งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนผังงานเบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนผังงานเบื้องต้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนผังงานเบื้องต้น
Basic Flowcharting

2 การเขียนผังงาน(Flowcharting)
ผังงาน หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนโปรแกรม โดยเขียนเป็นเครื่องหมายภาพสัญลักษณ์แสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน การเขียนผังงาน เป็นการถ่ายทอดความเข้าใจที่ได้จากการวิเคราะห์งานให้อยู่ในรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ผู้เขียนโปรแกรมจะสามารถเข้าใจลำดับขั้นตอนการเขียนโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น และง่ายต่อการตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนในวิธีการประมวลผล

3 การเขียนผังงาน(Flowcharting)
งานทุกชนิดที่มีการวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นตอนแล้ว เราสามารถนำมาเขียนผังงานได้ แม้กระทั่งงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเอง

4 ตัวอย่างผังงานทั่วไป(1/3)
เริ่มต้น โยนเหรียญ ผลการโยน ได้เงิน 10 บาท เสียเงิน 10 บาท ครบ 3 ครั้ง หรือยัง? หยุด หัว ก้อย ยัง ครบ แสดงการโยนเหรียญ 3 ครั้ง ถ้าออกหัว ผู้โยนจะได้เงิน 10 บาท ถ้าออกก้อย ผู้โยนจะเสียเงิน 10 บาท

5 ตัวอย่างผังงานทั่วไป(2/3)
ผังงานแสดงการเดินข้ามถนนที่มีสัญญาณไฟจราจร เริ่มต้น รอสัญญาณไฟ ไฟแดง หรือไม่ เดินข้ามถนน หยุด ใช่ ไม่ใช่

6 ตัวอย่างผังงานทั่วไป(3/3)
เริ่มต้น อายุต่ำกว่า 5 ปี ห้ามรับประทาน อายุ 5 ปีขั้นไป แต่ไม่ถึง 8 ปี ครั้งละ 1 เม็ด อายุ 8 ปีขั้นไป แต่ไม่ถึง 15 ปี ครั้งละ 2 เม็ด ครั้งละ 3 เม็ด หยุด ใช่ ไม่ใช่ ผังงานพิจารณาการใช้ยาตามฉลากยาที่ปิดข้างขวด แยกตามขนาดการใช้ดังนี้ อายุต่ำกว่า 5 ปี ห้ามรับประทาน อายุ ปี ครั้งละ 1 เม็ด อายุ ปี ครั้งละ 2 เม็ด อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งละ 3 เม็ด

7 ผังงานทางคอมพิวเตอร์
ผังงานทางคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผังงานระบบ (System flowchart) ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)

8 ผังงานระบบ(System flowchart)
เป็นผังงานที่ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบงานอย่างกว้าง ๆ ทั้งระบบ โดยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของส่วนสำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารเบื้องต้น หรือสื่อบันทึกที่ใช้อยู่เป็นอะไร และผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรในหน่วยงานนั้น ๆ แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้น ผังงานระบบ จะเกี่ยวข้องกับ คน วัสดุ และเครื่องจักร โดยแสดงการนำข้อมูลเข้า ประมวลผล แสดงผลลัพธ์ ว่ามาจากที่ใดกว้าง ๆ

9 ตัวอย่างผังงานระบบ ผังงานแสดงการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมจำนวน 100 รูป
เริ่มต้น บันทึกความสูงและความยาวฐาน ลงในดิสก์ รับความสูง และความยาวฐาน ของสามเหลี่ยม 100 รูป ดิสก์ที่ บันทึกแล้ว คำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม พิมพ์รายงานของ พื้นที่สามเหลี่ยม จบ ผังงานแสดงการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมจำนวน 100 รูป

10 ผังงานโปรแกรม(Program flowchart)
เป็นผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้แยกย่อยมาจากผังงานระบบ โดยผู้เขียนโปรแกรมจะดึงเอาแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลในคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียนแสดงรายละเอียดในการประมวลผลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อนำไปประกอบการเขียนโปรแกรมต่อไป

