บทที่ 9 การอธิบายกระบวนการแบบต้นไม้
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.1 แผนผังแบบต้นไม้ 1.1.1 ลักษณะแผนผังแบบต้นไม้ แผนผังแบบต้นไม้ (Tree Diagram) มีรูปร่างเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งก้านและใบ แต่วางแบบกลับหัวลง หรือนอนตะแคงไปทางขวา การไล่ลำดับผังจะเริ่มจากบนลงล่างและจากซ้ายไปขวา รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังกระแสข้อมูล 1.1 แผนผังแบบต้นไม้ Root Node Branches Leaf Node Leaf Node Leaf Node possible answers possible answers possible answers ลักษณะแผนผังแบบต้นไม้ รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.1 แผนผังแบบต้นไม้ 1.1.2 องค์ประกอบแผนผังแบบต้นไม้ จะเรียกตามชื่อองค์ประกอบต้นไม้ ได้แก่ ราก (Root) กิ่ง (Branch) และใบ (Leaf) โดยจุดที่แตกเป็นกิ่งก้านแต่ละจุดเรียกโหนด (Node) แผนผังแบบต้นไม้ที่มีโหนดย่อยหลายระดับ รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.1 แผนผังแบบต้นไม้ 1.1.3 แผนผังแบบต้นไม้แบบไบนารี แผนผังแบบต้นไม้แบบไบนารี (Binary Tree Diagram หรือ B-Tree Diagram) เป็นแผนผังแบบต้นไม้ที่มีกิ่งแตกออกมาไม่เกิน 2 โหนดในแต่ละชั้น แผนผังแบบต้นไม้ที่มีโหนดไม่เกิน 2 โหนดในแต่ละชั้น รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2 แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2.1 ลักษณะแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ (Decision Tree Diagram หรือเรียกกันทั่วไปว่า Decision Tree ) เป็นแผนผังแบบต้นไม้ที่มาจากการเลือกเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ ตั้งแต่เงื่อนไขเบื้องต้น และเงื่อนไขลำดับต่อๆ มาจนถังเงื่อนไขสุดท้ายที่เกี่ยวข้องในการนำมาพิจารณาประกอบรวมกัน รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังกระแสข้อมูล 1.2 แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ ช่วงรายได้ < 30,000 บาท > 70,000 บาท 30,000 - 70,000 บาท เคยก่อคดีอาญา อายุงานปัจจุบัน เคยก่อคดีอาญา yes no < 1 > 5 no yes 1-5 ไม่อนุมัติ อนุมัติ ไม่อนุมัติ อนุมัติ อนุมัติ ไม่อนุมัติ ชำระหนี้ค้าง yes no อนุมัติ ไม่อนุมัติ แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้แสดงหลักเกณฑ์พิจารณาอนุมัติเงินกู้ รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2 แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2.2 องค์ประกอบของแผนผังสำหรับอธิบายกระบวนการ แผนผังที่อธิบายกระบวนการทำงานจะประกอบด้วยโหนดเงื่อนไขตัดสินใจ และมีก้านแสดงการเลือกเป็นตัวเชื่อมกับโหนดเงื่อนไขถัดไปตามลำดับที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน และเชื่อมต่อไปเรื่อยๆ จนได้ผลลัพธ์การตัดสินใจสุดท้ายว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร การเขียนแผนผังประเภทนี้มักนิยมใช้สัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายเจาะจง แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีการกำหนดสัญลักษณ์แบบอื่นด้วยแต่ยังคงตามลักษณะแนวคิดแบบเดิม รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังกระแสข้อมูล 1.2 แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2.2 องค์ประกอบของแผนผังสำหรับอธิบายกระบวนการ การใช้สัญลักษณ์ในแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2 แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 1.2.3 การเขียนแผนผังในภาคปฏิบัติ การเขียนคำอธิบายการประมวลผลแบบต้นไม้นั้น