พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย วัชรินทร์ ผ่องศรี 0806218918 http://watcharinph.tatc.ac.th พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
องค์ประกอบการสื่อสารข้อมูล
ชนิดของการสื่อสารข้อมูล แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission)
3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียงหรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง
ประเภทของสัญญาณ - สัญญาณแบบดิจิตอล (Digitals signal) เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล
สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) เป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันที่ทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิตอลเช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถแชร์ทรัพยากร 3. ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้ 4. สามารถแชร์เอกสาร เช่น ตารางข้อมูลต่างๆ ใบส่งของ ใบรายการ สินค้า เป็นต้น 5. สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ในการติดต่อผู้ที่อยู่ ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ต่อ) 6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชต (Chat) 7. การประชุมระยะไกล (Videoconference) 8. การแชร์ไฟล์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิโอ เพลง เป็นต้น 9. การแชร์ซอฟต์แวร์ต่างๆ
องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย
ประเภทของระบบเครือข่าย
ประเภทของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายแบ่งขนาดทางกายภาพของเครือข่ายออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ LAN (Local Area Network) WAN (Wide Area Network) MAN (Metropolitan Area Network)
ประเภทของระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน เช่น การเชื่อมต่อในตึกเดียวกัน การเชื่อมต่อในมหาวิทยาลัย การเชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆ โดยการเชื่อมต่อสามารถผ่านระบบ Ethernet, Fast Ethernet, FDDI, Token Ring
ประเภทของระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) การเชื่อมต่อ Lan เข้าด้วยกันในกรณีที่ระยะทางในการเชื่อมต่อระหว่างวง Lan ทั้งสองห่างกันมาก โดยการเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยการใช้ ATM, DSL, ISDN อื่นๆ แต่การเชื่อมต่อจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อต่ำกว่าการเชื่อมต่อแบบ Lan
ประเภทของระบบเครือข่าย Man (Metropolitan Area Network) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์บนพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับ Wan แต่การเชื่อมต่อนั้น จะเป็นการเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูง เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อแบบ Lan
ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์ 2.1 Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม 2.2 Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามความปลอดภัย
Network Interface Card : NIC ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านทาง Switch หรือ Hub Bandwidth 10/100/1000 Mbps
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
สื่อกลางสำหรับการรับส่งข้อมูล แบ่งเป็นแบบมีสายกับไร้สาย สายสัญญาณ ปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อยู่ 3 ประเภท คือ 1. สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs) 2. สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) 3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
สายคู่บิดเกลียว Twisted Pair
สาย UTP สาย UTP เป็นสายที่ใช้เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐาน กำหนดความยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร เป็นสายแบบที่มีตัวนำทองแดง 4 คู่โดย ทั่วไปเป็นสายที่ใช้ลวดตัวนำที่มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร สาย 4 คู่ที่ตีเกลียวสลับกันดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีสีเพื่อกำหนดสายเพื่อให้การเลือก ต่อสายที่ปลายทั้งสองได้ถูกต้อง จึงมีการกำหนดสีให้เป็นรหัส บ่งบอกสาย สีที่ปรากฏ ที่สาย UTP ที่ใช้ในมาตรฐานนี้มีดังนี้ สายคู่ที่ 1 ใช้สีขาว - ฟ้า ตัวย่อ (W-BL) สายคู่ที่ 2 ใช้สีขาว - ส้ม ตัวย่อ (W-O) สายคู่ที่ 3 ใช้สีขาว - เขียว ตัวย่อ (W-G) สายคู่ที่ 4 ใช้สีขาว - น้ำตาล ตัวย่อ (W- BR)
Category ของสาย UTP
STP (Shield Twisted Pair) เป็นสายคู่ลักษณะคล้ายกันกับสาย UTP แต่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวนที่เป็นโลหะถักเป็นร่างแหโลหะหรือฟอยส์ ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนต่างๆ ภาษาเทคนิคเรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) จะใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าระยะทางที่จะใช้สาย UTP
หัวต่อ (Connector) ที่ใช้กับสาย Twisted pair เรียกว่า หัวต่อ RJ-45
