วิชาการผลิตสุกรพันธุ์ระดับปวช.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำนมและ ผลิตภัณฑ์นม (Milk-born disease )
Advertisements

โรคที่สำคัญในสุกร.
Object Oriented Programing
วัยเจริญพันธุ์และพฤติกรรมทางเพศ (Puberty & Sexual Behavior)
การดูแลผู้ป่วยเด็กในชุมชนและ การบริหารยาในเด็ก สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ
RN. M.Ed (Nursing Administration)
การจัดการข้อมูลเพื่อทดสอบพันธุ์
Data Collecting for Genetic Improvement in Pig and Chicken
How to use epidemiology for trouble shooting the problems
Overview of Animal Breeding Stop and think ?... ทำไมต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ สัตว์ ? ต้องการผลิตลูกสัตว์ที่มี ลักษณะดีเด่นขึ้น.
ครูรุจิรา ทับศรีนวล Important birthdays Important birthdays ครูรุจิรา ทับศรีนวล.
ILI, FLU, PNEUMONIA สัปดาห์ที่ 32 (2-8 สิงหาคม 2552)
ร.ท.นพ.วิศรุต การุญบุญญานันท์ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช
ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. ....
วงรอบ การให้ผลผลิต ของโคนม Lifecycle Production Phases
วงรอบ การให้ผลผลิต ของโคนม Lifecycle Production Phases
Intern Kittipos Wongnisanatakul
“เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH. “เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH.
How to Analyse Difficult Chest CT
Power Point ประกอบการจัดการเรียนรู้
วิชาการผลิตสุกร ระดับปวส.
ชวนคิดชวนคุยลุยงาน สุขาภิบาลอาหารและน้ำ
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 11 การสุขาภิบาลและโรคสุกร.
วิชาการเลี้ยงสุกร ระดับปวช.
Assoc. Prof. Dr. Boonlom Cheva-Isarakul
น้ำในดิน (Soil Water).
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 6 การวางแผนการผลิตสุกร.
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 7 การจัดการสุกร.
มูลค่าของเงินตามเวลา
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
Obesity พญ. หทัยทิพย์ ต่างงาม โรงพยาบาลนครพิงค์.
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ และ (ฉบับที่
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสอน สถานการณ์ปัญหาที่ 1
Professor Sudaduang Krisdapong Department of Community Dentistry,
มองรัฐและอุตสาหกรรมไทยผ่านกรอบ Ha-Joon Chang
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 – 4,000 ปี ก่อนค.ศ.
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
SERVICE MARKETING พฤติกรรมลูกค้าในตลาดบริการ • กระบวนการตัดสินใจซื้อสำหรับผลิตภัณฑ์บริการ • บทบาทของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในการบริการ.
สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
การกระจายของโรคในชุมชน
เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
แม่วัยรุ่น (Teenage Mothers) ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี
การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ภายใต้เพดานงบประมาณ โดยใช้เกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ( DRG ) ( เริ่ม 1 เม.ย. 45 )
ระบบการปลูกพืช และการส่งเสริมอาชีพในพื้นที่ลุ่มต่ำ
วิชาการเลี้ยงสุกร ระดับปวช.
การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (oral presentation)
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการสืบพันธุ์
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 4 การปรับปรุงพันธุ์สุกร.
อาจารย์เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
LIPID METABOLISM อ. ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ - KETOGENESIS
ความเชื่อที่จะเจริญรุ่งเรือง
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากรูปร่าง โครงสร้าง หรือจำนวนโครโมโซมผิดปกติ
พระพุทธศาสนา.
อาจารย์ ศิริรัตน์ หวังดี
การขับเคลื่อนงานอนามัยการเจริญพันธุ์ ในมารดา อายุ 35 ปีขึ้นไป
เปาโลเดินทางไปยังกรุงโรม
วิชาการเลี้ยงสุกร ระดับปวช.
Timing diagram ปรับปรุง 19 มีนาคม
วิธีใช้ Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์.
การคัดเลือกและ การประมาณพันธุศาสตร์ปริมาณ
วิชาการเลี้ยงสุกร ระดับปวช.
วิชาการผลิตสุกร บทที่ 6 การจัดการเลี้ยงดูแม่สุกรหลังคลอด
การปฐมพยาบาลภาวะฉุกเฉิน
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เดือนพฤศจิกายน 2560 จังหวัดน่าน
งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ปี 2562
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชาการผลิตสุกรพันธุ์ระดับปวช. บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร เรียบเรียงใช้เพื่อการศึกษา โดยนายสีกุน นุชชา แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง แหล่งที่มาเนื้อหาหลัก วิชาการจัดการฟาร์มสุกร รศ.ดร.สุทัศน์ ศิริ สาขาวิชาสัตวศาสตร์(สุกร) มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ สุกรเพศผู้ที่ใช้เป็นพ่อพันธุ์จะเริ่มใช้งานได้จะต้องมีอายุอย่างน้อยประมาณ 8 เดือน หรือนํ้าหนัก 110 กิโลกรัม ปกติสุกรเพศผู้จะเริ่มเป็นหนุ่มตั้งแต่อายุ 4-5 เดือน แม้ว่าจะสามารถผสมพันธุ์ได้แต่ก็ยังไม่ควรใช้ เพราะร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ปริมาณการผลิตนํ้าอสุจิยังไม่มากพอ ตัวอสุจิยังไม่แข็งแรงพอ ซึ่งจะเป็นผลทําให้อัตราการผสมติดตํ่า ในกรณีที่ขนาดของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ต่างกันมาก จะทําให้การผสมพันธุ์ไม่ถนัดและแข้งขาของพ่อพันธุ์หนุ่มยังไม่แข็งแรงพอ อาจจะเป็นสาเหตุทําให้สุกรเพศผู้นั้นใช้ทําเป็นพ่อพันธุ์ได้ระยะสั้น

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ สุกรเพศผู้ที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์ตัวใหม่ ควรจะนําเข้ามาในฝูงแม่พันธุ์ก่อนการใช้งานประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือเอาเข้ามาในขณะที่พ่อสุกรหนุ่มอายุได้ 6.5-7 เดือน เพื่อให้สุกรมีความเคยชินกับสภาพของฝูงแม่พันธุ์นั้นและเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้พ่อพันธุ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย นอกจากนี้สุกรเพศผู้ที่ถูกเลี้ยงขังเดี่ยวหรือไม่มีโอกาสพบปะกับสุกรตัวอื่น มักจะมีพฤติกรรมการเล้าโลมสุกรเพศเมียไม่เป็น และมีความสามารถในการผสมลดลง จํานวนครั้งในการผสมพันธุ์น้อยลงด้วย การได้พบปะฝูงแม่พันธุ์ก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวให้น้อยลง เมื่อสุกรหนุ่มเริ่มเคยชินและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้ว สุกรหนุ่มก็จะมีอายุเข้าใกล้ 8 เดือน จึงเริ่มหัดสุกรหนุ่มนั้นให้ขึ้นผสมกับแม่สุกร การฝึกใช้งานระยะแรกๆ จะมีผลต่อการใช้งานสุกรพ่อพันธุ์ต่อไปข้างหน้า เพราะถ้าผสมครั้งแรกล้มเหลวจะทําให้สุกรหนุ่มตัวนั้นท้อแท้ไม่อยากผสมพันธุ์อีก

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การฝึกควรจะคํานึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ 1) แม่พันธุ์ที่จะใช้สําหรับฝึกงานให้กับสุกรหนุ่มขึ้นผสมควรเป็นแม่พันธุ์เก่า ไม่ควรใช้ สุกรสาวและควรมีขนาดเท่าๆ กับสุกรหนุ่ม และต้องเป็นสัดเต็มที่ ยืนนิ่งจริงๆ และไม่ดุ 2) ควรนําแม่พันธุ์เข้าไปผสมกับสุกรหนุ่มในคอกของสุกรหนุ่มนั้น ทั้งนี้เพราะสุกรหนุ่มมีความเคยชินกับสภาพที่เคยอยู่ จะได้ไม่เกิดอาการตื่น พื้นคอกที่ใช้ผสมต้องแห้งไม่ลื่น 3) ต้องพยายามฝึกให้สุกรหนุ่มขึ้นผสมทางด้านท้ายของแม่สุกร อย่าให้สุกรหนุ่มขึ้นผสม ทางด้านหัวของแม่สุกร จะทําให้ติดเป็นนิสัยของสุกรพ่อพันธุ์ในการผสมครั้งต่อๆ ไป 4) ในขณะที่สุกรหนุ่มขึ้นทับแม่สุกรนั้น อย่าปล่อยให้พ่อสุกรใช้เท้าปีนป่ายอยู่บนหลัง ของแม่สุกรโดยไม่หยุดเพราะจะทําให้แม่สุกรเกิดความเจ็บและจะไม่ยอมให้ผสมต่อไป 5) ในขณะที่กําลังฝึกสุกรหนุ่มนั้น อย่าตีหรือทําอะไรที่จะทําให้พ่อสุกรเกิดความกลัว เพราะถ้าหากสุกรหนุ่มเกิดความกลัวแล้วจะไม่ยอมขึ้นผสมแม่สุกร 6) ในขณะที่สุกรหนุ่มขึ้นผสมแม่สุกรนั้นควรช่วยจับอวัยวะเพศผู้ สอดใส่เข้าอวัยวะเพศเมียเพื่อป้องกันไม่ให้อวัยวะเพศผู้เข้าช่องทวารหนักของแม่พันธุ์

