งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความเท่าเทียม เพื่อเด็กไทยทุกคน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความเท่าเทียม เพื่อเด็กไทยทุกคน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความเท่าเทียม เพื่อเด็กไทยทุกคน
ความเท่าเทียม เพื่อเด็กไทยทุกคน ผลสำรวจที่สำคัญจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย Achieving equity for every children in Thailand Key findings from Multiple Indicator Cluster Survey

2 ประเด็นที่สำคัญ Key issues
ภาวะโภชนาการและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Nutrition status and breastfeeding พัฒนาการของเด็กปฐมวัย Early childhood development การเข้าเรียนในชั้นประถมและมัธยมศึกษา Primary and secondary school attendance การไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ Children not living with father and mother การตั้งครรภ์วัยรุ่น Teen pregnancy ความรู้และทัศนคติต่อเอชไอวี/โรคเอดส์ Knowledge about HIV/AIDS and accepting attitude

3 6. 7% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือประมาณ 2
6.7% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือประมาณ 2.5 แสน คนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ปานกลางและรุนแรง รุนแรง Severe 1.5% 6.7% of children under 5 year-old or about 250,000 children are moderately and severely underweight. ปานกลางและรุนแรง Moderate and severe 6.7% * ภาวะโภชนาการของเด็ก เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นสุขภาพโดยรวมของเด็ก เมื่อเด็กได้รับอาหารเพียงพอ ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ และได้รับการดูแลอย่างดี เด็กจะมีการเจริญเติบโต อย่างสมส่วน และถือว่าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี * * เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ คือ การลดสัดส่วนของผู้ได้รับความทุกข์ทรมานอันเนื่องจากความหิวลงครึ่งหนึ่งระหว่าง พ.ศ การลดลงของความชุกของภาวะโภชนาการ จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดอัตราการตายของเด็ก น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดูได้จากน้ำหนักเทียบกับอายุ เด็กที่มีน้ำหนักเทียบกับอายุต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่า -2 ถือว่ามีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานปานกลางและรุนแรง เด็กที่มีน้ำหนักเทียบกับอายุต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่า -3 ถือว่ามีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานรุนแรง อ้างอิงตามข้อมูลจำนวนประชากร พ.ศ.2558 โดยกรมการปกครอง 6.7% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี = 246,355 คน 1.5% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี = 55,154 คน * เปรียบเทียบข้อมูลจำนวนประชากร พ.ศ จากเว็บไซต์กรมการปกครอง Based on 2015 data from Department of Public Administration

4 10. 5% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือ ประมาณ 3. 9 แสน คน
10.5% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือ ประมาณ 3.9 แสน คน* มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรังปานกลางและรุนแรง ส่วนใหญ่อยู่ใน ภาคใต้ และ ภาคกลาง 11.8% 13.6% 9.8% 8.7% 10.5% of children under 5 year-old in Thailand or about 390,000 children are moderately and severely stunted. จากการสำรวจ มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการเรื้องรังปานกลางและรุนแรง อยู่ในภาคกลางและภาคใต้ คิดเป็นจำนวนประมาณกว่า 9แสนคน ภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง(เตี้ย, แคระแกร็น) ดูได้จากความสูงเทียบกับอายุ เด็กที่มีความสูงเทียบกับอายุต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่า -2 ถือว่าเตี้ยและจัดอยู่ในกลุ่มทุพโภชนาการเรื้อรัง ปานกลางและรุนแรง เด็กมีความสูงเทียบกับอายุต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่า -3 ถือว่าอยู่ในกลุ่มภาวะทุพโภชนาการเรื้อรังรุนแรง อ้างอิงตามข้อมูลจำนวนประชากร พ.ศ.2558 โดยกรมการปกครอง 10.5% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี = 246,355 คน 1.5% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี = 55,154 คน * เปรียบเทียบข้อมูลจำนวนประชากร พ.ศ จากเว็บไซต์กรมการปกครอง Based on 2015 data from Department of Public Administration