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) ใช้ในการเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ Ethernet Switch หรือ Hub Bandwidth 10/100/1000 Mbps ความเร็วในการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับการเข้าหัวสาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ ระยะทางในการเชื่อมต่อ < 100m
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาย UTP และหัว RJ-45 สาย UTP ที่ใช้ใน Ethernet Lan จะเข้าหัวแบบ RJ-45 ภายในสาย UTP จะมีสายทองแดงย่อยอีก 8 เส้น โดยถูกจัดกลุ่มเป็นคู่ๆ ทั้งหมด 4 คู่ RJ-45 UTP
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเข้าหัว RJ-45 มีได้ 2 แบบ คือ แบบ A (Standard 568A) มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ขาว/เขียว เขียว ขาว/ส้ม น้ำเงิน ขาว/น้ำเงิน ส้ม ขาว/น้ำตาล น้ำตาล
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบ B (Standard 568B) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก มีการเรียงสายจากซ้ายไปขวา ดังนี้ ขาว/ส้ม ส้ม ขาวเขียว น้ำเงิน ขาว/น้ำเงิน เขียว ขาว/น้ำตาล น้ำตาล
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาย UTP มี 2 แบบ ตามการเข้าหัว RJ-45 ดังนี้ สายตรง (UTP Straight Cable) เป็นสายที่ใช้ทั่วไป และพบมาก โดยใช้ในการเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายจำพวก Hub และ Switch โดยการเข้าหัวทั้ง 2 ปลายจะเป็นแบบเดียวกัน (A หรือ B ก็ได้) สายครอส (UTP Cross-over Cable) ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องโดยตรง ไม่ผ่านอุปกรณ์ประเภท Hub และ Switch นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Router (ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบหนึ่ง) โดยการเข้าหัวที่ปลายทั้ง 2 จะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ปลายข้างหนึ่งเข้าหัวแบบ A อีกปลายจะเข้าหัวแบบ B
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สายตรง (UTP Straight Cable)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สายครอส (UTP Cross-over Cable)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิธีการเข้าหัวสาย UTP 1. ปลอกที่หุ้มสายออกประมาณ 2-3 ซม.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2. เรียงสายทั้ง 4 คู่ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ต้องการ (A หรือ B) แล้วตัดให้สายทุกเส้นยาวเท่ากัน โดยให้ยาวออกจากที่หุ้มสายประมาณ 1.7 ซม.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3. สอดสายที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้ว เข้าไปยังหัว RJ-45 โดยใส่เข้าไปให้สุด และแน่นแล้วจึงใช้ที่เข้าหัวสายหนีบ เพื่อดันให้เข้าที่
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาย STP (Shielded Twisted Pair) คล้ายกับสาย UTP แต่มีชนวน และตัวนำหุ้ม จึงป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี นิยมใช้แทนสาย UTP ในที่ๆ มีสัญญาณรบกวนมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ มีราคาแพงกว่าสาย UTP
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) โครงสร้างของสายโคแอคเชี่ยล
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์จะถูกแยกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยใช้มาตรา RG (Radio Grade Scale) เช่น สายโคแอ็กซ์แบบ RG-58 จะใช้ได้กับเครือข่าย อีเธอร์เน็ตแบบ 10Base2 ซึ่งมีค่าความต้านทานที่ 50 โอห์ม
ประเภทของสายโคแอ็กซ์เชี่ยล สายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) 2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable)
สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) เป็นสายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm มีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ในสายประเภท RG-58 มีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม
สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้างแข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า จึงนำสัญญาณได้ดีกว่าแบบบาง สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร สมัยก่อนใช้เป็นแบ็คโบนของเครือข่าย ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว
หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กซ์ สายแบบ Thinnet และ Thicknet จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC 1. หัวเชื่อมสาย BNC (BNC Cable Connector) 2. หัวเชื่อมสายรูปตัว T (BNC T-Connector) 3. หัวเชื่อมสายแบบ Barrel (BNC Barrel Connector) 4. ตัวสิ้นสุดสัญญาณ (BNC Terminator)
สายโคแอ็กซ์ยังแบ่งออกเป็น 2 เกรดแล้วแต่การใช้งาน 1. สายโคแอ็กซ์เกรด PVC จะใช้พลาสติกเป็นวัสดุห่อหุ้ม ใช้ในสำนักงาน เพราะเป็นสายที่มีความยืดหยุ่นมาก แต่เมื่อติดไฟจะทำให้เกิดแก๊สที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 2. สายโคแอ็กซ์เกรด Plenum ใช้ติดตั้งเพดานหรือระหว่างชั้นหรือพื้นที่มีอุณหภูมิต่างจากอุณหภูมิห้อง ทนไฟและถ้าไฟไหม้สายแก๊สที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นอันตรายมาก
