ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจัดทำแผนพัฒนาสามปี
ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า รัฐศาสตรบัณฑิต/รัฐศาสตรมหาบัณฑิต/MINI MASTER OF MANAGEMENT. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) การบริหารงานยุติธรรมและสังคม หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนา
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 “แผนพัฒนา” หมายความรวมถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนพัฒนาสามปี “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา” หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอ และแผนชุมชน “แผนพัฒนาสามปี” หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงาน โครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะเวลาสามปี โดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี “โครงการพัฒนา” หมายความว่า โครงการที่มีวัตถุประสงค์สนองต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ 2
3
“แผนการดำเนินงาน” หมายความว่า แผนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แสดงถึงรายละเอียดแผนงาน โครงการพัฒนาและกิจกรรมที่ดำเนินการจริงทั้งหมดในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณนั้น “การแก้ไข” หมายความว่า การแก้ไขข้อผิดพลาดในแผนพัฒนาหรือแผนการดำเนินงานให้ถูกต้อง โดยไม่ทำให้วัตถุประสงค์และสาระสำคัญเดิมเปลี่ยนแปลงไป “การเพิ่มเติม” หมายความว่า การเพิ่มเติมแผนงาน โครงการที่ไม่มีอยู่ในแผนพัฒนาสามปีให้ปรากฏไว้ในแผนพัฒนาสามปี “การเปลี่ยนแปลง” หมายความว่า การทำให้วัตถุประสงค์และสาระสำคัญของแผนพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การแก้ไขแผนพัฒนาเป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น (21) แผนพัฒนาสามปี ใช้คำว่า การเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาสามปี (22) แผนยุทธศาสตร์ ใช้คำว่า การเปลี่ยนแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (23)
4
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0810
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท /ว 0703 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาสามปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1. กำหนดห้วงเวลาการจัดทำและประสานแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด และแผนชุมชน 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์และโครงการพัฒนาที่รองรับเงินอุดหนุนทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดทำแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นโยบายของรัฐบาล แผนงานด้านความมั่นคง ภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการ รวมถึงสามารถใช้ค่านิยมพื้นฐานของคนไทยมาปรับใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตามความเหมาะสม โดยจักต้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ 4
5
3. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้แผนพัฒนาสามปีเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณและนำโครงการพัฒนาในปีแรกของแผนพัฒนาสามปีไปเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ส่วนโครงการพัฒนาในปีที่สองและปีที่สามของแผนพัฒนาสามปีต้องเป็นโครงการพัฒนาที่ต้องทำต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาในปีแรก หรือเป็นโครงการพัฒนาที่จัดลำดับความสำคัญของโครงการน้อยกว่าโครงการพัฒนาปีแรกในแผนพัฒนาสามปี โดยหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินโครงการพัฒนาที่ไม่ได้ระบุไว้ในโครงการพัฒนาปีแรกของแผนพัฒนาสามปี ให้เพิ่มเติม และเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็น 4. ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ดังนี้ 5
6
4.1.1 โครงการที่ชุมชน/หมู่บ้าน สามารถดำเนินการได้เองทั้งหมด
4.1) สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันพิจารณาโครงการ พัฒนาของตนเองโดยแยกเป็น 3 ระดับ คือ 4.1.1 โครงการที่ชุมชน/หมู่บ้าน สามารถดำเนินการได้เองทั้งหมด 4.1.2 โครงการที่ชุมชน/หมู่บ้าน จะต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นบางส่วน 4.1.3 โครงการที่ชุมชน/หมู่บ้าน ไม่สามารถดำเนินการเองได้จำเป็นต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการ และรวบรวมโครงการดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมประชาคม โดยให้สำนัก/กอง/ส่วน/งาน ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และนำข้อมูลที่ได้มาประสานกับผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 4.2 เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล จัดประชุมประชาคมตำบล/ประชาคมเมืองหรืออาจร่วมจัดประชาคม เพื่อทบทวนแผนชุมชนและแผนพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อรับทราบปัญหา และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และชี้แจงทำความเข้าใจยุทธศาสตร์ และแนวทางพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมจัดลำดับความสำคัญของโครงการพัฒนาตามสภาพปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริงของชุมชน หมู่บ้าน 6
7
