อาหารสุขภาพต้านโรค.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

โทร. ๐-๔๕๗๙-๕๐๖๑ “ สุขภาพดีวิถีไทย สมุนไพร ได้มาตรฐาน บริการประทับใจ”
กลุ่มงานการบริการผู้ป่วยนอก งานบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทาน ประเทศที่นิยมรับประทาน
สถานการณ์และการเตรียมความพร้อม การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร.
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดนครปฐม ประจำเดือน กรกฎาคม 2555 ดร.นพ.ถวัลย์ พบลาภ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม.
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
ภาคีรวมใจคนไทยไร้พุง จ.ลพบุรี Lopburi’s Slimming Academy
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
นักโภชนาการน้อย.
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
วิชาโครงการ รหัส & ระดับ ปวช. และ ปวส.
ผัก.
อาหารหลัก 5 หมู่.
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
โครเมี่ยม (Cr).
อำเภอควบคุมยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เข้มแข็ง ปี 2556
องุ่น สตอ เบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล แดง แอปเปิ้ล ชมพู แอปเปิ้ล เขียว แอปเปิ้ล เหลือง โกโก้ บลูเบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน ส้มมะปิด ( ส้มจิ๊ด ) สับปะรด แตงโม.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
หลักการเลี้ยงสัตว์ คำบรรยาย โดย ครูสีกุน นุชชา
การปลูกผักอินทรีย์ดีต่อสุขภาพ กินผัก 5 สี ดีต่อสุขภาพ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ระดับความเสี่ยง (QQR)
บทเรียนเพื่อการศึกษา
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
มาทำความรู้จักกับ มาทำความรู้จักกับ เห็ดหูหนูขาว.
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
สาธารณสุขยุคใหม่ สร้างสังคมสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
ความต้องการพลังงานของร่างกาย
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน
ข้อสั่งการ/ข้อเสนอแนะ
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ยุทธศาสตร์ ที่ 1 Promotion, Prevention & Protection Excellence
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินแดง
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย (9 ตัว) กลุ่มเด็กปฐมวัย (๐-๕ ปี)/สตรี 1.อัตราส่วนการตายของมารดาไม่เกิน15ต่อการเกิดมีชีพแสนคน 2.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย.
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Autosome
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
“ถ้าหากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่จะล้มละลายภายใน 25 – 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
การออกแบบและนำเสนอบทเรียน
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังมีปัญหาอะไร?
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อาหารสุขภาพต้านโรค

โรคอ้วนคืออะไร ร่างกายของเราจะมีไขมันไว้เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเป็นเบาะกันกระแทกหากมีมากเกินไปคือโรคอ้วน ปกติผู้หญิงจะมีปริมาณไขมันประมาณ 25-30% ส่วนผู้ชายจะมี 18-23 %ถ้าหากผู้หญิงมีมากกว่า 30% ชายมีมากกว่า 25%จะถือว่าโรคอ้วน โรคอ้วนหมายถึงมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โรคอ้วนมิได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว

โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 3 ประเภท อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง โรคอ้วนลงพุง[ abdominal obesity] ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย โรคอ้วนลงพุ่งร่วมกับอ้วนทั้งตัว มีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง

อัตราส่วนเส้นรอบวงเอวต่อเส้นรอบวงสะโพก โดยการวัดเส้นรอบวงระดับสะดือ และเส้นรอบวงสะโพกส่วนที่นูนที่สุดของสะโพก เกณฑ์การตัดสินว่าอ้วนลงพุงหรือไม่ดังนี้ ในชาย อัตราส่วนมากกว่า 1.0 หรือเส้นรอบวงเอวมากกว่า 40 นิ้วจัดว่าอ้วนลงพุง มีไขมันในช่องท้องและร่างกายมากมีโอกาสเกิดโรคหัวใจ ในหญิง อัตราส่วนมากกว่า 0.8 หรือเส้นรอบวงเอวมากว่า 35 นิ้วจัดว่าอ้วนลงพุง มีไขมันในช่องท้องและร่างกายมากมีโอกาสเกิดโรคหัวใจ

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและส่วนสูง มาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่า ดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่าง แพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม)                              ความสูง2 (หน่วยเมตร2) = 55 = 20 1.66²