สายใยแก้วนำแสง (Fiber-Optic)
ชนิดของ Fiber Optic Single Mode Fiber Optic Multimode Fiber Optic
Fiber Optic Connector FC - Telephone ST-นิยมใช้มาก SC - ใช้ง่าย
ข้อดีของ Fiber optic ทนทานต่อคลื่นรบกวนด้วยฉนวนชั้นนอก สัญญาณคงที่ในการส่งข้อมูลแม้ในระยะทางไกลๆ ไม่ต้อง อาศัยอุปกรณ์ เพิ่มสัญญาณหรือทวนสัญญาณ แบนด์วิดท์สูง รองรับความเร็วในการส่งข้อมูลประมาณ 500 Mbps ขึ้นไป
ข้อจำกัดของสายใยแก้วนำแสง มีราคาแพงเนื่องจากต้นทุนการผลิต การติดตั้งและการบำรุงรักษา ความเปราะและแตกหักง่าย
การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย 1) คลื่นวิทยุ (Radio Wave) 2) สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) 3) แสงอินฟราเรด (Infrared) 4) ดาวเทียม (satilite) 5) บลูทูธ (Bluetooth)
คลื่นวิทยุ วิธีการสื่อสารประเภทนี้จะใช้การส่งคลื่นไปในอากาศ เพื่อส่งไปยังเครื่องรับวิทยุโดยรวมกับคลื่นเสียง ที่เป็นรูปแบบของคลื่นไฟฟ้า ดังนั้นการส่งวิทยุกระจายเสียงจึงไม่ต้องใช้สายส่งข้อมูล และยังสามารถส่งคลื่นสัญญาณไปได้ระยะไกล ซึ่งจะอยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 104 - 109 เฮิรตซ์ ดังนั้นเครื่องรับวิทยุจะต้องปรับช่องความถี่ให้กับคลื่นวิทยุที่ส่งมา ทำให้สามารถรับข้อมูลได้อย่างชัดเจน
ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) ไมโครเวฟ คือ ช่วงสัญญาณคลื่นวิทยุ นำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงทั้งสัญญาณเสียงและข้อมูล มีจานส่งและรับข้อมูลตั้งอยู่บนเสาสูง ยอดตึก หรือภูเขา ส่งสัญญาณเป็นเส้นตรง และจะไม่มีอะไรมาขวางกั้น (แต่มีการลดทอนของสัญญาณ) ระยะทางของจานรับ/ส่งประมาณ 30-50 กม. 04000102 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน
ระบบไมโครเวฟ (Microwave System)
ระบบดาวเทียม (Satellite System)
ระบบดาวเทียม (Satellite System) ดาวเทียม มีหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล, รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียมภาคพื้นโลก ดาวเทียมอยู่ห่างจากพื้นโลกประมาณ 36,000 ก.ม. การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า “สัญญาณอัป-ลิงค์” (Uplink) การส่งสัญญาณข้อมูลกลับมายังพื้นโลกเรียกว่า “สัญญาณดาวน์-ลิงค์” (Downlink)
ระบบดาวเทียม (Satellite System) 36,000 km 04000102 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย (ขั้นพื้นฐาน) การ์ดเชื่อมโยงเครือข่าย (Network interface card) ฮับ/สวิทซ์ (Hub/Switch) เราเตอร์ (Router) โมเด็ม (Modem) Access Point Wireless Card
การ์ดเชื่อมโยงเครือข่าย (Network interface card)
การ์ดเชื่อมโยงเครือข่าย (Network interface card) การ์ดเชื่อมโยงเครือข่าย (Network interface card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายเคเบิลของเครือข่าย และควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย บางครั้งเรียกว่า Lan Card
ฮับ/สวิทซ์ (Hub/Switch)
ฮับ/สวิทซ์ (Hub/Switch) ฮับ/สวิทซ์ (Hub/Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน และเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการกระจายสัญญาณ โดยที่ฮับจะมีการแบ่งช่องสัญญาณตามจำนวนผู้ใช้ แต่ Switch ไม่มีการแบ่ง
การทำงานของ Hub
ความแตกต่างระหว่าง Hub และ Switch หากมีการส่งสัญญาณพร้อมๆกัน ความเร็วจะลดลง ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่
ความแตกต่างระหว่าง Hub และ Switch การรับ-ส่งข้อมูลจากพอร์ทหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังพอร์ทปลายทางที่เชื่อมอยู่กับอีกเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลเท่านั้น ส่งข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เป็นที่นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่าฮับ
เราเตอร์ (Router) 04000102 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน
เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ เชื่อมต่อเครือข่ายแต่ละประเภทเข้าด้วยกัน โดยค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล
โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกเป็นดิจิตอล และดิจิตอลเป็นอนาลอก มี 2 ชนิด คือแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก
โมเด็ม (Modem) โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ แปลงสัญญาณดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ให้สามารถวิ่งบนสายโทรศัพท์ (สัญญาณอนาลอก) เพื่อทำการติดต่อสื่อสารได้ มี 2 ชนิด คือแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก
โมเด็ม (Modem) Internal Modem External Modem
ลักษณะการเชื่อมต่อโมเด็ม The analog signal (audible) is sent through telephone lines. 011010001 MODEM MODEM 011010001 Digital signal Digital signal This modem converts analog to digital. This modem converts digital to analog.
