ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ขั้นตอน/แนวทาง/วิธีปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงาน
กองวิศวกรรม กรมเจ้าท่า
2
คำนำ ด้วยกองวิศวกรรม กรมเจ้าท่า มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของกรมเจ้าท่าซึ่งมีลักษณะงานหลายประเภทได้แก่ งานโยธาทั่วไป งานวิศวกรรมแม่น้ำ และวิศวกรรมทางทะเล และเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามภารกิจหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามหลักวิชาช่างและระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นกองวิศวกรรมจึงได้จัดทำ ” ขั้นตอน/แนวทาง/วิธีปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงาน” ให้เจ้าหน้าที่ของกองวิศวกรรม ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติใน การควบคุมงาน/คุณภาพงาน ให้ถูกต้องตามรูปแบบ/สัญญา/ได้มาตรฐานเป็นไปตามหลักวิชาการ และเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการพัฒนา เพื่อยกระดับมาตรฐานงานตามภารกิจ ให้มีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักวิชาการ “ขั้นตอน/แนวทาง/วิธีปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงาน” ประกอบไปด้วย บทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน การเตรียมเอกสารใน การปฏิบัติหน้าที่ ขั้นตอนปฏิบัติงานการควบคุมงาน การรายงานการจัดทำเอกสาร และการบริหารสัญญา คณะทำงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ขั้นตอน/แนวทาง/วิธีปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงาน” นี้จะช่วยให้ผู้ควบคุมงาน ใช้เป็นแนวทางดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป คณะทำงาน KM เมษายน 2558
3
1.1 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานตามระเบียบฯ
บทที่ 1 1.1 หน้าที่ของผู้ควบคุมงานตามระเบียบฯ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 73 ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ดังนี้ (1) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวัน ให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่าง เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที (2) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด หรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่า ถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะ ไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว (3) จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผล การปฏิบัติงาน หรือการหยุดงาน และสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ให้ระบุรายละเอียดขั้นตอน การปฏิบัติงาน และวัสดุที่ใช้ด้วย (4) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด ให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วัน ทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ จะเห็นว่าผู้ควบคุมงานจะต้องอยู่ดูแลงานก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้างทุกวัน มีการจดบันทึกรายงานประจำวัน และรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ ซึ่งการกำกับดูแลของผู้ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด จะส่งผลดีต่อการก่อสร้าง สามารถที่จะให้คำปรึกษา แนะนำรวมถึงการตัดสินใจต่อสภาพปัญหาหน้างาน ที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของแบบแปลน รายการก่อสร้าง สภาพพื้นที่ก่อสร้าง ปัญหาด้านสาธารณูปโภค หรือปัญหาอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้งานก่อสร้างลุล่วงไปด้วยดี ลดข้อขัดแย้ง ระหว่างผู้รับจ้างกับผู้ว่าจ้างได้
4
1.2 คุณสมบัติที่ดีของผู้ควบคุมงาน
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามระเบียบฯ และกฎหมายแล้ว ผู้ควบคุมงานที่ดี จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1.2.1 เป็นผู้ที่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ด้านงานก่อสร้างเป็นอย่างดี โดยควรจะมีพื้นฐานการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือเทคนิคงานก่อสร้าง เคยผ่านการควบคุมงานต่างๆ มาแล้ว ซึ่งจะมีส่วนให้งานก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ 1.2.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ เนื่องจากงานก่อสร้างมีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ผู้ควบคุมงานเป็นเสมือนหนึ่งศูนย์กลาง การขับเคลื่อนการทำงาน จำเป็นต้องติดต่อประสานงาน และแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เกิดความราบรื่นในการทำงาน 1.2.3 มีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีในการทำงาน โดยที่งานก่อสร้างที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน และเกี่ยวข้องกับบุคลากรต่างๆ หลายประเภท จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีแนวคิดในเชิงบวก มองโลกในแง่ดี และมีการแสดงออกอย่างสุภาพชน 1.2.4 มีความวิริยะและอุตสาหะ เนื่องจากการควบคุมงานต้องปฏิบัติตามระเบียบฯพัสดุ และประจำอยู่ ณ สถานที่ก่อสร้าง และจดบันทึก การปฏิบัติงานทุกวันอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบความคืบหน้าของงานเป็นระยะๆ 1.2.5 มีความรับผิดชอบสูง งานก่อสร้างแต่ละโครงการอาจส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น ผู้ควบคุมงานจึงต้องให้ความสำคัญและตระหนักในความรับผิดชอบต่อราชการและประชาชน ไม่ปล่อยปละละเลย ให้งานเกิดความเสียหาย 1.2.6 มีการทำงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ผู้ควบคุมงานและผู้รับจ้าง มักจะมีคำครหาในทางลบบ่อยครั้ง และผู้ควบคุมงานจะตกเป็นจำเลย ในกรณี ที่งานเกิดความเสียหายอาจจะต้องรับผิดชอบตามระเบียบของทางราชการ และไม่ได้รับการยอมรับจากภาคสังคมด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าว กระบวนการควบคุมงานจึงต้องมีการดำเนินการทั้งด้านเอกสาร และหลักฐานประกอบ สรุป “มีความรู้ คู่คุณธรรม”