11 ตัวอย่างผังงานโปรแกรม
เริ่มต้น รับความสูง และ ความยาวฐานทีละรูป ครบ 100 รูปแล้ว ใช่หรือไม่ คำนวณพื้นที่= 0.5 * ฐาน * สูง พิมพ์พื้นที่สามเหลี่ยม ทีละรูป จบ ไม่ใช่ ใช่ ผังงานแสดงการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยมจำนวน 100 รูป

12 เปรียบเทียบผังงานระบบและผังงานโปรแกรม
เริ่มต้น บันทึกความสูงและความยาวฐาน ลงในดิสก์ รับความสูง และความยาวฐาน ของสามเหลี่ยม 100 รูป ดิสก์ที่ บันทึกแล้ว คำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม พิมพ์รายงานของ พื้นที่สามเหลี่ยม จบ เริ่มต้น รับความสูง และ ความยาวฐานทีละรูป ครบ 100 รูปแล้ว ใช่หรือไม่ คำนวณพื้นที่= 0.5 * ฐาน * สูง พิมพ์พื้นที่สามเหลี่ยม ทีละรูป จบ ไม่ใช่ ใช่ ผังงานระบบ ผังงานโปรแกรม

13 ประโยชน์ของการเขียนผังงาน
เราสามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานได้ง่าย เพราะผังงานไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผังงานเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาลำดับขั้นตอนในการทำงานดีกว่าการบรรยายเป็นตัวอักษร ช่วยให้การค้นหาความผิดพลาดของลำดับการทำงานได้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขได้ง่าย การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงาน สามารถทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น ในการบำรุงรักษาโปรแกรม หรือมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพ ถ้าดูจากผังงานจะช่วยให้สามารถทบทวนการทำงานในโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

14 ข้อจำกัดของการเขียนผังงาน
การเขียนผังงานไม่เหมาะกับงานที่มีวิธีการซับซ้อน เช่น มีการที่เงื่อนไขในการทอสอบมากมาย ซึ่งมักจะใช้ตารางการตัดสินใจ(decision table) เข้ามาช่วยมากกว่า

15 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(1/13)
การเขียนผังงานเป็นการนำเอาภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยมีเส้นลูกศรเชื่อมระหว่างภาพต่างๆ สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานที่นิยมใช้กันนั้น เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่ชื่อว่า American National Standard Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO) เป็นผู้กำหนดและรวบรวมให้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานในการเขียนผังงาน

16 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(2/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การเริ่มต้นหรือสิ้นสุดการเขียนผังงาน (Terminal) เริ่มต้นผังงาน จบผังงาน รับข้อมูลหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุสื่อ (Input/output) รับค่าใส่ในตัวแปรชื่อ name แสดงค่าจากตัวแปร area START STOP read name display area

17 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(3/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การประมวลผล (Process) คำนวณ A + B และเก็บไว้ใน C กำหนดค่า sum เท่ากับ 0 การเปรียบเทียบหรือตัวสินใจ (Compare / Decision) เปรียบเทียบถ้า i มีค่า น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 - เป็นจริง พิมพ์ค่า i เสร็จแล้วไปทำคำสั่งอื่น ๆ - เป็นเท็จ ไปทำคำสั่งอื่น ๆ C = A + B Sum = 0 i <= 10 true false แสดง i

18 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(4/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การแสดงผลลัพธ์ทางเครื่องพิมพ์ (Document) พิมพ์ค่า A ทาง เครื่องพิมพ์ การแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ (Display) แสดงค่า A, B บนจอภาพ print A display A , B

19 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(5/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย หมายเหตุ (Comment) รับค่าทางการกดแป้นพิมพ์ (Manual Input) รับค่า A ทาง แป้นพิมพ์ read A A = Age read A