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การฝึกควรจะคํานึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ 7) หากแม่สุกรไม่ยอมให้สุกรหนุ่มผสม ให้รีบนําแม่สุกรออกจากคอกผสม อย่าปล่อยให้เกิดการต่อสู้กับสุกรหนุ่ม เพราะจะทําให้สุกรหนุ่มเกิดความกลัว 8) ไม่ควรนําสุกรหนุ่มเข้าไปในคอกรวมของแม่สุกร เพราะจะทําให้สุกรหนุ่มเกิดการ ตกใจกลัวแม่สุกร 9) เมื่อสุกรหนุ่มเริ่มแสดงอาการไม่สนใจแม่สุกรแล้ว ควรนําแม่สุกรออกจากคอกผสม ไม่ควรทนฝึกต่อไป ปกติการฝึกสุกรหนุ่มให้ขึ้นผสมแม่สุกร จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาทีก็เพียงพอ 10) ควรให้สุกรหนุ่มได้วิ่งออกกําลังกายบ้าง เพื่อไม่ให้สุกรหนุ่มเกิดความเฉื่อยไม่ กระตือรือร้น 11) สุกรหนุ่มตัวไหนที่ขึ้นผสมแม่สุกรได้แล้ว ในช่วงแรกควรใช้งานสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็พอ อย่าใช้งานหนักเกินไป ควรขังสุกรหนุ่มไว้ใกล้คอกสุกรพ่อพันธุ์ที่ใช้งานแล้ว เพื่อให้สุกรหนุ่ม เรียนรู้จากการผสมของสุกรพ่อพันธุ์ที่ใช้งานอยู่

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การคัดสุกรพ่อพันธุ์ที่ดีจริงๆ เท่านั้นไว้ใช้งาน โดยดูจากการใช้งาน 3 เดือนแรก ดังนี้ 1. ความต้องการทางเพศ (Sex drive) คัดเฉพาะสุกรพ่อพันธุ์ที่มีความกระตือรือร้นที่จะผสมกับแม่สุกรไว้ ส่วนพ่อสุกรตัวที่มีความเฉื่อยชาในการผสมพันธุ์นั้น ให้คัดทิ้งไป 2. นิสัยในการผสมพันธุ์ (Mating habit) บางตัวก็มีสินัยดี เมื่อแม่สุกรเข้ามาในคอกผสมก็จะมีการเล้าโลมบ้างเล็กน้อยแล้วขึ้นผสม แต่บางตัวมีนิสัยไม่ค่อยดีใช้เวลาเล้าโลมก่อนผสมนานเกินไปทําให้แม่สุกรเบื่อ บางตัวก็อาจจะเล้าโลมรุนแรงเกินไป หรืออาจจะกัดแม่สุกรก่อนขึ้นผสม หรือบางตัวก็จะใช้เท้าปีนป่ายบนหลังแม่สุกรในระระหว่างผสมทําให้แม่สุกรเจ็บ เป็นแผลและไม่ยอมให้ผสมต่อไป จึงควรพิจารณาคัดพ่อสุกรที่มีนิสัยไม่ดีดังกล่าวทิ้ง 3. ประสิทธิภาพในการเป็นพ่อพันธุ์ (Potency) ควรจะทดสอบโดยให้พ่อสุกรผสมกับแม่พันธุ์ดีๆ ประมาณ 4-5 ตัว ถ้าปรากฎว่ามีแม่สุกร 1-2 ตัวกลับสัดภายใน 21 วัน ก็แสดงว่าพ่อสุกรตัวนั้นไม่สมควรใช้เป็นพ่อพันธุ์ต่อไป ถ้าไม่มีแม่สุกรกลับสัดเลยก็แสดงว่าพ่อสุกรมีเชื้อดีควรคัดไว้ใช้เป็นพ่อพันธุ์ต่อไป

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การใช้และบํารุงรักษาพ่อพันธุ์ หลังจากที่คัดพ่อสุกรที่ดีไว้ใช้งานได้แล้วเราควรจะมีวิธีการใช้และบํารุงรักษาพ่อสุกรนั้นอย่างถูกวิธี เพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นาน โดยมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. อัตราการผสมพันธุ์ การใช้งานพ่อพันธุ์จะมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุ พ่อพันธุ์หนุ่มไม่ควรใช้งานมากเกินไป จะให้ดีแล้วควรจะใช้งานมากขึ้นเมื่ออายุได้ 15 เดือนขึ้นไป จะทําให้พ่อพันธุ์แข็งแรง สามารถใช้งานได้นาน ปริมาณนํ้าอสุจิและความสมบูรณ์ของนํ้าอสุจิจะสูงกว่าสุกรอายุน้อย ความถี่ของการผสมพันธุ์ควรจะมีจํานวนครั้งของการผสมพันธุ์ที่พอเหมาะ หากมากเกินไปความสามารถทางสรีระร่างกายของพ่อพันธุ์จะผลิตนํ้าอสุจิได้ไม่เพียงพอ ปริมาณตัวอสุจิน้อย ทําให้อัตราการผสมติดตํ่าการ ผสมมากเกินไปจะมีผลทําให้สภาพร่างกายของพ่อพันธุ์อ่อนแอ และเสื่อมโทรมเร็วกว่าปกติ อาจจะเป็นหมันไปในที่สุด การใช้งานของพ่อพันธุ์ควรเป็นไปอย่างสมํ่าเสมอ ถ้าหยุดใช้พ่อพันธุ์นานเกินไปก็จะทําให้เชื้อตายและผสมไม่ติด

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ตารางที่ 5.1 แสดงอัตราการใช้พ่อพันธุ์ผสมกับแม่พันธุ์ (อายุน้อยใช้น้อย อายุมากใช้มาก) ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การใช้และบํารุงรักษาพ่อพันธุ์ 2. เวลาผสมพันธุ์ ควรใช้พ่อพันธุ์ผสมกับแม่พันธุ์ในขณะที่มีอากาศเย็นสบาย เพราะการผสมในขณะที่มีอากาศร้อน นอกจากผลการผสมไม่ดีแล้ว ยังทําให้พ่อสุกรเหนื่อยได้ง่ายบางทีอาจจะหอบและตายก็ได้ ดังนั้นการผสมพันธุ์ควรเลือกช่วงที่อากาศเย็น ได้แก่ตอนเช้า เวลา 5.00-7.00 นาฬิกา ตอนเย็นเวลา 17.00-19.00 นาฬิกา 3. การให้อาหาร พ่อพันธุ์ที่อยู่ในระยะใช้งานควรจะได้รับอาหารอย่างเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ ปริมาณอาหารที่พ่อพันธุ์ควรได้รับประมาณ 1.5-1.8 เปอร์เซ็นต์ของนํ้าหนักตัวต่อวันหรือประมาณ 2-2.5 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ควรมีการเสริมวิตามิน หรือหญ้าสดให้กับพ่อพันธุ์บ้างไม่ควรให้อาหารมากเกินจะทําให้พ่อพันธุ์อ้วนเกินไป จะมีผลทําให้พ่อพันธุ์เฉื่อยชา และมีปัญหาในการขึ้นผสมกับแม่พันธุ์เพราะนํ้าหนักของพ่อสุกรมากเกินไป แม่สุกรจะยืนรับนํ้าหนักไม่ไหว