การเจ็บป่วยเมื่อมีค่า BMI ในระดับต่าง ๆ ประเภท ดัชนีมวลกาย (BMI) ความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย(BMI) น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า 18.5 ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ) น้ำหนักตัวปกติ 18.5 - 24.9 ปกติ น้ำหนักตัวเกิน 25-29.9 เพิ่มกว่าปกติ โรคอ้วนขั้นที่ 1 30-34.9 เพิ่มขึ้นอย่างมาก โรคอ้วนขั้นที่ 2 35-39.9 โรคอ้วนขั้นที่ 3 40 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง

โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยที่มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นและเป็นสาเหตุให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตและพฤติกรรมการบริโภค

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ กินอาหารมากเกินจำเป็น ไม่ถูกส่วน กินอาหารที่มีไขมันในปริมาณเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ไขมันจะซึมผ่านเซลเยื่อบุผนังหลอดเลือด ไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด

กินอย่างไรไม่เป็นโรคหัวใจ หวาน มัน เค็ม ควรลดหรือ หลีกเลี่ยงอาหาร

เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ทำให้เกิดโรคอ้วน อาหารหวาน อาหารมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ทำให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน

อาหารเค็ม อาหารดองเค็มเช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผักผลไม้ดอง กะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว ไตปลา เต้าหู้ยี้ ผงชูรส ทำให้ความดันโลหิตสูง ป้องกันมะเร็ง

                                             

"ธงโภชนาการ "(Nutrition Flag)

โภชนบัญญัติ ๙ ประการ ๑. กินอาหารครบ ๕ หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว ๒. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ๓. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ ๔. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ๕. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย ๖. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ๗. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่หวานจัด และเค็มจัด ๘. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน ๙. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

น้ำมัน น้ำตาลและเกลือ กลุ่มอาหาร หน่วยครัวเรือน 1600 (กิโลแคลอรี) 2000 กิโลแคลอรี) ข้าว - แป้ง ทัพพี 8 10 ผัก 4 5 ผลไม้ ส่วน 3 เนื้อสัตว์ ช้อนกินข้าว 6 9 นม แก้ว 2 1 น้ำมัน น้ำตาลและเกลือ ช้อนชา กินแต่น้อยตามที่จำเป็น 2600 กิโลแคลอรี) 12 6 5 1

กินพอดี สุขีทั่วไทย กินพอ คือ กินอาหารครบทุกกลุ่มมากน้อยให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย กินดี คือ กินอาหารให้หลากหลายชนิดไม่ซ้ำจำเจ กินพอดีช่วยให้ร่างกายเติบโตแข็งแรง สดชื่น แจ่มใส ไม่เจ็บป่วยง่าย การกินอาหารตามข้อแนะนำของ "ธงโภชนาการ" และ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้น้ำนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและสุขภาพแข็งแรง

สัดส่วนของธงโภชนาการมีความหมายว่าอย่างไร                                                                    สัดส่วนของธงโภชนาการมีความหมายว่าอย่างไร

ทำไมต้องกินอาหารให้หลากหลาย ในแต่ละกลุ่มอาหาร กินอาหารให้หลากหลาย หมายความว่า กินอาหารหลาย ๆชนิดในแต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันไป ไม่กินซ้ำจำเจเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเพื่อ ให้ได้สารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน หลีกเหลี่ยงการสะสมพิษภัยจากการปนเปื้อนในอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินเป็นประจำ

หน่วยตวงวัดระดับครัวเรือน ทัพพี ใช้ในการตวงนับปริมาณอาหารกลุ่มข้าว - แป้ง และผัก ข้าวสุก ๑ ช้อน ประมาณ ๑๕ กรัม หรือ ประมาณ ๑/๒ ถ้วยตวง ผักสัก ๑ ทัพพี ประมาณ ๘๐ กรัม หรือ ประมาณ ๑/๒ ถ้วยตวง ช้อนกินข้าว ใช้ในการตวงนับปริมาณอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ เนื้อสุก ๑ ช้อนกินข้าว ประมาณ ๑๕ กรัม เนื้อสัตว์สามารถเลือกเปลี่ยนเป็นอาหารในกลุ่มเดียวกันได้ คือ เนื้อสัตว์ ๑ ช้อนกินข้าว สามารถเลือกเปลี่ยนเป็น ปลาทู ๑/๒ ตัว หรือ ไข่ ๑/๒ ฟองหรือ เต้าหู้เหลือง ๑/๔ แผ่น

