บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรม ความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม ประเภทของวรรณกรรม การผสมผสานและความสำคัญของประเภท วรรณกรรม ภาษาในวรรณกรรม คุณค่าของวรรณกรรม
1. ความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายที่ 1 ข้อเขียนที่แต่งขึ้นทุกอย่าง ทุกสมัย ทุก ประเภท ความหมายที่ 2 บทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางอารมณ์และ ความรู้สึกนึกคิดและมีชั้นเชิงในกลวิธีการแต่ง
วรรณกรรม งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดย วิธีหรือในรูปอย่างใด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่ง เขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา คำปราศรัย สุนทรพจน์ ฯลฯ
ร้อยแก้ว (Prose) ร้อยกรอง (Poetry) บทร้อยกรอง (Drama) นิยาย (Fiction) 2.ประเภทของวรรณกรรม แบ่งวรรณกรรมตามลักษณะประเภท วรรณกรรม ร้อยแก้ว (Prose) ร้อยกรอง (Poetry) บทร้อยกรอง (Drama) นิยาย (Fiction)
วรรณกรรมซีไรท์ 2553 ไม่มีหญิงสาวในบทกวี/ ประเภท กวีนิพนธ์/ ซะการีย์ยา อมตยา 2554 แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบ กาแฟ /เรื่องสั้น/ จเด็จ กำจรเด็จ 2555 คนแคระ/ นวนิยาย /วิภาส ศรี ทอง
3.การผสมผสานและความสำคัญ ของประเภทวรรณกรรม วรรณคดีลิลิต : โคลง+ร่าย วรรณคดีคำฉันท์ : ฉันท์+กาพย์
วรรณคดีลิลิต : โคลง+ร่าย ถึงแม่น้ำกาหลง ปลงช้างชิดติดฝั่ง นั่งสำราญรี่กัน แล้วธ ให้ฟันไม้ทำห่วง พ่วงเป็นแพเสร็จสรรพ ธก็เสด็จข้ามแม่น้ำ แล้วไส้ ให้แผ้วที่ประทับ ดุจสำหรับขุนด่าน แล้วท่านก็เสด็จ สรง สีเผ้าผงชำระ สะพระเกศเสร็จแล้ว ใจราชคิดแคล้ว ถึง ท่านไท้มารดา ท่านนาฯ ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ เมียตน เมียแลพันฤาดล แม่ได้ ทรงครรภ์คลอดเปนคน ฤาง่าย เลยนา เลี้ยงยากนักท่าวไท้ ธิราชผู้มีคุณฯ
การผสมผสานและความสำคัญ ของประเภทวรรณกรรม (ต่อ) วรรณกรรมประเภทกลอนสวด วรรณกรรมประเภทนิราศ วรรณกรรมประเภทคำสอน
กรมสมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส “มารโยธาทั้งหลายก็สำแดงฤทธิ์นฤมิตเพศมีพรรณ ต่างๆ บางพวกก็หน้าแดงกายเขียว บางพวกก็หน้าเขียว กายแดง บางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง ลางเหล่าก็ กายเหลืองหน้าขาว บางหมู่ก็ลายพร้อยหน้าดำ บางหมู่ก็ กายดำหน้าลายพร้อย ลางมารก็กายดำหน้าขาว ลางเหล่า แลกายลายพร้อยหน้าเขียวแปลกๆกัน ลางพวกกายท่อน บนเป็นนาค กายท่อนต่ำหลากเป็นมนุษย์ ลางเหล่าจำแลง เป็นมนุษย์ บางหมู่ก็นฤมิตกายกลายเป็นครุฑ........” พระปฐมสมโพธิกถา กรมสมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
4.การใช้ภาษาในวรรณกรรม ภาษาภาพพจน์เป็นวิธีใช้ภาษาโดยเลือกเฟ้น ถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร การใช้ถ้อยคำ ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ อีกทั้งยังทำให้ภาษา มีความงามและชีวิตชีวา แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ความเปรียบ การเล่นคำ การเล่นเสียง
