คู่มือการเขียนวิจัย R2R ฉบับย่อสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทุกท่าน ด้วยความยินดียิ่ง ศูนย์คอมพิวเตอร์สารสนเทศ วิทยาลัยการปกครอง
Advertisements

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลงานวิจัย เพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (R2R) ของงาน/หน่วยงาน/องค์การ อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ที่ไม่ยุ่ง และ ไม่ยาก.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 6 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Microsoft Word 2010.
จังหวัดกาฬสินธุ์ของเราจะมีงานวิจัยที่ดีและจำนวนมากพอได้อย่างไร?จังหวัดกาฬสินธุ์ของเราจะมีงานวิจัยที่ดีและจำนวนมากพอได้อย่างไร? สงัด เชื้อลิ้นฟ้า (BPH,
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอหนองโดน
นำเสนอ “นวัตกรรมดีเด่น” และ
วิเคราะห์ค่างาน เพื่อกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
การดำเนินงาน RTI.
ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
คุณภาพแบบเรียบง่าย ผ่อนคลายด้วย SPA
ที่รองแขนฟองน้ำ หลักการและเหตุผล : เนื่องจากห้องผ่าตัดมีอุณหภูมิเย็น ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดส่วนมากเวลาทำผ่าตัดจะจัด ท่านอนหงายราบ วัตถุประสงค์ : :
ผู้สอน : อ.บุศรินทร์ เอี่ยมธนากุล [อ.อ้อย]
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
Teaching Learning Community. Teaching Learning Community.
PLC : การพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ
การใช้งานอุปกรณ์การเรียนการสอน
การขับเคลื่อน บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล : Governance Excellence
มาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ด้านสุขศึกษา ปี 2562
การเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น (ชำนาญการ)
เทศบาลนครขอนแก่น ยินดีต้อนรับ
นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ประเทศไทย 4.0 โมเดลการขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
อำเภอสันกำแพง ดินแดนแห่ง
การพัฒนาดิจิทัลคอลเลคชั่น
ความต้องการสารสนเทศ (Information need)
ตัวชี้วัด 2.5 ระดับความสำเร็จของหน่วยงาน มีผลงาน วิจัย/R2R/KM ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 1 เรื่อง ทันตแพทย์หญิงสุณี วงศ์คงคาเทพ ทันตสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ(ด้านทันตสาธารณสุข)
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชนบท จังหวัดสตูล
แบบฟอร์มการบริหารโดยการควบคุมคุณภาพ (QCC) ดีเด่น ปี 2561
4.1 งานนโยบายรัฐบาล ปีงบประมาณ 2560 เดือน สิงหาคม 2560
ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ สพส.
วันที่พุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา – น.
บทที่ 9 ระบบปฏิบัติการ Windows
ชี้แจงการอัปโหลดข้อมูล จปฐ. ปี 2561
สถานการณ์วัณโรค จังหวัดมหาสารคาม
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2559 เวลา น.
คำขวัญอำเภอเมืองเชียงใหม่
ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส. พิเศษ 1/5 สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
นโยบายการบริหาร นักเรียน นักศึกษา มีวินัยและจรรยาบรรณ
กระบวนการเรียกร้องสิทธิและการดำเนินคดีผู้บริโภค
ความก้าวหน้าการขับเคลื่อน งานวิชาการและนวัตกรรม กรมอนามัยปี ๒๕๖๑
รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
กรอบการบริหารยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ปี 2560
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก
เวปไซต์การบันทึกผลงาน อสม. ดีเด่น ระดับจังหวัด
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ( SRM )
บทที่ 5 : ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 พฤษภาคม 2562
Outlook ทำงานให้คุณ 5 วิธีในการทำให้ ออกจากระบบอย่างมีสไตล์
จุดที่ควรปรับปรุง SR 1 และ SR 2.
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 พฤษภาคม 2562
ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
อัตราส่วนการตายมารดาไทย ต่อการเกิดมีชีพแสนคน
งานการเงินนักศึกษา ส่วนการเงินและบัญชี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
แผนพัฒนาการเกษตรตำบลคำพราน ปีงบประมาณ 2560 พื้นที่เพาะปลูกพืช เศรษฐกิจ
แปลงใหญ่ทั่วไป (ข้าว) ตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แปลงใหญ่ทั่วไป ข้าว ตำบลหันสัง อ.บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา
บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก
ใบงานกลุ่มย่อย.
ประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
ใบสำเนางานนำเสนอ:

