ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
Advertisements

ขอบข่ายของการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งกับการเมืองท้องถิ่น
ธรรมาภิบาล และ การปฏิรูปราชการ
Mathematical Model of Physical Systems. Mechanical, electrical, thermal, hydraulic, economic, biological, etc, systems, may be characterized by differential.
มองพัฒนาการเศรษฐกิจไทยผ่านกรอบ Daron Acemoglu
1 1 การพัฒนาภาวะผู้นำ กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง อนุชิต ฮุนสวัสดิกุล สำนักงาน ก.พ.ร.
การพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง
เอกสารประกอบการบรรยาย
Office of The National Anti-Corruption Commission
ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. นางสาวกัลยารัตน์ แสนประกอบ รหัส
การประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 44) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม.
ทิศทางการพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพ 4.0
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานท้องถิ่น
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมเจ้าท่า
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
การปรับฐานความคิดเป็นคนดีต่อต้านการทุจริต
แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงาน
การเมืองการปกครองของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เบื้องต้น)
จริยธรรมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม
“ระบบการจัดเก็บข้อมูลบริการ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบบัญชี”
ปรัชญาทางการเมือง Political Philosophy
การเพิ่มขีดสมรรถนะของ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM)
โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
การปฏิรูประบบราชการไทย กับการพัฒนาตนและระบบงาน
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
การพัฒนาการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
การจัดการการเงินการคลังท้องถิ่น
Human Capital Management & Human Capital Investment
หลักการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค.
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน: แนวคิด และประสบการณ์วิจัย
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ธรรมาภิบาลในภาครัฐ โดย สุธรรม ส่งศิริ.
กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ อิศรญาณภาษิต By Pratchanee P. 2/2015.
การบรรยาย การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการอำนวยความยุติธรรม
การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และ
การบริหารงานและการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
Dr.Pokkrong Manirojana
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interests)
ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interest: COI)
การมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ
รายงานความก้าวหน้า คณะทำงานธรรมาภิบาล (CGO) เขตสุขภาพที่ ธันวาคม 2561
กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 5
ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (Indicators of Good Governance)
สถาบันอุดมศึกษา ต้องพัฒนาเป็นธรรมาภิบาล
การเมืองไทยในปัจจุบัน
Program Evaluation Achakorn Wongpreedee, Ph.D.
3. ระบบศาลในกฎหมายปกครอง
บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีจริยศาสตร์ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ (ต่อ)
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
สังคมและการเมือง : Social and Politics
ลักษณะภูมิประเทศแอฟริกกา
สังคมและการเมือง : Social and Politics
โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น
รางวัลและโทษทัณฑ์ ข้อมูลและการสื่อสาร กับ การระงับข้อพิพาท
รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การปกครองท้องถิ่นไทย PPA 1103
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

การทุจริตคอร์รัปชัน คือ การใช้อำนาจหรืออิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่ ที่ตนเองมีอยู่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง ญาติพี่น้อง และพวกพ้อง เป็นปรากฏการณ์สังคมซึ่งมีความสลับซับซ้อน จึงต้องออกแบบการแก้ปัญหาเป็นการเฉพาะประเทศ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์รอบด้าน

ภาพของสังคมไทยที่ประสงค์เพื่อการต่อต้านทุจริต องค์กรหลักมีความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐภาคเอกชนและ ภาคประชาสังคม และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ขับเคลื่อนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน นำหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลมาใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด จัดการและพัฒนาองค์ความรู้ให้ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

กระบวนการไต่สวนการทุจริต ระบบธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE) ความโปร่งใส (TRANSPARENCY) ความซื่อสัตย์สุจริต (HONESTY) ความรับผิดชอบตามหน้าที่ (ACCOUNTABILITY) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คณะกรรมการ ป.ป.ช. กระบวนการไต่สวนการทุจริต

