งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สิทธิส่วนบุคคล : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สิทธิส่วนบุคคล : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สิทธิส่วนบุคคล : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

2 ความเป็นส่วนตัว คือ “สิทธิที่จะอยู่โดยลําพัง” (the right to be let alone)
“ความเป็นส่วนตัว” (Privacy) เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ปัจจุบันทุกประเทศให้ความสําคัญอย่างมาก โดยมีการรับรองหลักการ ดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือแม้บางประเทศก็ตราเป็นกฎหมายเฉพาะ “ความเป็นส่วนตัว” ได้รวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ความเป็นส่วนตัวในด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล”

3 หัวข้อ : หน้าที่และหลักปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่มาและความจำเป็น กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ กรอบแนวทางในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว หน้าที่และหลักปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ กรณีตัวอย่าง

4 ที่มา : ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ 12 บุคคลใดจะถูกแทรกแซงตามอําเภอใจในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศและ ชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อ การแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น

5 ที่มา : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความ เป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่ง ข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึง สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทํา มิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความ คุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

6 ความจำเป็นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy)
ปัจจุบันมีการนําระบบสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ ประกอบการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องมีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการป้องกัน การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิซึ่งเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานสําคัญในความเป็นส่วนตัว (Privacy Right) ของประชาชนที่ต้องได้รับการคุ้มครองอันจะทําให้ ประชาชนมีความมั่นใจในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

7

8  การเปิดเผยต้องได้รับความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลเป็นหนังสือ
หลักการสำคัญของกฎหมาย ข้อมูลข่าวสารของราชการ เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล การเปิดเผยต้องได้รับความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลเป็นหนังสือ

9 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่ง เฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติ อาชญากรรม หรือประวัติการทํางาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทําให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่น บันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย

10 ภาพรวมของ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
- หลักทั่วไป - หมวด 1 : ข้อมูลข่าวสารทั่วไป & การเปิดเผย - หมวด 2 : ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย - หมวด 3 : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล - หมวด 4 : เอกสารประวัติศาสตร์ - หมวด 5 : คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ - หมวด 6 : คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร - หมวด 7 : บทกำหนดโทษ - บทเฉพาะกาล

11 นิยาม ความหมาย “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม. 4 วรรคที่ห้า) สิ่งเฉพาะตัว
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม. 4 วรรคที่ห้า) ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ __________ ของบุคคล เช่นการศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือ ______________ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย สิ่งเฉพาะตัว สิ่งบอกลักษณะอื่น

12 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล(องค์ประกอบ)
สิ่งเฉพาะตัวของบุคคล สิ่งบอกลักษณะที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล(องค์ประกอบ)

13 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลจึงต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน
1 ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่ง เฉพาะตัวของบุคคล ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล 2 มีสิ่งบอกลักษณะ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้

14 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล 1 สิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น 2 ฐานะการเงิน การศึกษา ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน ชื่อ-นามสกุล ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง รูปภาพ ฯลฯ

15 บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา

16 สรุป บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
มาตรา 21 : บุคคล หมายถึงเฉพาะ บุคคลธรรมดา มาตรา 22 : ข้อยกเว้นให้แก่หน่วยงานด้านความมั่นคง มาตรา 23 : หน้าที่ของหน่วยงานเพื่อจัดให้มีระบบข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 24 : ขอยกเว้นให้มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 25 : เปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูล มาตรา 25 : สิทธิในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล มาตรา 15 : เปิดเผยแก่ผู้อื่น โดยการใช้ดุลพินิจตามหลักเกณฑ์ มาตรา 26 : เปิดเผยเพราะเป็นเอกสารประวัติศาสตร์

17 การจำแนก สิทธิของเจ้าของข้อมูล
 สิทธิที่จะเข้าตรวจ/รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล ตาม ม. 25  สิทธิในการได้รับแจ้งและคัดค้าน (ม. 17)  สิทธิไม่ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตาม ม. 24  สิทธิเรียกให้แก้ไข หรือลบข้อมูล ตาม ม. 25  สิทธิให้หน่วยงานของรัฐจัดระบบคุ้มครอง ตาม ม. 23  สิทธิในการร้องเรียน ตาม ม อุทธรณ์ ตาม ม. 18,25  สิทธิเรียกค่าเสียหาย

