไม่มีเงื่อนไข 4.ต้องถือว่านาย ก.ไม่ได้รับผลดีแต่อย่างใด
69
ความผิดฐานฆ่าคนตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มีองค์ประกอบภายนอกคือ“ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น” ข้อใดจัดว่าเป็น “วัตถุแห่งการกระทำ” 1. ผู้ใด 4. ข้อ 1 และ 2 ถูก 2. ผู้อื่น 5. ข้อ 2 และ 3 ถูก 3. ฆ่า ก. ต้องการฆ่า ข. จึงสะกดจิต ค. ให้หยิบปืนไปยิง ข. ตาย เป็นการกระทำความผิดแบบใด 1. เป็นการกระทำผิดโดยอ้อมของ ก เป็นการกระทำผิดโดยตรงของ ก. 2. เป็นการกระทำผิดโดยตรงของ ค. 4.เป็นการที่นาย ค. ไม่มีการกระทำ
70
ก. เป็นบิดาต้องการฆ่า ค. บุตรคนเล็ก จึงปล่อยให้อดอาหารตาย ก
ก. เป็นบิดาต้องการฆ่า ค. บุตรคนเล็ก จึงปล่อยให้อดอาหารตาย ก. มีความผิดหรือไม่อย่างไร 1.ผิดฐานฆ่าคนตาย เป็นการกระทำโดยละเว้น 2.ผิดฐานฆ่าคนตาย เป็นการกระทำโดยงดเว้น 3.ผิดฐานทำร้ายร่างกาย เป็นการกระทำโดยงดเว้น 4.ผิดฐานก่ออันตรายต่อชีวิต เป็นการกระทำโดยงดเว้น
71
นายนุกเป็นนักกีฬาว่ายน้ำเห็น ด. ญ. สุพรรณษา นักเรียนชั้น ป
นายนุกเป็นนักกีฬาว่ายน้ำเห็น ด.ญ.สุพรรณษา นักเรียนชั้น ป. 4 ลื่นตกน้ำและกำลังจะจมน้ำตายแต่ทว่า นายนุกไม่ยอมเข้าไปช่วยเหลือ ดังนี้ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดสำหรับนายนุก 1. เป็นการกระทำโดยงดเว้น 2. เป็นการกระทำโดยละเว้น 3. เป็นการกระทำโดยประมาท 4. เป็นการกระทำโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม 5. เป็นการกระทำโดยไม่มีเจตนา
72
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นประมาท
1. มารดางดให้นมบุตรจนบุตรตาย 2. วิโรจน์ใช้อาวุธปืนขู่เข็ญให้วิรัตน์ดื่มยาพิษ 3. แพทย์ผ่าตัดช่วยชีวิตคนไข้ฉุกเฉิน จนสุดความสามารถแต่ไม่สามารถช่วยชีวิตไวได้ 4. บุญช่วยขับขี่รถยนต์เมาสุราพุ่งชนมานะบาดเจ็บสาหัส 5. ข้อ 3 และ 4 ถูก
73
ขุนแผนต้องการขโมยแหวนของขุนช้าง แต่ในเรือนไม้นั้นมืดมองไม่เห็น จึงหยิบแหวนผิดกลับหยิบเอาแหวนของตนเองไป ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง 1. การกระทำไม่ครบองค์ประกอบภายนอก 2. ขาดวัตถุแห่งการกระทำ 3. ขุนแผนไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ 4. ขุนแผนยังคงมีความผิดฐานลักทรัพย์ของขุนช้างตามเจตนาเดิม 5. ข้อ 1, 2 และ 3 กล่าวถูก
74
เรื่องการกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จัดอยู่ในประเภทโครงสร้างทางอาญาเรื่องใด
1. กฎหมายยกเว้นโทษ 2. กฎหมายยกเว้นความผิด 3. การกระทำไม่ครบองค์ประกอบความผิด 4.ข้อ 1 และ 3 ถูก 5.ข้อ 2 และ 3 ถูก
75
สายัณห์ถูกรถยนต์ชนหมดสติ ร่วมกตัญญูช่วยนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ต้องทำการผ่าตัดสมองเป็นการ ด่วนโดยทันทีโดยที่สายัณห์ยังมิได้ให้ความยินยอมในการผ่าตัดเพราะเหตุยังไม่ได้สติ ข้อใดดังต่อไปนี้ กล่าวได้ถูกต้องที่สุดสำหรับการกระทำของแพทย์ 1. เป็นการกระทำโดยป้องกัน 2. เป็นการกระทำโดยจำเป็น 3. เป็นการประมาท 4. เป็นการกระทำโดยผิดจรรยาบรรณของผู้มีวิชาชีพ 5. เป็นการกระทำโดยมีเจตนาย่อมเล็งเห็นผล