5 ผอม อ้วน about 300,000 children about 200,000 children
5.4% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือ ประมาณ 2 แสนคน ผอม 8.2% ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือประมาณ 3 แสนคน อ้วน 5.4% of children under 5 year-old in Thailand or about 300,000 children are overweight. 5.4% of children under 5 year-old in Thailand or about 200,000 children are moderately and severely wasted. ภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน (ผอม) ดูได้จากน้ำหนักเทียบกับความสูง เด็กที่มีน้ำหนักเทียบกับความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่า -2 ถือว่า ผอม และจัดอยู่ในกลุ่มทุพโภชนาการเฉียบพลันปานกลางและรุนแรง เด็กที่มีน้ำหนักเทียบกับความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่า -3 ถือว่าอยู่ในกลุ่มภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันรุนแรง ภาวะทุพโภชนาการเกิน (อ้วน) ดูได้จากน้ำหนักเทียบกับความสูง เด็กที่มีน้ำหนักเทียบกับความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่า +2 ถือว่า อ้วน * เปรียบเทียบข้อมูลจำนวนประชากร พ.ศ จากเว็บไซต์กรมการปกครอง

6 23.1% ของคุณแม่ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก
of children under 6 months received exclusive breastfeeding เป้าหมายยุทธศาสตร์ทางโภชนาการ ปี 2568 จากที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกคือส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงอายุ 0-6 เดือน ให้มีอัตราไม่ต่ำกว่า 50% (ปัจจุบันค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 39% อ้างอิงจากรายงาน World Health Statistics 2016 ขององค์การอนามัยโลก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเลี้ยงดูเด็กด้วยนมแม่ในช่วง 1-2 ปีแรก จะช่วยป้องกันเด็กจากการติดเชื้อ เพราะเด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ประหยัดและปลอดภัย อย่างไรก็ตามมีแม่จำนวนมากหย่านมเด็กเร็วเกินไป และเปลี่ยนไปให้นมผงสำเร็จรูปแก่เด็กแทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจเป็นสาเหตุให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงักและเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากขาดสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก สำหรับการใช้นมผงเลี้ยงดูเด็กอาจไม่ปลอดภัยหากไม่มีน้ำสะอาดใช้ องค์การอนามัยโลก/ยูนิเซฟ กำหนดข้อแนะนำในการเลี้ยงลูก โดยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง 1-2 ปีแรก มีประโยชน์หลายประการ เช่น 1) จะช่วยป้องกันเด็กจากการติดเชื้อ เพราะเด็กได้รับสารอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต 2) ก่อให้เกิดสายใยสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและอารมณ์ระหว่างแม่กับลูก 3) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน องค์การอนามัยโลก กำหนดข้อแนะนำในการเลี้ยงลูก ดังนี้ ให้ลูกกินนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ให้ลูกกินนมแม่ต่อไปเป็นเวลา 2 ปี หรือมากกว่านั้น ให้อาหารเสริมที่ปลอดภัย เหมาะสม และเพียงพอ เมื่ออายุ 6 เดือน

7 42.0% สถานพยาบาลของรัฐ มีอัตราการให้ลูกกินนมแม่
ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอดมากกว่าสถานพยาบาลเอกชน Public health facility has higher rate of infants receiving breastfeeding within first hour of delivery than private health facility. 42.0% 24.8%

8 80.9% สถานพยาบาลของรัฐ มีอัตราการให้ลูกกินนมแม่
ภายในวันแรกหลังคลอดมากกว่าสถานพยาบาลเอกชน Public health facility has higher rate of infants receiving breastfeeding within first day of delivery than private health facility. องค์การอนามัยโลก กำหนดข้อแนะนำในการเลี้ยงลูก ดังนี้ ให้ลูกกินนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ให้ลูกกินนมแม่ต่อไปเป็นเวลา 2 ปี หรือมากกว่านั้น ให้อาหารเสริมที่ปลอดภัย เหมาะสม และเพียงพอ เมื่ออายุ 6 เดือน 80.9% 54.7%

9 34.0% 62.8% แม่มีอัตราการร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้กับลูกมากกว่าคุณพ่อ Mothers engage in activities that promote learning with their children more than fathers. * ช่วงระยะ 3-4 ปี ของชีวิต เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการพัฒนาเร็วที่สุด และการเลี้ยงดูภายในบ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาของเด็กในวัยนี้ ดังนั้น กิจกรรมระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก หนังสือสำหรับเด็กในบ้าน และสภาพการเลี้ยงดูทางบ้าน เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก เป้าหมายของโลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ “ เด็กควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ความคิดอ่านที่ว่องไว มีอารมณ์มั่นคง สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้ และพร้อมที่จะเรียนรู้” * ร้อยละ 92.7 ของเด็กมีสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นผู้ใหญ่ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการเข้าโรงเรียนอย่างน้อย 4 กิจกรรมจาก 6 กิจกรรม โดยพบว่า แม่มีส่วนร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการเข้าโรงเรียนมากกว่าพ่อเกือบ 2 เท่า

