การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
รายงานผลการฝึกอบรมที่ U of Illinois at Chicago, Chicago, Illinois, USA ระหว่างวันที่ 2 ก. ค ม. ค.52.
Advertisements

การพัฒนาโครงการวิจัย vs การจำแนกประเภทงานวิจัย
การเตรียมความพร้อมสำหรับงานวิจัยที่ใช้เทคนิค recombinant DNA
เทคโนโลยีชีวภาพกับการปรับปรุงพันธุ์
Gene Manipulation Gene Manipulation GManipulation.ppt.
ดีเอ็นเอ และวิทยาศาสตร์พันธุกรรม
วิทยาศาสตร์พันธุกรรม ดีเอ็นเอ และ จีเอ็มโอ (Molecular Biotechnology)
Genetic Engineering.
Transcription.
Transcriptional Control
Transcriptional Control
GMO SAFETY ASSESSMENT Sumol Pavittranon , Ph. D.
เทคโนโลยีชีวภาพ เสาวลักษ์ สารรัมย์.
พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
โดย : จิรวัฒน์ พรหมพร ปรับปรุงครั้งล่าสุด.22/03/50 แผนกฝึกอบรม ฐานข้อมูล บ. บุ๊คโปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด.
Gene expression and signal transduction (4 hr)
พืชแต่งพันธุ์ต้านทานแมลง
RNA synthesis and processing รัชนีกร กัลล์ประวิทธ์
เทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ Animal biotechnology
Biotechnology applied in animal breeding
DNA marker Selection (transformation, breeding) Identification
โดย ผศ.ดร.วุฒิไกร บุญคุ้ม ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
โดย นางณหทัย วิจิตโรทัย นางพัชรี เกิดชุ่ม
Animal Breeding and Improvement การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
พืชแต่งพันธุ์ต้านทานสารกำจัดวัชพืช Herbicide Tolerant Plant
พันธุวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมพันธุศาสตร์
Overview of Animal Breeding Stop and think ?... ทำไมต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ สัตว์ ? ต้องการผลิตลูกสัตว์ที่มี ลักษณะดีเด่นขึ้น.
กระบวนการแสวงหาความรู้
บทเรียนเพื่อการศึกษาวิชาสุขศึกษา เรื่อง
บทที่ 5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
ภญ. พัสริ วิทยศักดิ์พันธุ์ ภญ. อัญชลี เลาไพศาลวนิชศิริ
Department of Biochemistry, Faculty of Science, Mahidol University
บทที่ 5 การจัดการแฟ้มข้อมูล
มอบนโยบายการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย โดย นายอาทิตย์ วุฒิคะโร
ประกาศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งกรมปศุสัตว์
โลกาภิวัตน์และอำนาจอธิปไตย Globalizaion and Sovereignty
แนวทางและประสบการณ์ การฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต(Reproduction & Development)
การสร้าง in vivo Transcript จากโคลน cDNA เต็มสายของ เชื้อไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (PRSV-P) สายพันธุ์ไทย (Construction of in vivo Full Length Transcripts.
การดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของ IBC
อาหารที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ในเชิงการเกษตร
บทที่ 17 พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทาง DNA
บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข.
คู่มือคุณภาพ Quality Manual
การโคลนและศึกษาคุณสมบัติของยีน OsDFR ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินและโปรแอนโทไซยานิดินในข้าวไทย นางสาวกนกภรณ์ คำโมนะ.
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต
ผู้ช่วยสอน : นางสาวอมรรัตน์ ตันบุญจิตต์
การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
การตรวจสอบพันธุ์ปนในข้าว ด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ
การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
โครงการวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับชมละครไทยและซีรีย์เกาหลีของนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยา  
กองเมล็ดพันธุ์ข้าว.
“ เผชิญความตายอย่างสงบ ”
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
มอบนโยบายการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย โดย นายอาทิตย์ วุฒิคะโร
การโคลนยีน หรือ การโคลน DNA (Gene cloning and DNA cloning)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีทาง DNA
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทาง DNA ในเชิงการเกษตร
บทที่ 1 เรื่องไฟฟ้า สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน โดย
Animal Health Science ( )
การพัฒนาของมนุษย์ หลังการปฏิสนธิจะได้ไซโกต ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นเอ็มบริโอ ผ่านระยะการเจริญที่สำคัญ ได้แก่ Clevage, Blastulation, Gastulation และ Organogenesis.
กรดนิวคลีอิก(nucleic acid)
การสืบพันธุ์ของพืช.
Introduction to Quantitative Genetics
การควบคุม (Controlling)
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
การขยายพันธุ์พืช.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร

การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพของมนุษย์ ในการใช้เทคโนโลยีDNA เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในมีลักษณะที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับเป้าหมายหนึ่งคือการในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่อาศัยการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ดั้งเดิม แต่ด้วยเทคโนโลยี DNAทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหาได้ว่ายีนที่จะทำให้สัตว์มีลักษณะตามต้องการ เช่น หมูมีไขมันต่ำ วัวให้นมเร็วขึ้นและมากขึ้น เมื่อทราบว่ายีนควบคุมลักษณะนั้นคือยีนใดแล้วจึงย้ายยีน ดังกล่าวเข้าสู่สัตว์ที่ต้องการ

การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพของมนุษย์ อีกรูปแบบหนึ่งของการทำฟาร์มในอนาคต คือ การสร้างฟาร์มสัตว์ที่เสมือนเป็น โรงงานผลิตยาเพื่อสกัดนำไปใช้ในการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การสร้างแกะที่ได้รับการถ่ายยีนเพื่อให้สร้างโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของคน และให้แกะผลิตน้ำนมที่มีโปรตีนนี้ โปรตีนชนิดนี้จะยับยั้งเอนไซม์ที่ก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ปอดในผู้ป่วยที่เป็นโรคซิสติกไฟโปรซิส (cystic fibrosis) และโรคระบบทางเดินหายใจที่เรื้อรังชนิดอื่นๆ

การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพของมนุษย์ ในการสร้างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic animal) จะเริ่มจากการแยกเซลล์ไข่ออกจากเพศเมียและฉีดยีนที่ต้องการเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ไข่ (microinjection) ซึ่งจะมีเซลล์ไข่บางเซลล์ยอมให้ยีนดังกล่าวแทรกเข้าในจีโนมของนิวเคลียสและแสดงออกได้ จากนั้นทำการผสมพันธุ์ในหลอดทดลอง (in vitro fertilization) และถ่ายฝากเข้าในตัวแม่ผู้รับ เพื่อให้เจริญเป็นตัวใหม่ซึ่งจะมียีนที่ต้องการอยู่โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสปีชีส์เดียวกัน

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม(trensgenic plant)

ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง โดยการถ่ายยีนบีทีที่สร้างสารพิษจากแบคทีเรีย(Bacillua Thuringiensis;BT) สารพิษนี้สามารถทำลายตัวอ่อนของแมลงบางประเภทอย่างเฉพาะเจาะจง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เมื่อนำยีนที่สร้างสารพิษไปใส่ในเซลล์ของพืช เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง ยาสูบ มะเขือเทศ พืชเหล่านี้สามารถผลิตสารทำลายตัวหนอนที่มากัดกิน ทำให้ผลผลิตของพืชเหล่านี้เพิ่มขึ้น ลดการใช้สารเคมีหรือไม่ต้องใช้เลย

ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม พืชต้านทานต่อโรค นักวิจัยไทยสามารถดัดแปลงพันธุกรรมของมะละกอให้ต้านทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวน ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยนำยีนที่สร้างโปรตีนเปลือกไวรัส (coat protein gene) ถ่ายฝากเข้าไปในเซลล์มะละกอ แล้วชักนำให้เป็นมะละกอสร้างโปรตีนดังกล่าว ทำให้สามารถต้านทานต่อเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงพันธุกรรมของมันฝรั่ง ยาสูบ ให้มีความต้านทานต่อไวรัสที่มาทำลายได้

ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่สามารถต้านสารปราบวัชพืช เช่นนำเอายีนที่ต้านทานสารปราบวัชพืชใส่เข้าไปในพืชเช่นถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย ทำให้สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช ทำให้สารเคมีที่ปราบวัชพืชไม่มีผลต่อพืชดังกล่าวและสามารถใช้ประโยชน์จากดินและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนยังทำได้ง่ายขึ้น ผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ในกรณีของข้าวที่เป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของโลก ได้มีนักวิทยาศาสตร์ นำยีนจากแดฟโฟดิล และยีนจากแบคทีเรียErwinia bretaria ถ่ายฝากให้ข้าว ทำให้ข้าวสร้างวิตามินเอในเมล็ดได้ เรียกว่า ข้าวสีทอง (golden rice) โดยหวังว่าการสร้างข้าวสีทอง จะมีส่วนช่วยในการลดภาวะการขาดวิตามินในประเทศที่ขาดแคลนอาหารในโลกได้

ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมเพื่อให้ยืดอายุของผลผลิตได้ยาวนานขึ้น โดยนำยีนที่มีผลต่อเอนไซม์ที่สังเคราะห์เอทิลีนใส่เข้าไปในผลไม้ เช่น มะเขือเทศ ทำให้มะเขือเทศสุกช้าลงเนื่องจากไม่มีการสร้างเอทิลีนลดความเน่าเสียของมะเขือเทศ สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและขนส่งได้เป็นระยะทางไกลขึ้น

ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม พืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่นๆ เช่น ทำให้พืชต้านทานความแห้งแล้ง ต้านทานดินเค็ม ดัดแปลงพืชให้แปลกและแตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับตลาดและความต้องการของมนุษย์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organism : GMOs) ถึงจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งทางสังคมเป็นอย่างมากว่าอาจจะไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภคและอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การมิวเทชันและอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้

การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยวิธีการของ molecolar breeding ด้วยเทคโนโลยีDNAนำมาสู่การสร้างแบคทีเรีย และแผนที่เครื่องหมายทางพันธุกรรมต่างๆ ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ โดยอาศัยการคัดเลือกจากการตรวจหาจากเครื่องหมายทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลทดแทนการคัดเลือกจากลักษณะฟีโนไทป์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้การปรับปรุงพันธุ์ต่างๆทำได้รวดเร็วขึ้นและมีความเป็นไปได้ที่จะได้พืชหรือสัตว์พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่างๆร่วมกันในเวลาที่เร็วขึ้น

การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยวิธีการของ molecolar breeding ตัวอย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ โดยอาศัยเครื่องหมายทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้มีการศึกษาว่ายีนที่ควบคุมความทนเค็มนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนหลายตำแหน่งและพบว่ายีนเหล่านั้นอยู่บนโครโมโซมแท่งต่างๆซึ่งมีลิงค์เกจกับเครื่องหมายทางพันธุกรรมในระดับ

เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช ในการทำพืช GMOs ต้องใช้เทคนิคในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถแสดงออกในลักษณะตามที่ต้องการได้ โดยเทคนิคเหล่านี้จะทำการส่งถ่ายสารพันธุกรรมจากภายนอก[ซึ่งอาจมาจากแหล่งอื่น เช่น ยีน(Gene)จากแบคทีเรีย]เข้าสู่ภายในเซลล์ของพืช ทำให้สารพันธุกรรมจากภายนอกสามารถแทรกตัวเข้าสู่จีโนม(Genome)หรือดีเอ็นเอ(DNA)ของพืชชนิดที่ต้องการได้ แล้วทำให้เกิดการแสดงออกในลักษณะที่ยีน(Gene)(ที่แทรกตัวเข้าไป)นั้นควบคุมอยู่ได้ รวมทั้งยังสามารถที่จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้อีกด้วย พืช GMOs ซึ่งถูกโอนถ่ายยีนเข้าไปนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Transgenic Plants

เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช ในปัจจุบันการถ่ายฝากยีนจากภายนอกเข้าสู่พืช สามารถที่จะทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อของพืชเป้าหมายที่นำมาถ่ายฝากยีน วิธีการในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ การถ่ายฝากยีนโดยตรง (Direct Gene Transfer) - การถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector-Mediated Gene Transfer)

เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช - การถ่ายฝากยีนโดยตรง (Direct Gene Transfer) เช่น การถ่ายฝากยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Biolistic Technique), การถ่ายฝากยีนโดยใช้เข็มฉีด (Microinjection), การถ่ายฝากยีนโดยใช้กระแสไฟฟ้า (Eletroporation) เป็นต้น

เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช - การถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector-Mediated Gene Transfer) เช่น การถ่ายฝากยีนโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium (Agrobacterium-Mediated Gene Transfer) เป็นต้น

ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs ประโยชน์ทางด้านการเกษตร - ทำให้เกิดพืชที่ให้ผลผลิตมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น (เช่น มะเขือเทศมีผลขนาดใหญ่ขึ้น), ผลมีปริมาณมากขึ้น (เช่น ปริมาณเมล็ดข้าวต่อต้นมากขึ้น), ผลมีน้ำหนักมากขึ้น (เช่น มะละกอที่มีน้ำหนักมากกว่ามะละกอปกติทั่วไป) - ทำให้เกิดพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โดย ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกหรือเจริญเติบโตของพืช ตัวอย่างเช่น พืชที่ทนแล้ง (เช่น ข้าวทนแล้ง), พืชที่ทนต่อดินเค็ม (เช่น ข้าวทนดินเค็ม), พืชที่ทนต่อดินเปรี้ยว เป็นต้น

ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs ประโยชน์ทางด้านการเกษตร(ต่อ) - ทำให้เกิดพืชที่ทนต่อศัตรูพืช เช่น พืชที่ทนต่อเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคพืช พืชที่ทนต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืช พืชที่ทนต่อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคพืช ทนต่อแมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ทนต่อยาฆ่าแมลง และทนต่อยาปราบวัชพืช - เมื่อทำให้พืชลดการใช้สารเคมี พิษจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรก็ลดลง - ทำให้เกิดพืชที่มีผลผลิตที่สามารถเก็บรักษาเป็นเวลานาน และอยู่ได้นาน ทำให้ขั้นตอนในการขนส่งสามารถขนส่งในระยะไกลโดยไม่เน่าหรือเสีย เช่น มะเขือเทศที่ถูกทำให้สุกช้า หรือถึงแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็งและกรอบ ไม่เละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค

ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs ประโยชน์ต่อผู้บริโภค - ทำให้เกิด พืช ผัก ผลไม้ มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เช่น ทำให้มะเขือเทศมีวิตามินอีมากขึ้น ทำให้ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น ทำให้กล้วยมีวิตามินเอเพิ่มขึ้น เป็นต้น - ทำให้ลดการขาดแคลนอาหารได้ เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลผลิตและความต้านทานต่างๆมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ตอบสนองต่อความต้องอาหารที่เพิ่มมากขึ้น

ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs

ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs

ข้อดี หรือ ประโยชน์ ของ GMOs ประโยชน์ต่อด้านการอุตสาหกรรม - มี GMOs หลายชนิดที่ไม่ใช่พืช ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตน้ำผักผลไม้ หรือ เอนไซม์ ไคโมซิน (Chymosin) ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก GMOs และทำมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้ลดทั้งต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลง

ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs - ปัญหาเรื่อง อาจมีสิ่งอื่นเจือปนที่ทำให้เกิดอันตรายจากสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs) ได้ เช่น เคยมีข่าวว่า คนในสหรัฐอเมริกาเกิดการล้มป่วยและเสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภค กรดอะมิโน L-Tryptophan ซึ่งเป็นสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs)โดยเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Showa Denko แต่ความจริงแล้วจีเอ็มโอ(GMOs) ไม่ได้เป็นสาเหตุของอันตราย แต่เกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการหลังการทำให้บริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ โดยในขั้นของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) มีความบกพร่องจนมีสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการเหลืออยู่

ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs - ปัญหาเรื่อง จีเอ็มโอ(GMOs)อาจเป็นพาหะของสารที่เป็นอันตรายได้ อย่างในการทดลองของ Dr.Pusztai ได้ทำการทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มีสารเลคติน(lectin)เจือปนอยู่ แล้วผลออกมาว่าหนูมีภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงลำไส้ของหนูมีลักษณะบวมอย่างผิดปกติ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์การทดลองนี้ว่า มีความบกพร่องในการออกแบบการทดลองรวมถึงในวิธีการทดลอง ซึ่งเชื่อว่าต่อไปจะมีการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น และมีคนกังวลว่า ดีเอ็นเอ (DNA) จากไวรัสที่ใช้ในการทำจีเอ็มโอ(GMOs) อาจเป็นอันตรายได้

ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs ปัญหาเรื่อง อาจการเกิดสารภูมิแพ้(allergen)ซึ่งอาจได้มาจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งเดิมของยีน(gene)ที่นำมาใช้ทำจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น อย่างการใช้ยีน(gene)จากถั่ว Brazil nut มาทำจีเอ็มโอ(GMOs)เพื่อเพิ่มคุณค่าของโปรตีนในถั่วเหลืองให้มากขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ก่อนที่จะออกจำหน่ายพบว่าจีเอ็มโอ(GMOs)ที่เป็นถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ได้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut ทางบริษัทจึงได้ระงับการพัฒนาและการจำหน่ายจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดนี้ แต่ถึงอย่างนั้นพืชจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดอื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ อย่างพวก ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้มีการประเมินแล้วว่า มีอัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ

ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs - ปัญหาเรื่อง ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ อย่างใน วัว หมู ไก่ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นที่จะได้รับ recombinant growth hormone ทำให้อาจมีคุณภาพที่ไม่เหมือนจากในธรรมชาติ และอาจมีสารตกค้าง โดยไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งในระบบสรีระวิทยาของสัตว์นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าทั้งของในพืชและจุลินทรีย์ อาจมีผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้จากการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ ซึ่งอาจมีสารพิษอื่นๆที่ไม่ต้องการตกค้างได้ ทำให้ในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง ต้องมีการพิจารณาของขั้นตอนในการประเมินในด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่าการตัดต่อพันธุกรรมในจุลินทรีย์และพืช

ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs - ปัญหาเรื่อง อาจมีส่วนของยีน(gene)จำพวก 35S promoter และ NOS terminator ที่อาจมีอยู่ในเซลล์ของจีเอ็มโอ(GMOs)ซึ่งอาจจะไม่ถูกย่อยในส่วนของกระเพาะอาหารและส่วนของลำไส้ แล้วเข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานจีเอ็มโอ(GMOs)เข้าไป แล้วอาจทำให้มีการ active ของสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีผลอาจทำให้ยีน(gene)ของคนที่รับประทานเข้าไปเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่จากผลการทดลองที่ผ่านๆมาได้มีการยืนยันว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs - ปัญหาเรื่อง ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในการตัดต่อพันธุกรรมในพืช ทำให้พืช GMOs อาจมีการผลิตสารบางอย่างหรือโปรตีนบางชนิดที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่เหมือนจากในธรรมชาติที่พืชปกติชนิดนั้นผลิตออกมา เป็นผลอันเกิดจากการใส่ยีนที่ไม่มีอยู่ตามปกติของพืชชนิดนั้นลงไป สารหรือโปรตีนชนิดนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ ซึ่งในระบบสรีระวิทยาของพืชมีความซับซ้อนกว่าในแบคทีเรียหรือไวรัสมากอาจทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ทั้งหมด ทั้งนี้ถ้าหากพืช GMOsผ่านการแปรรูปแล้ว จะมีความเสี่ยง(ในกรณีนี้)น้อยกว่า ที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป

Reference http://biologythn.blogspot.com/2013/07/blog-post.html http://www.thaibiotech.info/transfer-gene-to-plants-techniques.php#more-740 http://www.thaibiotech.info/advantages-of-gmos.php http://www.thaibiotech.info/disadvantages-of-gmos.php

สมาชิกกลุ่ม 1. นายธนวินท์ ธนกิจไพศาล ชั้นม. 5/1 เลขที่ 6ก 2. นางสาวธนภรณ์ แก้วพิทักษ์ ชั้นม. 5/1 เลขที่ 9ก 3. นายกฤตภาส เปี่ยมเจริญพร ชั้นม. 5/1 เลขที่ 5ข