ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
เริ่มตั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ จัดตั้งเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓
2
ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
๒๕๓๕ ก่อตั้ง พชม. เป็นโครงการของการเคหะแห่งชาติบริหาร กองทุนชุมชนเมือง ๑,๒๕๐ ล้านบาท ๒๕๓๙-๒๕๔๐ สร้างเครือข่ายชุมชนเมือง นอกจากให้สินเชื่อพัฒนาชุมชน มี การทำกองทุนผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม มิยาซาวา ๒๕๔๓ รวมกับกองทุนพัฒนาชนบทเป็น พอช. ตาม พรบ.องค์การมหาชน รวมกองทุนประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕๔๓-๒๕๔๖ มุ่งสร้างระบบและกระบวนการทำงานทั่วประเทศ เรียนรู้เนื้อหาและ กระบวนงานงานชนบท ๒๕๔๖ เริ่มโครงการบ้านมั่นคง ๒๕๔๘-๒๕๔๙ การแก้ปัญหาภัยพิบัติสึนามิโดยขบวนชุมชน ๒๕๔๙-๒๕๕๐ เริ่มโครงการสวัสดิการชุมชน และ สภาองค์กรชุมชน ๒๕๕๓ ได้รับเงินกองทุนหมุนเวียนเพิ่มอีก ๓,๐๐๐ ล้านบาทเพื่อเป็นสินเชื่อ โครงการบ้านมั่นคง รวมมีกองทุนหมุนเวียนประมาณ ๖,๐๐๐ ล้านบาท ๒๕๕๓-๒๕๕๔ เริ่มทำโครงการที่ดินชนบท บ้านมั่นคงชนบท โครงการ๓จังหวัดภาคใต้
3
วันเปิด พอช. เมื่อ ปี ๒๕๔๓ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ คุณไพบูลย์วัฒนศิริธรรม คุณอัมพร คุณประยงค์ คุณพันทิพย์ กำนันสนอง อ.สังคม ครูมุกดา
4
จากเพื่อนร่วมสร้างอนาคต สู่การเป็นองค์กรเลขา หรือผู้สนับสนุนงานเปลี่ยนแปลงพัฒนาของชุมชน และขบวนชุมชนโดยชุมชนเอง จากงานออมทรัพย์และสินเขื่อชุมชน สู่การเชื่อมโยงเครือข่าย ชุมชนด้านต่างๆ ในพื้นที่ตำบล จังหวัด ภาคและประเทศ การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง จากโครงการพัฒนาที่ดินที่อยู่อาศัย(ที่ไม่มั่นคงและถูกไล่ที่) เป็นโครงการบ้านมั่นคง การสร้างชุมชนเมืองเข้มแข็ง มั่นคง ทั้งเมือง การสร้างกองทุนชุมชนเมือง
5
ลักษณะพิเศษของพอช. หาความรู้อย่างมีส่วนร่วมทั้งจากไทยและต่างประเทศ และสร้างรูปแบบแนวทางจากชุมชน เป้าหมายที่ชุมชนเป็นหลักและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (ไม่ใช่เฉพาะสังคมสงเคราะห์) วางแผนทั้งเพิ่มคุณภาพและโอกาสจากสิ่งที่มีอยู่ และเชื่อมโยงขยายเชิงปริมาณกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศ ใช้การเงินเพื่อสังคมและกองทุนชุมชนเป็นเครื่องมือการพัฒนาโดยชุมชนเอง สร้างความร่วมมือกับทุกฝ่าย ชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมทำงาน สร้างกลไกพัฒนาร่วมกันทั้งรัฐ ท้องที่ ท้องถิ่น ประชาสังคม สถาบันการศึกษา ชุมชน เครือข่าย ความตั้งใจมุ่งมั่น จริงจังจริงใจ การบริหารโดยกลุ่ม การกระจายการบริหารจัดการออกไปสู่ชุมชน ความยืดหยุ่นในการจัดการ การคิดค้นหาวิธี
6
เป็นองค์กรที่พยายามบริหารแบบแนวราบ ใช้กรรมการร่วมทุกเรื่อง
ชุมชนมีส่วนร่วม รู้เห็น วางแผน ร่วมตัดสินใจ จัดการและถ่วงดุลย์ทุกระดับ การปรับเปลี่ยนอยู่เสมอตามเป้าหมายที่ชุมชนและความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลง
7
กระจายงบประมาณตรงสู่ชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการ
ชุมชน เป็นผู้คิด เป็นผู้ทำ จัดการดำเนินการ มีกลไกชุมชนร่วมกันรับผิดชอบติดตามเรียนรู้ พื้นที่เป็นตัวตั้ง ทำเรื่องต่างๆสัมพันธ์กัน ไม่แยกส่วน ทำงานร่วมมือกับหน่วยงานพื้นที่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.