Access Point ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless) Access Point หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า AP (เอ-พี) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น “จุดกระจายและเชื่อมต่อสัญญาณ ไร้สาย เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายทุกชนิด เข้า
Wireless Card PCMCIA PCI for PC USB ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ethernet ชนิด ระยะทางสูงสุด ชนิดของสาย ความเร็ว 10BaseT 100 m UTP 10 Mbps 100BaseTX 100 Mbps 100BaseFX 400 m (half duplex) 2000 m (full duplex) Fiber Optic 1000BaseSX 220 m Fiber Optic (MMF) 1000 Mbps 1000BaseLX 3-10 Km Fiber Optic (SMF)
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย ตัวอย่างอุปกรณ์ Ethernet UTP Ethernet Card Fiber Optic
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย Wireless Lan รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดไว้สำหรับระบบอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์ (ISM band)
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย มาตรฐานการใช้งาน Wireless ในประเทศไทย IEEE 802.11 b Bandwidth 11 Mb/s ระยะทางในที่โล่ง 100 m. IEEE 802.11 g Bandwidth 54 Mb/s ระยะทางในที่โล่ง 50 m.
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค (Ad-Hoc) คือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองตัวขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Access Point
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง คือ การติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access Point) เป็นศูนย์กลาง โดยแต่ละเครื่องสามารถเชื่อมต่อสู่เครือข่ายภายนอกได้ผ่านทาง Access Point
วิธีการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างปลอดภัย
การตั้งค่า IP Address บนเครื่อง วิธีการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างปลอดภัย การตั้งค่า IP Address บนเครื่อง Automatic ง่ายในการใช้งาน และสะดวกในการดูแล จำเป็นต้องมี DHCP Server ในระบบ Static จำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง IP Address ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง DHCP Server ในระบบ
การตั้งค่า Windows Update วิธีการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างปลอดภัย การตั้งค่า Windows Update ช่วยป้องกันการโจมตีจากไวรัสหรือเวิร์มต่างๆ ช่วย Update Driver สำหรับอุปกรณ์ใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Windows
วิธีการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างปลอดภัย การติดตั้งโปรแกรม Ad-aware Ad-aware เป็นโปรแกรมที่ช่วยตรวจสอบว่ามีการติดตั้งโฆษณาที่ไม่ต้องการลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราหรือไม่ หรือโปรแกรมที่ติดตั้ง Toolbar ที่มี link ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น การตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น การตรวจสอบ IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดับเบิลคลิ๊กที่ จะเกิดหน้าต่างดังรูป
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น การตรวจสอบ IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลิ๊กที่ “Support”
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น กรณีที่ไม่ได้ IP Address
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น การตรวจสอบระบบเครือข่ายด้วยคำสั่งต่างๆ Ping -> ใช้ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์ Nslookup -> ใช้ในการตรวจสอบชื่อโดเมน Traceroute -> ใช้ในการตรวจสอบเส้นทางในการเชื่อมต่อ
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น ขั้นตอนในการใช้คำสั่ง Start Menu -> Run
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น ขั้นตอนในการใช้คำสั่ง พิมพ์ cmd
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น ขั้นตอนในการใช้คำสั่ง
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น Ping Ping IP address ที่ต้องการทดสอบ Ex ping 158.108.1.1
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น Traceroute Tracert IP Address ที่ต้องการ Ex tracert 158.108.50.5
การตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น Nslookup Nslookup ชื่อที่ต้องการตรวจสอบ Ex nslookup www.google.com
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย Ethernet/Fast Ethernet/Gigabit Ethernet Lan Wireless Lan
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย Ethernet การเชื่อมต่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ LAN ในปัจจุบัน โดยมีอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10Gbps โดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือ สาย Fiber optic
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ethernet ชนิด ระยะทางสูงสุด ชนิดของสาย ความเร็ว 10BaseT 100 m UTP 10 Mbps 100BaseTX 100 Mbps 100BaseFX 400 m (half duplex) 2000 m (full duplex) Fiber Optic 1000BaseSX 220 m Fiber Optic (MMF) 1000 Mbps 1000BaseLX 3-10 Km Fiber Optic (SMF)
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย ตัวอย่างอุปกรณ์ Ethernet UTP Ethernet Card Fiber Optic
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย Wireless Lan รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดไว้สำหรับระบบอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์ (ISM band)
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย มาตรฐานการใช้งาน Wireless ในประเทศไทย IEEE 802.11 b Bandwidth 11 Mb/s ระยะทางในที่โล่ง 100 m. IEEE 802.11 g Bandwidth 54 Mb/s ระยะทางในที่โล่ง 50 m.
