การอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พญ. วนัสริน ไมตรีมิตร 24 มิ.ย. 57
Advertisements

การรับมอบคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Tablet) นักเรียนชั้น ม.1 ปีการศึกษา พฤษภาคม 2557 ณ หอประชุมรวมใจภักดิ์ สพป. สระแก้วเขต 1.
เครื่องมือวัดและตรวจสอบ
อุทยานดอกไม้.
Electrical Engineering
All Design and Development by Food Engineering Department
เนื้อหารายวิชา Power System Analysis ปีการศึกษา 1/2549
แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ไฟฟ้าคืออะไร หนังสือวิทยาศาสตร์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ ให้ความหมายที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น - ไฟฟ้า คือ พลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
“นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่”
Piyadanai Pachanapan, Power System Engineering, EE&CPE, NU
intra-abdominal compartment syndrome (ACS )
เครื่องวัดไฟฟ้าแบบชี้ค่า (เชิงอนุมาน)
Physics4 s32204 ElectroMagnetic
เครื่องวัดแบบชี้ค่าขนาดกระแสสลับ AC Indicating Ampere Meter
เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องวัดแบบชี้ค่ากระแสสลับ AC Indicating Instruments
กล้องจุลทรรศน์และการย้อมสี
การค้นหาเส้นทางและพิกัดตำแหน่งบ้านผู้ป่วย
The Balanced Scorecard & KPI
สายดิน (Grounding) ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์.
(Introduction to Soil Science)
น้ำในดิน (Soil Water).
ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า
ถ้าคิดว่าคุณแน่ อย่าแพ้เรานะ
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
การดำเนินงานโรงพยาบาลคุณธรรม,หน่วยงานคุณธรรม
ระเบียบวาระการประชุม วันพุธที่ ๒๗ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
สวนรุกขชาติและศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ. ศ
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชนบท จังหวัดสตูล
แบบฟอร์มการบริหารโดยการควบคุมคุณภาพ (QCC) ดีเด่น ปี 2561
ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา ที่ปรึกษากระทรวงด้านพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข
อินเทอร์เน็ต by krupangtip
การวิจัยพัฒนา การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงผสานวิธี
หลักเกณฑ์ในการตั้งตัวแทน
โครงสร้างการทำงานภายใต้โครงการประชารัฐ
ทิศทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนากำลังคนรายจังหวัด
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ SBR
การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
บทที่ 1 เรื่องไฟฟ้า สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน โดย
การกำจัดขยะและสารเคมี
การจัดหาน้ำสะอาด อ.วีระศักดิ์ สืบเสาะ.
บทบาทของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี
ทรัพยากรธรณี เรื่อง ดิน
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
การสร้างประโยคง่ายๆจากคำศัพท์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูล สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
จัดทำโดย อาจารย์วิษณุ สมัญญา
การกำหนดโครงสร้าง ตาม ว 108 (ว 1)
แนวทางการพัฒนาระบบราชการ ของกรมอนามัย และหน่วยงานในสังกัด
มาทำความรู้จักกับ เห็ดเผาะดาว.
สื่อการเรียนรู้ครูต้อม ประโยคควรรู้ในครอบครัว2 รายวิชาภาษาอังกฤษ ขั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 นางสาวลัดดาวัลย์ เขื่อนคำ ครูผู้สอน โรงเรียนสันมหาพนวิทยา อำเภอแม่แตง.
การลัดวงจรในระบบไฟฟ้ากำลัง Fault in Power System
เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”
ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
แปลงใหญ่ทั่วไป (ข้าว) ตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แปลงใหญ่ทั่วไป ข้าว ตำบลหันสัง อ.บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เวอร์เนียคาลิเปอร์ (VERNIER CALIPER)
ดูง่าย จ่ายครบ จบในใบเดียว
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT
วัฏจักรของเซลล์ และการแบ่งเซลล์ นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
การป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1

ทำไมต้องมีการอบรมการใช้ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ? เครื่องมือที่ภาควิชาฯ จัดหามามีจำนวนมาก และมีราคาสูง เครื่องมือบางชิ้นมีอายุมาก/ใช้มานาน นิสิตขาดทักษะ/ความระมัดระวัง/ความใส่ใจในการใช้เครื่องมือ เพื่อให้น้องๆ รุ่นต่อไปมีเครื่องมือใช้

หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม รุ่นที่1: วันที่ 17-20 เมษายน 2561 วันที่-เวลา สถานที่ หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 17 เม.ย. 61 16.30-17.30 ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 6 และห้องปฏิบัติการชั้น 8 1. การยืมคืนอุปกรณ์และเครื่องมือของภาควิชาฯ 2. การขออนุญาต และแนวทางปฏิบัติในการใช้ห้องปฏิบัติการชั้น 8 3. ชี้แจงรายการ ตำแหน่งการจัดเก็บเครื่องมือที่นิสิตสามารถขออนุญาตใช้ได้ อ.วีนัส/ คุณปาริชาด 19 เม.ย. 61 16.30-18.30 บริเวณสวนรุกขชาติคณะวนศาสตร์ และ ห้องปฏิบัติการชั้น 8 4. การใช้เครื่องมือในการศึกษาสมบัติดิน - การใช้ soil core และเหล็กส่ง - เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบดิน (Three phase) - ตู้อบดิน - เครื่องวัดค่าการนำน้ำ (falling head) - เครื่องมือศึกษาคุณลักษณะของเนื้อดินด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะ (Hydrometer) - เครื่องวัดความชื้นในดิน (TDR) อ.วีนัส/ อ.ยุทธพงษ์ 20 เม.ย. 61 16.30-18.30 บริเวณลานน้ำตก หน้าตึก 60 ปี และห้องปฏิบัติการชั้น 8 5. การใช้เครื่องมือวัดปริมาณ และคุณภาพน้ำ - เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำ (Current meter) ชนิดต่าง ๆ - เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ - เครื่องวัดคุณภาพน้ำชนิดหัวรวม - เครื่องวัดค่า DO - เครื่องวัดความขุ่น - เครื่องวัดค่า pH 6. สรุปการอบรม อ.วีนัส/อ.นฤมล

หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม รุ่นที่2 : วันที่ 24-27 เมษายน 2561 วันที่-เวลา สถานที่ หัวข้อ/เครื่องมือที่อบรม อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 24 เม.ย. 61 16.30-17.30 ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 6 และห้องปฏิบัติการชั้น 8 1. การยืมคืนอุปกรณ์และเครื่องมือของภาควิชาฯ 2. การขออนุญาต และแนวทางปฏิบัติในการใช้ห้องปฏิบัติการชั้น 8 3. ชี้แจงรายการ ตำแหน่งการจัดเก็บเครื่องมือที่นิสิตสามารถขออนุญาตใช้ได้ อ.วีนัส/ คุณปาริชาด 26 เม.ย. 61 16.30-18.30 บริเวณสวนรุกขชาติคณะวนศาสตร์ และ ห้องปฏิบัติการชั้น 8 4. การใช้เครื่องมือในการศึกษาสมบัติดิน - การใช้ soil core และเหล็กส่ง - เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบดิน (Three phase) - ตู้อบดิน - เครื่องวัดค่าการนำน้ำ (falling head) - เครื่องมือศึกษาคุณลักษณะของเนื้อดินด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะ (Hydrometer) - เครื่องวัดความชื้นในดิน (TDR) อ.วีนัส/ อ.ยุทธพงษ์ 27 เม.ย. 61 16.30-18.30 บริเวณลานน้ำตก หน้าตึก 60 ปี และห้องปฏิบัติการชั้น 8 5. การใช้เครื่องมือวัดปริมาณ และคุณภาพน้ำ - เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำ (Current meter) ชนิดต่าง ๆ - เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ - เครื่องวัดคุณภาพน้ำชนิดหัวรวม - เครื่องวัดค่า DO - เครื่องวัดความขุ่น - เครื่องวัดค่า pH 6. สรุปการอบรม อ.วีนัส/อ.นฤมล

เจ้าหน้าที่ที่ดูแลการยืม-คืนอุปกรณ์/เครื่องมือของภาควิชาอนุรักษวิทยา นางสาวปาริชาด จตุรงค์กร (พี่ปู) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานการเงิน ครุภัณฑ์ ยืม-คืน นายสีห์สุระ วารีสะอาด (พี่ฟอร์ด) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ

ระเบียบการขอยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์ 1. ภาควิชาอนุรักษวิทยากำหนดให้ผู้ขอใช้ต้องศึกษา และปฏิบัติตามระเบียบการขอยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์ โดยเฉพาะเครื่องมือวิจัยชั้นสูง (ตามรายการแนบท้าย) ผู้ใช้จะต้องเข้ารับการอบรมก่อนจึงจะสามารถยืมใช้เครื่องมือตามรายการดังกล่าวได้ โดยสามารถดูตารางรายละเอียดการอบรมได้ที่หน้าห้องเก็บเครื่องมือ และอุปกรณ์ชั้น 8 ตึกวนศาสตร์ 72 ปี 2. ผู้ขอใช้ต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการยืม-คืนฯ และส่งแบบฟอร์มขอยืม-คืนเครื่องมือฯ เพื่อขออนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ดูแลห้องเก็บเครื่องมือ และหัวหน้าภาควิชาอนุรักษวิทยาก่อนทุกครั้งแล้วจึงจะยื่นแบบฟอร์มขอยืม-คืนฯ ที่ตะกร้าหน้าห้องธุรการภาควิชาฯ ชั้น 7 ตึกวนศาสตร์ 72 ปี ก่อนวันรับอุปกรณ์อย่างน้อย 2 วัน (สามารถขอรับใบขอยืม-คืนเครื่องมือฯ ได้ที่ชั้นวางเอกสารหน้าห้องธุรการชั้น 7 ตึกวนศาสตร์ 72 ปี)

