งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 4

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 4"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 4
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 4 อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข

2 4. การจัดการทรัพยากรมนุษย์
4.1 ทรัพยากรมนุษย์ในศูนย์สารสนเทศ 4.2 การพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ 4.3 การจัดการความเปลี่ยนแปลง

3 4.1 ทรัพยากรมนุษย์ในศูนย์สารสนเทศ
4.1.1 ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ 4.1.2 ประเภทของบุคลากรสารสนเทศ

4 4.1.1 ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์
ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) คือ คน หรือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์การเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรประเภทอื่นๆ เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ หรือ อาคารสถานที่ เป็นต้น

5 4.1.1 ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์
ทั้งนี้ เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์สามารถใช้ความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรประเภทอื่นๆให้องค์การดำเนินงานไปได้ตามวัตถุประสงค์

6 4.1 ประเภทของบุคลากรสารสนเทศ
4.1.1 บุคลากรวิชาชีพ (Information Professionals, Professional Librarian) 4.1.2 บุคลากรสนับสนุน (Support Staff)

7 4.1.1 บุคลากรวิชาชีพ หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา บรรณารักษศาสตร์ หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

8 4.1.1 บุคลากรวิชาชีพ 1) ชื่อเรียกตำแหน่งทั่วไป ได้แก่ นักสารสนเทศ (Information Officer) นักเอกสารสนเทศ (Documentalist) บรรณารักษ์ (Librarian) นักจดหมายเหตุ (Archivist) ผู้จัดการสารสนเทศ(Information Manager) ผู้จัดการความรู้ (Knowledge Manager)

9 4.1.1 บุคลากรวิชาชีพ (ต่อ) 2) ชื่อเรียกตำแหน่งเฉพาะ เช่น นักดรรชนี (Indexer) นักสาระสังเขป (Abstractor) บรรณารักษ์จัดหา (Acquisition Librarian) บรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการ (Cataloger) บรรณารักษ์ช่วยค้นคว้า (Reference Librarian)

10 4.1.1 บุคลากรวิชาชีพ (ต่อ) ผู้เชี่ยวชาญการแนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Specialist) 3) ชื่อเรียกตำแหน่งอื่นๆ เช่น Cybrarian, Webrarian, Digital Librarian, Internet Service Librarian, Knowledge Navigator เป็นต้น

11 4.1.2 บุคลากรสนับสนุน หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆในศูนย์สารสนเทศโดยที่ไม่ต้องการความรู้เฉพาะทางวิชาชีพสารสนเทศศึกษา สารสนเทศศาสตร์ หรือบรรณารักษศาสตร์ เช่น บริการยืม-คืน บริการโสตทัศนวัสดุ ฯ

12 4.1.2 บุคลากรสนับสนุน (ต่อ)
ชื่อเรียกตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด พนักงานห้องสมุด เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ พนักงานโสตทัศนูปกรณ์ เจ้าหน้าที่ธุรการ พนักงานธุรการ

13 4.2 การพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ
4.2.1 ความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ 4.2.2 วิธีการพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ

14 4.2.1 ความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ
1) สำหรับบุคลากรใหม่ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา ขอบเขต และรายละเอียดวิธีปฏิบัติของงานที่ต้องรับผิดชอบ

15 4.2.1 ความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ
2) สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในวิชาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ สำหรับนำมาปรับปรุงวิธีการและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

16 4.2.2 วิธีการพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ
1) การปฐมนิเทศ 2) การฝึกอบรม 3) การเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ 4) การศึกษาดูงาน

17 4.2.2 วิธีการพัฒนาบุคลากรในศูนย์สารสนเทศ
5) การศึกษาต่อ 6) การแลกเปลี่ยนบุคลากร 7) การทำวิจัยทางวิชาการ

18 4.3 การจัดการความเปลี่ยนแปลง
“Change is the law of life. And those who look only to the past or present are certain to miss the future” (John F. Kennedy)