                                                                 

ท่านต้องกินอาหารแต่ละกลุ่มในปริมาณเท่าไร ธงโภชนาการบอกชนิดและปริมาณของอาหารที่คนไทยควรกินใน 1 วัน สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปถึงผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุ โดยแบ่งตามการใช้พลังงานเป็น 3 ระดับ คือ 1,600 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี 1,600 กิโลแคลอรี สำหรับ เด็กอายุ 6 - 13 ปี หญิงวัยทำงานอายุ 25 - 60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 2,000 กิโลแคลอรี สำหรับวัยรุ่นหญิง - ชาย อายุ 14 - 25 ปี วัยทำงานอายุ 25 - 60 ปี 2,400 กิโลแคลอรี สำหรับ หญิง - ชาย ที่ใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา

น้ำมัน น้ำตาลและเกลือ กลุ่มอาหาร หน่วยครัวเรือน 1600 (กิโลแคลอรี) 2000 กิโลแคลอรี) ข้าว - แป้ง ทัพพี 8 10 ผัก 4 5 ผลไม้ ส่วน 3 เนื้อสัตว์ ช้อนกินข้าว 6 9 นม แก้ว 2 1 น้ำมัน น้ำตาลและเกลือ ช้อนชา กินแต่น้อยตามที่จำเป็น 2600 กิโลแคลอรี) 12 6 5 1

ตัวอย่างอาหารมื้อเช้า 1. โจ๊กหมู ส้มเขียวหวาน 2. เกี๊ยมอี๋ ลำไย นมสด 3. ข้าวต้ม ผัดผักบุ้ง ไข่เจียว มะละกอ 4. ข้าวสวย ต้มจืดเลือดหมูใบตำลึง ไก่ทอด ชมพู่ 5. ข้าวสวย ต้มจับฉ่าย - กระดูกหมู ยำปลากระป๋อง ฝรั่ง 6. ซุปมะกะโรนี มะละกอ 7. ข้าวสวย กะหล่ำปลีตุ๋น ปลาช่อนผักคื่นไช่ 8. ข้าวต้มปลากะพง/ไก่/กุ้ง เงาะ 9. ข้าวสวย มะระสอดไส้หมู ไข่ตุ๋น 10. ขนมปัง ไข่ดาว มะเขือเทศ น้ำส้มคั้น

ตัวอย่างอาหารมื้อกลางวัน 1. ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ฝรั่ง 2. ขนมจีนน้ำยา (ทอดมันปลากราย) สับปะรด 3. บะหมี่น่องไก่ มะละกอ 4. ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย กระท้อนลอยแก้ว 5. ข้าวมัน - ส้มตำ หมูหวาน/เนื้อหวาน ส้มเขียวหวาน 6. ข้าวผัดกระเพราหมู - ไข่ดาว สับปะรด 7. ขนมจีน - แกงเผ็ดเป็ดย่าง น้อยหน่า 8. ก๋วยเตี๋ยวหมูสับ มะละกอ 9. ข้าวผัดสับปะรด แตงไทยน้ำกะทิ 10. ข้าวอบเผือก ผักดอง ลูกตาลลอยแก้ว  

ตัวอย่างอาหารมื้อกลางเย็น 1. ข้าวสวย แกงส้มผักรวม เต้าหู้ทรงเครื่อง (ปลาเล็กปลาน้อย) มะละกอ 2. ข้าวสวย แกงจืดปลาหมึกสอดไส้ น้ำพริกปลาทูทอด - ผักสด มังคุด 3. ข้าวสวย ผัดผักคะน้าน้ำมันหอย แกงป่าปลากราย กุ้งนิ่งมะนาว เงาะ 4. ข้าวสวย ต้มยำปลากระพง ผัดผักเบญจรงค์ ไข่ลูกเขย ส้มโอ เงาะ 5. ข้าวสวย น้ำพริกปลาร้า - ผักสด ไก่ตุ๋นฟักเห็ดหอม ห่อหมกทะเลใบยอ ส้มโอ 6. ข้าวสวย ผัดผักสี่สหาย แกงไตปลา - ผักสด หมูแดดเดียวทอด องุ่น 7. ข้าวสวย ต้มข่าไก่กะทิสด ไข่เจียว ผัดถั่วลันเตา - กุ้งสด แคนตาลูป 8. ข้าวสวย แกงเขียวหวานไก่ ผัดดอกกุ่ยช่าย น้ำพริกปลาย่าง - ผักสด สับปะรด 9. ข้าวสวย ต้มโคล้งปลากรอบ ผัดพริกขิงตับ - ถั่งฝักยาว ฉู่ฉี่กุ้ง กล้วยน้ำวา 10. ข้าวสวย พะแนงเนื้อ แกงจืดเต้าหู้ไข่ - สาหร่าย ผัดหน่อไม้ฝรั่ง ฝรั่ง

