ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยkan keereewan ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts
2
หลักการเขียนนิยาย นิยาย คืออะไร นิยาย ความหมายตามหลักพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ. ศ. 2525 ได้ให้ ความหมายของนิยายไว้ว่า หมายถึง เรื่องที่เล่า ต่อกันมา หมายถึง ความไม่แน่นอนหรือไม่ใช่ ความจริงทั้งหมด มีการแต่งเติมเสริมต่อบางตอน เรื่องราวนั้นจะต่างไปจากชีวิตจริง เช่น เกิดเป็น ลูกสัตว์แล้วมาใช้เวทย์มนต์คาถาให้กลายเป็น มนุษย์ได้ในภายหลัง เป็นต้น
3
จากความหมายของนิทาน ตำนาน นิยาย ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่ามี ความคล้ายคลึงกัน จนบางครั้ง แยกกันไม่ออกและมีนิยาย ตำนาน นิทานพื้นบ้านอยู่มากมาย ในปัจจุบัน เราใช้คำว่านิยายเพื่อเรียกเรื่องราวที่มี ผู้แต่งขึ้น อาจจะอิงหลักความเป็นจริง หรือไม่ก็ตาม นิยายมีหลากหลาย ประเภท หลักการเขียนนิยาย
4
ประเภทของนิยาย 1. นวนิยายรัก ( Romance fiction ) 2. นวนิยายลึกลับ ( Mystery fiction ) 3. นวนิยายสยองขวัญ ( Horror ficti on ) 4. นวนิยายวิทยาศาสตร์ ( Sciences fiction ) 5. นวนิยายมหัศจรรย์ ( Fantasy ficti on) 6. นวนิยายแนวกามารมณ์ ( Erotica fiction) 7. นวนิยายที่สะท้อนปัญหาสังคม ( S ocial problem fiction ) หลักการเขียนนิยาย
5
หลักการเขียนนิยายเบื้อง ต้นฉบับย่อ 8 ขั้นตอน 1. เขียนแนวไหน : เป็นสิ่งแรกที่ทุกคน ควรถามตัวเองก่อนว่าอยากเขียนนิยายแนวไหน เพราะนิยายแต่ละแนวก็มีเสน่ห์ และรูปแบบการ เขียนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแนะนำว่าควรเริ่มต้น เขียนจากแนวที่เราชอบอ่านก่อน เพราะการเขียน จากสิ่งเรารู้และชอบจะเป็นแรงพลังทำให้เขียนต่อ จนจบ 2. แก่นของเรื่อง : เขียนออกมาก่อนว่า แก่นของเรื่องที่ทุกคนอยากจะเล่าคืออะไร เช่น เพื่อความรักพวกเขาจึงยอมฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ หรือ เพราะการตายแบบปริศนาของเพื่อนทำให้ เธอต้องลงมือสืบหาความจริง เป็นต้น 3. โครงเรื่อง : หลังจากได้แก่นของเรื่อง มาแล้ว ก็ต้องนำมาขยายความความต่อว่าจะมี อะไรเกิดขึ้นบ้าง หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว เรื่องราวจะดำเนินต่อไปอย่างไร พร้อมกับสร้างตัว ละคร สถานที่ ด้วย ซึ่งสามารถใช้การอ่านนิตยสาร ดูทีวี เป็นตัวช่วยในการสร้างคาแรคเตอร์ และช่วย บรรยายสถานที่ได้
6
4. ค้นหาข้อมูล : ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ นักเขียนไม่ควรละเลย โดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์ ฯลฯ ยิ่งต้องไปค้นหาข้อมูล ยิ่งเราได้ข้อมูลมาเยอะ เท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ และทำให้เขียนง่าย มากขึ้นเท่านั้น 5. เขียนสรุป : เขียนสรุปเรื่องราวว่าจะมี อะไรเกิดขึ้นในเรื่องนี้บ้าง ซึ่งการเขียนแบบนี้นั้นจะ ช่วยทำให้เวลาลงมือเขียนจริงเรารู้ตัวว่าตอนนี้ กำลังเขียนถึงตอนไหนแล้ว เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ต่อไป ไม่เขียนออกนอกทะเลนอกจากนี้เวลาตรวจ แก้ไขเนื้อเรื่องก็ยังทำได้ง่ายขึ้นด้วย 6. แบ่งเรื่อง : แบ่งเนื้อหาออกเป็นบทที่ 1, 2, 3 ไล่ไปจนจบเรื่อง หลังจากนั้นก็ใส่ รายละเอียดเพิ่มเติมลงไปในแต่ละตอนว่าใครทำ อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และเรื่องราวจะเป็น อย่างไรต่อไป หลักการเขียนนิยายเบื้อง ต้นฉบับย่อ 8 ขั้นตอน
7
7. ลงมือเขียน : เมื่อจัดเตรียมแก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ข้อมูล ฯลฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อย่ารอช้าลงมือเขียน แต่อย่าลืมกำหนดว่าเรื่องนี้ จะให้ใครเป็นคนเล่าเรื่องด้วย และที่สำคัญที่สุด เมื่อเริ่มต้นเขียนแล้วก็ต้องเขียนต่อให้จบด้วย 8. แก้ไข : เมื่อเขียนจบแล้วก็ขอให้ทุกคน พักผ่อนสัก 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากที่ต้องเหน็ด เหนื่อยกับการเขียนมาเป็นเวลานาน เมื่อหาย เหนื่อยแล้วก็กลับมาอ่านสิ่งที่ตัวเองเขียน พร้อม แก้ไข
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.