รายการเครื่องมือวิจัย รายชื่อเครื่องมือที่นิสิตต้องเข้ารับการอบรมการใช้งานก่อนจึงจะอนุญาตให้ยืมใช้ได้ ลำดับ รายการเครื่องมือวิจัย เครื่องมือวัดปริมาณ และคุณภาพน้ำ 1 เครื่องวัดดัชนีคุณภาพน้ำแบบหัวรวม Multi-probe (วัดค่า DO, pH และอุณหภูมิน้ำ) 2 เครื่องวัดค่า DO 3 เครื่องวัดค่า pH 4 เครื่องวัดความขุ่นของน้ำ 5 เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำ (current meter) 6 เครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ เครื่องมือในการศึกษาสมบัติดิน 1. เครื่องวัดความชื้นในดิน (TDR) 2. เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบดิน (Three phase) 3. ตู้อบดิน 4. เครื่องวัดค่าการนำน้ำของดิน (falling head) 5. เครื่องมือศึกษาคุณลักษณะของเนื้อดินด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะ (Hydrometer)

3. ผู้ขอใช้ต้องมารับเครื่องมือฯ ภายหลังจากวันยื่นเอกสาร 2 วัน โดยแจ้งนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อย หลังจากส่งแบบฟอร์มขอยืมฯ เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขอใช้ต้องมารับ และตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์ด้วยตนเอง หากผู้จองใช้เครื่องมือ มารับเครื่องมือช้ากว่าเวลาที่แจ้งเกิน 1 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับการติดต่อ จะถือว่าสละสิทธิ์การใช้เครื่องมือในครั้งนั้น และหากผู้ขอใช้ไม่มาหรือมาสายบ่อยครั้ง จะถูกพิจารณาตัดสิทธิ์ในครั้งต่อๆ ไป (ขอสงวนสิทธิ์ในการยืมเครื่องมือ และอุปกรณ์โดยให้ขอยืมได้เฉพาะผู้ใช้ที่เป็นนิสิต และอาจารย์ของภาควิชาอนุรักษวิทยาเท่านั้น) 4. ผู้ขอใช้สามารถจองเวลาใช้เครื่องมือวิจัยต่อเนื่องได้ ครั้งละไม่เกิน 5 วันทำการ ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องได้รับการเห็นชอบจากหัวหน้าภาควิชาฯก่อน 5. การคืนเครื่องมือ และอุปกรณ์ผู้ขอใช้จะต้องส่งแบบฟอร์มยืนยันการตรวจสอบสภาพภายหลังการคืนอุปกรณ์ พร้อมทั้งส่งคืนเครื่องมือตามกำหนดที่แจ้งไว้ในแบบฟอร์มยืม-คืนฯ พร้อมทำความสะอาดและบำรุงรักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6. กรณีผู้ขอใช้ทำวัสดุ-เครื่องมือวิจัย ชำรุดเสียหาย บุคคลดังกล่าวต้องรับผิดชอบซ่อมหรือจัดซื้อเครื่องมือ/อุปกรณ์ตามการพิจารณาของคณะกรรมการพัสดุฯ ซึ่งจะมีผลต่อการขออนุมัติยืมเครื่องมือในครั้งต่อไป

แบบฟอร์มการยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์

ขั้นตอนการขอยืม-คืนเครื่องมือ และอุปกรณ์ 2. นำใบขอยืม-คืนเครื่องมือให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงนาม 1. กรอกใบขออนุญาตยืมใช้เครื่องมือ 3. นำใบขอยืม-คืนเครื่องมือมายื่นให้เจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ก่อนวันรับอุปกรณ์อย่างน้อย 2 วัน (รอการอนุมัติจากหัวหน้าภาควิชา) **กรณีต้องการยืมต่อจากวันที่กำหนดคืนให้แจ้งต่อธุรการเพื่อขอพิจารณาเป็นรายบุคคล 4. มารับเครื่องมือจากเจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ภายหลังวันยื่นใบขอยืมฯ อย่างน้อย 2 วัน โดยต้องแจ้งนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่ก่อนวันมารับเครื่องมือ 5. ยื่นแบบฟอร์มตรวจสอบเครื่องมือ และคืนเครื่องมือในวันที่กำหนดไว้ในใบขอยืม พร้อมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องมือกับเจ้าหน้าที่ก่อนส่งคืน

รายการเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่นิสิตยืมใช้บ่อย และชำรุด/เสียหายบ่อย GPS + สายดาวน์โหลด เข็มทิศ กล้องสองตา คู่มือการดูนก เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) เต็นท์ + เปล + Flysheet