คู่มือการเขียนวิจัย R2R ฉบับย่อสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ นางสาวโสภาภรณ์ พลจางวาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต. บ้านทุ่งโพธิ์ อ.วานรนิวาส จ. สกลนคร

คุณลักษณะของ R2R มี 4 ด้านคือ 1. โจทย์วิจัย คำถามการวิจัยต้องมาจากปัญหาหน้างาน มาจากงานประจำที่ทำอยู่ เป็นการแก้ปัญหาหรือต้องการพัฒนางานประจำให้มีคุณภาพสูงขึ้น 2. ผู้วิจัย ต้องเป็น “ผู้ปฏิบัติงานประจำ” นั้นเอง และต้องทำหน้าที่หลักในการวิจัยด้วย 3. ผลลัพธ์ของงานวิจัย ต้องวัดผลที่ได้จากผู้รับบริการ (ผู้ป่วย) หรือการบริการที่ส่งผลต่อผู้ป่วยโดยตรง ตัวอย่างเช่น ด้านงานบริการจะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน การบริการดีขึ้น แก้ปัญหาภาระงานที่ทำอยู่ได้ ส่วนด้านดูแลผู้ป่วย ผลการรักษาจะดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนหรือระยะเวลาในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลลดลง เป็นต้น 4. การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผลงานวิจัยต้องวนกลับไปก่อเกิดการเปลี่ยนแปลง / ปรับปรุงต่อการให้บริการผู้ป่วยโดยตรง ทำให้การบริการดีขึ้นในบริบทของแต่ละองค์กร

1. ชื่อเรื่อง การเขียนชื่อเรื่องเป็นเหมือนหน้าตาของงานวิจัย R2R ชิ้นนั้นๆ ควรเป็นคำที่เป็น Key word ที่สำคัญของงานวิจัย การตั้งชื่อเรื่องควรเป็นคำสั้นๆ (short) ได้ใจความ (Informative) ดึงดูด (Attractive) และถูกต้องตามจริง (Factually Correct)   ตัวอย่าง “สาวเสียงใส ใส่ใจผู้รับบริการ”

2. ที่มา ในย่อหน้าที่ 1 ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในงานประจำของเรา อ้างถึงข้อมูลทางสถิติเป็นตัวเลข ความถี่ ร้อยละ / ผลกระทบ ในส่วนย่อหน้าที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม ว่ามีผลงานวิจัยเรื่องไหนแล้วที่ทำเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่นำเสนอ Gap ของงานวิจัยเหล่านั้นว่ายังมีช่องว่างอยู่ ในส่วนที่ 3 แนวคิดหรือทฤษฎีที่เราจะนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ (อ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์) ในส่วนสุดท้ายเป็นการขมวดความสำคัญ “เพื่อตอบบอกให้รู้ว่าเรื่องที่ท่านทำวิจัยสำคัญ”

3. คำถามการวิจัย ปัญหาอะไร อยากได้/อยากรู้อะไร เป็นที่มาของรูปแบบการวิจัย ขนาดประชากร การวัดและวิเคราะห์ข้อมูล หมายเหตุ ประเด็นนี้เขียนไว้หรือไม่ก็ได้ ถ้าเป็นงานวิจัยในกลุ่ม action research/PAR ต้องเขียนไว้เพื่อสามารถตอบโจทย์ในผลการศึกษา

4. วัตถุประสงค์ ต้องการตอบคำถามอะไร หรือ มีสมมุติฐานอะไร ควรมีประมาณ 1-3 ข้อ ตัวอย่าง เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมเรียกชื่อ สาวเสียงใส ใส่ใจผู้รับบริการ

5. สมมติฐานการวิจัย ในกรณีที่เป็นการวิจัยแบบทดลองหรือกึ่งทดลองที่ต้องการทดสอบอะไรบางอย่าง ให้นำเสนอสมมติฐานการวิจัยที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นโดยอ้างอิงจากการทบทวนวรรณกรรมเป็นหลัก ส่วนงานวิจัยแบบปฏิบัติการ (action research/PAR/AIC… ) ไม่ต้องเขียนสมมติฐานการวิจัย