4.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดประชุมประชาคมจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ใน (2) โดยอาจดำเนินการพร้อมการจัดประชุมอื่น ๆ อาทิ การประชุมเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด หรือจัดประชุมผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนั้น โดยดำเนินการก่อนที่จะประกาศใช้แผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.4 การจัดประชุมประชาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้พร้อมกันกับการประชุมเพื่อจัดทำแผนชุมชน แผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจสอบถามหน่วยงานอื่นที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่และนำเรื่องเข้าประชุมพร้อมกันก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน 7
8
5. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยต้องคำนึงถึงสถานะทางการคลังของตนเองเป็นหลัก 6. ในการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ ข้อ 10 (2) ให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด และคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ ดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดประชุมกำหนดกรอบการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นภายในเดือนมกราคม และแจ้งให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันประชุม (2) ให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอประชุมพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการเสนอบัญชีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม และส่งให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น ระดับจังหวัด ภายใน 7 วัน นับแต่วันประชุม 8
9
7. การวัดคุณภาพของแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามนัยหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 4830 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 และการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548โดย (1) การวัดคุณภาพแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น และดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ตามนัยหนังสือดังกล่าวข้างต้นและเอกสารคำอธิบายแนวทางปฏิบัติ (2) การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น สามารถนำเอาผลการวัดคุณภาพของแผนมาใช้เป็นกรอบหรือแนวทางในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นได้ตามความเหมาะสม เพื่อรวบรวมรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ และเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป 9
10
8. การจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณากำกับ ดูแล ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ และแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดเป็นหลัก 9. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอกำชับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสามปีและนำไปเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยถือเป็นสาระสำคัญที่ต้องพิจารณา โดยรายละเอียดของโครงการพัฒนาในข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องสอดคล้องกับโครงการพัฒนาในแผนพัฒนาสามปีก่อนให้ความเห็นชอบ 10
11
10. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดดำเนินการซึ่งเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย พิจารณาดำเนินการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น นอกเหนือจากแนวทางที่กำหนดไว้ดังกล่าวก็ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอเรื่องหารือผ่านจังหวัดไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อวินิจฉัยเป็นรายกรณี 11
12
เค้าโครงแผนพัฒนาสามปี
ว 712-ว 1596 ว 4830 ว 0703 ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1 ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี 1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.3 ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.4 ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1 ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี 1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.3 ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.4 ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1 ลักษณะของแผนพัฒนา สามปี 1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.3 ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1.4 ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 12
13
เค้าโครงแผนพัฒนาสามปี
ว 712-ว 1596 ว 4830 ว 0703 ส่วนที่ 2 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.1 สภาพทั่วไป 2.2 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.3 ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 2.4 ด้านเศรษฐกิจ 2.5 ด้านสังคม 2.6 ด้านการเมือง การบริหาร 2.7 ด้านอื่น ๆ ส่วนที่ 2 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.1 สภาพทั่วไป 2.2 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.3 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.4 ด้านเศรษฐกิจ 2.5 ด้านสังคม 2.6 ด้านการเมือง การบริหาร 2.7 อื่น ๆ ส่วนที่ 2 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา 2.1 การสรุปสถานการณ์พัฒนา (อาจเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) 2.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ 2.3 การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพ 13
