การวัดและประเมินผลการศึกษา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ (Test Quality Analysis)
Advertisements

ความตรง (validity) ความตรงตามเนื้อหา (content validity)
Quality Testing of Tests การหาคุณภาพของแบบทดสอบ
4. Research tool and quality testing
การวิเคราะห์ข้อสอบ Item analysis.
คุณภาพเครื่องมือวิจัย
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
หน่วยที่ 5 การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย
การตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือการวิจัย
การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ (Test Quality Analysis)
การเขียนแผนการสอน Media Base learning. รายละเอียดแผนการเรียนรู้ 1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอด หรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดกับ.
ารวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
รูปแบบและแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การวิจัยในชั้นเรียน Classroom action Research
นโยบายด้านการทดสอบและมาตรฐานด้าน การประเมิน
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ (Test Quality Analysis)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE : Dual Vocational Education)
การออกแบบปัญหาการวิจัย
ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค กุมภาพันธ์ 2554
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คุณภาพของเครื่องมือวัด
การวัดและประเมินผลการศึกษา
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย (Instrument)
บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
หน่วยที่ 2 การวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยที่ 3: ขั้นการออกแบบ (Design)
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
การวิจัยในชั้นเรียน( Classroom Action Research)
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Students’ Attitudes toward the Use of Internet
การวัดผลและประเมินผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของ TQF
Hilda  Taba  (ทาบา).
หลักการวัดและการประเมินผล
ความหมายและความสำคัญ ของการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
การวัดผลและประเมินผลพฤติกรรมของมนุษย์
การประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินการเรียนการสอน
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
การสร้างข้อสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ผู้วิจัย ศิริมา เที่ยงสาย
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัด
การหาคุณภาพของแบบทดสอบ
Statistical Method for Computer Science
การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
นางธนตวรรณ ขวัญแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เทคนิคการเขียนข้อสอบ
วาระประชุมฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ ประจำเดือน มีนาคม 2562
เทคนิคการทำวิจัยสถาบัน
ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ จันทรวงษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
บทที่ 8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้จัดทำวิจัย
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
งานวิจัย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวัดและประเมินผลการศึกษา รศ. บรรพต พรประเสริฐ

จุดประสงค์การเรียนรู้ การจัดการศึกษา จุดประสงค์การเรียนรู้ เชิงพฤติกรรม การวัดผลและ ประเมินผล กิจกรรมการเรียน การสอน

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา การสอบ (testing) เป็นกระบวนการใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบในการสอบหรือการวัดการดำเนินการสอบ การควบคุมการสอบ หรือการจัดทำข้อสอบและเครื่องมือที,ใช้ในการวัด ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของกระบวนการใช้เครื่องมือ 3

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา การวัดผล (measurement) เป็นกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด(object or even ) ภายใต้ข้อกำหนด โดยค่าการวัด ( criteria measured) หรือผลการวัดที,ได้จากการใช้เครื่องมือจะอยู่ในรูปจำนวน ตัวเลขที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ( quantitative data ) 4

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา การประเมินผล(evaluation ) เป็นการตัดสินคุณค่า (value judgement) หรือการลงสรุปสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างมีหลักเกณฑ์ กระบวนการตัดสินคุณค่า จะต้องการวินิจฉัยหรือดุลยพินิจในการสรุปประเด็นสาระภายใต้ข้อมูล หรือสารสนเทศ ตามมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่กำหนด 5

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา การสอบ (testing) เป็นกระบวนการใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบในการสอบหรือการวัดการดำเนินการสอบ การควบคุมการสอบ หรือการจัดทำข้อสอบและเครื่องมือที,ใช้ในการวัด ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของกระบวนการใช้เครื่องมือ 6

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการศึกษา การวัดและประเมิน (assessment ) เป็นกระบวนการ ที,มุ่งเน้นการค้นหา แสวงหา ข้อมูลหรือสารสนเทศ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยอาศัยเทคนิควิธีการสังเกต สัมภาษณ์ การศึกษา วิเคราะห์ เอกสาร หรือการใช้เครื่องมือในการวัด เพื่อตรวจสอบการพัฒนาการ ความก้าวหน้า ความงอกงาม โดยการเปรียบเทียบกับข้อกำหนด 7