20 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(6/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การกำหนดค่าต่างๆ ไว้ล่วงหน้า (Preparation) กำหนดให้ i มีค่าเท่ากับ 1 และเพิ่มค่าทีละ 1 จนมีค่าเป็น 100 จึงออก จากการทำงานซ้ำ โดยแต่ละรอบ บวกค่า sum ด้วยค่า i แสดงทิศทางและลำดับของการทำงาน (Flow line) for i =1 to 100 sum = sum + i i

21 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(7/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย จุดต่อเนื่องในหน้าเดียวกัน (In-Page connector) หลังจากพิมพ์ค่า A แล้วให้ทำตามที่จุด ต่อเนื่อง A ซึ่งอยู่ใน หน้าเดียวกัน จุดต่อเนื่องที่อยู่คนละหน้า (Off-Page Connector) หลังจากกำหนดค่า A เท่ากับ 3 ให้ทำตาม จุดต่อเนื่องชื่อ 1 ซึ่ง ไม่ได้อยู่ในหน้า เดียวกัน write A A A = 3 1

22 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(8/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การรับหรือแสดงข้อมูลโดยใช้บัตรเจาะรู (Punch card) อ่านค่า A ที่บัตรเจาะรู 1 ใบ เจาะค่า B,C บนบัตร 1 ใบ ชุดของบัตรเจาะรู (Card Desk) เจาะค่า B1 , B2 , Bn บนบัตร n ใบ read A punch B , C punch bi b=1 , …n

23 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(9/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การรับหรือแสดงข้อมูลโดยใช้เทปกระดาษ (Punched tape) อ่านค่า ID , name บนเทปกระดาษ การรับหรือแสดงข้อมูลโดยใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อ (Magnatic tape) read ID , name

24 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(10/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การรับหรือแสดงข้อมูลโดยใช้จานแม่เหล็กเป็นสื่อ (Magnatic disk) การรับหรือแสดงข้อมูลโดยใช้ดรัมแม่เหล็กเป็นสื่อ (Magnatic drum)

25 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(11/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การทำงานที่กำหนดไว้แล้ว เช่น โปรแกรมย่อย (Predefine Process) เรียกโปรแกรม ย่อยชื่อ findGrade ให้ทำงาน การควบคุมการทำงานด้วยมนุษย์ บางครั้งเรียกการทำงานแบบออฟไลน์ (Offline Processing) findGrade

26 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(12/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การทำงานแบบออฟไลน์ของอุปกรณ์ที่ไม่ได้ถูกควบคุมจากหน่วยประมวลผลกลางโดยตรง (Auxiliary Operation) การจัดเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)

27 สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน(13/13)
ความหมาย ตัวอย่างการใช้ คำอธิบาย การส่งข้อมูลทางสายสื่อสาร (Communication Link)

28 หลักการจัดภาพผังงาน(1/2)
ทิศทางของผังงานจะเริ่มจากส่วนบนของหน้ากระดาษลงมายังส่วนล่าง และจากซ้ายมือไปของหน้ากระดาษ และควรเขียนเครื่องหมายลูกศรกำกับทิศทางไว้ด้วย บน START ทิศทางของเส้น read age age > 60 false true “You are old” ล่าง STOP

29 หลักการจัดภาพผังงาน(2/2)
สัญลักษณ์หรือภาพที่ใช้ในการเขียนผังงานมีขนาดต่าง ๆ กันได้ แต่จะต้องมีรูปมาตรฐานตามความหมายที่กำหนด START sum = 0 ขนาดของสัญลักษณ์ ปรับให้เหมาะสมกับข้อความในสัญลักษณ์ i = 1 to 10 sum = sum + i i sum STOP

