งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
โดย.. นายทินกร เขมะวิชานุรัตน์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

2 หัวข้อการบรรยาย * พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

3 เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำความผิดมี 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กระทำผิดโดยเจตนา 2. กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 3. กระทำผิดโดยอยู่ในภาวะจำยอม

4 สาเหตุการทุจริต 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1.1 การหย่อนคุณธรรมความซื่อสัตย์
1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ การหย่อนคุณธรรมความซื่อสัตย์ ไม่มีความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป 1.2 โอกาส สิ่งจูงใจ การเสี่ยงภัย

5 สาเหตุการทุจริต 2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่
2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 2.1 ด้านเศรษฐกิจและการครองชีพ ด้านการเมือง ที่มีการใช้เงินจำนวนมากในการเลือกตั้ง การซื้อเสียง ด้านสังคม สังคมนิยมคนมีเงิน การบริหารของหน่วยงานภาครัฐขาดประสิทธิภาพ ช่องว่างของกฎหมาย ตำแหน่งหน้าที่เอื้อต่อการทุจริต อยู่ภายใต้อิทธิพลและสิ่งแวดล้อม ติดอบายมุข

6 ผลกระทบของการทุจริตคอร์รัปชัน
ความเชื่อมั่น จากประชาคมโลก ระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประชาชนผู้เสียภาษี - ขาดความเชื่อมั่น - การลงทุนลดลง - เสียภาพลักษณ์ - เบี่ยงเบนทรัพยากร - ลดรายได้ของ รัฐบาล - ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น - คุณภาพลดลง - นโยบายเบี่ยงเบน - ความมั่นคงรัฐบาล ลดลง - วัฒนธรรมหน่วยงาน เปลี่ยนไป - กฎระเบียบหย่อนยาน - ความปลอกภัยลดลง - เพิ่มอาชญากรรม เกิดลูกโซ่วงจรอุบาทว์ - รู้สึกว่าไม่ยุติธรรม - ผู้ยากไร้เสียสิทธิ ที่พึงได้ - ความยากจน เพิ่มขึ้น - ขาดความ เสมอภาค ชาย-หญิง - ปัญหาสิทธิ มนุษยชน

7 *กฎหมายกำหนดให้มี คณะกรรมการจำนวน ๕ คน เป็นผู้สรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. คือใคร? *กฎหมายกำหนดให้มี คณะกรรมการจำนวน ๕ คน เป็นผู้สรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ช.

8 (๕) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน
ผู้สรรหา ป.ป.ช. ๕ คน (๑) ประธานศาลฎีกา (๒) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (๓) ประธานศาลปกครองสูงสุด (๔) ประธานสภาผู้แทนราษฎร (๕) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน

9 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประธานกรรมการ ๑ คน + กรรมการ ๘ คน คุณสมบัติเด่น
มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ - อายุไม่ต่ำกว่า ๔๕ ปีบริบูรณ์ - เคยเป็น รมต.,เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางบริหารหน่วยราชการที่มีอำนาจบริหารเทียบเท่าอธิบดี ศาสตราจารย์ กรรมการองค์กรอิสระผู้แทนองค์การพัฒนาเอกชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพที่มีองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายไม่น้อยกว่าสามสิบปี ซึ่งองค์การดังกล่าวให้การรับรองและเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหา *ไม่ต้องห้ามตาม ม. ๒๐๕ - ดำรงตำแหน่ง ๙ ปี วาระเดียว (ม. ๒๔๗)

10 อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
(๑) ไต่สวนข้อเท็จจริง สรุปสำนวนพร้อมความเห็น เสนอ ส.ว. (เพื่อให้ถอดถอนบุคคลตาม ม.๒๗๐) กรณี - ส.ส.ไม่น้อยกว่า ๑/๔ ของทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ / หรือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า ๒ หมื่นคน เข้าชื่อขอต่อประธานวุฒิสภา ให้มีมติถอดถอน

11 อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
(๒) ไต่สวนข้อเท็จจริง และสรุปสำนวน พร้อมทั้งทำความเห็น ส่งไปยัง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณี นายกฯ/รมต./ส.ส./ส.ว./ขก.การเมืองอื่น

12 อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
(๓) ไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ/ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม, กระทำผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และทุจริตต่อหน้าที่ ตามกระบวนการ ก.ม. ประกอบรัฐธรรมนูญ (๔) ตรวจสอบความถูกต้องและมีอยู่จริง/ ความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน ของ นายกรัฐมนตรี/รมต./ส.ส./ส.ว./ข้าราชการ- การเมืองอื่น/ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น/สส.ท้องถิ่น ที่ กม.บัญญัติ

13 อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
(๖) รายงานผลการตรวจสอบ/ผลการปฏิบัติงาน ข้อสังเกตต่อ ครม./ สภาผู้แทนราษฎร/ วุฒิสภา /ทุกปี (๕) กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง (๗) ดำเนินการอื่นตามที่ กฎหมายบัญญัติ