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การใช้และบํารุงรักษาพ่อพันธุ์ 4. การออกกําลังกาย สุกรพ่อพันธุ์ควรจะได้ออกกําลังกายบ้าง โดยปล่อยให้พ่อพันธุ์ออกจากคอกมาวิ่งเล่นตามทางเดินหรืออาจจะมีลานไว้ให้พ่อสุกรได้ออกกําลังกาย จะช่วยให้พ่อพันธุ์กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่าไม่อ้วนเกินไป 5. การตรวจเช็คนํ้าเชื้อ ควรมีการตรวจเช็คคุณภาพนํ้าเชื้อของพ่อพันธุ์เป็นประจํา อาจจะเป็นเดือนละครั้ง โดยตรวจเช็คปริมาณนํ้าเชื้อ ความเข้มข้นของนํ้าเชื้อ ปริมาณตัวอสุจิที่มีชีวิต การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ ปกติสุกรจะหลั่งนํ้าเชื้อออกมาครั้งละประมาณ 100-500 ซี.ซี. โดยเฉลี่ย 300 ซี.ซี. และมีตัวอสุจิอยู่ไม่น้อยกว่า 20-50 พันล้านตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดอายุและอัตราการผสมพันธุ์ หากพบพ่อพันธุ์มีนํ้าเชื้อผิดปกติ ควรพักพ่อพันธุ์นั้นไว้สัก 2 สัปดาห์ แล้วเช็คดูใหม่อีกก่อนการใช้งาน

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการสุกรพ่อพันธุ์ การใช้และบํารุงรักษาพ่อพันธุ์ 6. สภาพแวดล้อม พ่อพันธุ์ควรจะได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 20-24 องศาเซลเซียส การเลี้ยงพ่อพันธุ์ในสภาพอากาศร้อนจะทําให้เกิดความเครียด ซึ่งจะมีผลทําให้ปริมาณนํ้าเชื้อและจํานวนตัวอสุจิในนํ้าเชื้อลดลงและยังมีผลทําให้ตัวอสุจิตายมากขึ้น ผลจากการที่พ่อพันธุ์กระทบอากาศร้อนจะยังคงส่งผลต่อมาอีก 2-3 อาทิตย์ แม้ว่าจะให้พ่อพันธุ์ได้อยู่ในสภาพอากาศที่เย็นสบายแล้วก็ตาม ในสภาพอากาศร้อนอาจจะมีการพ่นละอองนํ้าให้พ่อพันธุ์โดยตรงหรือการใช้วิธีพ่นนํ้าบนหลังคาโรงเรือน

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ โดยปกติสุกรเพศเมียจะเริ่มเป็นสาว (Puberty) หรือเริ่มแสดงอาการเป็นสัดครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน แต่บางตัวอายุเป็นสัดครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 4 เดือนก็มี อย่างไรก็ตามไม่ว่าสุกรสาวจะเริ่มเป็นสัดเมื่อใดก็ตาม ควรจะเริ่มผสมแม่สุกรสาวเมื่ออายุประมาณ 7-7.5 เดือน หรือผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่สอง โดยสุกรสาวจะมีนํ้าหนักตัวประมาณ 110-120 กิโลกรัมขึ้นไป ก่อนที่จะผสมแม่สุกรสาวควรนําแม่สุกรสาวเข้ามาในฝูงผสมพันธุ์ก่อนผสมประมาณ 4-6 สัปดาห์ นั่นคือนําเข้ามาในฝูงผสมพันธุ์เมื่ออายุ 5.5-6 เดือน เพื่อให้แม่สุกรสาวปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดความเคยชินกับฝูงผสมพันธุ์ และเพื่อให้สุกรสาวได้คลุกคลีกับแม่สุกรที่เคยให้ลูกมาแล้ว

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ เมื่อนําสุกรสาวเข้ามาในฝูงผสมพันธุ์แล้วควรหมั่นตรวจเช็คการเป็นสัดอยู่เสมอ เพราะเป็นการยากที่จะบอกว่าสุกรสาวจะเริ่มเป็นสัดเมื่อใด หากตรวจพบว่าสุกรสาวเป็นสัดอย่าผสมพันธุ์ในคราวนั้น ควรรอไปจนแม่สุกรสาวเป็นสัดครั้งที่สองซึ่งจะห่างจากครั้งแรกมาอีก 18-25 วัน หรือโดยเฉลี่ย 21 วัน หลังจากผสมได้ 18-24 วัน ต้องเช็คแม่สุกรที่ได้รับการผสมแล้วอีกครั้งว่ากลับสัดหรือไม่ ถ้ามีแม่สุกรตัวใดแสดงการเป็นสัด ก็ให้ทําการผสมใหม่อีก และถ้ามีการกลับสัดใหม่ถึง 3 ครั้ง ควรจะคัดทิ้งแม่สุกรตัวนั้นไป

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ การผสมสุกรสาวเร็วเกินไปในขณะที่อายุยังน้อยขนาดตัวยังเล็กอยู่จะทําให้ได้จํานวนลูกต่อครอกน้อยลง และมีผลกระทบกระเทือนต่อสภาพการเจริญเติบโตของสุกรสาวเองด้วย ทําให้ร่างกายของแม่สุกรทรุดโทรมจากการตั้งท้องและเลี้ยงลูก ทําให้ความสมบูรณ์พันธุ์ลดลง หรืออาจเป็นหมันไปเลย แม้ว่าแม่สุกรนั้นจะได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารและการจัดการที่ดีก็ตาม อย่างไรก็ดี การยืดเวลาผสมแม่สุกรสาวนานเกินไป อาจทําให้แม่สุกรสาวอ้วนเกินไป และผสมติดยาก อาจเป็นเพราะไขมันไปเกาะติดรอบรังไข่ทําให้การตกไข่เกิดขึ้นไม่ได้ในขณะเป็นสัด หรือไขมันที่เกาะติดท่อมดลูกอาจทําให้ตัวอสุจิเดินทางไปพบไข่ที่ตกลงมาได้ไม่สะดวก ในบางครั้งสุกรสาวจะเป็นสัดยากหรือไม่เป็นสัดควรจะมีการกระตุ้นสุกรสาว โดยทําให้เกิด ความเครียดขึ้น จะทําให้เกิดการเป็นสัดขึ้นได้

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ การกระตุ้นดังกล่าวอาจทําได้โดย 1) เคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนคอกแม่สุกรสาวให้ไปอยู่คอกใหม่ 2) ย้ายแม่สุกรสาวไปอยู่ใกล้กับคอกพ่อสุกร เพื่อให้แม่สุกรได้เห็น ได้กลิ่น หรือได้ยินเสียงพ่อสุกร ซึ่งจะทําให้เกิดเป็นสัดได้ พบว่าสุกรสาวที่ได้พบปะกับสุกรเพศผู้เมื่อมีอายุได้ 165 วัน จะแสดงการเป็นสัดครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 180 วัน เร็วกว่าสุกรสาวที่ไม่ได้พบปะกับสุกรเพศผู้เลย ซึ่งจะแสดงการเป็นสัดครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 200 วัน 3) ย้ายสุกรสาวไปอยู่ในชุดแม่สุกรที่หย่านมลูกใหม่ซึ่งกําลังจะเป็นสัด 4) ใช้พ่อพันธุ์เข้ามากระตุ้นแม่สุกรสาว 5) ให้แสงสว่างเพิ่มในเวลากลางคืน

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ การกระตุ้นดังกล่าวอาจทําได้โดย ในการใช้พ่อพันธุ์เข้ากระตุ้นสุกรสาวนั้นจะได้ผลดีเมื่อปล่อยให้สุกรพ่อพันธุ์อยู่กับสุกรสาวอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงต่อวัน ตั้งแต่เริ่มการกระตุ้นจนกว่าจะพบการเป็นสัด แต่วิธีการนี้ก็เป็นการเสี่ยงต่อการที่สุกรสาวจะถูกผสมเมื่อเป็นสัดครั้งแรก และจะทําให้เกิดการสับสน หรือไม่สามารถทําบันทึกการผสมได้ถ้าสุกรสาวเกิดการตั้งท้องโดยไม่รู้ว่าพ่อพันธุ์ตัวไหนผสม การจัดให้มีคนเฝ้าดูระหว่างการกระตุ้นก็จะเป็นการสิ้นเปลืองแรงงาน การใช้สุกรเพศผู้ที่ถูกตัดท่อนํ้าเชื้อ (vasectomized boar) ให้อยู่ในคอกเดียวกับสุกรสาวก็จะช่วยได้บ้าง แต่ผลการกระตุ้นก็จะแตกต่างกันไประหว่างสุกรเพศผู้ที่ตัดท่อนํ้าเชื้อแต่ละตัว และสุกรเพศผู้เหล่านี้จะมีความสนใจสุกรสาวน้อยลง นอกจากนี้แล้วยังสิ้นเปลืองค่าเลี้ยงดูและสุกรพวกนี้จะอ้วนและหนักเกินไป ซึ่งอาจจะทําให้สุกรสาวได้รับบาดเจ็บด้วย

