งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดูแลแบบเอื้ออาทร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดูแลแบบเอื้ออาทร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การดูแลแบบเอื้ออาทร

2 การดูแล (Caring) คือ อะไร
การดูแล คือ...... “ การแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ระหว่างบุคคลต่อสัตว์ และระหว่างบุคคลต่อสรรพสิ่งต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม โดยมีความเมตตาเอื้ออาทร ความสนใจ ความเอาใจใส่ เป็นพื้นฐานเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตและสรรพสิ่ง”

3 ดูแลได้เองตามธรรมชาติ
Morse และคณะ (1991) จำแนกตาม ontology (คุณวิทยา) หรือตามธรรมชาติความเป็นจริงของการดูแลไว้ 5 ประการ คือ การดูแลเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์ ซึ่งติดตัวมา และมนุษย์ปฏิบัติการ ดูแลได้เองตามธรรมชาติ การดูแลเป็นมโนธรรม คุณธรรม จริยธรรม หากผู้ใดปฏิบัติถือได้ว่าเป็นผู้มีคุณธรรม ได้ปฏิบัติสิ่งที่มีคุณค่าและดีงาม การดูแลเป็นอารมณ์ ความรู้สึก ที่มีต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และหน้าที่การปฏิบัติการพยาบาล การดูแลเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ระหว่างบุคคล คน ซึ่งหมายถึงผู้ให้และผู้รับการดูแล การดูแลเป็นการบำบัด ซึ่งรับรู้ได้ทั้งการสัมผัสทางกายและการสัมผัสในจิตใจที่เกิดจากการดูแลเอาใจใส่ที่ได้รับ

4 ทฤษฎีการดูแล แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลของ Mayeroff (Mayeroff ‘s Philosophy, 1971) แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลของ Roach (Roach’ five Cs of caring model, 1987) ทฤษฎีการดูแลมนุษย์แบบองค์รวมของ Howard (Holistic Dimension of Humanistic Caring Theory, 1975) ทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคลของ Watson (Watson’Theory of Transpersonal Human caring, 1979)

5 ทฤษฎีการดูแลระหว่างวัฒนธรรมของ Leininger (Leininger’sTranscultural Caring Theory, 1981)
ทฤษฎีการดูแล Swanson (Swanson’Caring Theory, 1991) โมเดลการดูแลของ Sherwood (Sherwood Therapeutic Caring Model, 1997)

6

7 ทฤษฎีการดูแลแบบเอื้ออาทรของWatson
Watson มีแนวคิดว่าการดูแลเป็นศาสตร์(Science)ซึ่งเป็นกระบวนการหรือปรากฏการณ์ที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ การดูแล นอกจากจะเป็นศาสตร์และศิลป์(Art)แล้ว ยังเป็นธรรมชาติของมนุษย์ Watson เชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน(Connectedness) เป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity) ดังนั้นจุดเด่นของทฤษฎีจึงเน้นอยู่ที่การดูแลระหว่างบุคคล(Transpersonal caring)

8 Watson เชื่อว่า Caring หรือการดูแล จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์หรือสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การดูแลกับผู้ได้รับการดูแล รวมถึงการรับรู้การถ่ายทอดพลังจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเพื่อการบำบัดเยียวยาของผู้รับการดูแลเอง

9 มโนทัศน์หลัก 3 ประการ * สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Transpersonal Caring Relationship) ** การดูแลที่เกิดขึ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (Caring moment) *** ปัจจัยการดูแล (Carative factors) 3 มโนทัศน์หลักนี้ทำให้ทฤษฎีของWatson มีความสำคัญในแนวลึกถึงระดับจิตวิญญาณ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยค้นหาความหมายของสิ่งต่างๆที่เป็นสาระสำคัญของชีวิต เพื่อจะได้รู้จักตนเอง เคารพตนเองและเยียวยาตนเอง พยาบาลหรือผู้ให้การดูแลเป็นผู้มีส่วนร่วมและสร้างเสริมพลังในกระบวนการเยียวยาจิตใจและจิตวิญญาณ(Mental-Spiritual Mechanism) ของผู้ป่วยให้คงไว้ซึ่งภาวะสมดุลของร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ ทั้งนี้ต้องอาศัยปัจจัยการดูแล 10 ประการ

10 เป็นกระบวนการผ่องถ่ายจากใจถึงใจซึ่งกันและกัน
Caring Moment องค์รวมของการมีสติ รู้ตัวของการดูแล เยียวยา ความรัก ประกอบกันชั่วขณะหนึ่งของการดูแล บุคคลที่ดูแลและดำรงอยู่เพื่อการดูแล จะเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อการมีสติ รู้ตัว เกี่ยวกับการดูแล เยียวยา ความรัก ที่สื่อสารกับบุคคลในขณะของการดูแล เป็นกระบวนการผ่องถ่ายจากใจถึงใจซึ่งกันและกัน

11 ปัจจัยการดูแล 10 ประการ สร้างค่านิยมเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ (Humanistic Altruistic System of value) สร้างความศรัทธาและความหวัง(Faith-Hope) ไวต่อการรับรู้ต่อตนเองและผู้อื่น(Sensitivity of Self and Others) สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือไว้วางใจ(Helping-Trusting Human Caring Relation) ยอมรับการแสดงออกถึงความรู้สึกทางบวกและทางลบ(Express Positive and Negative Feeling)

12 ใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในกระบวนการดูแล
(Creative Problem Solving Caring Process) มีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในกระบวนการเรียนการสอน (Transpersonal Teaching and Learning) ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ (Supportive, Protective, and / or Corrective Mental, Physical, Social and Spiritual Environment) ให้การช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล (Human Need Assistance) การเสริมสร้างพลังทางจิตวิญญาณในการมีชีวิตอยู่ (Existential-Phenomenological-Spiritual Forces)

13 แนวทางการประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทร
การดูแลเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่สามารถแสดงออกและวัดประเมินได้ โดยอาศัยการวัดการดูแลที่เกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในขณะที่มีการให้การดูแลและได้รับการดูแล การประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรตามแนวทฤษฎีของ Watson มี 2 ลักษณะคือ การนำปัจจัยการดูแลทั้ง 10 ปัจจัย มาประเมิน หรือ ประยุกต์ใช้เพียงบางส่วน เช่น

14 เครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทร
Caring Behavior Inventory (42 ข้อ) Caring Behavior Assessment (63 ข้อ) Nyberg Caring Attributes Scale (20 ข้อ) Caring Assessment Tools (100 ข้อ) Caring Efficacy Scale (30 ข้อ)

15


ดาวน์โหลด ppt การดูแลแบบเอื้ออาทร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google