30 หลักการจัดภาพผังงาน(3/2)
การเขียนทิศทางของผังงานควรเป็นไปอย่างมีระเบียบ และหลีกเลี่ยงการขีดโยงไปโยงมาในทิศทางตัดกัน ถ้าจำเป็นต้องโยงถึงกัน ควรใช้เครื่องหมายจุดต่อเนื่องแทนและถ้าเป็นไปได้ควรเขียนผังงานให้จบในหน้าเดียวกัน คำอธิบายในภาพ เขียนเพียงสั้น ๆ และเข้าใจง่าย ผังงานที่ดีควรจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด นอกจากนี้แล้ว จะมีชื่อของผังงาน ผู้เขียน วันที่เขียน และเลขหน้าลำดับ

31 รูปแบบการเขียนผังงาน
แบบตามลำดับ (Sequence) แบบการเลือก/ตัดสินใจ/เงื่อนไข (Selection/Decision/Condition) แบบวนซ้ำ (Iteration / Loop)

32 รูปแบบตามลำดับ(1/3) เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุด ทำงานทีละอย่างจากบนลงล่าง แสดงลำดับการทำงานจากบนลงล่างตามลูกศร คำนวณ อ่านข้อมูล คำนวณข้อมูล พิมพ์ผลลัพธ์ งานที่ 1 งานที่ 2 งานที่ 3

33 รูปแบบตามลำดับ(2/3) เริ่มต้น กำหนดค่าตัวแปร A มีค่าเป็น 5
START STOP A = 5 B = 3 C = A + B print C เริ่มต้น กำหนดค่าตัวแปร A มีค่าเป็น 5 กำหนดค่าตัวแปร B มีค่าเป็น 3 เอาค่า A บวกกับ B แล้วเก็บไว้ใน C พิมพ์ค่า C จบการทำงาน

34 รูปแบบตามลำดับ(3/3) เริ่มต้น
START STOP C = A + B print C A , B เริ่มต้น รับข้อมูลมาเก็บไว้ในตัวแปร A, B ทางแป้นพิมพ์ เอาค่า A บวกกับ B แล้วเก็บไว้ใน C พิมพ์ค่า C จบการทำงาน

35 ตัวอย่างการเขียนผังงานแบบตามลำดับ
จงเขียนโปรแกรมคำนวณค่าไฟฟ้า โดยรับค่ามิเตอร์จำนวนการใช้ไฟฟ้าของเดือนที่แล้ว และค่ามิเตอร์การใช้ไฟฟ้าของเดือนปัจจุบัน คำนวณค่าไฟฟ้า โดยคิดอัตรา 2.5 บาท /1 หน่วยมิเตอร์ สิ่งที่โจทย์ต้องการ ค่าไฟฟ้า รูปแบบผลลัพธ์ ป้อนเลขมิเตอร์เดือนที่แล้ว --> <รอรับเลขมิเตอร์เดือนที่แล้ว> ป้อนเลขมิเตอร์เดือนปัจจุบัน--> <รอรับเลขมิเตอร์เดือนปัจจุบัน> จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ : <แสดงจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้> ค่าไฟฟ้า : <แสดงค่าไฟฟ้า>

36 ตัวอย่างการเขียนผังงานแบบตามลำดับ
ข้อมูลนำเข้า เลขมิเตอร์เดือนที่แล้ว เลขมิเตอร์เดือนปัจจุบัน ตัวแปรที่ใช้ในการประมวลผล Last_meter แทน เลขมิเตอร์เดือนที่แล้ว Curr_meter แทน เลขมิเตอร์เดือนปัจจุบัน Num_meter แทน จำนวนหน่วยมิเตอร์ที่ใช้ Electric_fee แทน ค่าไฟฟ้า

37 ตัวอย่างการเขียนผังงานแบบตามลำดับ
ขั้นตอนวิธีการประมวลผล เริ่มต้น รับค่าใส่ตัวแปร last_meter และ curr_meter จากผู้ใช้ทางแป้นพิมพ์ คำนวณ num_meter = curr_meter – last_meter คำนวณ electric_fee = num_meter * 2.5 แสดงค่า num_meter , electric_fee จบการทำงาน

