อวกาศ จัดทำโดย ด.ช.เดชฤทธิ์ ปรีชา ม.1/15 เลขที่ 14 ด.ช.ธัญณภัทร นิรันดร์สุข ม.1/15 เลขที่ 19
ถึงแม้ว่าตอนนี้ทั้งนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์จะมีข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศเต็มไปหมด แถมยังมีข่าวออกมามากมายที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ทั้งการทดลองและภาพถ่ายจากยานอวกาศทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่ทว่าภายใต้ความมืดมิดและระยะทางอันยาวไกลยังมีหลากหลายเรื่องราวที่พวกเราอาจยังไม่รู้ โดยเฉพาะ 18 เรื่องแปลกในห้วงอวกาศ ที่เรานำความจริงมาบอกกันในวันนี้
1. ควอซาร์ แสงลึกลับที่ขอบจักรวาล แสงลึกลับที่ส่องมาจากเส้นขอบจักรวาล โดยแรกในช่วงแรก ๆ นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นอะไร แต่หลังจากที่มีการค้นพบและสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าน่าจะเป็นวัตถุที่มีแสงสว่างเจิดจ้า ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณร้อยล้านปีแสง และสามารถปล่อยพลังงานมากกว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือกถึง 1,000 เท่า
2. ดาวเสาร์เบาจนลอยน้ำได้ คุณอาจจะเคยทราบมาว่า ดาวเคราะห์บางดวงในระบบสุริยะเกิดขึ้นจากการจับตัวของกลุ่มก๊าซ แต่คุณอาจจะยังไม่ทราบว่าดาวเสาร์ มีน้ำหนักเบาขนาดที่ว่าสามารถลอยตัวอยู่บนน้ำได้เลย เพราะมีความหนาแน่แค่เพียง 0.687 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ในขณะที่ความหนาแน่นของน้ำอยู่ที่ 0.998 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
3. ของเหลวกลมเมื่ออยู่บนอวกาศ หากว่าไปตามทฤษฎีของวิทยาศาสตร์ รูปร่างของของเหลวจะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ แต่เมื่อของเหลวอยู่ภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก หากกระเซ็นออกมาจากภาชนะหรือร่างกายของคน ก็จะแปรเปลี่ยนรูปร่างเป็นทรงกลมทันทีภายใต้ผิวน้ำที่เรียบตึงราวกับมีพลาสติกห่อหุ้มอยู่
4. ดวงจันทร์เคลื่อนตัวห่างจากโลกปีละ 3.8 เซนติเมตร ดวงจันทร์ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมอย่างที่ใคร ๆ คิดกันหรอก เพราะในทุก ๆ ปีดวงจันทร์จะเคลื่อนตัวห่างจากโลกออกไปราว ๆ 3.8 เซนติเมตรต่อปี สาเหตุนั้นก็สืบเนื่องมาจากที่โลกหมุนรอบตัวเองเร็วกว่ารอบโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งแรงกระทำดังกล่าวเป็นแรงกระทำเดียวกับที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงนั่นเอง นอกจากนี้ยังทำให้โลกโคจรรอบตัวเองช้าลง 0.002 วินาทีทุก ๆ ศตวรรษด้วย แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าดวงจันทร์จะเคลื่อนตัวออกจากโลกเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหายไปจากการเป็นบริวารของโลกได้ง่าย ๆ เพราะการเคลื่อนที่ออกจากโลกปีละเพียง 3.8 เซนติเมตรนั้นช่างน้อยนิดจนเรียกได้ว่า อีกล้านปีก็ยังไม่มีผลกระทบใด ๆ กับโลกเลย
5. แสงอาทิตย์มีอายุมากกว่า 30,000 ปี เชื่อหรือไม่ว่าแสงอาทิตย์ที่เรามองเห็นอยู่ทุก ๆ วันมีอายุมากกว่า 30,000 ปีแล้ว นับตั้งแต่มีพลังงานเกิดขึ้นในแกนกลางของ และแทรกซึมผ่านทุกอนุภาคของดวงอาทิตย์ จนกระทั่งเปล่งแสงออกมาจากพื้นผิวและกระจายไปทั่วทั้งห้วงอวกาศ โดยแสงเหล่านั้นถูกส่งต่อมายังโลกของเราภายใน 8 นาทีเท่านั้น โดยพิสูจน์จากความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว
6. โลกอาจมีดวงจันทร์ดวงที่ 2 6. โลกอาจมีดวงจันทร์ดวงที่ 2 ในปี ค.ศ. 1986 นักวิทยาศาสตร์นามว่า ดันแคน วอลดรอน ค้นพบวัตถุแปลกประหลาดโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะวงรี แต่ต่อมาวัตถุดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะกลับมาโคจรรอบโลก และสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นบริวารหรือดวงจันทร์ดวงที่ 2 ของเรา อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ตอนนี้จนถึงวันนี้มีการค้นพบวัตถุในลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ดวงแล้ว แต่ถูกจัดให้อยู่ในฐานะดาวเคราะห์น้อยอยู่
7. โลหะต่อติดแบบอัตโนมัติ โดยปกติแล้วการเชื่อมติดวัตถุที่เป็นโลหะจะต้องใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ามาช่วย แต่เมื่อในห้วงอวกาศเราไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเลย เพราะโลหะจะเชื่อมติดกันโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า เชื่อมแบบเย็น (Cold Welding) ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ทางนาซาจำเป็นต้องเคลือบชิ้นส่วนของยานอวกาศด้วยสารป้องกันการเกาะติด เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนของยานอวกาศติดกันนั่นเอง
8. มนุษย์สูงเพิ่ม 2 นิ้ว บนอวกาศ 8. มนุษย์สูงเพิ่ม 2 นิ้ว บนอวกาศ ไม่ว่าเป็นใครก็ตามหากได้ขึ้นไปอยู่ในห้วงอวกาศแล้ว ความสูงของคุณจะเพิ่มขึ้น 2 นิ้วทันที นั่นเป็นเพราะว่าในห้วงอวกาศไม่มีแรงดึงดูด ส่งผลให้กระดูกสันหลังของเรายืดตัวได้ยาวยิ่งขึ้น แต่อย่าเพิ่งดีใจไปว่า ความสูงจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต เพราะหลังจากที่คุณกลับมาบนพื้นโลกแล้ว ความสูงของคุณก็จะหดกลับมาเท่าเดิม
9. ดาวเพชร ในปี ค.ศ. 2004 นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวที่มีโครงสร้างเดียวกับเพชรทั้งหมด โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างกว่า 4,000 กิโลเมตร และตีค่าออกมาเป็นกะรัตได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านล้านกะรัต โดยอยู่ห่างจากโลกออกไปประมาณ 50 ปีแสง ลักษณะภายนอกของดาวดังกล่าวห่อหุ้มด้วยผลึกสีขาว ส่วนภายในประกอบด้วย ผลึกคาร์บอน ซึ่งนับว่าเป็นเพชรที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลเลยทีเดียว
10. ดวงอาทิตย์หดตัว ทุก ๆ การปะทุของลมสุริยะที่พวยพุ่งออกจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์แต่ละครั้ง จะสูญเสียมวลรวมไปราว ๆ 2 ล้านกิโลกรัมต่อวินาที คล้ายกับคนที่กำลังอดอาหารแล้วต้องสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปนั่นแหละ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะบนดวงอาทิตย์จะเกิดลมสุริยะมาแล้วกี่ครั้งกี่ครา แต่ทว่าดวงอาทิตย์ก็ยังคงมีขนาดที่ใหญ่โตและสามารถให้แสงสว่างได้อยู่เสมอ
11. รอยเท้าบนดวงจันทร์ไม่มีวันลบเลือน รอยเท้าที่ประทับลงบนดินหรือหาดทรายเพียงไม่กี่นาทีก็จางหายไป แต่สำหรับเหล่านักบินอวกาศที่เคยฝากรอยเท้าเอาไว้บนพื้นผิวของดวงจันทร์นั้น รอยเท้าของพวกเขาจะคงอยู่ชั่วนิรันดร์โดยไม่ลบเลือนนานเป็นล้านปี ซึ่งนั่นเป็นเพราะบนดวงจันทร์ไม่มีอากาศและลมนั่นเอง
12. ดวงจันทร์เรืองแสงได้ ในระหว่างที่โครงการอพอลโลอยู่ในช่วงปฏิบัติภารกิจ นักบินอวกาศได้รายงานว่า มีแสงสลัวส่งประกายออกมาจากดวงจันทร์คล้าย ๆ กับอากาศในชั้นบรรยากาศ แต่ทว่าดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศอย่างเช่นโลกของเรา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ให้คำอธิบายว่า แสงดังกล่าวน่าจะเป็นแสงสะท้อนจากอนุภาคเล็กที่ลอยตัวอยู่เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ ไม่ใช่การเรืองแสงแต่อย่างใด
13. หนึ่งวันบนดาวศุกร์เท่ากับ 243 วันบนโลก อีกหนึ่งเรื่องที่น่าประหลาดใจไม่แพ้กันก็คือ ระยะเวลาโคจรรอบตัวเองของดาวศุกร์กินเวลานานร่วมปี หรือราว ๆ 243 วัน ในขณะที่ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 225 วันเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะการหมุนแตกต่างไปจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เพราะดาวศุกร์จะหมุนวานตามเข็มนาฬิกา ในขณะที่ดาวที่เหลือหมุนทวนเข็มนาฬิกา