(1) สภาพปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย (1) สภาพปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย ความหมายของ “คอร์รัปชัน” “คอร์รัปชัน หมายถึง การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการกระทำที่ชั่วช้าและฉ้อโกง โดยเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่ขัดต่อตำแหน่งหน้าที่และสิทธิของผู้อื่น นอกจากนี้ยังหมายถึงการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งประชาชนไว้วางใจ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยการรับหรือยอมรับประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น” Black Law Dictionary

“คอร์รัปชัน ครอบคลุมถึงการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิดอันเกิด จากการเห็นประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ซึ่งประโยชน์ส่วนตนไม่จำต้องเป็น เงินตราเสมอไป” David H. Bayley “ทุจริต หมายความถึง ความประพฤติชั่ว , ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต , ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต , โกง เช่น ทุจริตในการสอบ , คดโกง ฉ้อโกง เช่น ทุจริตต่อหน้าที่ , ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

“โดยทุจริต หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น” ประมวลกฎหมายอาญา “ทุจริตต่อหน้าที่ หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใด ในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น” พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช.

ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย 1. สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้าง ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ (Patron – Client Relationship) อยู่ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (vertical relationship) 2. มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่าง ผู้อยู่ในฐานะสูง กับ ผู้อยู่ในฐานะต่ำ 3. ผู้อยู่ในฐานะต่ำ หรือ ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ยอมทำทุกอย่างตามที่ผู้อุปถัมภ์ต้องการ 4. ผู้อยู่ในฐานสูง หรือ ผู้อุปถัมภ์จะทำทุกอย่างให้เกิดการยอมรับเพื่อสร้างบุญคุณแก่ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ 5. ระบบอุปถัมภ์มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการคอรัปชั่น เพราะการพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือกัน ก่อให้เกิดความเป็นพวกพ้อง และเอื้อประโยชน์ให้แก่กันแม้ว่าจะผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม นอกจากนี้ยังยากแก่การตรวจสอบ 6. ระบบอุปถัมภ์ตรงข้ามกับระบบคุณธรรม ( Merit System ) ที่ยึดถือความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นหลัก

คอร์รัปชันในรูปแบบใหม่ของสังคมไทยปัจจุบัน คอร์รัปชันเชิงนโยบาย (Corruption in policy) และ ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) คอร์รัปชันในรูปแบบใหม่ของสังคมไทยปัจจุบัน เป็นการคอร์รัปชันที่บางครั้งถูกกฎหมายแต่ผิดหลักผลประโยชน์ของสาธารณะ ผิดหลักจริยธรรมในการกำหนด และดำเนินนโยบายสาธารณะ เป็นการเบียดบังประชาชน เอาเปรียบผู้บริโภค โดยใช้เงื่อนไขทางการเมือง เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มบุคคล ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคมปัจจุบันอย่างมหาศาล คอร์รัปชันในยุคปัจจุบัน จึงเป็นกรณีที่ผิดทั้งจริยธรรม และผิดกฎหมายด้วยในขณะเดียวกัน

(2) รูปแบบและวิวัฒนาการของการคอร์รัปชัน (2) รูปแบบและวิวัฒนาการของการคอร์รัปชัน การฉ้อราษฎร์ บังหลวง คอร์รัปชันระดับชาติและระดับท้องถิ่น คอร์รัปชันเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และส่วนรวม การคอร์รัปชันของข้าราชการประจำโดยใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน การคอร์รัปชันของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยใช้อำนาจและหน้าที่ ในตำแหน่งเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน หรือ ทางการเมือง การคอร์รัปชันในภาครัฐ โดยได้รับการผลักดันจากกลุ่มธนกิจการเมือง (money politics) มีลักษณะเป็นเครือข่ายโยงใย ซึ่งมีทั้งอำนาจรัฐและอำนาจเงินทุน โดยกำหนดนโยบายที่อ้างว่าเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ประชาชน แต่แท้จริงกลับตกอยู่ในมือของกลุ่มบุคคลผู้กำหนดนโยบายและพวกพ้อง มีความสลับซับซ้อนเข้าใจยากทำให้จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน การกระทำของบุคคลไม่ว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการประจำ บริษัทเอกชน หรือผู้บริหารมีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่หรือการตัดสินใจในตำแหน่งที่รับผิดชอบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวม

พฤติกรรมของผลประโยชน์ทับซ้อนที่กระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย 1. ทำธุรกิจกับตนเอง (self – dealing) โดยใช้อำนาจในการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้าง 2. นำโครงการสาธารณะลงสู่เขตเลือกตั้งของตน 3. ใช้อำนาจในการตรากฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของตน 4. ใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงการตัดสินใจของรัฐวิสาหกิจ 5. หาผลประโยชน์จากการดำเนินนโยบายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ใช้อำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้บริหารหน่วยงาน หรือองค์กรอิสระ

6. จัดตั้งบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำเงินของรัฐวิสาหกิจไปลงทุน 7. เมื่อออกจากตำแหน่งสาธารณะแล้ว ไปทำงานให้กับภาคธุรกิจเอกชน ที่เคยอยู่ภายใต้กำกับดูแลของตน 8. กรรมการรัฐวิสาหกิจได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นพิเศษที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะ 9. ใช้อิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่ อันเป็นคุณแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลภายนอก 10. ใช้อิทธิพลส่วนตัวเพื่อกระทำการใดๆ ให้แก่เครือญาติที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นั้น

(3) ทิศทางการพัฒนาสังคม โดยใช้เหตุผลทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน (3) ทิศทางการพัฒนาสังคม โดยใช้เหตุผลทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ปัญหา ที่มาของปัญหา แนวทางแก้ไข การบังคับใช้กฎหมาย ไม่สามารถบังคับได้จริง ขาดความชัดเจนในนโยบายของการบังคับใช้และการใช้อำนาจตามกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ พัฒนานโยบายการใช้อำนาจตามกฎหมายให้สามารถใช้บังคับได้จริง การใช้อำนาจในทางที่ผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ขาดการตรวจสอบติดตามผล ขาดคู่มือ/หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ จัดให้มีระบบตรวจสอบ สร้างความรู้ความเข้าใจ จัดทำคู่มือ/หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติให้ชัดเจน ระบบงานล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ มีขั้นตอนเกินความจำเป็น ตัดขั้นตอนการทำงานให้กระชับและรวดเร็ว กำหนดให้มีผู้ประเมินผลการทำงาน มีการรั่วไหลของข้อมูลในหน่วยงานของรัฐ ขาดมาตรการในการควบคุมข้อมูล มีมาตรการในการควบคุมข้อมูลลับ ประชาชนขาดความตระหนักรู้ในสิทธิและหน้าที่ของตน ขาดนโยบาย/หลักกฎหมายที่เพียงพอและเหมาะสมในเรื่องสิทธิและหน้าที่ จัดให้มีกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันแบบบูรณาการ 1. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่บุคคลตั้งแต่เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ ทุกระดับ ในทุกภาคส่วนของสังคม 2. กำหนดกฎหมาย และประมวลจริยธรรมที่ครอบคลุม การทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน 3. จัดตั้งองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพเต็มรูปแบบตั้งแต่กระบวนการไต่สวนขององค์กรอิสระ การใช้ดุลพินิจของอัยการ และการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล 4. กำหนดนโยบายทางสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านการคอร์รัปชัน เช่นร่วมในการแจ้งเบาะแส เมื่อพบเห็นข้อมูลการคอร์รัปชัน 5. บริหารจัดการองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนในแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งระบบ ทุกขั้นตอน

การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ต้องแก้แบบ ถอนรากถอนโคน

ระบอบประชาธิปไตย และการคอร์รัปชัน A government ruled by the people would ultimately break down because jealousy over one another’s respective functions within the society , and improper decision – making by an uneducated public, would yield chaos, subsequently giving way to a desire for order and stability achievable only through despotism Plato (427-347 BCE)

the desire for luxury , bribery for the sake of political power , and the substitution of eagerness for wealth in lieu of wise governance , results in corruption. Such corruption ultimately transforms a democratic society into a form of mobocracy Polybius (200-118 BCE)