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ปัจจัยที่มีผลต่อจํานวนครอกและขนาดครอก ผลตอบแทนที่จะได้รับจากแม่สุกรพันธุ์เราจะวัดจากผลผลิตของแม่สุกรคือ การผลิตลูกสุกร โดยดูจากจํานวนครอกต่อแม่ต่อปี และจํานวนลูกต่อครอก ซึ่งตามปกติแม่สุกรควรให้ลูกไม่ตํ่ากว่า 2 ครอกต่อปี และจํานวนลูกไม่ควรตํ่ากว่า 18 ตัว ต่อแม่ต่อปี ถ้าเราสามารถเพิ่มจํานวนครอกต่อแม่ต่อปีและจํานวนลูกต่อแม่ต่อปีให้สูงขึ้นไปอีก ก็จะทําให้ผลตอบแทนที่จะได้รับสูงขึ้นอีก เท่ากับว่าประสิทธิภาพของการจัดการฟาร์มนั้นดี

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ปัจจัยที่มีผลต่อจํานวนครอกต่อแม่ต่อปี 1. ระยะเวลาในการอุ้มท้อง ซึ่งเป็นเรื่องของพันธุกรรม สุกรจะมีระยะเวลาในการอุ้มท้อง ประมาณ 114 วัน (110-120 วัน) การที่เราจะย่นระยะเวลาในการอุ้มท้องของแม่สุกรให้สั้นกว่านี้อีกโดยทําให้สุกรคลอดก่อนกําหนดนั้นทําไม่ได้อีกแล้ว เพราะลูกที่คลอดก่อนกําหนดจะอ่อนแอไม่สมบูรณ์ 2. ระยะเวลาในการเลี้ยงลูก ขึ้นอยู่กับการหย่านมลูกซึ่งสามารถจะหย่านมลูกสุกรได้ตั้งแต่ 7-56 วัน ถ้าย่นระยะเวลาในการเลี้ยงลูกของแม่สุกรให้สั้นลงมาเหลือ 19 วัน หรือน้อยกว่านี้จะทําให้จํานวนครอกต่อแม่ต่อปีเพิ่มขึ้นได้ 3. ระยะเวลาจากหย่านมจนถึงผสมพันธุ์ จะสั้นหรือยาวขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะเวลาในการเลี้ยงลูก การจัดการอาหาร และพันธุกรรม เป็นต้น ดังนั้นถ้าแม่สุกรพันธุ์สามารถกลับเป็นสัดครั้งแรกหลังหย่านมได้เร็วและสามารถผสมพันธุ์ได้เร็วก็จะทําให้จํานวนครอกต่อแม่ต่อปีเพิ่มมากขึ้นอีก

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ขนาดครอกของลูกสุกร หรือจํานวนลูกต่อครอกของแม่สุกรนั้นจะขึ้นอยู่กับ 1. อายุและนํ้าหนักตัวเมื่อผสมพันธุ์ (Age and weight at mating) 2. พันธุ์ (Breed) 3. การปรนเปรอหรือการเพิ่มอาหารก่อนผสม (Flushing) 4. ช่วงเวลาของการผสม (Timing of mating) นอกจากปัจจัยที่กล่าวมานี้แล้วยังมีปัจจัยอื่นอีก คือ โรคและการขาดอาหาร การเพิ่มจํานวนลูกต่อครอกด้วยการกระตุ้นให้มีการตกไข่เพิ่มและลดอัตราการตายของตัวอ่อนด้วยการใช้ฮอร์โมนก็ได้รับความสนใจที่จะนํามาใช้แต่ผลที่ได้ยังไม่แน่นอน

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ขนาดครอกของลูกสุกร หรือจํานวนลูกต่อครอกของแม่สุกรนั้นจะขึ้นอยู่กับ อายุและนํ้าหนักตัวเมื่อผสมพันธุ์ (Age and weight at mating) ด้วยความเป็นจริงแล้วทั้งอายุและนํ้าหนักตัวไม่ได้มีผลต่อขนาดครอกของลูกสุกรจากสุกรสาวดังข้อมูลจากหลายๆ ประเทศ นั่นคือสุกรสาวที่แก่กว่าจะมีนํ้าหนักในช่วงการยอมรับการผสมและคลอดลูกมากกว่าสุกรที่มีอายุน้อย การถ่วงเวลาการผสมพันธุ์ให้ล่าช้าออกไปจนเกินเลยขั้นตํ่าของอายุและนํ้าหนักที่ควรผสม จะเพิ่มจํานวนลูกต่อครอกได้เพียงเล็กน้อย ความสัมพันธ์ของจํานวนลูกสุกรแรกคลอดมีชีวิตกับอายุและ/หรือนํ้าหนักตัวเมื่อผสมอาจจะถูกบิดเบือนดังกล่าวมาแล้ว เพราะในสุกรสาวที่มีอายุและนํ้าหนักตัวเพิ่มจะมีอัตราการตกไข่เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็จะเกิดอัตราการตายของตัวอ่อนมากขึ้นด้วย เป็นเหตุผลที่ว่าการเพิ่มขนาดครอกจะน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการตกไข่

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ขนาดครอกของลูกสุกร หรือจํานวนลูกต่อครอกของแม่สุกรนั้นจะขึ้นอยู่กับ อายุและนํ้าหนักตัวเมื่อผสมพันธุ์ (Age and weight at mating) ขนาดครอกเมื่อแรกคลอดจะได้รับอิทธิพลจากจํานวนครั้งที่เป็นสัดของแม่สุกรสาวเมื่อถูกผสมมากกว่าอิทธิพลของอายุและนํ้าหนักตัวของมันในขณะนั้น จํานวนไข่ที่ตกจะมีน้อยในขณะเป็นสัดครั้งแรก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ฟอง ในการเป็นสัดครั้งที่สอง และมากขึ้นอีกเมื่อเป็นสัดครั้งที่สาม ด้วยเหตุที่อัตราการตายของตัวอ่อนจะเพิ่มตามอายุและนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จํานวนลูกที่เกิดเพิ่มขึ้นจากการปล่อยให้ผสมพันธุ์ช้าออกไปถึงการเป็นสัดครั้งที่สองและสามจะน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการตกไข่

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ขนาดครอกของลูกสุกร หรือจํานวนลูกต่อครอกของแม่สุกรนั้นจะขึ้นอยู่กับ อายุและนํ้าหนักตัวเมื่อผสมพันธุ์ (Age and weight at mating) พบว่าจํานวนลูกสุกรจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.4 ตัว เมื่อทําการผสมแม่สุกรสาวในคราวเป็นสัดครั้งที่สอง และการเพิ่มขึ้นของจํานวนลูกสุกรเมื่อคลอดก็จะเป็นเช่นเดียวกัน โดยจะเพิ่มขึ้นในการผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่สามมากกว่าการผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่สอง อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปจะแนะนําให้ทําการผสมสุกรสาวเมื่อเป็นสัดครั้งที่สอง สุกรสาวที่ไดัรับการกระตุ้นให้เป็นสัดครั้งแรกเร็วขึ้นด้วยการให้พบปะกับสุกรเพศผู้จะเป็นสัดครั้งแรกก่อนสุกรสาวที่ไม่ได้พบปะสุกรเพศผู้เป็นเวลา 40 วัน และมีนํ้าหนักตัวน้อยกว่าด้วย การผสมเมื่อเป็นสัดครั้งแรกจะทําให้ขนาดครอกของลูกน้อยและอัตราการผสมติดตํ่า ควรผสมล่าช้าออกไปเมื่อเป็นสัดครั้งที่สองหรือสาม ซึ่งการผสมล่าช้าออกไปก็เหมือนกับไม่คุ้มค่าไม่มีประโยชน์ การผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่สองน่าจะเพียงพอที่จะให้ประสิทธิภาพและสมรรถภาพตลอดช่วงเวลาการให้ผลผลิตของแม่สุกรดีขึ้น