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค (Ad-Hoc) คือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองตัวขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Access Point
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง คือ การติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access Point) เป็นศูนย์กลาง โดยแต่ละเครื่องสามารถเชื่อมต่อสู่เครือข่ายภายนอกได้ผ่านทาง Access Point
รูปแบบของระบบเครือข่าย Topology
รูปแบบของระบบเครือข่าย Mesh Bus Star Tree Ring
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Mesh (Full Mesh)
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Mesh ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสามารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยน และบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Bus ข้อดี ง่ายต่อการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ใช้สายเคเบิลน้อยกว่าการต่อแบบ Star ข้อเสีย ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ถ้าสายหลักชำรุด จำเป็นต้องมี Terminator ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายหลัก เพื่อป้องกันสัญญาณสะท้อนกลับไปมาภายในสาย ค้นหาจุดที่เกิดปัญหาได้ยาก ถ้าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Star
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Star ข้อดี ง่ายต่อการต่ออุปกรณ์และการเดินสาย สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่าย และไม่รบกวนส่วนอื่น ง่ายต่อการตรวจสอบจุดที่เกิดปัญหา และการแยกอุปกรณ์บางส่วนออกจากระบบ ข้อเสีย เปลืองสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบ Bus ถ้า hub หรือ switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อมตรงกลาง
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Tree เป็นการผสมผสานกันระหว่างการต่อแบบ Bus และ Star หรือเป็นการต่อ Star ซ้อนกันหลายชั้น
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Tree ข้อดี ในแต่ละส่วนย่อยๆ จะต่อถึงกันแบบ Star ทำได้รับข้อดีของการต่อแบบ Star มาด้วย ข้อเสีย ระยะทางในแต่ละส่วนย่อยๆ จะถูกจำกัดโดยชนิดของสาย ถ้าสายหลักหรือ Hub ตัวกลางหลักเสีย ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ยากต่อการติดตั้งและเดินสาย
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring
ระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring การเพิ่มเติมขนาดของระบบเครือข่าย ส่งผลต่อประสิทธิภาพไม่มาก ลดจำนวนตัวรับและส่งสัญญาณลงครึ่งนึง (ในกรณี Ring ทางเดียว) ทุกๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะช่วยขยายสัญญาณ ทำให้สามารถต่อเป็นวงใหญ่ได้ ข้อเสียของระบบเครือข่ายรูปแบบ Ring ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัว ถ้าอุปกรณ์บางตัวหรือสายเคเบิ้ลชำรุด จะทำให้เครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ (ในกรณี Ring ทางเดียว)
แบบฝึกหัดบทที่ 6 จงอธิบายองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล จงอธิบายรูปแบบของสัญญาณแบบอนาล็อก และดิจิตอล จงบอกประโยชน์ของระบบเครือข่ายมา 6 ข้อ จงอธิบายระบบเครือข่ายระยะใกล้ และจุดประสงค์ของการติดตั้ง จงอธิบายลักษณะโครงสร้างเครือข่ายแบบดาว, แบบผสม พร้อมระบุข้อดี และข้อเสีย
แบบฝึกหัดบทที่ 6 (ต่อ) จงบอกข้อดีของสายใยแก้วนำแสง สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลประเภทไร้สายมีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีข้อแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย จงบอกอุปกรณ์เครือข่ายมา 4 ชนิด พร้อมอธิบายหน้าที่การทำงานของแต่ละชนิด จงอธิบายลักษณะการเชื่อมต่อและการสื่อสารแบบโมเด็ม จงบอกและอธิบายการนำเครือข่ายไปใช้ในด้านต่างๆ มา 5 ตัวอย่างงาน