18 ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย
มาตรา 21 เพื่อประโยชน์แห่งหมวดนี้ “บุคคล” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐ ตามนิยามของมาตรา 4 Sub Menu MENU

19 การให้ความคุ้มครองความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล (Information Privacy)
คือ การวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การเก็บ รวบรวม การใช้ การประมวลผล การเปิดเผย และ การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

20 กรอบมาตรฐานสากลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรอบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่นิยมของสากล และประเทศไทยใช้ นํามาอ้างอิงเป็นแนวทางในการดําเนินการใดๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการคุ้มครองที่ เหมาะสมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเปิดเผย คือ กรอบขององค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD : The Organization for Economic Cooperation and Development) ในเรื่อง Guidelines Governing theProtection of Privacy and Transborder Data Flows of Personal Data) มีหลักการพื้นฐาน 8 ประการ ดังนี้

21 กรอบในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรอบมาตรฐานสากล บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ หลักข้อจํากัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล หลักคุณภาพของข้อมูล หลักการกําหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ หลักข้อจํากัดในการนําไปใช้ หลักการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล ห ลั ก ก า ร เ ปิ ด เ ผ ยข้อมูล หลักการมีส่วนร่วมของบุคคล หลักความรับผิดชอบ มาตรา 23 (1) มาตรา 23 (3) มาตรา 24 (2) มาตรา 23 (5) มาตรา 25 มาตรา 23 (2) , มาตรา 23 วรรค 2 มาตรา 23 (4)

22 หน้าที่ และหลักปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ
มาตรา 23 หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (1) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลฯ เท่าที่จำเป็น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น (2) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของบุคคลนั้น Sub Menu MENU

23 มาตรา 23 (ต่อ) (3) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้ (ก) ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ (ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (ค) ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ (ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล (จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล Sub Menu MENU

24 มาตรา 23 (ต่อ) (4) ตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอ (5) จัดระบบ รปภ. ให้แก่ระบบข้อมูลเพื่อป้องกัน มิให้นำไปใช้เป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล Sub Menu MENU

25 มาตรา 23 (ต่อ) ในกรณีที่เก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูล หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้า หรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ และกรณีที่ขอข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจหรือเป็นกรณีมีกฎหมายบังคับ หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลฯ ไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ Sub Menu MENU

26 มาตรา 24 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ดังต่อไปนี้ Sub Menu MENU

27 มาตรา 24 (1) ต่อ จนท.ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น (2) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบ (3) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผนหรือการสถิติ (4) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อ (5) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา (6) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม กม. Sub Menu MENU

28 มาตรา 24 (7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล (8) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว (9) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9) ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวง Sub Menu MENU

29 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ภายใต้บังคับ ม. 14 และ ม. 15 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น และให้นำ ม. 9 วรรค 2 และวรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด ถ้ากรณีมีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ Sub Menu MENU

30 มาตรา 25 วรรคสอง ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนนั้นได้ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องพิจารณาคำขอดังกล่าว และแจ้งให้บุคคลนั้นทราบโดยไม่ชักช้า Sub Menu MENU

31 มาตรา 25 วรรคสาม และวรรคสี่
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ และไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของตนแนบไว้กับข้อมูลข่าวสารส่วนที่เกี่ยวข้องได้ ให้บุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมีสิทธิดำเนินการตามมาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรานี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้ Sub Menu MENU

32 กรณีอุทธรณ์ตัวอย่าง กรณีขอดูเอกสารการสอบเข้าชั้นอนุบาลโรงเรียนสาธิต 3 แห่ง กรณีนักศึกษาขอตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัย กรณีหน่วยงานไม่รับเข้ารับราชการเพราะมีประวัติอาชญากรรม กรณีนักโทษใช้สิทธิขอดูประวัติต้องขังของตนเอง

33 สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
Thank You ! สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ


ดาวน์โหลด ppt สิทธิส่วนบุคคล : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google