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ตารางที่ 5.2 ความสัมพันธ์ของอายุและนํ้าหนักตัวเมื่อผสมพันธุ์กับขนาดครอกของลูกสุกรจากสุกรสาว ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ขนาดครอกของลูกสุกร หรือจํานวนลูกต่อครอกของแม่สุกรนั้นจะขึ้นอยู่กับ พันธุ์ (Breed) จํานวนลูกสุกรเมื่อคลอดจะมีความแตกต่างกันไประหว่างพันธุ์ แต่จํานวนลูกเมื่อคลอดต่อครอกจะได้รับอิทธิพลจากการเลี้ยงดูมากกว่าพันธุ์ ส่วนมากจะพบว่าการผสมข้ามพันธุ์จะมีผลทําให้จํานวนลูกสุกรเมื่อคลอดมากกว่าพันธุ์แท้ สุกรลูกผสมจะให้ลูกสุกรเมื่อคลอดมากกว่าสุกรพันธุ์แท้ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 0.5 ตัวต่อครอก

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ขนาดครอกของลูกสุกร หรือจํานวนลูกต่อครอกของแม่สุกรนั้นจะขึ้นอยู่กับ พันธุ์ (Breed) การปรนเปรอหรือการเพิ่มอาหารก่อนผสมพันธุ์ (Flushing) ถ้าสุกรสาวถูกผสมเมื่อเป็นสัดครั้งที่สอง สิ่งที่จะมีผลมากที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มากเกินในช่วงหลังๆ ควรจะเพิ่มอาหารที่ให้กินในช่วง 10-14 วันก่อนการผสมและลดปริมาณอาหารที่ให้ลงให้อยู่ในระดับการจํากัดอาหารประมาณวันละ 1.5-2 กิโลกรัมต่อตัว ทันทีหลังผสมพันธุ์ เหตุผลที่ต้องให้อาหารแบบที่กล่าวมานั้นก็เพราะการให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงก่อนผสมแล้วยังคงให้อาหารในระดับสูงหลังผสม จะเป็นผลทําให้อัตราการตายของตัวอ่อนมากขึ้น การเพิ่มปริมาณอาหารอีก 50 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการจํากัดตามปกติ เป็นเวลา 10 วันก่อนการผสมจะทําให้อัตราการตกไข่เพิ่มขึ้นถึง 2 ฟอง และเป็นผลทําให้จํานวนลูกสุกรเพิ่มขึ้นถึง 1 ตัว

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ตารางที่ 5.3 ความสามารถตลอดการให้ลูก 5 ครอกของแม่สุกรที่ได้รับการผสมพันธุ์ ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ พันธุ์ (Breed) การปรนเปรอหรือการเพิ่มอาหารก่อนผสมพันธุ์ (Flushing) ขบวนการ Flushing จะมีผลไปเพิ่มจํานวนลูกสุกรแรกคลอดให้กับสุกรสาวที่ถูกจํากัดอาหาร ผลของการเพิ่มอาหารนี้จะแปรปรวนไปในสุกรแต่ละตัวในฟาร์ม แต่ผลการตอบสนองต่อการเพิ่มอาหารจะมีมากที่สุดในภาพรวมของฟาร์ม ขณะที่ค่าเฉลี่ยของขนาดครอกแรกคลอดของสุกรสาวจะตํ่า การเพิ่มอาหารเป็นเหมือนกับการทําให้เกิดความมั่นใจว่าสุกรสาวที่เป็นสัดนั้นได้รับอาหารอย่างเพียงพอก่อนการตกไข่ ซึ่งโดยปกติสุกรที่กําลังเป็นสัดจะมีความอยากกินอาหารลดลง นอกจากนี้แล้วในกรณีที่เลี้ยงเป็นฝูงจะทําให้เกิดการแย่งกินอาหารทําให้ปริมาณอาหารที่กินลดลงก็จะมีผลต่อการตกไข่ได้ ดังนั้นการเพิ่มอาหารหรือการปรนเปรออาหารก็จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการกับสุกรสาวเพื่อการผสมพันธุ์ ช่วงเวลาทําการผสมพันธุ์ (Timing of mating) การผสมพันธุ์ก่อนหรือหลังการเป็นสัดอย่างเต็มที่มากเกินไปจะเป็นผลทําให้อัตราการยอมรับการผสมตํ่า และขนาดครอกลูกแรกคลอดจะเล็กลง ช่วงเวลาที่เหมาะสมสําหรับการผสมเพื่อให้ได้อัตราการยอมรับการผสมสูงขึ้น และได้ขนาดครอกของลูกเมื่อคลอดใหญ่ขึ้น จะเป็นช่วง 10-20 ชั่วโมงก่อนการตกไข่ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาการตกไข่ที่แน่นอนนั้นไม่สามารถกําหนดตายตัวได้ว่าจะต้องทําในช่วงเวลาใดจึงจะได้ผลดีที่สุด การผสมหลายๆ ครั้งในช่วงการเป็นสัดก็จะมีโอกาสให้ผลดีกว่าการผสมเพียงครั้งเดียว การผสม 2-3 ครั้งในช่วงที่สุกรสาวแสดงการยืนนิ่งเพื่อรับการขึ้นผสมของสุกรพ่อพันธุ์หรือสนองตอบต่อการกดหลัง ก็จะช่วยให้ขนาดครอกเมื่อคลอดเพิ่มขึ้นได้

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ภาพที่ 5.1 แสดงระยะเวลาของการเป็นสัดและช่วงเวลาที่เหมาะสําหรับผสม ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่พันธุ์หลังผสมพันธุ์ถึงใกล้คลอด การผสมจะได้ผลดีจะต้องมีพ่อพันธุ์ที่ดี สุกรแม่พันธุ์เมื่อได้รับการผสมเรียบร้อยแล้วต้องรีบนํากลับไปเลี้ยงไว้ให้ห่างจากพ่อพันธุ์ อาจจะเลี้ยงรวมกันกับแม่สุกรตัวอื่นๆ ที่เคยอยู่ด้วยกันมาก่อน และต้องมีขนาดไล่เลี่ยกันด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการถูกรังแกจากสุกรที่ตัวโตกว่า การเลี้ยงรวมกันนี้ก็เพื่อที่จะรอการตรวจการตั้งท้องสะดวกต่อการตรวจสอบการกลับสัดของแม่พันธุ์ที่ผสมไม่ติด เมื่อทราบแน่นอนแล้วว่าผสมติดก็จะแยกเลี้ยงคอกขังเดี่ยว หรือในบางระบบอาจจะนําแม่สุกรเข้าคอกขังเดี่ยวหลังผสมเลยก็ได้ จะช่วยให้แม่สุกรได้พักผ่อนอย่างสงบไม่ถูกรบกวนจากแม่พันธุ์ตัวอื่น จะทําให้อัตราการสูญเสียตัวอ่อนลดลง แต่การตรวจการกลับสัดจะทําได้ยากกว่าการเลี้ยงรวม

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่พันธุ์หลังผสมพันธุ์ถึงใกล้คลอด เมื่อนําเข้าเลี้ยงคอกขังเดี่ยวแล้วจะมีการควบคุมปริมาณการกินอาหารในระหว่างการตั้งท้องต่อไป แม่สุกรหลังผสมแล้วควรจะให้อยู่ในคอกที่เย็นสบายมีการถ่ายเทอากาศดี แม่สุกรที่เร่งอาหารก่อนผสมพันธุ์ จะต้องลดปริมาณอาหารลงเท่าปริมาณการให้กินอย่างจํากัดตามปกติ โดยเริ่มตั้งแต่วันแรกหลังผสมพันธุ์จนถึงตั้งท้องได้ประมาณ 2 เดือนครึ่งหรือ 75 วัน จะให้อาหารจํากัดโดยเฉลี่ยวันละ 1.8-2.2 กิโลกรัม ขึ้นกับสภาพของแม่สุกรการให้กินมากเกินจะทําให้แม่สุกรอ้วนเกินไปจะทําให้คลอดลูกยาก ลูกที่เกิดมีขนาดแรกเกิดแตกต่างกัน และแม่สุกรมักจะเป็นไข้หลังคลอด (post-farrowing fever) ทําให้นํ้านมหยุดไหล อีกประการหนึ่งแม่สุกรที่กินอาหารมากในระยะอุ้มท้องมักจะกินอาหารน้อยในช่วงเลี้ยงลูก ทั้งๆ ที่ในระยะเลี้ยงลูกร่างกายจะต้องมีการสร้างนํ้านมเพื่อเลี้ยงลูกซึ่งจะต้องการอาหารเพื่อบํารุงและเสริมสร้างมากกว่าปกติ ไม่ให้ร่างกายทรุดโทรม

