โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome) เกิดจากเชื้อCoxsackie A1B และ enterovirus71 สามารถทำให้เกิด การอักเสบของสมองได้ ผู้ป่วยจะมีอาการหนักคือมีไข้ ซึม หอบ เขียว และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการหนัก ในประเทศไทยพบการระบาดของโรคนี้เพียงประปรายเท่านั้น น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627 การติดเชื้อ เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัสต้นเหตุเข้าสู่ร่างกาย ไวรัสจะแบ่งตัวที่เยื่อบุในกระพุ้งแก้ม และในลำไส้เล็ก ใน 24 ชั่วโมงต่อมาเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง โดยมีระยะฟักตัวสั้น คือ 3-6 วัน หลังได้รับเชื้อ 3 วัน ไวรัสก็จะแพร่กระจายในกระแสเลือดไปฝังตัวอยู่ตามอวัยวะเป้าหมาย คือเยื่อบุของช่องปาก และที่ผิวหนังของมือและเท้า น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627 เมื่อเข้าสู่วันที่ 6 ของการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานสูงขึ้น ทำให้เชื้อไวรัสถูกขจัดออกจากกระแสเลือดและตำแหน่งที่เชื้อไวรัสไปฝังตัวอยู่ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627 อาการของโรค มีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือก ลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล ปวดศีรษะ ผื่นเป็นมากที่มือ รองลงมาพบที่เท้า ที่ก้นก็พอพบได้ เบื่ออาหาร เด็กจะหงุดหงิด น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627 โรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เกิดโรคนี้จากเชื้อ coxsackievirus A16 จะหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน - อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทาน ยาลดไข้ - อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
การแพร่กระจายของเชื้อ เชื้อ Enteroviruses พบได้ทั่วโลก ในประเทศที่ยังไม่พัฒนา อาจพบเด็ก ๆ ติดเชื้อในระหว่างที่ยังเป็นทารกอยู่ แต่สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจจะไม่พบการติดเชื้อจนกระทั่งเป็นวัยรุ่น เพศชายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเพศหญิง การถ่ายทอดไวรัสผ่านทางช่องปากหรือโดยทางอวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
การแพร่กระจายของเชื้อ (ต่อ) Enterovirus สามารถถูกขับออกมาทางอุจจาระได้ ตรวจพบได้ในน้ำ , ดิน , ผักสด , สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้ม สามารถติดต่อได้ในชุมชนโดยการปนเปื้อนมากับอาหาร หรือ น้ำ ลักษณะของโรค จะเกิดผื่นขึ้นที่มือ เท้า และปาก ประเทศในเขตอบอุ่น จะพบโรคนี้บ่อยในฤดูที่มีอากาศร้อน แต่สำหรับประเทศในเขตร้อน จะพบโรคนี้ได้ทุกฤดูกาล น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค…ทางคลีนิค ไข้ + แผลเปื่อยหลายแผล + ตุ่มน้ำพองขนาดเล็กที่ฝ่ามือ นิ้วเท้า ฝ่าเท้าและส้นเท้า เกณฑ์การวินิจฉัยโรค...ทางห้องปฏิบัติการ แยกเชื้อไวรัส จาก - Throat swab ในสัปดาห์แรกของการเริ่มป่วย - ป้ายจากตุ่มน้ำพอง ที่มือ เท้า ก้น - เก็บอุจจาระภายใน 14 วันของวันที่เริ่มป่วย ตรวจเลือด 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
ประเภทผู้ป่วยและการรายงานโรค ผู้ป่วยที่สงสัย (suspected case) ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลีนิค ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (probable case) เกณฑ์ทางคลีนิค + ข้อมูลทางระบาดวิทยาที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยที่ยืนยัน ผู้ป่วยที่ยืนยัน (confirmed case) เกณฑ์ทางคลีนิค + ผลทางห้องปฏิบัติการ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627 การรักษา ไม่มียาสำหรับการรักษาโดยเฉพาะ ส่วนมากมักจะเป็นการรักษาไปตามอาการ อาจมีการรักษาที่มุ่งจัดการกับโรคแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , การเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ , หัวใจล้มเหลว เป็นต้น ใช้ immune globulin ป้องกันการเกิดอาการที่รุนแรง คือ ในรายที่ระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายและสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627
น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627 การป้องกันและควบคุม จัดการการอนามัยในชุมชนให้ดีขึ้น เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ในกรณีที่พบการระบาดในพื้นที่เดียวกัน ให้สอบสวนหาสาเหตุของการระบาดเพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค น.ส. รสริน บวรวิริยพันธุ์ 45043627