สารต้านอนุมูลอิสระหรือantioxidant

องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้ ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะเขือเทศราชินี มะละกอสุก กล้วยไข่ มะม่วงยายกล่ำ มะปรางหวาน แคนตาลูปเนื้อเหลือง มะยงชิด มะม่วงเขียวเสวยสุกและสับปะรดภูเก็ต ผลไม้ทั้งหมดนี้ล้วนมีเนื้อสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม 10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เมล็ด มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะโรงเรียน ลูกพลับ สตรอเบอรี มะละกอสุก ส้มโอขาวแตงกวาและพุทราแอบเปิ้ล

กินตามสี

อาหารเพื่อสุขภาพ 5 สี

กลุ่มสีต่างๆ ของผักและผลไม้ สีน้ำเงิน สีม่วง แดง กะหล่ำปลีสีม่วง มันสีม่วง เผือก องุ่นแดง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง ลูกหว้า ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกดข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดงและถั่วดำ มะเขือม่วง หอมแดง หอมหัวใหญ่สีม่วง บลูเบอร์รี่ น้ำดอกอัญชัน

กลุ่มสีต่างๆ ของผักและผลไม้ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม เมล็ดข้าวโพด ไข่แดงกะหล่ำปลี ผักกาดขาว บวบ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วพู ขึ้นฉ่าย กุยช่าย ชะอม ใบช้าพลู สีเขียว

กลุ่มสีต่างๆ ของผักและผลไม้ สีขาว ถั่วเหลือง ลูกเดือย ขิง ข่า เมล็ดงา แอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร หน่อไม้ พุทรา ลางสาด แห้ว ลอดกอง เงาะ ลิ้นจี่ ละมุด

กลุ่มสีต่างๆ ของผักและผลไม้ สีเหลือง/สีส้ม แครอต ขนุน ลูกพลับ สับปะรด มะนาว มะยม มะม่วง ทุเรียน ขมิ้นชัน เสาวรส

กลุ่มสีต่างๆ ของผักและผลไม้ สีแดง ชมพู ปลาแซลมอน กุ้ง ปู มะเขือเทศ แตงโม ส้มโอ ฝรั่ง มะละกอสีแดง ดอกกระเจี๊ยบ สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ เมล็ดทับทิม หัวบีด ผลแก้วมังกร ดอกเฟื่องฟ้า

สีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของไขมันแอลดีแอล ทำให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดมีความอ่อนนิ่ม สารกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanin) สีม่วงจากพืชตระกูลบลูเบอร์รี่ ถูกใช้เพื่อเสริมสมรรถภาพการมองเห็น และลดปัญหาที่เกิดกับระบบหมุนเวียนของเลือด

พืชผักสีเขียวนอกจากจะอุดมไปด้วยคลอโรฟีลล์แล้ว ยังมีสารประกอบอื่นๆ เช่น ลูทีน (lutein) อินโดล (indole) และไทโอไซยาเนต (thiocyanate)

ลูทีน เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบในผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม พบว่าลูทีนลดอัตราการเสื่อมของจอประสาทตา อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดในผู้สูงอายุได้

ใบหม่อนซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาร รูทิน (rutin) ซึ่งเป็ฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดฝอย นอกจากนี้ใบหม่อนยังมีสาร คาทีซิน (catechin) ซึ่งพบในชาเขียว ชาขาว แอปเปิ้ล และช็อกโกแล็ต คาทีซินเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดปริมาณไขมันแอลดีแอลในกระแสเลือด การกินใบหม่อนมีผลลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงภาวะอุดตันได้ และมีฤทธิ์เพิ่มการทำงานของอินซูลิน