19 4.3 การจัดการความเปลี่ยนแปลง
4.3.1 ปัจจัยที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของศูนย์สารสนเทศ 4.3.2 เหตุที่บุคคลต่อต้านความเปลี่ยนแปลง 4.3.3 บทบาทของผู้บริหารในการจัดการความเปลี่ยนแปลง

20 4.3.1 ปัจจัยที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของศูนย์สารสนเทศ
1) พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) แนวคิดเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – based Economy)

21 4.3.2 เหตุที่บุคคลต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
1) การเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งเงื่อนไขใหม่ๆและต้องการความรู้และทักษะที่เปลี่ยนไปจากเดิม (Change introduces new conditions and requires different skills and knowledge)

22 4.3.2 เหตุที่บุคคลต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
2) บุคคลขาดความเข้าใจในเรื่องและวิธีการที่จะเปลี่ยนแปลง 3) กังวลใจว่าจะกระทบกับสถานภาพปัจจุบัน 4) เคยชินกับวิธีปฏิบัติงานเดิมๆ 5) คุ้นเคยกับเพื่อนร่วมงานเดิมๆ

23 4.3.3 บทบาทของผู้บริหารต่อการจัดการความเปลี่ยนแปลง
1) ให้ความรู้และโน้มน้าวให้บุคลากรตระหนักถึงความจริงของการเปลี่ยนแปลง 2) ตระหนักถึงการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญและจัดการแก้ปัญหา 3) นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์การอย่างค่อยเป็นค่อยไป

24 4.4 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
4.4.1 ความหมายของจริยธรรม 4.4.2 ความแตกต่างระหว่างคุณธรรมกับจริยธรรม 4.4.3 บทบาทของผู้บริหารศูนย์สารสนเทศต่อการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

25 4.4.1 ความหมายของจริยธรรม “Ethics is usually defined as a set of principles and values that govern the behaviors of an individual or a group with respect to what is right and what is wrong.” (Stueart, R.D. and Moran, B.B., 2007: 347)

26 4.4.2 ความแตกต่างระหว่างคุณธรรมกับจริยธรรม
คุณธรรม ใช้เมื่อเป็นการประพฤติปฏิบัติของแต่ละบุคคล จริยธรรม ใช้เมื่อต้องการกล่าวอ้างถึงการประพฤติปฏิบัติในภาพรวม

27 4.4.3 ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
จริยธรรมเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ซึ่งมีหลักการมาจากทฤษฎีที่ว่าด้วย อะไรคือสิ่งที่ถูกและอะไรคือสิ่งที่ผิด กฎหมายมุ่งที่กฎเกณฑ์ที่ทำให้สังคมสงบสุขมากกว่าส่งเสริมแนวคิดของสังคม

28 4.4.3 ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย (ต่อ)
สิ่งที่ถูกกฎหมายมิได้หมายความว่าถูกต้องตามหลักจริยธรรม (การลงโทษบางวิธีที่ถูกกฎหมาย, การทำแท้ง, Mercy Kill, การใช้สารเสพติดรักษาคนไข้) จริยธรรมต้องการมาตรฐานที่สูงกว่ากฎหมาย

29 4.4.4 ศูนย์สารสนเทศกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
วัฒนธรรมองค์กรเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างและทำให้ดำรงอยู่ซึ่งบรรทัดฐานของจริยธรรม

30 4.4.4 ศูนย์สารสนเทศกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (ต่อ)
ประเด็นด้านจริยธรรมในศูนย์สารสนเทศมักเกี่ยวกับ Access to Information, Intellectual Freedom, Plagiarism

31 4.4.4 ศูนย์สารสนเทศกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (ต่อ)
ผู้บริหารศูนย์สารสนเทศต้องสื่อสารให้บุคลากรในองค์การเข้าใจชัดเจนตรงกันว่าจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติ พร้อมให้ความรู้ว่าประเด็นจริยธรรมที่มักเกิดขึ้นได้แก่อะไรบ้าง

32 4.4.4 ศูนย์สารสนเทศกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (ต่อ)
ให้รางวัลสำหรับผู้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างในการยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม


ดาวน์โหลด ppt การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 4

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google