6. ระเบียบวิธีวิจัย 6.1 รูปแบบการวิจัย 6.2 พื้นที่ที่ทำการศึกษา 6.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 6.4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 6.5 ขั้นตอนการศึกษา 6.6 การวิเคราะห์ข้อมูล

ตัวอย่างการเขียนระเบียบวิธีวิจัย เป็นการพัฒนานวัตกรรม มีขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 รวบรวม วิเคราะห์ปัญหาในการเรียกชื่อผู้รับบริการ ขั้นที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียกชื่อ ขั้นที่ 3 สร้างโปรแกรมเรียกชื่อ และจัดหาอุปกรณ์ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และเครื่องอ่านบาร์โค้ดทำการติดตั้งที่ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ขั้นที่4 ทดลองใช้โปรแกรม ตรวจสอบผลการใช้งานและปรับปรุงโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นขั้นที่ 5 ประเมินผลการใช้โปรแกรม ทำการศึกษาในจุดบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านม่วง ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงเป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

7. ผลการศึกษา นำเสนอตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่าง จากการพัฒนาโปรแกรมเรียกชื่อ พบว่า อัตราการเรียกชื่อซ้ำหลังการดำเนินการครั้งที่ 1 และหลังการดำเนินการครั้งที่ 2 มีความถี่ลดลง จากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 5.7 พบข้อจำกัดหลังการดำเนินการครั้งที่ 1 คือ โปรแกรมเรียกชื่อออกเสียงล่าช้า ร้อยละ 18.5 โปรแกรมเรียกชื่อขัดข้อง ร้อยละ 6.6 โปรแกรมเรียกชื่อออกเสียงผิด ไม่ตรงกับชื่อ สกุลของผู้รับบริการ ร้อยละ 4.2 การดำเนินการครั้งที่ 2 จึงได้ปรับปรุงโปรแกรมใหม่ และเปลี่ยนอุปกรณ์ จาก Mini computer เป็นเครื่อง PC ทำให้พบปัญหาโปรแกรมเรียกชื่อออกเสียงล่าช้า โปรแกรมเรียกชื่อขัดข้อง โปรแกรมเรียกชื่อออกเสียงผิด ลดน้อยลง เป็นร้อยละ 2 ร้อยละ 1.5 และ ร้อยละ 1.2 ตามลำดับ

8. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ ประโยชน์ของงานวิจัย R2R ที่สามารถเอามาใช้พัฒนาในงานประจำ ที่มีผลต่อผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ องค์กร หรือชุมชน ตัวอย่าง ลดภาระงานและความเหนื่อยล้าของเภสัชกรในการเรียกชื่อผู้รับบริการ ส่งผลให้เภสัชกรเกิดสมาธิและมีช่วงเวลาในการตรวจสอบยาได้มากขึ้น อำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการโดยมีทั้งระบบเรียกชื่อ และจอภาพแสดงรายชื่อในกรณีที่ผู้รับบริการมีปัญหาทางการได้ยินหรือฟังไม่ทันขณะนั้น

9. แผนการที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในหน่วยงาน การเอางานวิจัย R2R ไปขยายผลต่อในงานประจำที่มีปัญหาเดียวกัน ในองค์กร หรือพื้นที่อื่นๆ ตัวอย่าง นำไปใช้ในหน่วยงานห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก และสามารถขยายผลนำไปใช้ในหน่วยงานที่มีผู้รับบริการต่อวันจำนวนมาก เช่น ห้องทันตกรรม และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ได้

10. บทเรียนที่ได้รับ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้งานวิจัย R2R ชิ้นนี้สำเร็จได้มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง ผู้ที่พัฒนาโปรแกรมต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรมให้ดียิ่งขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง เป็นการอ้างอิงถึงเอกสารที่เราทบทวนวรรณกรรม ให้ลงเฉพาะเอกสารที่เราอ้างถึงในงานชิ้นนี้ ตัวอย่าง ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2552). การประเมิน การตอบสนอง และการประเมินผลอย่างรวดเร็ว: ทางเลือกใหม่สำหรับพยาบาลชุมชน. วรสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 27(4), 5-11. โสภาภรณ์ พลจางวางและ รศ.ดร.พนิษฐา พนิชาชีวะกุล. การป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานโดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2553; 28(3): 33-41