งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ติวสอบออนไลน์ หลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ติวสอบออนไลน์ หลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ติวสอบออนไลน์ หลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เตรียมสอบบรรจุ by ยอด

2 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิด ในการจัดการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย

3 ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
1.ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) เชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา สามารถพัฒนาได้โดยการฝึก โดยให้เรียนรู้สิ่งยาก ๆ 1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า 1.2 กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์

4 ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว การกระทำใด ๆของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง 2.มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม 3.สมองของมนุษย์แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ 4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด 5.การฝึกสมองให้รู้จักคิดต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น คณิตศาสตร์ ปรัชญา

5 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวดเป็นสิ่งสำคัญ ในการฝึกให้เป็นคนฉลาดและเป็นคนดี 2.การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง 3.การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี 4.การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี

6 ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
1.2 กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด 2.มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน 3.มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเองมีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตนหากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา 4.มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา

7 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา 2.การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับแต่ควรใช้เหตุผล 3.การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส ( Socratic Method) คือการใช้คำถาม เพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด เป็นวิธีสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 4.การใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) คือการสอนที่ใช้คำถามฟื้นความจำของผู้เรียนแล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

8 ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
2.ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆเกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง 2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตาม ธรรมชาติ

9 2.ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ เด็กมีสภาวะของเด็ก การจัดการศึกษาให้เด็กควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก 4. รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือคำพูดบรรยาย 5.เพสตาลอสซี เชื่อว่าคนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะคือ คนสัตว์ซึ่งมีลักษณะเปิดเผยเป็นทาสของกิเลส คนสังคมมีลักษณะคล้อยตามสังคมและคนธรรมมีลักษณะรู้จักรับผิดชอบชั่วดี

10 2.ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
6. เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี 7.ฟลอเบล เชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 8. ฟลอเบล เชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

11 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ 2.การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เองให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ 3.ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่ 1.ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ 2.ให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง 3.ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง 4.ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน 4.การจัดประสบการณ์ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล/ความพร้อม

12 3.ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเองการเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม 2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ 3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5และการรู้สึก คือการตีความและแปลความหมายจากการสัมผัส

13 ทฤษฎีการเรียนรู้ 4.ทิชเชเนอร์ มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิต อีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ คือการคิดวิเคราะห์ 5.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส ขั้นการจำความคิดเดิมและขั้นการเกิดความคิดรวบยอด และความเข้าใจ 6. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ควรช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการและนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ

14 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 2.การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิม กับความรู้ใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี 3.การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว

15 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต 1.ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม 2.ขั้นเสนอ ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่ 3.ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ได้แก่การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม 4.ขั้นสรุป ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่าง ๆ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่น ๆ ต่อไป 5.ขั้นประยุกต์ใช้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม

16 ทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) 3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) 4.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)

17 1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเรียนรู้ กฎการเรียนรู้ของของธอร์นไดค์ 1.กฎแห่งความพร้อม ต้องพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ 2.กฎแห่งการฝึกหัด การกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้คงทนถาวร 3.กฎแห่งการใช้ ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้ 4.กฎแห่งผลที่พึงพอใจ ถ้าได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป

18 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิธีการแก้ปัญหา เกิดความภูมิใจในการกระทำสิ่งต่าง ๆ 2.การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน 3.หากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างแท้จริงแล้วให้กระทำบ่อย ๆ แต่อย่าให้ซ้ำซากมากเกินไป 4.เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วควรฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อย ๆ 5.การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ

19 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนอง ต่อความต้องการทางธรรมชาติ 2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ 3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้า ตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการ ตอบสนองตามธรรมชาติ

20 ทฤษฎีการเรียนรู้ 4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ 5.มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันและจะตอบสนอง เหมือน ๆ กัน 6.บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง 7.กฎแห่งการลดภาวะ พาฟลอฟกล่าวว่า ความเข้มของการตอบสนอง จะลดลงเรื่อย ๆ หากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว

21 ทฤษฎีการเรียนรู้ 7.กฎแห่งการลดภาวะ พาฟลอฟกล่าวว่า ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อย ๆ หากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น 8.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ กล่าวคือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ 9.กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้ว

22 ทฤษฎีการเรียนรู้ 9.กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อเกิดการการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้ว หากมีสิ่งเร้าคล้าย ๆ กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมากระตุ้น อาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกันได้ 10.กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง กล่าวคือหากมีการใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายแบบ แต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสามารถแยกความแตกต่างและเลือกตอบสนองเฉพาะสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเท่านั้นได้

23 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การนำความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้า สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 2.การจะสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องใด อาจจะใช้วิธีเสนอสิ่งที่ จะสอนไปพร้อม ๆ กับสิ่งเร้าที่ผู้เรียนชอบตามธรรมชาติ 3.การนำเรื่องที่เคยสอนไปแล้วมาสอนใหม่ สามารถช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการได้ 4.การจัดกิจกรรมการเรียนให้ต่อเนื่องและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเพราะมีการถ่ายโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่