14
เค้าโครงแผนพัฒนาสามปี
ว 712-ว 1596 ว 4830 ว 0703 ส่วนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา 3.1 การสรุปสถานการณ์การพัฒนา (อาจเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) 3.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ 3.3 การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพ ส่วนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา 3.1 การสรุปสถานการณ์การพัฒนา (อาจเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) 3.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ 3.3 การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพ ส่วนที่ 3 การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติ 3.1 แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 3.2 บัญชีโครงการพัฒนา และบัญชีประสานโครงการพัฒนา แบบ ผ. 01 บัญชีโครงการพัฒนา แบบ ผ. 02 บัญชีประสานโครงการพัฒนา แบบ ผ. 03 บัญชีสรุปโครงการพัฒนา 14
15
เค้าโครงแผนพัฒนาสามปี
ว 712-ว 1596 ว 4830 ว 0703 ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี 4.1 วิสัยทัศน์การพัฒนา 4.2 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วง 3 ปี โดยเรียงลำดับก่อนหลัง (จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น) 4.3 กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด 4.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ (ถ้ามี) 4.6 นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี 4.1 วิสัยทัศน์ 4.2 พันธกิจ (ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (เพิ่มแผนที่ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยท.02) ส่วนที่ 4 แนวทางการติดตามประเมินผล 4.1 กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล 4.2 ระเบียบ วิธีในการและเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล 15
16
เค้าโครงแผนพัฒนาสามปี
ว 712-ว 1596 ว 4830 ว 0703 ส่วนที่ 5 บัญชีโครงการพัฒนา 5.1 บัญชีสรุปโครงการพัฒนาแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ถึง พ.ศ ) 5.2 รายละเอียดโครงการแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ถึง พ.ศ ) ..อปท... ส่วนที่ 5 การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติ องค์ประกอบ บัญชีโครงการพัฒนาและบัญชีประสานโครงการพัฒนา แบบ ผ. 01 บัญชีโครงการพัฒนา แบบ ผ. 02 บัญชีประสานโครงการพัฒนา แบบ ผ. 03 บัญชีสรุปโครงการพัฒนา ไม่มี 16
17
เค้าโครงแผนพัฒนาสามปี
ว 712-ว 1596 ว 4830 ว 0703 ส่วนที่ 6 การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล 6.1 องค์กรรับผิดชอบในการติดตามและประเมินผล 6.2 การกำหนดวิธีการติดตามและประเมินผล 6.3 การกำหนดห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผล ส่วนที่ 6 การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล 6.1 องค์กรรับผิดชอบในการติดตามและประเมินผล 6.2 การกำหนดวิธีการติดตามและประเมินผล 6.3 การกำหนดห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผล 6.4 แนวทางการพิจารณาคุณภาพแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาสามปีของ อปท. (พ.ศ ) ไม่มี 17
18
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 1596 ลงวันที่ 10 เมษายน เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แนบรูปแผนที่แสดงเฉพาะบริเวณที่จะดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ประชาชนทราบด้วย” ซึ่งหนังสือหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 0703 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้มี ภาคผนวก ก. รูปแผนที่ตามแผนพัฒนาท้องถิ่น และภาคผนวก ข. การประเมินคุณภาพของแผน ในแผนพัฒนาสามปี 18
19
ภาคผนวก ก. รูปแผนที่ตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนา หมายความรวมถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนพัฒนาสามปี โครงการพัฒนา หมายความว่า โครงการที่มีวัตถุประสงค์สนองต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ ดังนั้น รูปแบบแผนที่แสดงบริเวณที่จะดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น จึงปรากฎในแผนยุทธศาสตร์โดยนำมาจาก 1) แบบ ยท.01 ซึ่งเป็นแบบความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรากฎในบทที่ 3 (3.3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.) ปรากฎจาก ผลผลิต/โครงการ ซึ่งจะต้องกำหนดเป็นผลผลิตหรือชุดของโครงการที่จะดำเนินการ 2) แบบ ผ.01 ซึ่งเป็นแบบรายละเอียดโครงการพัฒนา ปรากฎในส่วนที่ 3 (3.2 บัญชีโครงการพัฒนา และบัญชีประสานโครงการพัฒนา แบบ ผ. 01 บัญชีโครงการพัฒนา) ซึ่งระบุโครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) งบประมาณและที่ผ่านมา 3 ปี ตัวชี้วัด (KPI) ผลที่คาดว่าจะได้รับ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ 19
20
แนวทางการพิจารณาคุณภาพแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปีของ อปท.