ข้อสรุประหว่างการเรียนการสอน กับการวัดและประเมิน ลักษณะและสิ่ง ที่ต้องการวัด - เนื้อหาหรือจุดประสงค์ - พฤติกรรมหรือทักษะ วิธีการวัด (เครื่องมือ-วิธีการ) ผลการวัด หรือ สิ่ง ที่ได้จากการวัด -ความรู้ทางทฤษฎี - ทักษะการปฏิบัติ - ลักษณะนิสัย - คะแนน(score ) - อันดับที่(ranking ) - ระดับผลการเรียน(grade) - ผ่าน/ไม่ผ่าน(pass/fail)

ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา 1. เพื่อการจัดตำแหน่ง (Placement) เป็นการนำผลการวัด หรือผลการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลมาจัดกลุ่มระดับความรู้ความสามารถ เพื่อจัดประเภทและตำแหน่ง โดยอาศัยเครื่องมือหรือแบบทดสอบในการสอบวัดด้านผลสัมฤทธิ์ (achievement test) ความถนัด (aptitude test ) หรือ ความพร้อม (readiness test ) เป็นหลัก

ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา 2 เพื่อการวินิจฉัย ( Diagnosis ) เป็นการวัดและประเมิน ที่ใช้ผลการสอบหรือผลการวัดหรือผลการเรียนรู้ เพ,ือค้นหาความเด่น-ความด้อย ความเก่ง-ความอ่อน ในเนื้อหา ในเรื่องราวเพื่อค้นหาสาเหตุ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง พัฒนาและการซ่อมเสริม 10

ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา 3. เพื่อการเปรียบเทียบความก้าวหน้า ( Assessment ) เป็นการตรวจสอบผลการเรียนเพื่อพิจารณาพัฒนาการหรือความงอกงาม (growth) ในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนในเวลาหนึ่งกับอีกเวลาหนึ่ง 11

ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา 4 เพื่อการพยากรณ์ ( Prediction ) การวัดและประเมินลักษณะนี้ ต้องการนำผลการสอบผลการวัด หรือผลการเรียนรู้ในปัจจุบันไปคาดคะเนความสำเร็จในอนาคต เช่น ในการสอบคัดเลือก 12

ความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการศึกษา 5 เพื่อการประเมินค่า ( Evaluation ) การวัดและประเมินลักษณะนี้ ต้องการนำผลการสอบหรือผลการวัดหรือผลการเรียนรู้ มาประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดการศึกษา ในภาพรวมว่ามีความสัมฤทธิผลตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้หรือไม่ 13

การวางแผนการวัดและประเมินผลการศึกษา 1. กำหนดจุดมุ่งหมาย การวัดและประเมิน แต่ละครั้งต้องกำหนดเป้าหมายของการวัด 2. กำหนดลักษณะและสิ่งที่ต้องการ การวัดและประเมิน 3. กำหนดเครื่องมือและวิธีการ ขั้นตอนนี้เป็นการเลือกใช้เครื่องมือและกำหนดวิธีการวัดตามลักษณะและสิ่งที่ต้องการวัด 4. การสร้างเครื่องมือ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นลงมือเขียนข้อคำถามและพิจารณาเลือกคำถาม ที่ต้องการใช้ตามลักษณะเครื่องมือที่กำหนด 5. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 14

การวางแผนการวัดและประเมินผลการศึกษา 6. การใช้เครื่องมือ เป็นการนำเครื่องมือไปใช้ในการสอบหรือการวัดจริง ในการใช้เครื่องมือจะต้องคำนึงถึงความยุติธรรมในการวัด 7. การตรวจให้คะแนนและการใช้ผลการวัด การตรวจให้คะแนนเป็นการใช้น้ำหนักของผลการวัดออกมาเป็นตัวเลข เพื่อประโยชน์ต่อการแปลผลและใช้ผล 15

หลักของการวัดและประเมินผลการศึกษา 1. วัดให้ตรงจุดประสงค์ การวัดในแต่ละครั้งต้องมั่นใจว่า เครื่องมือที่สร้างขึ้นนั้นสามารถวัดได้ตรงจุดตรงประเด็น 2. ใช้เครื่องมือมือที่มีคุณภาพและอย่างยุติธรรม 3. แปลผลถูกต้องและใช้ผลอย่างคุ้มค่า 16

แนวคิดในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1. ลักษณะและรูปแบบ :ระยะเวลา การวัดและประเมินผลการศึกษาในลักษณะนี้ มุ่งเน้นที่ระยะเวลาของกระบวนการจักการเรียนการสอน จำแนกได้ 3 ระยะ คือ การวัดและประเมินก่อนเรียน การวัดและประเมินระหว่างเรียน และการวัดและประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียน

แนวคิดในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ลักษณะและรูปแบบ : กลุ่มพฤติกรรม การวัดและประเมินผลการศึกษาในลักษณะนี้ มุ่งเน้นตามกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ที,เป็นจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา จำแนกได้เป็น 3ลักษณะใหญ่ คือ ด้านพุทธิพิสัย( cognitive domain ) ด้านเจตพิสัย ( affective domain) และด้านทักษะพิสัย(psychomotor domain)

แนวคิดในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ลักษณะและรูปแบบ : วิธีการสอบ การวัดและประเมินผลการศึกษาลักษณะนี้เน้น ีวิธีการสอบวัดที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จำแนกได้ 4 ลักษณะ คือ การสอบปากเปล่า การสอบภาคปฏิบัติ การสอบข้อเขียน และการตรวจประเมินผลงาน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1. การวัดและประเมินระดับชั้นเรียน มุ่งตรวจสอบความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ อันเป็นผล เนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระที่จัดให้เรียนในชั้นเรียน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. การวัดและประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ เป็นรายชั้นปี และช่วงชั้น โดยสถานศึกษาจะต้องนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน และคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. การวัดและประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพระดับชาติ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในปี สุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น ข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมิน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4. การวัดและประเมินระดับเขตพื้นทีการศึกษาหรือหน่วยต้นสังกัดเป็นการประเมิน ตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา เพื่อการติดตามตรวจสอบและการควบคุมมาตรฐานการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต้นสังกัดที่รับผิดชอบ

แนวคิดการวัดแบบทดสอบอิงกลุ่มอิงเกณฑ์ แบบทดสอบอิงกลุ่ม ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่เราใช้กันมานาน จนเรียกกันว่าเป็นการวัดผลตามประเพณี (Traditional Measurement) ในปัจจุบันนี้แบบทดสอบอิงกลุ่มยังคงเป็นแบบทดสอบที่นิยมใช้กันอยู่ เช่น แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ส่วนใหญ่สำหรับใช้ในชั้นเรียน เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดของนักเรียน หรือแบบทดสอบมาตรฐานซึ่งจัดพิมพ์ในต่างประเทศที่มีจำหน่ายทั่ว ไปในท้องตลาด อาทิแบบทดสอบที่นำไปใช้ในการทดสอบทางจิตวิทยา หรือทางการศึกษา

คุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาแบบทดสอบอิงกลุ่ม แบบทดสอบอิงกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบมาตรฐานหรือแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นก็ตาม ต่างก็มุ่งจะวัดคุณลักษณะของบุคคล ( Attribute ) ที่แตกต่างกันในกลุ่มเป็นสำคัญ ดังนั้น การพัฒนาแบบทดสอบประเภทนี้จึงไม่เพียงแต่จะต้องมีคุณสมบัติในการวัดคุณลักษณะเฉพาะได้เท่านั้น ยังจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในด้านของอำนาจจำแนกที่สูงพอ เพื่อที่จะช่วยบ่งชี้คุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในกลุ่มได้

มโนทัศน์เกี่ยวกับการสอบแบบอิงเกณฑ์ (Concept of Criterion – Referenced Test) แบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์เป็นแบบทดสอบที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เฉพาะทักษะของผู้สอบในลักษณะของคะแนน ซึ่งสามารถตีความได้ว่า เป็นลักษณะเฉพาะงาน ( Task ) ผู้สอบสามารถกระทำได้เมื่อเทียบกับ “เกณฑ์” ที่กำหนดขึ้น สำหรับคำว่า”เกณฑ์” ในการวัดผลแบบอิงเกณฑ์จะต่างกับคำว่า ”เกณฑ์” ที่ใช้ในการวัดผลแบบอิงกลุ่ม กล่าวคือ ”เกณฑ์” ที่ใช้ในการวัดผลแบบอิงกลุ่ม หมายถึง ความสามารถของกลุ่มหรือเรียกกันว่ามาตรฐานของกลุ่ม

แนวคิดการสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ 1.คำว่า “Criterion” ที่ใช้แบบทดสอบอิงเกณฑ์ หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ที่แสดงว่า ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จึงอาศัยสัดส่วนของวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ก่อนที่บุคคลผู้นั้นจะสามารถบรรลุได้ 2. คำว่า “Norm” ทีใช้ในแบบทดสอบอิงกลุ่ม หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มผู้สอบแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ ดังนั้น การตัดสินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนแต่ละคน จึงอาศัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของบุคคลผู้นั้นกับกลุ่มผู้สอบด้วยกัน

ความคล้ายกันของแบบทดสอบอิงเกณฑ์และแบบทดสอบอิงกลุ่ม แบบทดสอบอิงเกณฑ์และแบบทดสอบอิงกลุ่มต่างก็มีความมุ่งหมายสำคัญที่ต้องการวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ในสถานการณ์ทั่วไปด้วยกันกล่าวคือ แบบทดสอบอิงเกณฑ์มีความมุ่งหมายที่จะจำแนกความสามารถของผู้เรียนว่า อยู่ในระดับที่บรรลุผลหรือไม่บรรลุผล คือ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน”

แบบทดสอบอิงปริเขต (Domain-Referenced Test) แบบทดสอบอิงปริเขต หมายถึง แบบทดสอบที่ประกอบด้วยตัวแทนของกลุ่มปัญหาที่นำมาถามหรือกลุ่มตัวอย่างของข้อกระทง ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนทั้งหมดของเนื้อหาสาระที่ต้องการทดสอบ จำนวนข้อกระทงทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการกำหนดขึ้นตามปริเขตหรือขอบข่ายที่อ้างอิงถึงโดยยึดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเป็นหลัก

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 1. ความเที่ยงตรง (validity) 1.1 ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity) หมายถึง การวัดนั้นสามารถวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัดได้ครบถ้วนตามจุดประสงค์ของการวัด ในทางปฏิบัติมักจะต้องทำตารางจำแนกเนื้อหา จุดประสงค์

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 1. ความเที่ยงตรง (validity) 1.2 ความเที่ยงตรงเชิงสัมพันธ์ (criterion-related validity) แบ่งการออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1)ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) คือค่าคะแนนจากแบบสอบสามารถทำนายถึงผลการเรียนในวิชานั้นๆได้อย่างเที่ยงตรง 2)ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) หมายถึงค่าคะแนนที่ได้จากแบบสอบสะท้อนผลตรงตามสภาพเป็นจริง กล่าวคือ เด็กเก่งจะได้คะแนนสอบสูง ส่วนเด็กอ่อนจะได้คะแนนต่ำจริง1.3 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (construct validity) หมายถึงคะแนนจากแบบวัดมีความสอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมจริงของเด็ก

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 2. ความเชื่อมั่น (reliability) แบบทดสอบที่ดีต้องมีความเชื่อมั่นได้ว่าผลจากการวัดคงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนไปมา การวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ำอีกโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมผู้ถูกทดสอบกลุ่มเดิม จะวัดกี่ครั้งก็ตามผลการวัดควรจะเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงเดิม

วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 1. การสอบซ้ำ (test and retest) เป็นการนำแบบทดสอบชุดเดียวกันไปสอบผู้เรียน กลุ่มเดียวกัน 2 ครั้ง ในเวลาห่างกันพอสมควร (ป้องกันการจำข้อสอบได้) แล้วนำค่าคะแนนทั้ง 2 ชุดนั้น มาหาค่าความสัมพันธ์ที่ได้ คือค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิธีการนี้เรียกว่า “measure of stability”

วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 2.ใช้แบบทดสอบคู่ขนาน (parallel test หรือ equivalence tests) แบบทดสอบคู่ขนานหมายถึง แบบทดสอบ 2 ชุด ที่มีลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกันมากที่สุด ทั้งด้านเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก ลักษณะคำถาม และจำนวนข้อคำถาม จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้

วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 3. วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ (split-half) เป็นการสร้างข้อสอบชุดเดียวใช้ผู้สอบชุดเดียวกัน (แต่แบ่งครึ่งข้อสอบ และได้ค่าคะแนน 2 ชุด) เป็นการแก้ปัญหาความยากในการสร้างแบบทดสอบแบบคู่ขนาน แต่ได้ผลเช่นเดียวกับการสอบซ้ำ หรือการใช้ข้อสอบแบบคู่ขนาน วิธีการอาจแบ่งตรวจข้อสอบครั้งละครึ่งฉบับ (แบ่งข้อคี่กับข้อคู่ หรือครึ่งแรกและครึ่งหลัง)

วิธีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 4. วิธี Kuder-Richardson (KR) เป็นการหาค่าความคงที่ภายในของแบบทดสอบ เรียกว่า ความเชื่อมั่นภายใน (internal consistency) สูตรที่นิยมใช้คือสูตรคำนวณ KR-20 และ KR-21

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 3. ความเป็นปรนัย (objectivity) ความเป็นปรนัยหมายถึง ความชัดเจน ความถูกต้อง ความเข้าใจตรงกัน โดยยึดถือความถูกต้องทางวิชาการเป็นเกณฑ์ การสร้างแบบทดสอบใดๆ จำเป็นต้องมีความชัดเจนเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ออกข้อสอบและผู้ทำข้อสอบ คุณสมบัติความเป็นปรนัยของแบบทดสอบพิจารณาได้เป็น 3 ประการ คือ 1) ผู้อ่านข้อสอบทุกคนเข้าใจตรงกัน 2) ผู้ตรวจทุกคนให้คะแนนได้ตรงกัน 3) แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 4. ความยากง่าย (difficulty) แบบทดสอบที่ดีต้องมีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากเกินไปหรือไม่ง่ายเกินไป ในแบบทดสอบชุดหนึ่งๆอาจมีทั้งข้อสอบที่ค่อนข้างยาก ปานกลาง และค่อนข้างง่ายปะปนกันไป ความยากง่ายของแบบทดสอบพิจารณาได้ จากผลการสอบของข้อสอบทั้งฉบับเป็นสำคัญ

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 5.อำนาจจำแนก (discrimination) แบบทดสอบที่ดีต้องสามารถจำแนกผู้สอบที่มีความสามารถเก่งอ่อนต่างกันออกได้ โดยคนเก่งจะตอบข้อสอบถูกมากกว่าคนอ่อน หากค่าเฉลี่ยของค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับหรือมากกว่า 0.20 แสดงว่าแบบทดสอบฉบับนั้นจำแนกได้

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 6.ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) เครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงเครื่องมือที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ประโยชน์สูงประหยัดสุด โดยลงทุนน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านเวลา แรงงาน ความสะดวกสบาย แบบทดสอบที่ดี ควรพิมพ์ผิดพลาดตกหล่นน้อย รูปแบบดูง่าย เป็นระเบียบเรียบร้อยอ่านง่าย

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 7. ความยุติธรรม (fair) แบบทดสอบที่ดีต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้สอบได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น แบบทดสอบบางฉบับผู้สอนออกข้อสอบเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้เรียนบางคนได้เคยค้นคว้าทำรายงานมาก่อน เป็นต้น ดังนั้นผู้ออกข้อสอบควรคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียบเปรียบของผู้ทำแบบทดสอบด้วย

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 8. คำถามลึก (searching) แบบทดสอบที่สอบถามเฉพาะความรู้ความเข้าใจ ผู้ออกข้อสอบไม่ควรถามลึกจนกระทั่งต้องใช้ความรู้ระดับวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา ดังนั้น ความลึกซึ้งของคำถามควรสอดคล้องกับลักษณะและจุดประสงค์ของการวัด

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 9. คำถามยั่วยุ (exasperation) คำถามยั่วยุมีลักษณะเป็นคำถามที่ท้ายทายให้ผู้สอบอยากคิดอยากทำมีลีลาการถามที่น่าสนใจ ไม่ถามวกวนซ้ำซากน่าเบื่อ อาจใช้รูปประกอบคำถาม การเรียงข้อคำถามในข้อสอบ ควรเรียงหลายแบบคละกัน อาจเรียงลำดับเนื้อหา เรียงลำดับความยากง่าย สลับกัน

ลักษณะสำคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา 10. ความจำเพาะเจาะจง (definite) ลักษณะคำถามที่ดีไม่ควรถามกว้างเกินไป ไม่ถามคลุมเครือหรือเล่นสำนวนจนผู้สอบงง ผู้อ่านอ่านแล้วต้องมีความชัดเจนว่าครูถามอะไร ส่วนจะตอบถูกหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ขึ้นกับความรู้ความสามารถของผู้ตอบ

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 1.แบบทดสอบ แบบทดสอบคือชุดของคำถามหรือสิ่งเร้าทีนำไปใช้ให้ผู้สอบตอบสนองออกมา ชุดของสิ่งเร้านี้มักอยู่ในรูปของข้อคำถาม 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (achievement test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะ และความสามารถสมอง 2) แบบทดสอบวัดความถนัดหรือทักษะ (aptitude test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดศักยภาพระดับสูงของบุคคล

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 1.แบบทดสอบ แบบทดสอบคือชุดของคำถามหรือสิ่งเร้าทีนำไปใช้ให้ผู้สอบตอบสนองออกมา ชุดของสิ่งเร้านี้มักอยู่ในรูปของข้อคำถาม 3) แบบทดสอบวัดความสัมพันธ์ของบุคคล เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือการปรับตนเองของบุคคลในสังคม

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 2. แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ ในทางการศึกษามักนิยมใช้วัดและประเมินผลด้านจิตพิสัยได้แก่มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งให้ผู้ถูกวัดประเมินตนเอง และผู้อื่นประเมิน

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 3. แบบสำรวจรายการ แบบสำรวจรายการมีลักษณะคล้ายมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท เพียงแต่ส่วนที่เป็นคำตอบไม่ได้กำหนดค่าระดับความรู้สึกว่ามีมากน้อยเพียงไร แต่เป็นการตอบเพียง 2 ตัวเลือกว่า มี-ไม่มี, ใช่-ไม่ใช่, เคย-ไม่เคยฯลฯ

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 4. แบบวัดเชิงสถานการณ์ เป็นแบบวัดที่สอบถามถึงแนวคิด ความรู้สึก หากอยู่ในสถานการณ์สมมติใดๆ ที่ผู้ออกข้อสอบสร้างขึ้น อาจบรรจุไว้ในส่วนที่เป็นข้อความ หรือส่วนที่เป็นคำตอบก็ได้ อาจนำเสนอเหตุการณ์ด้วยข้อความ หรือรูปภาพ หรือสื่ออื่นๆก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากท่านพบผู้ป่วยที่เดินมาพบท่านด้วยลักษณะตัวเอียงอย่างมาก ท่านจะดำเนินการอย่างไรเป็นลำดับแรก

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 5. แบบสังเกต การสังเกตเป็นเครื่องมือวัดผลที่นิยมใช้กันมาก โดยการใช้ประสาทสัมผัสของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินได้สังเกตพฤติกรรมที่สนใจในตัวผู้ถูกวัด ผลการสังเกตจะมีความเที่ยงตรงเพียงใดขึ้นกับองค์ประกอบ 3ประการ คือ 1) สิ่งที่สังเกต 2)ตัวผู้สังเกต 3)ตัวผู้ถูกสังเกต

เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลด้านการศึกษา 1.แบบทดสอบ แบบทดสอบคือชุดของคำถามหรือสิ่งเร้าทีนำไปใช้ให้ผู้สอบตอบสนองออกมา ชุดของสิ่งเร้านี้มักอยู่ในรูปของข้อคำถาม 3) แบบทดสอบวัดความสัมพันธ์ของบุคคล เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือการปรับตนเองของบุคคลในสังคม

กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชากร ค่าพารามิเตอร์ ค่าสถิติ  และ  อนุมานสถิติ พรรณาสถิติ การประมาณค่า ค่าพารามิเตอร์ ค่าสถิติ การทดสอบสมมติฐาน  และ  X และ S.D.

สวัสดี สวัสดี สวัสดี สวัสดี