24 หลักการจัดการเรียนรู้
5.การเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้และตอบสนองได้ชัดเจนขึ้น 6.หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบ แต่ต้องมีสิ่งเร้าที่มีการตอบสนองโดยไม่มีเงื่อนไขควบคู่อยู่ด้วย

25 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 2.เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้น ให้หายไปได้

26 หลักการจัดการเรียนรู้
1.ในการสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าควบคู่ไปกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 2.การลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา สามารถทำได้โดยหาสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาช่วย

27 ทฤษีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.กฎแห่งความต่อเนื่อง เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นและเมื่อกลุ่ม สิ่งเร้าเดิมกลับมาปรากฏอีก อาการเคลื่อนไหวอย่างเก่าก็จะเกิดขึ้นอีก พฤติกรรมที่กระทำซ้ำนั้นไม่ใช่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง แต่เกิดจากการที่กลุ่มสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบเก่านั้นกลับมาอีก

28 ทฤษฎีการเรียนรู้ 2.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว เมื่อมีสภาวะสิ่งเร้ามากระตุ้น อินทรีย์จะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว แม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 3.กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว เมื่อมีสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีกบุคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำ ในครั้งสุดท้ายที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ตาม 4.หลักการจูงใจ การเรียนรู้เกิดจากการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง

29 หลักการจัดการเรียนรู้
1.ขณะสอนครูควรสังเกตการกระทำหรือการเคลื่อนไหวของนักเรียน ว่ากำลังเกี่ยวพันกับสิ่งเร้าใด ถ้าครูให้สิ่งเร้าที่เกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวนั้นน้อยกว่าก็ไม่สามารถเปลี่ยนการกระทำของเด็กได้ 2.ในการสอนควรวิเคราะห์งานออกเป็นส่วนย่อย ๆ และสอนหน่วยย่อยเหล่านั้นให้เด็กสามารถตอบสนองอย่างถูกต้องจริง ๆหรือได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้องในทุก ๆ หน่วย 3.ในการจบบทเรียน ไม่ควรปล่อยให้นักเรียนจบการเรียนโดยได้รับคำตอบผิด ๆ หรือแสดงอาการตอบสนองผิด ๆ เพราะเขาจะเก็บการกระทำ ครั้งสุดท้ายไว้ในความทรงจำ ใช้เป็นแบบแผนในการทำจนเป็นนิสัย 4.ควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

30 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ ของสกินเนอร์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ ของสกินเนอร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มความถี่ของการกระทำนั้น จะลดลงและหายไปในที่สุด 2.การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรง ที่ตายตัว 3.การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว 4.การเสริมแรงหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ ช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้

31 หลักการจัดการเรียนรู้
1.ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็ก จะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมนั้น 2.การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบหรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรง จะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร 3.การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนได้เลย ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อนักเรียนมีพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ 4.หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน ควรทำเป็นลำดับขั้น

32 ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง ถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้ จะลดลง 2.กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีการตอบสนองต่าง ๆ กัน ในระยะแรกการแสดงออกมีลักษณะง่าย ๆ ต่อมาเมื่อเรียนรู้มากขึ้นก็สามารถเลือกแสดงการตอบสนองในระดับที่สูงขึ้น หรือถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม 3.กฎแห่งการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย การเสริมแรงที่ให้ในเวลาใกล้เป้าหมาย จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

33 หลักการจัดการเรียนรู้
1.ในการจัดการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลา ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด 2.ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนรู้ ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน 3.การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

34 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
ทฤษฎีเกสตัลท์ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์ 2.บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

35 ทฤษฎีการเรียนรู้ 3.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ 1.การรับรู้ เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยง เข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด สมองจะใช้ประสบการณ์ เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกไป ตามที่สมองตีความหมาย 2.การหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางปัญหา อย่างแบพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น

36 ทฤษฎีการเรียนรู้ 4.กฎการจัดระเบียบการรับรู้ 1.กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย ประสบการณ์เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน 2.กฎแห่งความคล้ายคลึง สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน 3.กฎแห่งความใกล้เคียง สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน

37 ทฤษฎีการเรียนรู้ 4.กฎแห่งความสมบูรณ์ แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิม ในสิ่งเร้านั้น 5. กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกันหรือมีทิศทางไปใน แนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกันหรือเรื่องเดียวกันหรือเป็นเหตุ เป็นผลกัน 6.บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง 7.การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือนไปจากความจริงได้ 5.การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นมีปัจจัยคือประสบการณ์ที่สั่งสมไว้มาก

38 หลักการจัดการเรียนรู้
1.กระบวนการคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริม กระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ 2.การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอ ส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 3.การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น 4.การจัดประสบการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีและง่ายขึ้น

39 หลักการจัดการเรียนรู้
5.การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีคือการจัดกลุ่ม สิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน 6.ในการสอน ครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ครูสามารถเสนอเนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้หากผู้เรียนสามารถใช้ ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์ 7.การเสนอบทเรียนหรือเนื้อหาควรจัดให้มีการต่อเนื่องกัน จะช่วยให้เรียนดี 8.การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น

