แนวทางปฏิบัติ กรณีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ด้อยสิทธิ์/ต่างด้าว นพ.สราวุฒิ บุญสุข งานอนามัยแม่และเด็ก กรมอนามัย
จดหมาย จากกระทรวงสาธารณสุข แนวทางปฏิบัติการจัดการเชิงรุก เพื่อยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก และการเข้าถึงการรักษาทารกที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยเร็วที่สุด สนับสนุนการจัดการเชิงรุกเพื่อยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกและส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาทารกที่ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุด ส่งเสริมให้ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีโดยเร็ว ด้วยวิธี HIV-PCRตามความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของทารก ส่งเสริมให้ทารกที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการเริ่มยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุด (ภายในอายุ 8 สัปดาห์) และได้รับยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความเข้มแข็งของการบันทึกข้อมูลเพื่อกำกับติดตาม การดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ตามระบบปกติในโปรแกรม Perinatal HIV Intervention Monitoring System และ National AIDS Program อย่างต่อเนื่องทุกราย
ข้อมูลการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี ของหญิงคลอด (ต่างด้าว) ในประเทศไทย ปี 55 ปี 56 ปี 57 หญิงคลอดได้ตรวจเลือดเอชไอวี 23,944 (99.28 %) 36,383 (98.93 %) 38,928 (99.02 %) ผลเลือด เอชไอวี บวก 192 (0.8 %) 290 (0.8 %) 266 (0.7 %) ได้รับยาต้านสูตร HAART 136 (71 %) 175 (60 %) 192 (72 %)
ข้อมูลการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี ของเด็ก (ต่างด้าว) ในประเทศไทย ปี 55 ปี 56 ปี 57 เด็กคลอดจากแม่ติดเชื้อเอชไอวี 196 320 270 เด็กได้รับยาต้านสูตร HAART 67 (34.5 %) 84 (29.8 %) 67 (25.2 %) เด็กได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี 4 (11 %) 3 (5 %) 1 (2 %)
กรมอนามัย ร่วมกับ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ทำโครงการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ในหญิงต่างด้าวของประเทศไทย เพื่อ ให้บริการแก่หญิงต่างด้าวและเด็ก (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า) ที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เพื่อให้ได้รับบริการตามมาตรฐานและแนวทางของประเทศ ดำเนินการ ในปีงบประมาณ 2558-2559 สนับสนุนการซื้อประกันตนคนต่างด้าว
การดำเนินการแบ่งเป็น 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1: ผู้รับบริการ ที่ไม่สามารถซื้อบัตรประกันสุขภาพต่างด้าวได้จะรับบริการและเบิกจากการบริหารจัดการยา และ การตรวจ HIV-PCR ในทารกกองทุนพิเศษ โดยจ่ายเต็มจำนวนตามที่ใช้ไป แนวทางที่ 2: ผู้รับบริการที่สามารถซื้อบัตรประกันสุขภาพต่างด้าวได้การบริหารจัดการยาบริการและการเบิกจ่ายยาต่างๆเป็นไปตามระบบปกติระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาล
การปฏิบัติตามแนวทางที่ 1 โดย การมารับบริการ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีและคู่ที่ทราบผลเลือดทุกรายควรได้รับการให้การปรึกษาเรื่องประโยชน์ของยา ต้านไวรัส ผลข้างเคียงของยา และความสำคัญของการกินยาอย่างสม่ำเสมอ เริ่มยาได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงระดับ CD4 และอายุครรภ์ โดย หญิงตั้งครรภ์ ใช้สูตร TDF+3TC+EFV ตามแนวทางการ ตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557 (ประกาศ กรมควบคุมโรค เรื่องการใช้ยา EFV พ.ศ. 2553 สามารถใช้กับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 มีนาคม 2553 ) เด็ก/ทารก ให้ใช้สูตร AZT+3TC+NVP โดยปรับขนาดที่เหมาะสมและติดตาม viral load ของเด็กที่ 3 เดือน หลังเริ่มยา หากมีปัญหาให้เปลี่ยนสูตรยา
การบริหารจัดการยา การกระจายยา กรมอนามัยซื้อยาต้านไวรัสผ่านองค์การเภสัชกรรม เพื่อดำเนินการบริหารจัดการยาผ่านระบบ VMI การกระจายยา โรงพยาบาลส่งใบ Request ยา ตามแบบ request ยา มาที่กรมอนามัยในการทำเรื่องเบิกจ่ายยา (เป็นรายเดือน)
โรงพยาบาลจำหน่ายบัตรประกันสุขภาพ ให้กับหญิง ต่างด้าวและเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิ์ตามบัตรฯ ในการมารับ บริการครั้งต่อไป โดยโรงพยาบาลจำหน่ายบัตร ให้กับหญิงต่างด้าวและทำเรื่องเบิกค่าบัตรมาที่กรมอนามัย(เป็นรายเดือน
การปฏิบัติตามแนวทางที่ 2 : สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหรือหญิงคลอดไร้สิทธิ์/ต่างด้าว ที่ติดเชื้อเอชไอวีและทารกคลอดจากแม่ติดเชื้อฯที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพต่างด้าวได้ การบริหารจัดการยา บริการและการเบิกจ่ายยา เป็นไปตามระบบปกติระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัย การติดเชื้อเอชไอวี ของเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ด้วยวิธี HIV-PCR ให้ได้บริการตามสิทธิ์และมาตรฐานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี ดังรายละเอียด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้เด็ก ที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ว่ามีสิทธิ์ประกันสุขภาพ ต่างด้าวหรือไม่ ถ้ามีใช้สิทธิ์ของบัตรประกันสุขภาพ ต่างด้าว โดยกรมวิทย์ฯ ส่งใบขอคืนเงินค่าตรวจ ไปยังโรงพยาบาลที่ส่งตรวจและโรงพยาบาลที่ส่งตรวจ ทำเรื่องเบิกจ่ายคืนจากกองทุนประกันตนต่างด้าว