10 แม่ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา
มีอัตราการร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้กับลูกมากกว่า แม่ที่ไม่มีการศึกษา Mothers with higher education engage in activities that promote learning with their children than mothers with no education ปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก ระดับการศึกษาของมารดา ในขณะที่เกือบ 9 ใน 10 ของคุณแม่ที่จบการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก มีเพียงแค่ 4 ใน 10 ของคุณแม่ที่ไม่มีการศึกษาที่ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก 88.8% 40.2%

11 ครอบครัวที่ร่ำรวยมาก มีอัตราการร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้กับลูกมากกว่าครอบครัวที่ยากจนมาก
Household in richest quintile engage in activities that promote learning with the children more than household in poorest quintile. 45.6% 24.7% 87.1% 51.9% ปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก ฐานะครอบครัว ครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยมาก มีอัตราการร่วมทำกิจกรรมของพ่อแม่กับลูกมากกว่าครอบครัวที่มีฐานะยากจนมากประมาณ 2 เท่า

12 การเข้าเรียนในระดับปฐมวัย Early childhood education programme attendance
75.4% 94.1% 36-47 เดือน Months 48-59 เดือน Months การพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นรากฐานของการพัฒนามนุษย์ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชน ฉะนั้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ และได้มอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับผิดชอบในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมุ่งพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม และจริยธรรม พบความแตกต่างที่ชัดเจนเมื่อพิจารณาตามอายุของเด็ก ดังนี้ เด็กในช่วงปฐมวัย อายุระหว่าง เดือนส่วนใหญ่ เข้าเรียนในหลักสูตรปฐมวัย แต่เด็กอายุระหว่าง เดือน ยังมีอัตราการเข้าเรียนหลักสูตรปฐมวัยเพียงประมาณ 7 ใน 10

13 อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษา
Primary school attendance การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและการสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาของเด็กทั่วโลก เป็นเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการต่อสู้กับความยากจน การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิง การปกป้องเด็กจากความโหดร้ายและการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานเด็ก รวมทั้งการถูกล่วงละเมิดทางเพศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย การปกป้องสิ่งแวดล้อม และมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของประชากร ในประเทศไทย เด็กเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาเมื่ออายุ 6 ปี และระดับมัธยมศึกษาเมื่ออายุ 12 ปี ทั้ง 2 ระดับนี้แบ่งการศึกษาออกเป็นระดับละ 6 ชั้น (ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ มัธยมศึกษาปีที่ 1-6) โดยปกติ โรงเรียนเปิดภาคการศึกษาในเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดไป สำหรับเด็กวัยเริ่มเข้าเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 6 ปี) ในประเทศไทย พบว่า อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 94.8% แต่มีข้อสังเกตคือ เด็กอายุ 6 ปี มีเพียง 75.7% ที่ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาตามเกณฑ์อายุ ในขณะที่มี 22.5% กำลังเรียนระดับอนุบาล

14 ไม่มีการศึกษา No education
สูงกว่ามัธยมศึกษา Higher education 3.1% 13.1% ระดับการศึกษาของมารดา Mother’s education เด็กตกหล่น Out of school สวัสดี แม่ไม่ได้รับการศึกษา จะมีแนวโน้มที่เด็กจะออกจากโรงเรียนประถมมากกว่าแม่ที่มีการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษา เช่นเดียวกัน ในครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวไม่ได้พูดภาษาไทย จะมีแนวโน้มที่เด็กจะออกจากโรงเรียนประถมมากกว่าครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวพูดภาษาไทย ภาษาพูดของหัวหน้าครัวเรือน Language of household head ภาษาไทย Thai ภาษาอื่น Non-Thai 4.7% 10.4%

15 อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษา
Secondary school attendance อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับมัธยมศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 81% และเป็นที่สังเกตว่าเด็กอายุ 12 ปี ยังมีเพียง 73.6% ที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตามเกณฑ์อายุ โดย 23.9% ยังเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา ข้อสังเกตอีกอย่างคือ แนวโน้มของเด็กที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาลดลงเมื่ออายุของเด็กมากขึ้น