40 ทฤษฎีสนาม ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความ ต้องการของตนจะมีพลังเป็นบวก สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจ จะมีพลัง เป็นลบ คนทุกคนจะมีโลกของตน 2.การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ

41 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยการทำความเข้าใจโลก ของผู้เรียนว่ามีจุดมุ่งหมายและความต้องการอะไรอะไรเป็นพลังบวก และลบของเขา พยามยมจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ผู้เรียน ไปสู่จุดหมาย 2.การจัดการเรียนรู้ให้เข้าไปอยู่ในโลกของผู้เรียน โดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ 3.การสร้างแรงจูงใจและ/หรือแรงขับที่จะนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายที่ต้องการเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

42 ทฤษฎีเครื่องหมาย ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล หากรางวัลที่คาดว่า จะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายาม แสวงหารางวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป 2.ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ผู้เรียน จะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ และสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย

43 ทฤษฎีการเรียนรู้ 3.ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำ ๆ ในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของตน 4.การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออก ในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม หรือจำเป็นจึงจะแสดงออกมา

44 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การสร้างแรงขับและ/หรือแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะกระตุ้นให้ ผู้เรียนพยายามไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ 2.ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใด ๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย 3.การปรับเปลี่ยนสถานการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของตนได้ 4.การเรียนรู้บางอย่างอาจยังไม่สามารถแสดงออกได้ในทันที การใช้วิธีการ ทดสอบหลาย ๆ วิธี ทดสอบบ่อย ๆ หรือติดตามผลระยะยาว จึงจำเป็น ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

45 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียร์เจต์ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้ 1.ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส อายุ 0-2 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นกับการ รับรู้และการกระทำ เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางและยังไม่สามารถเข้าใจ ความคิดเห็นของผู้อื่น

46 ทฤษฎีการเรียนรู้ 2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด อายุ 2-7 ปี ความคิดขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วน ใหญ่ยังไม่สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่สามารถเรียนรู้ และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษาแบ่งเป็น ขั้นย่อย ๆ 2 ขั้น คือ ขั้นก่อน เกิดความคิดรวบยอดอายุ 2-4 ปี และขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของ ตนเอง อายุ 4-7 ปี 3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม อายุ 7-11 ปี เป็นขั้นที่การคิดของเด็กไม่ขึ้นกับ การรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กสามารถสร้างภาพในใจและสามารถคิด ย้อนกลับได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น

47 ทฤษฎีการเรียนรู้ นามธรรมได้และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการ
4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม อายุ ปี เด็กสามารถคิดสิ่งที่เป็น นามธรรมได้และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ได้ 2.ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ 3.กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้ 1.assimilation 2.accommodation 3.equilibration

48 หลักการจัดการเรียนรู้
1.ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กและจัด ประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่ยังไม่พร้อมหรือยากเกินพัฒนาการตามวัยของตน จะก่อให้เกิดเจตคติที่ไม่ดีได้ -ควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัย -เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน จึงไม่ควรเปรียบเทียบ -ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น

49 หลักการจัดการเรียนรู้
2.การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ทราบลักษณะ เฉพาะตัวของเด็ก 3.เด็กเล็ก ๆ จะรับรู้ส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อยจึงควรสอนภาพรวมก่อนแล้ว จึงแยกสอนทีละส่วน 4.ควรเริ่มสอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์มาก่อนแล้วจึงเสนอ เรื่องใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเก่า 5.การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มาก ๆ ช่วยให้เด็กดูดซึมข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็ก

50 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 2.การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อม ของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาจะช่วยให้การเรียนรู้ เกิดประสิทธิภาพ 3.การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่ช่วยพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ได้

51 ทฤษฎีการเรียนรู้ 4.แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ ในการเรียนรู้ 5.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ แบ่งเป็น 3 ขั้น คือ 1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ 2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด 3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม 6.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่สามารถสร้างความคิดรวบยอด 7.การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง

52 หลักการจัดการเรียนรู้
1.กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดี มีความหมายสำหรับผู้เรียน 2.การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนสอน 3.การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้ สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการ 4.ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

53 หลักการจัดการเรียนรู้
5.การสร้างแรงจูงใจภายในเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 6.การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญา ของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 7.การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น 8.การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

54 ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ เดวิด ออซูเบล
ทฤษฎีการเรียนรู้ ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้น สามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนรู้ การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ก่อนสอนเนื้อหาสาระ นั้น ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

55 3.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น -ขั้นความต้องการทางร่างกาย -ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย -ขั้นความต้องการความรัก -ขั้นความต้องการการยอมรับและการยกย่องจากสังคม -ขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่

56 ทฤษฎีการเรียนรู้ 2.มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง ประสบการณ์ ที่เรียกว่า peak experience เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ใน ภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง เป็นช่วงเวลาที่ บุคคลเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ เป็นสภาพที่สมบูรณ์ มีลักษณะ ผสมผสานกลมกลืน ถ้ามีประสบการณ์เช่นนี้บ่อย ๆ จะสามารถพัฒนาตน ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