อัลลิซิน (allicin) เป็นสารให้กลิ่นและรสในกระเทียม สีขาว อัลลิซิน (allicin) เป็นสารให้กลิ่นและรสในกระเทียม กระเทียมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด มีฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอล และแอลดีแอลในเลือด จึงมีการใช้ในการควบคุมปริมาณไขมันในเลือด

ไอโซฟลาโวน (isofravone) พบในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แซนโทน (xanthone) เป็นกลุ่มของฟลาโวนอยด์หลายชนิด พบในเนื้อสีขาวและเปลือกของผลมังคุด สารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่า

ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลูกเดือยใช้เป็นยาในตำราการแพทย์จีนมานาน

ขิงและข่า เป็นพืชอาหารที่มีฤทธิ์เสริมสุขภาพ และรักษาโรค สารจากขิงมีฤทธิ์ต้านการรวมตัวของเกล็ดเลือดและเพิ่มการสลายไฟบริโนเจน และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของไขมันดีเท่ากับวิตามินซี ลดปริมาณไขมันในเลือด การกินขิงจึงเหมาะสำหรับการดูแลความดันเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

เมล็ดงามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มปริมาณวิตามินอีในร่างกาย กรดโฟติก (phytic acid) พบในธัญพืชและเมล็ดถั่ว พบมากในจมูกข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติดูดจับโมเลกุลของโลหะ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดโคเลสเตอรอล และมีฤทธิ์ลดไขมันและปริมาณน้ำตาลในเลือด

เพ็กติน เป็นเส้นใยละลายน้ำได้ เช่นที่พบในผลแอบเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร และผลไม้อื่นที่ทำแยมได้มีความสามารถจับกับน้ำตาล และปลดปล่อยโมเลกุลน้ำตาลสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดค่อนข้างคงที่ ผลข้างเคียงคือลดความอยากอาหาร ให้ความรู้สึกอิ่มหลังกิน จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้

พืชผักที่มีสีเหลืองและสีส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากชนิด สีเหลือง/สีส้ม พืชผักที่มีสีเหลืองและสีส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากชนิด เช่น วิตามินซี แคโรทีนอยด์ และสารฟลาโวนอยด์ อาหารกลุ่มนี้จะช่วยรักษาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด สายตา ลดโอกาสการเกิดมะเร็ง และดูแลสุขภาพระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

สารสีส้มในแครอท มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเสริมประสิทธิภาพ ของเซลล์นักฆ่า (natural killer cell) ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ซ่อมแซมสารพันธุกรรมได้

สับปะรด มีกลุ่มเอนไซม์โบรมีเลน (bromelain) เป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนได้จากเนื้อ และแกนผลสับปะรดมีฤทธิ์ต้านการรวมตัวกันของเกร็ดเลือด

ขมิ้นชันใช้รักษาโรคกระเพาะ ลูกเสาวรสที่มีแคโรทีนอยด์และวิตามินซี

อาหารสีแดงช่วยดูแลหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง และรักษาสุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ สารที่พบในอาหารสีแดง/ชมพู ได้แก่ แคโรทีนอยด์ แอนโทไซยานิน บีทาเลน และสารประกอบฟีนอล

เป็นแคโรทีนอยด์ที่ให้สีแดงแก่ผลมะเขือเทศ แตงโม ส้มโอ ไลโคฟีน (lycopene) เป็นแคโรทีนอยด์ที่ให้สีแดงแก่ผลมะเขือเทศ แตงโม ส้มโอ ฝรั่งและมะละกอสีแดง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการถูกทำลายของสารพันธุกรรมและโปรตีน

ดอกกระเจี๊ยบ มีสารสีแดงกลุ่มแอนโทไซยานิน น้ำต้มดอกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และมีฤทธิ์ลดความดันเลือดด้วย ดอกกระเจี๊ยบสดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าดอกกระเจี๊ยบแห้ง

ผลแก้วมังกร มีทั้งที่เนื้อในสีขาว (ขอบติดเปลือกม่วง) และสีม่วง มีแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง มีปริมาณเพ็กตินสูง การกินผลไม้นี้ช่วยลดระดับน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือด ลดอาการโรคกระเพาะเนื้อผลทั้งสีขาวและสีม่วงอุดมด้วย สารต้านอนุมูลอิสระเนื่องจากมีวิตามินบีสูง และลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

จบบริบูรณ์ หิวหรือยังค่ะ