งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มารยาทชาวพุทธ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มารยาทชาวพุทธ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มารยาทชาวพุทธ

2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. แสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนาพระรัตนตรัย ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ได้อย่างถูกต้อง 2. กระทำปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2 อย่างได้ถูกต้อง 3. เห็นคุณค่าของการแสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนา และการปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2

3 สารบัญ แบบทดสอบ การแสดงความเคารพ หนังสืออ้างอิง
การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ผู้จัดทำ การแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคล การแสดงความเคารพต่อปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2

4 การแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพ เป็นมารยาทอันดีงาม ที่ชาวพุทธควรฝึก
และปฏิบัติให้เป็นนิสัย

5 การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย หมายถึง สิ่งเคารพสักการระบูชาสูงสุดของชาวพุทธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ก า ร แ ส ด ง ค ว า ม เ ค า ร พ พ ร ะ รั ต น ต รั ย มี วิ ธี คื อ 1. การประนมมือ (อัญชลีกรรม) หมายถึง การยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นประนมเป็นกระพุ่ม คล้ายดอกบัวตูม โดยให้นิ้วชิดเรียงกัน ประนมไว้ระหว่างอก ปลายนิ้ว มือเฉียงกับลำตัว ลำแขนแนบลำตัว ใช้ในโอกาสยืนหรือฟังพระเทศน์หรือสวด และใช้เป็นท่าเตรียมของการไหว้และการกราบ การประนมมือแสดงความเคารพพระรัตนตรัยนั้น ก่อนที่จะลดมือลงอยู่ในท่าปกติ นิยมยกมือที่ประนมจรดหน้าผากก่อน โดยให้นิ้วชี้ทั้งสองข้างจรดพร้อมกัน

6 2. การไหว้ (นมัสการ) หมายถึง การยกมือประนมขึ้นจรดหน้าผาก พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผากหรือระหว่างคิ้ว ให้ไหว้ครั้งเดียวแล้วลดมือลง สำหรับผู้ชายยืนส้นเท้าชิดปลายเท้าแยกเล็กน้อย ส่วนผู้หญิงให้ก้าวเท้าขวาหรือซ้ายออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ที่เรียกว่าสืบเท้า การไหว้ใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น ไหว้พระสงฆ์ที่นั่งเก้าอี้ ยืน หรือกำลังเดินผ่าน เป็นต้น 3. การกราบ (อภิวาท) หมายถึง การหมอบลงโดยให้อวัยวะของร่างกาย 5 ส่วน จรดกับพื้น ได้แก่ เข่า 2 มือ 2 และหน้าผาก 1 เรียกว่าการกราบแบบ เบญจางคประดิษฐ์ วิธีกราบคือ ชายนั่งท่าเทพบุตรคือนั่งบนซ่นเท้าเท้าตั้ง หญิงนั่งท่าเทพธิดา เท้าไม่ตั้งนั่งบนเท้า จังหวะที่ ยกมือประณมระหว่างอก จังหวะที่ ยกมือประณมขึ้นจดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ ระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จดหน้าผาก

7 การแสดงความเคารพพระรัตนตรัยนอกจากการไหว้และกราบแล้ว
จังหวะที่ 3 หมอบลงหน้าผากจดพื้น ฝ่ามือทั้งสองแบราบลงแนบพื้น แล้วลุก ขึ้นนั่งตัวตรง ประณมมือขึ้น ปฏิบัติตามจังหวะที่ อีกจนครบ 3 ครั้ง ยกมือขึ้นจบที่ คิ้วอีกครั้งจบพิธีกราบ สำหรับชายการกราบนิยมใช้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่า หญิงไม่นิยมกราบแบบต่อศอก การกราบพึงระวังไม่ให้ก้นโด่ง การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ใช้กราบพระพุทธรูปและกราบพระสงค์ใน กรณีที่ท่านนั่งอยู่กับพื้น การแสดงความเคารพพระรัตนตรัยนอกจากการไหว้และกราบแล้ว ยังมีมารยาทที่ควรศึกษาและปฏิบัติ ดังนี้