57 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมของบุคคลได้ เนื่องจากพฤติกรรมเป็นการแสดงออก ของความต้องการของบุคคล 2.การที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี จำเป็นต้องตอบสนองความ ต้องการพื้นฐานที่เขาต้องการเสียก่อน 3.ในกระบวนการเรียนการสอน ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐาน ของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจได้ 4.การช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่าง เพียงพอ การให้อิสรภาพและเสรีภาพ จัดบรรยากาศ จะช่วยส่งเสริม การรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

58 ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส
ทฤษฎีการเรียนรู้ มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลาย และเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้และเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะและทำหน้าที่อำนวย ความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน การเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ เป็นสำคัญ

59 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ไม่น่าหวาดกลัว น่าไว้วางใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 2.ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว ครูจึง ควรสอนแบบชี้แนะ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ของตนและคอย ช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล 3.ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการดำรงชีวิตและแสวงหาความรู้ต่อไป

60 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มากเพราะความรู้สึก และเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการจัดการเรียนรู้ การคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียนการสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

61 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ 1.ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2.การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายในอยู่ในความควบคุม ของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยม ต่าง ๆ เข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน 3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ/ด้วยวิธีที่ชอบ 4.ควรส่งเสริมความเป็นเอกัตบุคคล 5.มนุษย์มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจและเลือกทำสิ่งที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น

62 หลักการจัดการเรียนรู้
1.การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน รับผิดชอบร่วมกันในกระบวนการ เรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 2.ในกระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนนำ ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมต่าง ๆ ของตน เข้ามาใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่ 3.ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง 4.ครูควรเข้าใจและส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล 5.ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจด้วยตนเอง ลงมือกระทำ และยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำนั้น

63 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เปาโล แฟร์ กล่าวว่า ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอน แบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่ง ต่าง ๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนรู้ ระบบการจัดการศึกษา ควรเป็นระบบที่ให้อิสรภาพและเสรีภาพในการ เรียนรู้แก่ผู้เรียน

64 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช
อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน ไว้ว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษา ควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาส ในการศึกษาเล่าเรียน หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการศึกษาไม่จำเป็นต้องจัดทำในลักษณะของระบบโรงเรียน ควรจัดเป็นลักษณะที่เป็นการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ

65 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียน นีล กล่าวว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ไปด้วยความรัก มีอิสรภาพ และเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนรู้ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน เรียนเมื่อพร้อม ที่จะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ

66 4.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.กานเย ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้ 1.การเรียนรู้สัญญาณ เป็นการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดย อัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรม ไม่ให้เกิดขึ้นได้ เกิดจากที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้ว มาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม

67 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย
2.การเรียนรู้สิ่งเร้า- การตอบสนอง เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการ เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ผู้เรียนสามารถควบคุม พฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมเนื่องจากได้รับการเสริมแรง และสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง 3.การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำ การเคลื่อนไหว 4.การเชื่อมโยงทางภาษา เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้ การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา

68 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย
5.การเรียนรู้ความแตกต่าง เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความ แตกต่างของสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ 6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่ม สิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน โดยสามารถระบุลักษณะ ที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่น ที่นอกเหนือจากที่เคยเห็นมาก่อนได้ 7.การเรียนรู้กฎ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิด รวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎขึ้นและนำไปใช้ในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้

69 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย
8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยนำกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน สามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน 2.กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1.สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง 2.ทักษะเชาว์ปัญญา 3.ยุทธศาสตร์ในการคิด 4.ทักษะการเคลื่อนไหว เจตคติ

70 หลักการจัดการเรียนรู้
1.กานเยได้เสนอรูปแบบการสอนอย่างเป็นระบบโดยพยายามเชื่อมโยงการ จัดสภาพการเรียนการสอนอันเป็นสภาวะภายนอกตัวผู้เรียนให้สอดคล้อง กับกระบวนการเรียนรู้ภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมอง ของคนเรา เขาอธิบายว่าการทำงานของสมองคล้ายกับการทำงานของ คอมพิวเตอร์ 2.ในระบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ กานเยได้เสนอระบบการสอน 9 ขั้น ดังนี้ 1.สร้างความสนใจ 2.แจ้งจุดประสงค์

71 หลักการจัดการเรียนรู้
3.กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น 4.เสนอบทเรียนใหม่ 5.ให้แนวทางการเรียนรู้ 6.ให้ลงมือปฏิบัติ 7.ให้ข้อมูลป้อนกลับ 8.ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ 9.ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้

72 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย
1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล 2.ทฤษฎีพหุปัญญา 3.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน 5.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

73 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.ขั้นตอนการทำงานของสมอง 1.การรับข้อมูล 2.การเข้ารหัส 3.การส่งข้อมูลออก 2.มนุษย์รับข้อมูลทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 บันทึกเป็นความจำระยะสั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จักและการใส่ใจ ของบุคคล ที่รับสิ่งเร้า

