งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (กม.462) รศ.ดิเรก ควรสมาคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (กม.462) รศ.ดิเรก ควรสมาคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (กม.462) รศ.ดิเรก ควรสมาคม
ภาคเรียนที่ 2 บรรยายส่วนที่ 2 บทที่ 4-7

2 ๒. ความหมายวิชาชีพกฎหมาย ๓. ลักษณะของวิชาชีพกฎหมาย
๑. ความเป็นมา ๒. ความหมายวิชาชีพกฎหมาย ๓. ลักษณะของวิชาชีพกฎหมาย ๔. ความแตกต่างของวิชาชีพกับอาชีพ

3 วิชาชีพ : ๑. ความเป็นมา สังคมของมนุษย์ การจัดระเบียบ การปกครอง
สังคมของมนุษย์ การจัดระเบียบ การปกครอง หลัก หลักการ หลักการชั้นที่หนึ่ง (นามธรรม) ธรรมหรือธรรมะ หลักการชั้นที่สอง (รูปธรรม) ข้อกำหนดเป็นกฎกติกา ธรรม/ธรรมะ ชุมชนสังคม การปกครองผู้ปกครอง กฎกติกา(กฎหมาย) กฎมนุษย์

4 เหตุใดในสังคมตะวันตกจึงยกย่องวิชาชีพกฎหมาย
1 แนวคิดในการจัดการกับธรรมชาติ กรีก โรมัน ยุโรป ~USA = Dominian over Nature / Master over Nature 2 การถูกบีบคั้นกดขี่และการต่อสู้ทางความเชื่อและ ความคิด ต่อสู้กับคน และธรรมชาติ ปัจเจกชนนิยมและมนุษยนิยม (Humanism) 3 แนวคิดเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วรรณะ และสงคราม สงครามโลกครั้งที่ ๑และครั้งที่ ๒

5 ๒. ความหมายวิชาชีพกฎหมาย
ศ จิตติ ติงศภัทิย์ อาชีพโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องมีการศึกษาชั้นสูงและมีการฝึกอบรมเป็นพิเศษ เช่น กฎหมาย สถาปัตยกรรม แพทย์ การศาสนา วิชาชีพทางกฎหมายนั้น นอกจากเป็นวิชาชีพตามความหมายทั่วไปซึ่งต้องประกอบไปด้วยองค์การ (Organzation) การศึกษาอบรม (Learning) และอุดมการณ์เพื่อบริการประชาชน (Spirit of Public Service) แล้ว ยังถือเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งของศาลยุติธรรมด้วย (Officer of the Court)

6 การศึกษาและอบรมชั้นสูง มีการกำกับดูแลหรือควบคุม
วิชาชีพ การศึกษาและอบรมชั้นสูง การอุทิศตน มีการกำกับดูแลหรือควบคุม

7 ๓. ลักษณะของวิชาชีพกฎหมาย
๑) เป็นงานที่ผู้ทำต้องมีอุดมการณ์หรืออุดมคติ ๒) เป็นงานที่ผู้ทำต้องผ่านการศึกษาอบรม ๓) เป็นงานที่ผู้ทำต้องถูกกำกับดูแลหรือควบคุมโดยธรรมเนียมประเพณีและกฎหมาย -เรื่องความไว้วางใจจากสาธารณชน -เรื่องความมีคุณค่าประโยชน์ต่อสังคม -เรื่องทักษะความรู้ ต้องมีทักษะความรู้ความสามารถระดับสูง

8 สรุปความหมายของวิชาชีพกฎหมาย
หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญจากการศึกษาและอบรมด้านกฎหมายเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยผู้นั้นต้องรู้และมีอุดมการณ์ทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตนเป็นสำคัญ และมีการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายด้วยหลัก จริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณเป็นธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ รวมทั้งการควบคุมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

