เพลง ปลุกใจ บ้านเรารู้ได้จักเพลงประเภทนี้ในรูปแบบสากลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ ครูฝึกทหารวังหน้าชาวอังกฤษ ได้นำเอาเพลง “God Save the Queen” ซึ่งเป็นเพลงชาติของอังกฤษ ที่มีเนื้อหาและท่วงทำนองที่หนักแน่น หึกเหิม มาเป็นเพลงสำหรับฝึกทหารแตร เพลงปลุกใจเพลงแรกของไทยน่าจะเป็นเพลงที่นำมาจากโคลงสยามานุสสติซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2461 เพื่อพระราชทานแก่ทหารไทยที่เดินทางไปราชการสงครามที่ทวีปยุโรป ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาในสมัยสงครามอินโดจีน พ.ศ.2483 สืบเนื่องมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยุคนี้ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของเพลงปลุกใจ หลายบทเพลงถูกสร้างขึ้นมาหวังให้ทหารและคนในประเทศมีความเป็นชาตินิยม หึกเหิมที่จะปกป้องแผ่นดินเกิดในช่วงแผ่นดินระส่ำระสาย และต่อมาในปัจจุบันได้มีเพลงในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างเพลง เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (พ.ศ.2500) ความฝันอันสูงสุด (พ.ศ.2514) เราสู้ (พ.ศ.2516) หรือจะเป็นเพลง หนักแผ่นดิน (พ.ศ.2518) ที่มีเนื้อเพลงท่อนฮิตติดหูอย่าง “หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน
ประวัติ เพลงกรุงศรีอยุธยา เพลงปลุกใจกรุงศรีอยุธยา เป็นเพลงประกอบการแสดงละครประวัตศาสตร์ เรื่องพระเจ้ากรุงธน ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของพลตรีหลวงวิจิตร วาทการ กรมศิลปกรจัดให้ประชาชนชม ณ. โรงละครศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2480 ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ คุณครูละมุล ยมะคุปต์ และคุณครูมัลลี คงประภัทร และต่อมา พ.ศ. 2526 ได้รับปรับปรุงแบบการแสดงเป็นการรำหมู่ ชาย – หญิง ผู้ปรับปรุงท่ารำคือ คุณครูเฉลย ศุภวณิต และคุณครูละมุล ยมะคุปต์ โอกาสที่แสดง ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องพระเจ้ากรุงธนและแสดงเป็นชุดวิพิทัศนา
การแต่งกายเพลงกรุงศรีอยุธยา
เนื้อเพลง กรุงศรีอยุธยา (สร้อย) กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย ถึงเคยแตกแหลกไปก็ไม่สิ้นคนดี เราจะรบศัตรูต่อสู้ไพรรี เราจะกู้เกียรติศรีอยุธยาไว้เอย อยุธยาธานีศรีสยาม เป็นเมืองงามธรรมชาติช่วยสนอง บริบูรณ์ลุ่มน้ำและลำคลอง ท้าวอู่ทองทรงสร้างให้ชาวไทย (สร้อย) ครั้งโบราณแพ้พม่าเป็นข้าเขา พระนเรศวรเจ้าทรงกู้ได้ ไล่ศัตรูไปให้พ้นแผ่นดินไทย ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี (สร้อย) ชาวศรีอยุธยามาด้วยกัน เลือดไทยใจมั่นไม่พรั่นหนี ชีวิตเราขอน้อมและยอมพลี ไว้เกียรติศรีอยุธยาคู่ฟ้าดิน (สร้อย)