74 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมอง ในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีการเรียนรู้ 3.การเก็บข้อมูลไว้ใช้ภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเข้ารหัส เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเองโดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับสิ่งเก่าที่เรียนรู้ มาก่อนซึ่งเรียกว่ากระบวนการขยายความคิด เป็นต้น 4.ความจำระยะยาวมี 2 ชนิด คือความจำที่เกี่ยวกับภาษาและความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหวและความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก

75 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมอง ในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีการเรียนรู้ 5.การบริหารควบคุมการประมวลข้อมูลของสมองก็คืกการที่บุคคลรู้ถึง การคิดของตนและสามารถควบคุมการคิดของตนให้เป็นไปในทางที่ต้องการ เรียกว่า metacognition หรือ การรู้คิด ซึ่งหมายถึง การตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตนเองสามารถจัดการควบคุมกระบวนการคิด การทำงานของตนด้วยกลวิธีต่าง ๆ อันจะช่วยให้การเรียนรู้และงานประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ 6.องค์ประกอบของการรู้คิดที่ใช้ในการบริหารควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจและความมุ่งหวังต่าง ๆรวมทั้งเทคนิคและกลวิธีต่าง ๆที่บุคคลใช้ในการบริหารควบคุมตนเอง

76 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมอง ในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีการเรียนรู้ 7.ความรู้ในเชิงการรู้คิด ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล งาน และกลวิธี 8.แพริสและคณะ จำแนกความรู้ในเชิงการรู้คิดออกเป็น 3 ประเภท คือ ความรู้ในเชิงปัจจัย ความรู้เชิงกระบวนการและความรู้เชิงเงื่อนไข

77 1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมอง ในการประมวลข้อมูล
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี 1.ควรนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักมาก่อนแล้วเชื่อมโยงไปถึงสิ่งใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น 2.ควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน 3.ถ้าต้องการให้ผู้เรียนจำได้จำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ 4.การเข้ารหัสจะทำให้ผู้เรียนจดจำได้ เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว 5.ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน effector ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ 6.การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการคิดของตน ก็จะสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่าง ๆเพื่อผลสำเร็จในการเรียน

78 2.ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.การ์ดเนอร์ ได้กล่าวถึงเชาร์ปัญญา 8 ด้าน 1. เชาว์ปัญญาด้านภาษา 2.เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 3.เชาว์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4.เชาว์ปัญญาด้านดนตรี 5.เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ 6.เชาว์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น 7.เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง 8.เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ

79 2.ทฤษฎีพหุปัญญา การประยุกต์ใช้ทฤษฎี 1.ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถส่งเสริมเชาว์ปัญญา หลาย ๆ ด้าน 2.ผู้เรียนมีระดับพัฒนาการแต่ละด้านไม่เท่ากัน ต้องจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน 3.การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนค้นหาตนเอง ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง 4.ควรมีการประเมินผลหลาย ๆ ด้าน ให้ผู้เรียนได้ใช้สติปัญญาหลาย ๆด้านในการแก้ปัญหา

80 3.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.วีก็อทสกี้และเพียร์เจต์เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ให้ความสำคัญกับกระบวนการรู้คิดหรือกระบวนการทางปัญญา 2.การจัดการเรียนรู้จะต้องนำหน้าระดับพัฒนาการของผู้เรียนให้ไปถึงศักยภาพของผู้เรียนที่จะพัฒนาไปถึง 3.สมองเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่สามารถใช้ในการแปลความหมาย ของสิ่งต่าง ๆ และเป็นเรื่องส่วนตัวและเฉพาะตัว 4.ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำข้อมูลไม่ใช่เพียงแต่รับข้อมูลเข้ามา 5.การสร้างความรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาและสังคม

81 3.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี 1.ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต้องเรียนด้วยการปฏิบัติจริง 2.การเรียนรู้ต้องถึงขั้นทำได้และแก้ปัญหาจริงได้ 3.ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ต้องสร้างความหมายของสิ่งนั้นด้วยตนเองโดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง 4.ครูต้องสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น 5.ผู้เรียนต้องนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้ 6.ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้และเป็นประชาธิปไตย 7.ประเมินผลตามจุดมุ่งหมายที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคลด้วยวิธีหลากหลาย ใช้เกณฑ์ในโลกของความเป็นจริง

82 4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.พัฒนามาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียร์เจต์ 2.ให้ผู้เรียนสร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดนั้นเป็นรูปธรรม 3.เมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองนั่นเองความรู้จะคงทน ไม่ลืมง่ายสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี เป็นฐานให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

83 4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
1.การประยุกต์ใช้ทฤษฎี1.ให้ผู้เรียนใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง 2.ควรจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ประการคือ เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันและเป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เรียนอย่างมีความสุข 3.คูเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 4.การประเมินผลการเรียนรู้ ต้องประเมินทั้งด้านผลงานและกระบวนการ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย

84 5.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1.จอห์นสันและรอเจอร์ จอห์นสัน กล่าวถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะการแข่งขัน ต่างคนต่างเรียนและช่วยกันเรียนรู้ 2.องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือมี 5 ประการ 1.การพึ่งพาเกื้อกูลกัน 2.การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด 3.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน 4.การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงาน 5.การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

85 5.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ 1.มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น 2.มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น 3.มีสุขภาพจิตดีขึ้น 4.ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ 1.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ 2. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ 3. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร 5.เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือมีหลายอย่าง ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม

86 5.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ 1.กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งด้านความรู้และทักษะกระบวนการ 2.กำหนดขนาดของกลุ่ม ควรมีขนาดเล็กประมาณ 3-6 คน 4 คนเหมาะที่สุด 3.กลุ่มควรคละกันด้านเพศ ความสามารถ ความถนัด 4.กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม 5.จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงานและปฏิสัมพันธ์กัน 6.จัดสาระ วัสดุ หรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ ให้ทุกคนมีส่วนช่วยกลุ่มและพึ่งพากันในการเรียนรู้

87 5.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ด้านการสอน 1.อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม 2.อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน 3.อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน 4.อธิบายวิธีช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม 5.อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย 6.ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง

88 5.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม 1.ดูแลสมาชิกกลุ่มให้มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด 2.สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม 3.ครูเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน 4.สรุปการเรียนรู้ ครูควรให้กลุ่มสรุปประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ 1.ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพด้วยวิธีการหลากหลายและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน 2.วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน วิเคราะห์พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มเพื่อปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง

89 Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้
UNDERSTANDING BY design ผู้เขียน Grant Wiggins and Jay McTighe จากแนวคิดของ Wiggins และ McTighe มาเป็น Backward design

90 Three basic steps 1.การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ (มาตรฐาน/ตัวชี้วัดชั้นปี) 2.การกำหนดหลักฐานที่ยอมรับได้ (ชิ้นงาน/ภาระงาน) 3.การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้/การเรียนการสอน (หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้)

91 1.การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
ความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืน (Enduring understanding) สิ่งที่จำเป็นต้องรู้และต้องทำ (Important to know and do) สิ่งที่มีคุณค่าและน่ารู้(Worth being familiar with)

92 1.การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
วิเคราะห์ให้ได้ว่าอะไรคือ ความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืน (Enduring understanding) สิ่งที่จำเป็นต้องรู้และต้องทำ (Important to know and do) สิ่งที่มีคุณค่าและน่ารู้ (Worth being familiar with)

93 1.การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
six facets of Understanding 1.Can explain อธิบาย 2. Can interpret ตีความ 3. Can apply ประยุกต์ใช้ 4.have perspective มีจินตทัศน์ (มุมมองที่หลากหลาย) 5. Can empathizeให้ความสำคัญใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น 6. have self knowledge รู้จักตนเอง

94 2.การกำหนดหลักฐานที่ยอมรับได้(หลักฐานเชิงประจักษ์)
คิดดูให้ดีว่า 1.ราจะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดสัมฤทธิผลตามต้องการและบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ 2.หลักฐานอะไรที่ยอมรับได้ว่าเป็นความเข้าใจ และทักษะของนักเรียน 3.เก็บหลักฐานอย่างต่อเนื่อง หลากหลาย

95 1.หลักฐานในการเรียนรู้
หลักฐานได้จาก 1.การพูด 2.การเขียน 3.การปฏิบัติและการแสดงออก 4.ชิ้นงาน/ผลงานที่แสดงถึงความสามารถ

96 2.วิธีการประเมิน 1.การทดสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ 2.ภาระงานที่แสดงออกถึงความสามารถ 3.ตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ 4.การปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ 5.การสังเกตพฤติกรรมและสนทนา

97 3.เกณฑ์การประเมิน สอดคล้องกับวิธีการประเมิน ถ้าประเมินตามสภาพจริง ต้องมี Rubric

98 3.การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้/การเรียนการสอน
สิ่งที่ต้องการ 1.จะทำให้มีความรู้ความสามารถอะไรบ้าง 2.ทักษะและกระบวนการอะไรที่จะช่วยให้นักเรียนสร้าง ผลงานตามภาระงานอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ ที่ต้องการ

99 3.การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้/การเรียนการสอน
3.กิจกรรมการเรียนรู้อะไรบ้างที่จะทำให้นักเรียนเกิด องค์ความรู้และทักษะต่าง ๆ 4.การสอนและการฝึกอะไรที่จะนำไปสู่เป้าหมายและ การปฏิบัติ

100 3.การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้/การเรียนการสอน
5.สื่อและแหล่งเรียนรู้อะไรที่จะทำให้บรรลุผลตามเป้าหมาย 6.ความเชื่อมโยง สอดคล้องและประสิทธิภาพของการออกแบบการจัดการเรียนรู้

101 ฝึกปฏิบัติสร้างหน่วยการเรียนรู้
1.ศึกษา วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี โครงสร้างของหลักสูตร แล้วแบ่งจำนวนหน่วยการเรียนรู้ 2.สร้างหน่วยการเรียนรู้ 3.เขียนแผนการจัดการเรียนรู้