GPS + สายดาวน์โหลด ข้อสังเกต : GPS 60CSx ข้อสังเกต : มี 2 รุ่น สามารถขอยืมใช้ได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล เขียนระบุเลขที่ GPS และสายดาวน์โหลดในใบยืมทุกครั้ง ควรตรวจสอบการทำงานของปุ่มต่างๆ ปุ่มเปิดปิด และปุ่มต่างๆ มักชำรุดเนื่องจากนิสิตชอบใช้เล็บจิกปุ่ม ควรตรวจสอบการรับสัญญาณดาวเทียมของแต่ละเครื่อง ควรลบข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง GPS ก่อนบันทึกข้อมูลใหม่ และลบข้อมูลของตนเองภายหลังจากดาวน์โหลดข้อมูล และก่อนคืนอุปกรณ์ ควรถอดแบตเตอรี่ออกทุกครั้งก่อนคืน ปลอกหรือซองใส่ GPS ชำรุด/เสียหายประจำ พยายามอย่าให้เครื่อง GPS ตกหล่นหรือกระแทกของแข็ง พยายามอย่าให้เครื่อง GPS เปียกน้ำ/แช่น้ำ (หาถุงพลาสติกกันน้ำใส่เวลาทำงาน)

เข็มทิศมือ ข้อสังเกต : เขียนระบุเลขที่ในใบยืมทุกครั้ง ใช้งานให้ถูกต้อง=>เข็มทิศใช้มือหมุนหาทิศทางที่ต้องการ ควรตรวจสอบการทำงานของเข็มทิศตอนรับเครื่องมือ เช่น เข็มสีแดงหันไปทางทิศเหนือหรือไม่ โดยอาจจะเทียบกับเครื่องอื่นๆ เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงมักทำหายใน field เป็นส่วนใหญ่ ควรใช้สายคล้องคอในระหว่างออก field

กล้องสองตา คู่มือการดูนก ข้อสังเกต : เขียนระบุเลขที่ในใบยืมทุกครั้ง ควรตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนรับเครื่องมือ สายคล้องขาดหรือไม่ เนื่องจากมักทำฝาปิดเลนส์หายใน field เป็นส่วนใหญ่ ควรระวัง ไม่ควรให้เปียกน้ำโดยตรงโดยเฉพาะบริเวณเลนส์ และควรทำความสะอาดก่อนคืนทุกครั้ง คู่มือการดูนก ข้อสังเกต : เขียนระบุเลขที่ในใบยืมทุกครั้ง ควรตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยตอนรับเครื่องมือ มีรอยฉีกขาดหรือไม่ ไม่ควรให้เปียกน้ำโดยตรง ควรหาถุงพลาสติกกันน้ำใส่ตอนออก field และผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งก่อนคืน

เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) ควรตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนรับเครื่องมือ เช่น หักหรือเบี้ยวหรือไม่ เนื่องจากบางชิ้นค่อนข้างฝืดดังได้ยาก ควรค่อยๆดึง เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งก่อนคืน เพื่อป้องกันการเป็นสนิม

เต็นท์ + เปล + Flysheet ควรตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนรับเครื่องมือ เช่น อุปกรณ์ครบหรือไม่ (สมอบก) อุปกรณ์ชำรุด รั่ว เป็นรูหรือไม่ เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งก่อนคืน โดยการสะบัด/ปัดฝุ่นหากไม่เลอะมากนัก หรือซักตากแดดให้แห้งเพื่อป้องกันเชื้อรา และกลิ่นเหม็นอับ ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนคืนเนื่องจากมีอุปกรณ์ประกอบหลายรายการ

ขั้นตอนการขอใช้ห้องปฏิบัติการฯ ชั้น 8 2. นำใบขออนุญาตใช้ห้องฯ ให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงนาม 1. กรอกใบขออนุญาตใช้ห้องฯ 3. นำใบขออนุญาตใช้ห้องฯ มายื่นให้เจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ก่อนวันที่จะใช้อย่างน้อย 2 วัน (รอการอนุมัติจากหัวหน้าภาควิชา) **กรณีต้องการใช้ห้องฯต่อจากวันที่กำหนดให้แจ้งต่อธุรการเพื่อขอพิจารณาเป็นรายบุคคล 4. มารับกุญแจจากเจ้าหน้าที่ที่ธุรการ ภายหลังวันที่ยื่นใบขออนุญาตใช้อย่างน้อย 2 วัน โดยต้องแจ้งนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่ก่อนวันใช้ห้องฯ 5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องกับเจ้าหน้าที่ และทำความสะอาดห้องก่อนส่งคืนกุญแจทุกครั้ง

Let’s go! ไปดูห้องปฏิบัติการกันเถอะ