14 เจ้าหน้าที่ของรัฐ คือใคร ?
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ - บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย - กรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ - เจ้าพนักงาน ตาม กม.ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

15 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า
การทุจริตต่อหน้าที่ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้ มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

16 เรื่องร้องเรียนที่ ป.ป.ช. จะรับไว้พิจารณา ต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(๑) คำกล่าวหา จะทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ (๒) ผู้ถูกกล่าวหา ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ พ้นจาก การเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เกิน 5 ปี (๓) ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้กล่าวหา พร้อมลงลายมือชื่อในคำกล่าวหา (๔) ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา (๕) ระบุข้อกล่าวหา และพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดตาม ข้อกล่าวหา พร้อมพยานหลักฐานหรืออ้างพยานหลักฐาน

17 เรื่องร้องเรียนที่ ป.ป.ช. จะรับไว้พิจารณา ต้องมีรายละเอียด (ต่อ)
หมายเหตุ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับที่ต่ำกว่าที่รวมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการด้วย

18 เรื่องที่ ต้องห้ามไม่ให้ ป.ป.ช. รับพิจารณา
(๑) เรื่องที่ ป.ป.ช. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้วและไม่มีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งคดี (ข้อกล่าวหาและประเด็นเดียวกัน) (๒) เรื่องที่เป็นคดีอาญาและศาลประทับฟ้อง, อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล หรือศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว ยกเว้นคดีนั้นมีการถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง *เรื่องร้องเรียนที่ ป.ป.ช. อาจไม่รับพิจารณา (๑) เรื่องที่ไม่ระบุพยานหลักฐานหรือไม่ปรากฏพฤติการณ์แห่งการกระทำชัดเจนเพียงพอ (๒) เรื่องที่ล่วงเลยมาแล้วเกินกว่า ๕ ปี นับแต่วันเกิดเหตุ จนถึงวันที่กล่าวหาและไม่อาจหาพยานหลักฐานได้เพียงพอ (๓) เรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่น ซึ่ง ป.ป.ช.เห็นว่ามีการดำเนินการเสร็จสิ้นและเป็นไปโดยชอบแล้ว

19 โดยร้องทุกข์หรือกล่าวโทษว่ากระทำความผิดฐาน
กรณีผู้เสียหายร้องทุกข์ หรือมีผู้กล่าวโทษต่อ พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) กล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 กลุ่มตำแหน่ง (นายกรัฐมนตรี รมต. ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมาย) โดยร้องทุกข์หรือกล่าวโทษว่ากระทำความผิดฐาน (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ (๒) กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือ (๓) กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม พนักงานสอบสวน ต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ป.ป.ช.

20 การดำเนินการทางอาญา ตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ป.ป.ช. มีมติว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดอาญา ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ส่งรายงานเอกสาร และความเห็นไปยัง (๑) อัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิพากษาคดี (๒) ฟ้องคดีต่อศาล กรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด ให้ถือรายงานของ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนตาม ป.วิอาญา และให้ศาลประทับฟ้อง ไว้พิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง - กรณีอัยการสูงสุดเห็นว่า รายงานของ ป.ป.ช. ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะ ดำเนินคดีได้ ให้อัยการสูงสุดดำเนินการแจ้งให้ ป.ป.ช. ทราบเพื่อดำเนินการ โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบูรณ์ให้ครบถ้วนในคราวเดียวกันด้วย

21 การดำเนินการทางอาญาตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.
- กรณีดังกล่าว ให้ ป.ป.ช. และ อัยการสูงสุด ตั้งคณะทำงานขึ้น โดยแต่ละฝ่ายมีจำนวนฝ่ายละเท่ากัน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้สมบูรณ์ แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดี * ถ้าคณะทำงานหาข้อยุติไม่ได้ - ให้ ป.ป.ช. มีอำนาจฟ้องคดีเอง หรือ แต่งตั้งทนายความ ให้ฟ้องคดีแทน

22 การดำเนินการทางวินัย ตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ส่งรายงานพร้อมความเห็นไปยัง ผู้บังคับบัญชา เพื่อ พิจารณาโทษทางวินัย ตามฐานความผิดที่ ป.ป.ช. มีมติ มีสภาพบังคับ ๑ ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก ๒ รายงานเอกสาร ความเห็น ป.ป.ช. ให้ถือเป็น สำนวนการสอบสวนวินัย มีผลใช้บังคับ เจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไป ยกเว้น ข้าราชการตุลาการ, อัยการ ผู้บังคับบัญชา - มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนลงโทษ เมื่อได้รับรายงานจาก ป.ป.ช.แล้ว - ให้พิจารณาลงโทษภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับเรื่องจาก ป.ป.ช. - ส่งสำเนาคำสั่งลงโทษให้ ป.ป.ช. ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันออกคำสั่ง

23 กรณีผู้บังคับบัญชา ละเลย ฝ่าฝืน ไม่ดำเนินการ
ผู้บังคับบัญชา ไม่ดำเนินการพิจารณาโทษ หรือดำเนินการไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ให้ถือว่า - กระทำผิดวินัย - กระทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไปอย่างไร ?