8 พระพุทธ ได้แก่ พระพุทธรูป ซึ่งเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า
ชาวพุทธควรแสดงความเคารพ ดังนี้ 1. ไม่เดินข้ามหรือเอื้อมมือหยิบของข้ามพระพุทธรูป หรือสายสิญจน์ที่โยงมาจากพระพุทธรูป 2. ที่โต๊ะหมู่บูชาหรือที่บูชาพระ ไม่ควรตั้งเครื่องบูชาหรือ รูปเคารพบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธรูป อยู่สูงกว่าพระพุทธรูป 3. ไม่ควรนั่งหันปลายเท้าไปทางโต๊ะหมู่บูชาที่มีพระพุทธรูป ประดิษฐ์อยู่รวมทั้งไม่ยืนในลักษณะยืนค้ำเศียรพระพุทธรูป 4. ไม่นำพระพุทธรูปหรือชิ้นส่วนพระพุทธรูปไปประดิษฐาน ไว้ในที่ไม่สมควร เช่น ราวบันได 5. ไม่พูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามหรือในทำนองล้อเล่นเกี่ยวกับ พระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป 6. ไม่ควรนำพระเครื่องใส่กระเป๋ากระโปรงหรือกางเกง หรือ วางไว้บริเวณพื้นที่คนเดินผ่านไปมา

9 พระธรรม ชาวพุทธควรแสดงความเคารพ ดังนี้
1. ตั้งใจศึกษาคำสอนอย่างจริงจัง ไม่บิดเบือนหลักคำสอน ให้ผิดจากความเป็นจริง 2. ไม่ควรนำบทสวดมากล่าวทำนองล้อเลียนให้เกิดความสนุกสนาน 3. เมื่ออยู่ในพิธีทางศาสนา ควรประนมมือเมื่อประธานจุดเทียนบูชา พระรัตนตรัย พร้อมทั้งตั้งใจฟังพระสวดด้วยกิริยาสำรวม 4. ไม่เดินข้ามหรือเหยียบย่ำหนังสือพระไตรปิฎกที่เป็นหนังสือ บันทึกรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา หรือหนังสือธรรมะอื่นๆ

10 พระสงฆ์ เป็นปูชนียบุคคลที่ชาวพุทธควรแสดงความเคารพ
นอกเหนือจากการกราบไหว้ ดังนี้ 1. มีความเลื่อมใสอย่างจริงจัง 2. ไม่ควรนั่งบนเก้าอี้เดียวกับท่าน ไม่นั่งในที่ที่สูงกว่า และ ไม่นั่งไขว่ห้าง หรือนั่งขัดสมาธิคุยกับท่าน 3.คำพูดที่ใช้พูดกับพระสงฆ์ ควรเป็นคำพูดที่สุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน ใช้คำพูดที่ถูกต้องกับพระสงฆ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่ใช้กับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ควรงดเว้นคำพูดที่ลามกหยาบคาย คำพูดตลกโปกฮา

11 การแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคล
ปูชนียบุคคล หมายถึง บุคคลที่ควรแก่การเคารพสักการบูชา ได้แก่ พระสงฆ์ บิดามารดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ครู-อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เป็นต้น การแสดงความเคารพต่อบุคคล เหล่านี้มีการปฏิบัติแตกต่างกันไป เช่น บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ และครู-อาจารย์ แสดงความเคารพและการกราบไหว้ ดังนี้ 1. การกราบ กระทำเมื่อท่านนั่งบนเก้าอี้หรือบนพื้น โดยผู้กราบเข้าไปนั่งใกล้ๆ จะนั่งพับเพียบหรือคุกเข่าก็ได้ ประนมมือขึ้น หมอบกราบลงโดยไม่แบมือ โน้มศีรษะลง จนใบหน้าแตะกับสันมือแล้วเงยหน้าขึ้น กราบหนึ่งครั้ง 2. การไหว้ กระทำเมื่อท่านยืน หรือกำลังเดินผ่านไป โดยผู้ไหว้ประนมมือขึ้น ให้หัวแม่มือแตะปลายจมูก นิ้วชี้ทั้งสองจรดระหว่างคิ้ว พร้อมกับก้มศีรษะลงช้าๆ อย่าง นอบน้อม ผู้ชายส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ส่วนผู้หญิงก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า