ความเปรียบ อุปมา (Simile) คือความเปรียบซึ่งเกิดจากการบอก ความเหมือนกันของสิ่งสองสิ่งด้วยคำที่แสดงการ เปรียบเทียบ เช่น ราวกับ เหมือน ประหนึ่ง ดุจ ดัง ปาน ฯลฯ เช่น “เปรียบเธอเหมือนเพชรน้ำหนึ่ง หวานปานน้ำผึ้ง เดือนห้า” “แต่ก่อนแต่ไรหัวใจกล้าแกร่ง ใจเคยเข้มแข็งเหมือน แท่งเหล็กไหล”
เหมือน คล้าย ดุจ ปาน ราวกับ สวยราวกับนางฟ้า ใจดำเหมือนอีกา ความรักเหมือนโคถึก หล่อปานเทพบุตร สง่างามดุจนางหงส์ รูปทรงกลมคล้ายผลส้ม “พลอยนั่งก้มหน้าเอาช้อนเขี่ยข้าวในจานเล่นอย่างไม่ สนใจ ข้าวทุกเมล็ดดูเหมือนจะแห้งฝาก และแข็งราวกับ กรวด พลอยจะมีปัญญากลืนข้าวไปอย่างไรลง”
“ ความเจ็บเท่าไรจะรู้หาย ความอายเมื่อไรจะสิ้นชื่อ ดังหมึกสักปักไว้ที่หลังมือ ยังจะรื้อรักรูปไปไยมี”
ความเปรียบ (ต่อ) อุปลักษณ์ (Metaphor) คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำว่า เป็น เท่า คือ เปรียบของสองสิ่งว่า เท่ากัน แทนกันและกันได้ โดยไม่จำเป็นต้อง เกี่ยวข้องกัน เช่น หน้าบานเป็นจานเชิง ปากเล็กเท่ารูเข็ม “พิศไท้ไท้ว่าไท้ ทินกร พิศอ่อนคือศศิธร แจ่มฟ้า”
สุดโค้งทุ่งนา คือฟ้าสีหม่น ดั่งใจคนคอย ลมพัดวอยๆ ให้เมฆเปลี่ยนรูป เป็นนวลหน้าน้อง เจ้าทิ้งลาบเทาสะเดาช่อขม ตามลมหนาวล่อง ไปสู่แสงทอง ที่สาดในใจ" "รอคนสู่ขวัญ" ไผ่ พงศธร
ความเปรียบ (ต่อ) บุคลาธิษฐาน (Personification) คือการเปรียบ เทียบซึ่งเกิดจากนำความคิด ลักษณะหรือความรู้สึก ของบุคคลไปใส่ให้กับสิ่งไม่มีชีวิตหรือสิ่งที่เป็น นามธรรมซึ่งไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น เพื่อให้ ปรากฏการณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งมีชีวิตแสดงกิริยา อาการได้ดังมนุษย์
สายลมหยอกล้อต้นข้าวในทุ่งสีทอง ซากปรักหักพังของอิฐ และเศษปูนกำลังสะอื้นไห้ในยามนี้ พระอาทิตย์แย้มยิ้มอยู่บนฟ้า “มะนาวน้อยอย่างพลอยไปเหลิงเล่น ตะวันเย็นลงไปจะไม่แจ้ง ผักชียี่หร่าไยตาแดง ตะกร้าเก่านอนตะแคงเฝ้าคอยดู” ราร้างอย่างแล้งไร้ : แรคำ ประโดยคำ
ความเปรียบ (ต่อ) สัญลักษณ์ (Symbol) หมายถึงความเปรียบที่ใช้สิ่งหนึ่ง แทนอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติร่วมกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น กาหมายถึงคนชั้นต่ำ หงส์หมายถึงคนชั้นสูง เป็น ต้น “ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน บริสุทธิ์กล้าหาญจะบานในใจ สีขาวหนุ่มสาวจะใฝ่ แน่วแน่แก้ไขจุดไฟศรัทธา”
กา หงส์ น้ำค้าง ฝน แมลง ดอกไม้ แสงสว่าง ความมืด สีดำ สีขาว
“เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว ไหนไถถากกรากกรำไหนทำครัว ใช่รู้จักแต่จะยั่วผัวเมื่อไร” ขุนช้างขุนแผน
การเล่นคำ คือการใช้คำ เล่นคำเพื่อให้ความหมายกิน ใจ สื่อความหมายได้ชัดเจน ผู้อ่านอ่านแล้ว เข้าใจได้แจ่มแจ้งตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการ
การเล่นคำ (ต่อ) อติพจน์ (Hyperbole) เป็นการใช้คำพูดเกินจริง การกล่าวเกินจริงนี้ ต้องเกินจริงกระทั่งเป็นจริงตามคำพูดนั้นไม่ได้ แต่ มุ่งความหมายในเชิงอารมณ์และความรู้สึก เช่น “ฉันรักเธอเท่าฟ้า ปรารถนาเธอยิ่งสิ่งใด รักเธอไปจน วันตาย ฟ้าดินสลาย ฉันไม่คลายรัก”
“เรียมร่ำน้ำเนตรท่วม ถึงพรหม พาหมู่สัตว์จ่อมจม ชีพม้วย พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงแฮ หากอักนิฐพรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง”
การเล่นเสียง หมายถึงภาพพจน์ซึ่งเกิดจากการใช้เสียง ของคำสื่อความรู้สึกนึกคิด ซึ่งกวีไทยนิยม กันมากระทั่งปัจจุบัน
การเล่นเสียง (ต่อ) สัมผัสพยัญชนะ (Consonance) เป็นการ ซ้ำเสียงพยัญชนะที่อยู่ใกล้กัน เช่น “กาจับกาฝากต้น ตูมกา กาลอดกาลากา ร่อนร้อง เพกาหมู่กามา จับอยู่ กาม่ายมัดกาซร้อง กิ่งก้านกาหลง
“ดอกจันทร์กระพ้อร่วงพรูแต่มิได้ หล่นลงสู่พื้นทีเดียว เกสรเล็กๆแดงเรื่อ แกมเหลืองลอยว่อนกระจัดพรัดพรายอยู่ ในอากาศที่โปร่งสะอาดหน่อยหนึ่ง เหมือนลวดลายของตาข่ายที่คลุมไตร พระ กลีบและเกสรอาจจะตกลงถูก เหยียบเป็นผุยผงไป”
การเล่นเสียง (ต่อ) 2) สัมผัสสระ (Assonance) เป็นการซ้ำเสียงสระของ คำที่อยู่ใกล้กัน เช่น “ฉันเดินออกจากบ้าน ผ่านย่านตลาด เห็นชาวนามา ซื้อไถคราด บ้างหาบกระจาดถาดกระบุง” “รำวงมะรงชาวเกาะ เพลงเพราะเสนาะจับใจ สายน้ำมันหลั่งไหล กระทบหาดทรายดังตึงๆ”
การเล่นเสียง (ต่อ) 3) สัทพจน์หรือการเลียนเสียงธรรมชาติ (Onomatopobia) คือการสร้างคำเลียนเสียงที่ได้ยิน จากธรรมชาติที่ได้ยินจนเจนหู เช่น เสียงฟ้าร้อง.......... เสียงฝน....... เสียงลม......... เสียงระฆัง..... เสียงปืน........
การอ่านอย่างวินิจสารเพื่อค้นหา “สาระสำคัญ” นั้น มิได้มุ่งให้ผู้อ่านรู้ว่าผู้ประพันธ์ใช้ภาษาหรือ ภาพพจน์ใด แต่ต้องเข้าใจว่าผู้ประพันธ์ใช้ภาพพจน์ นั้นๆเพื่อมุ่งสื่อสารอารมณ์และความคิดใด ใช้แล้ว ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน
“คุณค่าในเชิงการประพันธ์ และความรู้สึกนึกคิด” 5.คุณค่าของวรรณกรรม “คุณค่าในเชิงการประพันธ์ และความรู้สึกนึกคิด” คุณค่าด้านความรื่นรมย์ใจ คุณค่าด้านปัญญา คุณค่าด้านสังคม คุณค่าด้านจริยธรรม
สรุป วรรณคดี และวรรณกรรมมีทั้งความหมายกว้างและความหมายแคบ ทั้ง 2 คำใช้แทนกันได้ การแบ่งวรรณกรรมอาจมีข้อบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นศึกษา วรรณกรรมควรพินิจภาพรวมอันได้แก่ กลวิธีการเล่าเรื่อง ลักษณะคำ ประพันธ์ และลักษณะของเนื้อหา การศึกษาโดยใช้กลวิธีดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงถิ่นกำเนิด การคลี่คลาย และ วิวัฒนาการวรรณกรรมนั้นๆ คุณค่าของวรรณกรรมนั้นปรากฏในด้านต่างๆอันได้แก่ คุณค่าด้านความ รื่นรมย์ คุณค่าด้านปัญญา คุณค่าด้านสังคม และคุณค่าด้านจริยธรรม