นิยมใช้กับกระบวนการที่มีลักษณะการทำงานที่ซับซ้อนและมีการเก็บลำดับขั้นตอนการตัดสินใจ ส่วนใหญ่นิยมใช้แผนผังแบบไบนารีซึ่งจะมีทางเลือกการตัดสินใจพื้นฐานของเงื่อนไข 2 ทาง (ใช้ กับ ไม่ใช่) เพราะมีความสะดวกในการเขียนและตรวจสอบกระบวนการและยังสอดคล้องกับวิธีการคำนวณทางตรรกะของคอมพิวเตอร์ (0 กับ 1 หรือ True หรือ False) รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. วิธีการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 2.1 ขั้นตอนการสร้างแผนผัง 2.1.1 การสร้างโครงสร้างลำดับการตัดสินใจ 1. เขียนโหนดแรกเป็นจุดเริ่มต้นการตัดสินใจ 2. แตกกิ่งของเงื่อนไขแรกเป็นเงื่อนไขถัดไป 3. แตกกิ่งของเงื่อนไขไปจนหมดเงื่อนไขที่เกิดขึ้น 4. ทุกๆ โหนดจะมีคำถามตั้งให้เราตอบ 5. คำตอบของโหนดจะนำไปสู่โหนดคำถามถัดไปหรือนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ 6. กรณีกระบวนการที่อธิบายมีขั้นตอนเลือกเพียง 2 ทาง (ใช้ กับไม่ใช่) สามารถเลือกแผนผังแบบ B-Tree ได้ รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. วิธีการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 2.1 ขั้นตอนการสร้างแผนผัง 2.1.2 เขียนโครงสร้างต้นไม้ 1. เริ่มเขียนที่รากต้นไม้ก่อน โดยใช้เงื่อนไขแรกเป็นจุดเริ่มต้น 2. แตกกิ่งจากเงื่อนไขแรกไปสู่เงื่อนไขถัดไป 3. ทำตามขั้นตอนที่ 2 จนครบทุกเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ 4. ที่กิ่งให้เขียนสิ่งที่ตัดสินใจเลือก หรือการกระทำที่เป็นผลลัพธ์ของตัดสิ้นใจเลือก รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังกระแสข้อมูล 2.1 ขั้นตอนการสร้างแผนผัง 2.1.2 เขียนโครงสร้างต้นไม้ 7.5 % disc. 8.5 % disc. การเขียนอธิบายกระบวนการด้วยแผนภูมิต้นไม้ในแนวตั้ง รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1. ภาพรวมของแผนผังกระแสข้อมูล 2.1 ขั้นตอนการสร้างแผนผัง 2.1.2 เขียนโครงสร้างต้นไม้ Not paid in 7 days Paid in 7 days การเขียนอธิบายกระบวนการด้วยแผนภูมิต้นไม้ในแนวนอน รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. วิธีการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 2.2 ข้อพิจารณาในการเลือกใช้แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ เมื่อต้องการนำแผนผังการตัดสินใจแบบต้นไม้ไปใช้งาน ให้พิจารณาความเหมาะสมดังนี้ 2.1.1 ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบของแผนผังต้นไม้ 1. โครงสร้างแบบต้นไม้มีลำดับชัดเจน ทำให้เห็นเงื่อนไขหรือการกระทำได้ชัดเจน และการตรวจสอบความถูกต้องได้ง่ายขึ้น แต่ต้องมันใจว่า ลำดับการตัดสินใจในกระบวนการทำงานมีความถูกต้องแล้วก่อนที่จะเขียนแผนผังต้นไม้ 2. มีความสะดวกและง่ายต่อการทำความเข้าใจแต่ต้องใช้พื้นที่มากในการเขียน รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
2. วิธีการเขียนแผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 2.2 ข้อพิจารณาในการเลือกใช้แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้ 2.1.2 ลักษณะการอธิบายที่เหมาะสมสำหรับแผนผังต้นไม้ แผนผังตัดสินใจแบบต้นไม้เหมาะสมสำหรับอธิบายกระบวนการทำงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เงื่อนไขในกระบวนการการทำงานมีลำดับก่อน-หลังชัดเจน 2. มีเงื่อนไขที่แตกย่อยต่อเนื่องออกไปหลากหลาย (หรือต้องแตกกิ่งสู่เงื่อนไขต่อไปหลายขั้น) รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การอธิบายกระบวนการแบบต้นไม้ จบการนำเสนอ บทที่ 9 การอธิบายกระบวนการแบบต้นไม้ รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