12 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์
ผู้ชายแสดงความเคารพโดยการโค้งคำนับ หากอยู่ในเครื่องแบบทหาร ตำรวจ แสดงความเคารพโดยการวันทยาหัตถ์สำหรับผู้หญิงให้ถอนสายบัว และเมื่อได้ยิน เพลงสรรเสริญพระบารมีให้ยืนตรง สุภาพและสำรวม เมื่อเพลงจบควรถวายความเคารพ อย่างนอบน้อม สำหรับบุคคลอื่น ให้แสดงความเคารพด้วยการประนมมือขึ้น ให้หัวแม่มือแตะ ปลายคาง และนิ้วชี้ทั้งสองแตะปลายจมูก ก้มศีรษะลงช้าๆ รับปลายมือให้งาม ผู้หญิงก้าว เท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย การแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคล ไม่ว่าด้วยการกราบหรือไหว้ ผู้ปฏิบัติจะ ต้องทำในใจให้ดีด้วย คือการน้อมใจระลึกถึงท่านด้วยความเคารพและนอบน้อม

13 การแสดงความเคารพต่อปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ
ปูชนียสถาน หมายถึง สถานที่ที่ควรเคารพบูชา ได้แก่ ศาสนสถาน เช่น วัด โบสถ์ศาลาการเปรียญ และ สถานที่อื่นๆที่ไม่ใช่ศาสนสถานเช่น พระบรมราชานุสาวรีย์ อนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญ เป็นต้น ปูชนียวัตถุ หมายถึง วัตถุที่ควรเคารพบูชา ได้แก่ ศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป พระเครื่อง รูปปั้นพระสงฆ์ และวัตถุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศาสนาวัตถุ เช่นเหรียญตรา รูปปั้นบุคคลสำคัญ เป็นต้น

14 การแสดงความเคารพปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ คือการไหว้ด้วยการยกมือ
ประนมขึ้นจรดหน้าผากพร้อมก้มศีรษะลงเล็กน้อย หากอยู่ในโบสถ์ วิหารที่ประดิษฐาน พระประธาน พระพุทธรูป ควรกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ การเข้าไปในปูชนียสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร นอกจากการกราบไหว้แล้ว ยังมีมารยาทบางประการที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ 1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย 2. ถอดหมวก ถอดรองเท้า และลดร่มลง 3. สำรวม ไม่ส่งเสียงดังและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น 4.ไม่แสดงอาการหรือพูดจาลบลู่ดูหมิ่นเหยียดหยามหรือยาบคาย 5. ไม่กล่าวคำในทำนองว่าไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาต่อสถานที่นั้นๆ 6. แม้ไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธา ก็ควรทำใจเป็นกลาง ไม่คิดแต่จะจับผิด 7. ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่ได้มีการปฏิบัติกันมา

15 การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2
การปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือนถึงถิ่น เป็นการแสดง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความมีน้ำใจของเจ้าบ้าน อาจทำได้หลายวิธี เช่น การต้อน รับด้วยการทักทายปราศรัย การต้อนรับด้วยการให้ที่พักอาศัย การต้อนรับด้วยสิ่ง ของต่างๆ เป็นต้น การปฏิสันถารสามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ 1. อามิสปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับด้วยวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น น้ำ อาหาร ขนม ผลไม้ ของขบเคี้ยว เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก เป็นต้น 2. ธัมมปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับด้วยการกล่าวธรรมให้ฟัง หรือแนะนำกันในทางธรรมหรือการต้อนรับแขกที่มาเยือนด้วย ปิยวาจาด้วยคำพูดที่น่าฟัง ฟังแล้วเกิดความสบายใจทำให้ เกิดความยินดีแก่แขกผู้มาหา