38 Flow chart START STOP Last_meter , Curr_meter
Num_meter = Curr_meter – Last_meter Electric_fee = Num_meter * 2.5 Num_meter , Electric_fee STOP

39 แบบการเลือก เป็นการเขียนโปรแกรมแบบมีการเปรียบเทียบเงื่อนไข และทำงานตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขที่กำหนด ผลจากการเปรียบเทียบเงื่อนไข จะให้ผลลัพธ์เป็นจริงหรือเท็จ ถ้าผลเป็นจริง ให้ทำงานตามคำสั่งด้านที่เงื่อนไขเป็นจริง ถ้าเป็นเท็จให้ทำตามคำสั่งด้านที่เงื่อนไขเป็นเท็จ แบบทางเลือกเดียว (IF - THEN) แบบสองทางเลือก (IF – THEN - ELSE) แบบหลายทางเลือก (IF – THEN – ELSE IF | CASE)

40 แบบทางเลือกเดียว(1/5) จริง เงื่อนไข จริง เงื่อนไข เท็จ ประโยคงาน 1
งานลำดับถัดไป จริง เท็จ ประโยคงาน 2 เงื่อนไข ประโยคงาน งานลำดับถัดไป จริง เท็จ

41 แบบทางเลือกเดียว(2/5) เริ่มต้น รับค่าใส่ตัวแปร age
START เริ่มต้น read age รับค่าใส่ตัวแปร age เปรียบเทียบค่า age มากกว่า 60 age > 60 false true ถ้าเป็นจริง พิมพ์ข้อความ You are old ถ้าเป็นเท็จ ไม่ต้องทำอะไร “You are old” จบการทำงาน STOP

42 แบบทางเลือกเดียว(3/5) เริ่ม รับค่า ans ans = “GoodLuck” พิมพ์ Welcome Manager พิมพ์ Exit Password System จบ จริง เท็จ รับค่า รหัสผ่านจากผู้ใช้ ถ้ารหัสผ่านที่ป้อนมีค่า GoodLuck ให้แสดงข้อว่า Welcome Manager และข้อความ Exit Password System

43 แบบทางเลือกเดียว(4/5) บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 5000 อีกคนละ 10% และให้พนักงานทุกคนได้รับโบนัสคนละ 3 เท่าของเงินเดือน ขั้นตอนการประมวลผล รับค่าชื่อพนักงาน . เงินเดือน เปรียบเทียบค่า เงินเดือน - ถ้าน้อยกว่า 5000 ให้เงินเดือน = เงินเดือน + (เงินเดือน * 10/100) คำนวณโบนัส = เงินเดือน * 3 แสดงผลลัพธ์ จบการทำงาน

44 salary = salary + (salary*10/100)
แบบทางเลือกเดียว(5/5) A START read name ,salary bonus = salary * 3 salary < 5000 false Name , salary , bonus true salary = salary + (salary*10/100) STOP A แต่ไม่ต้องเขียนเส้นเชื่อมนี้

45 ข้อควรจำ ในการเปรียบเทียบเงื่อนไขแบบ IF – THEN นิยมให้ทำงานตามคำสั่งเมื่อเงื่อนไขมีค่าเป็นจริง ไม่นิยมให้ทำงามตามคำสั่งเป็นเท็จ เงื่อนไข ประโยคงาน 1 งานลำดับถัดไป จริง เท็จ ประโยคงาน 2 เท็จ เงื่อนไข ประโยคงาน 1 จริง ประโยคงาน 2 งานลำดับถัดไป

46 IF เงื่อนไข THEN BEGIN ประโยคงาน 1 ; ประโยคงาน 2 ; END; เท็จ จริง
งานลำดับถัดไป จริง เท็จ ประโยคงาน 2 IF เงื่อนไข THEN BEGIN ประโยคงาน 1 ; ประโยคงาน 2 ; END;