ในทัศนะของ เพลโต และโพลิบีอุส คอร์รัปชันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในรัฐบาลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เผด็จการ, คณาธิปไตย หรือ ประชาธิปไตย ซึ่งรูปแบบของคอรัปชันก็จะเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการโดยบุคคลเดียวไปสู่โดยคณะบุคคล และจากคณะบุคคลไปสู่กฎหมู่ แล้วจะย้อนกลับสู่เผด็จการอีกครั้ง การคอร์รัปชันจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในวงจรการปกครองประเทศ

ขนบธรรมเนียม และการดำรงชีวิตของประชาชนในหลายประเทศ เช่น อินเดีย หรือ เม็กซิโก, มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การคอร์รัปชัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และอินเดียได้รับการจัดอันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี 2558 จากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ในอันดับที่ 85 ส่วนเม็กซิโกถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 103

จริงอยู่แม้การคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้ในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่ควรยอมจำนน หรืองอมืองอเท้าปล่อยให้คอร์รัปชันกลายเป็นวิถีชีวิตของประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐจนทำให้สิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน เพราะต้องขายตนเองให้กับต่างชาติหรือ ต้องเป็นหนี้ต่างชาติจนไม่อาจลืมตาอ้าปากได้

ในอดีต สหรัฐอเมริกาเคยมีรัฐบาลที่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ มีการคอร์รัปชันอย่างดาษดื่น กระบวนการยุติธรรมซื้อได้ทุกระดับชั้น บัดนี้สหรัฐอเมริกาได้แก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน จนภาพลักษณ์ของประเทศจัดอยู่ในลำดับที่ 159

สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการแก้ไข วิกฤตปัญหาคอร์รัปชัน เป็นลำดับดังนี้ : 1. ขับเคลื่อนขบวนการต่อต้านการใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นวิถีชีวิตและการปกครองของประเทศ เพื่อนำไปสู่การปกครองด้วยระบบคุณธรรมจริยธรรม 2. ใช้รูปแบบของการดำรงชีวิตด้วยหลักเหตุผล และหลักทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะใช้งานวิจัย เป็นหลักนำ แทนการใช้กระแสสังคม และคิดเอาเองตามอำเภอใจ 3. ให้โอกาสแก่ผู้ร่วมกระทำผิดคอร์รัปชัน ในการกลับตัวกลับใจมาเป็นพยานเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดซึ่งเป็นผู้วางแผน ในลักษณะกันไว้เป็นพยาน

(4) ประการสำคัญที่สุด คือ จัดการบริหารรัฐ ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกระบวนการถอดถอนจากตำแหน่ง (impeachment) และการลงโทษ

ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2513 “ในบ้านเมืองเราทุกวันนี้ มีเสียงกล่าวกันว่า ความคิด จิตใจของคน เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อม ความประพฤติที่ เป็นความทุจริตหลายอย่างมีท่าทีจะกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปพา กันยอมรับ และสมยอมให้กระทำกันได้เป็นธรรมดา สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคนมืดมัวลงไป เป็นปัญหาใหญ่ที่เหมือนกระแสคลื่นอันไหลบ่าเข้ามาท่วม ทั่วไปหมด จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการฝืนคลื่นที่กล่าวนั้น ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่า ชั่วเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิด และความประพฤติทุกอย่าง ที่รู้สึกว่าขัดต่อธรรมะ เราต้องกล้า และบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่า เป็นความดี เป็นความ ถูกต้องและเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริงๆ ให้ผล ของความดีบังเกิดมากขึ้น ๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้ เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ” * พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระราชทานเพื่ออัญเชิญไปอ่านในพิธีเปิด การประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2513