5
1.3 ข้อควรปฏิบัติของผู้ควบคุมงาน
นอกจากผู้ควบคุมงานจะมีอำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จะทำงานให้บรรลุ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1.3.1 ต้องมีความยินดี และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการที่จะทำให้งานเสร็จลุล่วงถูกต้องตามรูปแบบและรายการ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยยึดถือหลักที่ว่าให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด และเป็นวิธีการที่ถูกต้อง รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย 1.3.2 ต้องไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทนจากผู้รับจ้าง หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับงานที่ควบคุมอยู่ โดยยึดหลัก ความถูกต้องตามแบบแปลน และรายการประกอบแบบแนบท้ายสัญญา 1.3.3 ไม่แสดงความเห็น หรือออกความเห็นขัดแย้งกันเองระหว่างผู้ควบคุมงานต่อหน้าผู้รับจ้าง ซึ่งจะทำให้ทีมงานถูกลดความน่าเชื่อถือได้ 1.3.4 ตรวจสอบการทำงานของผู้รับจ้างเป็นระยะๆ หากตรวจพบข้อบกพร่อง หรือข้อผิดพลาด จะต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างรีบทำการแก้ไขในทันทีตั้งแต่แรก เพื่อป้องกันการสูญเสียวัสดุ ค่าแรง และเสียเวลาโดยไม่จำเป็น อีกทั้งเป็น การสื่อให้ผู้รับจ้างได้รับรู้ถึงมาตรฐานการตรวจสอบผลงานจ้าง ของผู้ควบคุมงานด้วยว่าทำแบบไหนจะผ่าน หรือไม่ผ่าน ผู้รับจ้างจะได้หาวิธีการ ปรับปรุงแก้ไขงานให้เป็นไปตามรูปแบบ ต่อไป 1.3.5 การสั่งหยุดงาน การไม่อนุมัติให้ทำงาน หรือการไม่ยอมรับงาน (Reject) จะต้องมีเหตุผลและได้ผ่านการไตร่ตรองแล้วอย่างรอบคอบ และต้องชี้แจงถึงสาเหตุของการสั่งดังกล่าวให้ผู้รับจ้างเข้าใจ และยอมรับในข้อสั่งการดังกล่าวจากการชี้แจง หรือแสดงหลักฐานอ้างอิงพร้อมรายงานสรุปให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบโดยเร็ว 1.3.6 ไม่หน่วงเหนี่ยวการตรวจสอบงานก่อสร้าง หรือการตรวจสอบวัสดุ หรือดำเนินการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ซึ่งจะทำให้งานหยุดชะงักโดยไม่จำเป็น สรุป”สุภาพ ตามสัญญา”
6
1.4 บทบาทของผู้ควบคุมงาน
ในการก่อสร้างโครงการใดๆ ก็ตาม จะสามารถสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายได้ก็ต่อเมื่อ ได้รูปแบบก่อสร้างที่สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่ (ไม่ต้องแก้แบบ หรือหยุดงาน) ได้ผู้ควบคุมงานที่ดี มีความรู้ความสามารถ ได้ผู้รับจ้างที่มีคุณภาพ (จากการคัดเลือกจัดชั้นงานผู้ที่จะมาซื้อแบบ ก่อนการประมูลจ้าง) แบบก่อสร้างเหมาะสม ผู้ควบคุมงานที่มีความสามารถ ผู้รับจ้างที่มีคุณภาพ ผลงานดี-ดีมากแน่นอน ผู้รับจ้างไม่มีคุณภาพ ผลงานดี ผู้ควบคุมงานที่ไม่มีความสามารถ ผู้รับจ้างที่มีคุณภาพ พอรับได้ -ผลงานดี ผู้รับจ้างไม่มีคุณภาพ ผลงานไม่ดีแน่นอน สรุป จากผังแสดงขั้นตอนการเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบก่อสร้าง ผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง ล้วนมีส่วนสำคัญที่ทำให้การก่อสร้าง มีความสำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมาย แต่การที่กรมเจ้าท่ามีผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถ จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะควบคุมให้งานออกมาสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายได้ แม้ว่ารูปแบบก่อสร้างจะไม่เหมาะสม และผู้รับจ้างที่ไม่มีคุณภาพก็ตาม
7
การเตรียมตัวศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมงาน
บทที่ 2 การเตรียมตัวศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมงานนั้น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานของโครงการนั้นๆ อย่างถ้วนถี่ เพื่อที่จะได้ควบคุมตรวจสอบ กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และแนะนำให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างได้ตามรูปแบบรายการ และข้อกำหนดตามสัญญาจ้าง ดังนั้น เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงานแล้ว จะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทำหน้าที่ โดยการจัดหา และจัดทำเอกสารต่างๆ ดังนี้ 2.1 สัญญาจ้าง สัญญาจ้างถือเป็นเอกสารหลัก ซึ่งคู่สัญญาคือผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง จะต้องปฏิบัติตาม โดยผู้ควบคุมงานจะต้องศึกษาให้เข้าใจให้ถี่ถ้วนชัดเจน เพื่อจะได้นำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 2.2 แบบก่อสร้างและเอกสารประกอบแบบ ผู้ควบคุมงานต้องศึกษารายละเอียดแบบแปลน รวมถึงเอกสารประกอบอื่นๆ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบ และรายละเอียดประกอบรวมถึงเจตนารมณ์ของการออกแบบ เพื่อวางแผนวิธีการที่จะดำเนินการควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบแปลน อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่จะอาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการแก้ไข ตลอดจนผลกระทบ ทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างด้วย ถ้าเป็นไปได้ให้ประสานผู้ออกแบบ เพื่อขอแบบก่อสร้างในรูปของ AutoCAD file เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการนำมาใช้เพื่อถอดแบบ แก้ไขปรับปรุงแบบ หรือมาขึ้นรูป Sketch Up เป็นต้น ตัวอย่างขึ้นรูป Sketch Up
8
ผู้ว่าจ้าง 2.3 ทำ check list
เมื่ออ่านทำความเข้าใจในสัญญาจ้าง และเอกสารประกอบแนบท้าย ได้แก่ แบบ และรายการประกอบแบบแล้ว จะต้องจัดทำสรุปรายการที่ผู้รับจ้างต้องดำเนินการตามข้อกำหนดในรูปแบบและรายการประกอบแบบ ในแต่ละขั้นตอนก่อนการดำเนินการก่อสร้าง (check list) ซึ่งต้องมีการเสนอเอกสาร หลักฐาน และ/หรือดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้นตอนการทำงาน เมื่อขออนุมัติ/เห็นชอบ/หรือแจ้งให้ทราบ ก่อนเพื่อใช้ Check list ที่จัดทำ ไว้ติดตามงานด้านเอกสารต่างๆ ของผู้รับจ้างที่ต้องดำเนินการระหว่างการก่อสร้าง และก่อนส่งงาน เช่นการขออนุมัติใช้ และการสุ่มทดสอบคุณภาพวัสดุ เป็นต้น ผู้ว่าจ้าง ตัวอย่าง check list
9
รายการประกอบแบบ 1. เพิ่มงานสำรวจ
2.4 ตรวจสอบใบแจ้งปริมาณงานและราคา (BOQ) ด้วยการตรวจวัดผลงานที่ส่งมอบในแต่ละงวด คิดคำนวณมูลค่างานจากปริมาณงานที่แล้วเสร็จจริง และใช้ราคาต่อหน่วยตามแบบใบแจ้งปริมาณงานและราคาที่แนบท้ายสัญญา ดังนั้นในอันดับแรกก่อนเริ่มงานก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบปริมาณงาน BOQ ตามสัญญากับรูปแบบและสภาพหน้างานจริงว่าถูกต้องหรือไม่ และกรณีหากพบว่าปริมาณงานตาม BOQ ตามสัญญาไม่ตรงกับแบบให้สรุปผลการตรวจสอบหรือกรณีมีข้อผิดพลาดในการคูณหรือรวมตัวเลขผิด ต้องดำเนิน การแก้ไขโดยทำตัวคูณคงที่ (Factor) ปรับแก้ค่างานจากการคูณผิด หรือรวมผิด จากนั้นก็นำมูลค่างานของแต่ละงานมา x Factor อำนวยการ+กำไร+ภาษี และแสดงเป็นร้อยละของแต่ละงานเมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาปรับแก้ไขปริมาณงานให้ถูกต้องต่อไป รายงานให้คณะกรรมการ เพื่อเตรียมใช้ในการตรวจสอบแผนงานที่ผู้รับจ้างจะเสนอมา และใช้ในงานคิดคำนวณมูลค่างานจากปริมาณงานที่แล้วเสร็จจริง ในการส่งงานในแต่ละงวด รายการประกอบแบบ 1. เพิ่มงานสำรวจ
10
ขั้นตอนปฏิบัติในการควบคุมงาน
บทที่ 3 ขั้นตอนปฏิบัติในการควบคุมงาน 3.1 การประชุม 3 ฝ่ายก่อนเริ่มงาน (kick off meeting) ก่อนเริ่มงานก่อสร้าง ควรที่จะมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย เป็นการซักซ้อมเข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงาน การเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญารวมถึงทำความคุ้นเคยแนะนำตัวรู้จักกันก่อนเริ่มงาน ระหว่างคณะกรรมการตรวจ การจ้าง ผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง เพื่อชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นของงานนั้นๆ เช่น รูปแบบที่จะดำเนินการ ระยะเวลาก่อสร้าง กำหนดเริ่มต้นสัญญา กำหนดแล้วเสร็จ ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน เป็นต้น ทั้งนี้รวมถึงการขอรับทราบนโยบาย คำปรึกษาแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป 3.2. ขออนุมัติเดินทางไปไปปฏิบัติราชการควบคุมงาน เมื่อผู้ควบคุมงานจะออกไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานที่ก่อสร้างจะต้องทำคำสั่งขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติราชการให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยแจ้งประสานผู้รับจ้าง ให้ทำหนังสือแจ้งเข้าดำเนินการก่อสร้างตามสัญญา (กรณีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ติดต่อ) เพื่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง ใช้ประกอบทำหนังสือขออนุมัติให้ผู้ควบคุมงานออกเดินทางไปไปปฏิบัติราชการควบคุมงานในพื้นที่ ตามได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ในการร่างหนังสืออนุมัติเดินทางไปไปปฏิบัติราชการควบคุมงาน จะต้องคำนึงถึง ระยะเวลาปฏิบัติงานเช่นสัญญาที่ควบคุมงานไม่เกินหนึ่งปี และสัญญาที่เกินหนึ่งปี เพื่อผู้ควบคุมงานจะได้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงการคลังกำหนด ต่อไป 3.3. การเข้าสู่พื้นที่ควบคุมงาน เมื่อได้รับหนังสืออนุมัติให้เดินทางไปไปปฏิบัติราชการควบคุมงานแล้ว สิ่งที่ควรกระทำในลำดับต่อไป คือการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ร่วมกับตัวแทนของผู้รับจ้าง เพื่อประสานวิธีการและขั้นตอนการก่อสร้างเบื้องต้น โดยนำ check list ที่จัดเตรียมไว้ให้แก่ผู้แทนผู้รับจ้างเพื่อไว้ติดตามงานด้านเอกสารต่างๆ ของผู้รับจ้างที่ต้องดำเนินการ ในการนี้ควรมีการประสานงานกับผู้รับจ้างให้จัดเตรียมสิ่งต่างๆ ไว้ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง เช่น สำนักงานชั่วคราว เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ หรือจัดหาพาหนะรถยนต์ที่จะใช้ในการควบคุมงาน เป็นต้น 3.4. การตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง สิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้ควบคุมงานต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เมื่อเริ่มเข้าควบคุมงานคือการตรวจสอบ ก่อสร้าง โดยวางแนว วางผัง สำรวจสภาพภูมิประเทศ และนำมาเปรียบเทียบกับแบบก่อสร้างที่ได้รับมา และศึกษารายละเอียดในเบื้องต้นไว้แล้วว่า มีความถูกต้องตรงกันหรือไม่ เมื่อได้ทำการตรวจสอบแล้ว หากสภาพภูมิประเทศจริง ณ ปัจจุบันมีความแตกต่างกับที่ปรากฏในแบบอย่างชัดเจน หรือกรณีการสำรวจวางแนวก่อสร้างเขื่อนพบว่าแนวก่อสร้างไม่เหมาะสม เช่น ลุกล้ำลำน้ำ, ระดับเขื่อน (สูง/ต่ำ) เกินไป และรวมตัวกรณีการตรวจสอบพบมีรายการใดซึ่งไม่ตรงกับ แบบก่อสร้าง ซึ่งเห็นว่าจะเป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาได้ ให้ประสานผู้รับจ้าง ร่วมกันทำหนังสือรายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง (ผ่านผู้ควบคุมงาน) เพื่อพิจารณาหาแนวทางและไขปัญหาโดยเร็ว ต่อไป
11
3.5 การตรวจสอบแผนการดำเนินงานของผู้รับจ้าง
ในการดำเนินงานก่อสร้าง จำเป็นต้องเสนอแผนงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การติดตามผลดำเนินงาน การตรวจสอบ ประเมินผล และเร่งรัดงาน ให้ดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายภายในกำหนดเวลา ดังนั้น การวางแผนงานการก่อสร้างจึงต้องทำด้วยความรอบคอบ สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงาน โดยผู้รับจ้างจะเป็นผู้เสนอแผนเพื่อขออนุมัติใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก่อนเริ่มงานก่อสร้าง และต้องไม่เกิน 30 วัน หลังลงนามในสัญญา ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือผู้ควบคุมงาน จะต้องตรวจสอบแผนงานที่ผู้รับจ้างเสนอมา (Progress Chart) ที่แสดงความก้าวหน้าของผลงานในแต่ละเดือน โดยการตรวจสอบอ้างอิงกับสัญญา รูปแบบขั้นตอน การก่อสร้าง และบัญชีแสดงใบแจ้งปริมาณงานและราคาที่ได้ตรวจสอบไว้แล้ว (ตามข้อ 2.4) ดังนี้ ตรวจสอบปริมาณงานแต่ละรายการ ว่าถูกต้องตรงกับแบบและใบแจ้งปริมาณงานและราคาหรือไม่ ตรวจสอบความถูกต้องของราคาต่อหน่วย ราคารวมของงานแต่ละรายการและราคาค่าก่อสร้างรวม ซึ่งต้องตรงกับราคาก่อสร้างตามสัญญา ตรวจสอบแผนการปฏิบัติงานของแต่ละรายการ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับลำดับขั้นตอนก่อนหลังของขั้นตอน การทำงาน เช่น การหล่อเสาเข็มจะเริ่มสั่งหล่อได้ก็ต่อเมื่อได้ทำงาน Resistivity หรือ เจาะสำรวจดินก่อนแล้วเท่านั้น เมื่อถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาก่อสร้างตามแผนดำเนินงานก่อสร้าง แผนงานที่วางไว้จะต้องไม่น้อยกว่า 15% ของค่างานก่อสร้าง (ที่มา : ตามประกาศกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีที่ 256/2550 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2550 ข้อ 7. ระบุว่าผู้รับจ้างที่เป็นคู่สัญญากับกรมฯ และมีผลงานไม่ถึงร้อยละสิบห้าของงานทั้งหมด เมื่อเวลาล่วงเลยไปเกินหนึ่งในสอง ของระยะเวลาตามสัญญา โดยมีสาเหตุเกิดจากผู้รับจ้าง จะตกเป็นผู้ขาดคุณสมบัติผู้เสนอราคา) หากตรวจสอบแล้วพบ ความผิดพลาดบกพร่อง หรือความไม่สมเหตุสมผลให้ประสานงานกับผู้รับจ้าง เพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงอนุมัติให้นำมาใช้งานได้ ต่อไป ตัวอย่าง Progress Chart
12
3.6 การจัดเตรียมสำนักงานชั่วคราวและอุปกรณ์ประกอบ
สำนักงานชั่วคราว เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องจัดสร้างหรือจัดหา (อย่างช้าต้องก่อนส่งงานงวดที่ 1) เพื่อให้เป็นไปตามที่ระบุในรายการประกอบแบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติ ผู้ควบคุมงานต้องพิจารณาสถานที่ตั้งให้อยู่ในที่เหมาะสมหากเป็นไปได้ควรอยู่ในบริเวณก่อสร้าง เพื่อความเหมาะสมสะดวกในการใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน และผู้ที่จะมาติดต่อ ภายในสำนักงานชั่วคราวต้องมีพื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ ครุภัณฑ์ (คอมพิวเตอร์/พริ้นเตอร์) ห้องน้ำพร้อมสุขภัณฑ์ และต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดเอกสารต่างๆจัดเตรียมไว้ เช่น แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ก่อสร้าง รูปแบบ แสดงรายละเอียดการก่อสร้าง แผนงาน และผลการก่อสร้าง รูปถ่ายแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน เอกสารสัญญา รายการประกอบแบบ เป็นต้น ในการจัดทำรายละเอียดเอกสารดังกล่าว ควรคำนึงถึงขนาด ตำแหน่งการติดตั้ง วัสดุสีสันที่ใช้ให้เหมาะสมสวยงามเป็นระเบียบด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือผู้มาตรวจเยี่ยมชมโครงการได้พบเห็นเป็นสิ่งแรก หากมีความพร้อม จะเป็นการสร้างความประทับใจและความรู้สึกที่ดี อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจ รวมทั้งการเอาใจใส่ ในหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้างได้เป็นอย่างดี สำหรับการจัดเตรียมสำนักงานชั่วคราว และอุปกรณ์ประกอบการควบคุมงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ผู้ควบคุมงานต้องควบคุมสั่งการให้ผู้รับจ้างดำเนินการให้ถูกต้อง ครบถ้วนก่อนเป็นอันดับแรก อย่างเคร่งครัดในกรณีที่ ผู้รับจ้าง ไม่ปฏิบัติตามให้ผู้ควบคุมงานดำเนินการตามมาตรการที่กองวิศวกรรมกำหนดไว้อย่างจริงจังด้วย
13
3.7 ป้ายโครงการ และป้ายเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย
ในระหว่างการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานจะต้องให้ผู้รับจ้างติดตั้งป้ายต่างๆบริเวณสถานที่ก่อสร้าง ดังนี้ ป้ายโครงการตามแบบป้ายมาตรฐานในการก่อสร้างของทางราชการเพื่อ เป็นการแจ้งให้ทราบถึงหน่วยงานเจ้าของโครงการ ผู้รับจ้าง ลักษณะงาน ชื่อโครงการ ระยะเวลาแล้วเสร็จ มูลค่าก่อสร้าง และชื่อผู้ควบคุมงาน เป็นต้น ป้ายและเครื่องหมายจราจรที่ใช้เพื่อความปลอดภัย และป้ายแจ้งเตือนต่างๆ หากบริเวณสถานที่ก่อสร้างอยู่ในที่ชุมชน ควรให้ผู้รับจ้างจัดทำป้ายและเครื่องหมายจราจรเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ โดยจะต้องพิจารณาว่าควรติดตั้งป้ายชนิดใดบ้าง และจะต้องคำนึงถึงตำแหน่งการติดตั้งที่ให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้เพิ่มความระมัดระวัง ก่อนถึงจุดที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ นอกจากป้ายโครงการป้ายและเครื่องหมายจราจรที่ใช้เพื่อความปลอดภัยแล้วในโครงการที่มีรูปแบบ ที่ซับซ้อน และ/หรือ เป็นโครงการขนาดใหญ่อาจกระทบกับชุมชน กำหนดให้ต้องมีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการซึ่งจะ เป็นป้ายแสดงรูปแบบโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ (สามมิติ) เพิ่มเข้ามาด้วย ตัวอย่างป้ายเครื่องหมาย และอุปกรณ์
14
ตัวอย่างป้ายโครงการ ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 1.20 x 2.40 เมตร
15
3.8 การประชาสัมพันธ์โครงการ
ในกรณีงานจ้างเหมา กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ก่อสร้าง จะต้องประสานกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อขอความอนุเคราะห์ ในการแจ้งผู้นำชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ เพื่อเข้าร่วมรับฟังการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูล ขั้นตอนวิธีการ แผนงานก่อสร้าง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานก่อสร้างตามสัญญา โดยนำเสนอในรูปแบบของ PowerPoint เอกสารแผ่นพับ หรืออื่นๆตามความเหมาะสมของแต่ละงาน กรณีสัญญาจ้างไม่ระบุให้จัดประชาสัมพันธ์ ผู้ควบคุมงาน ควรต้องเข้าชี้แจงรายละเอียดโครงการ ให้ผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เทศบาล และประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างได้ทราบรายละเอียดงานที่จะดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ภารกิจหน้าที่ ของกรม รวมทั้งลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ
16
ตัวอย่างป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.40 x 3.60 เมตร
17
ผังแสดงขั้นตอนปฏิบัติในการควบคุมงาน
ศึกษารายละเอียด สัญญาก่อสร้างและแบบแปลน/รายการประกอบต่างๆ ผังแสดงขั้นตอนปฏิบัติในการควบคุมงาน เสนอกำหนดประชุมร่วม 3 ฝ่าย ก่อนเริ่มงาน (Kick off meeting) ตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง สำรวจสภาพประเทศ/ตรวจสอบปริมาณงาน รายงานปัญหาอุปสรรค พบปัญหา แก้ไขสัญญา/แก้แบบหรือ เปลี่ยนแปลงพื้นที่ดำเนินการ ไม่พบปัญหา ดำเนินการก่อสร้าง เหตุสุดวิสัย เกิดเหตุ ไม่เกิดเหตุ ตรวจสอบงานก่อสร้าง ตามรายละเอียดงวดงาน
18
การรายงานและจัดทำเอกสาร
บทที่ 4 การรายงานและจัดทำเอกสาร 4.1 รายงานความก้าวหน้าของงาน (รายงานประจำวัน) การปฏิบัติควบคุมงาน ผู้ควบคุมงานจะต้องตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในแต่ละวันร่วมกับผู้รับจ้าง โดยจดบันทึกรายงานความก้าวหน้า ของงานต่างๆที่ดำเนินการในแต่ละวัน โดยอ้างอิงจากแบบใบแจ้งปริมาณงาน และราคาที่แนบท้ายสัญญา พร้อมเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน เช่น สภาพอากาศมีฝนตกหนัก,ระดับน้ำขึ้นสูง เป็นต้น พร้อมจัดทำเป็นรายงานประจำวัน เพื่อรวบรวมรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง ทราบ ดังนี้ รายงานประจำสัปดาห์เป็นการสรุปผลงานที่ดำเนินการได้ในรายงานประจำวัน นำมาสรุปรวบรวม เป็นความก้าวหน้าการปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์ ประกอบด้วย - บันทึกข้อความนำส่ง - รายงานประจำวัน (วันจันทร์-วันอาทิตย์ ยกเว้นสัปดาห์แรกให้เริ่มวันที่ผู้รับจ้างเข้างาน-วันอาทิตย์) ต้องจัดส่งรายงานประจำสัปดาห์ โดยมีการลงรับตามระเบียบสารบรรณไม่เกินวันศุกร์ ของสัปดาห์ต่อไป - รายงานต้นฉบับ 1 ชุด ส่งให้ประธานกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อทราบ - สำเนาไว้ 2 ชุด สำหรับผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานร่วมกัน รายงานประจำงวด ผู้ควบคุมต้องสรุปผลปฏิบัติงานเป็นร้อยละเทียบกับกับแผนงานทุก 15 วันใน Google ชีต เพื่อกรมฯไว้พิจารณาผู้ขาดคุณสมบัติผู้เสนอราคา ตามประกาศกรมฯที่ 256/2550 เรื่องเกณฑ์การพิจารณาผู้ขาดคุณสมบัติผู้เสนอราคา (แจ้งรายงานใน Mail ของผู้ควบคุมงาน)
19
ตัวอย่างรายงานประจำวันของงานวิศวกรรมแม่น้ำ และงานโยธาทั่วไป
ปริมาณงานที่แล้วเสร็จ -สะสม(ยกมา) -ทำได้/วัน -สะสม(ยกไป) -หมายเหตุ ปริมาณงานที่ต้องทำ -หัวข้อรายละเอียดงาน -ปริมาณงานตาม BOQ. -หน่วย -จำนวนเครื่องมือ/เครื่องจักร -จำนวนบุคลากร -ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ -เวลาปฏิบัติงาน -สภาพอากาศกลางวัน -สภาพภูมิประเทศแม่น้ำ (ระดับน้ำ/ระดับก่อสร้าง) -ผู้รับจ้าง /ทราบ -ผู้ควบคุมงานกรมฯ/บันทึก กรณีคุมงานหลายที่ ให้มี บันทึก/ทราบ Front ในรายงานประจำวันควรใช้ TH SarabunPSK
20
Front ในรายงานประจำวันควรใช้ TH SarabunPSK
ตัวอย่างรายงานประจำวันของงานวิศวกรรมทางทะเล ปริมาณงานที่ต้องทำ -หัวข้อรายละเอียดงาน -ปริมาณงานตาม BOQ. -หน่วย ปริมาณงานที่แล้วเสร็จ -สะสม(ยกมา) -ทำได้/วัน -สะสม(ยกไป) -หมายเหตุ -จำนวนเครื่องมือ/เครื่องจักร -จำนวนบุคลากร -ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ -เวลาปฏิบัติงาน -สภาพอากาศกลางวัน/กลางคืน -สภาพภูมิประเทศทะเล (ความสูงของคลื่น) -ผู้รับจ้าง /ทราบ -ผู้ควบคุมงานกรมฯ/บันทึก กรณีคุมงานหลายที่ ให้มี บันทึก/ทราบ Front ในรายงานประจำวันควรใช้ TH SarabunPSK
21
รายงานประจำเดือน เป็นการสรุปผลงานที่ดำเนินการในช่วงเดือนที่ผ่านมาซึ่งรายละเอียดจะคล้ายคลึงกับการรายงานผลงานประจำสัปดาห์ จะต่างกันเพียงว่าการรายงานผลงานประจำเดือนจะมีแผนงาน Progress Chart แสดงผลการปฏิบัติงาน ช้าหรือเร็วกว่าแผน โดยรวบรวมเข้าเล่มจัดส่งเป็นรายงานประจำเดือน ประกอบด้วย - บันทึกข้อความนำส่ง - หน้าปกรายงาน พร้อมรายละเอียดโครงการ - ความก้าวหน้าเอกสารที่ดำเนินการ (check list ) - ผลความก้าวหน้าการปฏิบัติงาน (PROGRESS CHART) - สรุปรายงานผลการประชุมร่วมกัน (ถ้ามี) - รายงานผลด้านความปลอดภัย (ถ้ามี) - ภาพถ่าย การปฏิบัติงานก่อสร้าง - สำเนารายงานประจำวัน (ถ่ายจากสำเนารายงานประจำวัน ทุกสัปดาห์ที่เก็บไว้ โดยไม่ต้องทำขึ้นใหม่) - เอกสารอื่นๆ เช่น สำเนาหนังสือเร่งรัดงาน เป็นต้น ต้องจัดส่งรายงานประจำเดือน โดยมีการลงรับตามระเบียบสารบรรณไม่เกินวันที่ 10 ของเดือนถัดไป - รายงานต้นฉบับ 1 ชุด ส่งให้ประธานกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อทราบ - สำเนารายงาน แจ้งให้กรรมการฯทุกท่าน เพื่อทราบ - สำเนาไว้อีก 2 ชุด สำหรับผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานร่วมกัน ตัวอย่างหน้าปกรายงาน พร้อมรายละเอียดโครงการ
22
4.2 การวัดปริมาณงาน และตรวจสอบผลงาน
ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานที่แล้วเสร็จจริง ก่อนส่งงานในแต่ละงวด ควรทำแบบฟอร์มใบแจ้ง การตรวจสอบงานให้เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ระหว่างผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง (ใบ request) เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงใน การตรวจสอบงานร่วมกัน และเป็นหลักฐานในการสั่งแก้ไขงานกรณีงานไม่เรียบร้อย จนกว่าจะแก้ไขงานแล้วเสร็จครบถ้วน ตัวอย่างใบแจ้งการตรวจสอบงาน (request) งานเขื่อนฯทะเล
23
ตัวอย่างใบแจ้งการตรวจสอบงาน (request) งานอาคาร
24
ตัวอย่างใบแจ้งการตรวจสอบงาน (request) งานเขื่อนฯแม่น้ำ
25
4.3 การสั่งแก้ไขงาน สั่งหยุดงาน หรือไม่รับงาน (Reject)
4.4 การนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ระหว่างการก่อสร้าง ในการดำเนินงานด้านเอกสารของผู้รับจ้าง ต้องเสนอผ่านผู้ควบคุมงาน โดยผู้ควบคุมงานจะต้องตรวจสอบรายละเอียดเอกสารว่าครบถ้วนหรือไม่ และพิจารณาให้ความเห็นในเบื้องต้นโดยควรต้องมีการอ้างถึงรายละเอียดที่กำหนดในสัญญาประกอบความเห็นด้วย และหากเป็นการขออนุมัติใช้วัสดุ ควรให้วิศวกรผู้รับจ้างตรวจสอบก่อนว่าวัสดุที่ขออนุมัติมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ โดยจัดทำเป็นตารางเปรียบคุณสมบัติของวัสดุที่ขออนุมัติใช้กับที่สัญญาเสนอแนบเข้ามาด้วย ตามข้อกำหนด ที่ขออนุมัติใช้ ตัวอย่างตารางเปรียบ
26
4.5 สุ่มเก็บตัวอย่างวัสดุที่นำมาใช้ตามข้อกำหนด
เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้ ในงานก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานต้องเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างวัสดุที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างด้วยตัวเองพร้อม นำส่งทดสอบ ตามที่รายการประกอบแบบกำหนดและแจ้งผลทดสอบให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบก่อนส่งงานในแต่ละงวด หากวัสดุที่นำมาใช้ไม่ได้กำหนดสุ่มทดสอบในรายการประกอบแบบ ก็ต้องสุ่มทดสอบตามความเหมาะสมของปริมาณงาน หรือสุ่มทดสอบตามหลักวิชาช่าง เพื่อให้คณะกรรมการตรวจเอกสารจ้างทราบว่าวัสดุที่นำมาใช้ถูกต้องตามอนุมัติหรือไม่ ก่อนตรวจรับงานให้ผู้รับจ้างได้ ต่อไป 4.6 การส่งมอบงาน เมื่อผู้รับจ้าง ขอส่งมอบงานในแต่ละงวดซึ่งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ควบคุมงานตรวจสอบผลงานที่ผู้รับจ้างขอส่งมอบว่าถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามสัญญา และพร้อมให้คณะกรรมการตรวจการจ้างไป ตรวจรับหรือไม่ โดยให้เสนอรายงานผลการพิจารณา เสนอต่อคณะกรรมการตรวจงานจ้าง กรอบระยะเวลาใน การพิจารณา การขอส่งมอบงานของผู้รับจ้าง ให้ดำเนินการตามระยะเวลาในการตรวจการจ้างงานก่อสร้าง ของหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร.1305/ ว 5855 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 ตามตาราง ท้ายนี้ ตารางที่ 1 งานจ้างเหมาก่อสร้างแบบราคาเหมารวม (Lump Sum) ตารางที่ 2 งานจ้างเหมาก่อสร้างแบบราคาต่อหน่วย (Unit Cost)
27
ทั้งนี้ ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ผู้ควบคุมงานและคณะกรรมการตรวจการจ้าง จะต้องดำเนินการตรวจการจ้างให้ แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และจะต้องไม่เกินระยะเวลาการตรวจการจ้างก่อสร้าง ตามตารางดังกล่าวข้างต้น สำหรับการนับวันตามระยะเวลาการตรวจรับการจ้างก่อสร้างให้นับเป็น“วันทำการ”(ไม่นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุด) ดังนี้ 1) ผู้รับจ้างจะต้องมีหนังสือแจ้งส่งงานมอบให้แก่ประธานกรรมการตรวจการจ้าง(ผ่านผู้ควบคุมงาน) 2) ผู้ควบคุมงาน เมื่อหนังสือส่งมอบงานให้พิจารณาตรวจสอบว่าผลงานที่ขอส่งมอบถูกต้องเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ แล้วรายงานเป็นลายลักอักษรแนบพร้อมกับหนังสือส่งมอบงาน และนำหนังสือส่งมอบงานของผู้รับจ้างไปประทับตรา ลงรับในวันนั้นทันที เว้นแต่จะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ก็ให้ลงรับในวันทำการถัดไป และส่งให้แก่ประธานกรรมการตรวจการจ้าง ต่อไป กรณีผู้ควบคุมงานตรวจสอบผลงานของผู้รับจ้างแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องเป็นไปตามสัญญาให้ทำหนังสือแจ้งผู้รับจ้างแก้ไขภายใน 3 วัน พร้อมรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบด้วย 3) การนับวันดำเนินการของผู้ควบคุมงาน จะเริ่มนับถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้รับมอบหนังสือส่งงาน ตามข้อ 2 ทั้งนี้ในกรณีผู้ควบคุมงานไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ ให้รายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น 4) การนับวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้าง จะเริ่มนับถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงาน ได้ดำเนินการ เสร็จและรายงานให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ และในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการพร้อมกับสำเนาแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบด้วยได้ (หากมีการขยายเวลาให้ผู้ควบคุมงานไปก่อนแล้วตามข้อ 3 จะต้องนำมาคำนวณหักออกจากวันดำเนินการขอคณะกรรมการตรวจการจ้างที่กำหนดไว้ด้วย) 4.7 การเตรียมเพื่อการตรวจรับงาน ผู้รับจ้างร่วมกับผู้ควบคุมงาน จัดทำข้อมูลการนำเสนอรายละเอียดผลงานที่ขอเบิก ในรูป Power Point โดยผู้รับจ้างจัดหาอุปกรณ์ต่างๆในการนำเสนอ เช่น Projector หรือ TV.จอ LCD ที่ต่อพ่วงช่อง HDMI จาก notebook ได้ (ผู้ควบคุมงานชี้แจงนำเสนอเอง) โดยมีข้อมูลนำเสนอ ดังต่อไปนี้ - ความเป็นมาของโครงการ (ถ้ามี) - รายละเอียดโครงการ - ที่ตั้งโครงการ (แผนที่สังเขปแสดงพื้นที่ก่อสร้าง เส้นทางการขนส่งวัสดุ เป็นต้น) - ขอบเขตของงาน (ปริมาณงานที่ต้องดำเนินการตามสัญญา) - รูปแบบและขั้นตอนการก่อสร้าง และงวดงานการเบิกเงินค่าจ้าง - รูปแบบก่อสร้างที่แล้วเสร็จ/ขอส่ง (ควรนำภาพแปลน และภาพตัด มาประกอบในการอธิบาย) - ภาพการปฏิบัติงาน และภาพงานที่แล้วเสร็จ พร้อมคำบรรยาย - รายละเอียดมูลค่างานที่ขอเบิก กรณีเป็นงานเหมาจ่าย ต้องอธิบายว่าคิดค่างานให้ผู้รับจ้างอย่างไร - สรุป บัญชีรายการเอกสารที่ผู้รับจ้างต้องเสนอ (Check list) ว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ - สำเนาเอกสารผลสุ่มทดสอบวัสดุ ให้ครอบคลุมตามปริมาณงานที่ขอส่งมอบงานในแต่ละงวด - หลักฐานการใช้เรือไทย กรณีนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศทางเรือ (สังเกตจากแหล่งผลิตวัสดุ) - แผนงานเทียบกับผลงาน (PROGRESS CHART) แสดงความก้าวหน้าของงาน
28
- แสดงการคำนวณการปรับราคางานก่อสร้าง(ค่า K) ของงวดก่อนหน้า(สรุปคร่าวๆเพียงให้รู้ว่าผู้รับจ้างได้เพิ่ม หรือผู้ว่าจ้างได้คืน) เนื่องจาก กรณีผู้ว่าจ้างจะต้องเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้าง ให้เรียกคืนจากผู้รับจ้างโดยเร็ว หรือให้หักค่างานของงวดต่อไป หรือให้หักเงินจากหลักประกันสัญญา แล้วแต่กรณี - ปัญหาอุปสรรค์ในการปฏิบัติงาน / ข้อเสนอแนะ - อื่นๆ เช่น กรณีงานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นในทะเล ช่วงเวลาที่คณะกรรมการฯลงตรวจสอบพื้นที่จริง หากเกิดพายุคลื่นลมแรง ลงเรือตรวจสอบไม่ได้ ต้องจัดเตรียม VDO.ผลงานที่แล้วเสร็จ ไว้นำเสนอด้วย ตัวอย่างการตรวจสอบค่า K เบื้องต้นด้วยโปรแกรม CUCEM-K (โปรแกรมรองรับเฉพาะ System 32 Bit)
29
4.8 รายการเอกสารประกอบรายงานการตรวจรับงานก่อสร้าง
ตามที่ ท่าน อจท. ให้ความเห็นชอบท้ายบันทึกข้อความ ที่ คค 0315/ สผง.55 ลงวันที่ 23 เมษายน 2558 เรื่อง การปรับขบวนงานฯเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ รายการเอกสารประกอบรายการตรวจรับงาน ดังนี้ 4.8.1 เอกสารในส่วนของผู้รับจ้าง ดังนี้ หนังสือขอส่งมอบงานของผู้รับจ้าง หนังสือรับรองวิศวกรควบคุมงาน พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม เอกสารสรุปปริมาณงาน และราคาในส่วนที่ขอเบิก พร้อมผลงานก่อสร้าง (PROGRESS CHART) 4.8.2 เอกสารในส่วนของผู้ควบคุมงาน ดังนี้ บันทึกข้อความการตรวจสอบผลงานจ้างที่ขอส่งมอบ สำเนารายงานปฏิบัติงานประจำวันของผู้ควบคุมงาน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ชุด (ผู้ควบคุมงานรับรอง สำเนาถูกต้อง) ภาพถ่ายการดำเนินงานส่วนที่ส่งมอบ 4.8.3 เอกสารในส่วนของคณะกรรมการตรวจการจ้าง ดังนี้ บันทึกข้อความตรวจรับงาน สำเนาใบรับรองผลการปฏิบัติงาน (มีลายมือผู้รับจ้างลงรับ) บันทึกของประธานฯถึง อจท.(เสนอ สตง.) สำเนาหนังสือแจ้ง สตง. ก่อนไปตรวจรับงาน (ฉบับที่ประธานฯแจ้ง สตง.) สำเนาหนังสือแจ้ง สตง. รายงานความก้าวหน้าของงาน (ฉบับที่ประธานฯแจ้ง) ภาพถ่ายการตรวจรับงาน 4.8.4 เอกสารสัญญาและที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้าง และผู้ควบคุมงาน และสำเนาอนุมัติแก้ไข เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการฯ หรือผู้ควบคุมงาน (ถ้ามี) สำเนาสัญญาจ้าง ในส่วนของที่เกี่ยวข้องในการเบิกจ่ายเงิน (รายการประกอบแบบไม่ต้อง) สำเนาบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา (ถ้ามี) สำเนาอนุมัติการขยายเวลา งด หรือลดค่าปรับ (ถ้ามี) (คณะกรรมการฯ จะต้องรวบรวม จัดส่งให้ พย. ภายใน 5 วัน หลังจากตรวจรับงาน)
30
บทที่ 5 การบริหารสัญญา การบริหารสัญญา หมายถึง การควบคุม ตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงาน และการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเงื่อนไข และข้อกำหนดในสัญญา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.1 สัญญา หรือ ข้อตกลงที่ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ยกเว้น - แก้ไขเพราะความจำเป็น โดยไม่ทำให้ทางราชการต้องเสียประโยชน์ - แก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ - การแก้ไขสัญญาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการส่งมอบงานงวดสุดท้าย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 การงดหรือลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา ระเบียบฯ ข้อ 139 ได้กำหนดไว้ดังนี้ ข้อ 139 การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ (1) เหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของส่วนราชการ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ให้ส่วนราชการระบุไว้ในสัญญากำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (1) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น 5.2 ขั้นตอนการแก้ไขแบบ และการขยายอายุสัญญา เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบ หากมีรายการเพิ่มขึ้นนอกเหนือสัญญา งานที่เพิ่มเติมต้องเป็นงานต่อเนื่องสัมพันธ์กับงานเดิม และอยู่ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของสัญญาเดิม - ผู้รับจ้างต้องมีหนังสือยินยอมให้แก้ไขแบบ/สัญญา โดยไม่คิดค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงการขอสงวนสิทธิในการงดค่าปรับ/ขยายสัญญา - กรณีแก้ไขสัญญา โดยมีปริมาณงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง ต้องให้ผู้รับจ้างมีหนังสือยืนยัน ใช้ราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม
31
5.3 การปรับเปลี่ยนแผนงานก่อสร้าง
แผนงานที่ผู้รับจ้างเสนอมา เมื่อผู้ว่าจ้างอนุมัติแล้ว ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง ไม่สามารถแก้ไขแผนงานได้ จะมีการปรับแก้แผนงานได้ต่อเมื่อมีการแก้ไขสัญญา มีงานเพิ่มขึ้น หรือลดลงในแผนงานเดิม หรือมีการขยายเวลาการทำงานตามสัญญา เมื่อมีการแก้ไขสัญญาเรียบร้อยแล้ว เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้าง ที่จะต้องปรับเปลี่ยนแผนงานให้สอดคล้องกับการแก้ไขสัญญา เสนอขออนุมัติใช้แผนงานเข้ามาใหม่ 5.4 วันครบกำหนดสิ้นสุดสัญญา หากตรงกับเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการอื่นๆให้หักวันหยุดนั้นออก (โดยยกเว้นไม่นำมานับเป็นวันที่ต้องคิดค่าปรับ) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการ หรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา 5.5 การแจ้งการปรับ และการสงวนสิทธิการปรับ การแจ้งการปรับ และการสงวนสิทธิการปรับ ถูกกำหนดไวในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 134 วรรคท้าย ซึ่งมีขอความสรุปไว้ว่า “ เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ส่วนราชการรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ให้ส่วนราชการบอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย” โดยสรุปดังนี้ “แจ้งการปรับ” เมื่อผู้รับจ้างไม่สามารถส่งงานที่จัดจ้างภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แล้วเสร็จตามสัญญา และ“แจ้งสงวนสิทธิการปรับ” เมื่อผู้รับจ้างมีหนังสือขอส่งงานเกินกว่าเวลาที่กำหนดในสัญญาอีกขั้นตอนหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้ที่มีอำนาจ “แจ้งการปรับ” และหรือ “แจ้งสงวนสิทธิการปรับ” ก็คือหัวหน้าส่วนราชการ 5.6 การบอกเลิกสัญญา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 137 ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญา หรือข้อตกลง ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป
32
ข้อ 138 ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญา หรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้นให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ดังนั้นหากสัญญาจ้างใดเกิดค่าปรับละเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าจ้างให้ผู้ควบคุมงานรีบรายงานแจ้งคณะกรรมการตรวจการจ้างทราบโดยเร็ว เพื่อคณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามระเบียบพัสดุข้อ 138 ต่อไป 5.7 วันบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาโดยผู้ว่าจ้างให้ถือวันที่หัวหน้าส่วนราชการอนุมัติให้บอกเลิกสัญญาเป็นวันบอกเลิกสัญญา ถ้าการบอกเลิกสัญญาโดยผู้รับจ้างร้องขอ ให้ถือวันที่ส่วนราชการได้รับคำร้องขอของผู้รับจ้างเป็นวันบอกเลิกสัญญา 5.8 การคืนหลักประกันสัญญา ก่อนครบกำหนดรับประกันผลงาน 2 ปี ให้ผู้ควบคุมงานที่ควบคุมงานนั้นๆทำรายการแจ้งคณะกรรมการตรวจการจ้างเพื่อพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบว่ามีงานชำรุดบกพร่องที่ผู้รับจ้างจะต้องเข้าซ่อมแซมตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนดหรือไม่ 5.9 ผู้ตรวจสอบความชำรุดบกพร่องก่อนคืนหนังสือค้ำประกัน -หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุ หรือ -ผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือ -หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ -ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความชำรุดบกพร่อง ก็ได้ 5.10 กรณีมีงานชำรุดบกพร่องที่ผู้รับจ้างต้องซ่อมแซมตามเงื่อนไขรับประกันผลงาน - ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทำหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างเข้าซ่อมแซม - หากไม่เข้าซ่อมแซม ส่งเรื่องให้กองกฎหมายดำเนินการตามกฎหมาย - แจ้งธนาคารผู้ค้ำประกันให้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน - แจ้งเป็นผู้ทิ้งงาน
33
เครื่องมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมงาน
บทเสริม เครื่องมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมงาน เพื่อให้ผู้ควบคุมงานสามารถใช้เครื่องมือ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ มาเสริมในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน เพิ่มความเชี่ยวชาญในอาชีพ รวมถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ผู้ควบคุมงานจึงต้องศึกษาเรียนรู้ เครื่องมือ และการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมงาน เช่น เครื่องมือ 1. กล้องระดับ 2. กล้องวัดมุมวัดระยะ (Total Station) 3. เครื่องหาค่าพิกัดสัญญาณดาวเทียม GPS. 4. เครื่องหยั่งน้ำ. 5. เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1. Microsoft Office 2. Google Earth 3. CUCEM-K โปรแกรมตรวจสอบค่า K ของสำนักงบประมาณ (รองรับเฉพาะ คอม 32 Bit) 4. AutoCAD ,Autodesk Land Desktop (LDT) หรือ AutoCAD Civil 3D 5. Sketch Up 6. HYPACK (Hydrographic Survey) และที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน คือ อุปกรณ์การสื่อสาร Smart Phone ไว้ติดต่อสื่อสารรายงานความก้าวหน้าของงานได้แทบจะทุกรูปแบบ ทำให้การประสานงานระหว่าง คณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง ติดต่อประสานงานกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว อีกช่องทางหนึ่งในการควบคุมงาน และขอให้ผู้ควบคุมงานทุกท่านได้ทราบว่าเราไม่ได้ทำงานแต่เพียงคนเดียวโดยลำพังเรามีทีมงานชาว กวศ. ซึ่งล้วนเป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์พร้อมคำแนะนำปรึกษาในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาต่อสายคุยปรึกษากันครับ
34
ความสุขสองชั้น (ธรรมะเดลิเวอรี่) โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
ความสุขสองชั้น (ธรรมะเดลิเวอรี่) โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ... เพราะหลายคนพอไม่มีงานให้ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน ! ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้ ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุตฺโต) ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า งานมีผลตอบแทนสองชั้นด้วยกัน ผลตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง หนึ่งเดือน คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย เจริญพร...
35
ภาคผนวก - คำสั่งกองวิศวกรรม ที่ 3/2559 สั่ง ณ วันที่ 25 มีนาคม 2559 เรื่องกำหนดแนวทางและมาตรการในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมงาน จำนวน 1 แผ่น - บันทึกข้อความกองวิศวกรรม ที่ คค 0305/กวศ. 133 ลงวันที่ 18 เมษายน 2559 เรื่องกำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุ ในโครงการก่อสร้าง จำนวน 1 แผ่น - รายการเอกสารประกอบรายงานตรวจรับงานก่อสร้าง จำนวน 1 แผ่น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.