ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยปัญญา รักไทย ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
2
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อ การรับรู้ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อ น้ำส้มสายชูที่หมักจากสับปะรด เพื่อศึกษาความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค ที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ที่มีต่อ น้ำส้มสายชูที่หมักจากสับปะรด
3
ขอบเขตการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มบุคลที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีมีรายได้ โดยเฉลี่ย 30,000 บาท ขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร ตัวแปรอิสระ 1. คือปัจจัยประชากรศาสตร์ เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ 2. ความใส่ใจสุขภาพ การติดตามข่าวสารด้าน สุขภาพการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพการปฏิบัติ เพื่อสุขภาพที่ดี ตัวแปรตาม ทัศคติที่มีต่อน้ำส้มสายชูที่หมักจาก สับปะรด ด้านการเป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพด้าน ประโยชน์
4
กรอบความคิดในการวิจัย
5
สมมติฐานการวิจัย H:1 ปัจจัยประชากรศาสตร์มีผลต่อการ ทัศนคติของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่ มีต่อน้ำส้มสายชูที่หมักจากสับปะรด H:2 ความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคมี ความสัมพันธ์กับการทัศนคติที่มีต่อ น้ำส้มสายชูที่หมักจากสับปะรด
6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อทำให้ประชากรในเขตกรุงเทพ ได้รับรู้ว่า มี น้ำส้มสายชูเพื่อสุขภาพที่หมักจากสับปะรด, น้ำส้มสายชูพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพที่ไร้ สารพิษ และได้เพิ่มยอดขายของ บริษัท ไทยรสทิพย์ จำกัด
13
ประเภทของการวิจัยและ แหล่งของข้อมูล “ ทัศนคติที่มีต่อน้ำสมสายชูหมักจาก สับปะรดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ” เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Approach )
14
ประชากรและขนาดของกลุ่ม ตัวอย่าง ประชากรที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ซึ่งมีจำนวน 3,056,169 ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ สิ้น ปี 2557 ด้านจำนวนกลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาครั้งนี้ กำหนดขนาดโดยคำนวณ จากสูตร ( ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2556)
15
วิธีการสุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคในจังหวัด กรุงเทพมหานครใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยแบ่งพื้นที่การเก็บ ข้อมูล สำหรับกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 50 เขตโดยใช้การแบ่งเขตตามการแบ่งของสำนัก ปลัดกรุงเทพมหานคร เขตลาดพร้าว เขตพญา ไท เขตปทุมวัน เขตราชเทวี เขตบางกะปิ เขตห้วย ขวาง เขตวัฒนา เขตคลองเตย เขตดินแดง เขตราชเทวี
16
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง (Personal Characteristics) ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดที่สำเร็จการศึกษา อาชีพ รายได้ และรายละเอียดกรมธรรม์ที่มีอยู่ 2. ความใส่ใจสุขภาพ การติดตามข่าวสาร ด้านสุขภาพ 3. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ 4. ทัศนคติที่มีต่อการรับรู้ที่มีต่อน้ำส้มสายชู ที่หมักจากสับปรดด้านการเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพด้านประโยชน์
17
มาตรวัดที่ใช้ ส่วนที่ 1 เป็นการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถาม เพื่อวัดตัวแปรเกี่ยวกับคุณลักษณะของ ผู้บริโภค มีข้อคำถามปลายปิด (Close-ended Question) ส่วนที่ 2, 3, 4, ความใส่ใจสุขภาพ การติดตามข่าวสาร ด้านสุขภาพ การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพทัศนคติที่มี ต่อการรับรู้ที่มีต่อน้ำส้มสายชูที่หมักจากสับปรดด้านการ เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพด้านประโยชน์ มีข้อคำถาม ปลายปิด (Close-ended Question) โดยทั้งหมดใช้ มาตรวัดอัตรภาค (Interval Scale) โดยให้ผู้ตอบ ประเมินค่า (Rating) ตามแบบวิธีของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ
18
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยนี้มีการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี รายงานและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเก็บรวบรวม ข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยมี ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี รายงานและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง (2) นำผลการศึกษาข้อ 1 มาออกแบบเครื่องมือวัด (3) ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจแก้ไข เครื่องมือให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย (4) ทดสอบการใช้เครื่องมือ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างจริงจำนวน 30 ตัวอย่างเพื่อประเมินคุณภาพด้าน ความตรงและประมวลผลค่าสัมประสิทธ์ความเชื่อมั่นเพื่อ ประเมินความเที่ยง (5) นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจริงกับกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนเนื้อหา ภาษา ให้ถูกต้องเหมาะสม
19
การประมวลผลและการ วิเคราะห์ข้อมูล (1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) (2) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation of Coefficient) (3) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)
20
ระยะเวลาในการวิจัย โครงการวิจัย “ ทัศนคติที่มีต่อน้ำสม สายชูหมักจากสับปะรดของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร ” มีระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่ เดือน มกราคม – เดือนพฤษภาคม 2558
21
งบประมาณ (1) ค่าถ่ายสำเนาเอกสารค้นคว้า 600 บาท (2) ค่าพาหนะเดินทางเก็บข้อมูล 4,000 บาท (3) ค่าพาหนะเดินทางมานำเสนองาน 500 บาท (4) ค่าเข้าเล่มรายงานพร้อมปก 100 บาท (5) ค่าโทรศัพท์ติดต่อในงานการทำวิจัย 500 บาท รวม 5,800 บาท
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.