9 ๔. ความแตกต่างของวิชาชีพกฎหมายกับอาชีพ
๑.ด้านจุดมุ่งหมาย ไม่มุ่งกำไร มีอุดมการณ์เพื่อรับใช้ส่วนรวม มุ่งกำไรสูงสุด ๒.ด้านระยะเวลา ๓.ด้านการกำกับดูแล ต้องผ่านศึกษาอบรมขั้นสูงหลายปี มีธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของหมู่คณะ มีองค์กรวิชาชีพกำกับ ไม่ต้องผ่านการศึกษาอบรมขั้นสูง ไม่มีองค์กรวิชาชีพกำกับดูแล ๔.ด้านจริยธรรม มีหลักจริยธรรมกำกับ ตลอดจนมีกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร(จรรยาบรรณ) ไม่ต้องมีจรรยาบรรณกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ๕.ด้านทักษะความรู้ มีความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ไม่ต้องมีทักษะความรู้ความสามารถระดับสูง ๖.ด้านความไว้วางใจ สาธารณชนให้ความไว้วางใจ หรือมีศรัทธายกย่อง คนส่วนใหญ่/สาธารณชนไม่ค่อยให้ความไว้วางใจ ๗.ด้านคุณค่าประโยชน์ต่อสังคม มีประโยชน์ มีความจำเป็นในการแก้ปัญหาชีวิตและสังคม อาจไม่มีประโยชน์ มีความจำเป็นต่อชีวิตหรือสังคมมากนัก ๘.ด้านการผูกขาด มีลักษณะเป็นการผูกขาด ไม่ผูกขาด

10 คำถาม ความแตกต่างของวิชาชีพกฎหมายกับอาชีพทั่วไปนั้น ในข้อไหนสำคัญมากที่สุด??? ๑.ด้านจุดมุ่งหมาย ๒.ด้านระยะเวลา ๓.ด้านการกำกับดูแล ๔.ด้านจริยธรรม ๕.ด้านทักษะความรู้ ๖.ด้านความไว้วางใจ ๗.ด้านคุณค่าประโยชน์ต่อสังคม ๘.ด้านการผูกขาด

11 นักกฎหมาย ๑. ความเป็นมาและ ความหมาย ๒. ประเภทนักกฎหมาย

12 นักกฎหมาย นิสิต หรือนักศึกษากฎหมาย
“นักศึกษา” = ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต นักกฎหมาย = ?????

13 ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์
นักกฎหมาย (Lawyer) ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ผู้ที่ใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็นวิชาการประกอบการงานที่ตนปฏิบัติในสาขาต่างๆ หมายความถึงผู้ประกอบการงานทางกฎหมายทุกประเภท ไม่เฉพาะแต่ผู้ทำงานเกี่ยวกับศาล ในศาล ได้แก่ ทนายความหรือหมอความ ทนายของแผ่นดินหรืออัยการ ผู้ตัดสินความหรือผู้พิพากษา นอกศาล ได้แก่ นิติกรในสำนักงานกฤษฎีกา อาจารย์สอนวิชากฎหมาย ที่ปรึกษากฎหมาย

14 นักกฎหมาย : แง่ตัวศัพท์
๑. นัก หมายถึง ผู้ เช่น ผู้ชอบ ผู้ชํานาญ เชี่ยวชาญ ในทางนั้น ๆ ๒. กฎหมาย หมายถึง กฎ ข้อกำหนด ที่มนุษย์มาตกลงยอมรับและใช้ร่วมกัน นักกฎหมาย จึงมีความหมายว่า ผู้ชำนาญเกี่ยวกับกฎหมาย หรือผู้มีอาชีพในทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎ ข้อบังคับต่างๆ หรือผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับกฎข้อบังคับต่างๆที่ใช้ร่วมกันสังคม

15 นักกฎหมาย : แง่ตัวศัพท์
ตัวอย่าง นักกฎหมาย ได้แก่ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ (Judge) อัยการ (Prosecutor) ทนายความ หมอความ (Lawyer , Attorney , Counsel , Counselor ) นิติกร ที่ปรึกษากฎหมาย ตำรวจ ทหารพระธรรมนูญ จ่าศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พนักงานคุมประพฤติ ครูอาจารย์ผู้สอนกฎหมาย