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่พันธุ์หลังผสมพันธุ์ถึงใกล้คลอด ปรากฏว่าแม่สุกรที่กินอาหารมากในขณะตั้งท้องร่างกายจะซูบผอมลงในระยะเลี้ยงลูกเกิดสภาพที่เรียกว่า Thin sow syndrome (TSS) แม่สุกรที่ตกอยู่ในสภาพนี้จะกลับเป็นสัดหลังหย่านมช้า ในรายที่ผอมมากเกินไปก็ไม่อาจจะเลี้ยงให้คืนสภาพได้และกลายเป็นหมันไปตลอดชีพ หลังการตั้งท้องได้ 75 วัน จะต้องเพิ่มอาหารให้แม่สุกรมากกว่าระดับปกติ ในช่วงนี้จะให้ ประมาณ 2.5-3 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ไปจนถึงตั้งท้องได้ 100-105 วัน จากนี้ไปก็จะลดปริมาณอาหารลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงวันละ 1 กิโลกรัม จนถึงวันกําหนดคลอด ถ้าแม่สุกรแสดงอาการกระวนกระวายเพราะความหิว ก็ให้ใช้รําผสมนํ้าให้กินพอเต็มท้อง ในช่วง 10 วันก่อนคลอดต้องระวังอย่าให้แม่สุกรเกิดอาการท้องผูก ควรจัดหาหญ้าสดไว้ให้กินเพื่อป้องกันท้องผูก ควรนําแม่สุกรใกล้คลอดเข้าคอกคลอดก่อนถึงกําหนดคลอด 5-7 วัน

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่สุกรหลังหย่านมถึงผสมใหม่ แม่สุกรในระยะนี้บางทีเรียกว่า แม่สุกรท้องว่าง (Dry sow) การจัดการในช่วงนี้นับว่ามีความสําคัญมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการหย่านมลูกครอกแรกของแม่สุกรสาวตามปกติจะเกิดการสูญเสียนํ้าหนักตัว ร่างกายทรุดโทรมในระหว่างการให้นมในครอกแรก ในช่วงนี้แม่สุกรสาวจะยังคงมีการเจริญเติบโตทางร่างกายเพื่อเข้าสู่การโตเต็มที่อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเกิดการแย่งใช้โภชนะอาหารไปเพื่อการเจริญเติบโตของตัวแม่สุกรเอง เพื่อการให้นมและการสืบพันธุ์เมื่อเทียบกับแม่สุกรที่โตเต็มที่แล้วจะเกิดเหตุการณ์นี้น้อยกว่า ได้มีความพยายามที่จะลดการสูญเสียของสภาพร่างกายของสุกรสาวเนื่องจากการให้นมลูกในครอกแรก โดยการเพิ่มการกินอาหารของแม่สุกรสาวให้มากขึ้นในช่วงการให้นมครอกแรก การกินอาหารมากเกินของแม่สุกรสาวในช่วงตั้งท้องจะมีผลไปลดความอยากกินอาหารในช่วงการให้นม

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่สุกรหลังหย่านมถึงผสมใหม่ ถ้าแม่สุกรสาวอ้วนเกินไปขณะคลอดลูกครอกแรก สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถจะคาดหวังได้เพื่อให้แม่สุกรสาวกินอาหารมากในขณะให้นมเหมือนกับแม่สุกรที่มีขนาดร่างกายพอดีไม่อ้วนในขณะคลอดลูก ก็คือ การใช้ระบบการให้อาหารอย่างเต็มที่ โดยการติดตั้งกล้องให้อาหารแบบกินเอง (Hopper) หน้าคอกคลอด วิธีนี้จะมีผลทําให้การกินอาหารมากขึ้นเทียบกับระบบการให้แบบจํากัดปริมาณโดยให้ 2 ครั้งต่อวัน การควบคุมการเปลี่ยนแปลงนํ้าหนักระหว่างการให้นมสามารถทําได้ด้วยการควบคุมระยะเวลาที่ให้แม่สุกรสาวกินอาหารอย่างเต็มที่ การให้อาหารมากในช่วงคลอดจะทําให้เกิดอาการไข้ร่วมหลังคลอด (post-farrowing fever complex) คืออาการที่แม่สุกรเป็นโรคเต้านมอักเสบ (mastitis) มดลูกอักเสบ (metritis) และนํ้านมไม่ไหล (agalactia) ร่วมกัน แต่ที่สําคัญ คือ นํ้านมไม่ไหล ต้องหลีกเลี่ยงการให้อาหารอย่างเต็มที่ในวันสองวันหลังคลอด

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่สุกรหลังหย่านมถึงผสมใหม่ ถ้าแม่สุกรสาวอ้วนเกินไปขณะคลอดลูกครอกแรก การให้อาหารเปียกแทนอาหารแห้งและให้อาหารพลังงานสูงก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้เพิ่มปริมาณการกินอาหารในช่วงการให้นม ระดับการให้อาหารปกติหลังหย่านมเป็น 1.8 กิโลกรัมและการเพิ่มปริมาณอาหารจะทําให้การเป็นสัดหลังหย่านมเร็วขึ้น และเปอร์เซ็นต์ยอมรับการผสมสูงขึ้นด้วย ควรต้องระวังอย่าให้แม่สุกรมีสภาพอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไปหลังการหย่านม เพราะจะเกิดปัญหาแม่สุกรเป็นสัดผิดปกติ ควรจะเพิ่มปริมาณอาหารที่ให้กินมากขึ้น โดยเฉลี่ยวันละ 4 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน เพื่อเร่งความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ให้ดีขึ้นหลังจากการเลี้ยงลูก มีการตกไข่เร็วขึ้นและมีปริมาณการตกไข่มากขึ้นด้วย ปกติแล้วแม้สุกรจะกลับเป็นสัดหลังการหย่านมประมาณ 4-7 วัน โดยเฉลี่ย 5 วัน ยกเว้นแม่สุกรสาวที่เพิ่งให้ลูกครอกแรกจะใช้เวลาในการกลับสัดหลังหย่านมนานกว่านี้ ซึ่งในระบบที่มีการจัดการปกติแล้ว จํานวนแม่สุกรและระยะเวลาในการกลับเป็นสัดหลังหย่านมจะเป็นดังนี้

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ตารางที่ 5.4 ผลของการเพิ่มปริมาณอาหารหลังหย่านมลูกครอกแรก ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การจัดการแม่สุกรหลังหย่านมถึงผสมใหม่ 8.5% ของแม่สุกรที่หย่านมจะกลับมาเป็นสัดครั้งแรกหลังหย่านมได้เฉลี่ย 7 วัน 5% ของแม่สุกรที่หย่านมจะกลับเป็นสัดครั้งแรกหลังหย่านมได้เฉลี่ย 28 วัน 5% ของแม่สุกรที่หย่านมจะกลับเป็นสัดครั้งแรกหลังหย่านมได้เฉลี่ย 49 วัน 5% ของแม่สุกรที่หย่านมจะกลับเป็นสัดครั้งแรกหลังหย่านมได้เฉลี่ย 60 วัน ในกรณีของ 5 เปอร์เซ็นต์หลังนี้ควรจะคัดทิ้งแม่สุกรเสีย และถ้าแม่สุกรที่หย่านมมาแล้วภายใน 7-10 วัน เป็นสัด ส่วนน้อยกว่า 85-90 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าการจัดการมีปัญหาควรตรวจหาข้อบกพร่องและรีบแก้ไขเสีย

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของแม่สุกร ระยะการผลิต (Productive periods) ในช่วงชีวิตของแม่สุกร หมายถึง ระยะที่แม่สุกรตั้งท้อง (pregnancy) และระยะให้นม (lactation) ส่วนระยะหยุดพักการผลิต (unproductive periods) นั้นเป็นระยะเวลาเริ่มจากสุกรสาวถูกคัดเลือกเป็นแม่พันธุ์ จนถึงการผสมติดครั้งแรกกับระยะเวลาหลังการหย่านมลูกแต่ละครั้งจนถึงการผสมติดครั้งต่อไปและระยะเวลาตั้งแต่หย่านมครั้งสุดท้ายจนถึงคัดทิ้งหรือตาย ซึ่งในช่วงเวลาเหล่านี้แม่สุกรจะไม่มีการให้ลูก ไม่มีการเลี้ยงลูกแต่จะกินอาหารและใช้ต้นทุนอื่นๆ โดยไม่มีผลตอบแทน แม่สุกรตัวใดมีระยะการผลิตมากและระยะหยุดพักการผลิตน้อย ย่อมเป็นแม่สุกรที่ให้ผลผลิตสูง กล่าวคือ จํานวนครอกต่อปีจะมาก หรือจํานวนลูกสุกรต่อแม่ต่อปีจะมาก ดังนั้นถ้าฟาร์มใดแม่สุกรมีความสามารถดีมีความแตกต่างระหว่างแม่พันธุ์น้อย ก็จะทําให้ผลผลิตรวมของฟาร์มสูง