ภาคผนวก ข. การประเมินคุณภาพของแผน ปรากฎในสิ่งที่ส่งมาด้วย 4 ของหนังสือหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 0703 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ แนวทางการพิจารณาคุณภาพแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปีของ อปท. ประเด็นการพัฒนา คะแนน 1. ข้อมูลสภาพทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 2. การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพ 25 3. ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 65 3.1 วิสัยทัศน์ (5) 3. 2 พันธกิจ (5) 3.3 ประเด็นยุทธศาสตร์ (10) 3.4 เป้าประสงค์ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ (5) 3.5 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ (15) 3.6 กลยุทธ์ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ (15) 3.7 บัญชีรายการชุดโครงการของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ (10) รวม 100
21
แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์
ส่วนที่ 3 การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติ 3.1 แนวทางการพัฒนาหรือกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ให้นำแนวทางการพัฒนาที่ปรากฎใน แบบ ยท.01 บทที่ 3 : 3.3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. แบบ ยท บทที่ 3 : 3.4 แผนที่ยุทธศาสตร์ และ แบบ ยท. 03 บทที่ 4 : 4.2 กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ มาลงรายละเอียดในส่วนนี้ ให้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ปรากฎใน แบบ ยท.01 บทที่ 3 : 3.3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. แบบ ยท. 02 บทที่ 3 : 3.4 แผนที่ยุทธศาสตร์ และหรือ แบบ ยท. 03 บทที่ 4 : 4.2 กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ มาลงรายละเอียดในส่วนนี้ แนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ 21
22
แบบตามแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบบ ผ. 01 เป็นแบบรายละเอียดโครงการพัฒนา แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ) (ส่วนที่ 3 : 3.2) แบบ ผ. 02 เป็นแบบบัญชีประสานโครงการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ส่วนที่ 3 : 3.2) แบบ ผ. 03 เป็นแบบบัญชีสรุปโครงการพัฒนา แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ถึง ) (ส่วนที่ 3 : 3.2) 22
23
รายละเอียดโครงการ แผนพัฒนาสามปี
แบบ ผ. 01 3.2 บัญชีโครงการพัฒนา และบัญชีประสานโครงการพัฒนา รายละเอียดโครงการ แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ) องค์การบริหารส่วนจังหวัด……….. ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ - ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. ในเขตจังหวัดที่ 1. ยุทธศาสตร์ 1.1 แนวทางการพัฒนา ที่ โครงการ /กิจกรรม วัตถุ ประสงค์ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานที่รับผิดชอบ 2559 2560 2561 23
24
บัญชีประสานโครงการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบบ ผ. 02 บัญชีประสานโครงการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย....(ระบุชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น).... ตามกรอบการประสานที่...(กำหนดโดยคณะกรรมการประสานแผนระดับจังหวัด) ลำดับ ที่ โครงการ/กิจกรรม งบประมาณและที่ผ่านมา รวม หน่วยงานที่รับผิดชอบ ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 1 โครงการ xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx อบจ. 2 โครงการ xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx สถ. 3 โครงการ xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx อบจ. รวมทั้งสิ้น จำนวน โครงการ xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx xxx,xxx 24
25
รายละเอียดโครงการ ลำดับที่ ........................
1. ชื่อโครงการ 2. ที่มาของโครงการตามกรอบการประสานที่คณะกรรมการประสานแผนระดับจังหวัดกำหนด 3. วัตถุประสงค์ 4. เป้าหมาย/ผลผลิต 5. พื้นที่ดำเนินการ 6. วิธีดำเนินการ 7. ระยะเวลาดำเนินการ 8. งบประมาณดำเนินการ 9. ผู้รับผิดชอบโครงการ 10. ผลลัพธ์ 25
26
บัญชีสรุปโครงการพัฒนา แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2559 ถึง 2561)
แบบ ผ. 03 บัญชีสรุปโครงการพัฒนา แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ถึง 2561) ยุทธศาสตร์ ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 รวม 3 ปี จำนวน โครงการ งบประมาณ (บาท) จำนวน โครงการ งบประมาณ (บาท) จำนวน โครงการ งบประมาณ (บาท) จำนวน โครงการ งบประมาณ (บาท) 1) ยุทธศาสตร์ 1.1 แนวทางการพัฒนา..... 1.2 แนวทางการพัฒนา.... ฯลฯ รวม 2) ยุทธศาสตร์ 2.1 แนวทางการพัฒนา..... 2.2 แนวทางการพัฒนา.... ฯลฯ รวม รวมทั้งสิ้น 26
27
ส่วนที่ 4 แนวทางการติดตามและประเมินผล
4.1 กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล การติดตามและประเมินผลที่ปรากฎในหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 0703 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยการติดตามและประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา จะปรากฎใน บทที่ 5 ซึ่งกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล 2) ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล และ 3) กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล ในส่วนของแผนพัฒนาสามปี จะปรากฎในส่วนที่ 4 ซึ่งกำหนดเป็นแนวทางการติดตามและประเมินผล ประกอบด้วย 1) กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล และ 2) ระเบียบ วิธีในการ และเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล 27
28
เปรียบเทียบการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี
ลำดับ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาสามปี ข้อสังเกต บทที่ 5 การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ ส่วนที่ 4 แนวทางการติดตามประเมินผล แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาใช้ “บทที่” แผนพัฒนาสามปีใช้ “ส่วนที่” 1 กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล เหมือนกัน 2 ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล ระเบียบ วิธีในการและเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล ลำดับที่ 2 ของแผนพัฒนาสามปี ตรงกับลำดับที่ 2-3 ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล การอธิบายการติดตามและประเมินผล ใช้การอธิบายการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์เป็นหลักซึ่งปรากฎในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ในส่วนกรณีของแผนพัฒนาสามปีนั้น จะมีองค์ประกอบของการติดตามและประเมินผลเพิ่มขึ้น เช่น แผนงาน โครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม 28
29
กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล
1.1 กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ ข้อ 29 กำหนดให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวทาง วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา และดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา 1.2 หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท /ว 1596 ลงวันที่ 10 เมษายน 2556 เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ ) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.3 กำหนดแนวทางการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก 2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เช่น การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่าภายในท้องถิ่น (Value-Chain Analysis) ห่วงโซ่แห่งคุณค่านี้ เป็นการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ที่สร้างคุณค่าด้านการพัฒนาหลายมิติ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในตามสายงาน (Scanning Functional Resources) เป็นการวิเคราะห์ จุดแข็งและจุดอ่อน 29
30
4.2 ระเบียบ วิธีในการและเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล
ระเบียบ ในการติตตามและประเมินผลแผนพัฒนา ระเบียบวิธีในการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ควรมีองค์ประกอบใหญ่ ๆ ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. ผู้เข้าร่วมติดตามและประเมินผล อันได้แก่ คณะกรรมการติดตามและประเมินผล ผู้รับผิดชอบแผนยุทธศาสตร์ ประชาชนในท้องถิ่น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่นนั้น ๆ 2. เครื่องมือ อันได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งที่ใช้เป็นสื่อสำหรับการติดตามและ อาจเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบวัดความรู้ แบบบันทึกข้อมูล แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกต แบบตรวจสอบ บันทึกรายการ เพื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ หรือการหาผลสัมฤทธิ์โดยรูปแบบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ 3. กรรมวิธี อันได้แก่ วิธีการที่จะดำเนินการติดตามและประเมินผล จะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาสามปี 30
31
วิธีในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
1. การออกแบบการติดตามและประเมินผล เป็นการวางโครงสร้างเฉพาะ (structure) ของการวางแผนพัฒนาหนึ่ง ๆ และแนวทางการดำเนินการติดตามและประเมินผลแผน (plan) เพื่อให้สามารถตอบปัญหาการติดตามและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การออกแบบเพื่อการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนามีเป้าหมายเพื่อ 1) มุ่งตอบปัญหาการติดตามและประเมินผลได้อย่างตรงประเด็น 2) อธิบายหรือควบคุมความผันแปรของยุทธศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นได้ 2. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาสามปี การเก็บข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ความจริงในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเพื่อสรุปประเด็นปัญหา แนวทางต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจทำได้โดยการสำรวจ (survey) การจดบันทึก (record) สังเกต (observe) หรือวัด (measure) โดยคณะกรรมการติดตามและประเมินผลจะต้องดำเนินการในพื้นที่จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุภาคส่วน 31
32
กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล
กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล เครื่องมือในการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาสามปี ประกอบด้วย 1) การทดสอบและการวัด (Tests & Measurements) 2) การสัมภาษณ์ (Interviews) 3) การสังเกต (Observations) 4) การสำรวจ (surveys) 5) เอกสาร (Documents) 4. ผลของการดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนยุทศาสตร์ ในการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย 1) กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล 2) ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล และ 3) กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล เมื่อได้ดำเนินการตามหลักการสำคัญ 3 ประการแล้ว คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น จะต้องดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล อื่น ๆ อีก เช่น ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ความสำเร็จของการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปใช้ (บรรทัดฐานด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ/บรรทดฐานด้านเวลา/บรรทัดฐานด้านการเงิน/บรรทัดฐานด้านประสิทธิผล (effectiveness criterion) การนำเสนอผลการติดตามและประเมินผล (ความเรียงร้อยแก้ว/ตาราง/รูปภาพ) 32
33
สวัสดี นักวางแผนที่ดีจะต้อง รู้จักโอบอ้อมอารีย์
วจีไพเราะ/พูดจาดี มีเหตุผล สงเคราะห์ประชาชน วางตนพอดี ดร. สุริยะ หินเมืองเก่า สวัสดี 33
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.