16 ประเภทนักกฎหมาย ๑) นักกฎหมายที่เป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง
ในกระบวนการยุติธรรม ทนายความ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ๒) นักกฎหมายที่เป็นผู้ใช้กฎหมายโดยอ้อม นอกกระบวนการยุติธรรม ที่ปรึกษากฎหมาย ข้าราชการ/นิติกร ทหารพระธรรมนูญ จ่าศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พนักงานคุมประพฤติ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย สมาชิกรัฐสภา (สส. สว.) เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ครูอาจารย์ที่สอนกฎหมาย

17 วิชาชีพผู้พิพากษา/ตุลาการ
ความเป็นมาและความหมาย การเข้าสู่วิชาชีพผู้พิพากษา/ตุลาการ การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้พิพากษา /ตุลาการ

18 วิชาชีพผู้พิพากษา/ตุลาการ
ความเป็นมา เป็นองค์กรสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง กล่าวคือ เป็นผู้ตัดสินความถูกผิดและลงโทษบุคคล ชี้ ความเป็นธรรมหรือความยุติธรรม (Justice)

19 วิชาชีพผู้พิพากษา/ตุลาการ Judge
ความหมาย ตุลาการ หมายถึง ผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดี ผู้พิพากษา หมายถึง ข้าราชการตุลาการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดี พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

20 ความหมาย ผู้พิพากษา/ตุลาการ ในพุทธศาสนา
๑.ผู้พิพากษา ในความหมาย “ตุลา” แปลว่า เที่ยงตรง คงที่ เท่ากัน สม่ำเสมอ ๒.ผู้พิพากษา ในความหมาย “ตุลา” แปลว่า ตาชั่ง ตราชู คันชั่ง ๓.ผู้พิพากษา ในความหมาย “ตุลา” แปลว่า บุคคลที่เป็นตัวแบบ เป็นเกณฑ์วัด หรือเป็นมาตรฐาน ๔. ผู้พิพากษา ในความหมาย “ตุลาการ” มาจากการแยกศัพท์สองคำได้ว่า แปลว่า ผู้มีอาการดังตุลา = ผู้สร้างดุล สร้างความสมดุล

21 การเข้าสู่วิชาชีพผู้พิพากษา/ตุลาการ
๑) ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ๑.การสอบคัดเลือก ๒.การทดสอบความรู้ และ ๓.การคัดเลือกพิเศษ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ด้านคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม อายุ ด้านคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ปตรี ได้เนติ ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย

22 การเข้าสู่วิชาชีพตุลาการในศาลปกครอง
พรบ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๘ ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้พิพากษา อัยการจังหวัด ข้าราชการพลเรือนระดับ ๘ พนักงานคดีปกครอง ผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความไม่น้อยกว่าสิบสองปี

23 การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้พิพากษา /ตุลาการ
(๑) การกำกับควบคุมโดยกฎหมาย (๒) การกำกับควบคุมโดยองค์กรวิชาชีพ (๓) การกำกับควบคุมโดยจริยธรรม

24 การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้พิพากษา /ตุลาการ
(๑) การกำกับควบคุมโดยกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ถวายสัตย์ปฏิญาณ ในกฎหมายทั่วไป ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑ เมื่อคดีถึงศาล ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลนั้นอาจถูกคัดค้าน ในกฎหมายทั่วไป ได้แก่ ประมวลกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องโทษหรือแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษ ,ในความผิดเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ,ในความผิดกระทำหรือไม่กระทำการโดยเห็นแก่สินบนที่เรียกไว้ก่อน

25 การอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริต
ในกฎหมายเฉพาะ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนรวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริต (ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลฎีกา )

26 การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้พิพากษา /ตุลาการ
(๒) การกำกับควบคุมโดยองค์กรวิชาชีพ ศาลยุติธรรม : คือ คณะกรรมการตุลาการในศาลยุติธรรม หรือ กต. ดำเนินการทางวินัยข้าราชการตุลาการ การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ และ การสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ศาลปกครอง : คือ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือ “ก.ศป.” คัดเลือกบุคคล สอบสวนตุลาการ และพิจารณาให้ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง

27 การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้พิพากษา /ตุลาการ
(๓) การกำกับควบคุมโดยจริยธรรม ประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เรื่อง จริยธรรมของข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด ๑ อุดมการณ์ของผู้พิพากษา ข้อ ๑ หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดีซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและนิติประเพณีทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ

28 หมวด ๒ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
หมวด ๓ จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางธุรการ หมวด ๔ จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น หมวด ๕ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว หมวด ๖ จริยธรรมของผู้ช่วยผู้พิพากษาดะโต๊ะยุติธรรม และผู้พิพากษาสมทบ

29 กรณีตัวอย่างเกี่ยวกับหลักจริยธรรมของผู้พิพากษา
๑.นาย ก.เป็นผู้พิพากษาในคดีหนึ่ง ได้ตัดสินคดีไปตามพยานหลักฐานแห่งคดีเสร็จเด็ดขาด หลายเดือนต่อมา ฝ่ายโจทก์ที่ชนะคดี ได้ส่งคนนำกระเช้าของขวัญอวยพรปีใหม่มามอบให้แก่ นาย ก. เช่นนี้อาจมีปัญหาว่า นาย.ก ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว สามารถรับกระเช้าของขวัญดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร ๒.กรณีจะเป็นอย่างไร หากมีการมอบของขวัญวันปีใหม่นั้น โดยของขวัญดังกล่าวมาจากห้างร้านหรือบริษัท ที่ นาย ข.เป็นผู้พิพากษาในจังหวัดนั้นๆ

30 กรณีตัวอย่างเกี่ยวกับหลักจริยธรรมของผู้พิพากษา
๓.นาย ข.เป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีหนึ่ง ขณะดำเนินการสืบพยานพบว่าทนายความฝ่ายหนึ่งเคยเป็นเพื่อนหรือเคยเป็นแฟนเก่าของนาย ข .ผู้พิพากษา โดยไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงนี้เลยนอกจากตัวนาย ข. กรณีเช่นนี้ จะถือว่า นาย ข.ผิดหลักที่กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมหรือไม่ อย่างไร ๔.นาย ค.เป็นผู้พิพากษา ไปเที่ยวสถานบันเทิง ไนต์คลับ และดื่มสุรากับเพื่อนโรงเรียนเก่า เช่นนี้ ถือว่าผิดหลักจริยธรรมข้าราชการตุลาการหรือไม่อย่างไร ๕.นาย ง.เป็นผู้พิพากษาได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็น ในสื่ออินเตอร์เน็ต ได้แก่ ในสื่อเฟสบุ๊ค ทวีตเตอร์ หรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น เช่นนี้ ผิดหลักประมวลจริยธรรมหรือไม่

31 วิชาชีพอัยการ ๑. ความเป็นมาและความหมาย ๒. การเข้าสู่วิชาชีพอัยการ ๓. การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพอัยการ

32 ๑. ความเป็นมาและความหมาย
อัยการ เริ่มตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๑๒ ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ เพื่อให้องค์กรและพนักงานอัยการมีอิสระในการสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

33 ความหมายของอัยการ เดิมคำว่าอัยการ มีความหมายว่า “กฎหมาย”
“อายการ” และ “ไอยการ” มีความหมายว่า การปฏิบัติหรือระเบียบปฏิบัติ และพระราชกำหนดบทพระอายการ ผู้ทำหน้าที่ในหัวเมืองว่า พนักงานรักษาอัยการ ยกบัตร ยุกกระบัตรหรือยกกระบัตร ซึ่งหมายความถึง เจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรมรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์ คือ เจ้าพนักงานที่ศาลฝ่ายอาณาจักรจัดไว้เป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้อง , ทนายแผ่นดิน , ทนายหลวง

34 ๒. การเข้าสู่วิชาชีพอัยการ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.การสอบคัดเลือก ๒.การทดสอบความรู้ และ๓.การคัดเลือกพิเศษ ด้านคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี ด้านคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ จบปตรี จบ เนติ ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย

35 อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่น ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้อง ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้ ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น

36 ภาระหน้าที่อัยการ (๑) ภาระหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมในทางอาญา
(๒) ภาระหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ (๓) ภาระหน้าที่ในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

37 ๓. การกำกับควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพอัยการ
(๑) การกำกับควบคุมโดยกฎหมาย (๒) การกำกับควบคุมโดยองค์กรวิชาชีพ (๓) การกำกับควบคุมโดยจริยธรรม

38 (๑) การกำกับควบคุมโดยกฎหมาย
รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๕๕มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม กฎหมายทั่วไป เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานช่วยผู้อื่นไม่ให้ต้องโทษหรือแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษ ,ในความผิดเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ,ในความผิดกระทำหรือไม่กระทำการโดยเห็นแก่สินบนที่เรียกไว้ก่อน กฎหมายเฉพาะ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด แสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนรวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (มาตรา ๓๙)

39 ควบคุมใช้ดุลพินิจ ควบคุมใช้ดุลพินิจโดยองค์กรภายใน เช่น ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งคดีอาญา(สั่งไม่ฟ้อง) การฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน มีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ การตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก คือ การตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาคดีอาญากรณีสั่งไม่ฟ้องโดยอธิบดีกรมตำรวจ ,ผู้ว่าราชการจังหวัด การตรวจสอบโดยองค์กรทางการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี

40 (๒) การกำกับควบคุมโดยองค์กรวิชาชีพ
คือ คณะกรรมการอัยการ หรือ กอ. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๓๐ อาทิ เช่น การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง

41 (๓) การกำกับควบคุมโดยจริยธรรม
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ในหมวดที่ ๓ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๘๓ “ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด

42 ประมวลจริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด
หมวด ๒ อุดมการณ์ของข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๒ ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุดต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยเสมอภาค รักษาผลประโยชน์ของรัฐและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจิตสำนึกที่ดี ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้อง เที่ยงธรรม รอบคอบ รวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน หมวด ๓ จริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ หมวด ๔ จริยธรรมข้าราชการอัยการ หมวด ๕ จริยธรรมข้าราชการธุรการ หมวด ๖ จรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการ หมวด ๗ การรักษาจริยธรรม จรรยา และการลงโทษ

43 ตัวอย่างเกี่ยวกับหลักจริยธรรมของอัยการ
๑.นาย ก.เป็นอัยการมีบ้านพักของราชการ ได้ให้นางสาว ข.ผู้ใต้บังคับบัญชาพักอาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าว เพราะเห็นว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีบ้านอยู่ไกลจากที่ทำงาน จึงหวังดีให้พักอาศัยอยู่ชั้นล่าง อัยการอยู่ชั้นบน ไม่เกี่ยวข้องกัน ๒.นาย ก.เป็นอัยการส่งไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอล ได้รางวัลเป็นเงินหนึ่งล้านบาท เช่นนี้ถือว่าผิดหลักจริยธรรมหรือไม่ ๓.นาย ก.เป็นอัยการในต่างจังหวัดเข้าไปเป็นหุ้นส่วนกับสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง ๔.นาย ก.เป็นอัยการสั่งคดีและควรให้ประกันตัวผู้ต้องหา โดยก่อนหน้านี้บิดาของผู้ต้องหาซึ่งอายุมากแล้วได้มาพบอัยการที่บ้านและซื้อผลไม้มาให้หนึ่งกระเช้า พร้อมพูดขอประกันตัวบุตรซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในคดี

44 ตัวอย่างคดี อัยการถูกฟ้องคดี ปรากฏในคำพิพากษาฏีกาที่ ๓๕๐๙/๒๕๔๙
การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งคดีของจำเลยทีมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ทั้งที่ หนังสือพิมพ์ ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ และมาตรา ๒๐๐ วรรคหนึ่ง”


ดาวน์โหลด ppt หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (กม.462) รศ.ดิเรก ควรสมาคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google