โรคเบาหวาน เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรค ที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้นและถูกขับออกมาทาง ปัสสาวะ
สาเหตุ สาเหตุการเป็นโรคเบาหวานยังไม่แน่นอน แต่องค์ประกอบที่สำคัญๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุ ของการเกิดโรคดังนี้ 1. กรรมพันธุ์ มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีบิดา มารดา ญาติ เป็นเบาหวาน 2. จากเชื้อโรคหรือยาบางชนิดไปทำลาย เซลล์ของตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนไม่ สามารถหลั่งฮอร์โมนอินสุลินได้เพียงพอ 3. ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การตั้งครรภ์บ่อย
อาการ 1. ปัสสาวะบ่อยและมีมดขึ้น 2. ดื่มน้ำบ่อยและมาก 3. กินจุแต่ผอมลงเรื่อยๆ 4. น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย 5. เป็นแผลหรือฝีง่ายแต่หายยาก 6. คันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะ สืบพันธุ์ 7. เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ชาตามมือเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ 8. ตาพร่ามัว ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ 9. คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4000 กรัม ในแม่ที่เป็นเบาหวาน
โรคแทรกซ้อน * แบบเฉียบพลัน - การติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น เป็นแผลหรือฝี ซึ่งลุกลามเร็ว แผลที่เท้า วัณโรคปอด เป็นต้น - ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำมาก * แบบเรื้อรัง - หลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ทำให้เจ็บ หน้าอก, หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เป็นอัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด - ตาพร่า ตามัว ตาบอด, ไตอักเสบ, ไตวาย ประสาทอักเสบ ชาปลายมือ-ปลายเท้า ปัสสาวะลำบากหมดความรู้สึกทางเพศ ท้องผูกสลับท้องเดิน โรคแทรกซ้อนมีมาก แต่สามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมรักษา เบาหวานให้ดีจะเกิดได้น้อย และไม่รุนแรง
การดูแลรักษา โรคนี้เป็นแล้วไม่หายขาด แต่สามารถ ควบคุมได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง คือ 1. ควบคุมอาหาร 2. ออกกำลังกาย 3. ยาลดระดับน้ำตาล 4. การเรียนรู้และการดูแลรักษาตนเอง
การควบคุมอาหาร ลด…หลีกเลี่ยง….งด ในผู้ป่วยเบาหวาน * ลดอาหารจำพวกแป้งลง * หลีกเลี่ยงการกินเครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ ครีม กะทิ อาหารทอด นำมันปาล์ม * หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย * งดอาหารที่ใส่น้ำตาลมาก บุหรี่ สุรา
ควรกินอย่างไรดี ! * กินอาหารครบ 5 หมู่ กินผักให้มากขึ้น * กินข้าวตามกำหนด ถ้าไม่อิ่มให้กินผักเพิ่ม * กินผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้มโอ ฝรั่ง พุทรา * ใช้เต้าหู้ ถั่วต่างๆ ทำอาหารให้มากขึ้น * ใช้น้ำมันพืชแทนไขมันสัตว์ เช่น น้ำมัน รำข้าว ถั่วเหลือง * กินอาหารให้ตรงเวลา * กินยาตามแพทย์สั่ง อย่างเคร่งครัด * ควรกระจายอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ คือ กิน ทีละน้อยแต่กินทุกมื้อ เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ย่อยอาหารได้ง่ายกว่ากินทีละมากๆ