ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ตัวเหลือง ภาวะที่…ป้องกันได้ ของทารก ภาวะตัวเหลือง... เกิดจากการมีสารสีเหลือง (บิลิรูบิน) เกาะตามส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ทำให้เห็นว่า มีผิวสีเหลือง นัยน์ตาขาวเป็นสีเหลือง ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ทารกคลอดครบกำหนดประมาณ 65% มีอาการตัวเหลืองจาง ๆ เมื่ออายุ 3–4 วัน และจะหายเหลืองภายในอายุ 4–7 วัน โดยไม่ต้องรักษา แต่ … มีทารกส่วนน้อยที่จะมีอาการตัวเหลืองขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง...ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ภาวะที่…ป้องกันได้ ของทารก ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลยะลา ปี 56หน้า 1
สาเหตุ... สาเหตุ...ที่อาจทำให้ลูกตัวเหลืองผิดปกติ… 1. ร่างกายสร้างสารสีเหลืองมากกว่าปกติ 2. อวัยวะที่ทำหน้าที่ทำลายและ...ขับสารบิลิรูบินไม่ทำงาน 3. หมู่เลือดมารดาและทารกไม่เข้ากัน 4. เม็ดเลือดแดงทำงานผิดปกติ 5. จากการติดเชื้อ 6. ได้รับยาบางชนิด 7. ท่อน้ำดีอุดตัน ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลยะลา ปี 56หน้า 2
ภาวะตัวเหลืองมีอันตรายอย่างไร ? อันตรายที่พบได้จาก...ตัวเหลือง 1. มีความผิดปกติทางสมอง 2. การเคลื่อนไหวของร่างกาย แขน ขาผิดปกติ 3. หูหนวก 4. ปัญญาอ่อน ...วิธีการตรวจ... เมื่อพบว่า... ทารกมีอาการตัวเหลือง แพทย์จะให้เจาะเลือด เพื่อตรวจหา ปริมาณสารสีเหลืองในเลือด ถ้าผิดปกติ… จึงส่งไปรักษาโดยวิธีการส่องไฟ หรือวิธีเปลี่ยนถ่ายเลือด ขึ้นอยู่กับ...ปริมาณสารสีเหลือง ในเลือด ...อาการ… ทารกจะมีอาการตัวเหลืองขึ้นเรื่อย ๆ ตาขาวเป็นสีเหลือง ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม จนเกือบกลายเป็นสีน้ำตาล และหากมีอาการ ตัวเหลืองมากจะพบอาการซึม ไม่ดูดนม ไข้สูง ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลยะลา ปี 56หน้า 3
วิธีการป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลือง ...ผิดปกติ... ทำได้โดย... ให้ลูกดูดนมแม่มาก ๆ เพราะ...สารสีเหลือง สามารถขับออกทางอุจจาระได้มาก เมื่อลูกดูดนมแม่ซึ่งมีสารช่วยย่อย ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อย และช่วยขับสารสีเหลือง ไม่ให้ค้างอยู่ในร่างกาย ลดอาการตัวเหลืองได้ ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลยะลา ปี 56หน้า 4
ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ในการรักษาอาการตัวเหลือง 1. การดื่มน้ำมาก ๆ จะได้หายตัวเหลือง ความจริง... การดื่มน้ำไม่เร่งให้ความ เข้มข้นของสารสีเหลือง ลดลง ตรงข้ามกลับมีผลเสีย คือ…ทำให้ดูดนมได้น้อยลง เพราะ...อิ่มน้ำเสียก่อน 2. การให้เด็กผึ่งแดดหรือ...อาบแดด ความจริง... ไม่ค่อยได้ผลทางปฏิบัติเพราะ ต้องถอดเสื้อผ้าเด็กออกหมด และนำเด็กไปผึ่งแดดตอนเช้า ๆ ทำได้เป็นเวลาสั้น ๆ เมื่อสาย มากขึ้นแดดจัดเกินไป เด็กอาจ เป็นไข้ได้จึง...ไม่เหมาะสม ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลยะลา ปี 56หน้า 5
การรักษา...มี 2 วิธี 2. วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือด...คือ... การรักษา...มี 2 วิธี สังเกตอาการผิดปกติ เช่น...ดูดนมน้อยลง ซึม ร้องเสียงแหลม มีผดคัน ถ่ายเหลว ถ้า...พบให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ 2. วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือด...คือ... การดูดเลือดของทารกที่มีสารสีเหลืองออก แล้วใส่เลือดใหม่ที่ไม่มีสารนี้เข้าไปทดแทน 1. การส่องไฟรักษา...คือ...การใช้แสงไฟระดับ ที่เหมาะสม กำจัดสารสีเหลืองบนผิวหนัง โดยให้ผิวหนัง ทารกสัมผัสแสงมากที่สุดและต้องเจาะเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่า...ความเข้มของสารสีเหลืองลดลงหรือไม่ การดูแลทารกขณะส่องไฟ - ดูแลให้ส่องไฟตลอด 24 ชั่วโมง และไม่นำเด็ก ออกมาบ่อย - ดูแลให้ดูดนมแม่อย่างเพียงพอทุก 2-3 ชั่วโมง - ดูแลให้ส่องไฟทั่วถึง โดยพลิกตะแคงตัว ทุก 2 ชั่วโมง - ดูแลให้ผ้าปิดตาอยู่เสมอ ป้องกันแสง ทำอันตรายนัยน์ตา - ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ไม่ทาแป้งขณะส่องไฟ ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลยะลา ปี 56หน้า 6