47 IF เงื่อนไข THEN ELSE BEGIN ประโยคงาน 1 ; ประโยคงาน 2 ; END; จริง เท็จ
งานลำดับถัดไป เท็จ จริง ประโยคงาน 2 IF เงื่อนไข THEN ELSE BEGIN ประโยคงาน 1 ; ประโยคงาน 2 ; END;

48 แบบสองทางเลือก(1/6) การทำงานขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ถ้าเป็นจริงไปทำงานด้านหนึ่ง ถ้าเป็นเท็จก็จะไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง เงื่อนไข ประโยคงาน2 งานลำดับถัดไป จริง เท็จ ประโยคงาน1

49 แบบสองทางเลือก(2/6) ถ้า sex =1 เงื่อนไขเป็นจริง จะเพิ่มค่าตัวแปร Male ขึ้นอีก 1 ถ้า sex =1 เงื่อนไขเป็นเท็จ จะเพิ่มค่าตัวแปร Female ขึ้นอีก 1 False Sex = 1 True Female = Female + 1 Male = Male +1

50 แบบสองทางเลือก(3/6) เริ่มต้น รับค่าใส่ตัวแปร age
START STOP read age age > 60 “You are old” true false “You are young” รับค่าใส่ตัวแปร age เปรีบเทียบค่า age มากกว่า 60 ถ้าเป็นจริง พิมพ์ข้อความ You are old ถ้าเป็นเท็จ พิมพ์ข้อความ You are young จบการทำงาน

51 แบบสองทางเลือก(4/6) เริ่มการทำงาน แสดงข้อความ Do you like Pascal
รับค่า ans รับค่าใส่ตัวแปร ans เท็จ จริง ans = ‘y’ OR ans=‘Y’ เปรียบเทียบค่า ans เท่ากับ y หรือ Y - ถ้าเป็นจริง พิมพ์ Thank you ถ้าเป็นเท็จ พิมพ์ I’m sorry to hear that พิมพ์ I’m sorry to hear that พิมพ์ Thank You พิมพ์ Good Bye พิมพ์คำว่า Goodbye จบการทำงาน จบ

52 แบบสองทางเลือก(5/6) บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 5000 อีกคนละ 10% และพนักงานที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 5000 เพิ่ม 5% ให้พนักงานทุกคนได้รับโบนัสคนละ 3 เท่าของเงินเดือน ขั้นตอนการประมวลผล รับค่าชื่อพนักงาน . เงินเดือน เปรียบเทียบค่า เงินเดือน < 5000 ถ้าเป็นจริง ให้อัตราเพิ่มเงินเดือน = 10/100 ถ้าเป็นเท็จให้อัตราเพิ่มเงินเดือน = 5/100 คำนวณเงินเดือน = เงินเดือน + (เงินเดือน * อัตราเพิ่มเงินเดือน) โบนัส = เงินเดือน * 3 แสดงผลลัพธ์ จบการทำงาน

53 salary = salary+(salary * rate)
แบบทางเลือกเดียว(6/6) A START salary = salary+(salary * rate) read name ,salary bonus = salary * 3 false salary < 5000 true rate = 5 / 100 rate = 10 / 100 Name , salary , bonus STOP A แต่ไม่ต้องเขียนเส้นเชื่อมนี้

54 การเลือกหลายทาง(แบบ IF)
เป็นรูปแบบการเลือกการทำงานที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทางขึ้นไป เงื่อนไข 1 คำสั่งที่ 1 True False เงื่อนไข 2 คำสั่งที่ 2 เงื่อนไข 3 คำสั่งที่ 3 คำสั่งที่ 4

55 การเลือกหลายทาง(แบบ IF)
Score = mid + final false Score >=80 true false Score >=70 true Grade = ‘A’ false Score >=60 true Grade = ‘B’ false Score >=50 true Grade = ‘C’ Grade = ‘F’ Grade = ‘D’