102 Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้

103 รูปแบบของการสร้างหน่วยการเรียนรู้
1.นำหัวข้อเรื่อง 1 หัวข้อย่อยมาเขียนเป็นหน่วยการเรียนรู้ 2.นำหัวข้อเรื่อง/หัวข้อย่อยมาบูรณาการ โดยพิจารณาจากสาระ การเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ดังนี้ 1.บรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2.บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3.ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ 4.กำหนดเวลาของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตามความเหมาะสม/สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรแกนกลาง

104 ขั้นตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
1.กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2.กำหนดหลักฐานผลการเรียนรู้ 3.วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4.ประเมินหน่วยการเรียนรู้

105 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
1.ระบุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี (ความรู้ กระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะ) 2.กำหนดสาระสำคัญ 3.กำหนดชิ้นงาน/ภาระงานที่นักเรียนปฏิบัติ 4.กำหนดเกณฑ์การประเมิน 5.วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6.กำหนดชื่อหน่วย 7.กำหนดเวลาเรียน

106 องค์ประกอบสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
1.ชื่อหน่วยการเรียนรู้ 1- 6 คือเป้าหมายการเรียนรู้ 2.มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด (ความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม )7- 8 คือหลักฐานการเรียนรู้ 3.สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด 9 คือกิจกรรมการเรียนรู้ 4.สาระการเรียนรู้ 5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 7.ชิ้นงาน / ภาระงาน 8.การวัดและประเมินผล 9. กิจกรรมการเรียนรู้ 10.เวลาเรียน / จำนวนชั่วโมง

107 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ต้องสะท้อนให้เห็นถึงสาระสำคัญ หรือประเด็น สำคัญหลักในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ น่าสนใจ / ประเด็นปัญหา หรือข้อโต้แย้งสำคัญ สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมผู้เรียน เหมาะกับวัย ความสนใจ ความสามารถผู้เรียน

108 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ต้องมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันได้ ระบุความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดบางตัวอาจต้องนำมาฝึกซ้ำ เพื่อให้เกิดความชำนาญ

109 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
สาระสำคัญ ได้มาจากการวิเคราะห์แก่นความรู้ ด้านความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม ในแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้

110 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ (เนื้อหา) สาระการเรียนรู้แกนกลาง(จากหลักสูตรแกนกลาง) สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น(จากบริบทของท้องถิ่น)

111 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน วิเคราะห์ได้จากหลักสูตรแกนกลางฯ สอดคล้องกับความรู้ ทักษะ / กระบวนการ

112 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ วิเคราะห์ได้จากเนื้อหาหลักสูตรแกนกลางฯ (ความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม ) วิเคราะห์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

113 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
ชิ้นงาน / ภาระงาน ต้องสะท้อนถึงความสามารถของผู้เรียน สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด (ความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม ) อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการจัดการเรียนรู้ หรือเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้

114 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
การวัดและประเมินผล วิธีการวัดและประเมิน เกณฑ์การประเมิน ต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐาน /ตัวชี้วัด (ความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม )

115 ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการนำเทคนิค / วิธีการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำผู้เรียนไปสู่ การสร้างชิ้นงาน / ภาระงาน เกิดทักษะ (สมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน) กระบวนการตามธรรมชาติวิชาและคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดชั้นปี (ความรู้ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม )

116 วิธีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
แบบที่ แบบที่ 2 1.ระบุมาตรฐาน/ตัวชี้วัด กำหนดประเด็น/หัวเรื่อง (ชื่อหน่วย) 2.ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ (ชื่อหน่วย) 3.สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด มาตรฐาน/ตัวชี้วัด 4.สาระการเรียนรู้ สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด 5.ชิ้นงาน/ภาระงาน ชิ้นงาน/ภาระงาน 6.ประเมินผล ประเมินผล 7.กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ 8.กำหนดเวลาเรียน กำหนดเวลาเรียน

117 การประเมินหน่วยการเรียนรู้
1.ประเมินความสอดคล้องของมาตรฐานการเรียนรู้กับตัวชี้วัดชั้นปี 2.ประเมินความสอดคล้องของตัวชี้วัดชั้นปี กับสาระการเรียนรู้ /เวลา 3.ประเมินความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้ กับสาระสำคัญ ชิ้นงาน/ ภาระงาน 4.ประเมินความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้กับกิจกรรมการเรียนรู้ 5.ประเมินความสอดคล้องของกิจกรรมการเรียนรู้กับการวัดและประเมินผล 6.ประเมินความสอดคล้องของการวัดและประเมินผลกับชิ้นงาน/ภาระงาน 7.ประเมินความสอดคล้องในภาพรวมทั้งหน่วยการเรียนรู้

118 จากหน่วยสู่แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยที่ 1 ชื่อหน่วย เวลา ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เวลา ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เวลา ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เวลา ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง เวลา ชั่วโมง หน่วยที่ 2 ชื่อหน่วย เวลา ชั่วโมง