76
นายเก่งต้องการจะยิงนายก้อง แต่นายก้องไวกว่าจึงยิงนายเก่งตายและกระสุนปืนยังทะลุพุ่งเลยไปถุกนายกรุงตายไปด้วยอีกคนหนึ่ง ดังนี้จะวินิจฉัยกรณีของนายก้องอย่างไรจึงจะถูกต้องที่สุด 1. กระทำผิดโดยความจำเป็นไม่ต้องรับโทษ 2. อ้างป้องกันเพื่อยกเว้นความรับผิดได้ 3. เป็นการกระทำทั้งป้องกันและจำเป็น 4. กระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา 5. กระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยประมาท
77
ก. ลักรถจักรยานยนต์ของ ข. ขณะจูงรถมา พบ ค. ก. จึงขอให้ ค
ก. ลักรถจักรยานยนต์ของ ข. ขณะจูงรถมา พบ ค. ก. จึงขอให้ ค. ช่วยจูงรถที่ลักไปซ่อม ค. ตกลงโดย ค. รู้ว่า ก. ลักรถของ ข. มา เช่นนี้ ค. มีความผิด 1.ค. มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ 2.ค. มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วม 3.ค. มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน 4.ค. มีความผิดฐานรับของโจร 5.ค. ไม่มีความผิด
78
1. บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 4.ข้อ 1. และ 2. ถูก
ข้อต่อไปนี้ ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การเป็นตัวการ 1. บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 4.ข้อ 1. และ 2. ถูก 2. ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน 5.ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก 3. มีเจตนาที่จะร่วมกระทำ ก.ใช้ ค. ให้ไปฆ่า ข. ค. รับปากตกลงแล้ว แต่ ค. ยังมิได้ลงมือฆ่า ข. เช่นนี้ ก. ต้องรับโทษหรือไม่ 1. ต้องรับโทษ กึ่งหนึ่งของความผิดฐานฆ่าคนตาย 2. ต้องรับโทษ หนึ่งในสามของความผิดฐานฆ่าคนตาย 3. ต้องรับโทษ สองในสามของความผิดฐานฆ่าคนตาย 4. ไม่ต้องรับโทษ 5. ผิดทุกข้อ
79
2.ไม่รับผิดเพราะไม่มีเจตนา 3.ไม่รับผิดเพราะไม่มีการกระทำ
นายดำ ยิงนายแดงได้รับบาดเจ็บสาหัส ต่อมานายแดงเข้ารักษาตัวจนหาย นายดำมีความผิดอย่างไร 1.นายดำต้องรับผิดฐานพยายามฆ่านายแดง 2. นายดำต้องรับผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส 3.นายดำต้องรับผิดฐานกระทำโดยประมาทต่อแดง 4. นายดำต้องรับผิดฐานฆ่านายแดงตาย นายดำนอนละเมอ หยิบปืนขึ้นยิงนายแดงตาย นายดำต้องรับผิดอาญาหรือไม่ อย่างไร 1.รับผิดเพราะมีคนตาย 2.ไม่รับผิดเพราะไม่มีเจตนา 3.ไม่รับผิดเพราะไม่มีการกระทำ 4.ไม่รับผิดเพราะขาดองค์ประกอบภายนอก
80
ข้อใดถือว่าเป็นพยายามฆ่าของนาย ก.
1. นาย ก. เตรียมปืนจะไปยิงนาย ข. 2. นาย ก. ชักปืนจากกระเป๋ากางเกง 3. นาย ก. เล็งปืนไปยังนาย ข. 4. นาย ก. บรรจุกระสุนเตรียมยิง ข. ความผิดอาญาขั้น “พยายาม” พิจารณาอย่างไร โทษเป็นอย่างไร 1. ขั้นลงมือ, โทษสองในสามส่วน 2. ขั้นตระเตรียม, โทษกึ่งหนึ่ง 3.ขั้นตกลงใจ, โทษหนึ่งในสามส่วน 4. ขั้นคิด, โทษสองในสามส่วน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.