16 การปฏิสันถารหรือการต้อนรับแขกไม่ว่าจาด้วยอามิสหรือธรรม ผู้ต้อนรับ
หรือเจ้าของบ้านต้องคำนึงถึงความเหมาะสมที่ผู้ให้และความต้องการของผู้รับ อีกทั้งต้องรู้จักปฏิบัติตนว่าจะทำ จะพูดอย่างไรกับใคร ต้องรู้จักเลือกให้ถูกต้อง เหมาะสม ที่สำคัญต้องทำปฏิสันถารด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงให้แขกเห็นว่า เรามีความยินดีและเต็มใจให้การต้อนรับ การต้อนรับแขกด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใสและมีไมตรีจิต ก่อให้เกิดคุณค่า หลายประการ ได้แก่ 1. ได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ 2. ผู้ให้มีความสุขและความสบายใจเมื่อได้ให้ 3. ผู้ให้ได้รับการยอมรับ ใครๆอยากคบหาสมาคม และอยากช่วยเหลือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 4. ผู้รับนิยมยกย่อง นับถือ มีความยินดี และมีไมตรีจิตกับผู้ให้ 5. กิจการงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

17 หนังสืออ้างอิง _____.หนังสือสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา:กรุงเทพมหาหานคร,สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.2544

18 1. ข้อใดไม่ใช่การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย
แบบทดสอบ 1. ข้อใดไม่ใช่การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย ก. นมัสการ ข. อภิวาท ค. อาราธนา ง. อัญชลีกรรม

19 2. ข้อใดเป็นการแสดงความเคารพในพระธรรม
ก. นายไก่ประนมมือเมื่อประธานจุดเทียนบูชาในพิธีศาสนา ข. นายมาจัดตั้งเครื่องบูชาอื่นไม่ให้สูงกว่าระดับพระพุทธรูป ค. นายสูบใช้คำพูดที่ใช้กับพระสงฆ์โดยเฉพาะพูดคุยกับเจ้าอาวาส ง. นายอาจบนบานศาลหลักเมือง

20 3. ข้อใดเป็นปูชนียวัตถุ
ก. ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูป ข. วัด อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน ค. รูปปั้นบุคคลสำคัญ พระเครื่อง ง. เหรียญตรา โบสถ์

21 4. เมื่ออยู่ในโบสถ์วิหาร ที่ประดิษฐานพระประธาน ควรแสดงความเคารพอย่างไร
ก. การไหว้ ข. ประนมมือ ค. กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ง. ถูกทุกข้อ

22 5. ด.ญ.งดงาม(นามสมมติ) นำน้ำมาให้แขกรับประทาน เป็นการปฏิสันถารแบบใด
ก. อามิสปฏิสันถาร ข. ธัมมปฏิสันถาร ค. วาจาปฏิสันถาร ง. ญาตปฏิสันถาร

23 ถูกต้อง! ไปข้อที่ 1 ไปข้อที่ 2 ไปข้อที่ 3 ไปข้อที่ 4 ไปข้อที่ 5

24 ไปข้อที่ 1 ผิดแล้ว! ไปข้อที่ 2 ไปข้อที่ 3 ไปข้อที่ 4 ไปข้อที่ 5

25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
ผู้จัดทำ 1. น.ส. ขวัญฤดี ไทยเจริญ เลขที่ 1 2. น.ส. นารีรัตน์ พลสุจริต เลขที่ 2 3. น.ส. แพรไพลิน จารุจินดา เลขที่ 3 4. น.ส. อาภัสรา วจีชื่นชุติกุล เลขที่ 5 5. น.ส. นวภา เชียงทอง เลขที่ 23 6. น.ส. ปรียานุช โตโคกสูง เลขที่ 26 7. น.ส. สุปราณี ชาลีวรรณ เลขที่ 30 8. น.ส. จันทร์จิรา วรรณสาร เลขที่ 33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2


ดาวน์โหลด ppt มารยาทชาวพุทธ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google