119 การจัดทำรายงานการสร้างหน่วยการเรียนรู้
องค์ประกอบของรายงาน 1.คำนำ 2.สารบัญ 3.ความสำคัญ/ความเป็นมา/รายละเอียดของกลุ่มสาระและสาระที่ทำหน่วย 4.วิธีการ/กระบวนการสร้างหน่วยการเรียนรู้ 5.รายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้ที่ทำเสร็จแล้ว (มีองค์ประกอบครบถ้วน) 6.การแบ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วย 7.สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการสร้างหน่วยการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ 8.บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง 9.รายชื่อผู้จัดทำ/สาขาวิชา

120 ทักษะพื้นฐานในการสอน
1.ทักษะการวิเคราะห์บริบทและผู้เรียน 2.ทักษะการวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี 3.ทักษะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4.ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้ 5.ทักษะการผลิต/การใช้สื่อ อุปกรณ์และนวัตกรรมการเรียนรู้ 6.ทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 7.ทักษะการจัดการชั้นเรียน/การดูแลนักเรียน 8.ทักษะทางภาษา/การสื่อสาร

121 ระบบ/รูปแบบการเรียนรู้/วิธีการ และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
1.ระบบการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเชิงระบบ) 2.รูปแบบการเรียนรู้(รูปแบบการสอน) 3.วิธีการเรียนรู้ (วิธีสอน) 4.เทคนิคการจัดการเรียนรู้(เทคนิคการสอน)

122 ระบบการจัดการเรียนรู้
วิธีการเชิงระบบ 1.ตัวป้อน (input) 2.กระบวนการ (process) 3.ผลผลิต (product) 4.กลไกควบคุม (control) 5.ข้อมูลป้อนกลับ (feedback)

123 วิธีการจัดระบบ กำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดองค์ประกอบของระบบ ปรับปรุง
ศึกษาหลักการ/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพการณ์และปัญหาที่เกี่ยวข้อง กำหนดองค์ประกอบของระบบ ปรับปรุง จัดหมวดหมู่องค์ประกอบของระบบ ปรับปรุง จัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบ ปรับปรุง เขียนผังแสดงระบบ ปรับปรุง ทดลอง พิสูจน์ ทดสอบ ปรับปรุง ประเมินผลระบบ ปรับปรุง ข้อมูลป้อนกลับ

124 รูปแบบการการเรียนการสอน
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาด้านพุทธิพิสัย 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาจิตพิสัย 3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาทักษะพิสัย 4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาทักษะกระบวนการ 5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ 6.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทยและนิสิตนักศึกษา

125 วิธีสอน 1.วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย 9.วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ 2. วิธีสอนโดยใช้การสาธิต 10. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง 3. วิธีสอนโดยใช้การทดลอง 11. วิธีสอนโดยใช้เกม 4. วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย 12. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง 5. วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย 13. วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน 6. วิธีสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษา14. วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม 7. วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย 8. วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร

126 เทคนิคการสอน 1.เทคนิคการใช้ผังกราฟิก 2.เทคนิคการใช้คำถามตามระดับจุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัยของบลูม 3. เทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาลักษณะการคิดที่พึงประสงค์ 4.เทคนิคการแบ่งกลุ่ม 5.เทคนิคการจัดการและควบคุมชั้นเรียน 6.เทคนิคที่ใช้ควบคู่กับการสอนแบบต่าง ๆ

127 Backward Design กับการออกแบบการเรียนรู้
ใน file การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ร.ร.ม่วงตารศ

128 Backward Design กับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

129 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 1.1วัดตามตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระในรายวิชาพื้นฐานและตามผล การเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม ตามที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ 1.2 ผู้สอนใช้วิธีการที่หลากหลายจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง เพื่อให้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน 1.3 ให้ความสำคัญกับการประเมินระหว่างเรียนมากกว่าการประเมินปลายปี/ปลายภาคและใช้เป็นข้อมูลเลื่อนชั้นและการจบการศึกษา ระดับต่าง ๆ

130 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน อ่าน (รับสาร) หนังสือ เอกสาร โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต สื่อต่าง ๆ แล้วสรุป คิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ หาเหตุผล แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ เขียน (สื่อสาร) ถ่ายทอดความรู้ ความคิด สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ใช้เป็นข้อมูลเลื่อนชั้นและการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ

131 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
3.การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3.1 วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร 8 คุณลักษณะ คือ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ 3.2 ประเมินคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สมารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งในฐานะ พลเมืองไทยและพลเมืองโลกและใช้เป็นข้อมูลเลื่อนชั้นและการจบการศึกษา ระดับต่าง ๆ

132 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4.การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนและเวลา ในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม และใช้เป็นข้อมูลเลื่อนชั้นและการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ

133 เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1.ระดับประถมศึกษา 2.ระดับมัธยมศึกษา

134 Backward Design กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้


ดาวน์โหลด ppt ติวสอบออนไลน์ หลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google