56 การเลือกหลายทาง(แบบ CASE)
เป็นรูปแบบการเลือกการทำงานที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทางขึ้นไป เงื่อนไข กรณี 1 กรณี 2 กรณี 3 กรณี 4 คำสั่งที่ 1 คำสั่งที่ 2 คำสั่งที่ 3 คำสั่งที่ 4

57 การเลือกหลายทาง(แบบ CASE)
Score = mid + final score 70..79 60..69 50..59 0..49 Grade = ‘A’ Grade = ‘B’ Grade = ‘C’ Grade = ‘D’ Grade = ‘F’

58 แบบวนซ้ำ แบบกำหนดรอบไว้ล่วงหน้า(Controlled Loop)
แบบตรวจสอบเงื่อนไขก่อน(Pre-Test Condition) แบบตรวจสอบเงื่อนไขทีหลัง(Post-Test Condition)

59 แบบกำหนดรอบการทำงานเอาไว้ล่วงหน้า
มีการกำหนดรอบการทำงานซ้ำไว้ล่วงหน้า เมื่อครบตามจำนวนรอบจึงหยุดทำงานซ้ำแล้วทำคำสั่งต่อไป กำหนดรอบการทำงาน คำสั่งทำซ้ำ 1 คำสั่งทำซ้ำ 2 Next

60 แบบกำหนดรอบการทำงานเอาไว้ล่วงหน้า
ค่า N จะเริ่มต้นที่ 1 และเพิ่มค่าทีละ 1 จนกระทั่ง มากกว่า 5 จึงหยุดการทำงานซ้ำ และทำคำสั่งถัดจาก Next ในแต่ละรอบของงานที่ให้ทำซ้ำคือ พิมพ์ค่าในตัวแปร N ทีละรอบ For N =1 , 5 Next Print N

61 แบบตรวจสอบเงื่อนไขก่อนถ้าเป็นจริงแล้วค่อยทำซ้ำ
แบบตรวจสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขยังเป็นจริงให้ทำงานซ้ำ จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จจึงหยุดทำงานซ้ำ แล้วไปทำงานคำสั่งอื่นถัดไป เงื่อนไข False True คำสั่งงานซ้ำ 1 คำสั่งงานซ้ำ 2

62 แบบตรวจสอบเงื่อนไขก่อนถ้าเป็นจริงแล้วค่อยทำซ้ำ
ตรวจสอบเงื่อนไขถ้า N <= 5 ให้พิมพ์ ค่า N เพิ่มค่า N อีก 1 (N=N+1) กลับไปตรวจสอบเงื่อนไขอีก จนกว่าเงื่อนจะเป็นเท็จ จึงหยุดทำงานซ้ำ แล้วไปทำงานคำสั่งอื่น N = 1 N <=5 False True Print N N = N+1

63 แบบทำซ้ำก่อนแล้วค่อยตรวจเงื่อนไข
แบบให้ทำงานในคำสั่งทำซ้ำก่อน แล้วค่อยตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขยังเป็นเท็จให้กลับไปทำงานในคำสั่งทำซ้ำอีก จนกระทั่งตรวจสอบแล้วเงื่อนเป็นจริง จึงหยุด แล้วไปทำงานคำสั่งอื่น คำสั่งงานซ้ำ 1 คำสั่งงานซ้ำ 2 False เงื่อนไข True

64 แบบทำซ้ำก่อนแล้วค่อยตรวจเงื่อนไข
ให้พิมพ์ค่าในตัวแปร N เพิ่มค่าให้ตัวแปร N อีก 1 ตรวจสอบเงื่อนไข ถ้า N > 5 เป็นจริงให้หยุดทำงานซ้ำ ถ้าเป็นเท็จให้กลับไปทำงานคำสั่งซ้ำอีกรอบ N = 1 Print N N = N+1 False N > 5 True


ดาวน์โหลด ppt การเขียนผังงานเบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google