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของแม่สุกร โดยปกติมักจะเกิดปัญหาที่แม่สุกรมีการหยุดพักการผลิตนานเกินไป มีผลทําให้ระยะการผลิตของแม่สุกรสั้นลง จึงจําเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้ถึงสาเหตุสําคัญที่ทําให้ระยะหยุดพักการผลิตของแม่สุกรนานเกินไป เพื่อที่จะหาวิธีแก้ไข สาเหตุที่ระยะหยุดพักการผลิตของแม่สุกรนานเกินไปก็คือ 1. แม่สุกรเป็นสัดช้าหลังหย่านม ปกติแล้วไม่ควรจะเกิน 15 วัน และแม่สุกรบางตัวก็ไม่เป็นสัดอีกเลย 2. การตรวจสัดยากหรือตรวจสัดไม่พบ อาจจะเพราะผู้เลี้ยงเอาใจใส่ในการตรวจไม่ดี หรือแม่สุกรเป็นสัดโดยแสดงอาการไม่ชัด (silent heat) 3. เป็นสัดแต่ผสมไม่ติด 4. ผสมติดแต่ตัวอ่อนตายหรือแท้งลูก 5. การล่าช้าระหว่างการหย่านมกับการคัดทิ้ง

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของแม่สุกร มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการมีประสิทธิภาพตํ่าของแม่พันธุ์ ทําให้ระยะหยุดพักการผลิตยาวนานออกไป อาทิเช่น พันธุกรรม โรค การให้อาหาร โรงเรือน พฤติกรรมของสุกรเอง ความรู้ความสามารถของผู้เลี้ยงและการจัดการต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการจัดการแม่สุกรในระยะที่ผ่านมาตั้งแต่อุ้มท้องจนถึงเลี้ยงลูกที่จะส่งผลมาถึงประสิทธิภาพของแม่สุกรหลังหย่านมดังได้กล่าวมาแล้ว การวัดประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของแม่สุกรนั้น จํานวนครอกของลูกต่อแม่ต่อปี จะเป็นปัจจัยที่สําคัญในการบ่งถึงประสิทธิภาพ ในการคํานวณการหยุดพักการผลิตก็จะไม่มีกําหนดตายตัว บางทีจะเลือกใช้ทั้งระยะเวลาจากคัดเลือกถึงการผสมติดครั้งแรก และระยะจากหย่านมครั้งสุดท้ายถึงถูกคัดทิ้ง หรือตาย หรือเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง และการคํานวณจํานวนครอกต่อแม่ต่อปี จะต้องรวมแม่สุกรสาวตั้งแต่นํ้าหนัก 90 กิโลกรัม ด้วย

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ตารางที่ 5.5 การคํานวณระยะเวลาพักการผลิตของแม่สุกรต่อปี ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของแม่สุกร จากเริ่มผสมครั้งแรกของแม่สุกรสาว แม่สุกรจะหยุดพักการผลิตในช่วง 10 และ 13 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด เป็นผลให้สูญเสียลูกหย่านม 2 และ 3 ตัวต่อแม่ต่อปี ไม่เพียงเท่านึ้การสูญเสียยังรวมไปถึงการใช้ต้นทุนต่างๆ ที่มีค่าสูง เช่น อาหาร แรงงาน โรงเรือน โดยที่ไม่มีการให้ผลตอบแทน เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องคํานึงถึง ถ้ายอมให้แม่สุกรใช้ระยะเวลาจากหย่านมถึงการเป็นสัดครั้งแรกหลังหย่านม 7 วัน จะเห็นว่าแม่สุกรที่หย่านมลูกเมื่ออายุต่างกันก็จะมีระยะเวลาหยุดพักการผลิตเป็น 47, 42, 41 และ 45 วันต่อปี สําหรับการหย่านมที่อายุ 17, 23, 35 และ 45 วัน ตามลําดับ ซึ่งการสูญเสียผลผลิตที่เกิดขึ้น แสดงไว้ในตารางที่ 5.6

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ตารางที่ 5.6 จํานวนลูกหย่านมที่สูญเสียไปเนื่องจากระยะหยุดพักการผลิต ที่มา: สุทัศน์ ศิริ, (มปพ.)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การคัดทิ้งพ่อพันธุ์สุกร (Culling Boars) ลักษณะของพ่อพันธุ์ที่เฉื่อยต่อการผสมพันธุ์จำเป็นต้องคัดทิ้งถึงลักษณะจะดี การใช้งานพ่อสุกรไม่คำนึงถึงอายุตราบที่พ่อสุกรนั้นยังสามารถใช้ในการสืบพันธุ์ได้อยู่ สาเหตุที่ถูกคัดทิ้ง เช่น พ่อพันธุ์ไม่มีลักษณะตามมาตรฐานที่เรากำหนดไว้ เช่น รูปร่างดี แต่สร้างน้ำเชื้อคุณภาพไม่ดี สร้างตัวอสุจิน้อยเกินไป หรือมีตัวอสุจิไม่สมประกอบมากเกินไป พ่อพันธุ์มีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว ดุร้าย อาจเป็นอันตรายต่อคนเลี้ยงได้ พ่อพันธุ์มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้แม่สุกรสาวรับน้ำหนักไม่ได้ตอนผสมพันธุ์ แต่ลักษณะนี้อนุโลมได้ในการรีดน้ำเชื้อผสมเทียม พ่อพันธุ์อาจเป็นหมัน อาจจะได้รับเชื้อโรคขณะผสมพันธุ์แล้วทำให้เป็นหมัน พ่อสุกรเป็นโรคหรือพาหะของการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งลูก สุกรไม่แสดงถึงลักษณะความเป็นเพศผู้ หรือระบบสืบพันธุ์เพศผู้พัฒนาช้าจึงมีการแสดงออกมาช้า

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การคัดเลือกสุกรสาวทดแทน การเข้มงวดในการคัดเลือกนั้นจะมีน้อยกว่าการคัดเลือกพ่อพันธุ์ ความก้าวหน้าในการปรับปรุงสุกรเพศเมียมีน้อยกว่าสุกรเพศผู้ การคัดเลือกสุกรสาวต้องอาศัยลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความสามารถในการสืบพันธุ์ในเพศเมีย และลักษณะที่ประกอบในการคัดเลือก คือ 1. ลักษณะของเต้านม ควรมีไม่น้อยกว่า 6 คู่ และขนาดควรมีความสม่ำเสมอ ไม่ควรมีหัวนมกลับหรือหัวนมบอด ทั้งนี้เพราะไม่สามารถให้น้ำนมได้ จำนวนเต้ามีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์และการเลี้ยงลูก จำนวนและลักษณะของเต้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หัวนมจะต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เต้านมจะสร้างน้ำนมไม่เท่ากัน โดยที่ด้านหน้าจะสร้างน้ำนมได้ดีกว่าเต้านมที่อยู่ด้านหลัง 2. ความยาวลำตัวของแม่สุกรสาว ถ้ามีความยาวมากเต้านมจะมีพื้นที่ในการพัฒนามากขึ้น

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การคัดเลือกสุกรสาวทดแทน 3. ความแข็งแรงของขาและข้อเท้า เนื่องจากมีช่วงชีวิตที่ยาวนานกว่าสุกรขุน และในช่วงอุ้มท้องแม่สุกรจะมีน้ำหนักมากขึ้นโดยเฉพาะเท้าหลัง แม่สุกรจะเพิ่มน้ำหนัก 15 - 20 กิโลกรัม สำหรับช่วงตั้งท้องทำให้ขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ถ้าช่วงขาอ่อนอาจจะทำให้ช่วงท้องและเต้านมสัมผัสกับพื้นทำให้เป็นแผลและได้รับไข่พยาธิจากพื้นอาจทำให้ลูกสุกรได้รับพยาธิด้วย 4. ลักษณะหลังตรงแข็งแรง หรือหลังโค้งเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยป้องกันเต้านมและช่วงท้องสัมผัสพื้น ถ้าหลังไม่แข็งแรงจะทำให้มีปัญหาตอนพ่อพันธุ์ขึ้นทับเพื่อผสมพันธุ์