16 การไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ Children not living with father and mother
32.0% 8.7% การไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ Children not living with father and mother ครัวเรือนที่ยากจนมาก Household in poorest quintile ครัวเรือนที่ร่ำรวยมาก Household in richest quintile อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ตระหนักดีว่าเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กอย่างสมบูรณ์และความสมัครสมานสามัคคี เด็กควรจะเติบโตในสภาพครอบครัวที่มีความรักและความเข้าใจกันเพื่อให้เกิดบรรยากาศของความสุข เด็กนับล้านคนทั่วโลกเติบโตโดยไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่จากหลายสาเหตุ รวมทั้งการที่พ่อและแม่ได้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือต้องย้ายที่อยู่เพื่อไปทำงาน โดยส่วนใหญ่เด็กเหล่านี้จะได้รับการดูแลจากสมาชิกอื่น ๆ ของครอบครัว ขณะที่เด็กส่วนที่เหลืออาจจะอาศัยอยู่ในครัวเรือนของคนอื่นหรือเป็นลูกจ้างทำงานบ้าน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของเด็ก รวมทั้งองค์ประกอบของครัวเรือนที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้วยและความสัมพันธ์ของพวกเขากับผู้ดูแลหลัก เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดมาตรการเข้าไปแทรกแซงโดยมุ่งหวังให้การสนับสนุนดูแลและความอยู่ดีกินดีของเด็ก ครอบครัวที่มีฐานะยากจนมาก จะมีแนวโน้มที่เด็ก ๆ จะไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่ (ทั้งที่พ่อและแม่ยังมีชีวิตยู่) มากกว่าครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยมาก

17 อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
Teen pregnancy ภาคเหนือ Northern 72 คนต่อ1,000 คน 72 per 1,000 women 51 คนต่อ 1,000 คน 51 per 1,000 women ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ สูงกว่ามัธยมศึกษา 3 คนต่อ1,000 คน แยกตามระดับการศึกษา สูงกว่ามัธยมศึกษา ประถมศึกษา 3 คน ต่อ 1,000 คน 3 per 1,000 women 104 คน 104 National average อัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 51 คนต่อ 1,000 คน แต่กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคเหนือ ซึ่งมีอัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ อยู่ที่ 72 คนต่อ 1,000 คน และ กลุ่มเด็กวัยรุ่นหญิงที่ไม่มีการศึกษา ซึ่งมีอัตราการตั้งครรภ์สูงถึง 104 คนต่อ 1,000 คน ประถมศึกษา 104 คนต่อ1,000 คน

18 เอชไอวี/โรคเอดส์ HIV/AIDS มีเพียงประมาณ ครึ่งหนึ่ง (49%) ของหญิงและชายอายุ ปีที่เคยได้ยินเกี่ยวกับโรคเอดส์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีเป็นอย่างดี Only half (49%) of male and female aged years old who have heard of AIDS have comprehensive knowledge about HIV หนึ่งในตัวชี้วัดที่เป็นตัวชี้วัดของ MDG และ GARPR (เดิมคือ UNGASS) คือ ร้อยละของผู้ที่อายุยังน้อยที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีและถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและการแพร่เชื้อเอชไอวี นั่นคือ 1) ทราบว่าการใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์และมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองที่ไม่ติดเชื้อและซื่อสัตย์เพียงคนเดียวสามารถลดการติดเชื้อเอชไอวีได้ 2) ทราบว่าผู้ที่ดูว่ามีสุขภาพดีอาจมีเชื้อเอชไอวีได้ และ 3) มีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่เชื้อที่มักเข้าใจผิดทั้ง 2 ข้อ ที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักเข้าใจผิด คือ สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีจากการถูกยุงกัดและการรับประทานอาหารร่วมกับคนเป็นเอดส์

19 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี
แยกตามระดับการศึกษา และ ภาษาพูดของหัวหน้าครัวเรือน Knowledge about HIV By education and language of household head มัธยมศึกษาขึ้นไป ไม่มีการศึกษา 64.0% 62.6% 10.6% 14.8% สวัสดี ผู้ที่ได้รับการศึกษาตั้งแต่มัธยมขึ้นไปจะมีแนวโน้มที่จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีเป็นอย่างดีมากกว่า (มากกว่า 50% สำหรับการศึกษาระดับมัธยม และมากกว่า 60% สำหรับการศึกษาสูงกว่ามัธยม) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา และครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนพูดภาษาไทย จะมีแนวโน้มที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีเป็นอย่างดีมากกว่าครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนไม่ได้พูดภาษาไทย ภาษาไทย ภาษาอื่น 51.1% 50.7% 24.5% 24.6%

20 ขอบคุณ Thank you


ดาวน์โหลด ppt ความเท่าเทียม เพื่อเด็กไทยทุกคน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google