24 กรณีผู้บังคับบัญชา ละเลย ฝ่าฝืน ไม่ดำเนินการ
(๑) ป.ป.ช. เสนอนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร (๒) ป.ป.ช. สั่งให้ ก.พ. หรือคณะกรรมการอื่น พิจารณา ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป *ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ ของผู้บังคับบัญชา - ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งลงโทษทางวินัย

25 มาตรา ๑๐๐ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการ ดังต่อไปนี้
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม มาตรา ๑๐๐ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ ดำเนินคดี (๒) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ที่เข้าไปเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ…ฯลฯ (๓) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ...ฯลฯ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ...ฯลฯ อันมีลักษณะผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว

26 มาตรา ๑๐๐ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ดำเนินกิจการ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑๐๐ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ดำเนินกิจการ ดังต่อไปนี้ (๔) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงาน หรือลูกจ้าง ของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุมหรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการหรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา *ให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย

27 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ จัดการหรือ ดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วย กิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

28 มาตรา ๑๐๓ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สิน หรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมายหรือกฎ ข้อบังคับที่ออก โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปี ด้วยโดยอนุโลม

29 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกาศโดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา ๑๐๓ ของ พ.ร.บ. ป.ป.ช. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๓

30 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๓ เป็นบทนิยามความหมายของคำหรือข้อความ ดังนี้ “การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” หมายความว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ หรือ จากบุคคล ที่ให้กันในโอกาสต่าง ๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม “ญาติ” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรม

31 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. “ประโยชน์อื่นใด” หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ (๑) การลดราคา (๒) การรับความบันเทิง (๓) การรับบริการ (๔) การรับการฝึกอบรม (๕) สิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

32 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๔ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดอันควรได้ - ตามกฎหมาย - กฎ - ข้อบังคับ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา ตามที่ กำหนดไว้ในประกาศนี้

33 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้ (๑) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจาก ญาติ ซึ่งให้โดยเสน่หา ตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป (๒) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติ มีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาส ไม่เกินสามพันบาท (๓) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป

34 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๖ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากต่างประเทศ - ผู้ให้มิได้ระบุให้เป็นของส่วนตัว - มีราคาหรือมูลค่าเกินกว่าสามพันบาทไม่ว่าจะระบุเป็นของส่วนตัว หรือไม่ แต่มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรายงาน รายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าว ให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น ยึดถือทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวนั้นไว้เป็นประโยชน์ส่วนบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นส่งมอบทรัพย์สินให้หน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยทันที

35 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๗ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือมีราคาหรือมูลค่ามากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ - เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับมาแล้วโดยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องรับไว้เพื่อ.... รักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้น ต้อง....แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น ต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัด โดยทันทีที่สามารถกระทำได้ เพื่อให้วินิจฉัยว่า.... มีเหตุผล,ความจำเป็น,ความเหมาะสม และสมควรที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น รับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นไว้เป็นสิทธิของตนหรือไม่

36 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้
วรรค ๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชา ฯลฯ มีคำสั่งว่า ไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวก็ให้.... * คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้ * ต้องส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้เป็นสิทธิ ของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว เมื่อได้ดำเนินการตามความในวรรค ๒ แล้ว ให้ถือว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ดังกล่าวเลย

37 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) ระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า (๒) กรรมการหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือ ของหน่วยงานของรัฐ * ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้น ต่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน (๓) ประธานกรรมการและกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๔) ผู้ดำรงตำแหน่งที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจถอดถอน * ให้แจ้งต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. (๕) ผู้ดำรงตำแหน่ง สส. สว. สมาชิกสภาท้องถิ่น (สก.สจ.สท.อบต.) ให้แจ้งต่อประธานสภา ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นสมาชิก เพื่อดำเนินการวินิจฉัยและมีคำสั่ง

38 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อ ๘ หลักเกณฑ์ ตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับแก่ ผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วไม่ถึง ๒ ปี ด้วย * ข้อสังเกต ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก่อน ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๓) ไม่น่าจะอยู่ในบังคับตามประกาศนี้

39 มาตรา ๑๒๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืน
พ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืน บทบัญญัติ มาตรา ๑๐๐ มาตรา ๑๐๑ หรือมาตรา ๑๐๓ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีความผิดตาม มาตรา ๑๐๐ วรรคสาม หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็น ยินยอมด้วยในการที่ คู่สมรสของตนดำเนินกิจการตาม มาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีความผิด

40 ขอขอบพระคุณ


ดาวน์โหลด ppt การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google