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การคัดทิ้งสุกรสาวและแม่สุกร (Culling Gilts And Sows) สุกรสาวที่จะใช้เป็นแม่พันธุ์จะถูกคัดทิ้งตั้งแต่ก่อนให้ลูก 10–12 % เพราะไม่แสดงอาการเป็นสัด หรือผสมไม่ติด (ควรผสม 2 ครั้งของการเป็นสัด) การคัดทิ้งของของแม่สุกรที่ให้ลูกแล้วมีประมาณ 15% เนื่องจากไม่สามารถจะรับการผสมพันธุ์ใหม่ได้ เช่น ช่องคลอดเล็กเกินไปคลอดยาก ให้ลูกคอกเล็ก มดลูกอักเสบรักษาไม่หาย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า การให้ลูกครอกที่ 3-5 จะให้ลูกได้ดีที่สุดเพราะร่างกายแม่สุกรเจริญเติบโตเต็มที่ การพิจารณาจะคัดทิ้งหรือไม่จะพิจารณาจำนวนครอกต่อสุกร แม่สุกรให้ลูกสุกร 4 ครอกแล้วถ้าให้ลูกไม่ดีก็ควรคัดทิ้ง เพราะเริ่มที่จะมีอายุมาก ขนาดและคุณภาพของลูกสุกรเมื่อหย่านมจะนำมาวัดว่าควรที่จะนำแม่สุกรทำพันธุ์ต่อไปหรือไม่

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร การคัดทิ้งสุกรสาวและแม่สุกร (Culling Gilts And Sows) สิ่งที่จะพิจารณาอีกก็คือ ขนาดครอกแรกเกิด น้ำหนักตัวแรกเกิด ขนาดของครอกเมื่อหย่านม น้ำหนักตัวเมื่อหย่านม ลูกสุกรในสัปดาห์ที่ 3 จะเหมาะในการนำมาพิจารณาด้วย เพราะช่วงสัปดาห์ที่ 2 แม่สุกรจะให้น้ำนมมากที่สุดแล้วจะเริ่มลดลงเมื่อสัปดาห์ที่ 3 ความสามารถในการให้นมของแม่สุกรจะวัดถึงความเป็นแม่สุกรที่ดี แม่สุกรจะให้ปริมาณน้ำนม 8 - 9 กิโลกรัมต่อวัน สำหรับพันธุ์ที่ให้น้ำนมดี แต่ทั่วไปมักจะมี 6–7 กิโลกรัมต่อวัน สำหรับการหย่านมแล้วมาเป็นสัดใหม่สุกรนางจะใช้เวลาสั้นกว่าสุกรสาว

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ระบบฟาร์มเปิดหรือฟาร์มปิด ระบบฟาร์มเปิดหรือฟาร์มปิด หมายถึง จะซื้อสุกรจากนอกฟาร์มเข้ามาหรือจะทําการคัดเลือกสุกรทดแทนขึ้นมาจากสุกรในฟาร์ม ฟาร์มปิดในที่นี้ก็คือฟาร์มที่มีการคัดเลือกผสมพันธุ์และคัดสุกรทดแทนจากสุกรในฟาร์มและมีการนําเอายีนส์ใหม่เข้ามาแต่ในรูปของนํ้าเชื้อ ข้อดี ส่วนใหญ่จะเป็นผลดีต่อการป้องกันโรค ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถของสุกรในฟาร์มทั้งหมด ตัวอย่างโรคติดต่อ เช่น โรคบิดในสุกร (swine dysentery) ซึ่งจะไม่ปรากฏในฟาร์มปิด ยกเว้นที่ถูกนํามากับหนู หรือลม นอกจากนี้แล้วยังเป็นการลดปัญหาการเกิดโรคท้องร่วงจากเชื้ออีโคไล โรคแท้งติดต่อ และโรคจากเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลูก (SMEDI Syndrome) ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น นโยบายการปิดฝูงเป็นบางส่วน อาจจะทําโดยการผสมพันธุ์ผลิตสุกรสาวเพื่อทดแทนและซื้อแต่พ่อพันธุ์ในบางโอกาส อย่างไรก็ตามการนําพ่อพันธุ์เข้ามาก็จะนําเอาเชื้อ E. coli, enteroviruses จุลินทรีย็ที่เป็นสาเหตุโรคระบบหายใจ และบางครั้งก็นําเชื้อโรคที่ค่อนข้างรุนแรงเข้ามาได้ เช่น โรคติดต่อทางเดินอาหารอย่างรุนแรง หรือโรคบิดในสุกร (swine dysentery หรือ TGE)

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร ระบบฟาร์มเปิดหรือฟาร์มปิด ข้อเสีย จะเกี่ยวข้องกับนโยบายการผสมพันธุ์ จะต้องมีการเก็บรักษาสายพันธุ์แท้ไว้เพื่อการผลิตแม่สุกรสาวลูกผสม นอกจากต้นทุนแล้วก็ยังมีด้านการจัดการที่จะเพิ่มขึ้น จะต้องมีการเก็บบันทึกราย ละเอียดมากขึ้น และต้องทําบันทึกการทดสอบคัดเลือกสุกรสาว ต้นทุนพิเศษที่จะเพิ่มขึ้นมาคือ โรงเรือนสําหรับฝูงสุกรที่จะใช้ทดแทน การจัดการดูแลพิเศษที่จะต้องทําในการดูแลสุกรพ่อพันธุ์ที่ใช้ผสมพันธุ์และ การคัดเลือกพ่อพันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์จะต้องการต้นทุนและแรงงานเพิ่มขึ้น คนเลี้ยงก็จะต้องมีประ สิทธิภาพสูง โดยเฉพาะการทําผสมเทียม โดยสรุปแล้ว ในด้านความปลอดโรคของฝูงปิดจะดีและเป็นผลทําให้ผลผลิตดี อย่างไรก็ตาม การดูแลฝูงปิดก็จะต้องการการดูแลจัดการมากขึ้น และหากไม่เพิ่มการดูแลจัดการแล้วจะทําให้พันธุกรรมของสัตว์ในฝูงตํ่าลง นโยบายการเปิดฝูงจะเป็นผลทําให้เสี่ยงต่อโรคติดต่อ ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องคิดอย่างระมัดระวังก่อนที่จะซื้อสุกรทดแทน แหล่งของสุกรทดแทนที่จะซื้อต้องแน่ใจว่าปลอดจากโรคติดต่อ

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร สิ่งที่ควรปฏิบัติในการซื้อสุกรทดแทนเข้าฟาร์ม ในกรณีที่จะต้องซื้อสุกรมาทดแทน สิ่งที่จะต้องคํานึงถึงก็คือ ความสมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพและ เรื่องโรคของฝูงสุกรที่จะซื้อ จะต้องพิจารณาพร้อมๆ กับความสามารถทางพันธุกรรมของฝูง กฏเกณฑ์ที่จะใช้พิจารณาในการซื้อสุกรทดแทนก็คือ จะต้องซื้อสุกรทดแทนจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ปราศจากโรคติดต่อควรได้รับการรับรองจากสัตวแพทย์ นอกจากนี้แล้วควรจะทราบข้อมูลของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ พร้อมกับพิจารณาถึงลักษณะต่างๆ ตามกฏเกณฑ์การคัดเลือกสุกรพ่อแม่พันธุ์ทดแทนตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร บทที่ 5 การจัดการพ่อแม่พันธุ์สุกร สิ่งที่ควรปฏิบัติในการซื้อสุกรทดแทนเข้าฟาร์ม สิ่งที่ต้องระวังในการซื้อสุกรทดแทนเข้าฟาร์มก็คือสุกรที่ซื้อเข้ามาควรจะแยกขังต่างหากอย่างน้อย 3 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบหาโรคติดต่ออย่างละเอียด ซึ่งสุกรสาวอาจจะเป็นตัวพาโรคบางโรคซึ่งไม่มีวิธีการทดสอบเฉพาะ วิธีการทดสอบในฟาร์มที่ได้ผลคือ การให้สุกรขุนเข้าไปเจอกับสุกรสาวที่แยกขังไว้ต่างหาก วิธีนี้อาจะพบโรค เช่น โรคบิดสุกร (swine dysentery) และโรคปอดบวม (enzootic pneumonia) (ถ้าฟาร์มเราปราศจากโรค EP) แต่การทดสอบวิธีนี้ก็ไม่รับรองว่าจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ สุกรที่นําเข้ามาควรจะได้รับการฉีดวัคซีนให้เกิดภูมิคุ้มโรคตามที่ปฏิบัติอยู่ในฟาร์ม เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป