งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์
(Synectics Instructional Model) วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) เทคนิคการสอนแผนผังแมงมุม

2 รูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectics Instructional Model)

3 เป็นรูปแบบที่จอยส์และ วีล (Joyce and Weil, 1966: ) พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดของกอร์ดอน (Gordon) ที่กล่าวว่าบุคคลทั่วไปมักยึดติดกับวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ ของตน โดยไม่ค่อยคำนึงถึงความคิดของคนอื่น ทำให้การคิดของตนคับแคบและไม่สร้างสรรค์ บุคคลจะเกิดความคิดเห็นที่สร้างสรรค์แตกต่างไปจากเดิมได้ หากมีโอกาสได้ลองคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่เคยคิดมาก่อน หรือคิดโดยสมมติตัวเองเป็นคนอื่น และถ้ายิ่งให้บุคคลจากหลายกลุ่มประสบการณ์มาช่วยกันแก้ปัญหา ก็จะยิ่งได้วิธีการที่หลากหลายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4 เป้าหมายของการสอน รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดที่ใหม่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถนำความคิดใหม่นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

5 ขั้นตอนการสอน ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงานต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนทำงานนั้น ๆ ตามปกติที่เคยทำ เสร็จแล้วให้เก็บผลงานไว้ก่อน ขั้นที่ 2 ขั้นการสร้างอุปมาแบบตรงหรือเปรียบเทียบแบบตรง ผู้สอนเสนอคำคู่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง คำคู่ที่ผู้สอนเลือกมาควรให้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหาหรืองานที่ให้ผู้เรียนทำในขั้นที่ 1 และจดคำตอบของผู้เรียนไว้บนกระดาน

6 ขั้นที่ 3 ขั้นการสร้างอุปมาบุคคลหรือเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ ผู้สอนให้ผู้เรียนสมมติตัวเองเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และแสดงความรู้สึกออกมา ผู้สอนจดคำตอบของผู้เรียนไว้บนกระดาน ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างอุปมาคำคู่ขัดแย้ง ผู้สอนให้ผู้เรียนนำคำหรือวลีที่ได้จากการเปรียบเทียบในขั้นที่ 2 และ 3 มาประกอบกันเป็นคำใหม่ที่มีความหมายขัดแย้งกันในตัวเอง

7 ขั้นที่ 5 ขั้นการอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้ง ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้งที่ได้ ขั้นที่ 6 ขั้นการนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน ผู้สอนให้ผู้เรียนนำงานที่ทำไว้เดิมในขั้นที่ 1 ออกมาทบทวนใหม่ และลองเลือกนำความคิดที่ได้มาใหม่จากกิจกรรมขั้นที่ 5 มาใช้ในงานของตน ทำให้งานของตนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

8 ผลที่ผู้เรียนจะได้รับ
ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ ๆ และสามารถนำความคิดใหม่ ๆ นั้นไปใช้ในงานของตน ทำให้งานของตนมีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้เรียนอาจเกิดความตระหนักในคุณค่าของการคิด และความคิดของผู้อื่นอีกด้วย

9 วิธีสอนโดยใช้ การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)

10 คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดงทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่สังเกตพบมาในข้อมูลในการอภิปรายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

11 เป้าหมายของการสอน เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้รู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเค้ามาใส่ใจเราเกิดความเข้าใจในการรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง

12 องค์ประกอบสำคัญที่ (ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
1.มีผู้สอนและผู้เรียน 2.มีสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ 3.มีการแสดงบทบาทสมมติ 4.มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดงและสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ 5.มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

13 ขั้นตอนสำคัญ (ขาดไม่ได้) ของการสอน
1.ผู้สอน/ผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ 2.ผู้สอน/ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท 3.ผู้สอน/เตรียมผู้สังเกตการณ์ 4.ผู้เรียน/แสดงบทบาท และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก 5.ผู้สอนและผู้เรียน อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง

14 ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
ข้อดี 1.เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น ได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง 2.เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตน 3.เป็นวิธีสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา 4.เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้การเรียนรู้การสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง 5.เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และการเรียนรู้มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะข้อมูลมาจากผู้เรียนโดยตรง

15 ข้อจำกัด 1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร 2
ข้อจำกัด 1.เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร 2.เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการอย่างรัดกุม หากจัดการไม่ดีพออาจเกิดความยุ่งยากสับสนขึ้นได้ 3.เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ ของผู้สอนหากผู้สอนขาดคุณสมบัตินี้ไม่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญหาแต่ดันอาจเกิดเป็นปัญหาต่อเนื่องไปได้ 4.เป็นการสอนที่ต้องอาศัยความสามารถของครูในการแก้ปัญหาเนื่องจากการแสดงของผู้เรียนอาจไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้สอน ผู้สอนจะต้องสามารถแก้ปัญหาหรือปรับสถานการณ์และประเด็นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้

16 ขั้นตอนการสอน ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะให้ชัดเจน และสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติที่จะช่วยสนองวัตถุประสงค์นั้นสถานการณ์และบทบาทที่กำหนดต้องมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง ขั้นที่ 2 การเริ่มบทเรียน ผู้สอนสามารถกระตุ้นของผู้เรียนได้หลายวิธีโยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียนจากการเรียนครั้งก่อนๆ เข้าสู่เรื่องที่จะศึกษาหรืออาจใช้วิธีการเล่าเรื่อง เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากคิด และช่วยกันคิดแก้ปัญหา

17 ขั้นที่ 3 การเลือกผู้แสดง ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดงเลือกผู้แสดงที่มีลักษณะเหมาะสมกับบทบาทเพื่อช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นตามวัตถุประสงค์ หรือจะเลือกผู้แสดงที่มีลักษณ์ตรงกันข้ามกับบทบาทที่กำหนดให้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนนั้นได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ขั้นที่ 4 การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม ผู้สอนควรเตรียมผู้ชมและทำความเข้าใจกับผู้ชมว่าการแสดงบทบาทสมมตินี้จัดขึ้นมิใช่มุ่งที่ความสนุกแต่มุ่งที่จะให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นความชมด้วยความสังเกตความให้คำแนะนำและบันทึกข้อมูล

18 ขั้นที่ 5 การแสดง ก่อนการแสดงอาจมีการจัดฉากการแสดงให้ดูสมจริงอาจเป็นฉากง่ายๆและจัดให้ดูสวยงามแต่ไม่ควรจะใช้เวลานานและควรคำนึงถึงความประหยัด เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้ว ผู้สอนให้เริ่มการแสดง และสังเกตการแสดงอย่างใกล้ชิด ขั้นที่ 6 การวิเคราะห์อภิปรายผลการแสดง ขั้นนี้เป็นขั้นสำคัญมาก เพราะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนตามวัตถุประสงค์ เทคนิคที่จำเป็นสำหรับการอภิปรายในช่วงนี้มีหลายประการ ที่สำคัญคือการสัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดของผู้แสดงและจดจำไว้บทกระดาน

19 เทคนิคการสอน แผนผังแมงมุม

20 ผังใยแมงมุม (Web diagram) เป็นผังกราฟิกที่ใช้แสดงมโนทัศน์แบบหนึ่ง โดยแสดงความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง และเส้นที่แยกออกจากความคิดรวบยอดใหญ่จะแสดงรายละเอียดของความคิดนั้น

21 1. เขียนมโนทัศน์หลักหรือหัวข้อเรื่องใหญ่ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนการเขียนผัง 1. เขียนมโนทัศน์หลักหรือหัวข้อเรื่องใหญ่ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ 2. จัดลำดับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรอง องค์ประกอบย่อย ตามลำดับ 3. เชื่อมโยงมโนทัศน์ต่าง ๆ โดยใช้เส้น

22 ตัวอย่างแผนผังใยแมงมุม

23 อ้างอิง บล็อกโพส.(2556) รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectics Instructional Model).(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก /2013/01/synectics-instructional-model.html (สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2558) นวัตรรม.(2557) วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing).(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก /innovation/index.php/ (สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2558) ไซด์ กูลเกิล.(2558) เทคนิคการสอนแผนผังใยแมงมุม.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก (สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2558)

24 ผู้จัดทำ นางสาวกมลรัตน์ คุ้มเรือน รหัส 002 นางสาวจิติพรรณ สงค์สละ รหัส 030 สาขานาฏศิลป์ไทย คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู


ดาวน์โหลด ppt รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google