14. ทางช้างเผือกก็มีบริวาร อย่างที่รู้กันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า ดาวเคราะห์แต่ละดวงต่างก็มีดวงจัทร์เป็นบริวารของตัวเอง แต่แตกต่างกันไปในเรื่องของจำนวน แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกของเราก็มีบริวารเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าน่าจะมีบริวารอย่างน้อย 15 ดวงด้วยกัน ลักษณะเดียวกับดวงจันทร์ที่โคจรอยู่รอบ ๆ โลกของเรานั่นแหละ
15. น้ำแข็งบนดาวพลูโตแข็งกว่าโลหะ 15. น้ำแข็งบนดาวพลูโตแข็งกว่าโลหะ ว่ากันว่าบนโลกของเรายิ่งสูงยิ่งหนาว แต่สำหรับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรานั้นคงต้องใช้คำว่า ยิ่งไกลยิ่งหนาว โดยพิสูจน์ได้จากอุณภูมิบนดาวพลูโตที่มีอุณหภูมิติดลบถึง 234.4 องศาเซลเซียส ซึ่งว่ากันว่าน้ำแข็งที่อยู่บนพื้นผิวของดาวพลูโตแข็งแรงกว่าโลหะที่อยู่บนโลกของเราเสียอีก
16.ใจกลางทางช้างเผือก บางสิ่งบางอย่างกำลังถูกกลืนที่หลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก การเฝ้าดูดวงดาวโคจรรอบหลุมดำของทางช้างเผือก ดำเนินไปแม้เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นหลุมดำที่นั่น บริเวณรอบหลุมดำมีความกัมมันต์หรือความปั่นป่วนรุนแรง จากหอสังเกตการณ์จันทรา ที่แสดงแล้วเมื่อต้นพ.ศ.2545 แต่หลุมดำก็ไม่ได้สวาปามมวลมากพอจนคายรังสีเอกซ์พลังงานสูงอย่างที่เห็นในหลุมดำมวลมาก พฤติกรรมของหลุมดำแสดงความแตกต่างมากมายจนนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม 2545 บอกว่าหลุมดำ 2 หลุม รวมกันอาจทำตัวเหมือนเป็นสวิทช์ปิดเปิดของความเป็นกัมมันต์ มีประกาศการสังเกตการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายนแสดงหลุมดำ 2 หลุมกำลังรวมกัน จะต้องอธิบายความแตกต่างระหว่างหลุมดำแบบธรรมดาของเราและหลุมใหญ่ที่สว่างไสวรอบดาราจักรไกลๆ
17. น้ำบนดาวอังคาร ดาวอังคารยังปกปิดความลี้ลับไว้ได้ ไม่เปิดเผยกันง่ายๆ มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่? ใครจะตอบได้ถูก ในเมื่อนี่ยังเป็นคำถามของนาซ่าและนักวิทยาศาสตร์ดาวอังคาร แต่ก่อนตอบคำถามนี้มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำเหลวที่ชีวิตต้องการ ทั้งๆ ที่มีการค้นพบสำคัญเกี่ยวกับน้ำแข็ง ในพ.ศ.2545 แต่ก็ไม่มีใครนึกภาพออกว่ามันอยู่ในสภาวะเหลวได้อย่างไร มีร่องรอยเมื่อเดือนธันวาคมเป็นริ้วรอยมืดบนผิวเป็นเกลือ และน้ำไหล แต่บรรดาผู้วชาญทั้งหลายไม่มั่นใจหรอก ตอนนี้ยานอวกาศโอเดเซย์(Odyssey ของนาซ่า) กำลังโคจรรอบดาวอังคาร จะตามล่าหลักฐานมาให้
18.พลังงานมืด ไม่มีใครทราบว่ามันเป็นอะไรกันแน่ แต่มันเป็นการผลักดัน ขณะที่แรงโน้มถ่วงยึดสิ่งต่างๆ เข้าหากันในแต่ละแห่ง(ภายในดาราจักรและระหว่างดาราจักรในกระจุกดาราจักร) มีแรงที่ไม่รู้จักกำลังทำงานอยู่เบื้องหลังและทั่วเอกภพ เพื่อดึงให้ทุกสิ่งออกห่างจากกัน เพิ่งสังเกตกันได้ไม่นานมานี้ว่าเอกภพกำลังขยายตัวด้วยอัตราเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อไม่พบร่องรอยว่ามันคืออะไร ก็เรียกมันว่าพลังงานมืด ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ว่าพลังงานมืดกำลังทำงานอยู่ การคำนวณได้ทำให้ดีขึ้น แรงผลักมีอิทธิพลต่อเอกภพ มี 65% มวลมืดหรือมวลสารมืด(dark matter) ที่แปลกและไม่สามารถเห็นได้มี 30% ของเอกภพ ทำให้เอกภพมีแค่ 5% ของมวลและพลังงานตามปกติ การขยายตัวด้วยความเร่งให้แนวคิดว่า ดาราจักรทั้งหมดจะมีชะตากรรมแบบไม่มีที่สิ้นสุด หาจุดจบไม่ได้